“ขอเป็นผู้ว่าฯ ในหัวใจเธอ” เอ้ สุชัชวีร์ กับการอาสาเป็นพ่อบ้านและนายช่างใหญ่ให้คน กทม.

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ถ้าถามคนกรุงเทพฯ หลายๆ คนว่า เวลาก้าวเท้าออกนอกบ้านแล้วเห็นหน้าใครบ่อยที่สุด หนึ่งในคำตอบที่ได้รับ คงไม่พ้นใบหน้าของ เอ้-สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์บนป้ายประกาศ ที่มาพร้อมกับสโลแกนปลุกใจชาวกรุง ‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’  จากที่ปกติได้เห็นหน้าค่าตาของเขาบนป้ายตามจุดต่างๆ ของกรุงเทพฯ และได้ยินชื่อเขาผ่านกระแสไวรัลบนหน้าสื่อ อย่างกรณีทายาทสายตรงไอน์สไตน์ หรือบทบาทอธิการบดีแนวใหม่ที่ไม่ซ้ำแบบใครในอดีต ไม่ว่าคุณจะรู้จักเขาในมุมไหน แต่สุชัชวีร์ย้ำกับเราหลายต่อหลายครั้งว่า ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่เขาจะเป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ วันนี้ เรานัดหมายพูดคุยกับสุชัชวีร์ที่บ้านของเขาในย่านลาดกระบัง ใช่แล้ว บ้านหลังใหญ่หลังนั้นล่ะที่หลายคนได้เห็นคนแชร์จำนวนมากบนโลกออนไลน์ซึ่งเอาเข้าจริงการเปิดบ้านครั้งนั้นก็ทำให้ชื่อของเขากลายเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นไปอีก  เมื่อเข้าไปในบ้าน สุชัชวีร์ต้อนรับขับสู้เราเป็นอย่างดี เขาอยู่ในชุดสบายๆ เหมาะกับการอยู่บ้านในวันหยุดสุดสัปดาห์ เจ้าบ้านเล่าให้เราฟังว่า กิจวัตรประจำวันของเขามักเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย เพราะเชื่อว่าร่างกายที่แข็งแรง สมองที่แจ่มใส คือบ่อเกิดของความคิดที่ดี ที่ผ่านมา สุชัชวีร์หรือ ‘พี่เอ้’ ของเหล่านักศึกษาทำงานด้านวิศวกรรมและงานการศึกษามาตลอด  ตัวอย่างผลงานที่คนส่วนใหญ่รู้จักคือ การเข้าไปดำรงอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงเวลาที่ประสบวิกฤติการเงิน เพราะเงิน 1,600 ล้านบาทสูญหายไปจากบัญชี ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานให้ร่วมสมัยโดยใช้ระบบเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และถือกำเนิดคณะวิชาใหม่ๆ ให้เท่าทันต่อบริบทสังคม แต่เหตุผลใดที่ทำให้สุชัชวีร์ ผู้ขับเคลื่อนการทำงานด้วยความรัก ตัดสินใจออกจากการงานฝั่งบริหารการศึกษามาลงสนามการเมืองหรืองานบริหารระดับเมือง เขามองเห็นความเป็นไปได้และอนาคตอะไรของกรุงเทพฯ จนต้องอาสาขอมาแก้ปัญหาให้เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายมิติแห่งนี้ ทำไมคุณตัดสินใจลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ […]

ไม่มีเทพสร้าง ไม่มีอัศวินม้าขาวช่วย แต่กรุงเทพฯ มี ‘หวัง’ ในสายตา ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“ประมาณหกโมงเช้าไปวิ่งมา แล้วก็ออกไปดูพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นข้ามไปหนองแขมเพื่อดูปัญหาในชุมชนและเดินตลาดต่อ”  ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบอกกับเรา บริเวณใต้ร่มร้านขายของชำใกล้สวนสาธารณะเขตบางบอน วันเสาร์นั้นแดดจัด ช่วงใกล้เที่ยง พระอาทิตย์ส่องจ้ากลางหัว เขาโดยสารรถสองแถวหลังคาสูงมาพร้อมทีมงานที่สวมเสื้อดำสกรีนคำเขียวเข้มสะท้อนแสง ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’  ช่วงนี้เขาออกวิ่งทุกวันเสาร์ ตระเวนวิ่งในแต่ละเขตทั่วกรุง เราสะดุดตาที่วันนี้ชัชชาติสวมรองเท้าวิ่งข้างหนึ่งสีขาว อีกข้างสีดำ เขาเล่าข้อมูลเขตบางบอนที่ศึกษามาว่า “เขตบางบอนเป็นเขตที่พื้นที่มีความยาว แต่เดิมเป็นพื้นที่ทำสวน ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรเริ่มเข้ามา คนมาอาศัยในเขตนี้มากขึ้น ตอนนี้มีประชากรประมาณหนึ่งแสนคน”  ตลอดเส้นทางที่สัญจรมาที่นี่ เราขับรถผ่านถนนสองเลนที่ตัดผ่านย่านชุมชน ผ่านเส้นทางรถไฟ และ สถานี ‘รางโพธิ์’ สถานีหลักประจำพื้นที่ซึ่งเป็นสถานีหมุดหมายของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะวิ่งผ่านในอนาคต ชัชชาติชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการคมนาคมและขนส่งสาธารณะเป็นหนึ่งในโจทย์ใหญ่ของเขตบางบอน เขาเล่าประสบการณ์การเดินทางในช่วงเช้าก่อนมาเจอเราว่า “รถติดมาก เส้นเอกชัย-บางบอน หรือถนนบางบอน 3 หรือ 5 และขนส่งสาธารณะก็ยังไม่ดี รถไฟก็เป็นแบบท้องถิ่นที่มีความถี่น้อย ประชาชนจึงต้องใช้รถส่วนตัว”  ถ้าลองเปิดแผนที่ดู เขตบางบอนคือพื้นที่ขอบกรุงเทพฯ ที่ติดกับจังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมประมง มีแรงงานชาวพม่าที่มาทำงานในพื้นที่อาศัยอยู่เยอะ ทำให้มีอีกโจทย์ตามมาว่าจะพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับแรงงานต่างชาติ และประชากรในพื้นที่อย่างไรไม่ให้อยู่อย่างแออัด นี่คือความหลากหลายและความซับซ้อนของสิ่งที่ต้องจัดการจากพื้นที่เพียงหนึ่งเขต เพราะความเป็นจริง กรุงเทพฯ มีทั้งหมด 50 เขต […]

ความฝัน น้ำตา และแดร็กยาใจของ Pangina Heals แดร็กไทยคนแรกใน RuPaul’s Drag Race

ปันปัน นาคประเสริฐ สักคำว่า Strive ไว้บนอกข้างซ้าย         ความหมายในพจนานุกรม Strive แปลว่า ‘พยายามอย่างหนักเพื่อสร้างสรรค์บางสิ่งให้เกิดขึ้น เป็นความพยายามที่ยาวนาน หรือความพยายามต่อสู้อย่างยากลำบาก’ พระเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่า ปันปันสักคำนี้ไว้เหนืออกซ้ายทำไม แต่ตลอดชั่วโมงแสนสั้นที่มีโอกาสได้นั่งคุยกัน เรื่องราวจากปากเขาทำให้คำว่า Strive ผุดขึ้นมาในใจเราหลายครั้ง เช่นเดียวกับคำว่า Brave (กล้าหาญ) และ Unapologetic (ไม่อับอายในสิ่งที่ทำ) ก่อนเป็น Pangina Heals แดร็กควีนที่ประสบความสำเร็จเบอร์ต้นๆ ของไทยในวันนี้ ปันปันต่อสู้กับความยากลำบากมาหลายครั้ง ในวัยเด็ก ปันปันนิยามตัวเองว่า เป็นเด็กที่ ‘อ้วนและสาว’ โดนบุลลี่ที่โรงเรียนทุกวัน ครอบครัวไม่ยอมรับ ประสบการณ์เลวร้ายทำให้ปันปันปฏิเสธความเป็นตัวเอง ไม่กล้ากระทั่งจะมีความสุข จนป่วยเป็นโรคการกินผิดปกติ กินเข้าไปก็สำรอกทุกครั้ง นั่นคือจุดเปลี่ยนให้เขาหันกลับมาฟังเสียงข้างในตัวเอง ช่วงวัยรุ่น เขาเปิดตัวว่าเป็นเกย์ อาจเป็นโชคดีที่ครอบครัวรับได้ หลังจากนั้นชีวิตเสมือนได้หายใจอย่างเต็มปอดเป็นครั้งแรก ปันปันบินไปเรียนต่อปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา ที่นั่นทำให้เขารู้จัก RuPaul แดร็กควีนในตำนานและ RuPaul’s Drag Race รายการแข่งขันแดร็กควีนที่ดังที่สุดในโลก จุดประกายให้ลองแต่งแดร็กเล่นๆ แต่ท้ายที่สุด ทำให้เขามั่นใจว่า […]

เป็นสิตางศุ์ เป็นนางร้าย เป็นลิซ่า ‘พีทพามานา’ Creator ที่ใช้เสื้อผ้าแม่ทำ Parody วิวหลักล้าน

ท่ามกลางตลาดคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในไทยที่บูมขึ้นเรื่อยๆ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำคอนเทนต์ให้โดดเด่นและโดนใจคนหมู่มากนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่ยากกว่าคือการทำคอนเทนต์ใหม่ๆ เพื่อจูงใจให้คนยังกดติดดาว (หรือกระดิ่ง) ช่องเราไว้เสมอ แต่ความชอบคนเราเปลี่ยนไปได้ทุกวัน ครีเอเตอร์หน้าใหม่ก็กลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน การจะยืนระยะในวงการนี้ได้นั้นเรียกร้องเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ถูกอกถูกใจคนดู และหนึ่งในครีเอเตอร์ที่ทำแบบนั้นได้คือ ‘พีทพามานา’ แม้ว่าแอ็กเคานต์ติ๊กต็อกและเพจของ พีท-สุทิน โคตะถา จะเปิดมาได้แค่ปีกว่าๆ แต่ครีเอเตอร์วัย 27 ปีคนนี้ก็ขยันปล่อยคอนเทนต์ใหม่ๆ ออกมาให้คนดูได้หัวเราะ (หรืออย่างน้อยก็กระตุกมุมปากยิ้มล่ะ) ไม่ว่าจะเป็นคลิปเลียนเสียงคนดังอย่าง พิม นาคำไฮ หรือ สิตางศุ์ บัวทอง คลิปพาโรดี้ละครไทย ล่าสุดคือคลิปคัฟเวอร์เอ็มวีเพลง LALISA ของ LISA วง BLACKPINK ที่มียอดวิวกว่า 3 ล้านวิวเข้าไปแล้ว! ด้วยยอดคนดูขนาดนี้ ไม่เกินจริงเลยถ้าจะเรียกพีทว่าดาวติ๊กต็อก นอกจากจริตจะก้านการแอ็กติ้งที่ดูแล้วต้องตบเข่าฉาด เหตุผลที่ทำให้หลายคนกดติดตามพีทคือการสร้างคอนเทนต์จาก ‘อะไรง่ายๆ’ ที่อยู่รอบตัวอย่างการหยิบยืมเสื้อผ้าของแม่กับพี่สาวมาใส่ ไหนจะใช้นาข้าวในชนบทของอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นฉากหลัง  สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือเบื้องหลัง ‘อะไรง่ายๆ’ เหล่านั้นต้องแลกกับอะไรบ้าง คอลัมน์ The Professional คราวนี้ เราจึงอยากชวนไปสำรวจโลกของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ไม่ได้ง่ายดายเหมือนใช้ปลายนิ้วไถฟีด เสียงแมงแคงบินว่อน ลมจากเถียงนาพัดเอื่อย อีกฝั่งของวิดีโอคอล พีทในชุดเดรสแหวกอกกับวิกหน้าม้ารอให้คำตอบกับเราแล้ว โตมากับละครไทย […]

The Professional l คุยกับโต้ง บรรจง ผู้กำกับหนังเรื่อง ‘ร่างทรง’ หนังสยองขวัญที่อีก 10 ปี คุณยังต้องพูดถึง

เจ้าเชื่อเรื่องผีบ่’ ในโลกที่หลายๆ คนอาจไม่สัมผัสสิ่งที่เรียกว่า ‘ผี’ ในชีวิตจริง แต่ก็มีหนังที่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ ผลิตออกสู่สายตาให้เรารับชมไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเป็นหนังไทยหรือต่างประเทศ ผีจะโผล่มาตอนไหน เนื้อเรื่องจะเล่าอย่างไร เป็นสิ่งท้าทายผู้กำกับยุคนี้ที่ต้องทำให้คนดูกลัวด้วยวิธีใหม่ๆ ตลอดเวลา “สิ่งสำคัญที่สุดของคนทำหนังคือ งานมันต้องเดินทางผ่านกาลเวลาได้ ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเรื่องไหน 10 ปีต่อมาใครจะยังพูดถึงอยู่” คำพูดชวนเราให้คิดตามของ ‘โต้ง-บรรจง ปิสัญธนะกูล’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ‘ร่างทรง’ ที่เล่าเรื่องราวสยองขวัญ ผ่านความเชื่อเรื่องร่างทรงตามชื่อหนัง สร้างกระแสฮือฮาทั่วเอเชียตั้งแต่หนังปล่อยทีเซอร์ออกมา และกระแสยังแรงต่อเนื่องเมื่อหนังได้เข้าฉายที่ประเทศเกาหลี รวมถึงประเทศไทยเองก็กระแสแรงไม่แพ้กัน หนังเรื่องนี้จะถ่ายทอดออกมาในรูปแบบไหน และจะเป็นหนังที่อีก 10 ปีคนยังพูดถึงอยู่หรือไม่ มาร่วมพูดคุยกับโต้ง บรรจง ไปพร้อมๆ กับเราในคลิปนี้ได้เลย แล้วคุณล่ะ ‘เชื่อในเรื่องร่างทรงไหม’ #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #ร่างทรง #หนังผีไทย #หนัง2021

หิน ณรงค์ แท็กซี่โชห่วย ที่มีของใช้ ของกิน ยันของส่วนตั๊วส่วนตัว หยิบได้เลย ฟรี!

ขึ้นแท็กซี่คันนี้ อย่างต่ำยิ้มออก อย่างมากม่วนหลาย และใช่ค่ะ ดิฉันเอนจอยสุดๆ ตั้งแต่หย่อนตัวลงเบาะ 360 องศาภายในรถ อัดแน่นไปด้วยขนมหลากยี่ห้อ ทั้งคาว หวาน นัว มีไข่ไก่ ปลากระป๋อง เครื่องปรุงครบรส ไปจนถึงของใช้เบสิกอย่างน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน ร่ม แปรงสีฟัน แม้กระทั่งโมเดลการ์ตูนหลายร้อยตัวเพิ่มสีสัน เอ๊ะ ผนังรถมียาสามัญประจำบ้านด้วย ดีจัง แต่เดี๋ยวนะ นั่นมันยาคุมฉุกเฉิน ถุงยาง เจลหล่อลื่น และผ้าอนามัยหรือเปล่า?!  แทบจะไม่ใช่แท็กซี่อยู่แล้ว แทบจะเป็นร้านสะดวกซื้อเคลื่อนที่อยู่แล้ว ซึ่ง หิน-ณรงค์ สายรัตน์ คนขับแท็กซี่วัย 55 ปี คนนี้ก็ต้องการให้เป็นแบบนั้น เพราะนี่คือ ‘แท็กซี่โชห่วย’ ที่เจ้าตัวทำมา 13 ปี และขอดอกจันรัวๆ ไว้ก่อนเลยว่าทุกอย่างบนรถไม่ขายสักชิ้นเด้อ แจกฟรี “โอ๊ย ถ้าไม่ได้ซื้อของขึ้นรถ นี่ไม่มีแรงขับหรอก มันไม่สนุก (หัวเราะ)” อะไรที่ทำให้น้าหินแจกฟรีแทนขาย และกลายเป็นขวัญใจชาวบางนาที่หิวเมื่อไหร่จะนึกถึง (เล่นมีโจ๊ก และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพร้อมน้ำร้อนให้กินบนรถเวลาหิวโซ) แถมหยิบของใช้ส่วนตัวต่างๆ […]

จิรันธนิน กิติกา อ. หัวขบถผู้ดีไซน์วิชาถาปัตย์ให้แซ่บ และพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้ต้าชชช

ถ้าคิดว่าบทบาทอาจารย์ต้องขรึมเคร่งน่าเบื่อ ก็อยากให้ขยำภาพนั้นเขวี้ยงทิ้งซะให้หมด เพราะ ภูวา หรือ อ.ภู-จิรันธนิน กิติกา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังเป็นในสิ่งที่สวนทางกับอาจารย์ส่วนใหญ่ แฟชั่นเนเบิล แซ่บ สนุก ฉูดฉาด แสบสัน แบบใหม่แบบสับ และพลังล้นเหลือ นี่คือกลุ่มคำที่เราถอดออกมาจากตัวตนหลากสีเกินจำกัดความของเขา  เฮ้ย แบบนี้ดิวะ อาจารย์ที่เราอยากให้มีในโลกวิชาการมากขึ้น เพราะเขาคือภาพแทนของคนบนพื้นที่อันหลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ เปลี่ยนให้การศึกษาน่าตื่นเต้น และทำให้วัยรุ่นได้รับความเข้าอกเข้าใจเป็นของขวัญแบบไม่มีกั๊ก จิรันธนินเป็นคนเชียงใหม่มันๆ ขาหนึ่งรับบทเป็นอาจารย์ ที่อยากให้เด็กได้เป็นตัวเอง และเป็นพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) ส่วนอีกขาเป็นนักพัฒนาเมืองเชียงใหม่ บ้านเกิดที่เขารักให้มีความต้าชชช เพื่อคนเชียงใหม่จะได้ใช้ชีวิตอย่างสนุกและสบาย ไม่ใช่แค่เก๋ไก๋อย่างฉาบฉวย หรือดัดจริตไร้แก่นสาร แต่ต้องยั่งยืน เข้าใจบริบททางวัฒนธรรม และที่สำคัญ คนในชุมชนต้องมีปากเสียง และมีสิทธิดีไซน์บ้านและเมืองที่พวกเขาอยากอยู่อย่างเต็มพลัง  จากเด็กที่เคยถูกเพื่อนล้อตัวตนว่าพิลึกและแปลกประหลาด สู่นักเรียนสถาปัตย์ที่พบว่าบ้านเมืองของเราไม่ได้เจริญไปกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่เคยดูแคลน กระทั่งออกเดินทางไปเรียนโทจนจบดอกเตอร์ที่เมืองเกียวโต เพื่อพบว่าเมืองที่รักษาวัฒนธรรมตัวเองได้ดีมากๆ แท้จริงแล้วเป็นยังไง จนในที่สุดตัดสินใจกลับมาเป็นอาจารย์หัวขบถที่ลากวิชาสถาปัตยกรรมมารวมกับลวดลายทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม จนเด็กๆ ผู้เรียนต้องร้องว้าว ทว่าโครงสร้างหลักอาจเกลียดวิถีแหวกขนบ กล้าตั้งคำถาม ของคนประเภทนี้เข้าไส้ และต่อจากนี้ไป […]

Meme Girls Thailand เพจทำมีมเมาท์มอยประเด็นร้อนในสังคมด้วยจริตจาก Mean Girls

อย่าคิดว่ามีมมีดีแค่สร้างเสียงหัวเราะ ถ้ายังไม่ได้รู้จัก Meme Girls Thailand เพจทำมีมเม้ามอยประเด็นร้อนในสังคมด้วยจริตจากภาพยนตร์ Mean Girls

ศราวุธ แววงาม ชาว Punk ที่ผันเป็นช่างสักขาลาย อนุรักษ์รอยสักล้านนาโบราณที่แทบสาบสูญ

หากสังเกตจิตรกรรมฝาผนังโบราณล้านนา เราจะพบว่าบริเวณขาของชายทุกคนจะมีลวดลายจากการสักอยู่ นี่คือหนึ่งในอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมล้านนาที่เรียกกันว่า ‘การสักขาลาย’ ซึ่งเกิดมาจากความเชื่อในอดีตของชาวล้านนาว่า เด็กผู้ชายเมื่อจะก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ทุกคนต้องผ่านพิธีการสักขาลายเสียก่อน  นอกจากจะพิสูจน์ความกล้า ความอดทน ยังเชื่อกันว่าเป็นการแสดงความนอบน้อมต่อครอบครัว แสดงความกตัญญูทดแทนพระคุณแม่ และพร้อมที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป ถึงขั้นมีจารึกบันทึกไว้เลยว่า หากหญิงใดจะดูว่าชายนั้นเหมาะเป็นคู่ครองหรือไม่ ส่วนหนึ่งคือให้ดูว่าชายนั้นสักขาลายแล้วหรือยัง ด้วยเหตุนี้ผู้ชายชาวล้านนาในอดีตทุกคนจึงสักขาลายกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามตลอดช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ค่านิยมการสักขาลายก็ถูกลดทอนลงจนใกล้จะสาบสูญเต็มที เหลือหลักฐานให้ได้เห็นอยู่บ้างบนเรือนร่างของผู้เฒ่าต่างๆ โชคดีที่ยังมีคนจำนวนหยิบมือหนึ่งยังเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมการสักขาลาย และเข้ามาช่วยอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไป หนึ่งในคนจำนวนนั้นก็คือ อ๊อด-ศราวุธ แววงาม ช่างสักอดีตเด็กพังก์ (Punk) ที่ผันตัวมาศึกษาวัฒนธรรมการสักขาลายอย่างจริงจัง โดยเดินทางไปศึกษากับอาจารย์ชาวปกาเกอะญอที่ยังคงสักอยู่ และสืบทอดวิชาการสักขาลาย รวมถึงอนุรักษ์การสักขาลายด้วยการบันทึกรอยสักนั้นไว้ลงบนเรือนร่างของผู้ที่สนใจ อะไรที่ทำให้เด็กพังก์ ไว้ทรงโมฮอว์ก สวมเสื้อหนัง ห้อยโซ่ รองเท้าบูตติดหนาม ถึงผันตัวมาสวมใส่เสื้อม่อฮ่อม กางเกงสะดอ และเปลี่ยนจากสักลายร่วมสมัยด้วยเครื่องสัก มาจับเข็มสักโบราณ รับแต่งานสักขาลายโดยเฉพาะ The Professional คราวนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวของชายผู้นี้ อ๊อดเริ่มต้นการเป็นช่างสักตั้งแต่อายุ 18 ปี พร้อมๆ กับการหันมาสนใจวัฒนธรรมพังก์ “เราสนใจความเป็นพังก์ เพราะว่าตอนนั้นยังไม่เป็นที่นิยมในสังคมไทย คนไม่ค่อยแต่งตัวแบบนี้ พังก์น่าสนใจตรงที่การทำสีผม […]

เบนจา อะปัญ : ทิ้งชีวิตวัยรุ่นสู่นักเคลื่อนไหวในรัฐบัดซบ

ถ้าประเทศไทยมีประชาธิปไตยอย่างที่เขาไม่หลอกลวง เบนจา อะปัญ สมาชิกแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม วัย 22 คงได้ใช้ชีวิตโง่ๆ แบบที่วัยรุ่นหลายคนชอบพูดกันจนเกร่อ ทว่านี่คือโลกขั้วตรงข้ามอันแสนโหดร้าย ชีวิตจริงเบนจาไม่มีวันไหนได้หยุดพัก งานนักเคลื่อนไหวทำให้โลกของวัยรุ่นคนหนึ่งพังทลาย จำต้องสลัดฝันสามัญธรรมดาทิ้งหมดสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น เธอยังถูกดำเนินคดีโดยรัฐ อาทิ คดีมาตรา 112 มาตรา 116 คดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และคดีละเมิดอำนาจศาล บวกกับคดียิบย่อยอื่นๆ รวมจำนวนสิบห้าคดีเป็นรางวัลตอบแทน เราเจอเบนจาครั้งแรกเมื่อหนึ่งปีก่อน ตอนนั้นเธอยืนกดดันให้รัฐปล่อยตัว รุ้ง ปนัสยา และเพนกวิน พริษฐ์ สหายจากแนวร่วมฯ ที่ถูกจองจำ บริเวณหน้าประตูเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ดวงตาอันโกรธแค้นปนเศร้าของเด็กสาวมองทะลุลอดแว่น  หลังเหตุการณ์นั้นเบนจาถูกสถานการณ์ทางการเมืองโบยตี ดังสารเร่งโตอย่างมุทะลุ เพียงผ่านมาไม่กี่เดือนเธอออกไปยืนถือป้ายประท้วงที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขับไล่ไสส่งและตบฉาดเข้าที่ใบหน้า คลิปวิดีโอบันทึกเหตุการณ์นั้นไวรัลในโลกทวิตเตอร์เพียงชั่วพริบตาเดียว จากนั้นพลังของความอัดอั้นตันใจยิ่งผลักดันให้เธอออกมาเดินบนถนน กระโจนขึ้นเวทีปราศรัย ลุกขึ้นมาหยัดยืนท้าทายอำนาจคร่ำครึของรัฐคลั่งประเพณี และโปรยเอกสารบทกวี ‘มหาตุลาการ’ ประท้วงอยุติธรรมดำมืดด้วยการเปล่งตะโกนหน้าศาลอาญาดังก้องซ้ำๆ ว่า “ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย! ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย! ตุลาการเช่นนี้อย่ามีเลย!” ภายใต้ฟ้าอันดำมืด คืนที่คุยกับเบนจา ฝนเพิ่งหยุดตกไม่นานนัก ก่อนเริ่มบทสนทนา เรามองลอดหน้าต่างออกไปด้านนอก […]

Bangkoknaughtyboo อินฟลูฯ ดิจิทัล ลูกครึ่งคน-คอม คนแรกของไทย ที่จ้างถ่ายแบบได้จริง

“สวัสดีค่ะคุณ Bangkoknaughtyboo แมกกาซีนเราอยากสัมภาษณ์คุณในฐานะ Virtual Influencer คนแรกของไทย พอจะสะดวกไหมคะ” (Typing…)  “สวัสดีค้าบ ขอบคุณที่ติดต่อมาค้าบ ยินดีให้สัมภาษณ์ค้าบ”  ไม่นานแอ็กเคานต์อินสตาแกรม @bangkoknaughtyboo ก็ตอบกลับ  นี่จึงเป็นครั้งแรกของฉันที่ได้คุยกับ Virtual Influencer หรือ อินฟลูเอนเซอร์ที่สร้างจาก CGI (Computer-generated imagery) คนแรกของไทย และเป็นอินฟลูเอนเซอร์ Non-binary ผู้ไม่นิยามตัวเองเป็นหญิงหรือชายตามบรรทัดฐานสังคม ‘คนแรกของโลก’ เดี๋ยวก่อน นึกภาพตามกันออกไหม ว่าเขาเป็นแบบนี้ แบบนี้  แล้วก็แบบนี้! แม้เขาจะเป็นคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ร่างกายบางส่วน ก็ใช้ต้นแบบที่เป็นมนุษย์หลอมรวมด้วยกัน Bangkoknaughtyboo ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า ชื่อของเขามาจากเด็กซนๆ ในกรุงเทพฯ แม้จะเป็นอินฟลูเอนเซอร์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่ตัวตนของเขา ถูกสร้างให้ใช้ชีวิต และมีคาแรกเตอร์เสมือนเป็นคนจริงๆ มีทั้งความรู้สึก ทั้งไลฟ์สไตล์ สามารถเดินไปช้อปปิง เสพข่าวสาร มีความฝัน แถมมีอาชีพไว้สร้างเนื้อสร้างตัวจริงๆ (แบงคอคบอกว่าจ้างได้นะ) เขาโลดแล่นในวงการแฟชั่นด้วยการถ่ายแบบใกล้ครบหนึ่งปี เพิ่งเซ็นสัญญากับ Morgan & Preston […]

บิลด์อารมณ์คนดูด้วยการตัดต่อไปกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อเจ้าของรางวัลสุพรรณหงส์

คนตัดต่อหรือนักลำดับภาพ อาชีพนักเล่าเรื่องแห่งวงการภาพยนตร์ อาชีพที่เปรียบเสมือนเชฟปรุงอาหาร ผู้ผสมผสานวัตถุดิบที่เรียกว่า Footage นับสิบนับร้อยชั่วโมงให้กลายเป็นภาพยนตร์ขนาดประมาณ 2 ชั่วโมงรสชาติกลมกล่อมให้ผู้ชมได้เสพกัน และความสำคัญของอาชีพนี้อยู่ตรงที่ว่าไม่ว่าคุณจะมีวัตถุดิบชั้นยอดสักแค่ไหน จะถ่ายภาพออกมาสวยตระการตา หรือการแสดงเทพดุจ แอนโทนี่ ฮอปกินส์ หากขาดนักปรุงชั้นยอดที่เรียกว่านักตัดต่อ (Editor) ภาพยนตร์เรื่องนี้คงไม่มีทางจะอร่อยลงตัวได้  เพื่อพาไปรู้จักกับอาชีพนี้ให้มากขึ้นเราจึงอยากชวนไปพูดคุยกับ โจ-หรินทร์ แพทรงไทย นักตัดต่อรุ่นใหม่ ผู้ฝากผลงานให้วงการภาพยนตร์ไทยทั้ง Take Me Home : สุขสันต์วันกลับบ้าน หนังผีที่ได้เข้าชิงชมรมวิจารณ์บันเทิงสาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม และเสียงตอบรับที่ดีอย่างล้นหลาม จากผลงานเรื่อง Where We Belong ที่ประสบความสำเร็จจนได้รับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ สาขาลำดับภาพยอดเยี่ยม ซึ่งเป็นรางวัลที่การันตีความสามารถและประสบการณ์ของการเป็นนักตัดต่อมืออาชีพของเขาได้เป็นอย่างดี เราชวนเขามาพูดคุยถึงชีวิตการทำงาน และเส้นทางการเติบโตเป็นนักตัดต่อฝีมือดีคนหนึ่งของวงการภาพยนตร์ไทย  01 เด็กหนุ่มผู้ตกหลุมรักภาพยนตร์ ตั้งแต่หนังสองเรื่องแรกที่ดูกับพ่อ ย้อนกลับไปในวัยเด็กจุดเริ่มต้นของเส้นทางอาชีพนักตัดต่อของโจ เกิดขึ้นจากเหตุการณ์การนั่งดูภาพยนตร์สองเรื่องกับพ่อในสมัยที่ภาพยนตร์ยังเป็นม้วนวิดีโอ โดยหนัง 2 เรื่องในความทรงจำของเขาคือเรื่อง Star Wars: Episode IV – A New Hope และ […]

1 2 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.