ในวันที่คนสำคัญสิ้นสุดลมหายใจ ภาพงานศพเคล้าน้ำตาในวัดและพวงหรีดดอกไม้ที่วางหน้าโลงศพเป็นสิ่งที่พบง่ายเกือบทุกงานศพไทย แต่เคยตงิดใจกันบ้างไหมว่าดอกไม้แสนสวยบนพวงหรีด จบพิธีแล้วไปไหน ไปเป็นขยะหรือเปล่าหว่า
จินา โอสถศิลป์ ผู้บริหารค่ายหนังอารมณ์ดี GDH เจ้าของธุรกิจต้นไม้ ‘ปักกิ่งดี’ มองเห็นปัญหาการสร้างขยะหลังงานศพ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพวงหรีดดอกไม้ที่ใช้แล้วทิ้ง เพราะนำไปปลูกต่อไม่ได้ เธอจึงใช้ความอารมณ์ดีผสมความใจดี (ต่อโลก) ทำพวงหรีดจากต้นไม้พร้อมจัดส่งให้ถึงงานศพในชื่อ ‘หรีดต้นไม้’ หรือ Wreath for Breath โดยต้นไม้ที่เลือกใช้จะเป็นไม้กระถาง เจ้าของงานหรือแขกเรือนสามารถนำกลับไปปลูกต่อทั้งหมด เพื่อแลกเปลี่ยนออกซิเจนดีๆ แทนของชำร่วยให้คนที่ยังอยู่ได้รับอากาศบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น
นอกจากต่อลมหายใจให้คน ที่นี่ยังมีบริการรับดูแลต้นไม้ต่อในกรณีที่เจ้าภาพบางคนแบกกลับบ้านไม่ไหว โดยรายได้ 5% จากการขายหรีดต้นไม้ยังมอบให้มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ เพื่อนำไปปลูกป่าเพื่อต่อลมหายใจให้ผืนป่าอยู่กับเราไปนานๆ อีกด้วย
ป.ล. สำหรับแฟนเพจ Urban Creature เพียงแจ้งปักกิ่งดีว่าตามมาจากเพจเรา รับส่วนลดไปเลย 10% ทุกรายการ ตลอดเดือนมีนาคม ปี 2564
รายละเอียดเพิ่มเติม : www.packkingdee.com
RELATED POSTS
Acousticity | Copter คืนนี้ไปส่ง Live Session @ซอยนานา
เรื่อง
Urban Creature
นานาที่หลายคนนึกถึง อาจเป็นซอยในย่านสุขุมวิท แหล่งท่องเที่ยวยามราตรีของเหล่านักดื่ม แต่จริงๆ ยังมีอีกหนึ่งซอยนานาในย่านเยาวราชที่บรรยากาศดีและมีบาร์ Specialty ค็อกเทลมากมายไม่แพ้กัน “เวลาเรา Hang out กันเสร็จแล้ว ก็อาจจะมีมุมที่เจอคนถูกใจหรือว่าอยากจะทำความรู้จักต่อ และเมื่อเรารู้จักกันแล้วก็จะมีความเป็นห่วงเขา เราเลยลองถามเขาดูว่า คืนนี้เขากลับยังไง ให้เราไปส่งไหม” วันนี้รายการ Acousticity พา ‘Copter’ ศิลปินจากค่าย @BOXX Music เจ้าของเพลงดัง ‘เธอบอกว่าฉันไม่ดี’ มาเล่นเพลง ‘คืนนี้ไปส่ง’ ท่ามกลางแสงสีจากซอยนานา ก่อนบอกลาและเข้านอนด้วยกัน
พลังของคนรุ่นใหม่ ที่อยากให้ธนบุรีเป็นย่านที่ดีขึ้นกว่าเดิม | ยังธน
เรื่อง
kittipot p.
เราอาจมองว่าการพัฒนาเมืองเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง แต่ในย่านธนบุรีกลับมีกลุ่ม ‘ยังธน’ ที่ประกอบไปด้วย ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ กลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี ที่ทำให้คนในย่านได้เห็นว่ากลุ่มคนธรรมดาก็รวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ “การที่เราเข้าไปขับเคลื่อนในพื้นที่ไหนก็ตาม แม้เราจะเป็นคนริเริ่ม แต่สุดท้ายคนในพื้นที่ต้องขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง” แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม โดยการนำ ‘ความสนุก’ มาเป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาเมือง เพื่อขับเคลื่อนให้ชาวธนบุรีมีความสุขกับย่านนี้
พัฒนาชุมชนด้วยการเชื่อมคนนอกกับคนในย่านหัวลำโพง | ริทัศน์บางกอก
เรื่อง
Urban Creature
“ภาพจำของย่านหัวลำโพงสมัยก่อน คนอาจนึกถึงแค่ตัวสถานีรถไฟ จนไม่ค่อยเล็งเห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่อยู่บริเวณรอบข้าง ทั้งที่เรามองว่าสิ่งนี้ก็เป็นเสน่ห์หนึ่งของย่านหัวลำโพงที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนเหมือนกัน” ‘ริทัศน์บางกอก’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแก๊งเพื่อน ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจนทำให้ชุมชนย่านหัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเพียงสถานีรถไฟ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Sense of Belonging และเชื่อมคนนอกและคนในเข้าด้วยกันก่อน แล้วการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะตามมาเอง Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่เข้ามาพัฒนาและรื้อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนย่านหัวลำโพงให้เป็นมากกว่าสถานีรถไฟ พร้อมทำให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ไปได้ไกลมากกว่าเดิม สามารถติดตามกลุ่มริทัศน์บางกอกได้ที่ : www.facebook.com/rtusbangkok/?locale=th_TH
การรวมกลุ่มของผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ในการช่วยกันพัฒนาย่านทรงวาด | Made in Song Wat
เรื่อง
kittipot p.
‘ทรงวาด’ ย่านที่มีมนตร์เสน่ห์ที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิม รวมถึงยังกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป ด้วยการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงและทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง “อยากจะสร้างย่านแบบไหน พวกเราไม่มีใครรู้เลย เราแค่มีใจที่อยากจะทำ มันไม่มีสูตรสำเร็จ” ผู้ประกอบการเหล่านี้รวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ ประสานพานิช’ ร่วมกับสมาชิกผู้ก่อตั้งในปีแรกในการลงมือพัฒนาย่านนี้ด้วยกัน ซึ่งผลของการร่วมมือร่วมใจของคนในย่านที่สนับสนุน ยอมรับ และเดินหน้าพัฒนาไปด้วยกัน จนทำให้เมื่อปีที่แล้ว ทรงวาดกลายเป็นหนึ่งใน 40 ย่านสุดเจ๋งที่ได้รับการจัดอันดับจากสื่อระดับโลก ส่งผลให้ผู้คนยิ่งอยากเข้ามาลองสัมผัสความเป็นทรงวาดที่หาจากย่านไหนไม่ได้