PEOPLE
ฟังเสียง ‘คนตัวเล็ก’ ไปจนถึง ‘คนตัวใหญ่’ ที่จะมาถ่ายทอดแนวคิด มุมมอง รวมถึงแรงบันดาลใจ เพื่อสะท้อนสังคมที่มีความหลากหลาย เพราะเสียงของทุกคนล้วนสำคัญ
ความสัมพันธ์ Ghosting ผีในสังคมดิจิทัล อยู่ดีๆ ก็หาย ตามไม่ตอบ เจ็บยิ่งกว่าถูกบอกเลิก
A : สวัสดีค่ะผู้อ่านทุกท่าน ขณะนี้คุณกำลังอยู่ในรายการ ‘Shock Urban Creature’ วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องสุดสยองขวัญของผู้หญิงคนหนึ่ง เธอกำลังสงสัยว่า คนที่คุยอยู่ตอนนี้เขาเป็น ‘คน’ หรือ ‘ผี’ กันแน่ อ๊ะๆ อ่านแล้วอย่าเพิ่งขนหัวลุก ขอชวนทุกท่านไปช่วยเธอหาคำตอบเรื่องนี้กันก่อนดีกว่า B : ฉันรู้จักเขาผ่านแอปฯ หาคู่ค่ะ ช่วงแรกๆ เราคุยกันดีนะคะ พอผ่านไปสัก 2 – 3 เดือน เขาก็เริ่มมีท่าทีเปลี่ยนแปลงไป ชวนไปเที่ยวก็พูดปัดๆ ว่าไม่เอาไม่อยากไป ให้เหตุผลว่าป่วยบ้างล่ะ เหนื่อยบ้างล่ะ เลยไม่ค่อยอยากออกไปไหน ที่สำคัญพอเราทักแชตไปก็เหมือนพูดอยู่คนเดียว รู้ว่าอ่านนะแต่ไม่เคยตอบ แถมหาตัวเขาก็ไม่เจอ ไปถามใครก็บอกว่าไม่รู้ ไม่เห็น เหมือนไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้ว พูดแล้วก็ขนลุกเลยค่ะ ล่าสุดที่คุยกัน เขาบอกว่าขอไปอาบน้ำก่อนนะ ตอนนี้ 3 เดือนแล้ว เขายังอาบน้ำไม่เสร็จเลยค่ะพี่ A : อะหรือ หรือ คุณ B คะ คุณกำลังโดนผีหลอกเข้าแล้ว! […]
ตามไปสนุกกับหนึ่งวันในโลกการ์ดเกมที่ร้าน Sedai 4.5 กับ ‘วาวา-ศศิกานต์ เกื้อกูลศรี’
ในโลกนี้มีเกมมากมายให้เลือกเล่น ยิ่งกับยุคสมัยที่ใครๆ ก็สามารถใช้งานโซเชียลมีเดียและมือถือได้ แต่ ‘Tabletop Game’ หรือประเภทเกมที่จัดเล่นกันบนโต๊ะ อย่างบอร์ดเกม เกมการ์ด เกมลูกเต๋า หรือเกมโมเดลสงคราม ฯลฯ ยังคงมีผู้เล่นอยู่เสมอ และช่วงเวลาหลังโควิดซาลงทุกคนออกมาทำกิจกรรมร่วมกันได้มากขึ้น เราจึงได้เห็นว่าเกมที่ได้นั่งเล่นต่อหน้าคู่ต่อสู้จริงๆ เป็นความสนุกที่เปี่ยมไปด้วยเสน่ห์ที่ทุกคนยังคงผูกพัน “มีคุณอาท่านหนึ่งอายุน่าจะราวห้าสิบหกสิบปี ยังมาเล่นการ์ดโปเกมอนอยู่ บางสัปดาห์เขามาลงแข่งตอนมีอีเวนต์ด้วย” พนักงานร้าน Sedai 4.5 เริ่มต้นเล่าถึงสิ่งที่เขาเห็นให้เราฟัง ร้าน Sedai 4.5 คือร้านขายสินค้าการ์ดเกมและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เหล่าการ์ดเกมเมอร์ทั้งมือใหม่หัดเล่นและ Pro Player ทุกเพศทุกวัยใช้เวลามารวมตัวกัน เพื่อมาเจอหน้าเตรียมการแบตเทิลกันอย่างสนุกสนาน เช่นเดียวกับที่ ‘วาวา-ศศิกานต์ เกื้อกูลศรี’ อดีตสมาชิกของวงเกิร์ลกรุ๊ป DAISY DAISY ก็ใช้เวลาว่างของเธอเข้ามาเป็นการ์ดเกมเมอร์เหมือนกัน ‘การ์ดเกม’ มีเสน่ห์อะไรที่ทำให้ผู้คนหลากหลายวัยยังคงหลงใหลในการจัดเด็คมาลงแบตเทิลกับคนต่างวัยจนถึงทุกวันนี้ คอลัมน์ ‘One Day With’ จะตามวาวา ไปที่ร้าน Sedai 4.5 เพื่อดูกันว่าการ์ดเกมนั้นมีเสน่ห์อะไรที่ทำให้เธอหลงรักตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ลองเล่น ของเล่นในยุค 90 ย้อนหลังไปร่วม 30 ปี […]
The Booksmith ร้านหนังสือต่างประเทศที่ทำธุรกิจบนความจริง และพร้อมปรับรับการเปลี่ยนแปลง
ในบรรดาธุรกิจที่พูดแล้วโรแมนติกที่สุด สุนทรีย์ที่สุด ช่างดูมีความหมายต่อชีวิตและสังคม จะไม่มี ‘ธุรกิจร้านหนังสือ’ คงไม่ได้ ทว่าเบื้องหลังภาพโรแมนติกเหล่านั้น หากมองด้วยเลนส์การทำธุรกิจที่ต้องค้าขาย เกิดการซื้อมา-ขายไป คงปฏิเสธไม่ได้ว่าร้านหนังสือก็คืออาชีพหนึ่งที่ดำรงภายใต้กฎที่ดิน แรงงาน และทุน เหมือนธุรกิจอื่นๆ The Booksmith คือร้านหนังสือต่างประเทศที่ก่อตั้งโดย ‘สิโรตม์ จิระประยูร’ ซึ่งกำลังย่างก้าวสู่ขวบปีสิบปีที่สองของธุรกิจในปีนี้ นั่นแปลว่าเขาทำร้านหนังสือมาแล้วกว่าสิบปี และเชื่อหรือไม่ว่าบริษัทเพิ่งมาขาดทุนก็เมื่อปี 2020 ที่เจอโควิด-19 นี่เอง อาจเพราะเคยมีประสบการณ์การทำงานที่บริษัทเอเซียบุ๊คส์มาอย่างยาวนาน บวกกับการมองหาโอกาสใหม่ๆ ในแวดวงธุรกิจหนังสือและการอ่านอยู่เสมอ ทำให้สิโรตม์บริหาร The Booksmith มาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขยายอาณาจักรการอ่านจาก The Booksmith ที่เชียงใหม่ไปสู่สาขาที่สอง สาม สี่ ได้แก่ ร้านจำหน่ายนิตยสารต่างประเทศ The Papersmith ที่กรุงเทพฯ ร้าน The Booksmith ที่สนามบินดอนเมือง และสนามบินเชียงใหม่ ไปจนถึงการคอลแลบกับร้านหนังสือเชนสโตร์และซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าใหญ่ ก่อนจะตัดสินใจหยุดทำ เหลือแค่ 4 สาขาแรกที่กล่าวไปเท่านั้น โดยขอปิดทำการร้าน The Papersmith […]
‘แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน’ เพราะความรักในงานบ้าน เลยอยากให้ทุกบ้านสะอาดเรียบร้อย
คุณกำลังประสบปัญหานี้อยู่หรือเปล่า ทำงานหนักเกินไปจนไม่มีเวลาทำงานบ้าน มีเวลาว่างเมื่อไหร่ก็อยากจะพักผ่อนมากกว่าลุกขึ้นมาจับไม้กวาด หรือหากจะจ้างแม่บ้านมาทำความสะอาดก็ทำได้แค่ไล่ฝุ่นและความสกปรกออกไปเท่านั้น แต่ข้าวของที่กองรกอยู่เต็มบ้านก็ยังคงนอนแน่นิ่งอยู่ที่เดิม คงจะดีไม่น้อยถ้ามีคนมาช่วยคัดเก็บและคัดทิ้งสิ่งของต่างๆ และช่วยจัดบ้านให้สวยเนี้ยบเหมือนใหม่ ตอนแรกเราคิดว่าบริการจัดระเบียบบ้านนั้นคงจะมีแค่ในซีรีส์ จนกระทั่งได้รู้จักเพจ ‘แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน’ จากกรุ๊ปงานบ้านที่รัก ด้วยโพสต์ที่เล่าเรื่องราวการจัดบ้านของลูกค้าคนหนึ่งพร้อมแนบภาพ Before และ After ก็ทำเอาเราตกใจกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมาก เพราะภาพแรกที่เห็นนั้นเป็นห้องที่มีของวางระเกะระกะจนเต็มพื้นแทบไม่มีทางเดิน แต่ภาพถัดมากลับเป็นครัวที่โล่งโปร่งสบายและดูเป็นสัดส่วนพร้อมใช้งานทันตาเห็น เพราะอย่างนั้นเราจึงตัดสินใจติดต่อเพจแมวบินไปทันที ไม่ใช่เพราะว่าห้องของเรารกมากจนต้องใช้บริการ แต่ตัวงานของพวกเธอต่างหากที่ทำให้เราสนใจและอยากรู้จักนักจัดระเบียบบ้านมากขึ้น เริ่มจากความรักในงานบ้าน บริการแมวบินเริ่มต้นจากการปลูกฝังโดยครอบครัวของ ‘อิม-อิมยาดา เรือนภู่’ ที่มอบหมายความรับผิดชอบให้เธอตั้งแต่ยังเล็ก จนทำให้เธอมีสกิลงานบ้านต่างๆ ติดตัวมา สมัยที่เรียนอยู่อิมเคยลองไปทำงานเป็นแม่บ้าน เป็นช่วงเวลาที่ได้ตอกย้ำกับตัวเองว่า งานบ้านคือสิ่งที่เธอรักและทำออกมาได้ดีด้วย ทำให้เธอรับทำความสะอาดและจัดระเบียบบ้านมาเรื่อยๆ นอกจากงานแม่บ้านแล้ว อิมยังทำงานประจำด้านการโรงแรมตามสายที่เรียนมา และยังได้ลองทำงานสายศิลปะอย่างการตกแต่งภายในด้วย ประกอบกับที่ครอบครัวของเธอก็ทำอาชีพรับเหมาก่อสร้าง เลยทำให้ชีวิตตั้งแต่เด็กจนโตวนเวียนอยู่กับพื้นที่อยู่อาศัยมาโดยตลอด อิมเริ่มทำเพจ แมวบิน นักจัดระเบียบบ้าน อย่างจริงจังช่วงที่โควิด-19 ระบาดหนัก ซึ่งทำให้ภาระจากงานประจำของเธอลดน้อยลง ประกอบกับการนำเสนอข่าวของสื่อที่พาไปช่วยเหลือผู้ติดเชื้อที่บ้าน ทำให้เธอได้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมมากขึ้น และนั่นก็ทำให้เธอรู้สึกว่าปัญหาบ้านรกไม่ใช่แค่เรื่องของความไม่เป็นระเบียบเท่านั้น แต่อาจเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ด้วย หากว่าได้จัดระเบียบบ้านให้สะอาดเรียบร้อย ก็คงจะทำให้ห่างไกลจากโรคระบาดได้เหมือนกัน “ช่วงโควิด เราเห็นสื่อเข้าไปถ่ายตามบ้านผู้ป่วย พอเราเห็นตัวอย่างจากในทีวีแล้วรู้สึกว่าเราต้องทำอะไรสักอย่าง สิ่งที่เราชอบอย่างการจัดบ้านก็น่าจะเอามาเป็นอาชีพได้ เลยตกตะกอนว่าจะทำอาชีพนี้ […]
Haohed Studio นักทำโมเดลจิ๋ว Thai Style อาชีพที่ใส่ใจทุกความทรงจำของลูกค้า l The Professional
เราอาจจะเคยเห็นตามยูทูบต่างประเทศที่มีคนทำฉากโมเดลต่างๆ เพื่อเป็นฉากให้ของเล่นอย่างเช่นรถเหล็ก ใครจะคิดว่าไอ้ที่ดูเหมือนเป็นงานอดิเรก ไม่น่าจะสร้างรายได้อะไร ในไทยกลับมีคนนำสิ่งนี้มาทำเป็นอาชีพจนชาวต่างชาติต้องมาขอติดต่อเพื่อซื้องาน แถมช่วงหลังมานี้คนก็เริ่มหันมาสนใจอาชีพทำฉากโมเดลมากขึ้นและมีคอร์สเปิดสอนกันมากมาย แต่คุณสุริยุ โซ่เงิน (ซัน) และ คุณจุฑามาศ กระตุฤกษ์ (หนึ่ง) เจ้าของเพจ @Haohed Studio กลับรังสรรค์งานที่แตกต่างออกไป ทั้งคู่เลือกที่จะใส่ใจทุกดีเทลและนำเสนอผลงานออกมาเป็นแบบ Thai Style ถ่ายทอดภาพจำในวัยเด็กออกมาเป็นรูปแบบโมเดล Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักอาชีพช่างทำโมเดลให้มากขึ้น พร้อมกับถ่ายทอดเรื่องราวแรงบันดาลใจและความรู้สึกที่ได้ทำสิ่งที่ชอบเป็นอาชีพ
‘คนรักมวลเมฆ’ ชมรมคนชอบมองท้องฟ้าเยียวยาจิตใจ และสอนดูฝน ฟ้า อากาศให้เป็นเรื่องใกล้ตัว
ขอชวนคุณผู้อ่านทุกท่านพักความเหนื่อยล้าจากการทำงานเพียงสักนิด และลองมองออกไปนอกหน้าต่างชมท้องฟ้าใกล้ตัวกันสักหน่อย เพราะวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อว่า ‘ก้อนเมฆ’ และ ‘ท้องฟ้า’ กัน ถ้าตอนนี้สภาพท้องฟ้าปลอดโปร่งสดใส คาดว่าจะได้เจอน้องหมั่นโถว เมฆสีขาวลอยตัวเป็นก้อนเดี่ยวๆ ลักษณะคล้ายกับขนมหมั่นโถวรูปทรงกลม จริงๆ มีชื่อทางการคือ คิวมูลัส (Cumulus) หากเจอน้องโผล่มาทักทายเมื่อไหร่ ก็เป็นสัญญาณบอกได้เลยว่า ตอนนี้อากาศกำลังดี แต่ถ้าเมฆหมั่นโถวก้อนนี้เริ่มมีขนาดสูงขึ้นจนมากกว่าความกว้างของเมฆ และฐานเมฆเป็นสีเทาเข้ม ขอให้ทุกคนรีบหาร่มให้ไว เพราะน้องกำลังปล่อยฝนลงมาหาพวกเราแล้ว ถ้าคุณดูท้องฟ้าตอนเย็นช่วงพระอาทิตย์ตกไปสักพักหนึ่ง ก็อาจจะเจอ ‘Twilight Arch’ สังเกตขอบท้องฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม แดง และม่วงโผล่ขึ้นมาประมาณ 5 นาที (สามารถเจอตอนพระอาทิตย์ขึ้นได้เช่นเดียวกัน) หรืออาจเจอ ‘Vanilla Sky’ ท้องฟ้าสีส้มอมชมพูคล้ายกับสีขนมหวานมาทักทายก่อนที่ท้องฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสีดำมืดเข้าสู่ตอนกลางคืน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดูท้องฟ้าแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน แถมยังชอบเหม่อมองก้อนเมฆทุกๆ วัน แสดงว่าตอนนี้คุณอาจจะตกหลุมรักก้อนเมฆเข้าให้แล้ว อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Ouranophile’ เป็นคำมาจากภาษากรีกแปลว่า ‘ผู้หลงรักในท้องฟ้า’ ปัจจุบันมีคนไทยหลายแสนคนที่ชื่นชอบก้อนเมฆรวมตัวกันแบ่งปันภาพท้องฟ้าในแต่ละท้องที่ให้เชยชมกันใน ‘ชมรมคนรักมวลเมฆ’ กลุ่มคอมมูนิตี้ในเฟซบุ๊กที่จัดตั้งโดย ‘ชิว-ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ’ นักวิทยาศาสตร์และคอลัมนิสต์ผู้ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากมาย ที่วันนี้เขาจะเล่าให้เราฟังว่าความสุขของการดูก้อนเมฆนั้นช่วยเยียวยาจิตใจคนได้อย่างไร และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเจ้าก้อนสีขาวนี้ไปพร้อมกัน ก่อมวลเมฆ […]
‘กัลชนา เนตรวิจิตร’ พนักงานกวาดถนน ผู้เป็นฟันเฟืองของเมืองที่มากกว่าแค่ทำความสะอาด
หากพูดถึงฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำให้เมืองของเราน่าอยู่ขึ้น คุณจะคิดถึงอะไร คำตอบแรกสำหรับเราที่ผุดขึ้นมาในหัวคงเป็นบรรดาพี่ๆ ที่ทำงานบริการใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ยิ่งในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขยะจากใบไม้กับเศษกิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ไปจนถึงเศษซากอาหาร ถุงขนม กระดาษ ขวดพลาสติก หรือขยะชิ้นเล็กๆ อย่างก้นบุหรี่กับหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วจากฝีมือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ยิ่งทำให้ ‘พนักงานกวาดถนน’ ทวีความสำคัญขึ้นไปอีก วันนี้เราจึงเดินทางมายังเขตจตุจักรเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตของ ‘แก้ว-กัลชนา เนตรวิจิตร’ ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานทั่วไป (กวาด) ที่ก่อนหน้านี้เธอออกสื่อมาแล้วมากมาย เนื่องจากมีโอกาสได้รับประทานอาหารกับผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลังจากเหตุการณ์ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหอวังที่โดนโจรจี้ เราหวังว่าถ้อยคำต่อจากนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงการทำงาน ความเป็นอยู่ ทั้งในเรื่องของรายได้และรัฐสวัสดิการของอาชีพพนักงานกวาดถนนมากขึ้นอีกหน่อย แล้วทุกคนจะรู้ว่าคนทำงานตัวเล็กๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันมีความสำคัญต่อเมือง และต้องการคุณภาพในการใช้ชีวิตไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากอาชีพอื่นๆ เลย พนักงานกวาด ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่กวาด ในขณะที่ชีวิตของใครหลายคนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า แต่ชีวิตทุกวันของแก้วกลับเริ่มต้นขึ้นในยามที่ดวงจันทร์กำลังลาลับไป “เราตื่นนอนออกจากบ้านประมาณตีสี่ครึ่ง มาถึงก็ไปเอาไม้กวาดกับบุ้งกี๋มากวาดตรงจุดรับผิดชอบที่เขากำหนด จากนั้นมีเวลาพักช่วงแปดถึงเก้าโมงหนึ่งครั้ง ก่อนกลับมากวาดรอบสอง และนั่งอยู่บริเวณที่รับผิดชอบเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน” ‘เหตุการณ์ฉุกเฉิน’ ที่ว่ารวมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างขยะปลิว ไปจนถึงต้นไม้หัก น้ำท่วม หรือรถยนต์ที่ผ่านไปมาทำน้ำมันหก ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของพนักงานกวาดถนนทั้งนั้น แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นพนักงานกวาดถนน แต่หน้าที่การงานไม่ได้ทำแค่กวาดอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพราะควบรวมไปถึงการดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างในพื้นที่นั้นๆ ด้วย […]
กระจกสี ป้าแก้ว เจ้าของร้านประกายแก้ว l The Professional
รู้ไหมว่า งานกระจกสีสวยงามที่เราเห็นที่ 1 – 3 ของโบสถ์คริสในไทย ล้วนมาจากฝีมือผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง จากความหลงใหลในกระจกสีวัดนิเวศธรรมประวัติ ทำให้ ป้าแก้ว-พวงแก้ว นันทนาพรชัย เจ้าของร้านประกายแก้ว อยากทำชิ้นงานแบบนี้ดูบ้าง แม้ 10 นิ้วมือจะเต็มไปด้วยบาดแผล แต่ป้าแก้วกลับบอกว่า “เมื่อชิ้นงานเหล่านี้ถูกติดตั้ง ทุกคนเห็นแล้วมีความสุข ตัวป้าเองก็มีความสุข” แม้จะไม่ใช่ร้านเก่าแก่ที่สุด แต่ผลงาน กระจกสีของร้านประกายแก้วเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจ จนเราได้เห็นมันบนวัดกาลหว่าร์ วัดเซนต์หลุยส์ ในวันนี้ Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักกระจกสีให้มากขึ้นกับ ป้าแก้ว ร้านประกายแก้ว ที่ถือคติว่า “แม้หากเราไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว แต่ศิลปะเหล่านี้ยังต้องอยู่ ศิลปะจงเจริญ”
“เกษตรอินทรีย์ช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติ” ทางฟื้นเชียงดาวด้วยธุรกิจของ จิราวรรณ คำซาว
เราเชื่อว่า ‘ดอยเชียงดาว’ คือสถานที่ท่องเที่ยวในเชียงใหม่ที่หลายคนหลงรักหรือปักหมุดอยากไปเยือนสักครั้ง เพราะที่นี่มีกิจกรรมไฮไลต์ที่จะพาผู้คนหนีความวุ่นวายในเมือง กลับสู่พื้นที่ท่ามกลางธรรมชาติที่สงบและสวยงาม ตั้งแต่การเดินป่าสำรวจสิ่งแวดล้อม แวะเข้าถ้ำ ลุยลำธารน้ำตก ไปจนถึงการตื่นเช้าขึ้นดอยไปดูทะเลหมอกสุดลูกหูลูกตาแบบฟินๆ ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าดอยเชียงดาวไม่ได้เป็นแค่จุดหมายปลายทางยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่เมื่อปี 2564 ที่นี่ยังได้รับการยกย่องจากองค์การระดับโลกอย่าง ‘ยูเนสโก (UNESCO)’ ให้เป็น ‘พื้นที่สงวนชีวมณฑล’ แห่งที่ 5 ของไทย และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลของโลก พิจารณาจากการรักษาระบบนิเวศดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน การฟื้นฟูพื้นที่เพื่อคืนความสมบูรณ์ให้แก่ธรรมชาติ รวมไปถึงศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของพื้นที่ที่มีระบบการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ ความโดดเด่นทางธรรมชาติและระบบนิเวศของดอยแห่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะการพัฒนาและความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และคนในท้องถิ่นที่มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อส่งต่อระบบนิเวศและทรัพยากรให้คนรุ่นต่อไป วันนี้ เรามีนัดพูดคุยกับ ‘มล-จิราวรรณ คำซาว’ อดีตนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ หนึ่งในหัวหอกสำคัญที่เปลี่ยนวิถีเกษตรชุมชนของเชียงดาวผ่านการเผยแพร่ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรมานานกว่า 10 ปี มลวัย 35 ปี เคยทำงานเป็นนักวิจัยที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 2 ปี แต่หลังจากเจอปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอาหารปนเปื้อนเคมี เธอจึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อกลับบ้านเกิดที่เชียวดาวไปทำเกษตรอินทรีย์ที่ส่งเสริมทั้งสุขภาพของตนเองและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน จากนั้นก็ขยับขยายก่อตั้งบริษัทพัฒนา วิจัย และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่าง ‘CNX Healthy Products’ ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ครบวงจร ‘ทุ่งกับดอย’ […]
นั่งรถรางส่องประวัติศาสตร์กับ Co-create Chiang Rai โปรเจกต์พัฒนาเชียงรายให้เป็นเมืองสร้างสรรค์
01 ความทรงจำน้อยนิดระหว่างเราและจังหวัดเชียงราย คงเป็นวันหนึ่งในฤดูฝน แดดเช้าเย็นฉ่ำด้วยอายกลิ่นเมฆครึ้มในร้านกาแฟ ชาวเมืองต่างแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดที่ต้องไปให้ได้เมื่อมาเยือนแดนเหนือถิ่นนี้ เช่น เดินชมงานที่ ขัวศิลปะ ไป วัดร่องขุ่น ดูลวดลายฝีมืออาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และที่ขาดไม่ได้คือ บ้านดำ พิพิธภัณฑ์แห่งชีวิตของถวัลย์ ดัชนี ซึ่งทุกสถานที่ที่เอ่ยมาล้วนอยู่นอกเมือง วิธีเดินทางง่ายๆ ที่แนะนำต่อกันมาคือ การเช่ารถยนต์สักคันเพื่อประหยัดทั้งเงินและเวลา เราอดคิดซ้ำๆ ในใจไม่ได้ว่าขนส่งสาธารณะทุกๆ ที่ควรเร่งปรับปรุงแก้ไขได้เสียที กลับมาเชียงรายอีกครั้งในฤดูกาลเดียวกันกับคราวก่อน รอบนี้เราไม่ได้ออกไปนอกเมือง แต่กำลังนั่งอยู่บนรถรางไฟฟ้า “วันนี้เป็น Test Day ทดลองใช้และดูระยะการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนขนาดเล็กภายในเมือง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ในเมืองเชียงราย” อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พูดผ่านไมค์เป็นการทักทายสำหรับการนำทัวร์เมืองล้านนาในวันนี้ ปกติแล้วรถรางไฟฟ้าของทางเทศบาลจะให้บริการในเมืองวันละ 2 รอบ แล่นไปยัง 4 จุดสำคัญ เป็นเส้นทางรถรางเชิงท่องเที่ยวสำหรับไหว้พระในเมืองเก่าเชียงรายที่มีหลายสิบวัด แต่เพื่อการซัปพอร์ตมิติที่หลากหลายของผู้คนในเมืองมากขึ้น Test Day วันนี้เลยเพิ่มรอบรถรางเป็นทั้งหมด 8 รอบ ในบริเวณ 10 จุดสถานที่ที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA), สำนักงานในจังหวัดเชียงราย, กลุ่มนักสร้างสรรค์ท้องถิ่น และคนในชุมชน […]
“คุณภาพชีวิตต้องดี งานสร้างสรรค์จึงเบ่งบาน” สนทนากับสหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ
หากคุณคลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ ข้อความที่คุณกำลังบรรจงอ่านอยู่ คือบทสัมภาษณ์ที่ฉันใช้เวลาขัดเกลาและร้อยเรียงมันออกมาอย่างตั้งใจ ภาพถ่ายประกอบบทความที่คุณมองเห็นล้วนเป็นฝีมือช่างภาพของเรา ที่ใช้ประสบการณ์ของเขาจัดวางองค์ประกอบ และถ่ายทอดออกมาในเวอร์ชันที่ดีที่สุด นี่คงตอบได้ว่างานสร้างสรรค์อยู่ใกล้ตัวคุณ และแฝงอยู่ทั่วทุกมุมของสังคม อะไรที่คุณอ่าน อะไรที่คุณเห็น อะไรที่คุณฟัง อะไรที่คุณชื่นชม ล้วนมาจากการ ‘สร้างสรรค์’ ทว่าความสร้างสรรค์ของเหล่านักสร้างสรรค์หลายคน ต้องชะงักลงเพราะความไม่ยุติธรรมที่พวกเขาเจอในสายอาชีพ ทำไมนักเขียนบางคนถูกกดเงินค่างานเขียนไว้ที่ราคาเดียวมาเป็นสิบปี ทำไมนักวาดบางคนได้รับค่าจ้างไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำไมคนทำหนังชอบทำให้การทำงานหนักๆ โดยไม่สนคุณภาพชีวิตคนกองเป็นเรื่องปกติ ทำไมบางหน้าที่ในกองถ่ายไม่ได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกันทุกคน ทำไม ทำไม และทำไม “พวกเรามีตัวตน เหนื่อยเป็น และงานสร้างสรรค์นั้นสำคัญ” นี่คือสารที่เราอยากส่งออกไปให้ถึงทุกคนในบทความนี้ เช่นเดียวกับ ‘ไนล์-เกศนคร พจนวรพงษ์’ และ ‘อิง-ไชยวัฒน์ วรรณโคตร’ สองสมาชิกผู้ก่อตั้ง ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย’ (Creative Workers Union Thailand) หรือ CUT ที่มุ่งขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม ความปลอดภัยในการทำงานที่เป็นศูนย์ สวัสดิการติดลบ การไม่ถูกให้คุณค่าในงาน หรือแม้แต่สิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่ได้รับ พร้อมเปิดวงวิพากษ์ความเผด็จการทั้งระดับเจ้านายในองค์กรและรัฐบาล อ่านจบแล้ว ถ้อยคำของพวกเขาอาจจะตรงกับชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ที่บางคนเผชิญอยู่ไม่ทางใดทางหนึ่งก็ได้ และไม่แน่ อาจมีใครบางคนคิดว่า ฉันก็อยากออกมาพูดถึงเรื่องราวการถูกกดทับของตัวเองเหมือนกัน ทำไมถึงเลือกเป็นปากเป็นเสียงให้คนทำงานสร้างสรรค์ […]
มนต์รักรถไขว่คว้า ลิเกเร่ที่อยากผลักดันให้รถไฟฟ้าเป็นบริการสาธารณะของทุกคน
ช่วงสองเดือนที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครดูจะมีกิจกรรมให้ชาวเมืองได้ร่วมสนุกกันอยู่ตลอด ทั้งดนตรีในสวนในเดือนมิถุนายน และเทศกาลหนังกลางแปลงในเดือนกรกฎาคมนี้ ทำให้ผู้คนได้ออกจากบ้าน มีกิจกรรมใหม่ๆ นอกจากเดินห้างฯ อีกทั้งยังช่วยให้เมืองมีชีวิตชีวาและคึกคักยิ่งกว่าเดิม อีเวนต์เหล่านี้ถือเป็นกิจกรรมเพื่อประชาชน ที่อยากให้คนเมืองมีส่วนร่วมมากที่สุด เพราะส่วนใหญ่จัดขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ที่ชาวกรุงเข้าถึงได้แบบชิลๆ ด้วยรถโดยสารสาธารณะอย่างรถเมล์ ไปจนถึงรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดินสำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็ว ทว่าแม้จะเป็นกิจกรรมที่เปิดให้เข้าร่วมฟรี แต่ก็ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะด้วยเพราะอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากตัวเมือง หรือแม้แต่การเดินทางที่ไม่สะดวกก็ตาม ต้องยอมรับว่าการโดยสารรถไฟฟ้านั้นช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้มากพอสมควร ไม่ต้องเสียสุขภาพจิตไปกับการเอาแน่เอานอนไม่ได้ในเมืองที่เต็มไปด้วยการจราจรติดขัดและปัญหาบนท้องถนน เราเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เลือกใช้รถไฟฟ้าในวันที่เร่งรีบ หรือไม่อยากเสี่ยงกับรถติด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ใช้ชีวิตในเมืองจะสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าได้อย่างที่ต้องการ เพราะความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน ‘กลุ่มดินสอสี’ จึงเข้าร่วมโครงการสนับสนุนข้อเสนอและการรณรงค์เรื่องรถไฟฟ้าในชื่อ ‘ขนส่ง ขนสุข สาธารณะ’ ร่วมกับสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ในการจัด ‘ลิเกเร่เตร็ดเตร่ชุมชน’ เพื่อให้ ‘กลุ่มคนชายขอบ’ หรือกลุ่มคนจนเมืองที่เรียกได้ว่าเป็น ‘เส้นเลือดฝอย’ ได้มีโอกาสสนุกกับลิเกที่จะเข้าไปเล่นตามชุมชนของพวกเขากันบ้าง และกิจกรรมนี้ยังเป็นกระบอกเสียงเรื่องสิทธิและการเข้าถึงรัฐสวัสดิการอย่างเท่าเทียมให้แก่กลุ่มคนที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเมือง แต่แทบไม่ได้มีโอกาสใช้รถไฟฟ้าในฐานะรถสาธารณะเลย คณะลิเกเร่จะเข้าไปในบรรดาชุมชนที่ไม่มีโอกาสได้ใช้บริการรถไฟฟ้า หรืออาจจะน้อยจนนับครั้งได้ แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลก็ตาม แต่ด้วยราคาค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ทำให้บางกลุ่มที่มีรายได้ต่ำไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ รถไฟฟ้าเป็นของทุกคน “รถไฟฟ้าเป็นการเดินทางที่สะดวกของคนชนชั้นกลาง แต่ในความเป็นจริงแล้ว รถไฟฟ้าควรจะมีไว้เพื่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนชนชั้นไหนก็ตาม เราอยากให้ทุกคนใช้บริการรถไฟฟ้าได้ อยากให้เข้าถึงทุกคน ไม่มีความเหลื่อมล้ำ” โซ่-ปริตอนงค์ […]