LATEST
ไม้ไผ่เหลือทิ้งจากโรงงาน แปลงร่างเป็น ‘จานชาม’ น่าใช้
ในช่วงที่ทุกคนอยู่ติดบ้านหลายคนคงกำลังหัดเข้าครัวทำขนม และตกแต่งบ้านให้สวยเก๋เหมือนคาเฟ่ แม้จะออกไปซื้ออุปกรณ์ครัวหรือเดินเล่นดูของแต่งบ้านไม่ได้เหมือนปกติ แต่ก็มีร้านค้าออนไลน์มากมายให้เลือกสรร จนเราไปสะดุดร้านที่ชื่อ thaitearoom___ บนอินสตาแกรม
‘เอซ-ธนบูรณ์’ คนต้นคิด ‘Greenery’ เพื่อนคู่คิดการกินดี และถนอมโลกอย่างยั่งยืน
Greenery คอมมูนิตี้ที่อยากเห็นสังคมตระหนักถึงความสำคัญของอาหารปลอดภัย และการบริโภคอย่างยั่งยืน
รวมร่าง ‘ผัดไทย’ กับ ‘พิซซ่า’ เมนูยามดึกสู้เคอร์ฟิว
ชวนประเดิมเมนูสู้เคอร์ฟิวด้วย ‘ผัดไทยพิซซ่า’ ที่หยิบเอาอาหารไทย และอาหารอิตาลีมาดัดแปลงสักหน่อย โดยใช้วัตถุดิบเพียงไม่กี่อย่างจากครัวเรือน
‘ปันอาหารปันชีวิต’ โครงการที่อุดหนุนสินค้าเกษตร ส่งต่ออาหารให้คนอิ่มท้องช่วงโควิด-19
ชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาด ประเทศไทยยังขาดการเตรียมตัวอย่างจริงจังในเรื่อง ‘อาหาร’ ทำให้เมื่ออยู่ในภาวะฉุกเฉิน ผู้คนโดยเฉพาะกลุ่มคนหาเช้ากินค่ำเข้าถึงอาหารได้น้อยลง จึงเกิดโครงการปันอาหารปันชีวิต ปิดรับบริจาคอาหารและเงินทุนเพื่อกระจายอาหารให้เข้าถึงกลุ่มคนเปราะบาง ทั้งยังช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรที่ประสบปัญหาระบายสินค้าไม่ทัน ด้วยการรับซื้อสินค้าในราคาที่เป็นธรรมอีกด้วย
เปิดบ้านดินมอญ สัมผัส “เครื่องปั้นดินเผา” มรดกล้ำค่าแห่งเกาะเกร็ด
เพราะไม่ต้องการให้มรดกที่สืบทอดกันมากว่า 200 ปี ของ “เครื่องปั้นดินเผา” เกาะเกร็ด ต้องกลายเป็นเพียงของที่ตั้งโชว์อยู่แค่ในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น ‘พงษ์พันธุ์ ไชยนิล’ หรือ ‘พี่จ๊อด’ ทายาทช่างศิลป์รุ่นที่ 5 แห่งบ้านดินมอญ จึงเกิดไอเดียทำเครื่องปั้นดินเผาแบบใหม่ภายใต้แบรนด์ ‘Panchanil’ ด้วยการเพิ่มมูลค่าให้เครื่องปั้นดินเผา หยิบยกเทคนิคมากมายมาสร้างความงามและเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร จนทำให้เครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตออกมาซ้ำๆ กลายเป็นของที่มีชิ้นเดียวในโลก จากเดิมมีราคาแค่ไม่กี่สิบบาท เพิ่มมูลค่าจนมีราคาเป็นหลักแสนในที่สุด
กิจกรรม #แบ่งปันความอิ่ม ร่วมฝ่าวิกฤต covid-19 เพียงฉีกตั๋วแล้วยื่นให้ร้านค้า ก็อิ่มฟรีได้ใน 1 มื้อ
กิจกรรม #ส่งต่อความอิ่ม ที่เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและเพื่อนๆ นิสิตในสำนักพิมพ์สำนักนิสิตสามย่านได้ไอเดียมาจากเมืองนาโปลี ประเทศอิตาลี นำมาเป็นต้นแบบในการช่วยเหลือคนที่กำลังลำบากในช่วงวิกฤติ COVID-19 ในขณะนี้
พิธีไล่ ‘ห่า’ โรคระบาดหนักยุค ร.2
“ไอ้ห่า” เชื่อว่าหลายคนต้องเคยได้ยินคำด่านี้กันใช่ไหม มันมีที่มาจากคำว่า โรคห่า เป็นคำที่ชาวบ้านใช้เรียกโรคระบาดที่เกิดขึ้นในอดีต พอเห็นว่าโรคระบาดใดๆ ก็ตามที่คร่าชีวิตผู้คนไปเยอะ ชาวบ้านก็จะเรียกว่า ห่าลง มันซะเลย เพราะแต่ก่อนยังไม่มีเทคโนโลยีและการแพทย์ที่ดี อีกทั้งชาวสยามยังเข้าไม่ถึงความรู้ด้านสุขอนามัย อันที่จริงบ้านเมืองเราต้องเจอกับโรคระบาดมานับครั้งไม่ถ้วน หากย้อนกลับไปในช่วงโรคระบาดยุคพระเจ้าอู่ทอง ก็มีนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์กันว่าโรคห่าในตอนนั้น แท้จริงแล้วคือกาฬโรค หรือในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็คาดกันว่าเป็นไข้ทรพิษ จนมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ก็เกิดห่าลงอีกครั้ง โดยห่าในครั้งนี้ คือ อหิวาตกโรค ซึ่งหนักเอาการถึงขนาดทุกตารางนิ้วบริเวณวัดสระเกศเต็มไปด้วยซากศพและฝูงแร้งนับร้อย จนเป็นที่มาของวลีที่เราคุ้นเคยอย่าง แร้งวัดสระเกศ อหิวาต์ ทำห่าลงสยาม โรคห่าในยุครัชกาลที่ 2 คือ อหิวาตกโรค เป็นโรคระบาดประจำถิ่นของประเทศในแถบเอเชียที่จะเวียนมาในทุกฤดูแล้งและหายไปช่วงฤดูฝน เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio Cholerae ที่มักเจอในของสุกๆ ดิบๆ และมีพาหะคือแมลงวัน ซึ่งเชื้อโรคนี้จะถ่ายทอดผ่านทางอุจจาระของผู้ป่วย โดยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียน ทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ยิ่งวิถีชีวิตริมแม่น้ำของคนสมัยก่อน ก็ยิ่งทำให้เสี่ยงติดเชื้อโรคและป่วยเป็นอหิวาตกโรคนี้ได้ง่าย เมื่อผู้คนขับถ่ายลงแม่น้ำ ความแย่ก็เกิดกับคนที่ต้องกินต้องใช้น้ำต่อๆ กันจนไม่รู้เลยว่าใครป่วยหรือไม่ป่วยกันแน่ จากบันทึกของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ ผู้แต่ง และผู้ตีพิมพ์หนังสือไทยเล่มแรกที่อธิบายความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และศาสนาที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้น […]
เมื่อสัตว์ป่วย มันจึง Social Distancing!
ไม่มีสัตว์ตัวไหนไม่กลัวเชื้อโรค Social Distancing จึงเป็นกระบวนการป้องกันเชื้อโรคตามธรรมชาติที่สัตว์ทำกันอยู่แล้ว
‘ถาดน้ำแข็ง’ ที่ไม่ใส่น้ำแข็ง จะใส่อะไรได้บ้าง ?
รู้หรือเปล่าว่า ‘ถาดน้ำแข็ง’ ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน สามารถใช้ทำอย่างอื่นได้มากกว่าการทำน้ำแข็งอย่างเดียว ! ไม่ว่าจะเป็นการใช้เก็บเครื่องเทศ การแบ่งเนื้อสัตว์ หรือการเก็บซุปที่เหลือไว้สำหรับใช้ในการทำอาหารมื้อต่อไปก็ได้ Urban Eat จึงมี 5 ทริคง่ายๆ ที่จะทำให้การทำครัวของเราง่ายขึ้นด้วยถาดน้ำแข็ง เพียงแค่แกะออกมาจากถาดก็เอาไปทำอาหารได้เลย !
‘ANTI VAXXERS’ กลุ่มต่อต้านการรับวัคซีน และโทษว่าวัคซีนคือตัวปัญหามากกว่าไวรัส
กลุ่มต่อต้านการรับวัคซีน’ (ANTI VAXXERS) มองว่าการฉีดวัคซีนไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง และจะไม่ยอมรับวัคซีนใดๆ เข้าสู่ร่างกายเด็ดขาด
“คิดบวกและส่งกำลังใจให้กัน” สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้จากชีวิต Lock Down ในมิลาน
เปิดไดอารีของสาวไทยในเมืองมิลานในช่วง COVID-19 ที่บอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่ลักษณะนิสัยของชาวอิตาลี ชีวิตความเป็นอยู่ในเมืองที่ถูกล็อคดาวน์ รวมถึงการกักตัวให้อยู่รอดปลอดภัย พร้อมวิธีการคิดบวกในแบบฉบับของเธอกัน
‘Freshket’ ตลาดสดออนไลน์ที่พยุงเกษตรกร ผู้บริโภค และธุรกิจให้รอดจากโควิด-19 ไปพร้อมกัน
Freshket’ ตลาดสดออนไลน์ที่มีบริการจัดส่งวัตถุดิบคุณภาพดีจากเกษตรกร มีทั้งของสดและของแห้งให้ถึงร้านอาหาร อีกทั้งในช่วงโควิด-19 ระบาด Freshket ยังเปิดให้ผู้บริโภคทั่วไปสั่งได้เช่นกัน โดยเริ่มต้นเพียง 499 บาท พร้อมบริการส่งฟรีทั่วกรุงเทพฯ