Nympheart ผู้เปลี่ยนเถ้าถ่านแห่งความทรงจำให้เป็นงานคราฟต์ที่มีชิ้นเดียวในโลก | The Professional

Nympheart คือสตูดิโอแฮนด์คราฟต์อายุ 9 ปีที่เริ่มต้นทำเครื่องประดับด้วยการใช้วัสดุหลักเป็น ‘ไม้’ และ ‘Epoxy’ เรซินที่ใช้ราดปูพื้น ซึ่งในตอนนั้นยังไม่เคยมีใครในเอเชียทำมาก่อน นอกจากความแปลกใหม่ โดดเด่นไม่ซ้ำใครของวัสดุและลวดลายโปรดักต์ที่ได้ขยายไปสู่ข้าวของเครื่องใช้อื่นๆ แล้ว Nympheart ยังมีอีกเอกลักษณ์สำคัญคือ งานคราฟต์ที่ผนึกอัฐิของผู้เป็นที่รัก ซึ่งช่วยให้ผู้สวมใส่ระลึกความทรงจำถึงคนที่จากไป ในรูปแบบที่สวยงาม ร่วมสมัย และจับต้องง่าย เหมือนมีเขาเคียงข้างอยู่ตลอดเวลา Urban Creature ชวนไปเรียนรู้วิธีการสร้างงานศิลปะที่มีชิ้นเดียวในโลก ที่เริ่มต้นการออกแบบด้วยความเข้าใจ และมีส่วนประกอบหลักเป็นหลักฐานของความทรงจำกัน

PaPa’ Chao Cafe บาริสต้าวัยเกษียณผู้เชื่อว่าธุรกิจคือเรื่องของการแบ่งปัน

แม้ว่ายุคนี้จะมี ‘ร้านกาแฟ’ เปิดใหม่เรื่อยๆ ทั่วทุกหัวระแหง ทั้งแบบสแตนด์อะโลนขนาดเล็ก ขนาดกลาง จนถึงแฟรนไชส์ของบรรดาแบรนด์ยักษ์ใหญ่ เยอะจนหลายคนมองว่าร้านกาแฟเกลื่อนเมืองแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจเครื่องดื่มคาเฟอีนยังคงฮอตฮิตในหมู่ผู้บริโภค และยังเป็นความฝันของใครหลายคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ภาพบรรยากาศคาเฟ่ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของกาแฟ เสียงเครื่องบดที่ดังเป็นระยะๆ บาริสต้ายืนดริปกาแฟอยู่หน้าบาร์ ดูจะเป็นไดนามิกการทำธุรกิจที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ซะเหลือเกิน เพราะเจ้าของร้านกาแฟเปิดใหม่ที่เราเห็นส่วนใหญ่มีอายุราว 25 – 35 ปีเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว การทำกาแฟไม่จำกัดอายุ ใครๆ ก็มีคาเฟ่ของตัวเองได้ ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยเกษียณ ‘เชา-ชวลิต จริตธรรม’ คืออดีตผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์วัย 66 ปี ที่ผันตัวมาเปิดคาเฟ่เล็กๆ ชื่อ ‘PaPa’ Chao Cafe’ ในย่านแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ที่เขาปลุกปั้นมากับมือ ทำเองแทบจะทุกอย่างตั้งแต่ลงทุนทำร้าน คัดสรรเมล็ดกาแฟ บดกาแฟ จนถึงชงเครื่องดื่มส่งตรงถึงมือลูกค้า  แม้ว่าก่อนเกษียณ ชีวิตการทำงานของเชาจะวนเวียนอยู่กับการบริหารคนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกาแฟมาแม้แต่น้อย แต่เพราะความเชื่อว่า ‘คนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้’ เมื่อถึงวันที่ต้องเป็นเจ้าของร้านกาแฟ เขาตั้งใจทำเต็มที่ และทำได้ดีด้วย จนตอนนี้ PaPa’ Chao Cafe มีอายุมากกว่า […]

‘ลองเอาตัวเองมาก่อนคนอื่นบ้าง’ รู้จักสร้างขอบเขตความสบายใจและปลอดภัยด้วยตัวของเรา

ผู้เขียนชอบล้อเล่นกับเพื่อนบ่อยๆ ว่า ‘My favorite B’ หรือ คำโปรดของฉันที่ขึ้นต้นด้วยตัวบี ไม่ใช่ เบสต์เฟรนด์ (Best Friend) หรือ เบบี้ (Baby) ที่รักอะไรหรอก แต่คือคำว่า ‘Boundary’ ต่างหาก หลายคนคงเคยได้ยินคำนี้มาบ้างแล้ว อาจจะบ่อยหน่อยในช่วงหลังๆ ที่มีการพูดถึงเรื่องสุขภาพจิตใจกันมากขึ้น คำแปลจากพจนานุกรมของเคมบริดจ์ (Cambridge) อธิบายความหมายของคำศัพท์นี้ไว้ได้เห็นภาพ นั่นคือ ‘a real or imagined line that marks the edge or limit of something.’ (การมีเส้นแบ่งเขตที่มีอยู่จริงหรือคิดขึ้นมาก็ได้ ที่กำหนดขอบเขตของบางอย่าง) ก็คล้ายๆ กับการอธิบายที่ผู้เขียนชอบใช้เวลาพูดถึง Boundary ในแง่สุขภาพจิตใจ ว่ามันคือ ‘ขอบเขตความสบายใจและความปลอดภัยของตัวเอง’ ซึ่งเราเป็นคนกำหนด และเมื่อไหร่ก็ตามที่มีใครเข้ามารุกราน Boundary ของเราตอนที่ยังไม่พร้อม เราจะรู้สึกอึดอัดและลำบากใจทันที ดูชัดเจนและเห็นภาพง่ายดีใช่ไหมล่ะ ก็ถ้าไม่ได้อยากยุ่งกับใคร หรือช่วยเหลือใครตอนนี้ เราก็บอกเขาไปว่าไม่พร้อมแค่นั้นเอง […]

“คนขี้เมาก็เปลี่ยนประเทศได้” 3 ปีของ ประชาชนเบียร์ กับเสรีภาพการดื่มที่ยังไม่ก้าวหน้า

“เมื่อก่อนผมเป็นอิกนอร์ กินเหล้ากินเบียร์ไม่ได้สนใจอะไรเลย มาตาสว่างเมื่อรู้ว่าระบบของประเทศนี้เป็นยังไง” ‘เบนซ์-ธนากร ท้วมเสงี่ยม’ ผู้ก่อตั้ง ‘ประชาชนเบียร์’ เล่ารอยต่อสำคัญที่ทำให้เขาเริ่มจริงจังกับการเรียกร้องเพื่อแก้ไขข้อกฎหมายเหล้าเบียร์ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท แถมต้องผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี ขอบเขตเช่นนี้ส่งผลให้วงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผูกขาดอยู่แค่เจ้าใหญ่ที่มีทุนทำได้ และปิดโอกาสสำหรับผู้ผลิตรายย่อยที่ไม่มีวันทำตามกติกาแบบนั้นได้จริง เกิดเป็นปัญหาอื่นๆ เช่น การต้มแบบเถื่อน หรือการต้องแอบดื่มที่นำไปสู่ภาพจำที่ทำให้เรื่องเหล้าเบียร์เป็นของมอมเมาผู้อื่นอยู่เสมอ ด้วยการผูกขาดกฎหมายที่เอื้อแต่นายทุนเช่นนี้ ทำให้วัฒนธรรมการกินดื่มของประเทศถูกปิดกั้นความสุนทรีย์และไม่มีเสรีเปิดกว้างอย่างทั่วถึง นักดื่ม นักต้ม ผู้ประกอบการ และกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ จึงรวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายที่ทำให้มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นและทุกคนได้สิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน  ดังจะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวสำคัญนั่นคือ ‘พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ โดยพรรคก้าวไกล ทางคณะได้ยื่นร่างแรกต่อสภาไปเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2565 และมีการโหวตลงมติกันอีกครั้งในช่วงต้นเดือน พ.ย. สรุปมติที่ประชุมปัดตกกฎหมายสุราก้าวหน้าไปด้วยเสียงโหวตทั้งหมด 405 คะแนน เห็นด้วย 194 และไม่เห็นด้วย 196 งดออกเสียง 15 คะแนน เท่ากับว่าวงการเบียร์และสุรายังคงต้องเดินหน้าร่วมกันผลักดันการแก้กฎหมายให้ปลดล็อกเรื่องนี้กันต่อไป  “ตั้งแต่ทำเพจประชาชนเบียร์มาสามปี กฎหมายไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย ยังเหมือนเดิม […]

7 ทศวรรษ ‘วังบูรพาการแว่น’ ทายาทรุ่นสองของความเป็นมืออาชีพ | The Professional

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน วังบูรพาถือว่าเป็นย่านเศรษฐกิจที่ผู้คนต่างย้ายเข้ามาตั้งรกรากและค้าขาย หนึ่งในนั้นคือครอบครัวของ ‘เสกสรรค์ กฤษณาวารุณ’ ที่คุณพ่อของเขาได้เข้ามาทำธุรกิจร้านแว่นตาเป็นเจ้าแรกๆ ของย่านนี้ กาลเวลาผันผ่านแต่ ‘วังบูรพาการแว่น’ ยังคงอยู่ Urban Creature จึงอยากชวนไปฟังจุดเริ่มต้นของวิธีการทำงานอย่างมืออาชีพตลอด 7 ทศวรรษ ผ่านทายาทรุ่นสองผู้ถือคติว่า ‘เราทุ่มเต็มที่ให้กับลูกค้าทุกคน เพื่อให้เขาได้แว่นที่ดี ใส่แล้วไม่เป็นปัญหา ลูกค้าเข้ามารับบริการ เราก็ต้องทำให้ได้ดีทุกชิ้น’

FYI

อยู่เมืองนี้ต้องทำงาน ทำงาน ทำงาน เรื่องเล่าจากประชากรแฝงในมหานครแห่งความหวัง

ฟ้ามืด ฝนตกหยิมๆ ส่งสัญญาณเป็นรอยต่อสู่ฤดูหนาว วันเวลาเดินทางอย่างรวดเร็วและบางขณะก็ช้าเหลือทน แต่ก็ผ่านมาถึงโค้งสุดท้ายของปี 2565 ในจำนวนประชากรผู้อยู่อาศัยในประเทศไทยเกือบ 70 ล้านคน เมื่อปีที่แล้ว สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเผยสถิติว่า ประชากรแฝงที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในภูมิลำเนามีถึงราว 800,000 กว่าคน  ในแปดแสนกว่าคนนั้น มีคนที่เข้ามาทำงานตอนกลางวันแบบหาเช้ากินค่ำในกรุงเทพฯ คิดเป็น 49.0 เปอร์เซ็นต์ คนที่เข้ามาทำงานกลางคืน 32.7 เปอร์เซ็นต์ และคนที่เข้ามาเรียนหนังสืออีก 49.5 เปอร์เซ็นต์ เมืองหลวงแห่งนี้จึงเป็นเมืองที่มีประชากรแฝงเยอะที่สุดในประเทศ และครองอันดับแทบตลอดกาล พวกเขาต่างเข้ามาที่นี่เพราะหวังมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แต่กรุงเทพฯ ทำให้ความฝันของแต่ละคนเป็นจริงหรือไม่ หรือกลับให้แต่ฝันลมๆ แล้งๆ ต่อไป ‘Urban Creature’ ชวนไปฟังเศษส่วนเรื่องราวจากปากคำพวกเขากัน ป้าเขียว อายุ 54 ปีอาชีพ : ขายหมูปิ้ง ภูมิลำเนา : ร้อยเอ็ด “เมื่อก่อนทำงานโรงงาน แล้วมาทำงานก่อสร้าง ช่วงที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ออก ไม่มีงานเลย ทีนี้ก็ฝึกวิชาหมูปิ้งขึ้นมาเอง ทีแรกไม่อยากมาอยู่กรุงเทพฯ หรอก แต่พอขายได้เรื่อยๆ มันก็ไม่อยากไปไหนแล้ว […]

Expectation VS Reality ชีวิตวุ่นๆ ในเมืองกรุงของหนุ่มขี้เหงากับภารกิจตามหารักแท้แบบฉบับหนังรัก

สวัสดีครับ เหล่าคนเหงาในเมืองใหญ่ทุกคน  ผม ‘แทน แทนทะเล’ นะครับ หลายคนอาจจะเห็นหน้าค่าตาผมจากรายการ ‘Urban เจอนี่’ มาบ้าง แต่วันนี้ผมไม่ได้จะมาชวนไปดูรายการหรือทำอะไรประหลาดๆ หรอกนะ แค่เห็นว่าวีกนี้ Urban Creature เขาทำคอนเทนต์ธีม ‘Bangkok Zombie Town’ ที่ตีแผ่ชีวิตสุดห่วยในเมืองกัน ผมเลยอยากนำเสนอชีวิตหนึ่งวันในฐานะของผู้ชายขี้เหงาคนหนึ่งที่ก็อาศัยอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้ ‘คนเดียว’ มานานกับเขาบ้าง หลังจากปัด Tinder จนนิ้วด้าน โหลดแอปฯ เดตติงจนความจำในโทรศัพท์เต็ม ผมก็ฝันถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำให้หัวใจเจ้ากรรมที่เริ่มด้านชากลับมามีสีสันมากขึ้น ผมจึงตัดสินใจว่า “วันนี้แหละที่เราจะไปปฏิบัติการตามหารักแท้ในเมืองด้วยตัวเอง เอง เอง” (ใส่เอกโค่เพิ่มความดราม่า) แต่แหม จะให้ไปตามหาคนในฝันแบบธรรมดาๆ ก็ดูไม่ค่อยเหมาะกับพิธีกรรายการดังแบบผมเท่าไหร่ ด้วยความที่เป็นอดีตนักเรียนฟิล์มและชอบดูหนังมากๆ ผมเลยขอหยิบเอาหนังรักโรแมนติกมาใช้เป็น Reference สร้างซีนประทับใจในหนึ่งวันที่ผมออกไปเจอเธอสักหน่อย จะได้รู้ดำรู้แดงกันไปเลยว่า ‘เมืองกรุงเทพฯ’ จะ ‘โรแมนติก’ แบบเมืองในหนังรักกับเขาได้ไหม รับบทเป็นธีโอดอร์ ใน Herมองเมืองแบบเหงาๆ คิดถึงเขาทำไงดี ก่อนออกไปตามหารักแท้ในเมืองใหญ่ ผมก็ขอทำตัวเลียนแบบ ‘ธีโอดอร์’ ในหนังคนเหงาเรื่อง ‘Her’ […]

กฎหมายทำแท้งเปลี่ยนแล้ว แต่ทำไมการทำแท้งปลอดภัยยังเข้าถึงยาก คุยกับ ‘กลุ่มทำทาง’

ในฐานะคนที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศ ชื่อของ กลุ่มทำทาง ผ่านหูผ่านตาเราหลายหน เราเคยเห็นข่าวคราวของการรณรงค์เรื่องทำแท้งปลอดภัย เคยอ่านบทความที่ออกมาแชร์ประสบการณ์จริงของผู้หญิงที่เคยทำแท้งจากเว็บไซต์และเพจของพวกเธอ และเคยฟังพอดแคสต์ที่ชวนคิดชวนคุยในหัวข้อเดียวกันนี้มาบ้าง กระทั่งเมื่อต้นปีที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ชี้ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งกำหนดความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้งว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ นำมาซึ่งการแก้ไขกฎหมายให้สามารถทำแท้งได้ภายในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์โดยไม่ถือว่ามีความผิดทางอาญา นอกจากนี้ยังแก้กฎหมายอาญา มาตรา 305 ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ 12 – 20 สัปดาห์สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่ต้องตรวจและรับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น การแก้ไขกฎหมายเรื่องนี้นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์หลายขั้วจากคนในสังคม แม้จะล่วงเลยเวลามานานกว่าหนึ่งปีก็ยังเป็นที่พูดถึงบนหน้าไทม์ไลน์ฉันเสมอ ในวาระที่กลุ่มทำทางเพิ่งจัดงาน ‘Bangkok Abortion กรุงเทพทำแท้ง’ เสร็จไปหมาดๆ เราเลยไม่พลาดที่จะนัดคุยอัปเดตสถานการณ์เรื่องนี้กับพวกเธอ น่าสนใจที่เมื่อเราถามความรู้สึกของ ‘นิศารัตน์ จงวิศาล’ หนึ่งในสมาชิกที่มานั่งคุยกับเราวันนี้ต่อกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ข้อปัจจุบัน เธอบอกว่า ‘ยังไม่แฮปปี้’ และการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายก็ไม่ได้แปลว่าผู้ที่อยากยุติการตั้งครรภ์เข้าถึงการรับการบริการมากขึ้น ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น-ให้บทสนทนาในบรรทัดถัดไปเล่าให้ฟัง ​​ทำไมคุณถึงยังไม่แฮปปี้กับกฎหมายทำแท้งที่เพิ่งอัปเดต เราว่าการเปลี่ยนข้อกฎหมายมันก็ดี ในแง่ที่ทำให้ผู้ให้บริการสบายใจขึ้น และผู้รับบริการรู้สิทธิ์ตัวเอง มันดีหมดแหละ แต่สิ่งที่เราอยากได้จริงๆ ตั้งแต่แรกคือการยกเลิกมาตรา 301 ไปเลย คนที่ทำแท้งต้องไม่มีความผิดทุกกรณี อันนี้คือจุดมุ่งหมายแรกของเรา Pain Point ที่กลุ่มทำทางเจอคือการไม่มีสถานที่บริการทำแท้ง ซึ่งถึงจะแก้กฎหมายแล้วก็ไม่ได้ดีขึ้น […]

รับมือหัวใจอันบอบบาง กับความเหงาในเมืองใหญ่

“คนเราต้องได้รับการกอดถึงสี่ครั้งต่อวัน เพื่อการมีชีวิตรอด” เวอร์จีเนีย ซาเทียร์ (Virginia Satir) นักจิตบำบัดครอบครัวชื่อดังคนหนึ่งเคยกล่าวไว้ “และพวกเราก็ยังจำเป็นต้องได้รับการกอดถึงแปดครั้ง เพื่อให้ดำรงชีวิตต่อไปได้ และการกอดถึงสิบสองครั้ง เพื่อเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของเรา” โห…คุณเวอร์จีเนีย เอาแค่เบสิกการกอด 4 ครั้งของคุณยังยากเลย เพราะวันๆ นี้ แค่ทำงานให้ทันเดดไลน์เอย เตือนตัวเองให้หยุดทำงานแล้วมาทานข้าวบ้างเอย นั่งเฉาอยู่ในรถที่ติดหนึบเป็นชั่วโมงๆ เอย หลายชีวิตในเมืองกรุงแทบไม่มีเวลาหรือกะจิตกะใจจะมานั่งนับ ‘การกอด’ ในหนึ่งวันกันหรอก ถ้ามันเป็นจริงอย่างที่เขาว่า ก็ไม่น่าแปลกใจที่ถึงหลายคนจะอยู่ในเมืองใหญ่ ผู้คนพลุกพล่านมากมายขนาดไหน ในใจลึกๆ ก็โดนแทรกซึมไปด้วยพลังแห่งความเหงาอยู่ดี ก่อนกลับมากรุงเทพฯ เมืองแอลเอ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกาที่ฉันเคยอยู่ก็ถือว่าเป็นเมืองใหญ่ หากใครเคยดูหนังเรื่อง LA LA LAND เมื่อหลายปีที่แล้ว คงเห็นว่าใครต่อใครจากเมืองหรือประเทศอื่น มักใฝ่ฝันอยากมาตามล่าหาฝันกันในเมืองแห่งนี้ เมืองที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมากหน้าหลายตา ต่างเชื้อชาติ หลากศาสนา หลายความสามารถ ฯลฯ โดยเฉพาะอาชีพที่ดื่มด่ำอยู่ในแสงสีเสียงของวงการมายา ต่างก็มารวมตัวกันอยู่ที่นี่ ฟังดูเหมือนเป็นเมืองแห่งความสนุกสนาน รื่นเริงในทุกหย่อมหญ้า แต่ภาพที่ฉันจำได้แม่นเลยคือ ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหน ก็มักสัมผัสกลิ่นอายความเหงาจากใครบางคนที่นั่งอยู่ ไม่ว่าจะคนเดียวหรือกับเพื่อนฝูงเสมอ Connection-สายสัมพันธ์อันลึกซึ้ง เมื่อนึกถึงเด็กๆ […]

‘เจ๊จู หมั่งหมิง’ อาชีพในตำนานสมัยซูสีไทเฮา | THE PROFESSIONAL

“หมั่งหมิงอยู่ในตำนาน ไม่มีหาย มันจะไปทุกยุคทุกสมัย เพราะว่าอาชีพนี้มีมาตั้งแต่สมัยซูสีไทเฮาแล้ว กล้าเอาหัวเป็นประกันเลย ไม่มีสูญหายแน่นอน” ‘หมั่งหมิง’ คือการใช้เส้นด้ายกำจัดขนบนใบหน้าแบบจีนโบราณ เป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมานานตั้งแต่สมัยพระนางซูสีไทเฮา ทั้งยังเป็นศาสตร์เสริมความงามและเสริมดวงที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน  ‘เจ๊จู-พรธิรัตน์ วัฒนกิตติกาญจน์’ ได้เรียนรู้วิชาการทำหมั่งหมิงตั้งแต่สมัยเด็กจากคุณแม่ จึงฝึกฝนจนนำมาทำเป็นอาชีพและเปิดสอนศิลปะการถอนขนมากว่า 20 ปี โดยหวังว่าคนรุ่นใหม่จะช่วยสานต่ออาชีพนี้ให้คงอยู่ตลอดไป

ชายผู้ลาออกมาประดิษฐ์ ‘Lightsaber’ จากภาพยนตร์ Star Wars จนกลายเป็นอาชีพ

A (not) long time agoin a galaxy (not) far,far away… มีหนุ่มไทยคนหนึ่งตัดสินใจลาออกจากงานประจำของตนเอง เพื่อหันมาทุ่มเวลาให้การประดิษฐ์ไลต์เซเบอร์จากภาพยนตร์สตาร์วอร์สเป็นอาชีพ ค่อยๆ เรียนรู้ พัฒนาวงจรภายในไลต์เซเบอร์ให้มีลูกเล่นน่าสนใจมากขึ้นจากเดิม ตกแต่งให้สวยงามยิ่งขึ้น กลายเป็นที่ต้องการของแฟนๆ สตาร์วอร์ส และนักสะสมจำนวนมากจากทั่วโลก ไลต์เซเบอร์ที่เขาขายมีราคาตั้งแต่ 3 – 4 หมื่นบาท และปัจจุบันมีคิวออเดอร์ยาวไปจนถึงปีหน้า อะไรทำให้ไลต์เซเบอร์ของเขามีมูลค่า ได้รับความสนใจจากแฟนๆ สตาร์วอร์สทั่วโลกจนสามารถกลายเป็นอาชีพได้ วันนี้ ‘เย่-ธนวัฒน์ ใจกล้า’ ชายผู้มีอาชีพเป็นนักประดิษฐ์ไลต์เซเบอร์ในนาม LIGHTSABER Thailand จะมาถอดสิ่งที่ทำทีละชิ้นส่วน เล่าเรื่องราวการประกอบเป็นไลต์เซเบอร์ให้ฟัง เริ่มต้นจากความชอบ… ชีวิตของเย่เริ่มต้นมาไม่ต่างจากแฟนคลับสตาร์วอร์สหลายคน ที่มีโอกาสได้รับชมภาพยนตร์แล้วเกิดความหลงใหลเรื่องราวสงครามจากกาแล็กซีอันไกลโพ้นเรื่องนี้ “พ่อเคยเล่าให้ฟังว่า ผมชอบดูสตาร์วอร์สตั้งแต่เด็ก และชอบไลต์เซเบอร์มาก เวลากลับไปต่างจังหวัดผมจะชอบหยิบไม้มาเหลาทำเป็นไลต์เซเบอร์ฟันเล่นกับเพื่อน ใช้ปากทำเสียงเอฟเฟกต์แบบในหนังกันเอง สนุกกันตามประสาเด็ก” ในเวลาต่อมา จากการเหลาไม้ทำเป็นไลต์เซเบอร์ เย่ก็ค่อยๆ เริ่มต้นขยับมาซื้อเครื่องมือกลึงเหล็ก ทำกระบี่แสงให้ใกล้เคียงกับในหนังมากขึ้นทุกที “ช่วงที่ผมได้ทำงานประจำในโปรดักชันเฮาส์ พอหาตังค์เองได้ เราก็เริ่มซื้อของจากสตาร์วอร์สที่ชื่นชอบมาสะสม ซึ่งบางชิ้นไม่มีขายในไทย เราก็ฝากเพื่อนซื้อไลต์เซเบอร์จากต่างประเทศส่งมาให้ […]

High-Functioning Depression อาการซึมเศร้าที่ดูเหมือนไม่เป็นไร แต่ข้างในพังยับเยิน

ยังทำงานได้ดีเหมือนปกติ สังสรรค์กับเพื่อนได้เหมือนเดิม เที่ยวเล่นอย่างสนุกได้แบบไม่มีอะไรในใจ แต่ทำไมกลับถึงบ้านทีไรความรู้สึกข้างในถึงได้พังยับเยินก็ไม่รู้  อาการเหล่านี้มักรู้จักในชื่อของ ‘High-Functioning Depression’ หรืออาจอธิบายได้ว่าเป็นโรคซึมเศร้าที่ยังสามารถใช้ชีวิตหรือทำงานได้ดี เนื่องจากอาการซึมเศร้าที่คนรู้จักกันนั้นส่วนใหญ่เป็นภาพของคนที่หมดอาลัยตายอยาก ไม่อยากทำอะไรจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในด้านอื่นๆ แต่สำหรับ High-Functioning Depression จะเกิดขึ้นแบบไม่รู้ตัวเพราะคนคนนั้นยังสามารถใช้ชีวิตแบบเดิมได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าเป็นการทำงาน การเข้าสังคม พูดคุยยิ้มแย้ม เล่นสนุกสนานได้เหมือนเดิม และมักคิดว่าไม่ใช่อาการที่รุนแรงแต่อย่างใด ทำความเข้าใจกับ High-Functioning Depression ชื่อของ High-Functioning Depression เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากเหตุการณ์เสียชีวิตของ ‘Cheslie Kryst’ พิธีกรและ Miss USA 2019 ที่ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองลงเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยแม่ของเธอได้เปิดเผยสาเหตุการสูญเสียของ Cheslie ว่าเป็นเพราะอาการ High-Functioning Depression ที่เธอเก็บซ่อนภาวะซึมเศร้าเอาไว้และต้องต่อสู้กับปัญหาสุขภาพจิตโดยลำพังมาอย่างยาวนาน  ความจริงแล้ว High-Functioning Depression นั้นไม่ได้เป็นการวินิจฉัยทางการแพทย์หรือ Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition (DSM-5) โดยตรง แต่เป็นคำอธิบายภาวะของคนที่ยังสามารถทำงานได้ดีและใช้ชีวิตได้แบบปกติแม้ต้องอยู่กับความเครียดหรือความโศกเศร้าก็ตาม […]

1 7 8 9 10 11 33

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.