LIFESTYLE
ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ ตอบโจทย์ Urban Lifestyle อย่างลงตัว กับหน้าหมวดหมู่ “LIFESTYLE” ของ Urban Creature นิตยสารออนไลน์ที่นำเสนอเรื่องราวดีๆ เกี่ยวกับกิจกรรมด้านไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจ อัปเดตเทรนด์ไลฟ์สไตล์ใหม่ ๆ จากทั่วทุกมุมโลก เพื่อเติมเต็มทุกวันของคุณให้มีสีสันยิ่งกว่าเคย ผ่านคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ในรูปแบบหลากหลาย จากเพื่อนนักคิดนักเขียนคนเมือง ที่พร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจใหม่ๆ ให้กับคุณ
‘USB:coffeeLAB’ แฟลชไดรฟ์ที่อัดแน่นไปด้วยกาแฟและงานดีไซน์
USB:coffeeLAB ร้านกาแฟที่พลิกฟื้นสถานพยาบาลเก่าที่ปิดตัวลงให้กลายเป็นห้องทดลองงานของ Party/Space/Design (P/S/D) บริษัทที่ออกแบบร้านกาแฟดังๆ มาแล้วนับไม่ถ้วน และในวันที่พวกเขามีร้านของตัวเอง ยังเป็นเหมือนการคืนชีวิตให้พื้นที่ ทั้งยังนำเสนอตัวตนของวัสดุต่างๆ ออกมาได้อย่างน่าสนใจ
พุทธศาสนา ศรัทธา และนิพพาน? ใน Doc Film เรื่องธรรมกายที่เกือบไม่ได้ฉาย ‘เอหิปัสสิโก’
ครั้งแรกที่เห็นโปสเตอร์ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ‘Come and See เอหิปัสสิโก’ ที่เป็นภาพเสี้ยวหนึ่งของวัดธรรมกายถูกบดบังด้วยเงาคนกำลังยกมือไหว้จรดหว่างคิ้ว และความหมายของคำว่า ‘เอหิปัสสิโก’ ในทางพุทธศาสนาที่หมายความว่า “ท่านจงมาดูธรรม” ชวนฉันอยากรู้อยากเห็นถึงสิ่งที่เกิดขึ้นภายในวัดธรรมกาย และอยากพิสูจน์ผ่านภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ ในฐานะคนนอกที่รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับวัดธรรมกาย จากทั้งข่าวจริงข่าวปลอมที่เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งเผยความยิ่งใหญ่ ‘เซอร์เรียล’ จนเกิดคำถามมากมายขึ้นในหัว
ปฏิทินเดือนเมษาฯ ชวนเสพศิลป์ให้ใจเบิกบาน
ร้อนนี้ไปไหนดี ใกล้หยุดสงกรานต์แล้ว แม้ปีนี้อาจเป็นอีกปีที่เราไม่ได้เล่นน้ำให้ชุ่มฉ่ำ แต่หลายคนก็เฝ้ารอวันที่จะได้หยุดพักผ่อนอยู่กับบ้าน ขณะที่หลายคนกำลังเตรียมตัวไปเที่ยววันหยุดยาว ถ้าคุณไม่ได้มีแพลนไปไหนก็ไม่ต้องกลัวเหี่ยวเฉา เพราะ Urban’s Pick จะอยู่เป็นเพื่อน พร้อมชวนทุกคนไปเติมเต็มหัวใจให้เบิกบานกับอีเวนต์ศิลปะ และกิจกรรมดีๆ ตลอดเดือนเมษายน
5 ซีรีส์ดาร์กเกาหลีที่เล่าว่าสังคมป่วย ซ่อมได้ด้วยการทำงานอย่างซื่อสัตย์
‘อาชีพบริการสังคม’ ถือเป็นกลุ่มอาชีพที่ต้องเสียสละและมีความอดทนสูง เพราะต้องทำงานเกี่ยวกับสุขทุกข์ของประชาชน ดังนั้น จึงต้องมีสติ มีจรรยาบรรณ ปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความเที่ยงตรงและเสมอภาค ที่สำคัญ ต้องไม่ใช้อำนาจเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน
Feast Bangkok โรงอาหารแห่งใหม่ พื้นที่ฝากท้องยามหิวของชาวอารีย์
โรงอาหารของคนเมืองเพื่อนบ้านคนใหม่ของย่านอารีย์ ที่พร้อมเสิร์ฟของอร่อยให้ตั้งแต่เช้าจรดเย็น
Minari หนังชิงออสการ์ที่พิสูจน์ว่า ‘ความเจ็บปวด’ คือส่วนหนึ่งของการเติบโต
Minari ‘หนังครอบครัว’ ชิงออสการ์คุณภาพดีที่การันตีว่าควรดู
ความสัมพันธ์และอำนาจภายใต้เถ้าถ่านความรักใน ‘WALTZ เต้นรำในวอดวาย’
ทำไมเขาไม่รักฉัน ทำไมความสัมพันธ์ของเราจึงเปลี่ยนแปลงไป เหตุใดถึงคบใครไม่ได้นาน ทำไมโสด พอมีคนเข้ามาก็ไม่ถูกใจ ทำไมเธอคบเผื่อเลือก นอกใจเป็นเรื่องควบคุมได้หรือเปล่า ชู้รักคือหอกแหลมคมหรือหยาดน้ำวาบหวาม แล้วอะไรบันดาลให้สองคนอยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า ทำอย่างไรให้ความสัมพันธ์ระยะยาวไม่น่าเบื่อเกินทน เพราะอะไรจึงต่างสร้างบาดแผลให้กันทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ทำไมผู้เป็นพ่อมีอำนาจเหนือทุกคนในบ้าน ทำไมจึงใช้ความรุนแรง ความรักเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ และหรือสถาบันย่อยอย่างครอบครัวบ่มเพาะปูดปมลึกร้าวเพียงใดในการสร้างคนออกสู่สังคม แล้วสังคมล่ะ-โครงสร้างของมันกดทับอะไรบ้างในความสัมพันธ์ คำถามทั้งหมดข้างต้นเป็นเพียงคำถามที่คิดออกอย่างฉับพลัน ซึ่งเชื่อว่าหากได้ลองนั่งคุยกับใครสักคนเกี่ยวกับปัญหาในแง่มุมต่างๆ ของความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เราคงได้คำถามชนิดที่ไม่หวาดไม่ไหวจะนับ นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่พาผมเดินทางมาพบ เติร์ก-บริษฎ์ พงศ์วัชร์ ผู้เขียนหนังสือรวมเรื่องสั้น WALTZ เต้นรำในวอดวาย ผลงานจากสำนักพิมพ์ที่ประกาศกร้าวยืนหนึ่งเรื่องความสัมพันธ์ P.S. Publishing เริ่มบรรเลง หนึ่งในสิ่งซึ่งชวนแปลกใจ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ คือต่อให้ผ่านความเจ็บร้าวปวดแปลบมากเพียงใด ก่อกำแพงในใจสูงลิ่วแค่ไหน เมื่อแผลสดสมานกลายเป็นแผลเป็น ไม่มากก็น้อย แนวโน้มที่คนเราจะสร้างความสัมพันธ์แบบหนึ่งแบบใดขึ้นใหม่ก็ยังไม่เท่ากับศูนย์ WALTZ เต้นรำในวอดวาย จะพาผู้อ่านไปสำรวจฟลอร์ของเรื่องราวความสัมพันธ์ ที่แก่นแกนอาจกล่าวได้ว่ามักเคลือบหวานที่ท่อนแรกเริ่ม แต่ซ่อนขมตรมที่ปลายเพลง นิยามของบ้านภายในจิตใจ และการเผาไหม้ใครสักคนจนวายวอดในขณะที่บทเพลงเต้นรำบรรเลงถึงโน้ตตัวสุดท้าย จริงอยู่-ถึงที่สุดแล้วไม่มีความสัมพันธ์ใดเทียบเคียงกันได้ ด้วยความซับซ้อนของมนุษย์ กระนั้น หลังจากอ่านหน้าสุดท้าย เรื่องราวแต่ละเรื่องในหนังสือก็ชวนให้ขยับถอยออกมามองหาทุกโครงสร้างที่มีผลต่อความสัมพันธ์ เมื่อเราต่างไม่อาจเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับใครสักคน-สักรูปแบบ จะเป็นไปได้ไหม-ที่การเต้นรำจะมอบเปลวไฟอบอุ่นแก่เรา โดยไม่ผลาญทำลาย หรือหากต้องผลาญทำลาย-จะมีบ้างไหม บางสิ่งซึ่งยังเหลือในกองเถ้าถ่าน ผมนึกถึงหลายคำถาม […]
สนุกกับสองล้อคู่ใจในแบบที่ใช่คุณ
‘CUB House by Honda’ คอมมูนิตี้มีชีวิตแหล่งรวมเรื่องราวความสนุกจากรถมอเตอร์ไซค์สุดยูนีก ที่มาพร้อมกิจกรรมให้มาร่วมค้นหาคำตอบว่า วิถีที่ชอบในแบบที่ใช่ของตัวเองจะเป็นแบบไหนกัน
รักษาโปสต์การ์ดให้เหมือนวันแรกที่ได้รับ ผ่านเวิร์กช็อปการจัดเก็บงานศิลปะด้วยตัวเอง
ฉันคือยอดนักสะสมโปสต์การ์ด และตกหลุมรักการเขียนจดหมายเป็นชีวิตจิตใจ แถมยังเคยได้รับโปสต์การ์ดรูปโมนาลิซา ส่งตรงจากพิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ โดยคน (เกือบ) แปลกหน้าชาวฝรั่งเศสที่รู้จักผ่านเว็บไซต์ Postcrossing ทันทีที่ฉันเห็นโปสต์การ์ดก็ร้องกรี๊ดดีใจยกใหญ่ แต่เวลาผ่านไป 6 เดือน ภาพโมนาลิซาค่อยๆ สะบักสะบอม จากการซ้อนโปสต์การ์ดหลายสิบใบทับกัน ทำให้เหลือเพียงเศษเสี้ยวของภูเขาเท่านั้นแหละ ฉันอดบ่นกับตัวเองไม่ได้ ว่าทำไมถึงไม่รักษาของให้ดี และแน่นอนว่าฉันจะไม่ยอมให้เกิดขึ้นกับโปสต์การ์ดชิ้นอื่นๆ อีกเด็ดขาด! ฉันตัดสินใจลงเวิร์กช็อป การจัดเก็บงานศิลปะบนกระดาษและภาพถ่าย เพื่อเรียนรู้วิธีการเก็บอย่างถูกต้อง จัดขึ้นโดย SAC Gallery แวบแรกสมองของฉันนึกไปถึงอุปกรณ์นับสิบอย่าง และน้ำยาอีกร้อยชนิด เลยรู้สึกท้อแท้ไปก่อนล่วงหน้า แต่ความจริงแล้วภาพถ่ายและกระดาษทั่วไป ก็จัดเก็บได้ด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่อย่างเช่นกัน อนุรักษ์งานศิลป์ให้คงอยู่ ช่วงสายของวันอาทิตย์ ฉันนั่งฟังบรรยายจาก ‘ดร.จิราภรณ์ อรัณยะนาค’ ผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์ ผ่านแอปพลิเคชัน Zoom อาจารย์บอกเหตุผลว่าทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บงานศิลปะ ภาพถ่าย ไปจนถึงกระดาษ นั่นเป็นเพราะการจัดเก็บจะช่วยยืดอายุและป้องกันความเสียหาย เพื่อรักษาสภาพเดิมและคงคุณค่าของมันไว้ตราบนานเท่านาน ฉันนึกไปถึงโปสต์การ์ดหลายใบ และกระดาษหลายแผ่นในกรุของสะสม มีบางอย่างเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา บางอย่างสีเพี้ยนจากเดิมจนเกือบลืมต้นฉบับไปสนิท และบางอย่างก็เต็มไปด้วยรอยสีน้ำตาลเต็มไปหมด ซึ่งอาจารย์บอกว่าร่องรอยเหล่านั้น คือผลลัพธ์จากการจัดเก็บผิดวิธี ทำให้กรดในกระดาษทำปฏิกิริยาต่อชิ้นงาน อีกทั้งอาจารย์ยังยกตัวอย่างลักษณะความเสียหายที่มักเกิดบนภาพหรือกระดาษ ซึ่งสรุปออกมาได้ […]
GAA รสชาติอินเดียร่วมสมัย ท่ามกลางบ้านเรือนไทยอายุ 60 ปี
บ้านเรือนไทยหลังใหญ่อายุกว่า 60 ปีถูกย้ายจากอยุธยามาตั้งโดดเด่นท่ามกลางร่มเงาไม้ตรงหัวมุมถนนในซอยสุขุมวิท 53 องค์ประกอบภายนอกคือความสมบูรณ์พร้อมอันงดงามแบบฉบับไทย แต่ใครจะคิดกันว่าที่แห่งนี้คือ Gaa ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่งสไตล์ Modern Indian Cuisine ที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2017 บริเวณซอยหลังสวน ให้ได้ลิ้มรสอาหารอินเดียร่วมสมัยจากฝีมือ ‘Garima Arora’ เชฟชาวอินเดียคนแรกที่คว้าดาวมิชลินมาครอง ครั้งนี้ Gaa ย้ายบ้านใหม่สู่บรรยากาศเรือนไทยที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นแต่แรกเห็น ซึ่งยังคงปรัชญาแห่งการทำอาหารอย่างการหยิบวัตถุดิบท้องถิ่นไทยมาผสมผสานกับเทคนิคปรุงอาหารอินเดียแบบดั้งเดิม สู่อาหารอินเดียร่วมสมัยซึ่งอบอวลไปด้วยความแปลกใหม่ของวัตถุดิบที่คุณอาจรู้ดีว่าคืออะไร แต่รับประกันว่าไม่เคยสัมผัสรสชาตินี้ที่ไหน หากไม่มาเยือน Gaa 01 She is Garima Arora ยามบ่ายที่แสงแดดกำลังอ่อนตัวลง เรามีนัดที่ Gaa กับเชฟ ‘Garima Arora’ ผู้รังสรรค์อาหาร และ ‘Luke Yeung’ สถาปนิกจากทีม ArchitectKidd ผู้รีโนเวตเรือนไทยอายุกว่า 6 ทศวรรษ เมื่อเปิดประตูก้าวเข้าสู่เรือนไทย ตามด้วยเดินขึ้นบันไดวนไปยังชั้น 2 ทันทีที่เท้ายกขึ้นจากขั้นสุดท้ายเพื่อเหยียบพื้นไม้ ต้องยอมรับว่าภาพการตกแต่งภายในที่สองตาได้เห็น ทำเอาหัวใจคนชอบงานสถาปัตยกรรมอย่างเราเต้นเร็วขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัว ทำไมถึงเลือกเปิดร้านอาหารอินเดียท่ามกลางบ้านเรือนไทย คือคำถามแรกที่เราเอ่ยกับ […]
‘ถึงเวลาฟัง’ เพลงใหม่วง Mints ที่ชวนผู้ใหญ่อาบน้ำร้อนกับเด็กอาบน้ำเย็นมานั่งคุยกัน
ฉันฟัง อัด-อวัช รัตนปิณฑะ ตัวเป็นๆ พูดต่อหน้าครั้งแรกตอนชวนเขามาออฟฟิศย่านเอกมัยของฉันเพื่อคุยถึงปัญหาทางเท้า และพาเดินถนนให้เห็นกันจะจะ ว่าฟุตพาทมันพัง สายไฟมันพัน หรือท่อระบายน้ำมันชำรุดแค่ไหน จนเกิดบทความ ‘อัด อวัช พาเดินสำรวจ (ปัญหา) ทางเท้าจากภาษีประชาชน’ ครั้งนี้จึงเป็นครั้งที่สองที่เราได้เจอกันและฟังกัน ฉันฟัง ตน-ต้นหน ตันติเวชกุล ตัวเป็นๆ พูดต่อหน้าครั้งนี้เป็นครั้งแรก (จบพาร์ตเกริ่น คุณจะได้รู้ว่าเด็ก ฮอร์โมนวัยว้าวุ่น คนนี้ ความคิดโตขึ้นเรื่อยๆ) แต่ก่อนหน้า ฉันชอบฟังเขาเล่นเบสลงอินสตาแกรม และชอบไลฟ์สไตล์ไม่จำกัดเพศที่อยากใส่กระโปรงก็ใส่ อยากทาเล็บก็ทา อยากพูดคะขาก็ไม่ต้องแคร์ใคร เพราะเชื่อในสิทธิเนื้อตัวร่างกาย ฉันฟัง ‘ถึงเวลาฟัง’ เพลงใหม่ของพวกเขาในฐานะศิลปินวง Mints จากค่าย What The Duck ที่ปล่อยออกมาวันที่ 18 มีนาคม 2564 เป็นวันแรก ซึ่งเป็นเพลงที่อัดตั้งใจแต่งเนื้อ ตนทุ่มเทออกแบบบีตและซาวนด์ดนตรี และลงมือช่วยกันทุกขั้นตอนร่วม 6 เดือน เพื่อให้คนทุกเจเนอเรชันหันหน้าฟังกันมากขึ้น ทั้งชวนคนรุ่นเก่าเปิดใจฟังเสียงคนรุ่นใหม่ให้มองเห็นความสมเหตุสมผลในการปรับมายาคติแบบเดิมๆ เพื่อใช้ชีวิตร่วมกัน และบอกคนรุ่นใหม่ว่าถ้ามองผู้ใหญ่เป็นคนไม่ทันโลก โดยไม่ลองอธิบายให้ฟังก่อน […]
40 วันกับชีวิตล็อกดาวน์ในเขตพื้นที่เสี่ยง มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร
บทความนี้เปรียบเสมือนบันทึกช่วงเวลาที่เราต้องอยู่บ้านเป็นเวลา 40 วัน ระหว่างการระบาดของโควิด-19 ท่ามกลางเขตพื้นที่เสี่ยงอย่างจังหวัดสมุทรสาคร สำหรับเรา การใช้ชีวิตรูปแบบใหม่อาจจะยุ่งยากไปบ้าง แต่สำหรับพ่อค้าแม่ค้าแผงลอยในตลาดที่ได้รับผลกระทบ เพราะไม่มีคนมาจับจ่ายซื้อของเหมือนที่เคย พวกเขาต้องขาดรายได้จุนเจือครอบครัวและจำเป็นต้องกู้หนี้ยืมสิน ร้านแผงลอยบางรายต้องปรับวิธีการขายเป็นแผงลอยเคลื่อนที่เพื่อให้รอดจากวิกฤติครั้งนี้ไปได้