LATEST
กางเต็นท์เป็น ‘โรงหนัง Pop-up’
ทุกวันนี้โรงภาพยนตร์คงเป็นหนึ่งในสิ่งที่ถูกลดความสำคัญลงไป จากแต่ก่อนที่เป็นยุครุ่งเรืองของโรงหนังแบบสแตนด์อะโลน มาถึงยุคปัจจุบันที่เราสามารถดูหนังได้ไม่จำกัดเรื่องที่บ้าน ยิ่งเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้เราระมัดระวังการใช้ชีวิตในพื้นที่ปิดกับคนเยอะๆ และด้วยมาตรการป้องกันต่างๆ ก็แทบทำให้เราลืมวัฒนธรรมการดูหนังในโรงไปเลย
จิบชาชิม ‘หรุ่ม’ ของว่างโบราณ บ้านสุเหร่าบางอ้อ
วัฒนธรรมการจิบชายามบ่ายใช่ว่าจะมีแต่ในชนชั้นสูงชาติตะวันตก เพราะสมัยก่อนเศรษฐีย่านบางอ้อก็ทำของว่างที่ชื่อ “หรุ่ม” เสิร์ฟคู่กับน้ำชาไว้ต้อนรับแขก จนกลายเป็นธรรมเนียมของบ้านสุเหร่าบางอ้อ
ดื่มกาแฟแล้วทำไมยังง่วง ?
‘กาแฟ’ คือเครื่องดื่มยอดฮิตของคนทั่วโลก เป็นเมนูที่ทำมาจากเมล็ดกาแฟคั่ว โดยในกาแฟจะมีส่วนประกอบของ ‘กาเฟอีน’ เป็นสารในกลุ่มแซนทีนอัลคาลอยด์ ที่มีระบบทำงานเพื่อเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ลดความง่วง ความเหนื่อยล้า และเพิ่มความกระปรี้กระเปร่า
เยือนถิ่น ‘จันทบุรี’ เมืองผลไม้แดนตะวันออก วานให้เด็กเมืองจันท์เป็นผู้นำทาง
ขับรถตระเวน และเดินเตาะแตะที่ ‘จันทบุรี’ โดยมีเจ้าถิ่นเด็กเมืองจันท์เป็นไกด์เฉพาะกิจ
‘นิทานเด็ก’ ไม่ได้สอนแค่เด็ก แต่ยังสอนให้ ‘ผู้ใหญ่’ เปิดโลกของเด็กให้กว้างขึ้น
ชวนหนูๆ และผู้ใหญ่มาท่องโลกนิทานเด็กกับ ‘ณิชา พีชวณิชย์’ นักเขียนนิทานเด็กที่สร้างสรรค์นิทานจนคว้ารางวัลหนังสือดีเด่นมาแล้ว บทสนทนาครั้งนี้จึงเต็มไปด้วยเรื่องราวของการทำงานเป็นนักเขียนนิทาน ตลอดจนความสำคัญของนิทานเด็กที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ ควรรู้ให้มากขึ้นเพื่อเข้าใจธรรมชาติของเด็ก และสอนเขาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันข้างหน้า
ตะลุยตามหา ‘ร้านหนังสืออิสระในไทเป’ ฉบับเจ้าถิ่น
ตามประสามนุษย์หนังสือไม่ว่าจะเดินทางไปเมืองไหน เรามักจะปักหมุดร้านหนังสืออิสระของแต่ละเมืองไว้เป็นหนึ่งในลิสต์สถานที่ที่ต้องไปเยือนเสมอ และถ้าเป็นไปได้ก็จะหยิบหนังสือสักเล่มติดไม้ติดมือกลับมาอ่าน รู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง แต่ก็ได้ดูภาพประกอบและเลย์เอาต์ของหนังสือไปพลาง ก็เหมือนได้ทำความรู้จักประเทศนั้นๆ เพิ่มมากขึ้น หากพูดถึงที่ประเทศไต้หวัน นอกจากร้านหนังสือเชนสโตร์อย่าง ‘Eslite Bookstore’ ที่มีสาขากระจายตัวอยู่ทั่วไทเปและหลายเมืองแล้ว ความโดดเด่นของวงการหนังสือและสิ่งพิมพ์ไต้หวันคือยังมีคนตัวเล็กๆ ที่ปลุกปั้นร้านหนังสืออิสระในแบบเฉพาะของพวกเขาซึ่งซุกซ่อนอยู่ตามมุมต่างๆ ทั้งใน Creative Park บ้าง แอบอยู่บนชั้นสองของตึกแถวเล็กๆ ในซอยที่ไม่ค่อยมีคนพลุกพล่าน วันนี้เราเลยรวบรวมมาเป็นลิสต์เบื้องต้นสำหรับเหล่าหนอนหนังสือที่มาเยือนไทเปก็ไม่ควรพลาดไปแวะชมร้านหนังสือเหล่านี้ 青鳥 Bleu&Book สาขาหลักของร้านนี้อยู่ที่ Huashan 1914 Creative Park ทันทีที่ผลักบานประตูสีเขียวเข้าไป โลกแห่งความสงบภายในก็รอให้เราได้มาสัมผัส ‘Bleu&Book’ เป็นร้านหนังสืออิสระขนาดใหญ่ที่คัดสรรหนังสือหลากหลายประเภท แม้ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาจีน แต่เราก็เพลิดเพลินไปกับการไล่สายตาดูหนังสือเล่มนั้นเล่มนี้บนชั้นที่คัดสรรมาอย่างดีได้นานพอดู หรือใครที่เดินเที่ยวมาเหนื่อยๆ ร้านนี้ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการหลบมานั่งพักดื่มกาแฟ และที่นี่ยังมักจะจัดเสวนาเปิดตัวหนังสือหรือชักชวนนักเขียนชาวไต้หวันมาพูดคุยใกล้ชิดกับนักอ่านอยู่บ่อยๆ เรียกว่าเป็นอีกบรรยากาศที่น่าลองไปสัมผัสดูเหมือนกัน Sources: https://bleu.com.tw/www.facebook.com/bleubook/ 浮光書店 Illumination Books สิ่งที่ทำให้เราประทับใจร้านหนังสือแห่งนี้ตั้งแต่การไปครั้งแรก คือถึงแม้จะตั้งอยู่ในย่านวัยรุ่นสุดฮิปอย่าง Zhongshan แต่การต้องปีนบันไดสุดชันขึ้นไปบนชั้นสองของห้องแถวที่ล้อมรอบไปด้วยธุรกิจเซียงกงก็ทำให้เราตื่นเต้นไม่น้อย สำหรับเอกลักษณ์ของร้านนี้เน้นหนังสือ non-fiction สไตล์สังคมศาสตร์ ปรัชญา และการเมืองซึ่งถือว่าเฉพาะตัวมากๆ Jc Chen […]
6 หนังสือเข้าใจความเป็นคน
6 หนังสือน่าอ่านที่เราจะแนะนำ อาจช่วยคุณตกตะกอนความคิด สะกิดความเข้าใจเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานในการเกิดมาเป็นคนได้ไม่มากก็ (ไม่) น้อย
“ศิลปะไทยมีการเมือง ชนชั้น การคุกคามซ่อนอยู่” ‘เอมรินทร์’ คนเบื้องหลัง Unmuted Project
เงี่ยหูฟังเสียงของ ‘เอม-เอมรินทร์’ คนเบื้องหลัง ‘Unmuted Project’ นิทรรศการศิลปะที่ยืนยันว่า ทุกความคิด และทุกความจริงที่แสดงออกผ่านงานศิลป์ต้องมีสิทธิและเสรีภาพอย่างแท้จริง ซึ่งบทสนทนาครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางงานศิลปะกว่า 300 ชิ้น พร้อมสายตาแน่วแน่ และนำ้เสียงที่มั่นคงของเอม หนึ่งในศิลปินที่อยากให้ การคุกคาม ชนชั้น และอำนาจเชิงการเมืองหมดไปจากงานศิลปะ
อนาคตหนังสือการ์ตูนจะอยู่หรือไป ?
คุณชอบอ่านการ์ตูนแบบไหน ระหว่าง ‘หนังสือ’ หรือ ‘E-Book’ ? ภาพจำสมัยก่อนตอนเด็กๆ จะรอซื้อการ์ตูนที่ร้านขายหนังสือทุกวันหลังเลิกเรียน ปัจจุบันนี้ต้องเปลี่ยนเป็นรอออกตอนใหม่บนสมาร์ทโฟนไปเสียเเล้ว เพราะปฎิเสธไม่ได้เลยว่ายุคนี้เราอ่านสื่อต่างๆ บนออนไลน์เกือบทั้งหมด รวมทั้งวงการการ์ตูนเองก็เริ่มเปลี่ยนจากหน้าหนังสือมาอยู่บนหน้าจอมือถือกันมากขึ้น หรือว่าต่อไปจะกลายเป็นยุคของ E-Book แล้ว ? ชวนมาคุยกับ ‘บ.ก. ยูตะ’ หรือ ‘คุณพิธูร ตีรพัฒนพันธุ์’ หัวหน้ากองบรรณาธิการสำนักพิมพ์ ‘วิบูลย์กิจ’ ตำนานหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นที่ครองใจคนอ่านมานานกว่า 50 ปี อย่างโคนัน ก้าวเเรกสู่สังเวียน และไททัน เมื่อปัจจุบันค้นพบว่าไลฟ์สไตล์คนอ่านเปลี่ยนไปแล้ว พร้อมกับเทคโนโลยีที่เข้ามาแทนที่สื่อสิ่งพิมพ์ พวกเขาจะทำอย่างไรต่อไป ต้องมาติดตามกัน ! #UrbanCreature #UrbanInsight #วิบูลย์กิจ #ebook #vibulkij
‘สื่อสิ่งพิมพ์’ อยู่หรือไป ใครกำหนด ?
ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่ามีสำนักพิมพ์หรือนิตยสารต่างๆ ทยอยโบกมืออำลาตามกันไป เช่น ‘Go Genius’ นิตยสารวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กในเครือสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ‘ครัว’ นิตยสารสำหรับคนทำอาหาร หรือจะเป็นนิตยสาร ‘ดิฉัน’ ‘ขวัญเรือน’ และ ‘คู่สร้างคู่สม’ ที่อยู่คู่คนไทยมาหลาย 10 ปี
ลิ้มรสอาหารใต้ตำหรับสงขลา เสิร์ฟร้อนๆ อบอุ่นเหมือนคุณพ่อมาทำให้กิน
ร้านอาหารใต้ที่เปิดบ้านรออาหารเสิร์ฟสดใหม่ พร้อมให้คนรักอาหารใต้ไปทานกันแบบจานต่อจาน
ยิ่งส่ง = ยิ่งช่วย : กล่องพัสดุช่วยให้เด็กกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้อย่างไร ?
คุยกับ ‘คุณกล้วย รวิสรา จามลิกุล’ Art Director Art Director จาก Kerry Express ที่จะมาเล่าถึงที่มาที่ไปในการออกแบบกล่องพัสดุ ซึ่งสามารถช่วยเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาในช่วง COVID-19 ให้ได้กลับมาในระบบการศึกษาอีกครั้ง