LATEST
หลังกล้องของ ‘วิฬารปรัมปรา’ เพจหนังสั้นสยองขวัญที่ตั้งต้นจากแมว ความฝัน และความกลัวร่วมกันของคนในสังคม
[คำเตือน : ภาพประกอบในบทความมีความน่ากลัวและอาจสร้างความตกใจให้ผู้อ่าน] หากคุณเป็นทั้งทาสแมวและคนรักหนังสยองขวัญเป็นชีวิตจิตใจ วิฬารปรัมปรา คือเพจที่เหมาะสมกับคุณด้วยประการทั้งปวง เพราะเพจนี้เน้นทำหนังสั้นที่ส่วนใหญ่มีเจ้าแมว ‘วิฬาร’ เป็นตัวดำเนินเรื่อง พาไปสำรวจเรื่องลี้ลับที่ซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวันของคนในสังคม และถึงแม้จะเป็นคลิปสั้นๆ ไม่กี่นาทีแต่ดูแล้วหลอนได้ใจ หลายคลิปของวิฬารปรัมปรากลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน อาจเพราะสะท้อนความกลัวที่หลายคนมีร่วมกัน ซึ่งความกลัวที่ว่านั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผีหรือสิ่งมีชีวิตประหลาด แต่เป็นความกลัวที่ถูกตีความในมิติที่มากกว่านั้น ไม่ว่าจะกลัวความจนและกลัวการสูญเสียคนรัก ในบ่ายที่เงียบเชียบวันนี้ เราชวน อี่-วรันย์ ศิริประชัย และ บอล-ประพนธ์ ตติยวรกุลวงษ์ มาบอกเล่าเรื่องราวหลังกล้องของหนังสั้นสยองขวัญของพวกเขา คุยกันตั้งแต่ไอเดียตั้งไข่กว่าจะเป็นหนังสักเรื่อง ไปจนถึงกระบวนการคิดมุกหลอกผีที่กลายเป็นไวรัล ฝัน, ผู้กำกับ แม้จะทำงานในแวดวงโฆษณามาหลายปี แต่จริงๆ ความฝันของวรันย์คือการเป็นผู้กำกับ “ตอนเด็กๆ เราชอบดูหนังจากวิดีโอ ชอบเข้าร้านเช่าหนัง ชอบดูหนังมากจนเก็บเอาไปฝันว่าเป็นผู้กำกับ ขึ้นเวทีได้รับรางวัลใหญ่” หญิงสาวนึกย้อนถึงอดีต แววตาเป็นประกาย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ทำตามความฝัน โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในครอบครัวฐานะไม่ค่อยดีอย่างวรันย์ เธอเปรียบวัยเด็กของตัวเองว่าไม่ต่างจากหนังสั้นเรื่อง ‘หนีหนี้’ ที่เธอทำ เล่าเรื่องครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่พ่อแม่โดนเจ้าหนี้ไล่ตามอย่างน่ากลัว สิ่งที่แตกต่างกันคือชีวิตเธอไม่จบด้วยโศกนาฏกรรมแบบในหนัง วรันย์ไม่ได้ตายแบบลูกสาวในเรื่อง แต่เธอเติบโตมาพร้อมกับเส้นทางชีวิตที่ต้องหนีหนี้นอกระบบ เห็นพ่อแม่ทำงานหนักเพื่อใช้หนี้ และทำให้เธอจำเป็นต้องหันไปเรียนคณะบริหารธุรกิจที่มองว่าหาเลี้ยงชีพตัวเองได้ และเก็บความฝันของการเป็นผู้กำกับลงในซอกหลืบลึกสุดในใจ วรันย์บอกว่า ของเล่นชิ้นเดียวที่ติดตัวเสมอไม่ว่าจะย้ายที่อยู่ไปไหนคือกล้องถ่ายหนังพลาสติกที่แม่ซื้อให้เป็นของขวัญ ระหว่างเรียนจนถึงจบการศึกษา […]
‘Halo’ ไม้เท้าอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุที่ปรับความสูงได้อัตโนมัติตามพื้นผิว ป้องกันอุบัติเหตุระหว่างทางต่างระดับ
ในแต่ละปี สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของผู้สูงอายุ คิดเป็นจำนวนมากถึง 1 ใน 3 คือการล้ม ไม่ว่าจะเป็นการลื่นล้มในห้องน้ำ ตกเตียง หรือแม้กระทั่งตกบันได เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ อุปกรณ์ช่วยเดินอย่าง ‘ไม้เท้า’ จึงกลายเป็นตัวเลือกที่ใครหลายคนเลือกใช้ แต่การเลือกใช้ไม้เท้าที่มีขนาดความสูงไม่เหมาะกับความต้องการ และไม่สามารถปรับขนาดตามการใช้งานได้อย่างอิสระ อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ถูกต้องนัก ‘Halo’ เกิดขึ้นเพื่อลบข้อบกพร่องเหล่านั้น ด้วยการเรียกตัวเองว่าไม้เท้าอัจฉริยะที่ปรับความสูงได้อัตโนมัติตามพื้นผิวที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะช่วงเวลาการขึ้นและลงบันได ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมประจำวันที่ยากที่สุดที่ผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาในการเดินต้องพบเจอ ไม้เท้า Halo แบ่งส่วนประกอบออกได้เป็น 2 ส่วนคือ ส่วนของไม้เท้าที่ปรับความสูงได้อัตโนมัติด้วย DC Motor ภายในความสูงระหว่าง 71 – 101 เซนติเมตร และส่วนหัวไม้เท้าที่ติดกล้องแบบ 360 องศา ที่จะตรวจจับระยะทางและสภาพพื้นผิว รวมถึงสั่งการลงไปยังตัวไม้เท้าเพื่อปรับความสูงให้พอดีกับแต่ละคน วิธีการใช้เจ้าไม้เท้า Halo นั้นแสนง่าย เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของโปรดักต์ลงบนสมาร์ตโฟนและเชื่อมต่อเข้ากับหัวไม้เท้า จากนั้นกดปุ่มบริเวณด้ามจับเพื่อเข้าสู่โหมดอัตโนมัติ ก็จะใช้งานได้ทันที ปัจจุบัน Halo อยู่ในระหว่างการยื่นจดสิทธิบัตร ซึ่งถือว่าเป็นอุปกรณ์ช่วยเดินที่น่าสนใจ ถ้ามีการวางจำหน่ายจริงในอนาคต อาจเป็นหนึ่งตัวช่วยที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุในผู้สูงอายุได้ Source : Yanko Design […]
สำรวจความรุนแรงในครอบครัว ผ่านเสียงร้องของวาฬกับความโดดเดี่ยวในสังคม ในหนัง ‘52 Hertz คลื่นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน’
วันหนึ่งเราอาจเป็นวาฬหรือวาฬอาจอยู่รอบตัวเรา ‘วาฬ 52Hz’ เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกนิยามว่าเป็นสัตว์ที่เหงาที่สุดในโลก เนื่องจากคลื่นเสียงที่วาฬตัวนี้ส่งออกมาเป็นความถี่ที่สูงกว่าวาฬทั่วไปใช้ในการสื่อสาร ทำให้วาฬ 52Hz ไม่สามารถสื่อสารกับฝูงได้ มันต้องอยู่อย่างเดียวดายท่ามกลางมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ และกลายเป็นภาพแทนความโดดเดี่ยวของผู้คนในสังคมปัจจุบัน ‘52 เฮิรตซ์…คลื่นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน’ เป็นภาพยนตร์ดราม่าจากญี่ปุ่นที่ดัดแปลงมาจากหนังสือชื่อเดียวกัน เล่าเรื่องของ ‘คิโกะ มิชิมะ’ หญิงสาวที่พยายามเอาตัวเองออกมาจากอดีตอันขมขื่นและย้ายมาอยู่ในเมืองเล็กๆ ริมทะเล จ.โออิตะ ก่อนจะได้พบกับเด็กผู้ชายคนหนึ่งที่ทำให้เธอนึกถึงอดีตของตนเอง ภาพยนตร์เรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า ทุกคนในสังคมต่างมีอิทธิพลต่อกัน แต่บางคนอาจต้องหลบซ่อนตัวตนหรือความรู้สึกที่แท้จริงของตนเอง เพราะกลัวการต่อต้านจากสังคม บางคนมีชีวิตอยู่เพื่อคนอื่นแต่กลับถูกทำร้ายต่อเนื่อง ขณะที่บางคนเติบโตมาในครอบครัวที่ไม่ยินดีกับการมีชีวิตอยู่ของเขา ตัวละครเหล่านี้ต่างเหมือนวาฬที่พยายามส่งคลื่นเสียง 52 Hz ของตนเอง โดยหวังว่าวันหนึ่งจะมีคนที่มีคลื่นเสียงตรงกันรับรู้และตอบกลับมาในความถี่เดียวกัน นอกจากความเหงาและความโดดเดี่ยว ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังสอดแทรกประเด็นความรุนแรงในครอบครัวซึ่งเป็นปัญหาที่ซุกซ่อนอยู่ในสังคมญี่ปุ่น โดยเล่าผ่านคิโกะที่ต้องเผชิญความรุนแรงทั้งจากแม่ พ่อเลี้ยง และคนรัก ซึ่งล้วนเป็นความสัมพันธ์ที่ตัดสินใจเอาตัวออกมาได้ยาก ถึงอย่างนั้น คนที่เจอความโชคร้ายซ้ำซ้อนแบบคิโกะกลับผ่านทุกเหตุการณ์มาได้เพราะมีคนที่คอยอยู่เคียงข้าง เป็นกำลังใจ และไม่ทำให้เธอรู้สึกโดดเดี่ยวบนโลกที่กว้างใหญ่ รับชมภาพยนตร์ 52 เฮิรตซ์…คลื่นเสียงที่ไม่มีใครได้ยิน ได้แล้ววันนี้ ที่โรงภาพยนตร์ SF, Major Cineplex และ House Samyan หมายเหตุ : ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว […]
ถอดรหัสความสำเร็จจาก Haikyu!! สุดยอดมังงะกีฬาสร้างแรงบันดาลใจ สู่การฟื้นกระแสกีฬาวอลเลย์บอลในญี่ปุ่น
‘เพราะว่าเราไม่มีปีก ดังนั้นเราจึงพยายามหาวิธีที่จะบิน’ หากพูดถึงอนิเมะที่กระแสแรงที่สุดในวินาทีนี้คงหนีไม่พ้น ‘ไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทาน’ หรือ ‘Haikyu!!’ จากกระแส #ประเทศไทยมีศึกกองขยะแล้ว ครองไทม์ไลน์โซเชียลมีเดียตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงปัจจุบัน แต่จริงๆ แล้วความเฟมัสของไฮคิว!! ไม่ได้เพิ่งมีในช่วงปีนี้ เพราะที่ผ่านมาไฮคิว!! ถูกพูดถึงมาตลอดในฐานะการ์ตูนสร้างแรงบันดาลใจ ที่ ‘ชาวไฮเคี่ยน’ มักนำโควตของตัวละครในเรื่องมาแชร์กันบ่อยครั้ง ทั้งบทสนทนาที่เปิดมุมมองการใช้ชีวิตและการทำตามความฝัน ไฮคิว!! ถือเป็นสุดยอดมังงะกีฬา ที่พูดถึงเรื่องราวของ ‘ฮินาตะ โชโย’ เด็กหนุ่มตัวเล็กที่สนใจในกีฬาวอลเลย์บอลตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา หลังบังเอิญได้เห็นการแข่งขันของ ‘ยักษ์จิ๋ว’ เอซ (Ace) ในตำนานของทีมคาราสึโนะ ผู้เล่นตัวเล็กที่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ทีมตรงข้ามที่สูงถึง 190 เซนติเมตรได้ ทำให้ฮินาตะใฝ่ฝันอยากเป็นอย่างยักษ์จิ๋ว พยายามฝึกฝนกีฬาวอลเลย์บอล เกิดเป็นเรื่องราวมิตรภาพและการแข่งขันตามมา ไฮคิว!! ถือกำเนิดจากฝีมือการเขียนของ ‘อาจารย์ฮารุอิจิ ฟุรุดาเตะ’ โดยเริ่มต้นจากการตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ในปี 2555 ก่อนจะถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมะซีซันแรกในปี 2557 ปัจจุบันมีการรวมเล่มมังงะจนจบ 45 เล่ม อนิเมะ 4 ซีซัน โดยล่าสุดภาพยนตร์อนิเมะกำลังฉายในโรงภาพยนตร์ ในชื่อ ‘Haikyu!! The […]
อย่าปล่อยให้ปลาทูไทยหายไปจากท้องทะเล ร่วมแชร์ปัญหาปลาทูไทยที่ลดลงไปจนอาจสูญพันธุ์ ในแคมเปญ ‘I MISS YOU ปลาทูไทย’
ปลาทูไทยหายไปไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน เพราะมันอาจจะกลายเป็นเรื่องจริงในอนาคต ขนาดทุกวันนี้ ปลาทูที่เรากินกันก็ยังไม่ใช่ปลาทูไทย แต่อาจเป็นปลาทูจากอินโดนีเซีย! ช่วงระยะหลายปีที่ผ่านมา จำนวนปลาทูในท้องทะเลไทยลดฮวบอย่างน่าตกใจกว่า 10 เท่า แถมปลาทูยังมีขนาดตัวเล็กลงเรื่อยๆ ด้วย ซึ่งต้นตอของปัญหามีหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำประมงเกินขนาด กฎหมายการประมงที่ไม่เข้มงวด หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้ท้องทะเลร้อนระอุขึ้น แม้จำนวนปลาจะลดลง แต่ความต้องการของตลาดอาหารทะเลไม่ได้ลดตาม จนประเทศไทยต้องนำเข้าปลาทูจากอินโดนีเซียมารองรับ ถ้าหากวงจรชีวิตปลาทูไทยยังถูกคุกคามโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในอีก 20 – 30 ปีข้างหน้า ก็ถึงเวลาที่ปลาทูไทยจะสาบสูญไปจากท้องทะเล เพื่อไม่ให้ฝันร้ายกลายเป็นจริง Pulitzer Center เลยชวนทุกคนมาร่วมส่งเสียงเล่าปัญหาปลาทูไทย ด้วยการแชร์ภาพเมนูปลาทูของตัวเอง ติดแฮชแท็ก #imissyouplatuthai และแนบลิงก์ Infographic จาก Pulitzer Center ที่บอกเล่าปัญหาอันน่าตกใจ พร้อมแท็ก ‘@pulitzercenter’ หรือใครอยากแชร์รายงานข่าว ปัญหาปลาทูไทย ของ Pulitzer Center ติดไปด้วยก็ได้เช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการจัดนิทรรศการศิลปะ ‘I MISS YOU ปลาทูไทย’ ที่ได้ พงษ์พันธ์ สุริยภัทร […]
‘The Green Skyline Project’ พื้นที่สาธารณะจากพื้นที่ว่างเลียบชายหาด ที่สร้างสีสันอันโดดเด่นบนเกาะ Hengqin
พื้นที่สาธารณะที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมักเป็นพื้นที่ที่ต้องมีการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น พบปะพูดคุย ออกกำลังกาย เดินเล่น หรือกระทั่งเป็นสถานที่ที่หลายครอบครัวมาใช้เวลาด้วยกันในวันพักผ่อนได้ จากโจทย์นี้เอง นำมาซึ่งโครงการที่น่าสนใจอย่าง ‘The Green Skyline Project’ ที่เปลี่ยนพื้นที่ว่างเลียบชายหาดและไม่ได้มีการใช้งานให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสีสันสดใสและมีการใช้งานหลากหลายรูปแบบ บนเกาะ Hengqin ประเทศจีน Green Skyline ออกแบบโดยบริษัท 100 Architects จากเซี่ยงไฮ้ ที่เน้นการดีไซน์สถานที่ให้มีองค์ประกอบน่าสนใจและดึงดูดความสนใจของผู้คนได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้โปรเจกต์นี้โดดเด่นด้วยสีฟ้าและสีเหลือง รวมถึงมีการใช้แถบไฟ LED ส่องสว่างในตอนกลางคืน เพื่อสร้างความตื่นเต้นให้คนที่มาเดินเล่นในพื้นที่ และได้รับพลังงานบวกจากการทำกิจกรรมที่นี่ด้วย และอีกหนึ่งไฮไลต์ของ Green Skyline คือจุดทำกิจกรรมต่างๆ ที่รวมอยู่ในพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้ เช่น จุดตั้งกล้องดูดาว พื้นที่พักผ่อน โซนสนามเด็กเล่น และด้วยความที่ทำเลอยู่ติดกับทะเล ทำให้ผู้ใช้พื้นที่มองเห็นวิวของมาเก๊าที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้ นอกจากนี้ Green Skyline ก็ยังทำหน้าที่เป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ บนเกาะ เนื่องจากตัวพื้นที่ได้รับการออกแบบให้ผู้คนมาพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้ตลอดเวลา เพราะเปิดใช้งานทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน Sources :100 Architects | tinyurl.com/37hxpyyjDesignboom | tinyurl.com/c93afpde
24 Hours Journey in Bangkok ขนส่งของคนกรุงฯ
“รถติดอีกละ”“โห…ทำไมคนเยอะจัง”“คนเยอะจัง เดี๋ยวดึกๆ เราค่อยกลับดีกว่า” ประโยคเหล่านี้มักเป็นสิ่งที่หลายๆ คนแอบคิดขึ้นมาในหัว ขณะที่เราต้องเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ซึ่งเราเองก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน ตั้งแต่เข้ามาเรียนต่อที่นี่ เราตั้งคำถามเกี่ยวกับจำนวนคนที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยครั้ง จนกลายเป็นภาพจำของหลายๆ คนเวลามองเข้ามาเห็นชีวิตของคนเมืองกรุง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การสร้างผลงานภาพถ่ายชุด Journey in Bangkok ที่ต้องการจะเล่าถึงการเดินทางในแต่ละวันของคนเมืองกรุง เพื่อสะท้อนภาพการเดินทางในรูปแบบต่างๆ ผ่านระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร รับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ : 24 Hours Journey in Bangkok หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
Kami-Ikebukuro Community Center รีโนเวตตึกสำนักงานเก่าอายุ 30 ปีในย่านคามิอิเคบุคุโระ ให้กลายเป็นพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชน
ถัดจากย่านอิเคบุคุโระที่พลุกพล่านไปด้วยนักท่องเที่ยวไม่ไกล คือที่ตั้งของย่านคามิอิเคบุคุโระ ที่แม้จะมีนักท่องเที่ยวอยู่บ้าง แต่ยังมีความเป็นชุมชนอยู่สูงไม่แพ้กัน เพราะประกอบไปด้วยพื้นที่เชิงพาณิชย์และพื้นที่พักอาศัยปะปนกันไป ‘Kami-Ikebukuro Community Center’ คือพื้นที่ส่วนกลางและห้องสมุดชุมชนแห่งใหม่ ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดที่ต้องการเชื่อมโยงผู้คนในชุมชนและนักท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน โดยดึงเอาอาคารสำนักงาน 2 ชั้นอายุกว่า 30 ปีในย่านที่เคยถูกใช้งานในเชิงพาณิชย์มารีโนเวตด้วยฝีมือของสตูดิโอออกแบบ mtthw mtthw เริ่มต้นรีโนเวตจากการรื้อผนังกั้นระหว่างห้องภายในอาคารออก เพื่อสร้างพื้นที่เปิดโล่งที่มีด้านหน้าและด้านหลังของอาคารทั้งสองด้าน แบ่งพื้นที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารให้กลายเป็นห้องสมุดที่จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางความรู้สู่คนในชุมชน ส่วนชั้น 1 มีการออกแบบโคมไฟและประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ให้เคลื่อนย้ายได้ เพื่อรองรับการใช้บริการที่หลากหลายของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็น การจัดนิทรรศการ การฟังบรรยายในหัวข้อที่น่าสนใจ หรือแม้กระทั่งเป็นที่อ่านหนังสือ ทำงาน รวมไปถึงการนัดรวมตัวของผู้คน อีกทั้งบริเวณผนังและฉากกั้นห้องยังใช้กระจกวินเทจที่มีลวดลายต่างๆ ที่โดยปกติจะพบในอาคารที่สร้างขึ้นในสมัยโชวะมาใช้ในการตกแต่ง เพื่อให้ความรู้สึกคุ้นเคยและหวนรำลึกถึงบรรยากาศเก่าๆ ในอดีต ทำให้ Kami-Ikebukuro Community Center แห่งนี้เปรียบเสมือน ‘Medium’ ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมคนในชุมชนเข้ากับพื้นที่สาธารณะ เชื่อมกิจกรรมชุมชนเข้ากับวิวทิวทัศน์ของผู้คนในเมือง เชื่อมโยงเรื่องราวในอดีตสู่ปัจจุบัน ตามความตั้งใจของทีมผู้ออกแบบที่หวังว่าพื้นที่นี้จะกลายเป็นสถานที่ที่รวมผู้คน สิ่งของ และกิจกรรมต่างๆ ไว้ได้ในที่สุด Source : ArchDaily | t.ly/4PCri
ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มิถุนายน 2567
นอกเหนือจากการเข้ามาของ AI ที่กำลังเป็นเทรนด์ในวงการดีไซน์อยู่ตอนนี้ เรื่องของการ Recycling และ Upcycling ก็ถือว่าเป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่ยังคงได้รับความสนใจและถูกพูดถึงในปัจจุบัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพวก Product Design ที่มักมีการนำเสนอไอเดียการออกแบบที่หนีไม่พ้นเรื่องรักษ์โลก ซึ่งยังไปสอดคล้องกับ Circular Economy ที่เป็นพันธกิจของหลายๆ องค์กรในปัจจุบัน กลับมาที่คอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ ที่ตัวผมมักให้ความสนใจของชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาชีวิตประจำวันโดยชาวบ้านคนธรรมดาริมทาง ผมมองว่าของพวกนี้อาจนับว่าเป็นงาน Product Design ที่ดูบังเอิญจะจัดอยู่ในเทรนด์รักษ์โลกที่เกริ่นมาช่วงต้นได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะมักมีการ Upcycling วัสดุเหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้พลาสติกเก่า ท่อนท่อพีวีซี เส้นสายไฟเก่า ฯลฯ นำมาประดิษฐ์ตัดแต่งกลายเป็นสิ่งของเครื่องใช้นั่นนี่เต็มไปหมด ทั้งที่ความเป็นจริงเมื่อเรามองดูก็รู้ทันทีเลยว่า การกระทำสิ่งของเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการสนใจเรื่องรักษ์โลกอะไรเลย แต่เกิดจากเหตุผลว่าอยากประหยัดเฉยๆ และไม่ได้ต้องแคร์หน้าตารูปทรงด้วย ขอแค่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดดั่งใจต้องการ ทำให้วัสดุเหลือใช้อะไรก็สามารถนำกลับมาใช้ได้หมด ไม่ได้มีเกณฑ์มาตรวัดมาตีกรอบ และเมื่อเราตั้งใจมองให้ลึกขึ้น หลายครั้งการ Upcycling ของข้างทางเหล่านี้มักไม่ได้จบแค่เรื่องวัสดุเหลือใช้ แต่ยังมีการเข้าไปหยิบยืมสิ่งของ องค์ประกอบ หรือโครงสร้างใดๆ ของเมืองที่เริ่มไม่ก่อประโยชน์ในการใช้สอยทางกายภาพ นำมา Upcycling ร่วมกับวัสดุเหลือใช้ได้อีกด้วย เช่น นำรูของเสาไฟมาเสียบด้วยแท่งไม้ม็อปให้กลายเป็นราวตากผ้า หรือใช้ซี่รั้วเหล็กเป็นฐานให้เก้าอี้ออฟฟิศเก่าที่ขาพังแล้วเข้าไปมัดติดไว้ให้พอนั่งได้ สิ่งเหล่านี้มันเริ่มไปไกลกว่าคำว่า Upcycling […]
URBAN UNTOLD | เรื่องเล่าที่ LGBTQIAN+ ไม่ได้เล่า
TW : เนื้อหาในคลิปมีการพูดถึงความรุนแรงจากการทำร้ายร่างกายหรือจิตใจ ในเดือนมิถุนายนของทุกปี หากเราเห็นคนมากมายใส่เสื้อสีสันหลากหลายร่วมกันเดินขบวนพาเหรดโบกธงสีรุ้งอยู่บนถนนก็คงไม่แปลกใจนัก เพราะมันคือการเฉลิมฉลอง Pride Month ที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน จากการต้องหลบซ่อนจากความเกลียดชังหรือการทำร้ายกันซึ่งเกิดจากเพศ การต่อสู้กว่าจะได้ซึ่งสิทธิของเพศหลากหลายเพื่อให้เคารพทุกคนได้เท่าเทียมกัน ‘เพศ’ ที่ในโลกเคยกำหนดไว้ผ่านแค่ ‘จู๋’ หรือ ‘จิ๋ม’ มีเพียงชายจริงหญิงแท้ ได้ถูกพัฒนาและซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเราพบว่า จริงๆ แล้วตัวตนของคนคนหนึ่งหรือเพศนั้นไม่ควรถูกกำหนดจากเพียงแค่อวัยวะเพศอย่างเดียว หากแต่มนุษย์คนหนึ่งล้วนมีความหลากหลายและซับซ้อนไปมากกว่านั้น แต่ความหลากหลายและความซับซ้อนนี้ หลายๆ ครั้งก็ทำให้สังคมอาจไม่เข้าใจว่าทำไมมันต้องยุ่งยากเสียเหลือเกิน และไม่ใช่แค่สังคมภายนอกเท่านั้น บางทีภายในคอมมูนิตี้ของพวกเขาเองก็ยังมองว่ายุ่งยากและมีปัญหาอื่นๆ ตามมาด้วยเช่นเดียวกัน วันนี้ Urban Untold จึงขอไปสำรวจภายในคอมมูนิตี้ของเพศหลากหลายว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง Urban Creature ขอต้อนรับวาระผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมด้วยเรื่องเล่าภายในสังคมความหลากหลายทางเพศที่ไม่ได้ถูกเล่า ผ่านตัวของพวกเขาเอง เพื่อให้สังคมได้รับรู้ว่า ไม่ได้มีเพียงแค่ปัญหาจากสังคมภายนอกเท่านั้น แต่สังคมหรือวัฒนธรรมภายในก็ควรเปลี่ยนด้วยเช่นกัน
ชวนนักออกแบบคิดเพื่อโลก ตอบโจทย์ชุมชน ส่งประกวดเวที AYDA AWARDS 2024 สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ต.ค. 2567
AYDA Awards 2024 เป็นเวทีที่ ‘นิปปอนเพนต์’ เปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้โชว์ทักษะการออกแบบ และสัมผัสประสบการณ์การทำงานจริงกับนักออกแบบชั้นนำของประเทศและเอเชีย นับเป็นปีที่ 17 ของเวทีนี้แล้วที่เปิดรับสมัครเหล่านักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมและการออกแบบตกแต่งภายใน มาโชว์ศักยภาพและแสดงความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้คอนเซปต์ Converge : Glocal Design Solutions หรือ การรวมกันเป็นหนึ่งจากแนวคิดวิถีท้องถิ่นสู่ระดับโลก ผ่านการออกแบบที่คำนึงถึงผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของโลก เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่าสูงสุดถึง 100,000 บาท พร้อมโปรแกรมออกแบบ Sketchup Studio Education Software 2024 เป็นเวลา 1 ปี และโอกาสสำคัญในการเป็นตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมแข่งขันในงาน AYDA Awards International Summit ที่ประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ชนะระดับเอเชีย จะได้เข้าร่วมหลักสูตรพิเศษ Design Discovery Program ที่ Harvard Graduate School of Design ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ด้านการออกแบบอย่างเข้มข้นเป็นเวลา […]
‘ไม่ยาก ถ้าไม่อยากเป็นคน Toxic’ ขอโทษให้เป็น เยียวยาใจ และเตือนตัวเองให้อย่าเผลอไปทำร้ายใจใครอีก
หนึ่งคำพูดอันทรงพลังเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่เราเคยได้ยินคือ “Hurt people, hurt people.” อธิบายคือ คนที่เคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เขาเจ็บปวดมา หากเขากอดความปวดร้าวนั้นไว้แน่นกับตัว ไม่ช้าก็เร็ว เขาต้องส่งความเจ็บปวดนี้ให้คนอื่นอีก และประโยคที่ตามมาจากประโยคแรกคือ “Healed people, heal people.” ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเจ็บปวดมาแค่ไหน หากเขาคนนั้นเลือกที่จะเดินเข้าสู่หนทางแห่งการเยียวยาจิตใจ ไม่ช้าก็เร็ว แรงกระเพื่อมของการอยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อคนรอบข้างให้อยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามได้แน่นอน แต่ถ้า Hurt People (คนที่เจ็บปวด) ไม่ได้เจ็บปวดจากการที่คนอื่นทำตัวเองเจ็บ แต่เจ็บปวดจากการทำให้คนอื่นเจ็บแล้วรู้สึกแย่มากๆ หลังจากนั้นแทนล่ะ ความรู้สึกที่เหมือนตัวเองเป็นตัวร้ายนี้จะ Heal (เยียวยา) อย่างไรดี หาต้นตอที่ทำให้เราเจ็บปวด เพื่อรีบออกจากวงจรการเผลอเป็นคน Toxic แทบทุกคนที่เคยทำตัวไม่น่ารักใส่ใคร มักเคยมีคนมาทำให้เจ็บก่อน ไม่ว่าคนคนนั้นจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่นี่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่อนุญาตให้เราสมควรส่งต่อความเจ็บนี้กระจายสู่คนอื่นไปเรื่อยได้ มีช่วงหนึ่งที่ผู้เขียนเคยมีเรื่องผิดใจกับแม่ รู้สึกเจ็บใจที่ไม่น่าเล่าเรื่องส่วนตัวให้เขาฟัง ปนกับความน้อยใจที่คาดหวังไปเองว่าแม่น่าจะเข้าใจฉันมากกว่านี้ ทำให้ผู้เขียนรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญแม่อยู่เสมอ ซึ่งก็มาจากก้อนความเศร้าที่ต่างคนต่างผิดหวังในกันและกันจากความเชื่อในการใช้ชีวิตบางอย่างที่ไม่ตรงกัน จึงเกิดเป็นถ้อยคำทำร้ายจิตใจกัน แต่ก็เป็นตัวผู้เขียนเองที่ไม่ยอมสลัดความเจ็บนี้ออกจากใจ เลือกที่จะแบกไว้ เพราะหวังเองอยู่ลึกๆ ว่าแม่ต้องเข้าใจความเจ็บปวดนี้บ้าง ซึ่งวิธีจัดการความเจ็บในใจโดยการปักธงอยากจะลงโทษทางอารมณ์คนที่ทำให้เจ็บนั้น ก็เป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก เพราะทุกครั้งที่เราโฟกัสกับความเจ็บที่เรารู้สึกจากเขา และพยายามจะส่งก้อนความเจ็บนี้กลับไปให้เขา กลายเป็นเราเองนั่นแหละที่เจ็บในใจกว่าเหลือเกิน สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นคือ เราหงุดหงิดและรำคาญแม่แทบทุกเรื่องที่เขาทำ […]