ฉีดโบท็อกซ์ไม่ได้ลดแค่ริ้วรอย แต่ยังช่วยลดความเครียด ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น

การตัดสินใจเสริมความงามของหลายๆ คนมักเริ่มต้นจากความต้องการที่จะลดริ้วรอยแห่งวัย ซึ่งมาพร้อมอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยหัตถการอันดับต้นๆ ที่หลายคนรู้จักคือการฉีด ‘โบท็อกซ์’ หรือ ‘Botulinum toxin (BTX)’ สารช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว และทำให้ริ้วรอยบนใบหน้าหายไป แต่โบท็อกซ์ไม่ได้มีประโยชน์ด้านความงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังถูกใช้เพื่อรักษาอาการไมเกรนเรื้อรัง ภาวะเหงื่อออกมาก ลดอาการเจ็บปวดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ภาวะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน และอาการอื่นๆ ทางการแพทย์ มากไปกว่านั้น ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การฉีดโบท็อกซ์เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้ผู้คนสุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย ฉีดโบท็อกซ์เพิ่มสวย ลดเครียด นักวิจัยจาก ‘Skaggs School of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences’ แห่ง ‘University of California San Diego’ พบข้อมูลจาก ‘สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)’ ว่าคนที่ฉีดโบท็อกซ์ในตำแหน่งต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่หน้าผากมีภาวะซึมเศร้าลดน้อยลงมากกว่า 22 – 72 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยอาการเดียวกันที่ใช้การรักษาคนละรูปแบบ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า เมื่อคนเราเกิดความเครียด ร่างกายจะแสดงอาการผ่านสีหน้าอย่างเช่นการขมวดคิ้ว ซึ่งส่งผลให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้า แน่นอนว่าเมื่อเกิดรอยตำหนิขึ้นมาก็จะยิ่งทำให้เกิดความกังวล ไม่มั่นใจ […]

มองวิกฤตการณ์ความสัมพันธ์กับบทบาทความเป็นแม่ผ่าน ‘ห่วงโซ่งานดูแลระดับโลก’

ในบรรดาคนดูแลที่ผลัดเวียนกันเข้ามาดูแลยายเราก่อนเสียชีวิต คนที่เราจำได้ดีที่สุดคือ ‘ป้าตู่’ ป้าแกอายุอานามค่อนข้างมากแล้ว แต่ยังคุยเก่ง นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เข้ากับยายเราได้ดี ภาพที่เห็นจนคุ้นเคยคือป้าตู่เฝ้ายายกินข้าวไม่ให้ข้าวติดคอบ้าง บีบนวดแขนขาบ้าง บางวันก็ถือสมุดเล่มบางๆ ให้ยายฝึกออกเสียง ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากยายได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อเสียการประสานงานจากสมองน้อยและไขสันหลัง (Spinocerebellar Degeneration — โรคเดียวกับนางเอกในซีรีส์ญี่ปุ่นบ่อน้ำตาแตก One Litre of Tears) ป้าตู่อยู่กับยายเราเป็นปี ฟังดูไม่ได้นานมาก แต่ก็ถือว่านานแล้วถ้าเทียบกับคนดูแลคนอื่นตามแต่จะหาได้ที่หมุนเวียนกันเข้ามาช่วยเฝ้าดูอาการยาย งานดูแลคนแก่ไม่มีอะไรซับซ้อน ออกจะน่าเบื่อด้วยซ้ำ แต่รายละเอียดยิบย่อยของมันและการต้องอยู่โยงเฝ้าคนแก่หนึ่งคนเป็นเวลาทั้งวัน ซ้ำๆ ทุกวัน ก็ไม่ใช่เรื่องสนุกสนานน่ายินดีปรีดาอะไร บ้านเราแบกรับค่าใช้จ่ายพยาบาลอาชีพที่มาจากศูนย์หรือโรงพยาบาลไม่ไหว ที่ผ่านมาเลยได้แต่ถามไถ่แม่บ้านในละแวกว่าพอมีใครว่างหางานอยู่บ้าง ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลที่พอเข้ามาจับงานได้สักพัก หลายคนก็ขอลาออกและกลับไปทำงานแม่บ้านที่ตัวเองถนัดมากกว่า ที่ยกมาเล่าสู่กันฟัง เพราะวันแม่ปีนี้ชวนให้เราหวนกลับไปนึกถึงคลิปวิดีโอชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า Who Knows Kids Better? Mums VS Maids ที่เป็นการสัมภาษณ์พี่เลี้ยงเด็กในประเทศสิงคโปร์ด้วยการถามคำถามสั้นๆ เกี่ยวกับเด็ก จากนั้นก็เอาคำถามเดียวกันไปถามคนเป็นแม่ ก่อนปิดท้ายด้วยการให้ลูกๆ มาเฉลยคำตอบ คำถามในคลิปล้วนเป็นคำถามง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยกตัวอย่าง ‘อนาคตเด็กอยากโตไปเป็นอะไร’, ‘เพื่อนสนิทที่โรงเรียนชื่ออะไร’, ‘ชอบเรียนวิชาอะไรที่สุด’ แต่ที่น่าสนใจคือ กลายเป็นว่าคนเป็นพี่เลี้ยงเด็กตอบคำถามได้ถูกต้องกว่าคนเป็นแม่ โดยในคลิปสรุปเป็นตัวเลขให้เลยว่า […]

มองเมืองผ่านเลนส์ Street Photographer ‘จ็อบ-เจตวิชาญ เชาวน์ดี’

จากครูสอนเด็กอนุบาลที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้ ‘จ็อบ-เจตวิชาญ เชาวน์ดี’ เลือกวิธีการออกกำลังกายด้วยการเดินไปตามเมือง พร้อมพกกล้องคู่ใจ ค้นหามุม มองสิ่งน่าสนใจ แล้วลั่นชัตเตอร์บันทึกภาพ จากงานอดิเรก ‘Street Photographer’ กลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ลงแรงจริงจัง จนทำให้จ็อบมองสิ่งต่างๆ ผ่านเลนส์กล้องมากขึ้น และในสายตาของผู้อยู่อาศัยก็ทำให้เขาได้มองมุมเมืองที่ต่างออกไปจากเดิม “พอได้ไปถ่ายภาพแนวสตรีทเยอะขึ้น เรารู้สึกว่ามันมีเสน่ห์ ทำให้วิธีการมองเมืองของเราเปลี่ยนไป สิ่งที่เรารู้สึกดีที่สุดคือการถ่ายภาพแล้วได้บันทึกประวัติศาสตร์ของโมเมนต์ ของเมือง ได้เห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ข้างหน้า” รายการ The Professional พาไปรู้จักอาชีพช่างภาพสาย Street Photo กับคอลัมนิสต์เจ้าของโปรเจกต์ Bangkok Eyes ที่ชวนมองเมืองผ่านเลนส์ด้วยการเดินเล่นถ่ายภาพย่านต่างๆ 50 เขตในกรุงเทพฯ

‘ทำไมคนถึงชอบฟังเพลงเศร้า’ รู้จักกับหนึ่งในวิธีการเยียวยาจิตใจผ่านความเจ็บปวด

‘ความสุขมักถูกซ่อนเอาไว้ในความเจ็บปวด’ คำกล่าวนี้ผู้เขียนไม่ได้ทึกทักขึ้นมาเอง แต่ความเจ็บสามารถสร้างความสุขแบบแปลกๆ ให้เราได้จริง จากฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) หรือฮอร์โมนแห่งความสุขที่ปล่อยออกมาเวลาเราทำกิจกรรมที่สนุกหรือเพลิดเพลินไปกับมัน เช่น ออกกำลังกาย ทานของอร่อย นวดสปา หรือการมีเซ็กซ์ ขณะเดียวกัน ถ้าลองนึกดูดีๆ หลายครั้งเราก็ ‘เพลิดเพลิน’ ไปกับกิจกรรมที่มีความทรมานแฝงอยู่ มาก-น้อย ช้า-เร็วต่างกันไป เช่น การกินเผ็ด เล่นเครื่องเล่นหวาดเสียว ดูหนังผี ไปจนถึงการดูหนังหรือฟังเพลงเศร้า โดยเฉพาะช่วงที่เรากำลังอกหัก สิ่งนี้เรียกว่า ‘Tragedy Paradox’ หรือความย้อนแย้ง ที่ใช้ในสถานการณ์เมื่อคนเราพยายามจะทำอะไรสักอย่างเพื่อลดหรือบรรเทาความเศร้าในชีวิต แต่ก็เจอความสุขในความสวยงามของความเศร้านั้นไปด้วย นอกจากนี้ ในระหว่างที่เรากำลังฟังเพลงเศร้า ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนโพรแลกทิน (Prolactin) ที่สร้างขึ้นเมื่อน้ำตาเราไหล ซึ่งจะช่วยให้เรารู้สึกบันเทิงไปกับเพลงที่ฟังดูเจ็บปวด หรือเมื่อกำลังมีประสบการณ์กับอารมณ์คลื่นความถี่ต่ำ เช่น เศร้า โหยหาถึงคนที่คิดถึง เครียด โดยจะช่วยให้รู้สึกผูกพันและเชื่อมต่อกับสิ่งที่เรารู้สึกว่ามีความหมาย ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้คือตัวเดียวกับฮอร์โมนที่จะปล่อยออกมาตอนที่เราจะได้เป็นพ่อคนแม่คน และได้ยินเสียงลูกร้องไห้ สิ่งที่ทำให้ฮอร์โมนตัวนี้เป็นฮอร์โมนที่ปลอดภัยต่ออารมณ์ความรู้สึกของเราทั้งที่ปล่อยออกมาตอนฟังเพลงเศร้า เป็นเพราะระบบรับรู้ของเราจับได้ว่า ‘เรากำลังฟังเพลงเศร้า เพื่อให้นึกถึงช่วงเวลาที่เศร้าตอนนั้น แต่เราไม่ได้กำลังอยู่ในเหตุการณ์ที่ทรมานหดหู่ตอนนี้’ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเกิดการแยกกันระหว่างเรื่องจริงตรงหน้ากับอารมณ์ที่เกิดขึ้น (Dissociation) ความเจ็บปวดทางจิตใจที่หนักหนาจนใจรับไม่ไหวก็ไม่เกิดขึ้น ทว่ากลายเป็นความผ่อนคลายหรือสบายใจเข้ามาแทนที่ […]

จัดสวนขวดและตู้เลี้ยงไม้เยียวยาใจ ‘Curve Studio’ | THE PROFESSIONAL

“พอพื้นที่สีเขียวมันน้อยลง คนก็อยากได้พื้นที่สีเขียวเล็กๆ นี้มากขึ้น แต่ในความเป็นจริงมันก็ควรจะมีพื้นที่สีเขียวใหญ่ๆ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้เขามีภาพจำดีๆ แล้วอยากจะถ่ายทอดเก็บไว้ดูในวันอื่นของเขาบ้าง” ‘เอิร์ท-พลานนท์ จันทร์เซียน’ จาก ‘Curve Studio’ นักจัดสวนขวดและตู้เลี้ยงต้นไม้ อดีตผู้ไม่ชอบการปลูกต้นไม้เพราะเกลียดกลัวสัตว์เลื้อยคลาน แต่การลาออกจากงานที่ต้องทำด้วยความเครียดทำให้เขาได้ลองสัมผัสกับสิ่งที่ไม่ชอบดูบ้าง เมื่อได้มาสัมผัสธรรมชาติจากการจัดสวนในขวดแก้ว กิจกรรมนี้ก็ช่วยปลดล็อกจากความเครียด จนเขาได้พบกับความสร้างสรรค์ การผ่อนคลาย และการเยียวยาจิตใจ THE PROFESSIONAL วันนี้พาทุกคนพักสายตาไปชมสิ่งน่าสนใจสีเขียวๆ ทำความรู้จักกับอาชีพ ‘นักจัดสวนขวด’

‘คนร่างไม่ได้เล่น คนเล่นไม่ได้ร่าง’ คุยปัญหา พ.ร.บ.เกมกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย

‘คนไทยมีความสามารถ แต่ขาดโอกาสและการผลักดันจากภาครัฐ’ น่าจะเป็นคำพูดคลาสสิกที่เรามักได้ยินอยู่บ่อยครั้ง และไม่เคยเลือนหายไปจากสังคมไทยแม้กาลเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน ยิ่งในวันที่บนโลกออนไลน์มีการพูดถึง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และเกมฉบับใหม่ ที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Hearing) จากคนในวงการภาพยนตร์และเกมไปได้ไม่นาน จนเกิดคำถามว่า การมี พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกมาคือการส่งเสริมหรือจำกัดเสรีภาพคนทำเกมอยู่กันแน่ เพราะกว่าจะวางขายเกม ทำโฆษณา หรือจัดเรตติงได้ ต้องรอทางกระทรวงวัฒนธรรมอนุมัติ ซ้ำร้ายหากมีการทำผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจก็ถือเป็นโทษอาญาที่จำคุกสูงสุดถึง 5 ปี เพื่อให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น เราขอฝ่าดันเจี้ยนบุกไปสนทนากับ ‘ป๊อป-เนนิน อนันต์บัญชาชัย’ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (Thai Game Software Industry Association : TGA) กันถึงออฟฟิศบริษัท EXZY Company Limited ที่ป๊อปเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง 4 ปีกับการดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมเกมไทยเป็นอย่างไรบ้าง สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย’ หรือ ‘TGA’ เป็นสมาคมการค้าไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งมานานกว่า 17 ปีแล้ว มีสมาชิกอยู่ประมาณ 50 บริษัท เป็นการรวมตัวกันของ ‘นักพัฒนาเกม’ (Game Developer) กับ ‘ผู้เผยแพร่เกม’ (Publisher) หรือที่เรียกรวมๆ […]

‘นินจา 4MIX’ การเป็นตัวเองในวงการบันเทิง ที่อยากให้มองคนที่ความสามารถ

“ทุกคนพิสูจน์ตัวเองได้ แต่ต้องไม่ใช่เรื่องเพศ เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ทุกคนก็เป็นคนเหมือนกัน ไม่อยากให้น้อยใจว่าฉันเกิดมาเป็นแบบนี้มันติดลบ” ในวันที่ T-POP กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ในฐานะ T-POP Stan คนหนึ่ง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวง ‘4MIX’ ถือเป็นไอดอลวงแรกๆ ของยุคนี้ที่เป็นคนจุดประกายความหวังของเราขึ้นอีกครั้ง ทั้งยังดังไกลติดตลาดจนมีแฟนคลับจำนวนมากจากฝั่งลาตินอเมริกา ความน่าสนใจของ 4MIX ไม่ใช่แค่วงไอดอลมากความสามารถที่มีเพลงติดหูคนไทยตั้งแต่เพลงแรกที่เดบิวต์สเตจและครองใจใครต่อใครด้วยความเป็นตัวเอง แต่หนึ่งในสมาชิกอย่าง ‘นินจา-จารุกิตต์ คําหงษา’ ก็ยังเป็นคนในคอมมูนิตี้ LGBTQ+ ที่พยายามผลักดันเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมมาโดยตลอด ก่อนส่งท้าย Pride Month เราได้นัดหมายพูดคุยกับ ‘นินจา 4MIX’ ถึงตัวตนของศิลปินคนนี้ ผ่านเรื่องเล่าชีวิตวัยเด็ก เส้นทางศิลปินในปัจจุบัน รวมไปถึงการค้นหาความหวังในอนาคตผ่านบทสัมภาษณ์คอลัมน์ Think Thought Thought ก่อนจะมาเป็นนินจาในวันนี้ ชีวิตวัยเด็กของคุณเป็นอย่างไร นินเป็นเด็กบ้านนอกมาก แบบที่ไม่ใช่แค่อยู่ต่างจังหวัดแต่มันคือต่างอำเภอและอยู่นอกตัวอำเภอออกไปอีก แต่ดีหน่อยที่มีคุณแม่เป็นคุณครู เลยค่อนข้างมีโอกาสมากกว่าหลายๆ คนในหมู่บ้าน เพราะเวลามีงานต่างๆ ในโรงเรียน แม่ที่เป็นครูจะเอาลูกตัวเองไปเต้นไปรำ จากสิ่งนี้ทำให้เราซึมซับมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นเด็กที่ขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมล้วนๆ อย่างตอนที่เราสอบติดโรงเรียนประจำอำเภอ 2 โรงเรียนพร้อมกัน โรงเรียนหนึ่งเป็นเลิศด้านวิชาการกับอีกโรงเรียนที่เน้นกิจกรรม […]

จะผิดไหม ถ้าพึ่งความเชื่อสายมูฯ ในเมื่อทำเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สำเร็จเสียที

‘พี่เปิดประตูมา นึกว่าอยู่ในตำหนักไหนสักแห่ง’ นี่คือคำที่คุณแฟนใช้บรรยายมุมหนึ่งในห้องเล็กๆ ของฉันในย่านเอกมัย ที่มีทั้งหินมงคล (เอาออกไปอาบแสงจันทร์ทุกคืนที่พระจันทร์เต็มดวง), เครื่องหอมกำยาน, เครื่องรางเสริมดวงจากครูบาที่มีชื่อเสียงมากมาย, เทวรูปเล็กๆ ของศาสนาฮินดู รวมไปถึงศาสนาพุทธ พร้อมน้ำและดอกไม้ที่คอยเปลี่ยนถวายอยู่เรื่อยๆ คอนโดฯ High-rise ที่มองออกไปเห็นวิวทิวทัศน์รายล้อมด้วยตึกสูงสไตล์โมเดิร์น รอบๆ เป็นบาร์ฮิปๆ ที่มักมีเสียงวัยรุ่นโหวกเหวกทุกคืน โดยเฉพาะช่วงตี 2 – 3 ข้างนอกคอนโดฯ กับข้างในห้องของฉันช่างเป็นภาพที่ดูไม่เข้ากันเหลือเกิน ‘The growth rate of cities urgently requires that we give attention not merely to design and planningbut also to deeper questions of meaning and purpose.We not only live in the world; […]

‘สองเทพบุตรสุดที่รัก’ ลิเกมรดกไทยร่วมสมัย | THE PROFESSIONAL

“แก่นแท้มันมีสามแก่น หนึ่งคือ ศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถลืมได้ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ขาดการร้อง การรำ นั่นคือไม่ใช่ลิเก “แก่นที่สองคือ แก่นที่ปรับเข้ายุคตามสมัย ปรับให้เข้ากับสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน “แก่นที่สามคือ AI เป็นสิ่งที่ทำให้คนดูตื่นตาอลังการเหมือนอยู่ในโรงละคร ทั้งหมดสามแก่นรวมเป็นหนึ่งเดียวคือ คณะลิเกสองเทพบุตรสุดที่รัก” รายการ The Professional ชวนไปเที่ยวชมมหรสพชมลิเก และร่ายรำพูดพร่ำทำเพลงไปกับสามพี่น้องคณะลิเก ‘สองเทพบุตรสุดที่รัก’ ที่จะมาเล่าเรื่องลิเก๊ลิเกฉบับยุค 5G ที่พวกเขาพัฒนาเข้ากับยุคสมัย เพื่อหวังให้ลิเกเป็นศิลปวัฒนธรรมที่ไม่ได้เป็นที่รู้จักแค่ในประเทศไทย แต่อยากให้กลายเป็นป็อปคัลเจอร์ที่คนทั่วโลกเอนจอย

“ให้คิดว่าเป็นเหมือนทรัพย์สินของเราเอง” รู้จักอาชีพ ‘คนตรวจบ้าน’ กับ Mylovecondo

“ให้คิดว่าเป็นเหมือนทรัพย์สินของเราเอง” รู้จักอาชีพ ‘คนตรวจบ้าน’ ผ่านการทำงานตามแบบ Mylovecondo

Mappa บ้านของนักออกแบบการเรียนรู้ที่อยากให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมกันดีไซน์สังคมที่ดีกว่าเดิม

ในฐานะคนที่เรียนหนังสือแบบท่องจำมาตลอด การได้ฟัง ‘มิรา เวฬุภาค’ ผู้ก่อตั้ง Mappa และทีมเล่าเรื่องราวการเรียนรู้แบบใหม่ที่เราไม่คุ้นเคยนั้นช่างน่าฉงนสงสัย ในขณะเดียวกันก็น่าตื่นเต้นเหลือเกิน เราเคยได้ยินเรื่องโรงเรียนทางเลือก โฮมสคูล และแอปฯ ส่งเสริมการเรียนรู้มาบ้าง ทั้งยังเคยฟังเด็กๆ โอดครวญด้วยความห่อเหี่ยวใจเรื่องระบบการศึกษาบ้านเราหลายหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ Pain Point และแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เกิด Mappa ในวันนี้ หลายคนรู้จักพวกเขาในฐานะสื่อออนไลน์ที่ผลิตคอนเทนต์สนุกๆ บนพื้นฐานความเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ และสร้างได้จากทุกสิ่ง แต่แท้จริงแล้ว Mappa ไม่ใช่แค่สื่อ พวกเขาคือแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาที่อยากผลักดันให้การเรียนรู้ของเด็กไทยไปไกลกว่ากรอบเดิมๆ ผ่านเครื่องมืออันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ บอร์ดเกม สื่อการเรียนรู้ ไปจนถึงคอร์สอบรมมนุษย์ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คุณครู หรือคนที่มีพื้นที่เรียนรู้ ไม่ได้เรียนแค่เรื่องวิชาการจ๋า แต่อยากให้เด็กๆ ได้มีสกิลซึ่งโรงเรียนอาจจะลืมสอนไป เช่น การสร้างความสัมพันธ์ การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม สุนทรียภาพ กระบวนการคิด ฯลฯ มากกว่านั้น ผู้ก่อตั้งอย่างมิรายังอยากปลุกปั้น ‘Learning Designer’ หรือ ‘นักออกแบบการเรียนรู้’ ที่เป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อช่วยยกระดับการศึกษาในอนาคตให้เด็กเจเนอเรชันต่อไปได้มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายกว่าเก่า เช้านี้ที่น่าฉงนสงสัยและน่าตื่นเต้นเป็นพิเศษ ทีม […]

คุยเรื่องสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมกับ ‘กัณวีร์ สืบแสง’ ว่าที่ ส.ส. ที่อยากสร้างสันติภาพ

หลังจากการเลือกตั้งใหญ่เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ชื่อของ ‘พรรคเป็นธรรม’ ก็ปรากฏตามหน้าข่าวอย่างแพร่หลาย และได้รับความสนใจจากคนไทยที่ติดตามการเมืองอย่างเข้มข้น ที่เป็นแบบนั้นเพราะพรรคเป็นธรรมมี ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์เพียงคนเดียวที่ได้รับเชิญจากพรรคก้าวไกลเพื่อร่วมจัดตั้งรัฐบาล จนหลายคนมองว่า นี่คือหนึ่งพรรคการเมืองม้ามืดที่จะมาช่วยขับเคลื่อนให้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยเต็มใบอีกครั้ง ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึง ‘กัณวีร์ สืบแสง’ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม และ ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ลำดับที่ 1 ที่ประชาชนจรดปากกาเลือกให้เป็นผู้แทนเข้าไปทำงานในสภาฯ ก่อนกระโดดเข้ามาทำงานการเมือง กัณวีร์เคยรับราชการที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) จากนั้นเขามีโอกาสทำงานด้านมนุษยธรรมที่สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในพื้นที่สงครามและความขัดแย้งนาน 12 ปี ใน 8 ประเทศ ได้แก่ ซูดานใต้ ซูดานเหนือ ชาด ยูกันดา บังกลาเทศ ฟิลิปปินส์ เมียนมา และไทย ทำให้กัณวีร์มีความเชี่ยวชาญด้านผู้ลี้ภัย มนุษยธรรม สิทธิมนุษยชน สันติภาพ ความมั่นคง ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ กัณวีร์และพรรคเป็นธรรมตั้งใจที่จะสร้าง ‘การเมืองใหม่’ ที่เน้นคุณค่าของประชาธิปไตยและประชาชนเป็นหลัก รวมถึงผลักดันแนวคิดมนุษยธรรมนำการเมือง สันติภาพกินได้ และการสร้างเสรีภาพโดยเฉพาะในพื้นที่ปาตานี […]

1 4 5 6 7 8 33

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.