Urban Legend ล้อมวงเล่า 5 เรื่องลี้ลับประจำเมือง ที่สร้างขึ้นเพื่อความปลอดภัยในสังคม

สำหรับมนุษย์ ‘ความกลัว’ คือเครื่องมือสำหรับควบคุมพฤติกรรมของคนตั้งแต่สมัยโบราณที่ยังไม่มีกฎหมายชัดเจน เทพเจ้า ศาสนา และสิ่งเหนือธรรมชาติมักถูกยกขึ้นเป็นบทลงโทษสร้างความเกรงกลัวในการกระทำผิด สิ่งเหล่านี้ตกทอดหลงเหลือมาในคราบของตำนานและเรื่องเล่า แม้ปัจจุบันโลกจะหมุนนำด้วยหลักวิทยาศาสตร์ แต่ความกลัวในสิ่งเหนือธรรมชาติยังคงมีในสังคม ส่งผลให้เกิดการสร้างเรื่องราวใหม่เพื่อเป็นบทเรียนเตือนใจให้ความปลอดภัยในสังคม เราจึงยังเห็นเรื่องสยองขวัญประจำเมืองอย่าง ‘Urban legend’ ที่ปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัยอยู่เสมอ Kuchisake-onna (หญิงสาวปากฉีก) – ญี่ปุ่นอย่าคุยกับคนแปลกหน้า ถ้าไม่อยากเจอพี่สาวปากฉีก ประเทศญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในแหล่งรวมเรื่องสยองขวัญ แต่หากพูดถึงเรื่องราวที่โด่งดังที่สุดและพบได้ในหลายเมืองคงหนีไม่พ้น ‘Kuchisake-onna’ ยามโพล้เพล้ในที่เปลี่ยว หญิงปริศนามักจะปรากฏตัวโดยสวมหน้ากากหรือผ้าปิดปากไว้ และถามผู้โชคร้ายที่เดินผ่านว่า ‘ฉันสวยไหม’ หากตอบว่า ‘ใช่’ เธอจะถอดหน้ากากออก เผยให้เห็นปากที่ฉีกขาด แล้วถามคำถามเดิมอีกครั้ง ถ้าตอบว่า ‘ไม่’ เธอจะฆ่าคนคนนั้นทันที แต่ถ้าตอบว่า ‘ใช่’ เธอจะใช้กรรไกรตัดปากของผู้ตอบให้เป็นเหมือนเธอ แม้ฟังดูสยองขวัญ แต่หญิงสาวปากฉีกมักปรากฏตัวเฉพาะเวลาโพล้เพล้หรือตอนกลางคืนเท่านั้น เป้าประสงค์ที่แท้จริงคือการเตือนใจให้ระมัดระวังในการเผชิญหน้ากับคนแปลกหน้า โดยเฉพาะเด็กที่ควรรีบกลับบ้าน ไม่เถลไถลหรือคุยกับคนที่ไม่รู้จัก The Hookman (ชายมือตะขอ) – มิชิแกน, สหรัฐอเมริกาเตือนใจคู่รักที่มักชอบสนุกกันในที่เปลี่ยว สหรัฐอเมริกามีภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ ทำให้ตำนานประจำเมืองมีความหลากหลายต่างออกไป แต่เรื่องราวของ ‘The Hookman’ จากรัฐมิชิแกนยังคงร่วมสมัยตั้งแต่อดีตยุค 60 […]

นักวิจัยเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ที่รีไซเคิลปัสสาวะให้เป็นน้ำดื่ม ช่วยให้นักบินได้รับน้ำที่เพียงพอ

น้ำสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย แต่ชุดอวกาศในปัจจุบันนั้นมีน้ำดื่มในตัวเพียง 1 ลิตรเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเดินทางในอวกาศเป็นเวลานาน แถมชุดที่ใส่ยังประกอบไปด้วยผ้าอ้อมหลายชั้น ที่อาจทำให้ไม่สบายตัวและเสี่ยงติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cornell ได้หาวิธีแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยการเปิดตัวชุดอวกาศแบบใหม่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากนิยายวิทยาศาสตร์ ‘Dune’ ซึ่งมาพร้อมกับอุปกรณ์ที่จะช่วยรีไซเคิลปัสสาวะของนักบินให้กลายเป็นน้ำสะอาดที่นำมาดื่มได้ โดยทีมนักวิจัยได้ออกแบบชุดแบบใหม่และสร้างชุดชั้นในที่มีถ้วยสำหรับเก็บปัสสาวะ ก่อนจะส่งปัสสาวะนั้นไปยังระบบกรองที่เป็นอุปกรณ์หนัก 8 กิโลกรัมขนาดเท่ากล่องรองเท้า สามารถกรองน้ำปริมาณครึ่งลิตรได้ภายในเวลา 5 นาที โดยระบบการทำงานประกอบไปด้วยปั๊ม เซนเซอร์ และหน้าจอแสดงผล ซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ 20.5 โวลต์ น้ำสะอาดที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้วจะจัดเก็บไว้ในถุงและนำไปใส่ไว้ในชุดอวกาศ ช่วยให้นักบินอวกาศได้มีน้ำดื่มที่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบันชุดนี้ยังเป็นต้นแบบที่ทดสอบในห้องแล็บอยู่ แต่จะเริ่มนำออกไปทดลองใส่กับมนุษย์ รวมไปถึงทดสอบขั้นตอนการเก็บปัสสาวะเพื่อรีไซเคิลเป็นน้ำดื่มภายในช่วงสิ้นปีนี้ Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/bdntkwzkNew Scientist | tinyurl.com/yk4jvc9nScience News | tinyurl.com/du5ar8u4

Turn Waste to Agri-Wear เปลี่ยน ‘ฟางข้าว’ จากแปลงนาให้กลายเป็นเสื้อผ้ารักษ์โลก ในคอลเลกชัน KUBOTA x GREYHOUND ORIGINAL

หลายคนอาจไม่รู้ว่า ‘ฟางข้าว’ คือเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มักถูกกำจัดด้วยการเผา ก่อให้เกิดมลพิษจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นการนำฟางข้าวไปแปรรูปเป็นโปรดักต์ต่างๆ มากมาย แต่จะเป็นไปได้ไหมถ้าจะนำของเหลือใช้ประเภทนี้มาทำเสื้อผ้าที่ไม่ว่าใครก็สวมใส่ได้ ‘สยามคูโบต้า’ และ ‘เกรฮาวด์ ออริจินัล’ จับมือกันปลุกกระแส Sustainable Fashion และเดินหน้าผลักดันอุตสาหกรรมเกษตรและวงการแฟชั่นไทยไปพร้อมๆ กัน โดยมีจุดมุ่งหมายในการจุดประกายการ Upcycling เศษวัสดุเหลือใช้จากเกษตร เกิดเป็นแคมเปญ KUBOTA x GREYHOUND ORIGINAL PRESENT ‘Turn Waste to Agri-Wear’ ที่เปลี่ยนฟางข้าวให้กลายเป็นเสื้อผ้าสไตล์สตรีทแฟชั่นสุดเท่ จากงานวิจัย ‘นวัตกรรมเส้นใยฟางข้าวผสมเส้นใยจากรังไหม สู่การพัฒนาสิ่งทอเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ กรณีศึกษาตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์’ ของคณะเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ร่วมกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและเลี้ยงไหม ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ และกลุ่มสตรีทอผ้าฝ้าย บ้านทับน้อย อำเภอรัตนบุรี ซึ่งเป็นกลุ่มเกษตรกรทอผ้าจังหวัดสุรินทร์ วิธีการคือ นำเอาฟางข้าวมาผ่านกระบวนการรีไซเคิลด้วยกรรมวิธีย่อยเส้นใย จากนั้นนำมาปั่นเข้าเกลียวร่วมกับรังไหมเหลือใช้ จนเกิดเป็นเส้นด้ายที่เมื่อนำไปทอจะทำให้ได้เนื้อผ้าที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นสูง นำไปย้อมสีและพิมพ์ลายได้ อีกทั้งยังดูดซับความชื้น สวมใส่สบาย และระบายอากาศได้ดี โดยมีพันธมิตรที่มีจุดยืนเดียวกันในเรื่องของความยั่งยืนอย่าง […]

Cycloïd Piazza ลานสเกตเฉดสีภาพวาดในยุคเรเนซองส์ สำหรับโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่กรุงปารีส

นอกจากการแข่งขันกีฬาต่างๆ ที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมากในช่วงใกล้แข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ก็มีอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือการออกแบบหรือปรับปรุงสถานที่ต่างๆ ในกรุงปารีสให้สอดคล้องไปกับมหกรรมกีฬา Cycloïd Piazza คือลานสเกตจากฝีมือของ ‘Jean-Benoît Vétillard’ และนักออกแบบ ‘Raphaël Zarka’ ที่หยิบเอาโทนสีเดียวกันกับภาพวาดในยุคเรเนซองส์มารวมเข้ากับรูปทรงเรขาคณิตที่หลากหลาย โดยเฉดสีที่พวกเขาเลือกใช้คือ สีแดง สีเขียว และสีเหลือง ที่สร้างขึ้นในปี 1931 โดย ‘Le Corbusier’ นักออกแบบสถาปัตยกรรมในตำนานที่หลายคนคุ้นหู ที่แม้จะมีความหม่นแต่ก็ยังให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา ลานสเกตชั่วคราวแห่งนี้เปิดให้นักเล่นสเกตมือสมัครเล่นและมืออาชีพมาประลองฝีมือกัน บริเวณหน้าอาคารศูนย์วัฒนธรรมสมัยใหม่ที่เป็นพื้นที่สาธารณะแนวตั้ง ‘Centre Pompidou’ ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน และจะอยู่ไปจนถึงวันที่ 15 กันยายน 2024 ถือเป็นประติมากรรมชั่วคราวที่สร้างทัศนียภาพอันสดใสให้กับพื้นที่สาธารณะ แถมยังสอดคล้องไปกับการจัดแข่งขันกีฬาสเกตบอร์ดที่บริเวณ ‘Place de la Concorde’ หนึ่งในจัตุรัสสาธารณะที่สำคัญของเมือง ตามที่ตัว Raphaël Zarka ตั้งใจ หากใครได้ไปเยือนกรุงปารีสในช่วงนี้ไม่ควรพลาด Sources :Centre Pompidou | t.ly/bEuI-Designboom | […]

Neon People วัฒนธรรมการทำงานหนักที่สะท้อนความโดดเดี่ยวของผู้คน

เซตภาพนี้เป็นเซตภาพที่ว่าด้วยเรื่องราวของผู้คนที่ใช้ชีวิตใต้แสงนีออนในยามค่ำคืนของเมืองใหญ่ มวลบรรยากาศของความโดดเดี่ยวสะท้อนภาพที่ตรงไปตรงมา แต่มากไปด้วยความยากลำบากของผู้คนที่ต้องทำงานในช่วงเวลาที่เรามักมองข้ามไป ผลลัพธ์คือพวกเขาบางคนดูเหมือนเป็นเหยื่อ ถูกทรมานโบยตีโดยภาระในชีวิตที่มากเกินไป จะด้วยความเหนื่อยล้าหรือความสับสนในสิ่งที่ต้องสูญเสียเพื่อความสำเร็จ คำตอบเหล่านั้นคงมีเพียงคนในภาพที่ตอบได้ถึงเหตุผลที่ต้องลืมตาตื่นในยามที่คนอื่นนอนหลับ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

All Weaves In My Heart : Decoding Patterns of Hakka and Punti’s Band Weaving หนังสือสานต่อลมหายใจให้ศิลปะถักทอที่ใกล้สูญหายในฮ่องกง

‘สายคาดปักลายดอกไม้’ เป็นงานหัตถกรรมของชาวจีนแคะหรือฮากกา (Hakka) และชาวปุ๊นเต๋ (Punti) ในฮ่องกง ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 200 ปี คนพื้นเมืองมักนำสายคาดมาตกแต่งบนเครื่องแต่งกายเพื่อเพิ่มสีสัน และใช้เป็นของมงคลสื่อความหมายที่ดี ยกตัวอย่าง การนำสายคาดไปถักทอกับเครื่องประดับในสินสอด เพื่ออวยพรบ่าวสาวให้มีชีวิตคู่ที่ราบรื่น งานฝีมือพื้นบ้านอันล้ำค่านี้เกือบจะกลายเป็นแค่ความทรงจำ เพราะกว่าจะได้สายคาดสักอันหนึ่ง นักสร้างสรรค์ต้องฝึกฝนอย่างยาวนานเพื่อถักทอสายคาดให้ออกมาสวยงามสมบูรณ์ สวนทางกับชีวิตคนสมัยใหม่ที่ดำเนินอย่างรวดเร็ว เน้นเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตอย่างฉับไว งานหัตถกรรมที่สรรค์สร้างด้วยความละเอียดลออจึงเสื่อมความนิยมไปโดยปริยาย และนี่จึงทำให้หนังสือ ‘All Weaves In My Heart : Decoding Patterns of Hakka and Punti’s Band Weaving’ (สายใยแห่งความผูกพัน : การถอดรหัสสายคาดผมดอกไม้ของวัฒนธรรมฮากกาและปุ๊นเต๋แห่งฮ่องกง) เกิดขึ้นมา ก่อนจะเป็นหนังสือ Caritas Hong Kong องค์กรการกุศลในฮ่องกง ได้ร่วมมือกับคุณยายในหมู่บ้าน Lung Yeuk Tau ในพื้นที่เขตดินแดนใหม่ (New Territories) จัดเวิร์กช็อปถ่ายทอดศิลปะการถักทอให้กับคนรุ่นใหม่ที่สนใจ ซึ่งเวิร์กช็อปก็ได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี ถึงอย่างนั้น องค์กรมองว่าการจัดเวิร์กช็อปอาจส่งต่อความรู้ไปไม่กว้างขวางพอ […]

Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระที่รวบรวมซีนจากทั่วโลก และอยากเป็นพื้นที่ทดลองให้นักทำซีน

ตามประสาคนที่ชอบบันทึกความรู้สึกตัวเองลงไดอารี ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่บันทึกของเรามีวันที่ยิ้มแฉ่งและหน้าบูดบึ้งผสมกันไป แต่จำได้ว่าวันที่เราไปเยือน Spacebar ZINE ร้านสิ่งพิมพ์อิสระเล็กๆ ของ วิว-วิมลพร รัชตกนก และ ภูภู่-วิศรุต วิสิทธิ์ นั้นเป็นวันที่เราเขียนหน้ายิ้มลงบนกระดาษ อากาศดีนั่นก็หนึ่งเหตุผล เพราะตอนที่ก้าวเข้าร้านฝนกำลังหยุดตก อุณหภูมิเย็นได้ที่ แถมในร้านยังมีกระจกที่มองออกไปเห็นสีเขียวของต้นไม้ด้านนอกที่กำลังเอนไหวไปตามแรงลม อีกหนึ่งเหตุผลคือการได้นั่งคุยกับวิว ผู้เปิดโลกแห่งสิ่งพิมพ์อิสระให้เราเห็นว่า ซีนนั้นสนุก สดใหม่ และเป็นอะไรมากกว่าที่เราเคยคุ้น แน่นอนว่าถ้าหากเอ่ยถามคนในวงการซีนเมืองไทย วิวและ Spacebar Design Studio น่าจะเป็นชื่อที่ใครหลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่การได้มาที่ Spacebar ZINE แห่งใหม่นี้เป็นเหมือนการก้าวเข้ามาสู่บ้านของวิวและภูภู่ที่เต็มไปด้วยสิ่งที่พวกเขาหลงใหล ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์คัดสรรจากหลายประเทศทั่วโลก ไปจนถึงการเป็นพื้นที่ให้นักทำซีนหน้าใหม่เข้ามาทดลองทำซีนของตัวเองในหนึ่งวัน ตลอดบทสนทนา เรายังเห็นพลังของคนทำสิ่งพิมพ์ในแววตาของวิวเต็มเปี่ยม สิ่งนี้ยืนยันประโยคหนึ่งที่เราได้ยินคนพูดกันมากมาย Print is not dead, but boring print will. หญิงสาวที่โตมากับซีน “เราเป็นคนชอบงานเขียน งานวาด และงานภาพถ่ายอยู่แล้ว บังเอิญว่าเราเติบโตมากับสำนักพิมพ์ a book เคยทำงานในเครือ daypoets […]

‘Forest Crayons’ กระตุ้นการดูแลป่าไม้ในประเทศญี่ปุ่น ด้วยการผลิตสีเทียนธรรมชาติจากไม้รีไซเคิล

ปกติแล้ว ไม้มักจะถูกนำมาแปรรูปเป็นของใช้ต่างๆ ที่ยังคงลักษณะของไม้เอาไว้ แต่สตูดิโอออกแบบในญี่ปุ่นได้มองเห็นความพิเศษของไม้ในมุมที่แตกต่างออกไป ทำให้เราได้เห็นการรีไซเคิลออกมาในรูปแบบใหม่อย่างสีเทียน ‘Daniel Coppen’ และ ‘Saki Maruyama’ ผู้ก่อตั้งสตูดิโอออกแบบ Playfool พบว่า พื้นที่สองในสามของประเทศญี่ปุ่นปกคลุมไปด้วยต้นไม้ที่ถูกปลูกขึ้นหลังช่วงสงครามกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อรักษาความสมบูรณ์ของธรรมชาติ จึงต้องคอยตัดและปลูกต้นไม้อยู่เป็นประจำ แต่ในขณะเดียวกัน การใช้ไม้ในประเทศนั้นก็ลดน้อยลง ทำให้การดูแลต้นไม้เหล่านี้ลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างความเสี่ยงต่อภัยพิบัติปัญหาดินถล่มตามมาด้วย Playfool ได้คิดถึงวิธีการนำไม้เหล่านั้นมาใช้ในรูปแบบที่แตกต่างออกไปจากเดิม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการดูแลรักษาป่าไม้ และทำให้คนรุ่นหลังเห็นถึงคุณค่าของป่าไม้ เกิดเป็น Forest Crayons สีเทียนจากไม้รีไซเคิล ที่นำมาใช้งานได้จริง และยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย สีเทียนนี้สกัดขึ้นจากเม็ดสีจากต้นไม้สายพันธุ์ต่างๆ เช่น ซีดาร์ ไซเปรส และแมกโนเลีย ผสมกับไม้ ขี้ผึ้งข้าว และน้ำมันข้าว จนได้ออกมาทั้งหมด 10 สี ที่ไม่ได้มีแค่โทนน้ำตาลอย่างสีไม้ที่เราคุ้นเคยกัน เพราะในความเป็นจริงแล้ว สีของไม้ในธรรมชาตินั้นมีหลากหลายเฉด ไม่ว่าจะเป็นสีเขียวอ่อนของต้นแมกโนเลีย ไปจนถึงสีเขียวอมฟ้าเข้มของไม้ที่ย้อมเชื้อรา โดยเฉดสีต่างๆ นอกจากจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ไม้แต่ละชนิดแล้ว ก็ยังเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมที่ต้นไม้เหล่านั้นเติบโต มากไปกว่านั้น Forest Crayons ยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยป่าไม้ของญี่ปุ่นอีกด้วย […]

ทำดีมีรางวัล โคเปนเฮเกนไอเดียแจ๋ว แจกอาหารฟรี ให้พายเรือฟรี หากเป็นนักท่องเที่ยวที่รักษ์โลก

ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคมนี้ หากคุณไปเที่ยวที่โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก แล้วเดินทางไป The National Museum ด้วยรถโดยสารสาธารณะหรือจักรยาน คุณจะได้รับไอศกรีมฟรี หากคุณช่วยเก็บขยะในลำน้ำ คุณจะได้พายเรือคายักฟรี และหากคุณไปช่วยปลูกพืช พรวนดิน ทำสวน คุณก็จะได้กินอาหารกลางวันฟรี! นี่เป็นเพียงกิจกรรมบางส่วนเท่านั้นจากโครงการ ‘CopenPay’ โครงการจากองค์การส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองโคเปนเฮเกน (Wonderful Copenhagen) ที่เชิญชวนให้นักเดินทางอัปเลเวลตัวเองเป็นนักเดินทางชั้นดีที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ในโครงการนี้ สถานที่ท่องเที่ยวกว่า 24 แห่งรอบเมือง จะมาพร้อมกับสิทธิพิเศษที่มอบให้กับนักท่องเที่ยวผู้ทำกิจกรรมรักษ์โลก ยกตัวอย่าง CopenHill โรงเผาขยะซึ่งมีเนินสกีด้านบน ที่ให้เวลาสกีเพิ่ม 20 นาทีแบบฟรีๆ หากเดินทางมาด้วยขนส่งสาธารณะหรือจักรยาน หรือ Copenhagen Surf School ที่มีอาหารกลางวันฟรีให้กับนักเดินทางที่ร่วมทำความสะอาดชายหาดหลังเซิร์ฟเสร็จ โดยโครงการจะดำเนินไปจนถึงวันที่ 11 สิงหาคมนี้ ซึ่งเป็นช่วง High Season ของการท่องเที่ยวโคเปนเฮเกน เพราะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมหาศาล UN Environment เคยประเมินในรายงาน ‘Green Economy’ ว่า […]

ธีสิส ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘กรุงเทพฯ’ จมน้ำเร็วกว่าที่เราคาดคิด

“กรุงเทพฯ อาจกลายเป็นเมืองจมน้ำถาวรภายใน พ.ศ. 2593” หากพูดถึงน้ำท่วมกรุงเทพฯ หลายคนคงนึกถึงเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ที่แม้เป็นวิกฤตใหญ่กินเวลาหลายเดือน แต่เมื่อน้ำลดลงจนเข้าสู่ภาวะปกติ ทุกคนก็กลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่ถ้าในอนาคตไม่ใช่แบบนั้นล่ะ? เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องเล็กที่ควรถูกมองข้าม ‘เอิร์น-อรญา คุณากร’ และ ‘ไอ่ไอ๊-อนวัช มีเพียร’ นิสิตจากภาควิชาการจัดการการสื่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกันสร้างสรรค์โปรเจกต์ธีสิสชื่อ ‘NIMBY_TH : เปิดบ้านในฝันฉันอยู่ใต้น้ำ’ ธีสิสนี้เกิดขึ้นในรูปแบบนิทรรศการที่ Slowcombo สามย่าน เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 ที่ผ่านมา ภายใต้โจทย์ Livable Community ที่ต้องการสื่อสารปัญหาเมืองและสิ่งแวดล้อม ให้ผู้คนตระหนักว่า หากไม่ใส่ใจเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกที่รุนแรงและแปรปรวนตอนนี้ บ้านในฝันของใครหลายคนอาจอยู่ใต้น้ำพร้อมกับระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ ‘Global Warming’ จุดเริ่มต้นของ NIMBY ‘NIMBY’ ในชื่อธีสิสของเอิร์นและไอ่ไอ๊ คือสิ่งที่พวกเธอทั้งสองคนหยิบยืมมาจากวลี ‘Not in my Backyard’ ที่มักถูกใช้ในการประท้วงเรื่องสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา เมื่อประชาชนออกมาร่วมคัดค้านโครงการพัฒนาเมืองที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบกับชุมชนอย่างการสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อสื่อว่า ‘การพัฒนาเมืองจะเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ […]

‘Footpath Zoning’ ใช้กระเบื้องจัดโซน ฟื้นฟูย่านบรรทัดทอง แก้ปัญหาความวุ่นวายบนทางเท้า

หากพูดถึงย่านที่กำลังเป็นที่นิยมในตอนนี้ คงเป็นที่ไหนไม่ได้นอกจาก ‘บรรทัดทอง’ ย่านเก่าใจกลางเมืองที่กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งในรูปแบบของย่านสตรีทฟู้ด เดิมทีบรรทัดทองเป็นที่รู้จักในฐานะย่านขายอะไหล่รถยนต์และอุปกรณ์กีฬา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นจุดสนใจของเหล่านักกินและนักท่องเที่ยวมากมาย ถึงจะเป็นย่านป็อปขนาดไหน แต่ถ้าใครเคยไปเดินเล่นแถวนี้จะพบว่า ‘ทางเท้า’ บรรทัดทองทรุดโทรมและไม่มีการจัดการอย่างเป็นระเบียบ ตั้งแต่การรอคิวของร้านอาหารส่วนใหญ่ที่ลูกค้าต้องยืนรอหน้าร้านกีดขวางทางเท้า ไม่มีโซนสำหรับรอรถยนต์รับ-ส่งอย่างชัดเจน ปัญหาทิ้งขยะจากร้านค้า ไม่มีการจัดระบบระเบียบ ทำให้ตามมาด้วยทางเท้าที่สกปรก อีกทั้งตัวถนนบรรทัดทองเองแม้จะมีการเชื่อมกับพื้นที่สำคัญให้เดินถึงกันได้ แต่กลับไม่มีการบอกเส้นทางที่ชัดเจน ส่งผลให้หลายคนสับสน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเดินทางไปเยือน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียจัดการพื้นที่ย่านบรรทัดทองใหม่ให้มีพื้นที่สำหรับผู้ใช้ทางเท้าและเป็นระเบียบมากขึ้น โดยใช้สิ่งที่หลายคนคุ้นตาอย่าง ‘แผ่นกระเบื้อง’ มาจัดสรรพื้นที่ และปรับให้ทางเท้าย่านบรรทัดทองครอบคลุมทุกการใช้งานของคนในย่าน พื้นที่สำหรับคนเดินเท้า ปัจจุบันสภาพทางเท้าในย่านบรรทัดทองยังไม่สามารถรองรับคนทุกกลุ่มได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเต็มไปด้วยสิ่งกีดขวางและไม่มีพื้นที่รองรับสำหรับผู้พิการ เราจึงขอกำหนดขอบเขตบนทางเท้าให้ชัดเจนด้วย ‘กระเบื้องสีเทา’ เพื่อเป็นตัวบ่งบอกว่า บริเวณนี้เป็นพื้นที่ทางเดินเท้าที่มีขนาดกว้างมากพอสำหรับคนเดินเท้า และผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้วีลแชร์  รวมไปถึงการติดตั้ง ‘Braille Block’ สำหรับผู้พิการทางสายตาที่ถูกต้องตามหลักการใช้งานตลอดทั้งเส้น เพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนจะได้ใช้ทางเท้าที่สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น พื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า แต่การจะทำให้กระเบื้องสีเทาในข้อก่อนหน้าใช้ได้จริง จำเป็นต้องจัดการปัญหากีดขวางเส้นทางการเดินเท้าจากการรอคิวหน้าร้านค้าต่างๆ ให้ได้ก่อน เพราะหลายครั้งที่พื้นที่รองรับลูกค้าหน้าร้านไม่เพียงพอต่อจำนวนคนที่มารอ ทำให้มีคนยืนหรือนั่งออหน้าร้าน จนคนอื่นๆ สัญจรไปมาไม่สะดวก เราเลยหยิบเอากระเบื้องที่มีอยู่แล้วมาเปลี่ยนเป็น ‘กระเบื้องสีแดง’ กันไปเลย เพื่อกำหนดพื้นที่สำหรับรอคิวหน้าร้านค้า พร้อมบอกคิวผ่านตัวเลขบนกระเบื้อง เพื่อช่วยให้ลูกค้าและไรเดอร์มีพื้นที่ของตนเองชัดเจน […]

Heineken ลดขยะจากขวดเบียร์ด้วยการดัดแปลงเป็นของแต่งบ้านและเครื่องประดับที่สวมใส่ได้

การเฉลิมฉลองในแต่ละครั้ง แน่นอนว่า ‘ขวดแก้ว’ จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักจะเป็นขยะที่ถูกทิ้งเป็นจำนวนมาก แบรนด์เครื่องดื่มอย่าง Heineken ที่ใช้บรรจุภัณฑ์เป็นขวดแก้วจึงเล็งเห็นปัญหาจากการสร้างขยะนี้ Heineken South Africa เปิดตัวโครงการ Fields Green With Grass, Not Glass ที่ตั้งใจจะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างความยั่งยืนและปรับปรุงพื้นที่เมืองให้สวยงามด้วยการใช้ขวดแบบคืนได้ และสร้าง Green Zone พื้นที่สีเขียวให้กับเมืองต่างๆ สำหรับแคมเปญล่าสุดมีชื่อว่า ‘Waste to Wear’ ที่รีไซเคิลขวดแก้วให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง จากการรวบรวมขวดจากแหล่งต่างๆ มาทำเป็นสินค้าชิ้นใหม่ ด้วยความช่วยเหลือของเอเจนซีโฆษณา Sonic State และการร่วมมือกับ Matthew Edwards และ Deji Dada นักออกแบบท้องถิ่น ในการผลิตแหวนกว่า 3,000 วง เหรียญรางวัล ชุดอาหารค่ำ รวมไปถึงโคมไฟแขวนที่นำมาใช้งานภายในบ้านได้ โดยของตกแต่งทุกชิ้นล้วนแล้วแต่มีรอยประทับที่แสดงให้เห็นถึงการออกแบบที่ใส่ใจและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม Sources :DesignTAXI | tinyurl.com/42wy5mhxFamous Campaigns | tinyurl.com/y2zz7yvyHeineken | tinyurl.com/2sazmbw6

1 14 15 16 17 18 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.