เบนจา อะปัญ : ทิ้งชีวิตวัยรุ่นสู่นักเคลื่อนไหวในรัฐบัดซบ

ถ้าประเทศไทยมีประชาธิปไตยอย่างที่เขาไม่หลอกลวง เบนจา อะปัญ สมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม วัย 22 คงได้ใช้ชีวิตโง่ๆ แบบที่วัยรุ่นหลายคนชอบพูดกันจนเกร่อ ทว่านี่คือโลกขั้วตรงข้ามอันแสนโหดร้าย ชีวิตจริงเบนจาไม่มีวันไหนได้หยุดพัก งานนักเคลื่อนไหวทำให้โลกของวัยรุ่นคนหนึ่งพังทลาย จำต้องสลัดฝันสามัญธรรมดาทิ้งหมดสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น เธอยังถูกดำเนินคดีโดยรัฐ อาทิ คดีมาตรา 112 มาตรา 116 คดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และคดีละเมิดอำนาจศาล บวกกับคดียิบย่อยอื่นๆ รวมจำนวนสิบห้าคดีเป็นรางวัลตอบแทน เราเจอเบนจาครั้งแรกเมื่อหนึ่งปีก่อน ตอนนั้นเธอยืนกดดันให้รัฐปล่อยตัว รุ้ง ปนัสยา และเพนกวิน พริษฐ์ สหายจากแนวร่วมฯ ที่ถูกจองจำ บริเวณหน้าประตูเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ดวงตาอันโกรธแค้นปนเศร้าของเด็กสาวมองทะลุลอดแว่น  หลังเหตุการณ์นั้นเบนจาถูกสถานการณ์ทางการเมืองโบยตี ดังสารเร่งโตอย่างมุทะลุ เพียงผ่านมาไม่กี่เดือนเธอออกไปยืนถือป้ายประท้วงที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขับไล่ไสส่งและตบฉาดเข้าที่ใบหน้า คลิปวิดีโอบันทึกเหตุการณ์นั้นไวรัลในโลกทวิตเตอร์เพียงชั่วพริบตาเดียว จากนั้นพลังของความอัดอั้นตันใจยิ่งผลักดันให้เธอออกมาเดินบนถนน กระโจนขึ้นเวทีปราศรัย ลุกขึ้นมาหยัดยืนท้าทายอำนาจคร่ำครึของรัฐคลั่งประเพณี และโปรยเอกสารบทกวี ‘มหาตุลาการ’ ประท้วงอยุติธรรมดำมืดด้วยการเปล่งตะโกนหน้าศาลอาญาดังก้องซ้ำๆ ว่า “ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย! ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย! ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย!” ภายใต้ฟ้าอันดำมืด คืนที่คุยกับเบนจา ฝนเพิ่งหยุดตกไม่นานนัก ก่อนเริ่มบทสนทนา เรามองลอดหน้าต่างออกไปด้านนอก […]

Bangkoknaughtyboo อินฟลูฯ ดิจิทัล ลูกครึ่งคน-คอม คนแรกของไทย ที่จ้างถ่ายแบบได้จริง

“สวัสดีค่ะคุณ Bangkoknaughtyboo แมกกาซีนเราอยากสัมภาษณ์คุณในฐานะ Virtual Influencer คนแรกของไทย พอจะสะดวกไหมคะ” (Typing…)  “สวัสดีค้าบ ขอบคุณที่ติดต่อมาค้าบ ยินดีให้สัมภาษณ์ค้าบ”  ไม่นานแอ็กเคานต์อินสตาแกรม @bangkoknaughtyboo ก็ตอบกลับ  นี่จึงเป็นครั้งแรกของฉันที่ได้คุยกับ Virtual Influencer หรือ อินฟลูเอนเซอร์ที่สร้างจาก CGI (Computer-generated imagery) คนแรกของไทย และเป็นอินฟลูเอนเซอร์ Non-binary ผู้ไม่นิยามตัวเองเป็นหญิงหรือชายตามบรรทัดฐานสังคม ‘คนแรกของโลก’ เดี๋ยวก่อน นึกภาพตามกันออกไหม ว่าเขาเป็นแบบนี้ แบบนี้  แล้วก็แบบนี้! แม้เขาจะเป็นคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ร่างกายบางส่วน ก็ใช้ต้นแบบที่เป็นมนุษย์หลอมรวมด้วยกัน Bangkoknaughtyboo ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า ชื่อของเขามาจากเด็กซนๆ ในกรุงเทพฯ แม้จะเป็นอินฟลูเอนเซอร์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ตัวตนของเขา ถูกสร้างให้ใช้ชีวิต และมีคาแรกเตอร์เสมือนเป็นคนจริงๆ มีทั้งความรู้สึก ทั้งไลฟ์สไตล์ สามารถเดินไปช้อปปิง เสพข่าวสาร มีความฝัน แถมมีอาชีพไว้สร้างเนื้อสร้างตัวจริงๆ (แบงคอคบอกว่าจ้างได้นะ) เขาโลดแล่นในวงการแฟชั่นด้วยการถ่ายแบบใกล้ครบหนึ่งปี เพิ่งเซ็นสัญญากับ Morgan & Preston […]

บิลด์อารมณ์คนดูด้วยการตัดต่อไปกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์

คนตัดต่อหรือนักลำดับภาพ อาชีพนักเล่าเรื่องแห่งวงการภาพยนตร์ อาชีพที่เปรียบเสมือนเชฟปรุงอาหาร ผู้ผสมผสานวัตถุดิบที่เรียกว่า Footage นับสิบนับร้อยชั่วโมงให้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดประมาณ 2 ชั่วโมงรสชาติกลมกล่อมให้ผู้ชมได้เสพกัน และความสำคัญของอาชีพนี้อยู่ตรงที่ว่าไม่ว่าคุณจะมีวัตถุดิบชั้นยอดสักแค่ไหน จะถ่ายภาพออกมาสวยตระการตา หรือการแสดงเทพดุจ แอนโทนี่ ฮอปกินส์ หากขาดนักปรุงชั้นยอดที่เรียกว่านักตัดต่อ (Editor) ภาพยนตร์เรื่องนี้คงไม่มีทางจะอร่อยลงตัวได้  เพื่อพาไปรู้จักกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นเราจึงอยากชวนไปพูดคุยกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อรุ่นใหม่ ผู้ฝากผลงานให้วงการภาพยนตร์ไทยทั้ง Take Me Home : สุขสันต์วันกลับบ้าน หนังผีที่ได้เข้าชิงชมรมวิจารณ์บันเทิงสาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม และเสียงตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม จากผลงานเรื่อง Where We Belong ที่ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลที่การันตีความสามารถและประสบการณ์ของการเป็นนักตัดต่อมืออาชีพของเขาได้เป็นอย่างดี เราชวนเขามาพูดคุยถึงชีวิตการทำงาน และเส้นทางการเติบโตเป็นนักตัดต่อฝีมือดีคนหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทย  01 เด็กหนุ่มผู้ตกหลุมรักภาพยนตร์ ตั้งแต่หนังสองเรื่องแรกที่ดูกับพ่อ ย้อนกลับไปในวัยเด็กจุดเริ่มต้นของเส้นทางอาชีพนักตัดต่อของโจ เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การนั่งดูภาพยนตร์สองเรื่องกับพ่อในสมัยที่ภาพยนตร์ยังเป็นม้วนวิดีโอ โดยหนัง 2 เรื่องในความทรงจำของเขาคือเรื่อง Star Wars: Episode IV – A New Hope และ […]

‘ลุงอ้วน กินกะเที่ยว’ นักรีวิววัยเกษียณผู้บุกเบิกวงการรีวิวตั้งแต่ยุคห้องก้นครัว Pantip

อาหารเป็นปัจจัย 4 ที่ทุกคนขาดไม่ได้ แต่สำหรับบางคนอาหารมีความหมายมากไปกว่ากิน เพื่อประทังชีวิต รสชาติเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เป็นเหมือนรสชาติของชีวิตที่แตกต่างกันไป และอาหารอร่อยก็เปรียบได้เหมือนกับขุมทรัพย์ที่มีคุณค่า วันนี้เราจึงอยากพาไปรู้จักกับนักล่าขุมทรัพย์อาหารที่ชื่อว่า ลุงอ้วน กินกะเที่ยว หากในโลกออฟไลน์มีนักรีวิวอาหารระดับตำนานอย่างแม่ช้อยนางรำ ในโลกออนไลน์ก็คงมี ลุงอ้วน–อนุสร ตันเจริญ นักรีวิววัยเกษียณ ที่รีวิวอาหารมาแล้วกว่า 2,000 ร้าน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ด้วยรูปแบบการรีวิวที่เฉพาะตัว เป็นกันเอง เหมือนญาติผู้ใหญ่จูงมือเราไปกินร้านอาหารอร่อยๆ และด้วยความเป็นนักชิมตัวยงที่กินอาหารมานับไม่ถ้วน ทำให้ชื่อ ลุงอ้วน กินกะเที่ยว อยู่ในลิสต์เชิญของมิชลินหรือเชฟดังๆ ในประเทศไทยเพื่อร่วมชิมเกือบทุกครั้ง ที่จัดงานหรือเปิดร้านอาหารใหม่ เมื่อถึงเวลานัดหมาย ชายแต่งตัวภูมิฐาน ท่าทางใจดียิ้มแย้มแจ่มใสเดินเปิดประตูเข้ามาในร้าน เรารับรู้ได้ทันทีเลยว่าคือลุงอ้วนทั้งที่ใส่หน้ากากอนามัยอยู่  “ลุงอ้วนเริ่มต้นการเป็นนักชิมหรือนักรีวิวได้อย่างไรครับ” เราถาม “มันไม่มีจุดเริ่มต้นขนาดนั้น มันเป็นความชอบในชีวิตประจำวัน ซึ่งทุกคนผมว่าก็เหมือนกันหมด ใครๆ ก็อยากกินของอร่อย ใครๆ ก็อยากจะไปนู่นนี่ แต่ของผมอาจจะมากกว่านั้นหน่อย เพราะเป็นคนชอบหาร้านอาหารอร่อยๆ กิน ใครว่าร้านไหนเด่น ร้านไหนดังผมไปหมด จะอาหารคาวหวาน […]

ช่างชัย-วีรชัย อินทราช ช่างที่สร้างช่างโซลาร์เซลล์ชุมชนไปจุดไฟฟ้าให้สว่างทั่วแดนใต้

คุยกับ วีรชัย อินทราช แห่งภาคใต้โซล่าเซลล์ ผู้ที่สร้างช่าง Solar Cell ชุมชนให้เด็กๆ ไม่ต้องเดิน 7 กม. ไปชาร์จมือถือ

บอล ธิติกรณ์ 20 ปี ‘คนหาโลเคชัน’ ผู้พลิกเมืองกาญจน์เป็นอินเดีย เนปาล ใน The Serpent

‘ตื่นเต้นว่ะ’ คำถามในสมุดที่จดไว้ตั้งแต่เมื่อคืน แบตสำรองชาร์จเต็มเพื่อกันเครื่องดับระหว่างอัดเสียง และความอิน The Serpent ซีรีส์ฆาตกรรมจากเรื่องจริง ว่าด้วยฆาตกรต่อเนื่องยุค 70 อย่าง ชาร์ล โสภราช aka อาแลง (แสดงโดย Tahar Rahim) และแฟนสาว มารี อังเดร aka โมนิค (แสดงโดย Jenna Coleman) คู่รักที่ฉาบหน้าเป็นเศรษฐีขายอัญมณี ช่วยเหลือชาวต่างชาติที่มาหาอิสระใน ‘ไทย’ แต่เบื้องหลังเป็นนักต้มตุ๋นซึ่งลงมือฆ่าพร้อมชิงทรัพย์อย่างเลือดเย็น ทั้งหมด พาฉันมายืนอยู่ใน Kanit House หรือ บ้านคณิต อะพาร์ตเมนต์เลขที่ 77/5 สถานที่หลักที่ทั้งคู่หลอกเหยื่อมาสร้างเวทีฆาตกรรม ซึ่งดูได้ใน Netflix ถ้าอิงเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นช่วงปี 1970 บ้านคณิตตั้งอยู่แถวศาลาแดง แต่หากอิงจากสถานที่ถ่ายทำของซีรีส์ปี 2021 สองเท้าที่กำลังสัมผัสพื้นบ้านเบลล่าวิน อะพาร์ตเมนต์เล็กๆ เกือบท้ายซอยสุขุมวิท 4 คือคำตอบ สระว่ายน้ำคุ้นตากลางอะพาร์ตเมนต์ในซีรีส์ ตอนนี้ไม่มีน้ำสักหยด มันไม่ได้เปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรอกนะ แค่กลับไปเป็นแบบเดิมก่อนถ่ายทำ เพราะสระนี้ร้างมานานแล้ว! […]

นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพใต้น้ำคนแรกๆ ผู้ถ่ายความมหัศจรรย์ใต้ทะเลตั้งแต่ยุคกล้องฟิล์ม

ขอชวนคนบนฝั่งทุกคนเรียนรู้โลกใต้ทะเลแบบไม่ต้องเปิดตำราเล่มหนา ผ่านบทสนทนากับ นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพใต้น้ำไทย

สมคิด คชาพงษ์ ช่างแทงหยวกสายวัดอัปสรฯ คนเกือบสุดท้ายผู้ต่อลมหายใจให้ศิลปะแทงหยวก

หากพูดถึงคำว่า แทงหยวก บางคนอาจแอบขมวดคิ้วเพราะนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร หรือไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ แท้จริงแล้ว แทงหยวกคือศิลปะไทยโบราณชนิดหนึ่ง ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากการแทงหยวกกล้วยให้เป็นลวดลายสวยงามที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก  ครั้งนี้ เราจึงพาย้อนเวลาไปท่องโลกศิลปะการแทงหยวกกับ คุณสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างแทงหยวก สายวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ที่จะถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ให้ชมแบบไม่มีกั๊ก ก่อนวันสัมภาษณ์ คุณครูสมคิดยกหูโทรศัพท์บอกเราว่าเตรียมต้นกล้วยพร้อมแล้วนะ แถมยังเปรยถึงการตำน้ำพริกด้วยตัวเองเพื่อทำเมนูพิเศษอย่างขนมจีนและแกงเขียวหวานฟัก รอเลี้ยงพวกเราด้วย แค่นี้ก็ทำให้เราใจฟูมากๆ นับวันรอล้อหมุนออกเดินทางเพื่อตามรอยต้นกล้วยไปยังจังหวัดนนทบุรีบ้านคุณครูอย่างใจจดใจจ่อ จากหยวกกล้วยธรรมดา ถูกรังสรรค์ลวดลายได้อย่างงดงามเพียงปลายมีด นั่นคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะที่เรียกว่า ‘การแทงหยวก’ นอกจากความประณีตละเอียดลออ สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความมุ่งมั่นฝึกฝนจนชำนาญของช่างแทงหยวกที่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนแล้ว และคุณครูสมคิด คชาพงษ์ คือหนึ่งในช่างที่ลงมือแทงหยวกมาร่วม 50 ปี ทั้งยังเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในแวดวงช่างแทงหยวก จากผลงานอันโดดเด่นจนได้รับการยกย่องให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ช่างแทงหยวก ประจำปี 2563 จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เด็กชายสมคิดแทงหยวกครั้งแรก วัยเด็กของหลายคนอาจสนุกสนานกับการวิ่งเล่น แต่สำหรับเด็กชายสมคิดการนั่งเรือเอี้ยมจุ๊นติดตามปู่กับพ่อ ออกไปแทงหยวกตามวัดต่างๆ กลายเป็นความสนุกอย่างหนึ่งในชีวิต จากเด็กน้อยที่ไม่ได้สนใจศิลปะแขนงนี้กลับซึมซับจนหันมาจับมีดแทงหยวกครั้งแรกตั้งแต่ชั้น ป.2 (โห ถ้าเทียบกับเราในวัยเดียวกันตอนนั้นคงยังวิ่งเล่นอยู่แน่ๆ) “การเดินทางในสมัยก่อนยังไม่เจริญ บางวัดหรือสถานที่ต่างๆ ถนนยังเข้าไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ การเดินทางเลยใช้เรือเป็นหลัก ทำให้ช่างแทงหยวกในสมัยก่อนกระจายตัวอยู่ตามวัดในหัวเมืองต่างๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ครูเองก็เริ่มต้นซึมซับวิถีช่างแทงหยวกตั้งแต่ตอนนั้น สมัยก่อนตอนเป็นเด็ก […]

หมอแดง พรศักดิ์ ผู้สร้างนิยามที่แท้ของ ‘ตายดี’ ไม่ให้ความหวัง แต่ให้คนไข้เลือกตายได้เอง

สวัสดีตัวฉันในเวอร์ชันที่ยังมีชีวิตอยู่ ทุกเช้าที่ลืมตาตื่น หญิงวัยรุ่นคนนี้บอกตัวเองเสมอว่า “ขอให้วันนี้เป็นวันที่ดี” เช่นเดียวกับวันที่กำลังนั่งเขียนบทความชิ้นนี้ให้ทันเดดไลน์ แม้ความจริงมันอาจจะไม่ดีตั้งแต่ Work from Home ที่ต้องอุดอู้อยู่ในบ้านจนเครียดแล้วก็เถอะ ทว่าไม่รู้เมื่อไหร่จะเป็นวันสุดท้ายของชีวิต การประโลมใจตัวเองพร้อมทำในสิ่งที่รักอย่างเต็มที่ อาจทำให้ไม่เสียดาย หรือเสียดายน้อยที่สุดตอนตายก็ได้มั้ง เพราะยอมรับอยู่เนืองๆ ว่าทุกคนต้องมีวันตายไม่ต่างจากวันเกิด เคยจินตนาการเล่นๆ เหมือนกันนะ ว่าถ้ารู้วันตายจะทำอะไรบ้าง กินเค้กร้านโปรด เปิดดูซีรีส์ที่ กงยู เล่น เพราะเป็นรักแรกตั้งแต่ประถมฯ เป็นไปได้ก็อยากไปคอนเสิร์ต EXO กับ NCT ศิลปินเกาหลีที่ติ่งจนบ้านมีแต่อัลบั้ม แท่งไฟ และโฟโต้บุ๊กของพวกเขา อะไรอีกดีล่ะ…บอกรักแม่ บอกรักพ่อ บอกรักแฟน บอกรักเพื่อน และบอกพวกเขาว่าช่วยใช้ชีวิตต่ออย่างมีความสุขทีด้วยละกัน แม้ตอนนี้ฉันยังเป็นมนุษย์ที่แข็งแรงดี แต่แนวคิดการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของ หมอแดง-พรศักดิ์ ผลเจริญสมบูรณ์ ผู้อำนวยการกองสุขภาพจิต รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ ฐานทัพเรือสัตหีบ ที่ให้ผู้ป่วยรู้ล่วงหน้าว่ากำลังจะตายและให้ทำสิ่งที่อยากทำก่อนตาย เช่น ดูซีรีส์เกาหลี หวีดอปป้า ฟังเพลงลูกทุ่ง ดูสารคดี หรืออยากฟังพระสวด กลับน่าสนใจ (โคตรๆ) จนต้องนัดสัมภาษณ์เพื่อคุยเรื่องความเป็นมืออาชีพของเขา นอกเหนือจากที่ว่า คนไข้แต่ละคนยังสามารถ […]

ครูประทีป รอดภัย ศิษย์ครูโจหลุยส์รุ่นแรก และช่างทำหัวโขนสุดท้ายแห่งบางซื่อ

ตามหาช่างทำหัวโขนคนสุดท้ายแห่งย่านบางซื่อ ชวนคุยถึงความหลงใหลในศิลปะเก่าแก่ของไทย

รุ่งทิพย์ ActionAid จากเยาวชนสนใจปัญหาสังคมสู่นักเคลื่อนไหวผู้สู้ไม่ให้ รร. ขนาดเล็กถูกยุบ

เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่เรียนโรงเรียนขนาดเล็กใกล้บ้านตั้งแต่อนุบาล-ประถมฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ต้องย้ายไปอยู่บ้านญาติในตัวเมืองเพื่อเรียนชั้นมัธยมฯ “ไปอยู่กับป้าเถอะลูกจะได้ไม่ต้องตื่นเช้ามาก เดินทางก็ไม่อันตรายด้วย” พ่อแม่ว่า  เพราะบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนร่วมยี่สิบห้ากิโลเมตร ถ้าไม่ยอมห่างอ้อมอกพ่อแม่ก็ต้องยอมตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อขึ้นรถรับ-ส่งที่จ่ายเป็นรายเดือนแต่เช้าตรู่ และกลับถึงบ้านในเวลาเกือบฟ้ามืด เราในวัยนั้นจนถึงเราในวัยนี้รู้สึกว่าทำไมการเรียนหนังสือให้ครบตามหลักสูตรการศึกษาถึงต้องไกลบ้านออกไปทุกที แต่ยังดีที่พอมีโรงเรียนละแวกบ้านอยู่บ้าง แม้จะถูกจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ที่กระทรวงศึกษาธิการไล่ ยุบ-ควบรวม มานานเกือบ 3 ทศวรรษ  ปี 2536 กระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นโจทย์จากทาง ธนาคารโลก (World Bank) ที่ทำการวิจัยแล้วพบว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก จะทำให้เด็กได้เรียนกับคุณครูครบทุกช่วงชั้น และครบทุกวิชา ไม่น่าเชื่อว่าปีที่หลายคนเพิ่งลืมตาดูโลกอย่างยังไม่ประสากับการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กก็ถูกไล่ยุบ-ควบรวมเสียแล้ว หากแต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเราว่า สถานศึกษาใกล้บ้านนั้นมีความสำคัญและจำเป็นต่อเด็กในทุกพื้นที่ ยิ่งถ้ามีโรงเรียนใกล้บ้านยิ่งส่งเสริมให้เด็กเข้าถึงการศึกษาได้อย่างดี รุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายโครงการและนโยบาย องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย (ActionAid Thailand) เป็นอีกคนที่คิดเช่นนั้น เกือบ 10 ปีที่เธอร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเต็มกำลัง เพื่อแถลงให้ใครต่อใครได้รู้ว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่ใครเขาว่าดี มีผลเสียซุกอยู่ใต้พรม  และเราสัญญากับเธอไว้ว่า จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนอย่างสุดความสามารถผ่านบทความชิ้นนี้ เพื่อให้สังคมไทยตระหนักว่า โรงเรียนขนาดเล็กร่วม 15,000 แห่งทั่วประเทศไม่ควรถูกยุบ-ควบรวม ร. รุ่งทิพย์ หากเท้าความถึงการต่อสู้ของรุ่งทิพย์ […]

น้าเปียก วิภาดา ตำนานเสียง ‘เซเลอร์มูน’ ภาคไทยหนึ่งเดียวผู้มีอุซางิเป็นครูชีวิต

“ฉันคือสาวน้อยน่ารัก ผู้พิทักษ์ความรักและความยุติธรรม เซเลอร์มูน”  ตากลมโต ผมทรงซาลาเปาคู่ ชุดกะลาสี รัดเกล้า และคทาคู่ใจ ปรากฏต่อหน้าเหล่าปีศาจ “ตัวแทนแห่งดวงจันทร์ จะลงทัณฑ์แกเอง!” สึคิโนะ อุซางิ หรือเจ้าหญิงแห่งดวงจันทร์เซเรนิตี้ แม้จะขี้แยบ่อยๆ หรือบ๊องๆ ไปบ้าง แต่เธอพกความกล้าในฐานะอัศวินเซเลอร์ ปกป้องคนที่เธอรักและผู้คนจากวายร้าย ‘อุซางิจัง’ ในคติของ อ.นาโอโกะ ทาเคอุจิ นักวาดการ์ตูนเซเลอร์มูน ไม่ได้เรียนเก่งแบบเซเลอร์เมอร์คิวรี่ ไม่ได้บู๊เก่งแบบเซเลอร์จูปิเตอร์ ไม่เห็นลางบอกเหตุล่วงหน้าเหมือนเซเลอร์มาร์ส หรือเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลแบบเซเลอร์วีนัส แต่เธอเป็นเธอที่ไม่เคยลังเลช่วยเพื่อน คนรัก หรือคนที่ตกอยู่ในอันตราย แถมนิสัยขายขำ ตลก โปก ของเธอยังทำให้คนรอบข้างอารมณ์ดีโดยไม่รู้ตัว น้าเปียก-วิภาดา จตุยศพร วัย 64 ปี ผู้พากย์เสียงภาษาไทย ‘เซเลอร์มูน’ ตั้งแต่ยุค 90 และเซเลอร์มูนคริสตัล ปี 2014 เป็นอีกคนที่รักอุซางิและยิ้มเสมอเมื่อได้สวมบทเป็นเซเลอร์มูน ทั้งยังบอกอีกว่า อยากเป็นนักพากย์จนกว่าจะพากย์ไม่ไหว เพราะได้เรียนรู้วิชาชีวิตและการมองโลกของหลากหลายตัวละครที่เป็นเหมือนอาจารย์สอนพิเศษตลอด 40 ปีในวงการ  อ.อุซางิ สอนให้ลูกศิษย์อย่างน้าเปียกรู้ว่า […]

1 3 4 5 6 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.