ค้นหาทางออกเพื่อให้เรารอดจากขยะพลาสติก ผ่านการนำขยะมาทำเป็นธุรกิจ | City Survive EP.1

“สำหรับปัญหาขยะพลาสติก หากเราไม่ได้จัดการหรือร่วมมือกันแก้ไขทุกฝ่ายอย่างเป็นระบบ ทุกฝ่ายยังทำแบบที่ทำกันอยู่ ใน ค.ศ. 2050 คาดการณ์ว่าจะมีขยะพลาสติกมากกว่าปลาในทะเล” นี้คือหนึ่งในบทสัมภาษณ์จากสารคดี City Survive ทางรอดขยะพลาสติก ผ่านธุรกิจขยะ City Survive รายการสารคดีที่ว่าด้วยเรื่องการแก้ปัญหาเมืองอย่างสร้างสรรค์ ในตอนแรกนี้เราจึงหยิบยกปัญหาขยะพลาสติกขึ้นมาบอกเล่าและตีแผ่ถึงปัญหา และร่วมหาทางรอดไปพร้อมกัน กับหนึ่งทางออกอย่างสร้างสรรค์คือการนำขยะเหล่านี้มาทำเป็นธุรกิจ ให้ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน มนุษย์ได้ ภาคธุรกิจได้ โลกได้ สิ่งแวดล้อมได้ และความยั่งยืนได้ รวมไปถึงคำถามที่ว่าพลาสติกนั้นผิดจริงๆ หรือหากไม่มีผิดถูกเราจะอยู่ร่วมกับพลาสติกอย่างไรให้ทั้งเราและโลกไปต่อได้ หลายคำตอบรวมอยู่ในสารคดีทางรอดขยะพลาสติก ผ่านธุรกิจขยะนี้

ชวนออกแบบพื้นที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม ให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อทุกคน

แม้ว่ากรุงเทพฯ จะเป็นเมืองที่มีจำนวนคนอาศัยอยู่มากที่สุดในประเทศ แต่กลับมีพื้นที่สาธารณะให้พวกเราได้ใช้สอยเพียงน้อยนิดเท่านั้น มันคงจะดีไม่น้อย ถ้าบริเวณใกล้ๆ บ้านของเราจะมีพื้นที่ให้ทุกคนได้มาใช้ประโยชน์ร่วมกัน We Park x art4d x ปั้นเมือง จึงชวนนักออกแบบรุ่นใหม่ร่วมออกแบบพัฒนาพื้นที่ว่างตามแนวคลองผดุงกรุงเกษม ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของคนเมืองดีขึ้น ภายใต้คอนเซปต์ ‘Creating new possibilities for cultural district’ ซึ่งผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะได้ทำงานร่วมกับทีมนักออกแบบมืออาชีพ ตั้งแต่ขั้นตอนเริ่มออกแบบไปจนถึงการก่อสร้างและติดตั้งชิ้นงานในพื้นที่จริง สำหรับผู้ที่สนใจจะต้องมีอายุระหว่าง 23 – 35 ปี ส่งประกวดได้ทั้งรูปแบบเดี่ยวและทีม สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 7 มีนาคม 2564 และหากสนใจติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/3bgGU4p 

รถเมล์ไทย อายุเท่าไหร่

รถเมล์ พาหนะหลักที่คนเมืองใช้สัญจรในชีวิตประจำวันนั้นมีหลากหลายสาย โดยจะวิ่งรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถ้าใครขึ้นรถเมล์เป็นประจำ หรือแม้กระทั่งไม่ค่อยได้ขึ้น คงเห็นสภาพรถเมล์ไทยที่ปะปนกันไปทั้งใหม่-เก่า แล้วเคยสงสัยไหมว่า รถเมล์ในกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการกันอยู่ทุกวันอายุเท่าไหร่แล้ว เราเลยชวนทุกคนไปสำรวจรถเมล์ เพื่อดูว่าตอนนี้สภาพรถเมล์ไทยเป็นยังไงบ้าง มีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาต่างไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหนกัน “เมล์ครีม-แดง ออริจินัลรถเมล์ไทยที่วิ่งมานานถึง 30 ปี กระเป๋ารถเมล์มาเก็บค่าโดยสารแล้ว ถึงเวลาควักเหรียญ” “ค่าโดยสาร 8 บาท กับรถที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร” “ครีม-น้ำเงิน นายอายุ 44 ปีเป็นคุณลุงแล้ว” “ทุกชีวิตล้วนผุพังตามกาลเวลา รถเมล์ก็เช่นกัน” “แต่ฝั่งนี้แดดส่องลงเต็มๆ” “เงียบเหงาจัง”  “ติดบ้าง ขยับบ้าง พอถนนโล่งทีไร คนขับก็ซิ่งใหญ่เลย” “มันก็…อันตรายอย่างที่ป้ายบอกนั่นแหละครับ” “สาย 8 ในตำนาน” “เดี๋ยวก็มีคนขึ้นรถครับป้า” “คุณลุงขึ้นไปนั่งแล้ว” “มินิบัสส้มแก๊งนี้ก็อายุ 12 ปีแล้วนะ” “10 บาทตลอดสาย” “อ้าวว กดกริ่งลงยังไงล่ะครับ มองหากริ่งใหม่แทบไม่ทัน” “พกไม้ถูพื้นด้วย รักสะอาดนะเรา” “ปอ.สีเหลืองนี่ก็อายุ 11 ปี อายุไม่น้อยเหมือนกันนะเรา” “ดูแล้วก็…อายุไม่น้อยจริงๆ […]

EAT

‘แนมเหนือง’ ของดีเมืองญวน เจ้าไหนอร่อยถูกปาก รสชาติถูกใจ

รอบก่อนหนักหวานกันไปแล้ว ดังนั้น Spec Sheets รอบนี้จึงเอาใจคนชอบผักกับเมนูยอดฮิต อย่าง ‘แนมเหนือง’ หรือที่คนไทยพากันเรียกว่า ‘แหนมเนือง’ จาก 3 ร้านดัง ทั้ง ‘VT แหนมเนือง’ ‘สามใบเถา’ และ ‘ตงกิง อันนัม’ มาแกะ แยก ห่อหมูร้อนๆ กินคู่กับผักสดกรอบๆ พร้อมด้วยเครื่องเคียงอีกมากมายตามแบบฉบับแนมเหนืองเวียดนามกับน้ำจิ้มสูตรพิเศษ ของแต่ละเจ้าว่ามีทีเด็ดแตกต่างกันอย่างไร

FYI

แนวคิดของสยามพิวรรธน์ที่ใช้ Universal Design ออกแบบศูนย์การค้าให้เท่าเทียมกับทุกคน

Universal Design แนวคิดสร้างความเท่าเทียม เบื้องหลังการสร้างศูนย์การค้าให้เข้าถึงง่าย มาจากแนวคิด “อารยสถาปัตย์” (Universal Design)การออกแบบสิ่งต่างๆ ทั้งโครงสร้างอาคาร สภาพแวดล้อม หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้สูงอายุ เพศ คนพิการหรือคนที่มีข้อจำกัดทางด้านร่างกายก็สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างเท่าเทียม  การออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น ราวจับบนทางเดินสำหรับผู้สูงอายุ ทางลาดชันที่มีความชันในระดับมาตรฐานที่คนนั่งวีลแชร์สามารถเข็นขึ้นลงเองได้ การออกแบบป้ายหรือปุ่มต่างๆ บนผนังให้อยู่ในระยะคนนั่งรถเข็นใช้งานคล่องตัว หรือจะเป็นการใช้วัสดุพื้นกันลื่นในสนามเด็กเล่น เพื่อให้เจ้าตัวเล็กไม่ลื่นเจ็บตัวบ่อย ไอคอนสยาม ดีไซน์ครอบคลุมทุกการใช้งาน ด้วยความตั้งใจของสยามพิวรรธน์ในการหยิบแนวคิด Universal Design มาใช้กับอาคารต่างๆ เริ่มต้นด้วยไอคอนสยาม ศูนย์การค้าย่านฝั่งธนบุรีที่สามารถมาเที่ยวได้ทั้งรถไฟฟ้าสายสีทอง สถานีเจริญนครหรือจะนั่งเรือมาลงที่ท่าเรือไอคอนสยามเข้าอาคารได้ทันที การดีไซน์ใส่รายละเอียดโดยคำนึงถึงการใช้งานตั้งแต่ทางเดินต่างๆ เชื่อมจากระบบขนส่งสาธารณะ พื้นที่ภายในอาคาร ไปจนถึงอาคารจอดรถ เพราะคิดถึงไลฟ์สไตล์ของคนมาเที่ยวไม่ได้แวะเล่นแค่โซนใดโซนหนึ่ง แต่คิดเผื่อพวกเขาว่ามาจากไหนหรือต้องไปเจอกับอะไรบ้างให้ครอบคลุมการใช้งานทั้งหมด เช่น หากคนพิการ ผู้สูงอายุ หรือ คนตั้งครรภ์ มาจากท่าเรือ ต้องออกแบบสะพานข้ามฝั่งให้มีความชันและความสูงของราวจับพอดีเพื่อให้รถเข็นรถไม่หกล้ม หรือผู้สูงอายุนั่งวีลแชร์อยากขึ้นไปดูสินค้าต้องขึ้นบันได ก็มีทางลาดชันที่รถเข็นขึ้นได้สบายๆ พื้นที่จอดรถแบ่งเป็นสัดส่วนทั้งรถและทางเดิน หากนำรถยนต์มาเที่ยวเอง แล้วกลัวจะหาช่องจอดรถที่ไม่สะดวกสำหรับคนพิการ ผู้สูงอายุ คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือมีเด็กเล็กต้องดูแลเป็นพิเศษ ไอคอนสยามจึงสร้างโซนจอดรถ Priority Parking แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนแยกไว้ชัดเจนใกล้กับทางเข้าอาคาร ลงจากรถเพียงไม่กี่ก้าวก็เข้าอาคารได้เลย นอกจากนั้นยังมีดีเทลเล็กๆ อย่างขนาดทางเท้าที่มีความกว้างเพียงพอต่อการเคลื่อนย้ายรถเข็นได้ทุกประเภทอีกด้วย […]

ชีวิตอิสระที่รอคอย ‘อินเดียปลดเกษียณช้าง 20 ตัว’ ในป้อมอาเมร์ หลังถูกใช้งานหนักมานาน

อินเดียเป็นประเทศที่นำช้างมาใช้ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองแค่ไทย โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอย่าง ‘ป้อมอาเมร์’ (Amer Fort) ที่มีช้างทำงานอยู่ในนั้นมากกว่า 100 ตัว ซึ่งพวกมันต้องทำงานหนักทุกวัน แต่กลับได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ย่ำแย่ ดังนั้น องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection) จึงได้ร่วมรณรงค์ช่วยเหลือช้างที่ป้อมอาเมร์มาตลอดหลายปี จนในที่สุด กรมป่าไม้อินเดียก็สั่งปลดเกษียณช้างป่วยหนัก 20 ตัว เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หลังจากที่ทีมสัตวแพทย์ลงพื้นที่ตรวจสุขภาพช้างเมื่อกลางปีที่แล้ว แล้วพบว่าสุขภาพของช้างกลุ่มนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกจึงเรียกร้องให้ภาครัฐของอินเดียเข้าช่วยเหลือ ก่อนจะมีประกาศห้ามนำสัตว์ที่มีอาการป่วยหรือมีสภาพร่างกายไม่สมบูรณ์มาใช้เพื่อความบันเทิง  เหตุการณ์นี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตช้างในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของอินเดีย และยังเป็นแบบอย่างให้อีกหลายประเทศทั่วโลกด้วย องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลกเชื่อว่า เราสามารถเปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยว จากการนำช้างมาเป็นพาหนะหรือใช้เพื่อความบันเทิง เป็นการส่งเสริมให้มีการดูแลช้างในรูปแบบอื่น เช่น การทำปางช้าง ซึ่งนักท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตของช้างตามธรรมชาติได้โดยไม่ทรมานพวกมัน Source : องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก | https://bit.ly/3bcmycG 

Great American Rail-Trail เส้นทางปั่นจักรยานเชื่อม 12 รัฐในอเมริกา

‘Great American Rail-Trail’ ที่ทอดตัวยาวครอบคลุม 12 รัฐ ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา หนึ่งในโปรเจกต์ที่น่าจับตามองซึ่งปัจจุบันเปิดให้ใช้งานบางส่วนแล้ว โดยอีกไม่กี่ปีนับจากนี้อาจกลายเป็นสวรรค์ของนักปั่นที่ชื่นชอบการขี่จักรยานเป็นชีวิตจิตใจ

Man And Nature เมื่อการพักผ่อนที่ดีที่สุดคือการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ

เพราะสีเขียวเป็นเฉดที่ทำให้หัวใจพองโต พอถึงวันหยุดเมื่อไหร่หลายคนเลือกที่จะเดินทางไปต่างจังหวัด แพ็กกระเป๋าใบเก่งเพื่อขอไปนอนลอยชายอยู่ริมทะเลไม่ก็บนภูเขา ให้ธรรมชาติช่วยเยียวยาจิตใจสักวันสองวันก่อนจะกลับมาลุยกันต่อ แต่จะดีกว่าหรือเปล่าถ้าในกรุงเทพฯ มีสถานที่ให้เราได้สัมผัสธรรมชาติอย่างใกล้ชิดกว่าที่เคย  Urban Creature และ Chewathai จึงอยากชวนทุกคนมาล้มตัวลงนอนในอ้อมกอดของธรรมชาติ ผ่านการออกไปเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ลองชิมอาหารสุดออร์แกนิก และวิธีใช้ชีวิตประจำวันอย่างไม่ทำร้ายโลกในย่านทองหล่อ-เอกมัย เพื่อให้เรารู้ว่าการพักผ่อนที่ดีที่สุด…คือการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ | เมื่อมนุษย์หลงลืมการอยู่ร่วมกับธรรมชาติ  หากนับในเขตเมือง การอยู่กับพื้นที่สีเขียวตลอดเวลาคงเป็นเรื่องยาก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มี เพราะถึงจะอยู่ในศูนย์กลางความเจริญที่เต็มไปด้วยตึกสูงและห้างสรรพสินค้า ‘ทองหล่อ-เอกมัย’ ก็ยังเต็มไปด้วยพื้นที่มากมายให้เราได้สัมผัสและใกล้ชิดธรรมชาติมากขึ้น | ดื่มด่ำรสชาติแห่งชีวิตท่ามกลางธรรมชาติ  หลบหลีกความวุ่นวายในเมือง มาเริ่มต้นเช้าวันใหม่ใต้ต้นไม้ใหญ่ที่ Café Craft by Chanintr คาเฟ่ที่จะชวนเราดื่มด่ำอาหารและเครื่องดื่มที่พิถีพิถันท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่นเย็นสบายของธรรมชาติ ร้านแห่งนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ Courtyard กลางร้านซึ่งอุดมไปด้วยต้นไม้นานาชนิดน้อยใหญ่เรียงรายคอยให้ร่มเงากับผู้มาเยี่ยมเยือน ช่วยให้เราได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติได้มากขึ้น คาเฟ่แห่งนี้จึงเป็นเหมือนพื้นที่สีเขียวขนาดย่อมๆ ใจกลางย่านทองหล่อ | ผสมผสานสถาปัตยกรรมกับสิ่งแวดล้อมอย่างพอดิบพอดี เมื่อย่างก้าวเข้ามาภายในร้าน ช่วงเวลาที่เราไม่ต้องเร่งรีบ การได้นั่งจิบกาแฟท่ามกลางเสียงของธรรมชาติ โดยมีบรรยากาศภายในร้านตกแต่งด้วยสไตล์โมเดิร์น ความเรียบง่ายสวยงามทางสถาปัตยกรรม ผสมผสานเข้ากับความงามจากธรรมชาติบริเวณนอกร้านอย่างพอดิบพอดีที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและลงตัว เสียจนทำให้เราได้คิดไตร่ตรองเรื่องราวต่างๆ ของชีวิตที่ผ่านมาได้อย่างลึกซึ้ง | หันมาใส่ใจโลกให้มากขึ้นผ่านสิ่งเล็กๆ ในชีวิตประจำวัน หลายคนคงรู้กันอยู่แล้วว่าในแต่ละวันเราผลิตขยะพลาสติกจำนวนมาก และสิ่งเหล่านั้นล้วนทำลายโลกมากกว่าที่คิด แต่ไม่ได้หมายถึงการเลิกใช้พลาสติกในชีวิตประจำวันทั้งหมด แต่ลองหันมาใช้ชีวิตแบบ ‘Eco-Friendly’ […]

ถูกใจสายอาร์ต Van Gogh Museum เปิดให้โหลดภาพวาดฝีมือ ‘แวน โก๊ะ’ ฟรี กว่า 1,500 ชิ้น

หลังจาก ‘Van Gogh Museum’ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกาศปิดทำการชั่วคราวเนื่องจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เหล่าแฟนๆ งานศิลปะก็ไม่ต้องเสียใจไป เพราะทางพิพิธภัณฑ์ได้เปิดให้ทุกคนเพลิดเพลินกับงานศิลปะจากบ้านและดำดิ่งไปกับเรื่องราวเบื้องหลังผลงานแต่ละชิ้นได้ผ่านเว็บไซต์ www.vangoghmuseum.nl/en ผู้ที่สนใจเลือกรับชมและดาวน์โหลดผลงานภาพวาด ภาพระบายสี และภาพพิมพ์ของแวน โก๊ะ กว่า 1,500 ชิ้น ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่มีข้อแม้ว่าห้ามนำภาพไปใช้เพื่อการค้า และนอกจากนี้ ทางพิพิธภัณฑ์ยังมีกิจกรรมออนไลน์อื่นๆ เช่น 4K Tour วิดีโอนำชมพิพิธภัณฑ์ความคมชัดสูงที่ให้คุณรู้สึกเหมือนได้เข้าไปอยู่ในโลกของแวน โก๊ะ หรือบทความที่จะชวนคุณหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องราวของศิลปินเอกคนนี้ เพราะการปิดตัวลงชั่วคราวนี้เองทำให้พิพิธภัณฑ์ต้องสูญเสียรายได้ไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ หากใครประทับใจแล้วอยากสนับสนุน ก็บริจาคได้ที่ https://bit.ly/3uOpaVO เพื่อช่วยต่อลมหายใจให้ Van Gogh Museum ยังคงอยู่ต่อไปได้ 

ทางม้าลายแรกของโลกที่ The Beatles เคยเดินข้าม

ทางม้าลาย สัญลักษณ์บนท้องถนนสำหรับเดินข้ามที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจว่า แถบขาวสลับดำที่ถูกฉาบได้แรงบันดาลใจมาจากลายสองสีของเจ้าม้าลาย แต่รู้หรือเปล่าว่าความเข้าใจที่ว่านั้นผิดมหันต์ แถมช่วงแรกทางม้าลายยังไม่ใช่สีขาว-ดำ แล้วความจริงเป็นอย่างไร คอลัมน์ Urban Tales ชวนค้นคำตอบตั้งแต่จุดแรกเริ่มของทางม้าลายไปพร้อมกัน  ก่อนไปถึงเรื่องราวของสัญลักษณ์สำหรับข้ามถนน ขอเล่าประวัติการเดินข้ามถนนสู่กันฟังเสียก่อน ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณราว 2,000 ปีที่แล้วในเมืองปอมเปอี นครโรมันโบราณ ตอนนั้นใช้หินก้อนใหญ่วางต่อกันโดยเว้นช่องว่างที่พอดีทั้งคนเดินข้าม และรถม้าวิ่งผ่าน เพื่อไม่ให้คนต้องย่ำเท้าลงถนนที่ด้านใต้เป็นระบบระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูล  เวลาหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ จากสิ่งประดิษฐ์ของนครปอมเปอีที่ล่มสลาย สู่จุดเริ่มต้นของทางข้ามถนนอีกครั้งในเดือนธันวาคม ปี 1868 ที่ถนน ‘Bridge Street’ เมืองเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเกิดขึ้นจากความคิดของ ‘John Peake Knight’ วิศวกรทางรถไฟผู้มองหาหนทางให้ชาวเมืองข้ามถนนที่เต็มไปด้วยรถราอย่างปลอดภัย ด้วยการนำเสาหางปลา (Semaphore Arm) ซึ่งเป็นสัญญาณของทางรถไฟมาปรับใช้ โดยด้านบนติดตะเกียงแก๊ส (Gas Illuminated Lights) สีเขียวและแดง และมอบหน้าที่ให้ตำรวจเป็นคนสับเสาขึ้น-ลงเพื่อส่งสัญญาณให้คนเดิน แต่เนื่องจากตะเกียงมีส่วนผสมของแก๊สที่ง่ายต่อการระเบิด ในปี 1896 จึงยกเลิกการใช้สัญลักษณ์เสาหางปลาสำหรับการข้ามถนน และไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้เป็นเวลานานกว่า 50 ปี  เข้าสู่ช่วงทศวรรษ 1930 สหราชอาณาจักรออกกฎหมายสำหรับการใช้ถนนปี […]

รุ่งทิพย์ ActionAid จากเยาวชนสนใจปัญหาสังคมสู่นักเคลื่อนไหวผู้สู้ไม่ให้ รร. ขนาดเล็กถูกยุบ

เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่เรียนโรงเรียนขนาดเล็กใกล้บ้านตั้งแต่อนุบาล-ประถมฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ต้องย้ายไปอยู่บ้านญาติในตัวเมืองเพื่อเรียนชั้นมัธยมฯ “ไปอยู่กับป้าเถอะลูกจะได้ไม่ต้องตื่นเช้ามาก เดินทางก็ไม่อันตรายด้วย” พ่อแม่ว่า  เพราะบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนร่วมยี่สิบห้ากิโลเมตร ถ้าไม่ยอมห่างอ้อมอกพ่อแม่ก็ต้องยอมตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อขึ้นรถรับ-ส่งที่จ่ายเป็นรายเดือนแต่เช้าตรู่ และกลับถึงบ้านในเวลาเกือบฟ้ามืด เราในวัยนั้นจนถึงเราในวัยนี้รู้สึกว่าทำไมการเรียนหนังสือให้ครบตามหลักสูตรการศึกษาถึงต้องไกลบ้านออกไปทุกที แต่ยังดีที่พอมีโรงเรียนละแวกบ้านอยู่บ้าง แม้จะถูกจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ที่กระทรวงศึกษาธิการไล่ ยุบ-ควบรวม มานานเกือบ 3 ทศวรรษ  ปี 2536 กระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นโจทย์จากทาง ธนาคารโลก (World Bank) ที่ทำการวิจัยแล้วพบว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก จะทำให้เด็กได้เรียนกับคุณครูครบทุกช่วงชั้น และครบทุกวิชา ไม่น่าเชื่อว่าปีที่หลายคนเพิ่งลืมตาดูโลกอย่างยังไม่ประสากับการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กก็ถูกไล่ยุบ-ควบรวมเสียแล้ว หากแต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเราว่า สถานศึกษาใกล้บ้านนั้นมีความสำคัญและจำเป็นต่อเด็กในทุกพื้นที่ ยิ่งถ้ามีโรงเรียนใกล้บ้านยิ่งส่งเสริมให้เด็กเข้าถึงการศึกษาได้อย่างดี รุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายโครงการและนโยบาย องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย (ActionAid Thailand) เป็นอีกคนที่คิดเช่นนั้น เกือบ 10 ปีที่เธอร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเต็มกำลัง เพื่อแถลงให้ใครต่อใครได้รู้ว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่ใครเขาว่าดี มีผลเสียซุกอยู่ใต้พรม  และเราสัญญากับเธอไว้ว่า จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนอย่างสุดความสามารถผ่านบทความชิ้นนี้ เพื่อให้สังคมไทยตระหนักว่า โรงเรียนขนาดเล็กร่วม 15,000 แห่งทั่วประเทศไม่ควรถูกยุบ-ควบรวม ร. รุ่งทิพย์ หากเท้าความถึงการต่อสู้ของรุ่งทิพย์ […]

‘ตัวห่างไกลแต่ใจไม่ห่างกัน’ เมื่อการสื่อสารช่วยรักษาความสัมพันธ์ในวันที่มีระยะห่าง

‘LINE’ สื่อกลางเชื่อมทุกความห่างไกล จากความคุ้นชินในชีวิตคนเราเพราะใช้ทุกวัน กับบทบาทของการเป็นแชทแอปฯกลับมาเด่นชัดในชีวิตคนไทยอีกครั้ง เกิดเป็น ‘โมเมนต์’ น่ารักชวนอบอุ่นใจและคุณค่าของการสื่อสารที่ทุกคนสัมผัสได้

1 244 245 246 247 248 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.