‘อยู่กันดีๆ ให้ได้ได้ไหม’ จะใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวใหญ่อย่างไรให้สงบสุข ในยุคที่ใครก็ไม่เข้าใจกัน

เวลาพูดถึงจุดร่วมของ ‘สังคมไทย’ หลายครั้งภาพที่ฉายออกมาคือการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ภายในรั้วบ้านหลังคาเดียวกันจะมีสมาชิกอยู่หลากรุ่น หลายเครือญาติ ใครที่มีรูปแบบครอบครัวเช่นนี้ คงจะคุ้นเคยกับความสนุกสนาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสนิทสนมอย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน ความบาดหมางและความเจ็บปวดใจที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารในครอบครัวใหญ่ ก็เป็นความทุกข์ที่หลายครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมากมายที่ซับซ้อนและตีกันวุ่นไปหมด ยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และเงื่อนไขชีวิตที่หลายคนเลือกมีพื้นที่ของตัวเองด้วยการย้ายออกมาอยู่คนเดียวไม่ได้ จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยจัดการสภาพจิตใจต่อความกระอักกระอ่วนที่อาจเกิดขึ้นบ่อยๆ ภายในครอบครัว ไม่มีใครเป็นตัวเอก ไม่มีใครเป็นตัวร้าย แต่เราแค่มาจากหนังคนละเรื่องกัน หลายครั้ง ความไม่ลงรอยกันภายในครอบครัวใหญ่ มักเกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่พร้อมเปิดใจรับฟัง ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่รู้สึกได้รับการเห็นค่าจากคนที่รัก โดยเฉพาะญาติอาวุโสที่ยิ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้มานานเท่าไหร่ ยิ่งง่ายที่จะยึดมั่นทั้งความเชื่อและแบบแผนการใช้ชีวิตที่พวกเขาเชื่อว่าถูก ผ่านการเลี้ยงดูและคำสอนจากคนรุ่นอาวุโสกว่าพวกเขามาอีกที คุณค่าบางอย่างที่พวกเขาให้ความสำคัญ แม้ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี แต่นั่นอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันเสมอไป ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัวพบบ่อยในชั่วโมงบำบัด คือการที่คนรุ่นพ่อแม่หรือบางครั้งก็เป็นรุ่นปู่ย่าตายายเลยด้วยซ้ำ พยายามพร่ำบอกให้ลูกหรือหลานตัวเองยึดแนวทางการใช้ชีวิตให้เหมือนเขา เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบนั้นนำพาความสำเร็จและชีวิตที่สุขสบายมาให้ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ว่า หนึ่งในนั้นคือ ‘ความอดทน’ ไม่ว่าจะทั้งทางกายหรือใจ การพร่ำบอกให้อดทนต่องานที่ทำ ทำไมถึงบ่นกับเรื่องแค่นี้ ทำไมถึงไม่หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มในเวลาว่าง ทำไมหยุดงานหรือเปลี่ยนงานบ่อยจัง หรือการบอกให้อดทนต่อความรู้สึก เช่น เรื่องแค่นี้ทำไมต้องร้องไห้ เรื่องมันเกิดมานานแล้ว ทำไมยังคิดเล็กคิดน้อยอยู่ได้ ทะเลาะกันแค่นี้ ทำไมเลือกที่จะหย่า ฯลฯ แน่นอนว่าความเจ็บปวดเป็นเรื่องปัจเจก สิ่งที่ทำให้อารมณ์แต่ละคนสั่นสะเทือนล้วนมีหน้าตาต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ก็ตาม การปฏิเสธความรู้สึกของใครคนหนึ่งยิ่งสร้างความห่างเหินในใจ […]

‘Synthiesis’ รองเท้ามีชีวิตด้วยหมึกพิมพ์จากเซลล์สาหร่าย ที่ช่วยดูดซับคาร์บอนในอากาศได้

รู้หรือไม่ว่า ทุกๆ การซื้อรองเท้าคู่ใหม่ เรากำลังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยไม่รู้ตัว ในแต่ละปี มีรองเท้าจากทั่วโลกผลิตขึ้นมากถึง 22,000 ล้านคู่ ก่อให้เกิดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมหาศาล ถ้าคิดไวๆ อาจเทียบได้กับการก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1.5 เปอร์เซ็นต์ของโลกทำให้หลังๆ มานี้เรามักเห็นแบรนด์รองเท้าต่างๆ หันมาให้ความสนใจประเด็นสิ่งแวดล้อม เลือกใช้วัสดุที่ยั่งยืนในการผลิต และมองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการผลิตที่มากขึ้น ซึ่ง ‘Synthiesis’ คือหนึ่งในนั้น Synthiesis คือรองเท้าที่ได้รับการออกแบบจากฝีมือของ ‘Jessica Thies’ นักออกแบบจากบรุกลิน ที่ใช้งานวิจัยของตนมาช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในภาคอุตสาหกรรมรองเท้า และสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องสิ่งแวดล้อม เจสสิกาเลือกใช้วัสดุที่ทำจากโฟมโพลียูรีเทน ซึ่งรีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ตามธรรมชาติมาใช้ในการทำพื้นรองเท้า รวมถึงเลือกใช้ผ้าป่านในการขึ้นตัวรองเท้า และพิมพ์ด้วยหมึกชีวภาพที่ผสมเซลล์สาหร่ายทะเลมีชีวิตลงไป ทำให้ Synthiesis กลายเป็นรองเท้าที่มีชีวิต ประโยชน์ของสาหร่ายที่มีชีวิตในรองเท้าเหล่านี้คือ พวกมันสามารถสังเคราะห์แสง เพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศระหว่างสวมใส่ และอาจทำความสะอาดตัวเองได้ด้วย อีกทั้งจากงานวิจัยของเจสสิกายังแสดงให้เห็นว่า สาหร่ายเหล่านี้กินสารอาหารและไซยาโนแบคทีเรียที่ผลิตออกซิเจนได้ โดยใช้วิธีการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์ และมีชีวิตอยู่บนรองเท้าได้นานถึง 1 เดือนโดยไม่ต้องให้สารอาหารเสริม หรืออาจมากกว่านั้นหากได้รับการดูแลอย่างดี โดยจะสังเกตได้จากสีคลอโรฟิลล์ที่ค่อยๆ จางเมื่อสาหร่ายตายลง ปัจจุบัน Synthiesis เป็นนวัตกรรมใหม่ที่หลายคนอาจยังเข้าไม่ถึง แต่เจสสิกาหวังว่า รองเท้าคู่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างความตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นในอนาคตได้ Sources :Dezeen […]

‘ปารีส’ เมือง 15 นาที ที่อยากให้ผู้คน ‘ใกล้ชิด’ กับ ‘ชีวิตดีๆ’ มากขึ้น

ย้อนไปเมื่อปี 2020 แอนน์ อีดัลโก (​​Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีสได้เสนอแนวคิดที่จะเปลี่ยนเมืองหลวงของฝรั่งเศสที่แสนจะวุ่นวายและเต็มไปด้วยกิจกรรมคึกคัก ให้กลายเป็น ‘เมือง 15 นาที’ (15-minute City) แนวคิดนี้คือการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยการสร้างเมืองที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ในระยะเวลา 15 นาทีด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน เพื่อลดการเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยหวังว่าปารีสโฉมใหม่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้คล่องตัว มีสุขภาพดี และยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องการสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับปารีสบ้าง และมหานครแห่งนี้เข้าใกล้การเป็นเมือง 15 นาทีมากขนาดไหนแล้ว คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปสำรวจและหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนจากการขับรถเป็นปั่นจักรยาน เป้าหมายแรกของกรุงปารีสคือการเปลี่ยนให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และหันมาปั่นจักรยานมากขึ้น นายกฯ อีดัลโกอธิบายว่า การใช้จักรยานในเมืองจะแสดงให้เห็นว่าชาวปารีสสามารถปรับวิถีชีวิตของตัวเองได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงปารีสได้ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น กำหนดให้เขตเมืองเป็นเขตควบคุมมลพิษต่ำ และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็นวันปลอดรถยนต์ รวมถึงเพิ่มเลนจักรยานทั่วเมือง […]

ปารีสฉีดอะดรีนาลินให้ริมแม่น้ำแซนคึกคัก ด้วย ‘Annette K’ ศูนย์ออกกำลังกายลอยน้ำ ที่ชวนทุกคนมาว่ายน้ำพร้อมชมเมือง

เราคงคุ้นเคยกับการเห็นพื้นที่ริมน้ำเป็นสวนสาธารณะ หรือเป็นที่จอดเรือให้มานั่งรับประทานอาหารรับลมชมวิว แต่ก็น่าคิดเหมือนกันว่า เราจะพัฒนาพื้นที่ริมน้ำอย่างไรได้บ้าง ถึงจะยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองให้ดีขึ้น เมืองปารีสเปิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้เราเห็นกับ ‘Annette K’ ศูนย์ออกกำลังกายที่ลอยตัวอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำแซน (Seine) ศูนย์กีฬาประกอบด้วยสระว่ายน้ำกลางแจ้งขนาดมาตรฐานโอลิมปิก พร้อมลู่วิ่งชั้นดาดฟ้าที่เปิดโอกาสให้ออกกำลังกายไป ชมความงามของเมืองปารีสไป นอกจากนั้นแล้ว Annette K ยังเพียบพร้อมด้วยยิม ศูนย์กายภาพบำบัด รวมถึงร้านอาหารและร้านกาแฟเอาไว้รองท้องเวลาหิว และเมื่ออาทิตย์ลับฟ้า ศูนย์กีฬาแห่งนี้จะกลายร่างเป็นศูนย์บันเทิงยามราตรี พื้นที่ดาดฟ้ากลายเป็นฟลอร์ให้สายปาร์ตี้มาเต้นจนลืมโลก เรียกได้ว่าเปิดพื้นที่ให้ชาวเมืองใช้กันทั้งวันทั้งคืนเลยทีเดียว Seine Design สถาปนิกของโครงการนี้ออกแบบศูนย์กีฬาโดยเน้นใช้ไม้ เหล็ก และกระจกในการก่อสร้าง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ดูคล้ายเรือ เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์แม่น้ำแซนที่เกี่ยวพันกับการเดินเรืออย่างยาวนาน โครงการ Annette K เกิดขึ้นได้หลังจาก Seine Design ร่วมกับ WHY NOT Productions ชนะการประกวด ‘Reinventing the Seine’ ในปี 2016 เป็นการประกวดที่เมืองปารีสจัดขึ้นเพื่อเสาะหาไอเดียพัฒนาแม่น้ำแซนซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของเมือง อยากรู้เหมือนกันว่า ถ้าในเมืองไทยจัดงานประกวดแบบนี้ เราจะเห็นไอเดียแปลกใหม่อะไรบ้างที่จะทำให้พื้นที่ริมน้ำดีขึ้น และทำให้ชีวิตของคนเมืองดีขึ้นด้วย Sources :Annette K […]

Urban Legend ล้อมวงเล่า 5 เรื่องลี้ลับประจำเมือง ที่สร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัยในสังคม

สำหรับมนุษย์ ‘ความกลัว’ คือเครื่องมือสำหรับควบคุมพฤติกรรมของคนตั้งแต่สมัยโบราณที่ยังไม่มีกฎหมายชัดเจน เทพเจ้า ศาสนา และสิ่งเหนือธรรมชาติมักถูกยกขึ้นเป็นบทลงโทษสร้างความเกรงกลัวในการกระทำผิด สิ่งเหล่านี้ตกทอดหลงเหลือมาในคราบของตำนานและเรื่องเล่า แม้ปัจจุบันโลกจะหมุนนำด้วยหลักวิทยาศาสตร์ แต่ความกลัวในสิ่งเหนือธรรมชาติยังคงมีในสังคม ส่งผลให้เกิดการสร้างเรื่องราวใหม่เพื่อเป็นบทเรียนเตือนใจให้ความปลอดภัยในสังคม เราจึงยังเห็นเรื่องสยองขวัญประจำเมืองอย่าง ‘Urban legend’ ที่ปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ Kuchisake-onna (หญิงสาวปากฉีก) – ญี่ปุ่นอย่าคุยกับคนแปลกหน้า ถ้าไม่อยากเจอพี่สาวปากฉีก ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในแหล่งรวมเรื่องสยองขวัญ แต่หากพูดถึงเรื่องราวที่โด่งดังที่สุดและพบได้ในหลายเมืองคงหนีไม่พ้น ‘Kuchisake-onna’ ยามโพล้เพล้ในที่เปลี่ยว หญิงปริศนามักจะปรากฏตัวโดยสวมหน้ากากหรือผ้าปิดปากไว้ และถามผู้โชคร้ายที่เดินผ่านว่า ‘ฉันสวยไหม’ หากตอบว่า ‘ใช่’ เธอจะถอดหน้ากากออก เผยให้เห็นปากที่ฉีกขาด แล้วถามคำถามเดิมอีกครั้ง ถ้าตอบว่า ‘ไม่’ เธอจะฆ่าคนคนนั้นทันที แต่ถ้าตอบว่า ‘ใช่’ เธอจะใช้กรรไกรตัดปากของผู้ตอบให้เป็นเหมือนเธอ แม้ฟังดูสยองขวัญ แต่หญิงสาวปากฉีกมักปรากฏตัวเฉพาะเวลาโพล้เพล้หรือตอนกลางคืนเท่านั้น เป้าประสงค์ที่แท้จริงคือการเตือนใจให้ระมัดระวังในการเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้า โดยเฉพาะเด็กที่ควรรีบกลับบ้าน ไม่เถลไถลหรือคุยกับคนที่ไม่รู้จัก The Hookman (ชายมือตะขอ) – มิชิแกน, สหรัฐอเมริกาเตือนใจคู่รักที่มักชอบสนุกกันในที่เปลี่ยว สหรัฐอเมริกามีภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ ทำให้ตำนานประจำเมืองมีความหลากหลายต่างออกไป แต่เรื่องราวของ ‘The Hookman’ จากรัฐมิชิแกนยังคงร่วมสมัยตั้งแต่อดีตยุค 60 […]

นักวิจัยเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ที่รีไซเคิลปัสสาวะให้เป็นน้ำดื่ม ช่วยให้นักบินได้รับน้ำที่เพียงพอ

น้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย แต่ชุดอวกาศในปัจจุบันนั้นมีน้ำดื่มในตัวเพียง 1 ลิตรเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเดินทางในอวกาศเป็นเวลานาน แถมชุดที่ใส่ยังประกอบไปด้วยผ้าอ้อมหลายชั้น ที่อาจทำให้ไม่สบายตัวและเสี่ยงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cornell ได้หาวิธีแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยการเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายวิทยาศาสตร์ ‘Dune’ ซึ่งมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่จะช่วยรีไซเคิลปัสสาวะของนักบินให้กลายเป็นน้ำสะอาดที่นำมาดื่มได้ โดยทีมนักวิจัยได้ออกแบบชุดแบบใหม่และสร้างชุดชั้นในที่มีถ้วยสำหรับเก็บปัสสาวะ ก่อนจะส่งปัสสาวะนั้นไปยังระบบกรองที่เป็นอุปกรณ์หนัก 8 กิโลกรัมขนาดเท่ากล่องรองเท้า สามารถกรองน้ำปริมาณครึ่งลิตรได้ภายในเวลา 5 นาที โดยระบบการทำงานประกอบไปด้วยปั๊ม เซนเซอร์ และหน้าจอแสดงผล ซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ 20.5 โวลต์ น้ำสะอาดที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้วจะจัดเก็บไว้ในถุงและนำไปใส่ไว้ในชุดอวกาศ ช่วยให้นักบินอวกาศได้มีน้ำดื่มที่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันชุดนี้ยังเป็นต้นแบบที่ทดสอบในห้องแล็บอยู่ แต่จะเริ่มนำออกไปทดลองใส่กับมนุษย์ รวมไปถึงทดสอบขั้นตอนการเก็บปัสสาวะเพื่อรีไซเคิลเป็นน้ำดื่มภายในช่วงสิ้นปีนี้ Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/bdntkwzkNew Scientist | tinyurl.com/yk4jvc9nScience News | tinyurl.com/du5ar8u4

Cycloïd Piazza ลานสเกตเฉดสีภาพวาดในยุคเรเนซองส์ สำหรับโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่กรุงปารีส

นอกจากการแข่งขันกีฬาต่างๆ ที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมากในช่วงใกล้แข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ก็มีอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือการออกแบบหรือปรับปรุงสถานที่ต่างๆ ในกรุงปารีสให้สอดคล้องไปกับมหกรรมกีฬา Cycloïd Piazza คือลานสเกตจากฝีมือของ ‘Jean-Benoît Vétillard’ และนักออกแบบ ‘Raphaël Zarka’ ที่หยิบเอาโทนสีเดียวกันกับภาพวาดในยุคเรเนซองส์มารวมเข้ากับรูปทรงเรขาคณิตที่หลากหลาย โดยเฉดสีที่พวกเขาเลือกใช้คือ สีแดง สีเขียว และสีเหลือง ที่สร้างขึ้นในปี 1931 โดย ‘Le Corbusier’ นักออกแบบสถาปัตยกรรมในตำนานที่หลายคนคุ้นหู ที่แม้จะมีความหม่นแต่ก็ยังให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา ลานสเกตชั่วคราวแห่งนี้เปิดให้นักเล่นสเกตมือสมัครเล่นและมืออาชีพมาประลองฝีมือกัน บริเวณหน้าอาคารศูนย์วัฒนธรรมสมัยใหม่ที่เป็นพื้นที่สาธารณะแนวตั้ง ‘Centre Pompidou’ ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน และจะอยู่ไปจนถึงวันที่ 15 กันยายน 2024 ถือเป็นประติมากรรมชั่วคราวที่สร้างทัศนียภาพอันสดใสให้กับพื้นที่สาธารณะ แถมยังสอดคล้องไปกับการจัดแข่งขันกีฬาสเกตบอร์ดที่บริเวณ ‘Place de la Concorde’ หนึ่งในจัตุรัสสาธารณะที่สำคัญของเมือง ตามที่ตัว Raphaël Zarka ตั้งใจ หากใครได้ไปเยือนกรุงปารีสในช่วงนี้ไม่ควรพลาด Sources :Centre Pompidou | t.ly/bEuI-Designboom | […]

Turn Waste to Agri-Wear เปลี่ยน ‘ฟางข้าว’ จากแปลงนาให้กลายเป็นเสื้อผ้ารักษ์โลก ในคอลเลกชัน KUBOTA x GREYHOUND ORIGINAL

หลายคนอาจไม่รู้ว่า ‘ฟางข้าว’ คือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มักถูกกำจัดด้วยการเผา ก่อให้เกิดมลพิษจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นการนำฟางข้าวไปแปรรูปเป็นโปรดักต์ต่างๆ มากมาย แต่จะเป็นไปได้ไหมถ้าจะนำของเหลือใช้ประเภทนี้มาทำเสื้อผ้าที่ไม่ว่าใครก็สวมใส่ได้ ‘สยามคูโบต้า’ และ ‘เกรฮาวด์ ออริจินัล’ จับมือกันปลุกกระแส Sustainable Fashion และเดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมเกษตรและวงการแฟชั่นไทยไปพร้อมๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายในการจุดประกายการ Upcycling เศษวัสดุเหลือใช้จากเกษตร เกิดเป็นแคมเปญ KUBOTA x GREYHOUND ORIGINAL PRESENT ‘Turn Waste to Agri-Wear’ ที่เปลี่ยนฟางข้าวให้กลายเป็นเสื้อผ้าสไตล์สตรีทแฟชั่นสุดเท่ จากงานวิจัย ‘นวัตกรรมเส้นใยฟางข้าวผสมเส้นใยจากรังไหม สู่การพัฒนาสิ่งทอเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ กรณีศึกษาตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์’ ของคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและเลี้ยงไหม ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ และกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้าย บ้านทับน้อย อำเภอรัตนบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรทอผ้าจังหวัดสุรินทร์ วิธีการคือ นำเอาฟางข้าวมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลด้วยกรรมวิธีย่อยเส้นใย จากนั้นนำมาปั่นเข้าเกลียวร่วมกับรังไหมเหลือใช้ จนเกิดเป็นเส้นด้ายที่เมื่อนำไปทอจะทำให้ได้เนื้อผ้าที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง นำไปย้อมสีและพิมพ์ลายได้ อีกทั้งยังดูดซับความชื้น สวมใส่สบาย และระบายอากาศได้ดี โดยมีพันธมิตรที่มีจุดยืนเดียวกันในเรื่องของความยั่งยืนอย่าง […]

All Weaves In My Heart : Decoding Patterns of Hakka and Punti’s Band Weaving หนังสือสานต่อลมหายใจให้ศิลปะถักทอที่ใกล้สูญหายในฮ่องกง

‘สายคาดปักลายดอกไม้’ เป็นงานหัตถกรรมของชาวจีนแคะหรือฮากกา (Hakka) และชาวปุ๊นเต๋ (Punti) ในฮ่องกง ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี คนพื้นเมืองมักนำสายคาดมาตกแต่งบนเครื่องแต่งกายเพื่อเพิ่มสีสัน และใช้เป็นของมงคลสื่อความหมายที่ดี ยกตัวอย่าง การนำสายคาดไปถักทอกับเครื่องประดับในสินสอด เพื่ออวยพรบ่าวสาวให้มีชีวิตคู่ที่ราบรื่น งานฝีมือพื้นบ้านอันล้ำค่านี้เกือบจะกลายเป็นแค่ความทรงจำ เพราะกว่าจะได้สายคาดสักอันหนึ่ง นักสร้างสรรค์ต้องฝึกฝนอย่างยาวนานเพื่อถักทอสายคาดให้ออกมาสวยงามสมบูรณ์ สวนทางกับชีวิตคนสมัยใหม่ที่ดำเนินอย่างรวดเร็ว เน้นเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตอย่างฉับไว งานหัตถกรรมที่สรรค์สร้างด้วยความละเอียดลออจึงเสื่อมความนิยมไปโดยปริยาย และนี่จึงทำให้หนังสือ ‘All Weaves In My Heart : Decoding Patterns of Hakka and Punti’s Band Weaving’ (สายใยแห่งความผูกพัน : การถอดรหัสสายคาดผมดอกไม้ของวัฒนธรรมฮากกาและปุ๊นเต๋แห่งฮ่องกง) เกิดขึ้นมา ก่อนจะเป็นหนังสือ Caritas Hong Kong องค์กรการกุศลในฮ่องกง ได้ร่วมมือกับคุณยายในหมู่บ้าน Lung Yeuk Tau ในพื้นที่เขตดินแดนใหม่ (New Territories) จัดเวิร์กช็อปถ่ายทอดศิลปะการถักทอให้กับคนรุ่นใหม่ที่สนใจ ซึ่งเวิร์กช็อปก็ได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี ถึงอย่างนั้น องค์กรมองว่าการจัดเวิร์กช็อปอาจส่งต่อความรู้ไปไม่กว้างขวางพอ […]

Neon People วัฒนธรรมการทำงานหนักที่สะท้อนความโดดเดี่ยวของผู้คน

เซตภาพนี้เป็นเซตภาพที่ว่าด้วยเรื่องราวของผู้คนที่ใช้ชีวิตใต้แสงนีออนในยามค่ำคืนของเมืองใหญ่ มวลบรรยากาศของความโดดเดี่ยวสะท้อนภาพที่ตรงไปตรงมา แต่มากไปด้วยความยากลำบากของผู้คนที่ต้องทำงานในช่วงเวลาที่เรามักมองข้ามไป ผลลัพธ์คือพวกเขาบางคนดูเหมือนเป็นเหยื่อ ถูกทรมานโบยตีโดยภาระในชีวิตที่มากเกินไป จะด้วยความเหนื่อยล้าหรือความสับสนในสิ่งที่ต้องสูญเสียเพื่อความสำเร็จ คำตอบเหล่านั้นคงมีเพียงคนในภาพที่ตอบได้ถึงเหตุผลที่ต้องลืมตาตื่นในยามที่คนอื่นนอนหลับ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

‘Forest Crayons’ กระตุ้นการดูแลป่าไม้ในประเทศญี่ปุ่น ด้วยการผลิตสีเทียนธรรมชาติจากไม้รีไซเคิล

ปกติแล้ว ไม้มักจะถูกนำมาแปรรูปเป็นของใช้ต่างๆ ที่ยังคงลักษณะของไม้เอาไว้ แต่สตูดิโอออกแบบในญี่ปุ่นได้มองเห็นความพิเศษของไม้ในมุมที่แตกต่างออกไป ทำให้เราได้เห็นการรีไซเคิลออกมาในรูปแบบใหม่อย่างสีเทียน ‘Daniel Coppen’ และ ‘Saki Maruyama’ ผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบ Playfool พบว่า พื้นที่สองในสามของประเทศญี่ปุ่นปกคลุมไปด้วยต้นไม้ที่ถูกปลูกขึ้นหลังช่วงสงครามกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติ จึงต้องคอยตัดและปลูกต้นไม้อยู่เป็นประจำ แต่ในขณะเดียวกัน การใช้ไม้ในประเทศนั้นก็ลดน้อยลง ทำให้การดูแลต้นไม้เหล่านี้ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างความเสี่ยงต่อภัยพิบัติปัญหาดินถล่มตามมาด้วย Playfool ได้คิดถึงวิธีการนำไม้เหล่านั้นมาใช้ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลรักษาป่าไม้ และทำให้คนรุ่นหลังเห็นถึงคุณค่าของป่าไม้ เกิดเป็น Forest Crayons สีเทียนจากไม้รีไซเคิล ที่นำมาใช้งานได้จริง และยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย สีเทียนนี้สกัดขึ้นจากเม็ดสีจากต้นไม้สายพันธุ์ต่างๆ เช่น ซีดาร์ ไซเปรส และแมกโนเลีย ผสมกับไม้ ขี้ผึ้งข้าว และน้ำมันข้าว จนได้ออกมาทั้งหมด 10 สี ที่ไม่ได้มีแค่โทนน้ำตาลอย่างสีไม้ที่เราคุ้นเคยกัน เพราะในความเป็นจริงแล้ว สีของไม้ในธรรมชาตินั้นมีหลากหลายเฉด ไม่ว่าจะเป็นสีเขียวอ่อนของต้นแมกโนเลีย ไปจนถึงสีเขียวอมฟ้าเข้มของไม้ที่ย้อมเชื้อรา โดยเฉดสีต่างๆ นอกจากจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ไม้แต่ละชนิดแล้ว ก็ยังเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่ต้นไม้เหล่านั้นเติบโต มากไปกว่านั้น Forest Crayons ยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยป่าไม้ของญี่ปุ่นอีกด้วย […]

Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระที่รวบรวมซีนจากทั่วโลก และอยากเป็นพื้นที่ทดลองให้นักทำซีน

ตามประสาคนที่ชอบบันทึกความรู้สึกตัวเองลงไดอารี ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่บันทึกของเรามีวันที่ยิ้มแฉ่งและหน้าบูดบึ้งผสมกันไป แต่จำได้ว่าวันที่เราไปเยือน Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระเล็กๆ ของ วิว-วิมลพร รัชตกนก และ ภูภู่-วิศรุต วิสิทธิ์ นั้นเป็นวันที่เราเขียนหน้ายิ้มลงบนกระดาษ อากาศดีนั่นก็หนึ่งเหตุผล เพราะตอนที่ก้าวเข้าร้านฝนกำลังหยุดตก อุณหภูมิเย็นได้ที่ แถมในร้านยังมีกระจกที่มองออกไปเห็นสีเขียวของต้นไม้ด้านนอกที่กำลังเอนไหวไปตามแรงลม อีกหนึ่งเหตุผลคือการได้นั่งคุยกับวิว ผู้เปิดโลกแห่งสิ่งพิมพ์อิสระให้เราเห็นว่า ซีนนั้นสนุก สดใหม่ และเป็นอะไรมากกว่าที่เราเคยคุ้น แน่นอนว่าถ้าหากเอ่ยถามคนในวงการซีนเมืองไทย วิวและ Spacebar Design Studio น่าจะเป็นชื่อที่ใครหลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่การได้มาที่ Spacebar ZINE แห่งใหม่นี้เป็นเหมือนการก้าวเข้ามาสู่บ้านของวิวและภูภู่ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่พวกเขาหลงใหล ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์คัดสรรจากหลายประเทศทั่วโลก ไปจนถึงการเป็นพื้นที่ให้นักทำซีนหน้าใหม่เข้ามาทดลองทำซีนของตัวเองในหนึ่งวัน ตลอดบทสนทนา เรายังเห็นพลังของคนทำสิ่งพิมพ์ในแววตาของวิวเต็มเปี่ยม สิ่งนี้ยืนยันประโยคหนึ่งที่เราได้ยินคนพูดกันมากมาย Print is not dead, but boring print will. หญิงสาวที่โตมากับซีน “เราเป็นคนชอบงานเขียน งานวาด และงานภาพถ่ายอยู่แล้ว บังเอิญว่าเราเติบโตมากับสำนักพิมพ์ a book เคยทำงานในเครือ daypoets […]

1 2 3 4 341

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.