‘ใหญ่ เยอะ โดนใจ’ Interactive Art ฉบับ YIMSAMER ที่จับแสงและเทคโนโลยีมาออกแบบประสบการณ์

คุณเคยชมงาน Interactive Art แล้วรู้สึกว่า ‘โคตรสุดไหม’ ? สุดในที่นี้ เราหมายถึงสุดทั้งตัวผลงาน แนวคิด วิธีการ ลูกเล่น ไปจนถึงสิ่งที่เอฟเฟ็กต์กลับมาเมื่อเราแวะปฏิสัมพันธ์ไปกับมัน ซึ่งเราเพิ่งรู้สึกโคตรสุดตอนไปเดินงาน Bangkok Design Week 2019 แถวเจริญกรุงเมื่อต้นปีที่ผ่านมา แท่นโทเท็มยักษ์ มีแสงไฟระยิบระยับแดนซ์ตามจังหวะเพลงใน Warehouse 30 จนต้องถ่ายคลิปเก็บไว้ดูต่อ และผลงานชิ้นนี้ยังได้ไปโชว์ตัวในฐานะตัวแทนประเทศไทยที่กรุงโซล, เกาหลีใต้ เมื่อปลายปี 2018 แถมยังเจอนกพิราบเปล่งแสงทั่วซอยศาลเจ้าโรงเกือกย่านตลาดน้อย ที่เราได้รู้ที่หลังว่ามีเป็นพันตัว นั่นคือผลงานสุดๆ แบบฉบับ YIMSAMER (ยิ้มเสมอ) ชาวสถาปัตย์และวิศวะ ที่รวมแก๊งกันเพื่อร่วมออกแบบประสบการณ์ภายใต้คอนเซปต์ T-EXPERIENCE DESIGN ให้คนดูอย่างเราเปิดโลกไปกับงาน Installation และ Visual Effect เราเลยขอนัดพวกเขา แวะไปนั่งคุยปนขำไปแบบโคตรสุดเกี่ยวกับวันแรกที่เริ่มยิ้ม วันที่อาจไม่ยิ้ม และรอยยิ้มที่คิดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต เขามองว่าเราเป็นเด็กไม่เอาไหน ยิ้มเสมอ : ยิ้มเสมอเริ่มจากเด็กหลังห้อง 12 คนที่ไม่ค่อยเรียนหนังสือครับ เป็นพวกถูกตราหน้าว่าเป็นกลุ่มไม่ค่อยเอาไหน ห้าวๆ แต่เราก็ไปหาอะไรที่เราอยากทำกัน จนไปเจอสิ่งที่เรียกว่า […]

5 Street Furnitures ทั่วโลกที่เราคิดว่าเจ๋ง ! ดีไซน์ ‘ข้างถนน’ ที่มาพร้อมฟังก์ชันเพื่อคนเมือง

จำม้านั่งรอรถเมล์ใน Forrest Gump กันได้ไหม ? ม้านั่งไม้ตัวยาวเรียบง่าย ที่แม้จะออกแบบมาเพียงเพื่อใช้รอรถเมล์ อย่างมากก็ห้านาที สิบนาที (ต่อคัน) แต่ม้านั่งตัวนั้นก็ถูกออกแบบมาให้สบายพอที่ Tom Hanks จะสามารถเล่าประสบการณ์ทั้งชีวิตที่ผ่านมาของตนให้คนแปลกหน้าทั้งสามคนและเหล่าผู้ชมภาพยนตร์ฟังได้แบบไหลลื่นคล้อยตามน่าประทับใจ ทำไม Public Design จึงสำคัญ ?  คราวนี้อยากให้ลองจินตนาการว่า หากคุณ Forrest Gump เป็นคนไทย และป้ายรถเมล์นั้นไม่ได้ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก แต่ตั้งอยู่สี่แยกคลองตันเรานี่เอง จำม้านั่งยาวรอรถเมล์บ้านเราได้ใช่ไหม ? ในทางทฤษฏีมันคือม้านั่งชนิดหนึ่งนั่นล่ะ แม้มันจะเป็นแค่แท่งโลหะยาวมนที่ไม่โค้งเว้ารองรับสรีระตูดมนุษย์เสียด้วยซ้ำไป แต่มันก็คือม้านั่งที่เราต้องเผชิญหน้าต่อกรด้วยทุกครั้งที่ต้องรอรถเมล์  หาก Forrest Gump บังเอิญเป็นคนไทย และนั่งรอรถเมล์ที่ม้านั่งตัวนั้น เขาคงไม่มีทางอยู่ในสภาวะสบายพอที่จะเล่าทั้งชีวิตที่ผ่านมาของตัวเองให้ใครฟังได้แน่นอน ภาพยนตร์อาจจบลงตั้งแต่ยังไม่ได้กล่าวถึงกล่องช็อคโกแลตเลยด้วยซ้ำ สิ่งนั้นคือความสำคัญของการออกแบบเชิงสาธารณะ สภาวะน่าอยู่ น่าสบาย มันไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นเพียงแต่ในที่พักอาศัยของประชากรบางกลุ่ม แต่ควรจะกระจายอย่างทั่วถึงไปทุกๆ พื้นที่ในเมือง ทุกๆ คนควรจะมีสิทธิ์เข้าถึงงานออกแบบที่ดี ประสบการณ์ที่ดี ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สาธารณะ หรือสาธารณสมบัติ จริงๆ แล้ว หากเราลองออกแรงวิจัย รณรงค์ และพัฒนาเหล่า ‘พื้นที่สาธารณะ’ […]

ฟ้าหลังฝนของ ‘พิมพ์พาพ์’ นักวาดภาพประกอบที่บันทึกช่วงเวลา 30 วัน หลังพบก้อนมะเร็งในไดอารี่เด็กหน้าแมว

หากวันหนึ่งไปหาหมอแล้วพบว่า มีก้อนบางอย่างอยู่ในร่างกาย ไม่ว่าใครก็คงกังวลกับความเปลี่ยนแปลงที่จะตามมา หรือไม่ก็หูอื้อนึกอะไรไม่ออก แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นกับเพื่อนสาวที่น่ารักสดใส ‘เจิ้ล’ หรือ แองเจิ้ล – ณัฐณิชา พิมพ์พาพ์ ในตอนนั้นเธออายุ 24 เพิ่งเรียนจบและกำลังเดินบนเส้นทางนักวาดภาพประกอบ โดยใช้นามสกุล ‘พิมพ์พาพ์’ เป็นนามปากกา

‘โรงจอดจักรยาน’ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประเทศเนเธอร์แลนด์ จุได้ 12,500 คัน

รู้หรือไม่ ชาวเนเธอร์แลนด์กว่า 90% นิยมใช้จักรยานเดินทางไปมาในชีวิตประจำวัน เนื่องเพราะรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ส่งเสริมให้ประชาชนใช้จักรยานเป็นพาหนะ ด้วยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่เอื้อต่อผู้ปั่นจักรยาน ไม่ว่าจะทำเลนจักรยาน ติดตั้งสัญญาณไฟจราจรสำหรับนักปั่นโดยเฉพาะ จัดสรรพื้นที่สาธารณะรอบเมืองไว้เป็นจุดจอด ซึ่งล่าสุด เมืองยูเทรกต์ (Utrecht) เพิ่งเปิดตัวโรงจอดจักรยานที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งสามารถจุจักรยานได้มากถึง 12,500 คัน

มองมุมเมืองผ่าน Bangkok Through Poster

‘Bangkok Through Poster’
โปรเจกต์โปสเตอร์ที่ถ่ายทอดมุมมองเกี่ยวกับ สถานการณ์
เหตุการณ์ความเป็นไปของสังคม บุคคล
และพื้นที่ผ่านผลงานออกแบบโปสเตอร์

เปิดตำราวิชาพิพิธภัณฑ์ กับอาจารย์และนิสิตที่ผูกพันกับพิพิธภัณฑ์ไทย

คุยกับอาจารย์และนิสิตหลักสูตรการจัดการทางวัฒนธรรม กับประเด็นการเรียนหลักสูตรพิพิธภัณฑ์ และมุมมองต่อวงการพิพิธภัณฑ์ไทย

Resonance of Lives at 1527 : เสียงสะท้อนความเป็นไปของเมืองบนร่องรอยของตึกแถวสามย่าน

ถ้าพูดถึงการทุบตึกรื้อถอน ชื่อแรกที่ผุดขึ้นมาคงเป็น “ศักดาทุบตึก” กับป้ายโฆษณาที่มีวลีเด็ด “เลือก สส.เข้าสภา แล้วอย่าลืมเลือกศักดาไปทุบตึก” ความหมายของคำว่า “รื้อถอน” คงใกล้เคียงกับการทำลาย ลบล้าง ขจัด ฟังดูเป็นการเปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่ แต่อันที่จริงแล้ว เมืองมีการเปลี่ยนแปลงแทบทุกนาทีเพื่อเดินต่อไปข้างหน้า

หลังม่าน ‘เรื่องเล่าจากหิ่งห้อย’ ละครเวทีที่ไม่ต้องใช้ตาดู แต่รับรู้ด้วยใจ

‘เรื่องเล่าจากหิ่งห้อย’ คือละครเวที 6 มิติที่ตั้งใจพาบทละครและนักแสดงมาเปิดประสบการณ์ให้คนดู ร่วมค้นหาสิ่งล้ำค่าที่ซ่อนอยู่ในความมืด ผ่าน รส กลิ่น เสียง สัมผัส เวลา และสถานที่

อนุรักษ์ ‘อาคาร 2465’ สถาปัตยกรรมทรงคุณค่าของโรงงานมักกะสัน

ในอดีตหากพูดถึง ‘โรงงานมักกะสัน’ (Makkasan Workshop) ภาพของความยิ่งใหญ่และรุ่งเรืองคงมีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ เพราะสมัยก่อนนั้น ถือได้ว่าเป็นโรงงานซ่อมรถไฟแห่งเดียวในอาเซียนที่สามารถทำการซ่อมและผลิตรถโดยสารได้อย่างสมบูรณ์ แต่เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนผ่าน บทบาทที่เคยเกรียงไกรก็ลดลงเหลือเพียงงานซ่อมหนักรถจักรดีเซล ซ่อมรถดีเซล รางรถโดยสาร ซ่อมดัดแปลงล้อ และอุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงสนับสนุนงานซ่อมบำรุงในส่วนภูมิภาคเท่านั้น  ท่ามกลางโรงงานและอาคารหลายหลังในที่ดินหลายร้อยไร่ของโรงงานมักกะสัน ได้ซุกซ่อนสิ่งปลูกสร้างที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมไว้นับไม่ถ้วน หนึ่งในนั้นคือ ‘อาคาร 2465’  หรือ ‘โรงซ่อมรถโดยสาร โรงงานมักกะสัน’ ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นอาคารพัสดุ | ย้อนเวลาไปหาสถาปัตยกรรมล้ำค่า ‘อาคาร 2465’ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ลูกระเบิดหล่นลงบริเวณโรงงานมักกะสันและพื้นที่โดยรอบเป็นว่าเล่น จนอาคารภายในโรงงานพังทลายเสียหายไปเกือบหมด มีเพียงไม่กี่หลังที่อยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ ‘โรงซ่อมรถโดยสาร โรงงานมักกะสัน’ ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดของโรงงาน ‘โรงซ่อมรถโดยสาร’ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2465 มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว ตัวอาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ผนังก่ออิฐโชว์แนวทั้งหลัง ส่วนข้างบนเป็นโครงหลังคาเหล็ก ทั้งหมดนี้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ตรงหน้าบันมีตัวเลขไทยระบุปีที่สร้าง คือ ๒๔๖๕ และอักษรย่อ ร.ฟ.ผ. หรือกรมรถไฟแผ่นดิน (เป็นชื่อที่ใช้ระหว่าง พ.ศ. 2464-2467) […]

โรงพิมพ์นิตยสาร ‘บางกอก’ สู่โรงแรมมิวเซียม ‘Bangkok Publishing Residence’

ถึงปัจจุบันธุรกิจสิ่งพิมพ์จะค่อยๆ เลือนหายไปตามยุคสมัย แต่เสน่ห์ของสิ่งพิมพ์ยุคเก่ายังชวนให้คิดถึงอยู่เสมอ ซึ่งความทรงจำเหล่านี้ถูกเก็บไว้ในโรงแรมมิวเซียม ‘Bangkok Publishing Residence’ จากทายาทรุ่นหลาน ‘คุณอุ้ม ปณิดา ทศไนยธาดา’ ผู้ตัดสินใจปลุกโรงพิมพ์นิตยสารบางกอกกลับมาอีกครั้ง ต้อนรับคนรักสิ่งพิมพ์เข้ามาย้อนวันวานให้หายคิดถึง

‘Kotcher’ แบรนด์ของสาวอีสานที่หยิบผ้าไทยมาผสมผสานแฟชั่นสตรีทแวร์

ชวน ‘อาย – กชกร สาระกุมาร’ เจ้าของแบรนด์ ดีไซเนอร์ มาร์เก็ตติ้ง ประสานงาน คนขาย หรือเรียกง่ายๆ ว่า อายเป็นทุกอย่างของ Kotcher แล้ว มาพูดคุยถึงที่มาที่ไปของแบรนด์น้องใหม่สายเลือดไทยสายสตรีทแวร์

1 52 53 54 55 56 58

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.