ประเทศญี่ปุ่น ดินแดนอาทิตย์อุทัย มักมีของเล่นใหม่ๆ มาให้เราตื่นเต้นเสมอ ล่าสุดบริษัทสตาร์ทอัป Zip Infrastructure คิดแก้ไขปัญหารถติดในเมืองโตเกียว ด้วยการพัฒนาระบบการเดินทางรูปแบบใหม่ในชื่อ ‘Zippar’ ซึ่งดูละม้ายคล้ายกระเช้าลอยฟ้าโรปเวย์ที่เรานั่งกัน
Zippar นอกจากจะมาพร้อมหน้าตาสุดเท่แล้ว มันเป็นกระเช้าไร้คนขับที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แถมงบประมาณในการสร้างนั้นก็อยู่แค่เพียง 1 ใน 5 เท่าของรถไฟโมโนเรล ซึ่ง 1 กระเช้าจุผู้โดยสารได้ราว 12 คน และจะขนส่งคนได้ถึง 3,000 คนใน 1 ชั่วโมง
ทั้งนี้ Zippar ยังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบระบบที่เมืองโอดาวาระ จังหวัดคานางาวะ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของประเทศญี่ปุ่น โดยทีมผู้พัฒนาตั้งเป้าว่า เจ้ากระเช้าลอยฟ้านี้จะใช้งานได้จริงในปี 2025
RELATED POSTS
Tokyo Tatemono Mitsutera Building ตึกที่รวมวัดกับโรงแรมไว้ในที่เดียว ผสมผสานความเก่าและใหม่เข้าด้วยกันแบบ Win-Win
เรื่อง
Urban Creature
จะเป็นอย่างไรถ้าวัดและโรงแรมตั้งอยู่ในที่เดียวกัน แบบชนิดที่ว่าแม้แต่ทางเข้าก็ยังเป็นทางเดียวกัน ‘Tokyo Tatemono Mitsutera Building’ คืออาคารใจกลางเมืองโอซากา ตัวอย่างการอนุรักษ์ศาสนสถานโบราณเดิมด้วยการปรับเปลี่ยนโครงสร้างโดยรอบจนเป็นวัดสไตล์เมือง เพื่อโอบรับผู้มาเยือนที่มีหลากหลายกลุ่ม แม้มองจากภายนอก Tokyo Tatemono Mitsutera Building จะเป็นตึกหน้าตาโมเดิร์นทั่วๆ ไป แต่เมื่อมองเข้าไปจะพบว่ามีวิหารหลักเก่าแก่ของ ‘วัดมิสึเทระ’ (Mitsutera Temple) ซึ่งเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์มากกว่า 1,300 ปี ซึ่งได้รับการเคารพนับถือและเป็นส่วนหนึ่งของเมืองซ่อนตัวอยู่ จากเหตุการณ์ระเบิดเมืองโอซากาในปี 1945 ทำให้ทั้งผู้คนและสิ่งก่อสร้างในเมืองได้รับผลกระทบและความเสียหายเป็นวงกว้าง โชคดีที่ตัววิหารหลักของวัดไม่ได้รับความเสียหายอะไรมาก จึงมีการตัดสินใจสร้างตึกที่ภายในประกอบด้วยร้านค้าต่างๆ และโรงแรม Candeo Hotels ครอบวิหารไว้ ขณะเดียวกัน ด้วยความที่คอนเซปต์ของโรงแรมคือ ‘Gleaming Brightly’ โถงทางเข้าหลักจึงตกแต่งด้วยงานแล็กเกอร์เคลือบเงาและแผ่นทอง สะท้อนถึงความสง่างาม สว่างไสว ทำให้ตัวตึกสมัยใหม่กลมกลืนไปกับสถาปัตยกรรมเดิมของตัววัด ภายในตึกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ วัด โรงแรม และร้านค้า ผ่านการออกแบบชั้น 1 – 3 ด้วยโครงสร้าง Atrium เป็นห้องโถงใหญ่ที่รองรับผู้คน […]
ญี่ปุ่นจำลองระบบป้องกันน้ำท่วมใต้ดินใน ‘Minecraft’ เมื่อเกมเป็นทั้งพื้นที่สร้างสรรค์และการเรียนรู้ ที่พร้อมให้เหล่านักสำรวจเข้าเยี่ยมชม
เรื่อง
Urban Creature
อย่างที่รู้กันว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เผชิญภัยพิบัติอยู่บ่อยครั้ง ส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นต้องคอยให้ความสำคัญกับการเตรียมแผนรับมือและจัดการกับความเสี่ยงอย่างรอบคอบ หนึ่งในนั้นคือปัญหาน้ำท่วม ทั้งจากฝนตกหนักหรือพายุโหมกระหน่ำ รัฐบาลจึงสร้างระบบระบายน้ำใต้ดินขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นที่รองรับน้ำ และป้อมปราการใต้ดินป้องกันน้ำท่วมเมือง เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจการทำงานของระบบนี้ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (MLIT) ได้เปิดตัวแผนที่ Minecraft วิดีโอเกมแนว Sandbox สามมิติ ในการจำลองอุโมงค์ระบายน้ำใต้ดิน หรือ ‘G-Cans’ ซึ่งเป็นระบบควบคุมน้ำท่วมใต้นครโตเกียวที่อลังการที่สุดในโลก จุดประสงค์คือ เพื่อเป็นคอร์สส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการป้องกันภัยพิบัติ และโปรโมตการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น เนื่องจากมีการเปิดให้ผู้ที่สนใจเข้าศึกษาสถานที่จริงได้ โดยจะมีการใช้แผนที่เกม Minecraft นี้เป็นส่วนหนึ่งในการนำทัวร์ด้วย ไฮไลต์ที่ห้ามพลาดของแผนที่จำลองนี้คือ การพาไปชมแท็งก์น้ำขนาดใหญ่ที่ตั้งเรียงรายเหมือนเสาวิหาร นอกจากจะทำหน้าที่ยึดค้ำเพดานแล้ว ยังช่วยควบคุมแรงดันไม่ให้น้ำจากใต้ดินลอยขึ้นสู่ผิวดินอีกด้วย อีกจุดหนึ่งที่น่าสนใจคือห้องควบคุมกลาง ที่เราสามารถควบคุมระบบเปิด-ปิดประตูระบายน้ำได้ด้วยตัวเอง หรือจะลองไปสำรวจพื้นที่ชุมชนโดยรอบที่ได้รับการป้องกันจากป้อมปราการใต้ดินก็ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ทุกคนสามารถรับชมผ่านเกมได้อย่างสมจริง ที่รัฐบาลญี่ปุ่นลงทุนทำขนาดนี้ ก็เพื่อทำให้ประชาชนเห็นระบบ กระบวนการ และผลลัพธ์ที่ได้จากการวางแผนจัดการภัยพิบัติของประเทศ ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาต่างๆ รวมถึงกลวิธีในการส่งเสริมความรู้ให้คนในเมือง เพราะนอกจากจะได้ความสนุกจากการเล่นเกมแล้ว ยังได้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันภัยพิบัติ แถมได้เยี่ยมชมสถานที่จำลองเสมือนจริงในเวลาเดียวกันอีกด้วย ดาวน์โหลดแผนที่ฟรีผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานแม่น้ำเอโดะกาวะได้ที่ tinyurl.com/577fey5z โดยแผนที่นี้เปิดให้ใช้ได้กับ Minecraft Bedrock เวอร์ชัน 1.21.1 และ Education Edition […]
Hakata อาณาจักรขนส่งสาธารณะที่รวมทุกการเดินทางไว้ในที่เดียว
เรื่อง
ปณิตา พิชิตหฤทัย
‘ฮากาตะ’ ถ้าได้ยินชื่อนี้แล้วคิดถึงอะไรกันบ้าง กลิ่นหอมกรุ่นของราเม็งน้ำซุปกระดูกหมู ตลาด Christmas Market ย่านช้อปปิงขนาดใหญ่ที่เดินซื้อของเชื่อมต่อกันได้ไม่สะดุด หรือสถานีชื่อดังที่ถ้าอยากท่องเที่ยวในภูมิภาคคิวชูให้ครบๆ สักครั้งต้องใช้สถานีนี้เป็นจุดเชื่อมต่อ และหากใครเคยได้ยินเรื่องที่รัฐบาลไทยสนใจรวมขนส่งสาธารณะไว้ในที่เดียวเพื่อให้การเดินทางในไทยไร้รอยต่อ โมเดลที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นต้นแบบก็คือ ฮากาตะ เมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่นนี่เอง คอลัมน์ City in Focus จึงขอชวนทุกคนมาดูย่านที่ทำให้การเดินทางด้วยรถ ราง บัสเป็นเรื่องง่าย แสนสบาย เชื่อมต่อรถ-ราง-บัส ในพื้นที่เล็กๆ ของฮากาตะแห่งนี้ รู้หรือไม่ว่าที่นี่ประกอบไปด้วยศูนย์รวมการเดินทางทั้งบัส แท็กซี่ รถไฟฟ้าใต้ดิน ชินคันเซ็น และรถไฟ JR โดยเหมาะทั้งสำหรับการเดินทางในเมืองฟุกุโอกะเอง และเดินทางออกไปต่างเมือง ไม่ว่าจะโตเกียว นาโกยา หรือไปดู World Expo ที่โอซากาก็ยังได้ นอกจากสถานีกลางนี้จะรวบรวมทุกการเดินทางเอาไว้แล้ว ตำแหน่งที่ตั้งของสถานีฮากาตะยังมีความพิเศษตรงที่สถานีนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองฟุกุโอกะ ในระยะที่ไปถึงพื้นที่สำคัญๆ ได้ในเวลาเพียงน้อยนิด เช่น หากจะไปช้อปปิงที่แหล่งวัยรุ่นอย่างเทนจินก็ห่างเพียง 3 สถานี ใช้เวลาเดินทาง 5 นาทีเท่านั้น หรือจะไปสนามบินก็ใช้เวลาเพียง 2 สถานีเช่นเดียวกัน โดยปกติด้วยความยิ่งใหญ่ของรถยนต์ ราง […]
เรียนรู้เหตุการณ์แผ่นดินไหวกรุงเทพฯ รับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกะทันหันอย่างไรบ้าง
เรื่อง
ณิชกมล บุญประเสริฐ
อาคารสั่นคลอน อาการวิงเวียน ที่พักอาศัยเสียหาย ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้จุดเกิดเหตุจะไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงในประเทศไทย แต่ด้วยแรงสั่นสะเทือนที่สูงถึง 7.7 แมกนิจูด ส่งผลให้คนเมืองผู้แทบไม่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาก่อนรับรู้ถึงความสั่นไหว และกลายเป็นผู้ประสบภัยในเวลาเพียงไม่กี่นาที นอกเหนือจากความตื่นตระหนกตกใจแล้ว แรงสั่นสะเทือนยังสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานที่อาจไม่ได้คำนึงถึงการเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวรุนแรงแบบนี้มาก่อน และด้วยความที่เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่คนกรุงเทพฯ ต้องเจอกับแผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความสับสนในการรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า วิธีการป้องกันตัวเอง ความปลอดภัยของการใช้ชีวิตในอาคาร หรือกระทั่งการใช้เส้นทางจราจรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่เคยมีใครให้ข้อมูลมาก่อนว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากเจอเหตุการณ์แบบนี้ คอลัมน์ Report จะพาไปสำรวจว่า ในเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน กรุงเทพฯ ต้องเจอกับปัญหาในการรับมือสถานการณ์แบบไหนบ้าง มีการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร และประเทศไทยสามารถนำวิธีการเตรียมพร้อมป้องกันภัยจากประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติเหล่านี้อยู่บ่อยครั้งมาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาเมืองที่เกิดขึ้นในวันภัยพิบัติ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ศูนย์กลางที่เมียนมาเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นอกจากปัญหาเรื่องตึกสูง ที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นได้จากโครงสร้างอาคารที่เกิดรอยแตก รอยร้าว หรือแย่ไปกว่านั้นคือ เศษโครงสร้างอาคารหลุดล่อนออกมา จนทำให้หลายคนหวาดผวาไปกับการใช้ชีวิตบนตึกสูงแล้ว สถานการณ์ในวันนั้นยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาระบบขนส่งในเมือง รวมถึงพื้นที่อพยพที่ไม่สามารถรองรับชาวกรุงได้ เสียงบ่นอื้ออึงของคนกรุงหลังสถานการณ์แผ่นดินไหวคือ เรื่องถนนกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยรถยนต์ รถเมล์ รถจักรยานยนต์ที่แน่นิ่ง ไม่ขยับ รถเคลื่อนตัวได้เพียง 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแออัดยาวนานขนาดที่แผ่นดินไหวผ่านไปแล้ว 8 ชั่วโมง การจราจรก็ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ รวมถึงเหล่าขนส่งสาธารณะระบบรางอย่าง […]