ไร้บ้านไม่ไร้ค่า หนึ่งวันกับ ‘คนไร้บ้าน’ ชีวิตที่อยากให้เข้าใจ

เรียนรู้ชีวิตคนไร้บ้านไปพร้อมกับ ‘พี่เอ๋-สิทธิพล ชูประจง’ หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนนที่พาเราไปเข้าถึงคนไร้บ้านอย่างเปิดใจให้ว่าง เพื่อทำความเข้าใจ รับฟังเรื่องราว รับรู้ปัญหา และถ่ายทอดสิ่งที่พบเจอให้ทุกคนได้สัมผัส ‘คนไร้บ้าน’ ในมุมมองใหม่

Voices From Friends ส่งเสียงช่วยเพื่อนที่ถูกคุกคามทางเพศ

Voices From Friends กลุ่มเพื่อนอาสาสมัครที่ตั้งใจรับฟัง เยียวยา และช่วยต่อสู้ดำเนินคดีให้กับเหยื่อที่ถูกคุกคาม กดขี่ หรือล่วงละเมิด

เพราะลูกจ้างไม่ใช่ทาส

: ไม่อยากไปทำงานว่ะ: งานเยอะจนต้องแบกมาทำนอกเวลาแล้วเนี่ย: เจ้านายไม่รับฟังปัญหาอะไรเลย: เมื่อไหร่จะวันศุกร์วะ (แต่วันนี้เพิ่งวันจันทร์เองนะ)  เรื่องเล่าจากเพื่อนชาวออฟฟิศที่ต่อสายหาฉันกลางดึกเพื่อระบายปัญหาร้อยแปดที่ติดกับดักกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ไม่รู้จะเอาอย่างไรกับชีวิต กระตุกต่อมให้ฉันสนใจจนอยากถกถามทุกคนว่าคุณเคยเครียด ดราม่า กดดันในที่ทำงาน หัวหน้าไม่รับฟังปัญหา ปริมาณงานถาโถมแต่ไม่คุ้มเงินแถมเสียสุขภาพ หรือบางครั้งต้องแบกร่างเอางานมาทำนอกเวลาเพราะไม่ทันจริงๆ บ้างไหม นี่ยังไม่รวมทัศนคติคนในออฟฟิศและบรรยากาศที่ไม่เอื้อให้อยากปิดนาฬิกาปลุกแล้วลุกจากเตียงมาทำงาน ถ้าคุณประสบปัญหาที่ว่ามาหรือนอกเหนือจากนี้แต่น่าปวดหัวไม่แพ้กัน คุณนุ่น-นววรรณ สุขจิตร นักจิตวิทยาจาก Ooca: workplace psychologist แพลตฟอร์มที่ให้บริการดูแลใจพนักงานในองค์กรรับอาสาแชร์มุมมอง กะเทาะต้นตอปัญหา และช่วยหาทางออกของเรื่องที่พันยุ่งเหยิงยิ่งกว่าสายหูฟังนี้ให้เคลียร์ 01 ลูกจ้าง : เกิดมาเพื่อโดนกด? ถ้าคิดให้ดีโลกนี้ประหลาดที่ผู้มีอำนาจในสังคม ไม่ว่าจะบริบทไหนก็ตาม มักมีจำนวนน้อยกว่าผู้อยู่ใต้อำนาจ หากมองให้ใกล้ตัวก็สถานศึกษาที่มีนักเรียนหรือนักศึกษามากกว่าครูหรือผู้บริหาร รัฐบาลที่มีน้อยกว่าประชาชน และถ้าจะพูดให้เข้ากับสถานการณ์สงครามทางกระแสจิตของลูกจ้างและลูกน้องในออฟฟิศ ตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติก็แสดงโผงผางว่า ในต้น พ.ศ. 2563 นายจ้างที่รับบทเป็นเจ้านายมีเพียง 9.87 แสนคน ต่างกับจำนวนลูกจ้างภาครัฐและเอกชนที่รวมกันแล้วมีถึง 19.77 ล้านคน! (อ้างอิงจาก https://bit.ly/3qJuzvu) ซึ่งมันก็จะงงๆ หน่อยว่าทำไมคนส่วนน้อยที่ถืออำนาจบางกลุ่ม ทำไมหนอทำไม ถึงไม่ฟังเสียงของคนหมู่มากที่เป็นลูกจ้างบ้างเลย คุณนุ่นอธิบายปรากฏการณ์ความวายป่วงของระบบเจ้านายในเชิงจิตวิทยาไว้ว่า คนที่อยู่ในสถานะที่สามารถควบคุมคนได้รู้สึกมีอำนาจมากขึ้นเพราะคนในสังคมยกยอปอปั้นสนับสนุนแนวคิดเจ้านายเป็นใหญ่ หรือเรียกว่า Authority […]

อัด อวัช พาเดินสำรวจ (ปัญหา) ทางเท้าจากภาษีประชาชน

Urban Creature ชวนอัดออกนอกถนน ไปเดินดูทางเท้า สายไฟ การสัญจร มลพิษทางอากาศ และคุยถึงมุมมองของเขาในวัย 24 ปี กับปัญหาสาธารณูปโภค ที่ตัวเขาเจอและเชื่อว่าทุกคนก็เจอ

ทฤษฎีปลูก 3 ชั้นของ อเล็กซ์ เรนเดลล์ ให้ต้นไม้ในบ้านเป็นผืนป่าดูแลใจและสังคม

พื้นที่สีเขียวในบ้านสำคัญกับการใช้ชีวิตอย่างไร ? ต้นไม้ต้นเล็กๆ สามารถสร้างพลังอันยิ่งใหญ่ให้พวกเราได้ไหม ? ชวนเปิดมุมมองกับ อเล็กซ์ เรนเดลล์ นักแสดงมากความสามารถผู้ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ที่มาพร้อมคำตอบว่าทำไมชีวิตคนเราขาดพื้นที่เขียวไม่ได้ที่ ‘บ้านกลางเมือง’

‘ตัดผมคือละเมิดสิทธิมนุษยชน’ คุยกับเคท ครั้งพิบูลย์ ถึงอำนาจนิยมผ่านการตัดผมนักเรียน

คุยกับ อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงประเด็นการบังคับให้อยู่ภายใต้อำนาจผ่านการตัดผมของนักเรียน คนบางอาชีพ หรือผู้ต้องหาในเรือนจำ ที่รู้ตัวอีกทีคนเหล่านั้นก็ถูกลดทอนความเป็นคนมาอย่างยาวนาน

หากคุณหมดไฟ พวกเราซ่อมได้ : ภารกิจตามติดช่างไฟฟ้า

ช่างไฟฟ้า นักปีนเสาไฟที่มีภารกิจแก้ไฟให้ประชาชนได้ใช้อย่างด่วนจี๋ ซึ่งครั้งนี้ ‘คุณเต้-พิพัฒน์พงษ์ สุรพิพิธ’ พนักงานช่างระดับ 3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาย่อยอำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา จะพาเราขึ้นกระบะออกไปปีนเสา ซ่อมไฟด้วยกัน พร้อมทำความเข้าใจว่ากว่าจะเป็นช่างไฟฟ้าต้องผ่านอะไรมาบ้าง แล้วอาชีพค่อนข้างอันตรายนี้เขาทำงานและฝึกฝนกันยังไง ? ก่อนเริ่มภารกิจ: ช่างไฟไม่ใช่ใครก็เป็นได้  กว่าจะเป็นช่างไฟไม่ใช่แค่เดินเข้ามาสมัครก็เป็นได้ เพราะอาชีพที่ค่อนข้างเสี่ยงอันตรายนี้ ต้องเรียนจบวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงช่างไฟฟ้า (ปวส.) หรือจบวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเท่านั้น ซึ่งถ้าหากใครไม่ได้จบโดยตรง จะต้องไปเรียนเพิ่มเติมให้ได้วุฒิการศึกษาที่กำหนด เพื่อใช้สอบเข้าทำงานช่างไฟฟ้านั่นเอง  เหมือนอย่างที่ ‘คุณเต้-พิพัฒน์พงษ์ สุรพิพิธ’ พนักงานช่างระดับ 3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาย่อยอำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทราที่พาเราขึ้นรถกระบะลงพื้นที่ตามติดภารกิจช่างไฟครั้งนี้ ที่ไม่ได้เรียบจบตรงสาย เพราะครอบครัวอยากให้เรียนรัฐศาสตร์เพื่อรับราชการ แต่เมื่อได้ลองทำงานกลับพบว่าไม่ใช่ เลยไปสมัครเป็นลูกจ้างช่างไฟ เก็บเกี่ยวประสบการณ์นานถึง 4 ปี ซึ่งระหว่างนั้นคุณเต้ไปเรียนเสริมวุฒิปวส.ไฟฟ้าที่วิทยาลัยการอาชีพบางปะกงร่วมปีกว่า และเมื่อมีโอกาสสอบเข้า ด้วยความขยัน และชอบจริงๆ ทำให้เขาสอบติดบรรจุเป็นพนักงานช่างไฟ ภารกิจที่ 1: เตรียมพร้อมแก้ไฟ ‘แก้ไฟ’ คือภาษาที่ช่างไฟใช้กันเมื่อต้องออกไปซ่อมไฟฟ้าที่ชำรุด ซึ่งกว่าจะออกแก้ไฟได้ ช่างไฟจะต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่ทางการไฟฟ้ากำหนด เช่น การอบรมพื้นฐานช่างสาย […]

“ผมตื่นเต้นเมื่อเจอบ้านร้าง” เตอร์ ศิริวัฒน์ นักชุบชีวิตบ้านเก่าที่คนทั้ง Pantip รู้จัก

ชวนรู้จัก เตอร์-ศิริวัฒน์ นักลงทุนผู้ตกหลุมรักการรีโนเวตบ้านร้าง จนคนรักบ้านต้อง Follow ไว้

เห็นต่างทางการเมืองแล้วทำร้ายกันได้เหรอ

“เห็นต่างทางการเมืองแล้วทำร้ายกันได้เหรอ ?” คอลัมน์ Perspective ชวนอาจารย์กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมหาคำตอบที่มีคำตอบอยู่แล้วในคำถาม

ชีวิตซิ่วสามครั้งของ ‘ชะมิญช์ มิญชญาดา’ กับมุมมองการศึกษาและความหลงไหลในกาแฟที่ดีชะมัด

หนึ่งปีหนึ่งครั้งกับหนึ่งบทเพลงคุ้นหู เป็นเวลาซึ่งเด็กน้อยทุกคนต่างเฝ้าฝันว่าจะได้เป่าเทียนบนเค้กวันเกิดที่แต้มแต่งด้วยครีมหลากสีเพื่ออธิฐานถึงความฝันให้กลายเป็นจริง แต่เมื่อสิ้นเสียงเพลงแห่งการเฉลิมฉลอง ภายใต้บทเพลงที่แฝงมากับคำอวยพรนั้นมาพร้อมการแบกรับความหวังของครอบครัว เหมือนดั่งเรื่องราวในวันเกิดของเธอผู้นี้ ชะมิญช์-มิญชญาดา บุญเรือง หากของขวัญที่ได้รับในวันนั้นยังคงเป็นส่วนหนึ่งที่ยังคงค้างคาใจไปตลอดชีวิต

เด็กอาชีวะต้องพิสูจน์ตัวเอง ?

“เด็กอาชีวะต้องพิสูจน์ตัวเองหรือสังคมกันแน่ที่ควรเปิดใจ” นอกจากคำบูลลี่ที่แปะป้ายว่าเกเร ไม่เอาไหนแล้ว ความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาที่มีมากจนไปถึงเรื่องทรัพยากรการเรียนไม่เอื้อจนทำให้เด็กเสียโอกาสหลายอย่าง หรือระบบแรงงานที่ถูกผลักให้เป็น ‘ตัวสำรอง’ ที่ถูกกดเงินเดือน ทั้งที่ทำตำแหน่งเดียวกับเด็กปริญญาตรี

‘แคกตัสบำบัดซึมเศร้า’ ยาแห่งความสุขที่ทำให้ ‘แมว วีรณา’ อยากตื่นมาเจอเช้าวันใหม่

ค่ำวันศุกร์หลังเลิกงาน ช่วงเวลาของสายฝนซัดกระหน่ำโปรยปรายลงมาอย่างไม่ขาดสาย คงไม่ใช่แค่เราคนเดียวที่ต้องรีบเดินฝ่าดงฝนไปขึ้นรถกลับบ้านในแถบชานเมืองเพื่อหลีกหนีจากสังคมอันแสนวุ่นวาย ระหว่างทางบนถนนวิภาวดีรังสิตอันแสนน่าเบื่อที่รถกำลังเคลื่อนตัวเป็นระยะ เรานั่งเอามือท้าวคางแล้วมองออกไปนอกกระจกรถซึ่งเต็มไปด้วยเม็ดฝนแต่ยังคงพอมองเห็นแสงสว่างสีส้มเลือนลางจากข้างทางสาดส่องเข้ามาบ้าง ณ ขณะหนึ่งเราเผลอพูดกับตัวเองออกมาเบาๆ ว่า “เหนื่อยเนอะ” เป็นเพราะเรากำลังก้าวเข้ามาในโลกของการทำงานจริง คงเหมือนที่ใครหลายคนเคยเล่าให้ฟังว่า “ภาระอันยิ่งใหญ่มักมาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง” มันเป็นแบบนี้นี่เอง

1 16 17 18 19 20 33

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.