LATEST
9 ไอเทมสัตว์โลก ชวนตระหนักปัญหาสิ่งแวดล้อม
“ถุงพลาสติกที่ถูกทิ้งกว่า 300 ล้านใบ มีจุดจบอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติก” ข้อความด้านบนคือประโยคที่ถูกพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งห่อหุ้มเหล่าสัตว์โลกย่อส่วนบนเชลฟ์วางสินค้า ชวนให้เราพลิกซ้ายพลิกขวาดูว่าฟังก์ชันของมันทำอะไรได้บ้าง บรรดาข้าวของกระจุกกระจิกตรงหน้าไม่ได้แค่จับวางไว้มุมไหนก็น่ารัก หากยังหยิบจับใช้งานได้ถนัดมือและแอบซ่อนกิมมิกสนุกๆ เอาไว้
กฟผ. จับมือเรือด่วนเจ้าพระยา เตรียมทดลองให้บริการเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้า
เมื่อช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ค่าฝุ่นละอองหลายพื้นที่ในประเทศไทยกลับมาอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอีกครั้ง ซึ่งสาเหตุของฝุ่นละอองขนาดเล็กหรือที่เราคุ้นกันในชื่อ PM 2.5 มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือการเผาไหม้ที่เกิดจากการคมนาคมขนส่งที่เราใช้กันทุกวัน การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจากการคมนาคมขนส่งก่อให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน สารตะกั่ว และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนและคุณภาพของอากาศโดยรวม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงร่วมยกระดับคุณภาพการเดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะ จับมือกับบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด นำเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. ออกทดลองให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ภายใต้แนวคิดการประหยัดพลังงานและลดมลพิษให้ได้มากที่สุด การทดลองเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้านี้จะให้บริการเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท่าเรือปากเกร็ด – พระราม 7 และท่าเรือพระราม 7 – สาทร เป็นเวลา 6 เดือน สำหรับผู้ที่สนใจ ติดตามวันและเวลาที่เริ่มให้บริการได้ที่เฟซบุ๊กแฟนเพจ Chao Phraya Express Boat – เรือด่วนเจ้าพระยา Sources : การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย https://bit.ly/3pW0Fm2กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม https://bit.ly/3qTGxlY
“เป็นพี่ต้องเสียสละ” คำสอนที่ ‘ลูกคนโต’ แบกไว้บนบ่า
“ยอมน้องหน่อยลูก”“ขอให้น้องเล่นก่อนนะ”“หนูเป็นพี่ต้องเสียสละให้น้อง” เป็นพี่ต้องเสียสละจริงหรือ-คำถามที่คนเป็น ‘พี่’ ได้แต่เก็บเงียบไว้ในใจ เพราะไม่ว่าพี่บ้านไหนก็ล้วนถูกพ่อแม่ปลูกฝังให้ต้องเสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับคนเป็นน้อง แต่หากค้นลงไปให้ลึกถึงก้นบึ้งใจ ก้อนเนื้อในอกข้างซ้ายของลูกคนโตอาจมีบาดแผลจากคำสอนที่ว่าซึ่งยังไม่หายซุกซ่อนอยู่ เปิดประเด็นเรื่องพี่น้องกับ หมอโอ๋ หรือ ผศ. พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร-กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกผ่านเพจ เลี้ยงลูกนอกบ้าน ถึงสิ่งที่ทำให้เชื่อว่าพี่ต้องเสียสละ ไปจนถึงผลที่กระทบต่อความสัมพันธ์ และคำแนะนำสำหรับสอนพี่น้องให้รู้จักเสียสละและแบ่งปันซึ่งกันและกันอย่างเต็มใจ มายาคติที่บีบให้พี่ต้องเสียสละ ความเป็นพี่และเป็นน้องถูกมายาคติตีกรอบไว้มากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งเหล่านั้นล้วนเป็นตัวกำหนดลักษณะนิสัยของพี่น้องจนกลายเป็นภาพจำที่ถูกส่งต่อ บริบทศาสตร์แห่งจิตวิทยา สมัยก่อนมีหลักทางจิตวิทยาที่ใช้บ่งบอกถึงลักษณะของคนอายุมากกว่า และน้อยกว่า ซึ่งกำหนดให้ พี่ ต้องมีความเป็นผู้นำ มีความรับผิด และต้องคิดถึงคนรอบข้าง ส่วน น้อง จะกล้าคิด กล้าทำ รั้น และเป็นตัวของตัวเองอย่างสุดขีด และท้ายที่สุดถูกผลิตสู่ความเชื่อซึ่งยอมรับได้ บริบททางสังคมและวัฒนธรรม ความคิดที่ว่า คนอายุมากกว่าต้องมีความรับผิดชอบ และเสียสละมากกว่า คืออีกหนึ่งสิ่งที่บีบพี่ให้เป็นไปตามกรอบซึ่งวางไว้ อย่างคำเล่าลือที่ว่า มีครอบครัวหนึ่ง พ่อแม่แขวนปลาทูไว้ดู แต่เสียสละให้ลูกได้กิน สิ่งนี้กลายเป็นความคาดหวังในความรู้สึกพ่อแม่ว่า คนที่โตกว่าต้องเสียสละ เหมือนที่พ่อแม่เสียสละให้ลูก ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นค่านิยมของความรักที่ดีงามไปโดยปริยาย คนดี = เสียสละ อีกวาทกรรมความดีงามที่ว่า […]
ไลฟ์สไตล์กรีน ‘ชุดชั้นในเก่าที่รีไซเคิลไม่ได้’ เป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหิน เพียงส่งไปบริษัทกำจัดขยะ N 15
หากใครต้องการทิ้งกางเกงใน ชุดชั้นใน เสื้อกล้าม หรือถุงเท้าที่มีสภาพเก่าจนบริจาคไม่ไหว สามารถนำไปบริจาคได้ที่ ‘N 15 Technology’ บริษัทกำจัดของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม
‘JOY OF GIVING’ ส่งกำลังใจผ่านงานศิลปะ
ศิลปะคือสิ่งดีๆ ที่หมุนอยู่รอบตัวเรา ซึ่งพร้อมจะช่วยเยียวยาจิตใจที่ห่อเหี่ยวและให้กำลังใจในวันที่อ่อนล้าได้เสมอ หนนี้งานอาร์ตจะช่วยให้ทุกคนผ่านเวลายากลำบากไปกับผลงานของ GONGKAN, SUNTUR และ P7 ผ่านกิจกรรม ‘JOY OF GIVING ส่งใจให้เธอ’ ที่เหล่าศิลปินออกแบบความหมายของ ‘การให้’ ออกมาเป็นเสื้อยืด 3 ลาย ที่ล้วนแต่มีสไตล์เป็นของตัวเองชนิดที่มองปราดเดียวก็รู้ว่าเป็นผลงานของใคร ขอชวนทุกคนไปดูเบื้องหลังการออกแบบ ที่เปลี่ยนผลงานศิลปะเป็นแรงใจให้กับทุกคน ผ่านแนวคิดของ 3 ศิลปินรุ่นใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดของไทยในช่วงนี้ Love Power เบื้องหลังพลังแห่งรัก พลังแห่งความรักยิ่งใหญ่เสมอ Gongkan-กันตภณ เมธีกุล ศิลปินที่สร้างงานด้วยลายเส้นสุดเรียบง่าย แต่แฝงอะไรไว้ให้ผู้ชมได้คิดตาม ผ่านเอกลักษณ์หลุมดำทะลุมิติ หนนี้มากับผลงานออกแบบชื่อ ‘Love Power’ ที่ตีความคำว่ารักได้อย่างน่าสนใจ โดยมองว่าการให้ความรักหรือส่งต่อความหวังดี ก็เปรียบเสมือนพลังที่เปลี่ยนความเศร้าให้กลายเป็นพลังแห่งความสุขนั่นเอง GIVE AND TAKE ชีวิตกับการเดินทาง ศิลปินนักวาดภาพประกอบที่โดดเด่นที่สุดคนหนึ่งของไทยกับ SUNTUR-ยศนันท์ วุฒิกรสมบัติกุล ที่เปรียบว่าการใช้ชีวิตร่วมกันก็เหมือนกับการเดินทางกับผลงานที่ชื่อว่า ‘Give and Take’ ที่มองว่าหากคนเราจะอยู่ด้วยกันไปได้ตลอดรอดฝั่ง ก็ต้องมีทั้งการรับและการให้ มีทั้งการแบ่งปันและช่วยเหลือ โดยตีความออกมาเป็นกราฟิกสุดมินิมอล ของภาพเรือสีขาวที่มีผู้โดยสารเป็นคนกับน้องหมา […]
เปิดอาณาจักร Tesla กับราคาที่ต้องจ่าย
หากถามว่าใครคือเจ้าแห่งยานยนต์ไฟฟ้าของทศวรรษนี้ ก็คงต้องตอบว่า ‘Tesla’ อย่างแน่นอน
ญี่ปุ่นสร้างปุ่มกดสาธารณะโฮโลแกรม ถอนเงิน ล้างมือ ขึ้นลิฟต์ และเปิดประตูได้ โดยไม่ต้องสัมผัสเชื้อโรค
ในหนังไซไฟ ตัวละครถอนเงินหน้าตู้เอทีเอ็มโดยไม่ต้องกดปุ่มอะไร ล้างมือในห้องน้ำสาธารณะโดยไม่ต้องจับก๊อก หรือขึ้นลิฟต์โดยไม่ต้องกดเลือกชั้น ไปจนถึงเปิดประตูโดยไม่ต้องใช้มือจับลูกบิดสักนิด เพราะมีโฮโลแกรมเด้งขึ้นมากลางอากาศให้สั่งการแทน เหล่านี้ดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัวและไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นได้ แต่มาวันนี้เชื่อว่าคงเป็นเรื่องใหม่และน่าตื่นเต้นของผู้คนไม่น้อย เพราะญี่ปุ่นเขาทำให้เกิดขึ้นจริงแล้วและล้ำมาก! ‘Floating Pictogram Technology’ คือนวัตกรรมภาพลอยโฮโลแกรมที่ติดตั้งระบบอินเทอร์เฟซแบบไร้สัมผัสด้วยเซนเซอร์ ของสองบริษัทเทคโนโลยี Murakami Kaimeido และ Parity Innovations ซึ่งคำนึงถึงความเสี่ยงในการสัมผัสสิ่งของสาธารณะนอกบ้าน ที่อาจเป็นตัวการแพร่กระจายไวรัสโคโรนาเข้าสู่ร่างกายได้ การเปลี่ยนปุ่ม แผง ก๊อก หรือลูกบิด เป็น ‘ภาพลอย’ จึงทำให้ผู้ใช้สามารถเลื่อนนิ้วเหนือภาพที่ลอยอยู่โดยไม่ต้องสัมผัสเชื้อโรคเลยสักนิด ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวเริ่มผลิตออกมาเป็นสินค้าตัวอย่างและทดลองใช้งานจริงแล้ว ซึ่งมีเป้าหมายที่จะผลิตจำนวนมากเพื่อให้ชาวญี่ปุ่นได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในปี 2022 Source : http://bit.ly/3s642YZ
น้าเปียก วิภาดา ตำนานเสียง ‘เซเลอร์มูน’ ภาคไทยหนึ่งเดียวผู้มีอุซางิเป็นครูชีวิต
“ฉันคือสาวน้อยน่ารัก ผู้พิทักษ์ความรักและความยุติธรรม เซเลอร์มูน” ตากลมโต ผมทรงซาลาเปาคู่ ชุดกะลาสี รัดเกล้า และคทาคู่ใจ ปรากฏต่อหน้าเหล่าปีศาจ “ตัวแทนแห่งดวงจันทร์ จะลงทัณฑ์แกเอง!” สึคิโนะ อุซางิ หรือเจ้าหญิงแห่งดวงจันทร์เซเรนิตี้ แม้จะขี้แยบ่อยๆ หรือบ๊องๆ ไปบ้าง แต่เธอพกความกล้าในฐานะอัศวินเซเลอร์ ปกป้องคนที่เธอรักและผู้คนจากวายร้าย ‘อุซางิจัง’ ในคติของ อ.นาโอโกะ ทาเคอุจิ นักวาดการ์ตูนเซเลอร์มูน ไม่ได้เรียนเก่งแบบเซเลอร์เมอร์คิวรี่ ไม่ได้บู๊เก่งแบบเซเลอร์จูปิเตอร์ ไม่เห็นลางบอกเหตุล่วงหน้าเหมือนเซเลอร์มาร์ส หรือเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลแบบเซเลอร์วีนัส แต่เธอเป็นเธอที่ไม่เคยลังเลช่วยเพื่อน คนรัก หรือคนที่ตกอยู่ในอันตราย แถมนิสัยขายขำ ตลก โปก ของเธอยังทำให้คนรอบข้างอารมณ์ดีโดยไม่รู้ตัว น้าเปียก-วิภาดา จตุยศพร วัย 64 ปี ผู้พากย์เสียงภาษาไทย ‘เซเลอร์มูน’ ตั้งแต่ยุค 90 และเซเลอร์มูนคริสตัล ปี 2014 เป็นอีกคนที่รักอุซางิและยิ้มเสมอเมื่อได้สวมบทเป็นเซเลอร์มูน ทั้งยังบอกอีกว่า อยากเป็นนักพากย์จนกว่าจะพากย์ไม่ไหว เพราะได้เรียนรู้วิชาชีวิตและการมองโลกของหลากหลายตัวละครที่เป็นเหมือนอาจารย์สอนพิเศษตลอด 40 ปีในวงการ อ.อุซางิ สอนให้ลูกศิษย์อย่างน้าเปียกรู้ว่า […]
จากรันเวย์สู่ลู่วิ่ง จีนเปลี่ยนสนามบินเก่าเป็นสวนสาธารณะ
ชวนไปดูพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของเซี่ยงไฮ้ ที่หยิบเอารันเวย์เก่าของสนามบินที่ปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2011 มาปัดฝุ่นใหม่อย่างน่าสนใจ ด้วยการออกแบบโดยอิงจากประวัติศาสตร์ของสถานที่ จึงออกมาเป็นสวนสาธารณะทางยาวรูปร่างเหมือนกับรันเวย์ที่เปลี่ยนจากเครื่องบินมาให้คนวิ่ง แถมยังจัดสวนเล็กๆ ระหว่างทางเดิน แทนที่โล่งกว้างข้างๆ รันเวย์ ที่เห็นในสนามบินทั่วไป และยังมีสวนซับน้ำฝน และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เข้ามาช่วยให้คุณภาพน้ำไปจนถึงคุณภาพดินของเซี่ยงไฮ้ดีขึ้นอีกด้วย สนามบินเก่าสู่พื้นที่สาธารณะ ‘Longhua Airport’ คือสนามบินพาณิชย์ที่อยู่คู่คนเซี่ยงไฮ้มาตั้งแต่ปี 1949 – 2011 หลังจากปลดประจำการมาเป็นเวลานาน บริษัทสถาปนิก Sasaki เจ้าของคอนเซปต์ Better design, together ก็ใช้พลังแห่งการออกแบบชุบสนามบินเก่าให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งในชื่อ ‘Xuhui Runway Park’ พวกเขาเปลี่ยนรันเวย์สำหรับเครื่องบิน เป็นสวนสาธารณะแนวยาวตามรูปแบบของรันเวย์ดั้งเดิม ตลอดเส้นทาง 1,830 เมตร โดยมีทั้งทางเดินสำหรับชื่นชมสวนดอกไม้ พร้อมลู่วิ่ง และเลนจักรยานสำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายท่ามกลางความร่มรื่น เพราะพื้นที่สีเขียวคือชีวิต ‘Dou Zhang’ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโสของ Sasaki บอกว่า สวนสาธารณะแห่งนี้คือนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยฟื้นฟูเมืองและเติมลมหายใจให้เซี่ยงไฮ้ ซึ่งสวนนี้ออกแบบโดยคำนึงถึงประวัติศาสตร์ของสถานที่ แต่ในขณะเดียวกันก็ใส่ความทันสมัยลงไปเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานที่หลากหลาย เพราะคำนึงถึงผู้ใช้งานทุกกลุ่มได้ทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการและผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่ทิ้งเสน่ห์ดั้งเดิม เซี่ยงไฮ้คือเมืองที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้งด้วยจำนวนประชากรที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พวกเขามองหาหนทางเพิ่มพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่อยู่เสมอ แต่ในขณะเดียวกันชาวเซี่ยงไฮ้ก็ยังโอบกอดประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาไว้อย่างงดงาม เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสวยงามในอดีต […]
ลุงผู้ใหญ่แว้นพาเที่ยว บ้านปากซวด จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านนี้มีดีที่สายน้ำ | Green Link EP.1
คุณคิดว่าคนอยู่ร่วมกับป่าได้จริงเหรอ แล้วจะอยู่กันอย่างไร คำตอบอยู่ในสารคดีชุดนี้ Green Link รายการสารคดีที่ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมคือลมหายใจของมนุษย์ ในตอนแรกนี้ คุณจะได้ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ลุง เที่ยวชมบ้านปากซวด จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านที่อยู่กับน้ำ จนได้เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนฯ ที่นี่คือหนึ่งในหมู่บ้านที่เป็นภาพชัดของการอยู่อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ ตลอดเส้นทางที่เหมือนเราได้ไปสูดอากาศดีๆ ฟังเสียงสายน้ำ กินอาหารแสนอร่อยของที่นี่ ไปด้วยจริงๆ ระหว่างกำลังสนุกนั้น เราก็จะได้ไปพบกับเหตุผลว่าทำไมป่าต้นน้ำ ถึงสำคัญกับชีวิตคุณ ไม่ว่าคุณจะอยู่ห่างไกลจากป่าเป็นหลายพันกิโลก็ตาม
พก : ร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ของคู่รักที่พกหนังสือและหนังดีไปหาคนดูได้ทุกที่
ภาพทิวดอย ทุ่งนา และฟ้าใส ค่อยๆ เคลื่อนผ่านไปบนกระจกของรถยนต์ที่กำลังแล่นไปตามทางลดเลี้ยวเลียบสันดอยของจังหวัดเชียงราย ที่นั่งด้านหลังถูกปรับให้กลายเป็นพื้นที่บรรทุกหนังสือจำนวนหลายเล่ม และเครื่องฉายภาพยนตร์คุณภาพเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง เป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้คือการพาหนังสือและหนังคุณภาพดีไปนำเสนอให้กับผู้คนในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย “พวกเราเชื่อว่าหนังที่ดี หนังสือที่ดี ทำงานกับหัวใจของผู้คนให้ไหวไปกับเนื้อหาที่ได้รับ และสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นได้ แต่จะทำยังไงให้หนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปถึงที่ผู้คนได้มากที่สุด วิธีการที่ดีที่สุดที่พวกเราคิดก็คือ การพกหนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปหาผู้คน เราสองคนจึงเริ่มต้นทำ ‘พก’ ขึ้นมา” พก คือชื่อร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ที่จะพกหนังสือและหนังคุณภาพพาไปสู่ผู้คนในวงกว้างทั่วทุกพื้นที่เท่าที่จะเป็นไปได้ของ ‘เป๊ก-ธวัชชัย ดวงนภา’ และ ‘ดา-สุดารัตน์ สาโรจน์จิตติ‘ คู่รักนักทำภาพยนตร์สารคดี ที่ตัดสินใจย้ายชีวิตจากกรุงเทพฯ มาอยู่ที่จังหวัดเชียงราย และเริ่มต้นทำโปรเจกต์ ‘พก’ ขึ้นมา รถยนต์เดินทางมาถึงที่หมาย ณ สตรอเบอรี่สวนหลังบ้าน (Backyard Strawberry) ร้านคาเฟ่เล็กๆ ที่ตั้งอยู่หน้าไร่สตรอว์เบอร์รีและผักออร์แกนิกที่ปลูกเพื่อนำมาเสิร์ฟเป็นเมนูภายในร้าน เป๊กและดาค่อยๆ ช่วยกันนำของที่พวกเขาพกมาลงจากรถ นำผ้าดำมาขึงรอบบริเวณใต้ถุนร้าน นำเก้าอี้มาวาง เอาจอมากาง และตั้งเครื่องฉาย ดัดแปลงพื้นที่ใต้ถุนให้กลายเป็นโรงหนังใต้ถุนเธียร์เตอร์ที่พร้อมฉายภาพยนตร์คุณภาพดีให้ผู้คนที่นี่ หลังจากนั้นพวกเขาก็ขนเอากระเป๋าลงจากรถและนำมาวางเปิดบนโต๊ะ ในกระเป๋าเต็มไปด้วยหนังสือจำนวนมากที่พวกเขาคัดสรรกันมาอย่างดี เท่านี้ ‘พก’ ก็พร้อมแล้วที่จะให้ผู้คนได้เข้ามาชมว่าพวกเขาได้พกพาเรื่องราวอะไรมาบ้าง ขอเชิญก้าวเท้าตามเรามา และไปดูกันดีกว่าว่าเป๊กและดาได้พกเรื่องราวอะไรมากับพวกเขาบ้าง พบปัญหาจึงต้อง ‘พก’ เป๊กและดาประกอบอาชีพนักทำภาพยนตร์สารคดี นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นประเด็นในสังคมมานานนับสิบปี การงานเช่นนี้ได้พาพวกเขาได้เดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พบเจอกับผู้คนและเรื่องราวน่าสนใจและน่าอดสูจำนวนมาก “การทำงานสารคดีทำให้เราได้เดินทางไปในหลายที่ เจอผู้คนมากมาย นั่นทำให้เราเห็นทั้งปัญหาในสังคม […]
วิ่งวนที่ ‘วงเวียน’ การจราจรบนท้องถนนที่ปลอดภัยที่สุด
หากลองนึกภาพท้องถนนเมืองไทย เราอาจพบเห็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจราจรหลายรูปแบบ คอลัมน์ Urban Tales ครั้งนี้ เลยพาไปทำความรู้จัก ‘วงเวียน’ ซึ่งในอดีตใช้สำหรับเปลี่ยนเส้นทางการสัญจร แต่ปัจจุบันถูกปรับมาเป็นสี่แยกที่เห็นกันอย่างแพร่หลาย ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษที่ 1790 นั่นคือยุคแรกที่แนวคิดการสัญจรรถเป็นวงกลมถือกำเนิด โดย ‘Pierre L’Enfant’ สถาปนิกพ่วงตำแหน่งวิศวกร เขาเริ่มจากการสร้างต้นแบบในวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา จนในปี 1905 ก็ได้ฟื้นฟูรูปแบบและพัฒนาจนกลายเป็นสี่แยกวงกลมแห่งแรกของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า ‘Columbus Circle’ ซึ่งตั้งโดดเด่นเป็นสง่า ณ มหานครนิวยอร์ก ก่อนจะถูกเรียกว่า ‘วงเวียน’ เต็มรูปแบบอย่างทุกวันนี้ หลักการพื้นฐานของวงเวียนคือการช่วยให้การจราจรที่อยู่ภายในหมุนเวียนได้อย่างลื่นไหล โดยไม่ต้องใช้สัญญาณไฟจราจร ซึ่งในวงเวียนอาจมีเลนภายในด้วย ยกตัวอย่างการใช้งานที่ประเทศอังกฤษ จะเห็นว่าระบบการจราจรที่นั่นส่วนใหญ่ แม้แต่จุดเปลี่ยนเส้นทางเล็กๆ ในเมือง มักจะใช้วงเวียนมากกว่าการใช้สัญญาณไฟจราจร หรือประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างจีน ก็มีสถานที่ชื่อดังอย่าง ‘วงเวียนหมิงจู่ (Mingzhu)’ ซึ่งกลายเป็นแลนด์มาร์กของเมืองเซี่ยงไฮ้ที่ครบวงจรมากกว่าการให้รถยนต์สัญจรไปมา แต่ยังสามารถเดินบนสกายวอร์กเชื่อมไปยังศูนย์การค้าหรือตึกต่างๆ ของย่านการค้าใจกลางเมืองโดยไม่ต้องข้ามถนน ข้อมูลทางสถิติจากการประเมินเปรียบเทียบประสิทธิภาพความปลอดภัยของวงเวียนและการควบคุมทางแยกแบบดั้งเดิม โดยสถาบันวิศวกรการขนส่งสหรัฐอเมริกาบอกว่า วงเวียนที่ถูกออกแบบมาอย่างสมบูรณ์จะปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่และคนเดินถนนมากกว่าสัญลักษณ์ในการจราจรรูปแบบอื่นๆ เพราะอัตราการเร่งรถจะลดลงเหลือ 25 – 40 กม. เท่านั้น […]