PEOPLE
ฟังเสียง ‘คนตัวเล็ก’ ไปจนถึง ‘คนตัวใหญ่’ ที่จะมาถ่ายทอดแนวคิด มุมมอง รวมถึงแรงบันดาลใจ เพื่อสะท้อนสังคมที่มีความหลากหลาย เพราะเสียงของทุกคนล้วนสำคัญ
ครูประทีป รอดภัย ศิษย์ครูโจหลุยส์รุ่นแรก และช่างทำหัวโขนสุดท้ายแห่งบางซื่อ
ตามหาช่างทำหัวโขนคนสุดท้ายแห่งย่านบางซื่อ ชวนคุยถึงความหลงใหลในศิลปะเก่าแก่ของไทย
รับมืออย่างไร เมื่อเจอโพสต์อยากฆ่าตัวตายบนโลกโซเชียล
“เรามีความสุขเป็นพิเศษ คงเป็นเพราะวันนี้คือวันสุดท้ายของการมีชีวิตอยู่”“เราคงไม่ได้ตื่นขึ้นมาเห็นพระอาทิตย์ในวันพรุ่งนี้อีกต่อไปแล้ว”“สำหรับเราความตายไม่ใช่ความเจ็บปวดที่สุด แต่คือการมีชีวิตอยู่ต่างหาก” ถ้อยคำที่แฝงไปด้วยความเจ็บปวดจากคนแปลกหน้าบนโลกอินเทอร์เน็ต เป็นสัญญาณเตือนภัย เพื่อบอกว่าเบื้องลึกจิตใจของ ‘เขา’ ต้องการความช่วยเหลือมากกว่าสิ่งอื่นใด จำนวนโพสต์บนหน้าไทม์ไลน์โซเชียลมีเดียของเขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามเข็มนาฬิกาที่กำลังเดินไปข้างหน้า หนึ่งโพสต์ “เราควรช่วยเหลือเขาไหม” สองโพสต์ “หรือเราต้องเคารพการตัดสินใจของเขา” สามโพสต์ “ถ้าช่วยต้องทำยังไง” หนึ่งชีวิตที่ไม่เคยรู้จักกัน แต่ความเป็นความตายของเขากลับปรากฏขึ้นตรงหน้า ส่งผลให้เกิดความลังเลไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร เพราะคอมเมนต์บางส่วนอวยพรให้เขาไป แต่บางส่วนพยายามดึงให้เขากลับมา แล้วเราต้องทำอย่างไร ถ้าหากเจอ ‘คำเตือนแห่งความตาย’ โลดแล่นบนอินเทอร์เน็ต ฉันจึงชวน ‘ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี’ อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมพูดคุยถึงวิธีการรับมือในประเด็นนี้ ซ่อนเหตุผลบางอย่างในทุกการโพสต์ คุณคิดอะไรอยู่: เบื่อว่ะ วันนี้ไม่มีความสุขเลย คุณคิดอะไรอยู่: ผิดหวังกับคะแนนสอบอีกแล้ว อยากหายตัวไปเลย คุณคิดอะไรอยู่: ชีวิตนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว เราไม่อยู่เป็นภาระใครแล้วนะ คิดจะโพสต์ก็โพสต์ไม่ใช่เรื่องสิ้นคิด เพราะหลายคนเลือกระบายความอัดอั้นตันใจ ลงกล่องข้อความบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ความเศร้า ความผิดหวัง ความเหนื่อย ความท้อแท้ หรือบังเอิญเจอเรื่องตลก ทุกข้อความที่พิมพ์ ย่อมมีสาเหตุที่ทำให้เขาอยากโพสต์ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นสะท้อนตัวตน ตั้งแต่อารมณ์ ความรู้สึก ความนึกคิด ไปจนถึงประสบการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่ ณ […]
แม็กซ์ เจนมานะ พ่อแก่นเซี้ยวที่สอนให้ลูกรู้จักความเทาของคนและใช้ชีวิตให้เก๋ากว่าพ่อ
สัมภาษณ์ : แม็กซ์-ณัฐวุฒิ เจนมานะประเด็น : แม็กซ์กับบทบาทความเป็นพ่อของน้องชัดเจนบรีฟ : สัมภาษณ์พร้อมถ่ายภาพประกอบ แต่งตัวแก่นเซี้ยว สนุกๆ มาเลยนะคะ “ได้เลยครับ 55555” แม็กซ์พิมพ์ตอบภายใน 2 นาทีหลังจากส่งบรีฟให้เขาทางไลน์ ถัดจากฉันไม่ถึง 3 ก้าว คือชายผิวขาว ตาสีน้ำตาลอ่อน มีโครงหน้าค่อนไปทางฝรั่งจนฉันเคยเข้าใจผิดว่าเขาเป็นลูกครึ่งแน่ๆ ตั้งแต่ประกวดร้องเพลงเวที The Voice Thailand ไปจนถึงออกซิงเกิลติดปากมากมาย เช่น ไวน์, วันหนึ่งฉันเดินเข้าป่า, ปีศาจ และล่าสุด วันนี้ฉันอยากไปทะเล แต่แท้จริงเขาเป็นลูกชายคนโตประจำตระกูลเจนมานะ บ้านที่แวดล้อมไปด้วยคนไทยเชื้อสายจีน มีอากง อาม่า ป๊า ม๊า ที่เลี้ยงดูอย่างเข้มข้นและเข้มงวดบ้างตามค่านิยมสังคม แถมถูกปลูกฝังความเป็นปึกแผ่นในครอบครัวใหญ่ตามแบบฉบับธุรกิจกงสี ฉะนั้น จะเรียกเขาว่าลูกครึ่งไทย-จีน คงไม่ผิดเพี้ยน แม้แม็กซ์เติบโตมากับแนวคิดดั้งเดิมของคนรุ่นก่อน แต่ทัศนมิติรอบด้านในฐานะ ‘พ่อคน’ กลับใหม่เอี่ยมและจี๊ดจ๊าด เพราะ เด็กชายชัดเจน เจนมานะ ลูกชายวัย 5 ขวบครึ่งของเขาไม่ต้องคิดเรื่องทดแทนบุญคุณ ไม่ต้องมาเลี้ยงเขายามแก่ […]
จะเป็น ‘มนุษย์ที่มีศีลธรรม’ หรือเป็น ‘ลูกน้องที่ดี’ ในประเทศ ‘นายสั่งมา’
ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐใช้แก๊สน้ำตาสลายผู้ชุมนุมที่เรียกร้องประชาธิปไตยโดยไม่ประกาศก่อน“นายสั่งมา” ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐมีสิทธิ์ทำร้ายทีมแพทย์อาสาในม็อบ“นายสั่งมา” ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐสามารถจับ ซีรอส วีรภัทร เยาวชนอายุ 17 ปี และ โตโต้ ปิยรัฐ แกนนำการ์ดวีโว่ โดยไม่มีหมายศาลได้“นายสั่งมา” ทำไมเจ้าหน้าที่รัฐถึงขับรถคุมขังชนสิ่งกีดขวางได้โดยไม่กลัวใครได้รับบาดเจ็บหรือข้าวของเสียหาย“นายสั่งมา” 9 มีนาคม ปี 2564 เวลา 14.00 น. ฉันพกประโยค “นายสั่งมา” คำตอบที่เจ้าหน้าที่รัฐพูดในหลายเหตุการณ์ทางการเมืองตั้งแต่ปีที่แล้วยันปีนี้ ไปคุยกับ ผศ. ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงเบื้องหลังประโยคดังกล่าว การกระทำรุนแรงของเจ้าหน้าที่รัฐ สามัญสำนึกความเป็นมนุษย์ ทางเลือกทางศีลธรรมกับหน้าที่การงาน อำนาจนิยม ความกลัว และพลังของประชาชนที่เชื่อในหลักสิทธิมนุษยชน เพื่อวิเคราะห์เหตุการณ์ในอดีต ปัจจุบันที่ยังคงร้อนระอุ และความหวังในอนาคตที่ไม่มีใครพูดว่า ‘นายสั่งมา’ อีก นายสั่ง…ต้องทำ ระบบติดตั้งเซิร์ฟเวอร์ ป้อนคำสั่ง กดปุ่ม และรอให้ทำตามคำสั่ง เป็นระบบที่รู้กันดีอยู่แล้วว่ามันเกิดขึ้นจริงใน ‘หุ่นยนต์’ ไร้ชีวิต ไร้หัวใจ และไร้สมองในการวิเคราะห์แยกแยะ สั่งอะไรมาผมทำตามหมด! ทว่าความน่ากลัวอยู่ที่ […]
โดม ธิติภัทร นักจิตวิทยาผู้อยากขจัดความคิดว่า บำบัดจิต = บ้า
ถึงคุณที่กำลังเริ่มต้นอ่านบรรทัดแรก รบกวนยกมือขวาสัมผัสที่อกข้างซ้ายสักครู่ ก้อนเนื้อที่ใหญ่กว่ากำปั้นเล็กน้อยเป็นอย่างไรบ้าง มันกำลังบีบและคลายเพื่อบอกว่าคุณสุข เศร้า เหงา ทุกข์ หรือมันกำลังร้องบอกว่า ‘อยากปรึกษากับใครสักคน’ แต่เพราะการปรึกษาใจ หรือใช้คำศัพท์เชิงการแพทย์ว่า บำบัดจิต มีภาพจำในแง่ลบมากกว่าภาพบวก บ้างมองว่าเป็นบ้า บ้างด่วนสรุปไปแล้วว่าผิดปกติ ทว่าความจริงไม่ใช่อย่างนั้น และ โดม ธิติภัทร รวมทรัพย์ นักจิตวิทยา ควบด้วยสถานะนักศึกษาปริญญาโทด้าน Art Psychotherapy ที่ Goldsmiths, University of London ประเทศอังกฤษ อยากทลายความคิดนี้ให้หมดสิ้นจากสังคม พร้อมพาเรื่องสุขภาพจิตมาใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของทุกคนด้วยการให้ความรู้ และคำปรึกษาออนไลน์ผ่านเพจ he, art, psychotherapy ยามที่สังคมยังมีความคิดว่า การเข้ารับบำบัด = บ้า เรานัดสนทนากับโดมที่ H.O.N. House of Nowhere โฮมคาเฟ่ในซอยปรีดีพนมยงค์ที่มีแกลเลอรีด้านข้าง และจัดสตูดิโอถ่ายภาพไว้ด้านบน สิบเอ็ดนาฬิกาถึงเวลานัดหมาย เขามาถึงร้านพร้อมกลิ่นหอมกรุ่นของกาแฟ Dirty ก่อนเลื่อนเก้าอี้ฝั่งตรงข้าม แล้วหย่อนตัวนั่งอย่างสบายๆ สองบทบาทใน He คนเดียว […]
อแมนด้า ออบดัม สาวภูเก็ตผู้เคยรับบทผู้ป่วยโรคคลั่งผอม และนางงามผู้รับบทนักฟัง
10 นาทีก่อนเปิดเครื่องบันทึกเสียง อแมนด้า-ชาลิสา ออบดัม ผู้ครองตำแหน่งนางงามเวที Miss Universe Thailand ปี 2020 วางแก้วกาแฟราคา 25 บาทของเธอลงบนโต๊ะ พร้อมบอกว่านี่คือสิ่งที่กินแทบทุกเช้าให้ตาตื่น สักพักสาวภูเก็ตลูกครึ่งไทย-แคนาดาวัย 27 ก็เริ่มจัดระเบียบผมของเธอหลังนั่งวินมอเตอร์ไซค์มาสถานที่นัดหมาย อีกทั้งยังพูดปนขำกับฉันว่า ตั้งใจแต่งหน้ามาเป็นพิเศษเพื่อวันนี้! ก่อนเม้ากันถึงสารคดี 3 เรื่องใน Netflix ที่เธออยากแนะนำให้ดู ได้แก่ Crime Scene: The Vanishing at the Cecil Hotel, Evil Genius และ I Am A Killer ซึ่งล้วนเป็นสารคดีแนวสืบสวนที่ชวนสำรวจพฤติกรรมตัวละครว่าใครโกหก ใครร้าย ใครเห็นอกเห็นใจ ทำไมตัวละครถึงทำแบบนั้น มีปมอะไรอยู่เบื้องหลังจิตใจกันแน่ “สารคดีทำมาจากเรื่องจริง และชี้ให้เห็นว่าคนน่ากลัวกว่าผีซะอีก” ฉันพยักหน้าตามคำพูดเล่นๆ แต่จริงจังของอแมนด้า บางคนร้องขอความช่วยเหลือ แต่ไม่มีใครฟัง บางคนฟังหูซ้ายทะลุหูขวา แล้วย้อนกลับมาพูดเรื่องตัวเอง หรือบางคนฟังปัญหาแล้วตอบกลับมาว่า “คนอื่นเขาเจอเรื่องแย่กว่าเธออีก” […]
รุ่งทิพย์ ActionAid จากเยาวชนสนใจปัญหาสังคมสู่นักเคลื่อนไหวผู้สู้ไม่ให้ รร. ขนาดเล็กถูกยุบ
เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่เรียนโรงเรียนขนาดเล็กใกล้บ้านตั้งแต่อนุบาล-ประถมฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ต้องย้ายไปอยู่บ้านญาติในตัวเมืองเพื่อเรียนชั้นมัธยมฯ “ไปอยู่กับป้าเถอะลูกจะได้ไม่ต้องตื่นเช้ามาก เดินทางก็ไม่อันตรายด้วย” พ่อแม่ว่า เพราะบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนร่วมยี่สิบห้ากิโลเมตร ถ้าไม่ยอมห่างอ้อมอกพ่อแม่ก็ต้องยอมตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อขึ้นรถรับ-ส่งที่จ่ายเป็นรายเดือนแต่เช้าตรู่ และกลับถึงบ้านในเวลาเกือบฟ้ามืด เราในวัยนั้นจนถึงเราในวัยนี้รู้สึกว่าทำไมการเรียนหนังสือให้ครบตามหลักสูตรการศึกษาถึงต้องไกลบ้านออกไปทุกที แต่ยังดีที่พอมีโรงเรียนละแวกบ้านอยู่บ้าง แม้จะถูกจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ที่กระทรวงศึกษาธิการไล่ ยุบ-ควบรวม มานานเกือบ 3 ทศวรรษ ปี 2536 กระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นโจทย์จากทาง ธนาคารโลก (World Bank) ที่ทำการวิจัยแล้วพบว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก จะทำให้เด็กได้เรียนกับคุณครูครบทุกช่วงชั้น และครบทุกวิชา ไม่น่าเชื่อว่าปีที่หลายคนเพิ่งลืมตาดูโลกอย่างยังไม่ประสากับการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กก็ถูกไล่ยุบ-ควบรวมเสียแล้ว หากแต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเราว่า สถานศึกษาใกล้บ้านนั้นมีความสำคัญและจำเป็นต่อเด็กในทุกพื้นที่ ยิ่งถ้ามีโรงเรียนใกล้บ้านยิ่งส่งเสริมให้เด็กเข้าถึงการศึกษาได้อย่างดี รุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายโครงการและนโยบาย องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย (ActionAid Thailand) เป็นอีกคนที่คิดเช่นนั้น เกือบ 10 ปีที่เธอร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเต็มกำลัง เพื่อแถลงให้ใครต่อใครได้รู้ว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่ใครเขาว่าดี มีผลเสียซุกอยู่ใต้พรม และเราสัญญากับเธอไว้ว่า จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนอย่างสุดความสามารถผ่านบทความชิ้นนี้ เพื่อให้สังคมไทยตระหนักว่า โรงเรียนขนาดเล็กร่วม 15,000 แห่งทั่วประเทศไม่ควรถูกยุบ-ควบรวม ร. รุ่งทิพย์ หากเท้าความถึงการต่อสู้ของรุ่งทิพย์ […]
‘ตัวห่างไกลแต่ใจไม่ห่างกัน’ เมื่อการสื่อสารช่วยรักษาความสัมพันธ์ในวันที่มีระยะห่าง
‘LINE’ สื่อกลางเชื่อมทุกความห่างไกล จากความคุ้นชินในชีวิตคนเราเพราะใช้ทุกวัน กับบทบาทของการเป็นแชทแอปฯกลับมาเด่นชัดในชีวิตคนไทยอีกครั้ง เกิดเป็น ‘โมเมนต์’ น่ารักชวนอบอุ่นใจและคุณค่าของการสื่อสารที่ทุกคนสัมผัสได้
“เป็นพี่ต้องเสียสละ” คำสอนที่ ‘ลูกคนโต’ แบกไว้บนบ่า
“ยอมน้องหน่อยลูก”“ขอให้น้องเล่นก่อนนะ”“หนูเป็นพี่ต้องเสียสละให้น้อง” เป็นพี่ต้องเสียสละจริงหรือ-คำถามที่คนเป็น ‘พี่’ ได้แต่เก็บเงียบไว้ในใจ เพราะไม่ว่าพี่บ้านไหนก็ล้วนถูกพ่อแม่ปลูกฝังให้ต้องเสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับคนเป็นน้อง แต่หากค้นลงไปให้ลึกถึงก้นบึ้งใจ ก้อนเนื้อในอกข้างซ้ายของลูกคนโตอาจมีบาดแผลจากคำสอนที่ว่าซึ่งยังไม่หายซุกซ่อนอยู่ เปิดประเด็นเรื่องพี่น้องกับ หมอโอ๋ หรือ ผศ. พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร-กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกผ่านเพจ เลี้ยงลูกนอกบ้าน ถึงสิ่งที่ทำให้เชื่อว่าพี่ต้องเสียสละ ไปจนถึงผลที่กระทบต่อความสัมพันธ์ และคำแนะนำสำหรับสอนพี่น้องให้รู้จักเสียสละและแบ่งปันซึ่งกันและกันอย่างเต็มใจ มายาคติที่บีบให้พี่ต้องเสียสละ ความเป็นพี่และเป็นน้องถูกมายาคติตีกรอบไว้มากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งเหล่านั้นล้วนเป็นตัวกำหนดลักษณะนิสัยของพี่น้องจนกลายเป็นภาพจำที่ถูกส่งต่อ บริบทศาสตร์แห่งจิตวิทยา สมัยก่อนมีหลักทางจิตวิทยาที่ใช้บ่งบอกถึงลักษณะของคนอายุมากกว่า และน้อยกว่า ซึ่งกำหนดให้ พี่ ต้องมีความเป็นผู้นำ มีความรับผิด และต้องคิดถึงคนรอบข้าง ส่วน น้อง จะกล้าคิด กล้าทำ รั้น และเป็นตัวของตัวเองอย่างสุดขีด และท้ายที่สุดถูกผลิตสู่ความเชื่อซึ่งยอมรับได้ บริบททางสังคมและวัฒนธรรม ความคิดที่ว่า คนอายุมากกว่าต้องมีความรับผิดชอบ และเสียสละมากกว่า คืออีกหนึ่งสิ่งที่บีบพี่ให้เป็นไปตามกรอบซึ่งวางไว้ อย่างคำเล่าลือที่ว่า มีครอบครัวหนึ่ง พ่อแม่แขวนปลาทูไว้ดู แต่เสียสละให้ลูกได้กิน สิ่งนี้กลายเป็นความคาดหวังในความรู้สึกพ่อแม่ว่า คนที่โตกว่าต้องเสียสละ เหมือนที่พ่อแม่เสียสละให้ลูก ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นค่านิยมของความรักที่ดีงามไปโดยปริยาย คนดี = เสียสละ อีกวาทกรรมความดีงามที่ว่า […]
น้าเปียก วิภาดา ตำนานเสียง ‘เซเลอร์มูน’ ภาคไทยหนึ่งเดียวผู้มีอุซางิเป็นครูชีวิต
“ฉันคือสาวน้อยน่ารัก ผู้พิทักษ์ความรักและความยุติธรรม เซเลอร์มูน” ตากลมโต ผมทรงซาลาเปาคู่ ชุดกะลาสี รัดเกล้า และคทาคู่ใจ ปรากฏต่อหน้าเหล่าปีศาจ “ตัวแทนแห่งดวงจันทร์ จะลงทัณฑ์แกเอง!” สึคิโนะ อุซางิ หรือเจ้าหญิงแห่งดวงจันทร์เซเรนิตี้ แม้จะขี้แยบ่อยๆ หรือบ๊องๆ ไปบ้าง แต่เธอพกความกล้าในฐานะอัศวินเซเลอร์ ปกป้องคนที่เธอรักและผู้คนจากวายร้าย ‘อุซางิจัง’ ในคติของ อ.นาโอโกะ ทาเคอุจิ นักวาดการ์ตูนเซเลอร์มูน ไม่ได้เรียนเก่งแบบเซเลอร์เมอร์คิวรี่ ไม่ได้บู๊เก่งแบบเซเลอร์จูปิเตอร์ ไม่เห็นลางบอกเหตุล่วงหน้าเหมือนเซเลอร์มาร์ส หรือเป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลแบบเซเลอร์วีนัส แต่เธอเป็นเธอที่ไม่เคยลังเลช่วยเพื่อน คนรัก หรือคนที่ตกอยู่ในอันตราย แถมนิสัยขายขำ ตลก โปก ของเธอยังทำให้คนรอบข้างอารมณ์ดีโดยไม่รู้ตัว น้าเปียก-วิภาดา จตุยศพร วัย 64 ปี ผู้พากย์เสียงภาษาไทย ‘เซเลอร์มูน’ ตั้งแต่ยุค 90 และเซเลอร์มูนคริสตัล ปี 2014 เป็นอีกคนที่รักอุซางิและยิ้มเสมอเมื่อได้สวมบทเป็นเซเลอร์มูน ทั้งยังบอกอีกว่า อยากเป็นนักพากย์จนกว่าจะพากย์ไม่ไหว เพราะได้เรียนรู้วิชาชีวิตและการมองโลกของหลากหลายตัวละครที่เป็นเหมือนอาจารย์สอนพิเศษตลอด 40 ปีในวงการ อ.อุซางิ สอนให้ลูกศิษย์อย่างน้าเปียกรู้ว่า […]
แคร์เก่ง อินเก่ง จนเหนื่อย ชวนค้นความรู้สึก “ทำไมบางคนถึงแคร์ทุกคนบนโลก”
ด็อกมี (แสดงโดย พัคมินยอง) จากซีรีส์ Her Private Life เบื้องหน้าเป็นภัณฑารักษ์ แต่เบื้องหลังเป็นติ่งเกาหลีที่ปิดบังความลับไม่ให้เจ้านายและเพื่อนร่วมงานรู้ เพราะกลัวโดนไล่ออกและถูกนินทา อนึ่งเธอแคร์สายตาเจ้านายและคนในสังคม ซอดัลมี (แสดงโดย ซูจี) จากซีรีส์ Start-Up โกหกพี่สาวและแม่แท้ๆ ที่ทิ้งเธอไปตั้งแต่เด็กว่ามีแฟนหล่อ รวย เป็นเจ้าของธุรกิจ และการงานมั่นคง ทว่าความจริงเป็นเพียงเรื่องแต่ง เพราะอยากให้ครอบครัวมองว่าเธอโชคดี อนึ่งเธอแคร์สายตาครอบครัว อิมจูกยอง (แสดงโดย มุนกายอง) จากซีรีส์ True Beauty ทิ้งระยะห่างกับแฟน เพราะไปรู้ว่าเพื่อนสนิทของเธอแอบชอบแฟนตัวเอง แต่สาวเจ้าไม่รู้จะทำอย่างไร จึงเก็บมาหน้านิ่วคิ้วขมวดเครียดคนเดียวที่บ้าน พลางให้แฟนสงสัยอีกว่าเธองอนอะไรกันแน่ อนึ่งเธอแคร์สายตาเพื่อนจน ‘เกินนนนนน’ ไป และลืมแคร์ความรู้สึกตัวเอง 3 ซีรีส์เกาหลีข้างต้นเป็นซีรีส์ที่สนุก ลุ้น ฟิน ได้ด้วยพล็อต นักแสดง และซาวนด์ประกอบ แต่ระหว่างทางกว่าจะถึงจุดไคลแมกซ์ หลายครั้งก็ต้องทุบหมอนตอนดูอยู่หลายครั้งเพราะคาแรกเตอร์นางเอ๊กนางเอกที่ ‘แคร์ทุกคนบนโลก’ แต่ ‘ไม่แคร์ตัวเอง’ ถูกใส่พานมาประเคนให้คนดูเอาใจช่วยและเผลอพูดใส่จออยู่เนืองๆ ว่า “ทำไมแคร์ทุกคนขนาดนี้” “ไม่แคร์บ้างก็ได้” […]
เพียงฝัน นาคสุขไพบูลย์ ฝันที่เป็นได้ของ นร.แพทย์ออทิสติกไทยใน UK ซึ่งประเทศไทยให้ไม่ได้
ฟ้า-เพียงฝัน นาคสุขไพบูลย์ เป็นออทิสติกตั้งแต่เกิด อยู่นอร์เวย์ 2 ปี อเมริกา 4 ปีครึ่ง และสหราชอาณาจักร 4 ปี หนีมาจากไทย แต่ไม่ได้เกลียดไทย แค่พาตัวเองไปอยู่ในที่ที่มีความสุข กำลังเรียนสิ่งที่ชอบ (ปริญญาเอกสาขาแพทยศาสตร์) ทำสิ่งที่รัก (วิจัยมะเร็งลำไส้ มะเร็งในเด็ก และมีแพลนทำอาชีพผู้ให้คำปรึกษาทางพันธุศาสตร์) มีงานอดิเรกที่เข้าขั้นคลั่งรัก (เดินสวนสาธารณะ ชมสวนพฤกษศาสตร์ และปลูกผักสวนครัว) มีเพื่อน (ที่ไม่เคยมีมาก่อนที่ไทย) และมีแฟนสาวที่กำลังจะแต่งงานในไม่ช้า (ยินดีด้วยค่ะ!) สาวไทยในสหราชอาณาจักรคนนี้พูดกับฉันด้วยภาษาไทยบ้านเกิดปนภาษาอังกฤษบ้านปัจจุบันว่า สิ่งที่กล่าวข้างต้นคือชีวิตที่โชคดี ส่วนชีวิตที่โชค (ไม่ค่อย) ดีในฐานะบุคคลออทิสติกกลับอยู่ที่ไทย เพราะถูกบุลลี่ ด่า ทำร้ายร่างกาย มองว่าเป็นโรคจิต ไม่มีเพื่อนสักคน และไร้สิทธิ์ไร้เสียง ‘ฟ้า’ วันนี้เป็นฟ้าหลังฝนที่มองเห็นศักยภาพและเสียงของตัวเองจนไม่อยากเป็นท้องฟ้าให้ผู้อ่านอ่านเรื่องราวต่อไปนี้แล้วผ่านไป แต่หวังยืนบนก้อนเมฆกลางผืนฟ้าใหญ่เพื่อบอกทุกคนว่า ถ้าคนออทิสติกได้รับโอกาสและการสนับสนุนอย่างเท่าเทียม แสงเจิดจรัสที่ชื่อว่า ‘ศักยภาพ’ จะส่องประกายมากพอให้ทำตามความฝันได้โดยไม่ต้องหยุดแค่ ‘เพียงฝัน’ 01 ออทิสติกคือความพิการ “ที่สหราชอาณาจักรตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง” “ตอนนี้สิบโมงเช้าแล้วค่ะ สวนสาธารณะแถวบ้านเพิ่งมีหงส์มาอยู่ด้วย ตื่นเต้นมาก” “ชีวิตช่วงนี้มีความสุขไหม” […]