
LATEST
ห้องสมุดบรูกลินลุกขึ้นสู้เปิดให้วัยรุ่นสหรัฐฯ อ่านหนังสือที่ถูกแบน เชื่อทุกคนมีสิทธิ์เข้าถึงทุกความหลากหลาย
วัยรุ่นทุกคนในสหรัฐฯ สามารถเข้าถึงหนังสือที่ถูกแบนในห้องเรียนได้แล้ว เมื่อห้องสมุดสาธารณะบรูกลิน ได้ออกมาประกาศเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า พวกเขาสามารถลงทะเบียนเป็นสมาชิกและเข้าถึงหนังสือต้องห้ามหลายร้อยเล่มในรูปแบบดิจิทัลหรือหนังสือเสียง จากการศึกษาพบว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มีการสั่งแบนหนังสือมากกว่า 1,500 เล่ม ซึ่งรายงานฉบับนี้บอกว่าเป็นส่วนหนึ่งในความพยายามในการเซนเซอร์ของการเมืองฝ่ายขวา ในการห้ามหนังสือวรรณกรรมในโรงเรียน โดยการแบนดังกล่าวมุ่งเป้าไปที่หนังสือที่เน้นเรื่องเชื้อชาติ และ LGBTQ เป็นส่วนใหญ่ รายงานฉบับเดียวกันยังพบว่า หนังสือที่ถูกแบนจำนวนมากถูกเขียนขึ้นโดยนักเขียนที่ไม่ใช่คนผิวขาวหรือกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ Books Unbanned เป็นโครงการที่ริเริ่มด้วยกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นสมาชิกของห้องสมุดสาธารณะบรูกลิน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อต้านความพยายามในการเซนเซอร์ครั้งนี้ ด้วยการเข้าถึงหนังสือที่ถูกแบนได้ทุกที่ และต้องการให้หนังสือที่ถูกแบนสามารถเข้าถึงวัยรุ่นในพื้นที่ห่างไกลซึ่งมักพบว่าตัวเองตกเป็นเป้าหมายในการจู่โจมจากกลุ่มหัวรุนแรงเช่นเดียวกับการเหยียดผิว Nick Higgins หัวหน้าบรรณารักษ์ กล่าวว่า ในช่วงสองวันแรกนับตั้งแต่เริ่มโปรแกรม มีวัยรุ่นเข้ามาลงทะเบียนประมาณ 200 คน และได้รับใบสมัครมากกว่า 700 รายการ เขายังบอกคนรุ่นใหม่ว่าไม่ควรเดินเข้าไปในห้องสมุดและพบว่าตัวเองไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับที่นี่เลย เพียงเพราะเรื่องราวของพวกเขาถูกนำออกไปจากสถานที่แห่งนี้ “เสรีภาพทางปัญญา สิทธิในการอ่าน เป็นพื้นฐานที่สังคมจำเป็นต้องมี ความหวังในชุมชนที่หลากหลายย่อมหมายถึงการเข้าถึงมุมมองที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้เรารุ่มรวยขึ้นในระยะยาว” Higgins กล่าว Sources :The Guardian VICE
ไม่เพียงระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นจากโลกร้อน! เมืองใหญ่ทั่วโลกเสี่ยงน้ำท่วมเพราะทรุดตัวจากที่อยู่หนาแน่น ใช้ทรัพยากรใต้ดิน ฯลฯ
เชื่อว่าเราคงเห็นข่าวหรือได้ยินว่าเมืองใหญ่ๆ ของโลกมีโอกาสจมน้ำเพราะระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ด้วยวิกฤตสภาวะโลกร้อนมาแล้ว แต่งานวิจัยจากวารสาร Geophysical Research Letters ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 24 มีนาคม อาจจะชวนกระตุกต่อมความเชื่อและท้าทายงานวิจัยเดิม เพราะเขาบอกเราว่า การเพิ่มสูงขึ้นของระดับน้ำทะเลอาจจะไม่รวดเร็วเท่ากับอัตราที่เมืองใหญ่ทรุดตัวลง ในงานวิจัยชื่อว่า ‘Subsidence in Coastal Cities Throughout the World Observed by InSAR (สำรวจการทรุดตัวลงของเมืองชายฝั่งทั่วโลกโดยเรดาร์ InSAR)’ ผู้วิจัยสามคนคือ Pei-Chin Wu Meng Wei และ Steven D’Hondt ได้สำรวจ 99 เมืองใหญ่ติดชายฝั่งทะเลทั่วโลกผ่านระบบเรดาร์ และค้นพบว่า อย่างน้อย 33 เมืองทรุดตัวลงด้วยความเร็วมากกว่า 1 เซนติเมตรต่อปี นั่นคือตัวเลขที่มากกว่าความเร็วการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลกว่า 5 เท่า ผลจากการทรุดตัวของเมืองนั้น คณะผู้วิจัยแจกแจงว่ามี 3 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ การสูบน้ำบาดาล การสร้างที่อยู่อาศัยหนาแน่น และการขุดเจาะแหล่งพลังงานธรรมชาตินั่นเอง เมืองส่วนใหญ่ที่เป็นที่น่ากังวลที่สุดอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด […]
ชวนสำรวจประเพณี ‘การสักยันต์’ แบบไทย ที่นิทรรศการ TRANCE / FIGURATION ใน 3 จังหวัด 21 เม.ย. – 21 ส.ค. 65
การสักลายไม่ใช่เพียงสัญลักษณ์ที่สะท้อนตัวตนหรือศิลปะบนเรือนร่างของมนุษย์เท่านั้น แต่สำหรับคนบางกลุ่ม ลายเส้นเหล่านี้ยังเปรียบเสมือนเวทมนตร์ที่ให้การคุ้มครอง ความสามารถพิเศษ และโชคลาภแก่เจ้าของรอยสักด้วย ใครอยากสัมผัสหรือทำความเข้าใจการสักลายตามความเชื่อของไทย เราอยากชวนทุกคนไปงาน ‘TRANCE / FIGURATION สักยันต์ Tattoos from Birth to Death’ นิทรรศการจัดแสดงผลงานอันน่าทึ่งเกี่ยวกับประเพณี ‘การสักยันต์’ ของไทย ผ่านการผสมผสานสื่อหลายประเภท ทั้งภาพยนตร์ เสียง และการจัดวาง ที่จะช่วยให้คุณเข้าใจถึงแก่นของการสักยันต์อย่างหลากมิติยิ่งขึ้น นิทรรศการนี้มีแรงบันดาลใจมาจากประเพณีการสักยันต์แบบไทยโบราณ ที่เชื่อว่าร่างกายมนุษย์เป็นดั่งผืนผ้าใบ ทุกอณูบนผิวหนังจึงถูกแต่งแต้มไปด้วยอักขระศักดิ์สิทธิ์และรูปสัตว์จากเรื่องราวในตำนาน ซึ่งในประเทศไทย กัมพูชา เมียนมา และลาว ช่างสักเปรียบเสมือนหมอผีที่สร้างเวทมนตร์ที่ช่วยให้เจ้าของรอยสักมีโชคลาภ แคล้วคลาดจากภัยอันตราย และอยู่ยงคงกระพัน ที่สำคัญ ผู้รับการสักยันต์ยังต้องเข้าสู่ ‘พิธีไหว้ครู’ พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ที่ทำให้จิตของผู้ที่ศรัทธาเข้าสู่ภวังค์หรือที่เรียกว่าอาการของขึ้น เนื่องจากถูกครอบงำโดยจิตวิญญาณแห่งรอยสัก นอกจากจัดแสดงภาพถ่ายและประวัติศาสตร์ร่วมสมัยแล้ว ในนิทรรศการยังมีการร่วมพูดคุยกับนักชาติพันธุ์วิทยาและนักสังคมวิทยาเกี่ยวกับบทบาททางสังคมของรอยสักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และพื้นที่อื่นๆ ของโลก TRANCE / FIGURATION สักยันต์ Tattoos from Birth to Death จะเกิดขึ้นจากการเดินทางผ่าน 3 จังหวัด ตลอดระยะเวลา […]
ทำความเข้าใจสงคราม ‘รัสเซียบุกยูเครน’ ผ่าน 5 สถานที่
นับตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงตอนนี้ ครบ 2 เดือนแล้วที่รัสเซียเริ่มทำสงคราม ‘รุกราน’ ยูเครน ทำให้เกิดคลื่นผู้อพยพกว่า 11 ล้านคนในทวีปยุโรป ผู้คนบาดเจ็บ สูญเสียชีวิต และเมืองต่างๆ ถูกทำลายอย่างราบคาบหลังเปลี่ยนเป็นสมรภูมิสงคราม คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ตอนนี้อยู่เหนือความคาดหมาย เพราะเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2 วันก่อนรัสเซียปฏิบัติการทางการทหาร มีรายงานอย่างหนาหูว่า ทหารรัสเซียกว่าหนึ่งแสนคนตั้งกองกำลังประชิดเขตแดนของประเทศยูเครน และประธานาธิบดีรัสเซียอย่าง วลาดิเมียร์ ปูติน ก็ได้ประกาศรับรองเอกภาพของเขตการปกครองลูฮานส์ (Luhansk) และดอแนตสก์ (Donetsk) ทางตะวันออกของยูเครน แต่ปูตินก็ยังยืนยันหนักแน่นว่ารัสเซียไม่มีแผนบุกยูเครนแน่นอน 2 วันถัดมา เราจึงรู้ว่าคำกล่าวนั้นเป็นเพียงลมปาก รัสเซียเริ่มเปิดฉากบุกยูเครนจากทางเหนือ ตะวันออก และทางใต้ สื่อตะวันตกหลายแห่งรายงานตรงกันว่า การระดมกองกำลังทหารและสรรพาวุธของรัสเซียครั้งนี้มีจำนวนมากที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา มีการวิเคราะห์กันว่า ฝ่ายรัสเซียหวังลึกๆ ว่าการรุกรานยูเครนในครั้งนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เริ่มไวจบไว เหมือนการบุกยึดดินแดน ‘ไครเมีย’ ภายใต้การปกครองของยูเครนเมื่อปี 2014 แต่สถานการณ์ไม่ได้เป็นดังหวัง เพราะชาติตะวันตกทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรปต่างตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ช่วยเหลือยูเครน […]
เกาะชิมาอุระในญี่ปุ่น มีร้านอาหารมาเปิดครั้งแรกในรอบ 15 ปี ก่อนหน้านี้ต้องทำกินเอง หรือไปกินนอกเกาะ
เกาะชิมาอุระในประเทศญี่ปุ่นที่มีขนาดประมาณเซ็นทรัลปาร์ก และขึ้นชื่อด้านอาหารทะเลที่อุดมสมบูรณ์ แต่หากประชากร 850 คนบนเกาะอยากฉลองมื้อเย็นด้วยซาซิมิสักชุดหนึ่ง พวกเขามีเพียงสองทางเลือกคือลงมือทำด้วยตัวเอง หรือเดินทางออกไปกินที่นอกเกาะเลย เพราะเกาะแห่งนี้ไม่มีร้านอาหารมาเปิดนานถึง 15 ปีแล้ว จากปัญหาเดียวกันของทั้งแดนปลาดิบคือจำนวนประชากรสูงอายุที่เพิ่มขึ้น สวนทางกับอัตราการเกิดที่ลดลง จนไม่สามารถดึงดูดธุรกิจให้เข้ามาทำตลาดได้ ตอนนี้ถือเป็นครั้งแรกในรอบสิบกว่าปีที่พวกเขาได้กลับมาทานอาหารนอกบ้านอีกครั้งที่ร้าน Mangetsu Shokudo ที่ให้เปิดขายแกงกะหรี่ อาหารทอด และเครื่องเคียงต่างๆ ซึ่งได้รับการคัดเลือกมาเป็นอย่างดีสำหรับครอบครัวที่ต้องทำอาหารกินเองที่บ้านมาตลอดหลายปี Taishi Iwata ผู้จัดการร้านอาหารบอกว่า โดยปกติแล้วผู้คนบนเกาะจะมีปลาเป็นวัตถุดิบหลักในการทำอาหาร แต่เป็นเรื่องยากที่จะซื้อไก่มาปรุงแล้วนำไปทอดในพื้นที่ที่ห่างไกลแบบนี้ ซึ่งการเปิดร้านอาหารครั้งนี้ถือว่าเป็นชัยชนะเล็กๆ สำหรับเกาะชิมาอุระ หนึ่งในหมู่เกาะของญี่ปุ่นที่กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนประชากรอย่างรุนแรง จากข้อมูลล่าสุดของรัฐบาลญี่ปุ่น ประชากรที่อาศัยอยู่ในหมู่เกาะที่ห่างไกลลดลงมากกว่า 9 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี 2010 – 2015 เทียบกับอัตราส่วนทั่วประเทศลดลงเพียง 0.8 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนั้น อัตราประชากรชาวเกาะที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ยังมากถึง 39 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับระดับประเทศซึ่งมีอัตราอยู่ที่ 26.6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น Keitaro Kai เจ้าของร้านอาหาร Mangetsu Shokudo บอกว่า […]
URBAN เจอนี่ EP.1 l บุกเส้าหลินวงการ Sport Stacking เมืองไทย (กีฬาเรียงแก้ว)
ใครจะคิดว่าการเล่นเรียงแก้วธรรมดาๆ จะเป็นเกมกีฬาสุดเจ๋งสำหรับทุกเพศทุกวัย! ขอเปิดประเดิมรายการใหม่ล่าสุดของ Urban Creature กับรายการ URBAN เจอนี่ ‘อยากเจอดี ต้องได้เจอ’ เมื่อความนิยมของ SPORT STACKING กลับมาอีกครั้งต้อนรับกระแสจากหนัง Fast and Feel Love เราจึงอยากพาคุณบุกสถานที่ ที่ได้ชื่อว่า เส้าหลินแห่งวงการกีฬาเรียงแก้ว ตามไปดูความยิ่งใหญ่ ถ้วยรางวัลการันตีและความสามารถของเด็กๆ ที่มีต่อกีฬาเรียงแก้ว จะสนุก มัน ฮา ขนาดไหน เราขออุบไว้ไม่อยากสปอยเยอะ แต่รับรองว่ารายการใหม่ของเราจะทำให้ทุกวันเสาร์ของคุณไม่น่าเบื่ออีกต่อไป ติดตาม ‘URBAN เจอนี่’ ได้ทุกวันเสาร์ เวลา 20.00 น. ช่องทาง Facebook และ Youtube ได้แล้วตั้งแต่วันนี้! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #URBANเจอนี่ #กีฬาเรียงแก้ว #Sport #Stacking
‘กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ’ สภาเมืองบาร์เซโลนาเปิดห้องสมุดใหม่ ตั้งชื่อเป็นเกียรตินักเขียนรางวัลโนเบล
หากคุณคุ้นเคยกับนวนิยายชื่อดังอย่าง ‘หนึ่งร้อยปีแห่งความโดดเดี่ยว (One Hundred Years of Solitude)’ ‘รักเมื่อคราวห่าลง (Love in the Time of Cholera)’ หรือ ‘ว่าด้วยความรักและบรรดาปีศาจ (Of Love and Other Demons)’ นี่คือผลงานของ ‘กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ’ นักเขียนชาวโคลอมเบียน ตลอดชีวิตนักเขียนผู้นี้ เขาเคยอาศัยที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ถึง 8 ปี ตั้งแต่ปี 1967 – 1975 นี่จึงเป็นที่มาของห้องสมุดเมืองบาร์เซโลนาแห่งใหม่ได้ตั้งเป็นชื่อของเขาเพื่อเป็นเกียรติให้กับนักเขียนรางวัลโนเบลผู้นี้ ห้องสมุด ‘กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ’ แห่งนี้อยู่ในเขต Sant Martí de Provençals (ซาน มาร์ตี เดอ โปรเวนซาล) และตัวอาคารจะใช้ไม้กว่า 4,000 ตารางเมตร เป็นโครงหลัก (Timber-framed) […]
Old Enough รายการญี่ปุ่นใน Netflix ที่มอบภารกิจให้เด็กอนุบาล ออกไปเรียนรู้และเอาตัวรอดนอกบ้าน
จำได้ไหมว่าคุณออกนอกบ้านคนเดียวครั้งแรกตอนอายุเท่าไหร่? ตอนเด็กๆ หลายคนต้องเคยได้รับมอบหมายภารกิจให้ไปซื้อน้ำปลา เอาของไปให้ญาติบ้านใกล้เรือนเคียง หรือฝากไปทำธุระเล็กๆ ละแวกบ้าน คุณจำครั้งแรกได้ไหมว่าตอนนั้นรู้สึกอย่างไร และอายุเท่าไหร่กันบ้าง? ‘Old Enough ผจญภัยวัยอนุบาล’ คือรายการเรียลลิตีครอบครัวจาก NTV ประเทศญี่ปุ่น ที่มอบภารกิจให้เด็กวัย 2 – 3 ขวบไปทำธุระใกล้ๆ บ้านให้พ่อแม่ เพื่อให้ได้เรียนรู้วิธีเอาตัวรอดนอกบ้าน เรียนรู้ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ช่วยเหลือตัวเองและช่วยงานพ่อแม่ได้มากขึ้น ถ้าคุณเคยเป็นแฟนรายการขำกลิ้งลิงกับหมา เราเชื่อว่าจะหลงรักรายการนี้ได้ไม่ยาก เพราะตลอดทั้งรายการจะได้เอาใจช่วยเด็กๆ ให้ทำภารกิจให้สำเร็จลุล่วงไปได้ บางตอนทั้งขำทั้งซึ้งจนน้ำตาลไหลในความน่ารักใสซื่อของเด็กๆ ภารกิจที่เด็กๆ ได้รับมอบหมายไม่ใช่แค่ซื้อน้ำปลาแล้วกลับบ้านแน่นอน เพราะธุระที่พ่อแม่มอบหมายให้มีหลายจุด ทั้งไปซื้อของ เอาปลาไปแล่ที่ร้าน ไปรับเสื้อที่ร้านซักรีด แวะซื้อของให้แม่ จ่ายตลาด ส่งของให้ญาติ ฯลฯ มีธุระให้ทำทั้งขาไปขากลับ บางธุระมีน้ำหนักหลายกิโล แถมระหว่างทางยังมีอุปสรรคมากมาย บางคนต้องเดินระยะทางที่ไกล เดินขึ้นเขาบนทางชัน หรือเดินขึ้นบันไดศาลเจ้าหลายร้อยขั้นเพื่อไปทำภารกิจให้สำเร็จ ลองนึกดูสิว่าถ้าคุณเป็นเด็กวัย 2 – 3 ขวบจะทำภารกิจเหล่านี้ให้ลุล่วงได้โดยที่ไม่ร้องไห้ ไม่ว่อกแว่ก และไม่หลงทางได้อย่างไร แถมพ่อแม่ยังต้องใจแข็งมากๆ ด้วยที่ยอมปล่อยลูกวัยนี้ออกไปผจญภัยนอกบ้านด้วยตัวเอง รายการนี้จะทำให้เราได้ลุ้นและเอาใจช่วยเด็กๆ เรายังได้เห็นความสัมพันธ์ของครอบครัว […]
กำปงกู พื้นที่สาธารณะที่ทำโดยประชาชน ไม่มีเวลาเปิดปิด ไม่จำกัดกิจกรรม และเติบโตไปพร้อมผู้ใช้งาน
แดดสี่โมงเย็นของยังคงส่องแสงแรงกล้า ช่วงเวลาที่ตะวันยังไม่คล้อยต่ำ บรรยากาศของเมืองปัตตานีมีลมพัดเป็นระลอก ที่ลานสเก็ตก็มีเพียงหนุ่มน้อยจากชุมชนบือตงกำปงกูสามนาย ที่มาพร้อมกับสเก็ตบอร์ดหนึ่งแผ่นเดินเข้ามาทักทาย บอกว่าเดี๋ยวอาจารย์อาร์ม-ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ที่นัดกันไว้ก็จะมาแล้ว คุยไปไถเล่นไปโชว์ลีลาไปไม่นานเท่าไหร่ เสียงเครื่องยนต์ที่คุ้นเคยก็ดังขึ้นจากทางเข้ากำปงกู นักกีฬาสามคนหมดความสนใจสเก็ตอันจิ๋ว วิ่งไปเปิดท้ายรถซีดานสีเขียวแก่อย่างคุ้นเคยก่อนจะช่วยขนทั้งสเก็ตบอร์ด เซิร์ฟสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลดออกมาคอยท่าเพื่อนๆ ตัวเล็กเหล่านี้จะรู้จักกำปงกูกันในฐานะลานสเก็ตประจำชุมชน ที่ข้างในเป็นห้องสมุดเปิดให้เข้าไปอ่านหนังสือ นั่งเล่น นอนเล่นกันได้ แต่เราขอนิยามที่นี่ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่จัดทำโดยประชาชนดีกว่า เป็นที่สาธารณะที่ไม่ได้มีไว้เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะทำอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้ใช้งาน ไม่มีเวลาเปิด-ปิด ไม่มีค่าใช้จ่าย จะมาใช้งานตอนไหนก็ไม่ว่ากัน 01 ชุมชนบือตงกำปงกู เวลาผ่านไปไม่นานนัก ชาวแก๊งมากันเต็มลาน บางคนเหมือนจะเพิ่งเริ่มหัดยืนบนกระดานได้ไม่นาน บางคนดรอปอินลงมาจากแลมป์อย่างคล่องแคล่ว ส่วนบางคนก็ถนัดที่จะดูเพื่อนมากกว่า หลังจากทักทายและเซย์ฮายกันเรียบร้อย เราชวน อ.อาร์ม เข้าร่มไปยังบริเวณห้องสมุดที่ยังอยู่ในสภาพกึ่งทางการ คือบางมุมก็เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่บางจุดก็ยังรอการจัดการอยู่ “ทีแรกเป็นร้านชาบูมาก่อน เสร็จแล้วพอโควิดมันเล่นงานคนเช่าก็เลยเลือกที่จะเปลี่ยนลุคใหม่ไปเลย แล้วตอนนี้เขาก็เลิกทำไปก่อน ทุบทั้งหมดออกแล้วเหลือเศษกระจกไว้ให้เราดูต่างหน้า (ยิ้ม) ทีแรกเราตั้งใจทำแค่ลานสเก็ตข้างหลังนี้แหละ ก็เลยเริ่มจากการเคลียร์พื้นที่ด้านหลังที่เคยเป็นป่ามาก่อน กะว่าจะลาดปูนเฉยๆ เพราะเท่านี้ก็ไถสเก็ตได้แล้ว แล้วถ้าเกิดว่างๆ ก็อาจจะมาทำตลาดทำอะไรก็ว่าไป เราคิดแค่นั้นเอง “แต่ว่าในช่วงที่เราเข้ามาดูพื้นที่กันก็เห็นคนเข้ามาซื้อขายยาเสพติด ทั้งที่เราก็ยืนอยู่ตรงนั้นนะแต่เขาก็ทำธุรกรรมกันได้ (หัวเราะ) เราก็รู้สึกว่ามันทำให้พื้นที่ตรงนี้ฮาร์ดคอร์เกินไปหน่อย ก็เลยคุยกับทางทีมดีไซเนอร์แล้วบอกให้เขาออกแบบลานสเก็ตให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลยดีกว่า บังเอิญว่าคนออกแบบก็เล่นไม่เป็นด้วย […]
โปรเจกต์ใหม่ในโลก NFT ของ ปั๋น Riety นำงานศิลปะไปเป็นตัวละครในเกม Hotel de Mentía เปิดขายวันที่ 23 เม.ย.
จากกระแสความนิยมในวงการ NFT ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ ‘ปั๋น ดริสา’ หรือที่รู้จักกันในนาม Riety ยูทูบเบอร์สายอาร์ตที่มีผู้ติดตามในออนไลน์รวมกว่า 1.8 ล้านคน ได้ปล่อยวิดีโอ How to sell your art as NFT | วิธีลงขายงาน NFT ให้ความรู้และทำให้ผู้ติดตามได้เข้าใจโลกของ NFT มากขึ้น และล่าสุดเตรียมปล่อย โปรเจกต์สุดพิเศษ Hotel de Mentía หรือ โรงแรมแห่งการหลงลืม โปรเจกต์นี้เกิดจากความตั้งใจของ ปั๋น และทีม Riety Studio ที่จะสร้างงานศิลปะ เกมและคอมมูนิตี้ ขึ้นมา โดยปั๋นเผยความรู้สึกว่า “เวลาคนเราเจ็บปวดมาก ๆ บางทีเราอยากจะลืมความเจ็บปวด และอยากให้ความเจ็บปวดหายไป ดังนั้นจึงเกิดเป็น Collection นี้ขึ้นมา เป็นโรงแรมที่โผล่ขึ้นมาในเวลาที่คนคนหนึ่งรู้สึกเจ็บปวดใจจากอดีต จนมองไม่เห็นทางในอนาคต ทางโรงแรมจะปรากฏขึ้นเพื่อเสนอ ชีวิตใหม่ให้จากการเป็นแขกในโรงแรม ผ่านการซื้อ NFT ที่แต่ละตัวจะมีเรื่องราวที่แตกต่างกันออกไป” […]
กระจายอำนาจเท่ากับกระจายความเจริญ : คุยเรื่อง ‘ปลดล็อกท้องถิ่น’ กับ ปิยบุตร แสงกนกกุล
ในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมา เราเชื่อว่ามีคนในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยเลือกเดินทางกลับภูมิลำเนาที่ต่างจังหวัดกัน อย่างที่เห็นภาพร้านรวงปิดทำการ ถนนในกรุงเทพฯ โล่งว่างตามสื่อต่างๆ ที่เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าใครที่อยากมีคุณภาพชีวิตดีๆ ด้วยการเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ หรือทำงานได้ค่าตอบแทนสูงๆ ก็มักต้องตัดสินใจเดินทางจากบ้านที่ต่างจังหวัดเข้ามาในกรุงเทพฯ ในปี 2563 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เสนอข้อมูลประชากรแฝงกลางวัน (ผู้ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดที่ตนเองไม่ได้อาศัยอยู่) ในกรุงเทพฯ ว่ามากถึง 46.3 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั่วประเทศ ส่วนประชากรแฝงกลางคืน (ผู้ที่อาศัยอยู่ประจำในจังหวัดหนึ่ง โดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่อาศัยอยู่ประจำ) ในกรุงเทพฯ ก็มีจำนวนถึง 2.35 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 33.4 ของจำนวนทั้งประเทศ ภาพที่เห็นในช่วงวันหยุดยาวและสถิติเหล่านี้ ล้วนสะท้อนถึงความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ไม่กี่ที่ ทำไมสถานศึกษาที่มีคุณภาพ งานดีๆ สาธารณูปโภคที่ครบครัน และความสร้างสรรค์ถึงไม่อยู่ใกล้บ้านเราบ้าง นี่น่าจะเป็นคำถามที่คนต่างจังหวัดเฝ้าสงสัยตลอดมา แม้ว่าเราจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล ไปในปี 2564 แล้ว แต่สุดท้ายการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย หรือทิศทางของงบประมาณยังอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตำแหน่งอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางหรือส่วนราชการอยู่ดี เมื่อวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายนที่ผ่านมา ‘คณะก้าวหน้า’ จึงเริ่มต้นผลักดันแคมเปญ […]
24 เม.ย. นี้ นำชุดโปรดตัวเก่ามาแลกกัน ในงาน Clothes Swap ที่โรงแรม ASAI กับ Fashion Revolution Thailand
ใครมีเสื้อผ้าล้นตู้เชิญทางนี้ โดยเฉพาะเสื้อผ้าดีๆ ที่ไม่มีโอกาสได้ใส่ ใส่ไม่ได้ ไม่ชอบ ไม่ Spark Joy อีกต่อไปแล้ว เรามาต่อชีวิตให้เสื้อผ้าเหล่านี้กันเถอะ! สัปดาห์นี้เราอยากชวนคุณมารื้อตู้เสื้อผ้าด้วยกัน แล้วนำชุดเก่าตัวโปรดมาแลกชุดใหม่ที่งาน ‘Fashion Revolution Week 2022 Clothes Swap : Dress to Express’ งานแลกเปลี่ยนเสื้อผ้าที่จะชวนคุณมาร่วมแสดงออกสไตล์และตัวตนที่ไม่เหมือนใคร ผ่านการแต่งตัวที่สนุกเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือไม่ต้องซื้อใหม่ และลดการสร้างขยะและมลพิษให้โลกได้อีกด้วย Clothes Swap ไปทำไม?เสื้อผ้าส่วนใหญ่ที่ถูกผลิตออกมาขายในปัจจุบัน 100,000 ล้านชิ้น/ปี ถูกใส่ไม่กี่ครั้งก็ทิ้งไป เกิดเป็นขยะเสื้อผ้าที่กองอยู่ทั้งในตู้เสื้อผ้าของเราและ Landfill ของโลก และยังขับเคลื่อนโมเดลธุรกิจแบบฟาสต์แฟชั่นและวัฒนธรรมบริโภคนิยม (Throw-away Culture) อันเป็นสาเหตุหลักของปัญหานี้ Fashion Revolution Thailand ไม่ได้อยากชวนให้ผู้คนเลิกซื้อ หรือหยุดสนุกกับการแต่งตัว เพราะเชื่อว่า ‘เสรีภาพในการแสดงออก’ เป็นได้มากกว่าแค่การพูด การแต่งตัวและการได้ทดลองสไตล์ใหม่ๆ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทรงพลังในการประกาศตัวตนและจุดยืน จึงอยากนำเสนอวิธีการใหม่ในการช้อปปิง ที่สามารถช่วยลดภาระให้สิ่งแวดล้อมได้ คือการแลกเสื้อผ้าเก่าสภาพดีแทนการซื้อใหม่ ซึ่งช่วยทั้งลดคาร์บอนฟุตพรินต์จากการเผาขยะเสื้อผ้าหรือการผลิตเสื้อผ้าที่ผลิตใหม่ได้อีกด้วย วิธี Clothes […]