
LATEST
‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการที่ชวนตั้งคำถามถึงการพัฒนาสามย่านที่สวนทางกับชุมชน
ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวางผังเมืองที่ชัดเจน ทำให้เกิดชุมชนที่พัฒนาไม่ทันเมือง อย่างเช่น ‘ชุมชนสามย่าน’ บริเวณถนนพระราม 4 การพัฒนาทำให้พื้นที่บริเวณสามย่านมีค่าเช่าสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบางส่วนแบกรับไม่ได้ ปรเมษฐ์ จิตทักษะ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้มากว่า 20 ปี จึงเปลี่ยนประสบการณ์และความทรงจำที่มีกับชุมชนในสามย่านซึ่งพยายามปรับตัวให้ทันระบบทุนนิยมและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยการตั้งคำถามที่ว่า ‘ทำไมเราถึงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง’ ในงานนิทรรศการแสร้งเสมือนจริง ‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการนี้ไม่ใช่แค่นำเสนอเรื่องราวให้ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด แต่นำเสนอมุมมองและเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้จินตนาการผ่านกระบวนการดิจิทัล คล้ายๆ การเล่นเกมที่มีองค์ประกอบของภาพและเสียงจริงๆ สอดแทรกอยู่ นับเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยความร่วมมือระหว่างศิลปินกับศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) เจ้าของพื้นที่โดมรูปทรงเรขาคณิตที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ในสามย่าน นิทรรศการจะเปิดให้เข้าชมในเว็บไซต์ faamai.wpcomstaging.com/home/ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม – 30 เมษายน นี้
สนุกกับสองล้อคู่ใจในแบบที่ใช่คุณ
‘CUB House by Honda’ คอมมูนิตี้มีชีวิตแหล่งรวมเรื่องราวความสนุกจากรถมอเตอร์ไซค์สุดยูนีก ที่มาพร้อมกิจกรรมให้มาร่วมค้นหาคำตอบว่า วิถีที่ชอบในแบบที่ใช่ของตัวเองจะเป็นแบบไหนกัน
‘Microsoft Mesh’ แพลตฟอร์มใหม่ที่เราจะได้คุยกันผ่านโฮโลแกรม สร้าง Avatar ได้เสมือนอยู่ในห้องเดียวกัน
เพราะการระบาดของโควิด-19 ทำให้หลายคนต้องทำงานที่บ้านมากขึ้น ในช่วงแรกอาจดูเหมือนไปได้ดี แต่พอนานไป การที่ต้องมองหน้าเพื่อนผ่านช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ มันก็แอบน่าเบื่อเหมือนกัน แถมบางครั้งยังทำให้การสื่อสารคลาดเคลื่อนอีกด้วย ดังนั้น Microsoft จึงเปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่ที่ชื่อว่า ‘Microsoft Mesh’ ให้เราทำงานร่วมกันได้ ผ่านการสร้าง Avatar และ Holoportation ที่เป็นการฉายร่างมนุษย์จริงขึ้นไป ด้วยระบบ MR (Mixed Reality) ซึ่งตัว Avatar ของเราสามารถเดินไปเดินมา หยิบของไปวางที่ต่างๆ แถมระบบเสียงยังให้ความรู้สึกเหมือนทุกคนอยู่ในห้องเดียวกันอีกด้วย โดยสามารถใช้งานผ่านทางแว่น HoloLens แว่นตา VR ไปจนถึงหน้าจอโทรศัพท์หรือเดสก์ท็อปก็ได้ ลองคิดเล่นๆ ว่าการประชุมผ่าน Microsoft Mesh จะทำให้สนุกขึ้นมากแค่ไหน เพราะเราจะได้สร้าง Avatar ตัวเองและจำลองสิ่งต่างๆ ให้เหมือนจริง การสื่อสารของเราคงจะสนุกขึ้น เห็นภาพมากขึ้น และคลาดเคลื่อนน้อยลงอย่างแน่นอน Sources :Mashable | https://bit.ly/3vUuhViTNN | https://bit.ly/3sbSmVb
Our Land เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเอกชนแห่งกาญจนบุรีที่มนุษย์และสัตว์อยู่ร่วมกันได้
พื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า Our Land แห่งจังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเปลี่ยนมุมมองที่ว่าคนกับสัตว์ป่าอยู่ร่วมกันไม่ได้ เพื่อให้เราเข้าใจและรู้สึกว่าธรรมชาติคือบ้านอีกหลังหนึ่งของเรา และสัตว์ป่าก็เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างคุณค่าต่อโลกใบนี้เช่นกัน
เนเธอร์แลนด์ จับมือ Fieldlab ทดลองจัดอีเวนต์ช่วงโควิด-19 หาความเป็นไปได้ใหม่ช่วยฟื้นตัวเศรษฐกิจ
หลังจากเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมายอดผู้ติดเชื้อ COVID-19 สะสมของประเทศเนเธอร์แลนด์ทะลุ 1 ล้านคน เป็นชาติที่ 21 ของโลก รัฐบาลก็สานต่อโครงการที่เตรียมการมาตั้งแต่ปีที่แล้ว ร่วมกับคณะนักวิจัย Fieldlab องค์กรที่ดำเนินการวิจัยให้กับรัฐบาล เพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการจัดงานอีเวนต์อย่างปลอดภัยช่วงการแพร่ระบาดนี้
แม็กซ์ เจนมานะ พ่อแก่นเซี้ยวที่สอนให้ลูกรู้จักความเทาของคนและใช้ชีวิตให้เก๋ากว่าพ่อ
สัมภาษณ์ : แม็กซ์-ณัฐวุฒิ เจนมานะประเด็น : แม็กซ์กับบทบาทความเป็นพ่อของน้องชัดเจนบรีฟ : สัมภาษณ์พร้อมถ่ายภาพประกอบ แต่งตัวแก่นเซี้ยว สนุกๆ มาเลยนะคะ “ได้เลยครับ 55555” แม็กซ์พิมพ์ตอบภายใน 2 นาทีหลังจากส่งบรีฟให้เขาทางไลน์ ถัดจากฉันไม่ถึง 3 ก้าว คือชายผิวขาว ตาสีน้ำตาลอ่อน มีโครงหน้าค่อนไปทางฝรั่งจนฉันเคยเข้าใจผิดว่าเขาเป็นลูกครึ่งแน่ๆ ตั้งแต่ประกวดร้องเพลงเวที The Voice Thailand ไปจนถึงออกซิงเกิลติดปากมากมาย เช่น ไวน์, วันหนึ่งฉันเดินเข้าป่า, ปีศาจ และล่าสุด วันนี้ฉันอยากไปทะเล แต่แท้จริงเขาเป็นลูกชายคนโตประจำตระกูลเจนมานะ บ้านที่แวดล้อมไปด้วยคนไทยเชื้อสายจีน มีอากง อาม่า ป๊า ม๊า ที่เลี้ยงดูอย่างเข้มข้นและเข้มงวดบ้างตามค่านิยมสังคม แถมถูกปลูกฝังความเป็นปึกแผ่นในครอบครัวใหญ่ตามแบบฉบับธุรกิจกงสี ฉะนั้น จะเรียกเขาว่าลูกครึ่งไทย-จีน คงไม่ผิดเพี้ยน แม้แม็กซ์เติบโตมากับแนวคิดดั้งเดิมของคนรุ่นก่อน แต่ทัศนมิติรอบด้านในฐานะ ‘พ่อคน’ กลับใหม่เอี่ยมและจี๊ดจ๊าด เพราะ เด็กชายชัดเจน เจนมานะ ลูกชายวัย 5 ขวบครึ่งของเขาไม่ต้องคิดเรื่องทดแทนบุญคุณ ไม่ต้องมาเลี้ยงเขายามแก่ […]
‘CloudFisher’ อวนจับหมอกที่สามารถเปลี่ยนความชื้นเป็นน้ำ แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในโมร็อกโก
ในช่วงหน้าร้อน หลายพื้นที่ก็อาจจะมีปัญหาน้ำไม่พอใช้อยู่บ้าง แต่ที่ดูได้รับผลกระทบมากที่สุดคงเป็นเกษตรกร เราจึงอยากพาทุกคนมารู้จักกับ ‘CloudFisher’ อวนจับหมอกขนาดใหญ่สุดเจ๋ง แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในโมร็อกโก ในเขต Aït Baamrane ภูเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของโมร็อกโกที่ผู้คนทำเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ เป็นพื้นที่กึ่งแห้งแล้ง แต่มีหมอกเป็นจำนวนมากเพราะได้รับอิทธิพลจากหมู่เกาะคานารี Dar Si Hmad องค์กรไม่แสวงหากำไรจึงปิ๊งไอเดียทำ ‘CloudFisher’ อวนจับหมอกที่จะเปลี่ยนความชื้นเป็นน้ำ ให้ไหลลงสู่ภาชนะพลาสติกด้านล่าง ผ่านระบบท่อไปยังอ่างเก็บน้ำ แล้วส่งไปยังหมู่บ้านในพื้นที่ เนื่องจากหมอกไม่มีมลพิษ ทำให้น้ำสะอาดและพร้อมใช้งาน โดย ‘CloudFisher’ เก็บน้ำสะอาดได้มากถึง 1,600 แกลลอนต่อวัน โครงการนี้ใช้เวลาศึกษาและทดลองกว่า 10 ปีและยังได้รับรางวัล Momentum for Change จาก UN ในปี 2016 เรียกได้ว่าเป็นโครงการที่น่านำมาแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในเมืองที่มีปัญหาคล้ายๆ กัน Sources : Fieldstudy | https://bit.ly/3r6dFWH Weather | https://bit.ly/3c5oNz4
10 ธุรกิจดังที่ผันตัวมาเป็นผู้ฟื้นฟูโลก
ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม หลายครั้งที่เรามักโฟกัสกับนโยบายระดับประเทศ แต่ในขณะเดียวกันยังมีคนอีกมากที่ลุกขึ้นมามีส่วนร่วมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นองค์กรหรือแบรนด์ต่างๆ ที่เริ่มออกมาแสดงจุดยืนและเข้าร่วมขบวนรักษ์โลก
Starboard แบรนด์กีฬาทางน้ำของแชมป์โลก Windsurf ที่ผลิตบอร์ดจากขยะทะเล ขยะครัวเรือน
ท่ามกลางฤดูกาลที่เงียบสงบสองฟากฝั่งของทะเลไทยทั้งอ่าวไทยและอันดามันกำลังเฝ้ารอวันที่คลื่นลมจะหวนกลับมา เพื่อต้อนรับนักเซิร์ฟจากทั่วทุกสารทิศให้กลับมาวาดลวดลายบนปลายคลื่นอีกครั้ง ในฐานะกีฬาที่ต้องเอาร่างกายออกไปปะทะสายน้ำ จึงทำให้ความนิยมของกีฬาประเภทนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมกับแนวคิดเรื่องการปกปักรักษาธรรมชาติ เมื่อสองปัจจัยผสานกันไปราวกับเกลียวคลื่นเราเลือกที่จะเดินทางไปพูดคุยกับ สเวน รัสมุสเซ่น (Svein Rasmussen) อดีตนักกีฬาวินด์เซิร์ฟแชมป์โลก ผู้ก่อตั้ง Starboard ผู้ผลิตเซิร์ฟบอร์ดและอุปกรณ์กีฬาทางน้ำที่ไม่คิดจะทำ CSR แต่มีภารกิจหลักเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เคยเก็บขยะบนชายหาดตั้งแต่บางแสนถึงสัตหีบ ปลูกต้นโกงกางเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์นับ 650,000 ต้น แถมยังคิดภาษีให้ตัวเองเมื่อจำเป็นต้องใช้พลาสติก จนไม่ได้หยุดความนิยมอยู่ที่นักโต้คลื่น แต่กลายเป็นที่รักของทุกคนที่มีใจให้สิ่งแวดล้อม แบรนด์ที่กำเนิดท่ามกลางดวงดาว ย้อนกลับไปในปี 1994 ริมชายหาดแห่งหนึ่งของฮาวายในวันที่ฟ้าเปิดและมองเห็นดวงดาวได้ชัดเจน นักกีฬาวินด์เซิร์ฟที่ประสบความสำเร็จระดับโลกในวัย 30 ปี กำลังมองหาคลื่นลูกใหม่ให้กับชีวิตหลังเกษียณ แม้จะมีไอเดียอยู่เต็มหัว แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับชายที่เอาจริงเอาจังเรื่องกีฬาตั้งแต่เด็ก และไม่ได้สนใจเรื่องโรงเรียนแม้แต่น้อยที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจสักอย่างหนึ่ง “ตั้งแต่เด็กกีฬาเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เลือดลมของผมสูบฉีด ผมไม่ได้รู้อะไรมากนักเพราะไม่เคยทุ่มเทให้การเรียน เพราะฉะนั้น คงไปสมัครงานที่ไหนไม่ได้แน่ๆ สิ่งที่แน่นอนคือเวลานี้เหมาะที่สุดในการจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ และผมรู้ดีมากเกี่ยวกับวินด์เซิร์ฟ ตอนนั้นไอเดียเกี่ยวกับธุรกิจอัดแน่นอยู่เต็มหัว สิ่งเดียวที่ผมยังไม่แน่ใจคือจะเรียกมันว่าอะไรดี “คืนนั้นผมนั่งอยู่ที่ฮาวาย พยายามค้นหาชื่อที่เหมาะ ในขณะที่คำตอบยังไม่ออกมาให้เห็นก็มองดูดวงดาวไปเรื่อยเปื่อย พร้อมคิดไปด้วยว่าดาวแต่ละดวงต้องการจะบอกอะไรเรา “ผมชอบดาราศาสตร์ จึงพอรู้ว่าดาวแต่ละดวงมีความหมายในตัวเอง ตอนนั้นเองผมคิดว่าชื่อ Star (ดวงดาว) ก็เป็นอะไรที่โอเคแล้ว แต่ในเมื่อดวงดาวมันเรียงกันเป็นแนว (Border) และเรากำลังจะผลิตบอร์ด (Board) ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่าแบรนด์นี้ต้องชื่อ […]
Apple เปิดตัวบริการค้นหาสถานที่ฉีดวัคซีน ผ่าน Apple Maps และ Siri โดยเริ่มใช้ที่สหรัฐฯ เป็นที่แรก
หลังจากที่เปิดให้บริการค้นหาสถานที่ตรวจ COVID-19 ใน Google Maps ไปเมื่อปีที่แล้ว ล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ Apple ได้เริ่มให้บริการค้นหาสถานที่เข้ารับการฉีดวัคซีนในบางพื้นที่ของสหรัฐอเมริกาแล้ว ผู้ใช้ Apple ในสหรัฐฯ สามารถค้นหาคำว่า ‘สถานที่ฉีดวัคซีน COVID-19’ ใน Apple Maps หรือถาม Siri ว่า ‘ฉันจะเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ที่ไหนบ้าง’ เพื่อค้นหาสถานที่ฉีดวัคซีนที่ใกล้คุณมากที่สุดและทำการนัดเพื่อเข้ารับการฉีดวัคซีนต่อไป Apple Maps จะแสดงเครื่องหมายดอกจันสีแดงเพื่อแสดงสถานที่ฉีดวัคซีนกว่า 20,000 แห่ง ที่พร้อมให้บริการทั่วสหรัฐอเมริกาและคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต นอกจากนั้น ยังให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับ COVID-19 อื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ เช่น การจัดรายการพอดแคสต์สั้นๆ ให้ข่าวสารที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับ COVID-19 และเป็นที่น่าสนใจว่าบริการค้นหาสถานที่ฉีดวัคซีนนี้จะให้บริการในพื้นที่ประเทศไทยได้เมื่อไหร่ ต้องติดตามกัน
เงยหน้าหา ‘หัวมุมตึก’ สถาปัตยกรรมที่บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองในอดีต
หัวมุมตึก หนึ่งจุดเด่นที่อยู่คู่กันกับตึกแถว เป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งโครงสร้างและลักษณะของสถาปัตยกรรมสามารถบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต และวิวัฒนาการที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย หัวมุมของอาคารในปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นทำเลทองที่มีการอนุรักษ์ ปรับปรุงโดยภาคเอกชน จนกลายเป็นย่านเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญไปแล้ว จากความหลงใหลในการเดินย่านที่เต็มไปด้วยตึกเก่าแก่มากมาย ทำให้เราลองเปลี่ยนมุมมองตัวเองจากการมองดูสิ่งรอบตัว เป็นการยกกล้องถ่ายรูปขึ้นแล้วเล็งชัตเตอร์ไปที่ ‘หัวมุมตึก’ “มุมนี้อยู่มาหลายยุคหลายสมัย” “มุมนี้ครบวงจร” “มุมนี้ถูกทิ้งร้าง” “มุมนี้ขายแว่น” “มุมนี้มีพิพิธภัณฑ์” “มุมนี้เปลี่ยนเป็นธนาคาร” “มุมนี้มีคาเฟ่แซมด้วยต้นไม้” “มุมนี้ขายทอง” “มุมนี้เหมือนในหนังฮ่องกง” “มุมนี้ขายตาชั่ง” “มุมนี้มีของอร่อยขาย” “มุมนี้มีโรงแรม” “มุมนี้หุง อุ่น ตุ๋น ต้ม นึ่ง” “มุมนี้เป็นจุดกำเนิดการประปา” “มุมนี้รวม Art of Hand Painting” “มุมนี้สมดุล” “มุมนี้มีอะไหล่”
‘ทรงวาด’ ย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองที่สุดแห่งพระนคร
จุดเริ่มต้นของย่าน ‘ทรงวาด’ เริ่มต้นจากเหตุการณ์ไฟไหม้หลายครั้งเพราะความแออัดของชุมชน และตัวอาคารที่เป็นไม้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) จึงทรงวาดแนวถนนบนแผนที่ขึ้นมาใหม่ เป็นเส้นตรงจากท่าน้ำราชวงศ์เลียบแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงวัดปทุมคงคาฯ เพื่อลดความแออัดของพื้นที่ย่านสำเพ็ง เพราะถ้าปล่อยให้ปลูกสร้างอาคารอย่างเดิม ตึกรามบ้านช่องก็จะแน่นหาทางเดินไม่ได้ และรับสั่งให้เปิดเป็นถนน รถราจะได้มีโอกาสแล่น ไม่ต้องแออัด เมื่อสำเร็จความเจริญก็เข้ามาถึง ถนนสายนี้จึงมีนามว่า ‘ทรงวาด’ เวลา 09.00 น. แสงแดดสาดส่องยังตึกเก่าแก่สไตล์โคโลเนียล ที่โดดเด่นด้วยซุ้มประตูหน้าต่างแบบกอทิก ประดับประดาด้วยไม้ฉลุสีเขียวอย่างวิจิตร ตึกแห่งนี้เคยเป็นห้างขายผ้าที่นำเข้าจากอินเดีย จนมีชื่อเล่นว่า ‘ตึกแขก’ มนตร์เสน่ห์ของตึกแขกดึงดูดทุกสายตาของคนที่ผ่านไปผ่านมาบริเวณหัวมุมถนนทรงวาดตัดกับถนนราชวงศ์ รวมถึงเชื้อเชิญให้เราเข้าไปเยือนถนนทรงวาด เพื่อตามหาร่องรอยอารยธรรมและเรื่องราวที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังถนนย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองที่สุดของพระนคร ร่องรอยความรุ่งเรืองของย่านทรงวาด เมื่อเราย่างก้าวเข้าไปยังทรงวาด เพียงไม่กี่ก้าวเราก็พบร้านค้าพืชพันธุ์ทางการเกษตรตลอดสองข้างทาง ได้เห็นตึกแถวที่เป็นโกดังสินค้า รถเข็นของ คนยกกระสอบ รถบรรทุก และนกพิราบที่คอยกินพืชผลที่หล่นจากกระสอบ ซึ่งภาพทั้งหมดฉายให้เห็นถึงวิถีชีวิตในอดีตที่ยังคงหลงเหลือ มีหนึ่งเรื่องเล่าตลกๆ ที่คนเฒ่าคนแก่แถวนั้นเล่าให้เราฟัง สมัยก่อนถ้าคุณต้องการพืชพันธุ์แค่หยิบมือ ให้เดินไปหยิบจากกระสอบได้เลย ไม่ต้องซื้อ เรื่องเล่านี้ตีความได้หลายแง่ อาจจะหมายถึงร้านค้าแถวนี้เน้นการขายส่งเป็นหลัก หรือในอีกความหมายหนึ่ง อาจจะหมายถึงความร่ำรวยของพ่อค้าแม่ค้าบนถนนสายนี้ก็ว่าได้ หากเราบอกว่าเมื่อเกือบร้อยปีก่อนท่าน้ำที่ปัจจุบันไร้เงาเรือ เต็มไปด้วยเรือน้อยใหญ่จอดเทียบเต็มน่านน้ำเจ้าพระยา หลายคนอาจนึกภาพไม่ออก เพราะปัจจุบันท่าเรือเหล่านี้คงเหลือไว้เพียงเค้าลางที่ยังพอเล่าอดีตให้เราฟังได้ว่า ‘ทรงวาด’ เคยเป็นย่านการค้าที่สำคัญทางเรือ สังเกตได้จากเสาท่าเรือที่ยังหลงเหลืออยู่ตลอดแนวแม่น้ำ […]