The Professional
เจาะลึกทุกอาชีพให้รู้คุณค่าและความสำคัญของทุกคนในสังคม
PaPa’ Chao Cafe บาริสต้าวัยเกษียณผู้เชื่อว่าธุรกิจคือเรื่องของการแบ่งปัน
แม้ว่ายุคนี้จะมี ‘ร้านกาแฟ’ เปิดใหม่เรื่อยๆ ทั่วทุกหัวระแหง ทั้งแบบสแตนด์อะโลนขนาดเล็ก ขนาดกลาง จนถึงแฟรนไชส์ของบรรดาแบรนด์ยักษ์ใหญ่ เยอะจนหลายคนมองว่าร้านกาแฟเกลื่อนเมืองแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจเครื่องดื่มคาเฟอีนยังคงฮอตฮิตในหมู่ผู้บริโภค และยังเป็นความฝันของใครหลายคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ภาพบรรยากาศคาเฟ่ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของกาแฟ เสียงเครื่องบดที่ดังเป็นระยะๆ บาริสต้ายืนดริปกาแฟอยู่หน้าบาร์ ดูจะเป็นไดนามิกการทำธุรกิจที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ซะเหลือเกิน เพราะเจ้าของร้านกาแฟเปิดใหม่ที่เราเห็นส่วนใหญ่มีอายุราว 25 – 35 ปีเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว การทำกาแฟไม่จำกัดอายุ ใครๆ ก็มีคาเฟ่ของตัวเองได้ ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยเกษียณ ‘เชา-ชวลิต จริตธรรม’ คืออดีตผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์วัย 66 ปี ที่ผันตัวมาเปิดคาเฟ่เล็กๆ ชื่อ ‘PaPa’ Chao Cafe’ ในย่านแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ที่เขาปลุกปั้นมากับมือ ทำเองแทบจะทุกอย่างตั้งแต่ลงทุนทำร้าน คัดสรรเมล็ดกาแฟ บดกาแฟ จนถึงชงเครื่องดื่มส่งตรงถึงมือลูกค้า แม้ว่าก่อนเกษียณ ชีวิตการทำงานของเชาจะวนเวียนอยู่กับการบริหารคนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกาแฟมาแม้แต่น้อย แต่เพราะความเชื่อว่า ‘คนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้’ เมื่อถึงวันที่ต้องเป็นเจ้าของร้านกาแฟ เขาตั้งใจทำเต็มที่ และทำได้ดีด้วย จนตอนนี้ PaPa’ Chao Cafe มีอายุมากกว่า […]
7 ทศวรรษ ‘วังบูรพาการแว่น’ ทายาทรุ่นสองของความเป็นมืออาชีพ | The Professional
ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน วังบูรพาถือว่าเป็นย่านเศรษฐกิจที่ผู้คนต่างย้ายเข้ามาตั้งรกรากและค้าขาย หนึ่งในนั้นคือครอบครัวของ ‘เสกสรรค์ กฤษณาวารุณ’ ที่คุณพ่อของเขาได้เข้ามาทำธุรกิจร้านแว่นตาเป็นเจ้าแรกๆ ของย่านนี้ กาลเวลาผันผ่านแต่ ‘วังบูรพาการแว่น’ ยังคงอยู่ Urban Creature จึงอยากชวนไปฟังจุดเริ่มต้นของวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพตลอด 7 ทศวรรษ ผ่านทายาทรุ่นสองผู้ถือคติว่า ‘เราทุ่มเต็มที่ให้กับลูกค้าทุกคน เพื่อให้เขาได้แว่นที่ดี ใส่แล้วไม่เป็นปัญหา ลูกค้าเข้ามารับบริการ เราก็ต้องทำให้ได้ดีทุกชิ้น’
‘เจ๊จู หมั่งหมิง’ อาชีพในตำนานสมัยซูสีไทเฮา | THE PROFESSIONAL
“หมั่งหมิงอยู่ในตำนาน ไม่มีหาย มันจะไปทุกยุคทุกสมัย เพราะว่าอาชีพนี้มีมาตั้งแต่สมัยซูสีไทเฮาแล้ว กล้าเอาหัวเป็นประกันเลย ไม่มีสูญหายแน่นอน” ‘หมั่งหมิง’ คือการใช้เส้นด้ายกำจัดขนบนใบหน้าแบบจีนโบราณ เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมานานตั้งแต่สมัยพระนางซูสีไทเฮา ทั้งยังเป็นศาสตร์เสริมความงามและเสริมดวงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ‘เจ๊จู-พรธิรัตน์ วัฒนกิตติกาญจน์’ ได้เรียนรู้วิชาการทำหมั่งหมิงตั้งแต่สมัยเด็กจากคุณแม่ จึงฝึกฝนจนนำมาทำเป็นอาชีพและเปิดสอนศิลปะการถอนขนมากว่า 20 ปี โดยหวังว่าคนรุ่นใหม่จะช่วยสานต่ออาชีพนี้ให้คงอยู่ตลอดไป
ชายผู้ลาออกมาประดิษฐ์ ‘Lightsaber’ จากภาพยนตร์ Star Wars จนกลายเป็นอาชีพ
A (not) long time agoin a galaxy (not) far,far away… มีหนุ่มไทยคนหนึ่งตัดสินใจลาออกจากงานประจำของตนเอง เพื่อหันมาทุ่มเวลาให้การประดิษฐ์ไลต์เซเบอร์จากภาพยนตร์สตาร์วอร์สเป็นอาชีพ ค่อยๆ เรียนรู้ พัฒนาวงจรภายในไลต์เซเบอร์ให้มีลูกเล่นน่าสนใจมากขึ้นจากเดิม ตกแต่งให้สวยงามยิ่งขึ้น กลายเป็นที่ต้องการของแฟนๆ สตาร์วอร์ส และนักสะสมจำนวนมากจากทั่วโลก ไลต์เซเบอร์ที่เขาขายมีราคาตั้งแต่ 3 – 4 หมื่นบาท และปัจจุบันมีคิวออเดอร์ยาวไปจนถึงปีหน้า อะไรทำให้ไลต์เซเบอร์ของเขามีมูลค่า ได้รับความสนใจจากแฟนๆ สตาร์วอร์สทั่วโลกจนสามารถกลายเป็นอาชีพได้ วันนี้ ‘เย่-ธนวัฒน์ ใจกล้า’ ชายผู้มีอาชีพเป็นนักประดิษฐ์ไลต์เซเบอร์ในนาม LIGHTSABER Thailand จะมาถอดสิ่งที่ทำทีละชิ้นส่วน เล่าเรื่องราวการประกอบเป็นไลต์เซเบอร์ให้ฟัง เริ่มต้นจากความชอบ… ชีวิตของเย่เริ่มต้นมาไม่ต่างจากแฟนคลับสตาร์วอร์สหลายคน ที่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์แล้วเกิดความหลงใหลเรื่องราวสงครามจากกาแล็กซีอันไกลโพ้นเรื่องนี้ “พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ผมชอบดูสตาร์วอร์สตั้งแต่เด็ก และชอบไลต์เซเบอร์มาก เวลากลับไปต่างจังหวัดผมจะชอบหยิบไม้มาเหลาทำเป็นไลต์เซเบอร์ฟันเล่นกับเพื่อน ใช้ปากทำเสียงเอฟเฟกต์แบบในหนังกันเอง สนุกกันตามประสาเด็ก” ในเวลาต่อมา จากการเหลาไม้ทำเป็นไลต์เซเบอร์ เย่ก็ค่อยๆ เริ่มต้นขยับมาซื้อเครื่องมือกลึงเหล็ก ทำกระบี่แสงให้ใกล้เคียงกับในหนังมากขึ้นทุกที “ช่วงที่ผมได้ทำงานประจำในโปรดักชันเฮาส์ พอหาตังค์เองได้ เราก็เริ่มซื้อของจากสตาร์วอร์สที่ชื่นชอบมาสะสม ซึ่งบางชิ้นไม่มีขายในไทย เราก็ฝากเพื่อนซื้อไลต์เซเบอร์จากต่างประเทศส่งมาให้ […]
The Booksmith ร้านหนังสือต่างประเทศที่ทำธุรกิจบนความจริง และพร้อมปรับรับการเปลี่ยนแปลง
ในบรรดาธุรกิจที่พูดแล้วโรแมนติกที่สุด สุนทรีย์ที่สุด ช่างดูมีความหมายต่อชีวิตและสังคม จะไม่มี ‘ธุรกิจร้านหนังสือ’ คงไม่ได้ ทว่าเบื้องหลังภาพโรแมนติกเหล่านั้น หากมองด้วยเลนส์การทำธุรกิจที่ต้องค้าขาย เกิดการซื้อมา-ขายไป คงปฏิเสธไม่ได้ว่าร้านหนังสือก็คืออาชีพหนึ่งที่ดำรงภายใต้กฎที่ดิน แรงงาน และทุน เหมือนธุรกิจอื่นๆ The Booksmith คือร้านหนังสือต่างประเทศที่ก่อตั้งโดย ‘สิโรตม์ จิระประยูร’ ซึ่งกำลังย่างก้าวสู่ขวบปีสิบปีที่สองของธุรกิจในปีนี้ นั่นแปลว่าเขาทำร้านหนังสือมาแล้วกว่าสิบปี และเชื่อหรือไม่ว่าบริษัทเพิ่งมาขาดทุนก็เมื่อปี 2020 ที่เจอโควิด-19 นี่เอง อาจเพราะเคยมีประสบการณ์การทำงานที่บริษัทเอเซียบุ๊คส์มาอย่างยาวนาน บวกกับการมองหาโอกาสใหม่ๆ ในแวดวงธุรกิจหนังสือและการอ่านอยู่เสมอ ทำให้สิโรตม์บริหาร The Booksmith มาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขยายอาณาจักรการอ่านจาก The Booksmith ที่เชียงใหม่ไปสู่สาขาที่สอง สาม สี่ ได้แก่ ร้านจำหน่ายนิตยสารต่างประเทศ The Papersmith ที่กรุงเทพฯ ร้าน The Booksmith ที่สนามบินดอนเมือง และสนามบินเชียงใหม่ ไปจนถึงการคอลแลบกับร้านหนังสือเชนสโตร์และซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าใหญ่ ก่อนจะตัดสินใจหยุดทำ เหลือแค่ 4 สาขาแรกที่กล่าวไปเท่านั้น โดยขอปิดทำการร้าน The Papersmith […]
‘แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน’ เพราะความรักในงานบ้าน เลยอยากให้ทุกบ้านสะอาดเรียบร้อย
คุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่หรือเปล่า? ทำงานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาทำงานบ้าน มีเวลาว่างเมื่อไหร่ก็อยากจะพักผ่อนมากกว่าลุกขึ้นมาจับไม้กวาด หรือหากจะจ้างแม่บ้านมาทำความสะอาดก็ทำได้แค่ไล่ฝุ่นและความสกปรกออกไปเท่านั้น แต่ข้าวของที่กองรกอยู่เต็มบ้านก็ยังคงนอนแน่นิ่งอยู่ที่เดิม คงจะดีไม่น้อยถ้ามีคนมาช่วยคัดเก็บและคัดทิ้งสิ่งของต่างๆ และช่วยจัดบ้านให้สวยเนี้ยบเหมือนใหม่ ตอนแรกเราคิดว่าบริการจัดระเบียบบ้านนั้นคงจะมีแค่ในซีรีส์ จนกระทั่งได้รู้จักเพจ ‘แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน’ จากกรุ๊ปงานบ้านที่รัก ด้วยโพสต์ที่เล่าเรื่องราวการจัดบ้านของลูกค้าคนหนึ่งพร้อมแนบภาพ Before และ After ก็ทำเอาเราตกใจกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมาก เพราะภาพแรกที่เห็นนั้นเป็นห้องที่มีของวางระเกะระกะจนเต็มพื้นแทบไม่มีทางเดิน แต่ภาพถัดมากลับเป็นครัวที่โล่งโปร่งสบายและดูเป็นสัดส่วนพร้อมใช้งานทันตาเห็น เพราะอย่างนั้นเราจึงตัดสินใจติดต่อเพจแมวบินฯ ไปทันที ไม่ใช่เพราะว่าห้องของเรารกมากจนต้องใช้บริการ แต่ตัวงานของพวกเธอต่างหากที่ทำให้เราสนใจและอยากรู้จักนักจัดระเบียบบ้านมากขึ้น เริ่มจากความรักในงานบ้าน บริการแมวบินฯ เริ่มต้นจากการปลูกฝังโดยครอบครัวของ ‘อิม-อิมยาดา เรือนภู่’ ที่มอบหมายความรับผิดชอบให้เธอตั้งแต่ยังเล็ก จนทำให้เธอมีสกิลงานบ้านต่างๆ ติดตัวมา สมัยที่เรียนอยู่อิมเคยลองไปทำงานเป็นแม่บ้าน เป็นช่วงเวลาที่ได้ตอกย้ำกับตัวเองว่า งานบ้านคือสิ่งที่เธอรักและทำออกมาได้ดีด้วย ทำให้เธอรับทำความสะอาดและจัดระเบียบบ้านมาเรื่อยๆ นอกจากงานแม่บ้านแล้ว อิมยังทำงานประจำด้านการโรงแรมตามสายที่เรียนมา และยังได้ลองทำงานสายศิลปะอย่างการตกแต่งภายในด้วย ประกอบกับที่ครอบครัวของเธอก็ทำอาชีพรับเหมาก่อสร้าง เลยทำให้ชีวิตตั้งแต่เด็กจนโตวนเวียนอยู่กับพื้นที่อยู่อาศัยมาโดยตลอด อิมเริ่มทำเพจ แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน อย่างจริงจังช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนัก ซึ่งทำให้ภาระจากงานประจำของเธอลดน้อยลง ประกอบกับการนำเสนอข่าวของสื่อที่พาไปช่วยเหลือผู้ติดเชื้อที่บ้าน ทำให้เธอได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมมากขึ้น และนั่นก็ทำให้เธอรู้สึกว่าปัญหาบ้านรกไม่ใช่แค่เรื่องของความไม่เป็นระเบียบเท่านั้น แต่อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ด้วย หากว่าได้จัดระเบียบบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ก็คงจะทำให้ห่างไกลจากโรคระบาดได้เหมือนกัน “ช่วงโควิด เราเห็นสื่อเข้าไปถ่ายตามบ้านผู้ป่วย พอเราเห็นตัวอย่างจากในทีวีแล้วรู้สึกว่าเราต้องทำอะไรสักอย่าง […]
Haohed Studio นักทำโมเดลจิ๋ว Thai Style อาชีพที่ใส่ใจทุกความทรงจำของลูกค้า l The Professional
เราอาจจะเคยเห็นตามยูทูบต่างประเทศที่มีคนทำฉากโมเดลต่างๆ เพื่อเป็นฉากให้ของเล่นอย่างเช่นรถเหล็ก ใครจะคิดว่าไอ้ที่ดูเหมือนเป็นงานอดิเรก ไม่น่าจะสร้างรายได้อะไร ในไทยกลับมีคนนำสิ่งนี้มาทำเป็นอาชีพจนชาวต่างชาติต้องมาขอติดต่อเพื่อซื้องาน แถมช่วงหลังมานี้คนก็เริ่มหันมาสนใจอาชีพทำฉากโมเดลมากขึ้นและมีคอร์สเปิดสอนกันมากมาย แต่คุณสุริยุ โซ่เงิน (ซัน) และ คุณจุฑามาศ กระตุฤกษ์ (หนึ่ง) เจ้าของเพจ @Haohed Studio กลับรังสรรค์งานที่แตกต่างออกไป ทั้งคู่เลือกที่จะใส่ใจทุกดีเทลและนำเสนอผลงานออกมาเป็นแบบ Thai Style ถ่ายทอดภาพจำในวัยเด็กออกมาเป็นรูปแบบโมเดล Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักอาชีพช่างทำโมเดลให้มากขึ้น พร้อมกับถ่ายทอดเรื่องราวแรงบันดาลใจและความรู้สึกที่ได้ทำสิ่งที่ชอบเป็นอาชีพ
‘กัลชนา เนตรวิจิตร’ พนักงานกวาดถนน ผู้เป็นฟันเฟืองของเมืองที่มากกว่าแค่ทำความสะอาด
หากพูดถึงฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำให้เมืองของเราน่าอยู่ขึ้น คุณจะคิดถึงอะไร คำตอบแรกสำหรับเราที่ผุดขึ้นมาในหัวคงเป็นบรรดาพี่ๆ ที่ทำงานบริการใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ยิ่งในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขยะจากใบไม้กับเศษกิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ไปจนถึงเศษซากอาหาร ถุงขนม กระดาษ ขวดพลาสติก หรือขยะชิ้นเล็กๆ อย่างก้นบุหรี่กับหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วจากฝีมือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ยิ่งทำให้ ‘พนักงานกวาดถนน’ ทวีความสำคัญขึ้นไปอีก วันนี้เราจึงเดินทางมายังเขตจตุจักรเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตของ ‘แก้ว-กัลชนา เนตรวิจิตร’ ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานทั่วไป (กวาด) ที่ก่อนหน้านี้เธอออกสื่อมาแล้วมากมาย เนื่องจากมีโอกาสได้รับประทานอาหารกับผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลังจากเหตุการณ์ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหอวังที่โดนโจรจี้ เราหวังว่าถ้อยคำต่อจากนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงการทำงาน ความเป็นอยู่ ทั้งในเรื่องของรายได้และรัฐสวัสดิการของอาชีพพนักงานกวาดถนนมากขึ้นอีกหน่อย แล้วทุกคนจะรู้ว่าคนทำงานตัวเล็กๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันมีความสำคัญต่อเมือง และต้องการคุณภาพในการใช้ชีวิตไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากอาชีพอื่นๆ เลย พนักงานกวาด ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่กวาด ในขณะที่ชีวิตของใครหลายคนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า แต่ชีวิตทุกวันของแก้วกลับเริ่มต้นขึ้นในยามที่ดวงจันทร์กำลังลาลับไป “เราตื่นนอนออกจากบ้านประมาณตีสี่ครึ่ง มาถึงก็ไปเอาไม้กวาดกับบุ้งกี๋มากวาดตรงจุดรับผิดชอบที่เขากำหนด จากนั้นมีเวลาพักช่วงแปดถึงเก้าโมงหนึ่งครั้ง ก่อนกลับมากวาดรอบสอง และนั่งอยู่บริเวณที่รับผิดชอบเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน” ‘เหตุการณ์ฉุกเฉิน’ ที่ว่ารวมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างขยะปลิว ไปจนถึงต้นไม้หัก น้ำท่วม หรือรถยนต์ที่ผ่านไปมาทำน้ำมันหก ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของพนักงานกวาดถนนทั้งนั้น แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นพนักงานกวาดถนน แต่หน้าที่การงานไม่ได้ทำแค่กวาดอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพราะควบรวมไปถึงการดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างในพื้นที่นั้นๆ ด้วย […]
กระจกสี ป้าแก้ว เจ้าของร้านประกายแก้ว l The Professional
รู้ไหมว่า งานกระจกสีสวยงามที่เราเห็นที่ 1 – 3 ของโบสถ์คริสในไทย ล้วนมาจากฝีมือผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง จากความหลงใหลในกระจกสีวัดนิเวศธรรมประวัติ ทำให้ ป้าแก้ว-พวงแก้ว นันทนาพรชัย เจ้าของร้านประกายแก้ว อยากทำชิ้นงานแบบนี้ดูบ้าง แม้ 10 นิ้วมือจะเต็มไปด้วยบาดแผล แต่ป้าแก้วกลับบอกว่า “เมื่อชิ้นงานเหล่านี้ถูกติดตั้ง ทุกคนเห็นแล้วมีความสุข ตัวป้าเองก็มีความสุข” แม้จะไม่ใช่ร้านเก่าแก่ที่สุด แต่ผลงาน กระจกสีของร้านประกายแก้วเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจ จนเราได้เห็นมันบนวัดกาลหว่าร์ วัดเซนต์หลุยส์ ในวันนี้ Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักกระจกสีให้มากขึ้นกับ ป้าแก้ว ร้านประกายแก้ว ที่ถือคติว่า “แม้หากเราไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว แต่ศิลปะเหล่านี้ยังต้องอยู่ ศิลปะจงเจริญ”
“เกษตรอินทรีย์ช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติ” ทางฟื้นเชียงดาวด้วยธุรกิจของ จิราวรรณ คำซาว
เราเชื่อว่า ‘ดอยเชียงดาว’ คือสถานที่ท่องเที่ยวในเชียงใหม่ที่หลายคนหลงรักหรือปักหมุดอยากไปเยือนสักครั้ง เพราะที่นี่มีกิจกรรมไฮไลต์ที่จะพาผู้คนหนีความวุ่นวายในเมือง กลับสู่พื้นที่ท่ามกลางธรรมชาติที่สงบและสวยงาม ตั้งแต่การเดินป่าสำรวจสิ่งแวดล้อม แวะเข้าถ้ำ ลุยลำธารน้ำตก ไปจนถึงการตื่นเช้าขึ้นดอยไปดูทะเลหมอกสุดลูกหูลูกตาแบบฟินๆ ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าดอยเชียงดาวไม่ได้เป็นแค่จุดหมายปลายทางยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่เมื่อปี 2564 ที่นี่ยังได้รับการยกย่องจากองค์การระดับโลกอย่าง ‘ยูเนสโก (UNESCO)’ ให้เป็น ‘พื้นที่สงวนชีวมณฑล’ แห่งที่ 5 ของไทย และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลของโลก พิจารณาจากการรักษาระบบนิเวศดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน การฟื้นฟูพื้นที่เพื่อคืนความสมบูรณ์ให้แก่ธรรมชาติ รวมไปถึงศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของพื้นที่ที่มีระบบการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ ความโดดเด่นทางธรรมชาติและระบบนิเวศของดอยแห่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะการพัฒนาและความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และคนในท้องถิ่นที่มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อส่งต่อระบบนิเวศและทรัพยากรให้คนรุ่นต่อไป วันนี้ เรามีนัดพูดคุยกับ ‘มล-จิราวรรณ คำซาว’ อดีตนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ หนึ่งในหัวหอกสำคัญที่เปลี่ยนวิถีเกษตรชุมชนของเชียงดาวผ่านการเผยแพร่ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรมานานกว่า 10 ปี มลวัย 35 ปี เคยทำงานเป็นนักวิจัยที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 2 ปี แต่หลังจากเจอปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอาหารปนเปื้อนเคมี เธอจึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อกลับบ้านเกิดที่เชียวดาวไปทำเกษตรอินทรีย์ที่ส่งเสริมทั้งสุขภาพของตนเองและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน จากนั้นก็ขยับขยายก่อตั้งบริษัทพัฒนา วิจัย และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่าง ‘CNX Healthy Products’ ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ครบวงจร ‘ทุ่งกับดอย’ […]
‘ยกทรงสมสมัย’ ร้านชุดชั้นใน Tailor-made ที่ทำให้ผู้ใหญ่อายุ 40 – 90 ปี มั่นใจในการแต่งตัว
แกร๊ก แกร๊ก ครืกกก แกร๊กกก… ภาพที่ฉันเห็นตรงหน้าคือคุณป้าตัวเล็กๆ ท่านหนึ่งกำลังง่วนกับการเย็บผ้าบางสิ่งอยู่บนโต๊ะ รอบข้างเต็มไปด้วยกองผ้า เข็มและด้ายวางเรียงรายเต็มไปหมด มองไปบนไหล่เธอมีสายวัดตัวคล้องคอ และสายตาที่จดจ่อกับเครื่องจักรตรงหน้าอย่างตั้งอกตั้งใจ เขาคือ ‘สมสมัย ทิตะเชียง’ ช่างตัดชุดชั้นในวัย 58 ปี ผู้ออกแบบและตัดเย็บเสื้อในด้วยสองมือมานานกว่า 40 ปี และเป็นเจ้าของร้านชื่อ ‘สมสมัย’ ในย่านเจริญกรุง ปัจจุบันยังตัดชุดชั้นในอยู่กับหลานของเขาทุกๆ วัน ด้วยจุดเด่นการตัดเย็บชุดชั้นในที่ลูกค้าสั่งตัดได้ทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะหน้าอกเล็กใหญ่หรือหุ่นผอมอวบบาง คุณป้าก็สามารถเนรมิตชุดชั้นในที่เหมาะสมกับหุ่นลูกค้าได้ทุกรูปแบบ แถมยังสร้างความมั่นใจในการแต่งตัวให้กับคนใส่ด้วยชุดชั้นในเพียงแค่ชิ้นเดียว เธอทำได้อย่างไรกัน…ฉันไม่รีรอที่จะขอสัมภาษณ์คุณป้าสมสมัยทันที ชุดชั้นใน เสื้อผ้าที่ใกล้ชิดร่างกายที่สุด ก่อนจะลงลึกถึงเรื่องเสื้อผ้า ฉันชวนคุยถึงที่มาของอาชีพช่างตัดชุดชั้นใน เธอจึงย้อนอดีตให้ฟังว่า สมัยยังสาวๆ เคยเรียนตัดเสื้อผ้ามาก่อน จากนั้นมีโอกาสได้ไปทำงานเป็นลูกน้องในร้านตัดเย็บชุดชั้นในมานานหลายสิบปี เมื่อถึงจุดอิ่มตัวเลยอยากออกมาเปิดร้านตัดชุดชั้นในของตนเอง เธอเล่าเสริมว่า การตัดเย็บชุดชั้นในมีความซับซ้อนไม่แพ้เสื้อผ้าที่ทุกคนสวมใส่ เพราะมันเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับร่างกายมากที่สุด จึงต้องมีขนาดพอดีกับหน้าอก ใส่แล้วต้องไม่รู้สึกอึดอัดตัว แตกต่างจากเสื้อผ้าด้านนอกที่ไม่จำเป็นต้องเป๊ะ หรืออยากใส่หลวมๆ ก็ไม่เป็นไร ทางร้านทำชุดชั้นในแบบสั่งตัดที่ลูกค้าสามารถเลือกทุกรายละเอียดได้เอง ตั้งแต่รูปทรงชุดชั้นใน ความยาวเนื้อผ้า โครงเหล็ก ยางยืด ตะขอ ไปจนถึงสีผ้า และมีรูปแบบชุดชั้นในให้เลือกทั้งหมด 2 […]
Sculpturebangkok ธุรกิจตู้ถ่ายรูปและแบรนด์โดยคนรุ่นใหม่ ที่สร้างรายได้หลักล้าน
ในบรรดาธุรกิจเกิดใหม่ในยุคนี้ Sculpturebangkok น่าจะเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มาแรง และได้รับความนิยมมากเป็นอันดับต้นๆ เห็นได้จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การขยายตัวของตู้ถ่ายภาพที่เรียกว่า ไปเที่ยวที่ไหนก็ต้องเห็นตู้ถ่ายภาพภายใต้แบรนด์นี้ ยังไม่นับการได้คอลแลบกับแบรนด์และสเปซอื่นๆ อีกมากมาย เช่น Colors Culture, Space cat lab, Lido Connect, DayDay เป็นต้น แม้เพิ่งก่อตั้งได้เพียง 2 ปี แต่ด้วยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์กับองค์ความรู้ด้านการออกแบบของ ‘ปิ่น-ลักษิกา จิระดารากุล’ ที่เริ่มต้นทำ Sculpturebangkok มาก่อน บวกกับหัวทางการค้ากับความรู้ความเข้าใจด้านการทำธุรกิจของ ‘พี-สาริษฐ์ ตรัยเลิศวิเชียร’ ที่มาร่วมทำแบรนด์ในช่วง 1 ปีให้หลัง ทำให้ Sculpturebangkok เติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีการขยายไปทำโปรดักต์ภายใต้แบรนด์ Random Sculpture Club และบริการตู้ถ่ายภาพ SNAP ที่ปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้าได้ จนทำให้พวกเขามีรายได้หลักล้านต่อเดือน กลายเป็นเจ้าของธุรกิจสุดปังตั้งแต่อายุยังน้อย จากการเป็น Perfect Match นี้ ทำให้ Sculpturebangkok กลายเป็นผู้นำจุดกระแสตู้ถ่ายภาพในไทยให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง และยังเป็นที่สนใจอยู่เสมอๆ จากไอเดียที่สดใหม่ […]