Hong Kong International Lighting Fair & Smart Lighting Expo พาเดินมหกรรมงานจัดแสดงไฟในฮ่องกง อัปเดตเทรนด์แสงสว่างโลก

ในวันที่เทคโนโลยีของโลกก้าวไปข้างหน้า สิ่งต่างๆ ถูกพัฒนาให้ล้ำขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งอุตสาหกรรมไฟฟ้า ที่ให้แค่แสงสว่างอาจไม่เพียงพอ เพราะยังต้องช่วยส่งเสริมพื้นที่ เป็นงานศิลปะ หรือกระทั่งทำให้ชีวิตผู้ใช้งานดีขึ้น ถ้าถามว่า แล้วนวัตกรรมแสงสว่างในปัจจุบันก้าวไปถึงไหนแล้ว ในฐานะที่ Urban Creature ได้มีโอกาสบินไปร่วมงาน ‘Hong Kong International Lighting Fair’ และ ‘Smart Lighting Expo’ ที่จัดโดยองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง Hong Kong Trade Development Council (HKTDC) กันถึงเกาะฮ่องกง เมื่อวันที่ 6 – 9 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา เลยจะขอสรุปรวมความเคลื่อนไหวของแสงไฟที่น่าสนใจมาให้ทุกคนติดตามกันในบทความนี้ Hong Kong Convention and Exhibition Centre (HKCEC) คือสถานที่จัดแสดงงานไฟอย่างยิ่งใหญ่ ที่ถ้าเปรียบเทียบกับประเทศไทยก็คงคล้ายศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ในสเกลใหญ่กว่า ตัวงาน Hong Kong International Lighting Fair และ […]

แกะรหัสความเกรงใจ และมุมมองความเป็นไทยของ Phum Viphurit จากอัลบั้ม The Greng Jai Piece

Darling, I got my trust issues. เสียงร้องอันเป็นเอกลักษณ์จากชายหนุ่มรูปร่างสูงโปร่ง ขณะเดินจีบสาวริมชายหาด พร้อมด้วยรอยยิ้มนักรักของ ‘Lover Boy’ เมื่อหลายคนได้ยินเพลงนี้คงเผลอโยกตัวเบาๆ ด้วยดนตรีจังหวะ Medium พลางสงสัยว่าศิลปินคนนี้คือใคร แต่เมื่อเลื่อนลงไปอ่านชื่อกลับยิ่งน่าสนใจกว่าเดิม เมื่อเพลงสากลที่มีทำนองและเนื้อร้องอย่างตะวันตก กลับเป็นฝีมือของศิลปินชาวไทยชื่อ ‘Phum Viphurit’ ทันทีที่เพลง Lover Boy ถูกปล่อยสู่โลกดนตรี การออกทัวร์ต่างประเทศนับครั้งไม่ถ้วนของภูมิก็เริ่มต้นขึ้น เขากลายเป็นศิลปินอินดี้ที่น่าจับตามองในระดับสากลอย่างที่คนไทยไม่เคยมีมา ทั้งการได้เล่นในเทศกาลดนตรีระดับโลก หรือการคอลแลบกับศิลปินต่างประเทศชื่อดังมากมาย แต่นี่ก็ผ่านมาแล้ว 6 ปี หลังจากความสำเร็จของ Lover Boy มีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตผ่านประสบการณ์มากมายจากเส้นทางดนตรีที่ชายหนุ่มเก็บเกี่ยวเรียนรู้ สบโอกาสพอดีกับที่เขายังไม่ได้ข้ามประเทศไปไหน เราจึงชวนภูมิมาพูดคุยถึงมุมมองความแตกต่างของวงการดนตรีในไทยกับต่างประเทศ ชีวิตของศิลปินในยุคโซเชียล และการตั้งคำถามถึงความเป็นไทยที่เขาตีความออกมาเป็นความเกรงใจจากอัลบั้มล่าสุด The Greng Jai Piece เด็กชายภูมิที่เติบโตในต่างวัฒนธรรม อย่างที่หลายคนทราบว่า ภูมิเกิดและเติบโตในไทย จนเมื่ออายุ 9 ขวบ เขาย้ายไปอยู่ที่ประเทศนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปี 2005 – 2013 เพราะคุณแม่ได้งานที่เมืองเล็กๆ ชื่อ […]

การเดินทางค้นหาความหมายของเวลา การพบพาน และการจากลาใน Frieren : Beyond Journey’s End

หากพูดถึงการ์ตูนอานิเมะญี่ปุ่นสักเรื่องที่ถ่ายทอดความเป็นไปของชีวิตอันเรียบง่าย เป็นไปไม่ได้เลยที่เวลานี้จะไม่พูดถึง Frieren เพราะอานิเมะจำนวน 28 ตอนเรื่องนี้ได้พร่ำสอนเรื่องราวในชีวิตที่พวกเราต่างต้องพบเจอ ผ่านการเดินทางผจญภัยในโลกเวทมนตร์แฟนตาซีของเหล่าผู้กล้า ที่ดูไกลตัวมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราๆ ได้อย่างแนบเนียน ไม่รู้สึกเคอะเขินแต่อย่างใด ซึ่งน่าแปลกใจว่าเหตุใดเรื่องราวแฟนตาซีเหนือจินตนาการ ทั้งการไปปราบจอมมาร นักรบผู้แกร่งกล้า คนแคระยอดนักสู้ นักพรตมากวิชา และจอมเวทผู้มีพลังมหาศาล จึงเข้าถึงหัวอกหัวใจคนธรรมดาที่ใช้ชีวิตในโลกไร้ซึ่งความวิเศษได้อย่างอ่อนโยน ท่ามกลางกระแสของแอนิเมชันแนว ‘อิเซไก’ ที่บรรดาตัวละครเอกกลับไปเกิดใหม่ในโลกต่างแดนที่เต็มไปด้วยความแฟนตาซี การผจญภัยท่ามกลางสิ่งวิเศษ และการทำภารกิจที่ยิ่งใหญ่ แอนิเมชันอย่าง Frieren กลับนำเสนอเรื่องราวเดียวกันในรูปแบบการผจญภัยที่แตกต่างออกไป และเข้าถึงผู้คนได้อย่างเรียบง่าย อย่างที่อานิเมะแฟนตาซีเรื่องอื่นๆ ไม่เคยทำมาก่อน จนชวนให้น่าค้นหาว่าสิ่งใดกันคือความเป็นมนุษย์ที่ผู้ชมประทับใจในการผจญภัยของแอนิเมชันเรื่องนี้ เวลาของแต่ละคนไม่เท่ากัน เราถึงต้องทำให้มีความหมาย การผจญภัยของ Frieren เริ่มต้นด้วยเรื่องราวการเดินทางของ ‘ฟรีเรน’ นักเวทสาวเผ่าเอลฟ์กับเหล่าผู้กล้า ประกอบไปด้วยวีรบุรุษ ‘ฮิมเมล’, นักบวช ‘ไฮเตอร์’ และนักรบคนแคระ ‘ไอเซ็น’ ที่หากเป็นแอนิเมชันเรื่องอื่นๆ คงจะเล่าด้วยการที่พวกเขาทั้งสี่เริ่มเดินทางไปปราบราชาปีศาจ แต่ Frieren กลับเริ่มต้นเรื่องราวด้วยช่วงเวลาหลังการปราบราชาปีศาจที่สำเร็จลุล่วง และสมาชิกแต่ละคนแยกย้ายกันไปใช้ชีวิตของตนเอง ฟรีเรนจึงออกเดินทางเรื่อยเปื่อยค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับเวทมนตร์ที่มีอยู่ทุกรูปแบบ ทว่าเมื่อถึงเวลาที่สมาชิกทั้ง 4 คนสัญญาว่าจะกลับมาพบกันอีกครั้ง เพื่อดูฝนดาวตกในรอบ 50 ปีดั่งที่เคยดูด้วยกันเมื่อครั้งปราบราชาปีศาจสำเร็จ […]

พาไปดู 8 รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่จากแบรนด์ยานยนต์ระดับโลก ในงาน Bangkok International Motor Show 2024

ถ้าถามว่ารถยนต์ไฟฟ้าในประเทศบูมขึ้นแค่ไหนในช่วงที่ผ่านมา ก็คงตอบได้จากสัดส่วนของรถไฟฟ้าจากแบรนด์ยานยนต์ระดับโลก ในงาน ‘Bangkok International Motor Show 2024’ เพราะงานนี้ขนทัพรถไฟฟ้า EV มาจัดแสดงอย่างล้นหลาม หลังจากที่ประเทศไทยมีตัวเลขสถิติจำนวนรถไฟฟ้าที่จดทะเบียนใหม่ตามกฎหมายเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่าในปีที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับปี 2565 ว่าแต่ในงานนี้จะมีรถยนต์ไฟฟ้าค่ายไหน รุ่นใดน่าสนใจบ้าง Urban Creature รวบรวมมาให้แล้ว 8 รุ่นจาก 8 แบรนด์ยานยนต์ระดับโลก ที่มาสร้างสีสันในงาน Bangkok International Motor Show 2024 ที่จะจัดถึงวันที่ 7 เมษายน 2567 ที่อาคารชาเลนเจอร์ 1 – 3 และอิมแพ็ค ฟอรั่ม ฮอลล์ 4 อิมแพ็ค เมืองทองธานี รถสปอร์ตไฟฟ้าสุดล้ำแห่งอนาคตVision ONE-ELEVEN จาก Mercedes-Benz เริ่มต้นคันแรกกับรถยนต์ไฟฟ้าคอนเซปต์ ‘Vision ONE-ELEVEN’ ของ Mercedes-Benz ที่ทำเอาใครหลายคนอ้าปากค้างกับดีไซน์หรูของรถสปอร์ตที่มาพร้อมความโดดเด่นเหนือจินตนาการ รถรุ่นนี้ได้แรงบันดาลใจจากรถต้นแบบทดลอง […]

ชวนดู 5 ภาพยนตร์สั้นเทศกาล Five Films for Freedom สร้างมุมมองใหม่เข้าใจในความหลากหลายทางเพศ

แม้ว่าในประเทศไทยจะมีการตระหนักถึงเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม ให้สิทธิต่อคู่ชีวิตเพศวิถีอื่นๆ และรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวอย่างเท่าเทียมในทุกเพศสภาวะ แต่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจเรื่องเพศเป็นอย่างดี การบอกเล่าเรื่องราวความหลากหลายทางเพศผ่านสื่อบันเทิงอย่างภาพยนตร์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักรู้ รวมถึงง่ายต่อการเข้าถึงของคนหลายๆ กลุ่ม คอลัมน์ Urban’s Pick ขอแนะนำ 5 ภาพยนตร์จากเทศกาลภาพยนตร์สั้นเพื่อความหลากหลายทางเพศ ‘Five Films for Freedom’ ที่จัดขึ้นโดย British Council ร่วมกับ BFI Flare เทศกาลภาพยนตร์ LGBTQIA+ จากสหราชอาณาจักร ที่ใช้ภาพยนตร์สั้นเรียกร้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเปิดให้ชมฟรีทางออนไลน์ทุกปี รับชม Five Films for Freedom เทศกาลภาพยนตร์สั้น LGBTQIA+ ได้ตั้งแต่วันนี้ – 24 มีนาคม 2567 ผ่านทาง youtube.com/@britishartschannel/featured Little One (เจ้าตัวเล็ก)ความรักของครอบครัวที่ไม่ว่าใครเป็นเพศใดก็ตาม แอนิเมชันจากฟิลิปปินส์ ความยาว 9 นาที หนังสั้นเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ แต่ไม่แน่ใจว่าเธอจะเลี้ยงลูกให้เติบโตอย่างไร หญิงสาวตัดสินใจไปสัมภาษณ์พ่อบุญธรรมของเธอที่เป็นเกย์ทั้งคู่ […]

เมื่อความเชื่ออยู่เหนือทุกสิ่ง สำรวจจักรวาล Dune ผ่านมุมมองศาสนาและความเชื่อ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘Dune : Part Two’ กลายเป็นภาพยนตร์ไซไฟขึ้นหิ้งเรื่องใหม่ในทศวรรษนี้ไม่ต่างจาก ‘Star Wars’ หรือ ‘The Matrix’ ในอดีต จากเรื่องราวอันยอดเยี่ยมผ่านปลายปากกาของ Frank Herbert สู่จอเงินด้วยทัศนะของ Denis Villeneuve ผู้กำกับมากวิสัยทัศน์ ที่พาเราท่องไปในจักรวาล Dune ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เรื่องราวของ Dune ไม่ใช่จักรวาลไซไฟในอนาคตอันหรูหราไฮเทค แต่กลับเป็นอนาคตที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความป่าเถื่อนและอิทธิพลของศาสนาราวกับวิวัฒนาการย้อนกลับไปในยุคกลาง (Medieval) ทั่วทั้งจักรวาลถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการโดยองค์จักรพรรดิเพียงหนึ่งเดียว และแบ่งสันการดูแลดวงดาวให้กับกลุ่มตระกูลขุนนางต่างๆ โดยที่ประชาชนบนดาวผู้เป็นเจ้าของเดิมทำได้เพียงก้มหัวยอมรับผู้ปกครองคนใหม่เท่านั้น จนกระทั่งการมาถึงของ ‘พอล อะเทรดีส’ (Paul Atreides) ผู้ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของจักรวาลใหม่ทั้งหมด ทำไมผู้มีอำนาจถึงปกครองจักรวาลได้อย่างยาวนานโดยไร้ผู้ต่อต้าน และอะไรที่ทำให้การมาถึงของพอล อะเทรดีส สามารถปลุกระดมผู้คนให้ลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจจักรวรรดิอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาทุกคนไปสำรวจจักรวาล Dune ผ่านแนวคิดของ ‘ศาสนา’ และ ‘ความเชื่อ’ ที่ปรากฏในเรื่อง อิทธิพลของศาสนาและจุดกำเนิดความศรัทธาของมนุษย์ โฮโมเซเปียนส์ (Homo Sapiens) คือสิ่งมีชีวิตเดียวที่สามารถสร้างแนวความคิดบางอย่างเพื่อชักจูงและรวบรวมกลุ่มก้อนของตนให้กระทำบางสิ่งที่ต้องการ […]

มองปัญหาความเหลื่อมล้ำของชนชั้นทางสังคม ผ่านตัวละครจากซีรีส์เกาหลี The Impossible Heir

คุณคิดว่าบุคคลเหล่านี้มี ‘สถานะทางสังคม’ แบบไหน และจะยกระดับมันอย่างไร เด็กหนุ่มที่มีพ่อเลี้ยงเป็นฆาตกรลูกชายนอกสมรสของตระกูลเศรษฐี (หรือแชบอล)หญิงสาวที่ต้องดิ้นรนหลังชนฝาเพราะหนี้สินที่แม่ก่อ เพราะบรรทัดฐานของสังคมที่มองมา กดทับให้พวกเขาต้องไขว่คว้าหา ‘สายป่าน’ ที่จะพาตัวเองปีนป่ายให้ได้มาซึ่งเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อยกระดับชนชั้นทางสังคมโดยไม่สนวิธีการ The Impossible Heir (2024) คือซีรีส์เกาหลีดราม่าแนวเสียดสีสังคม บน Disney+ Hotstar ที่ทำให้เราเห็นได้ชัดว่า สังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำมันกัดกินตัวตนและพาเราไปสู่อะไรบ้าง โดยเมสเซจของซีรีส์จะนำเสนอผ่านเรื่องราวการร่วมมือกันของตัวละครหลักที่มาจากชนชั้นล่างสุดของห่วงโซ่ เพื่อยกระดับตัวเองในเกมการชิงอำนาจ หวังเข้าครอบครองตำแหน่งผู้นำทางสังคมบนจุดยอดของพีระมิด ใครที่อยากสัมผัสเกมการชิงอำนาจสุดเข้มข้น สตรีมได้เลยบน Disney+ Hotstar “ถ้าอยากได้คำตอบที่ถูกต้อง ให้ดูที่กระบวนการ หากกระบวนการไม่ถูกต้อง มันจะไม่พาไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง” – ฮันแทโอ แม้มองจากภายนอก ตัวเอกอย่าง ‘ฮันแทโอ’ (รับบทโดย อีแจอุค) เด็กหนุ่มนิสัยเย็นชาที่มีความฉลาดระดับหัวกะทิจนได้รับคะแนนสูงสุด 0.1 เปอร์เซ็นต์จากทั้งประเทศในการสอบจำลอง ดูเหมือนเป็นตัวละครที่มีสถานะทางสังคมที่ไม่แย่นัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว แทโอเติบโตขึ้นมาพร้อมกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นจากพ่อเลี้ยง และถูกคำว่า ‘ลูกฆาตกร’ คอยหลอกหลอนและเป็นตัวกดไม่ให้สามารถเลื่อนสถานะทางสังคมได้ตามต้องการ ความแค้นจากการโดนพ่อทารุณกรรมในช่วงวัยเด็ก และการขู่ฆ่าแม่ผู้ซึ่งเป็นคนในครอบครัวเพียงหนึ่งเดียวของแทโอที่เหลืออยู่ ทำให้เขาตัดสินใจใช้ความฉลาดและเจ้าวางแผนของตัวเองหากระบวนการที่จะนำไปสู่คำตอบที่ตัวเองต้องการ ตั้งแต่การร่วมมือช่วยเหลือ ‘คังอินฮา’ (รับบทโดย อีจุนยอง) […]

เสรีภาพสื่อที่ถูกจำกัดและผู้เห็นต่างที่ถูกกำจัด ในกราฟิกโนเวล ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’

‘เมื่อตัดไปหนึ่งหัวกลับงอกเพิ่มขึ้นมาอีกสองหัว’ มังกรไฮดรา สัตว์ร้ายในตำนานที่ยิ่งพยายามฆ่ามันเท่าไหร่ มันกลับยิ่งแตกตัวและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์บ้านเมืองของ ‘สยาม’ ในอดีตก็เช่นกัน ยิ่งรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้อำนาจกำจัดผู้กระด้างกระเดื่องมากเท่าไหร่ จำนวนผู้ต่อต้านก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จนนำไปสู่การยึดอำนาจ ย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475 เกิดการ ‘อภิวัฒน์สยาม’ เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ‘ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ สู่ ‘ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ’ มอบอำนาจสูงสุดกลับคืนสู่ราษฎร แต่ผ่านไปเพียงแค่ชั่วอึดใจ ผู้มีอำนาจกลุ่มใหม่ก็เข้ามารับไม้ต่อเป็นเผด็จการเสียเอง เสมือนเปลี่ยนเพียงหัวโขนจากกษัตริย์เป็นทหาร ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นในสยามช่วงเวลาก่อนปี 2475 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองและวิธีการของรัฐที่ใช้อำนาจปิดปากประชาชน แล้วทำไมจาก ‘สยาม’ มาจนถึง ‘ไทย’ ในปัจจุบัน สังคมการเมืองบ้านเรายังคงวนลูปแห่งอำนาจและการต่อสู้อย่างไม่เคยสิ้นสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้อ่านหนังสือ ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’ กราฟิกโนเวลดราม่าอิงประวัติศาสตร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากบุคคลและเหตุการณ์จริง ภาพลายเส้นโดย สะอาด (ภูมิ-ธนิสร์ วีระ) ผู้สร้างสรรค์ครอบครัวเจ๊งเป้ง, ให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต ฯลฯ และเนื้อเรื่องโดย พชรกฤษณ์ โตอิ้ม และ สะอาด เรื่องราวภายในเล่มกล่าวถึงสยามประเทศช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุคสมัยที่พระนครเต็มไปด้วยอาชญากรรมและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ […]

Plant Workshop Cafe คาเฟ่ที่อยากเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการอยู่กับธรรมชาติของคนเมือง

ถ้าคุณเป็นคนเมืองที่โหยหาธรรมชาติ รักการอยู่ท่ามกลางต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ การก้าวเข้ามาใน ‘Plant Workshop Cafe’ คาเฟ่สีเขียวซึ่งตั้งอยู่ใจกลางราชเทวีน่าจะมอบความรู้สึกสบายใจให้คุณได้ไม่น้อย เห็นคำว่าเวิร์กช็อป บางคนอาจคิดว่าที่นี่จัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับต้นไม้ แต่แท้จริงแล้ว ‘ต้อม-กฤษฎา พลทรัพย์’ และ ‘ออม-ดร.มนสินี อรรถวานิช’ เจ้าของคาเฟ่ตั้งใจให้ที่นี่เป็น ‘โรงปฏิบัติการ’ สำหรับคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญในการปลูกต้นไม้แต่ชอบปลูก ในบทบาทหนึ่ง ต้อมกับออมคือนักออกแบบสถาปัตยกรรมและอาจารย์ผู้สนใจเรื่องการสร้างพื้นที่ในเมืองให้เป็นประโยชน์ แต่พวกเขาก็เหมือนเราหลายๆ คน เป็นคนเมืองที่ต้องออกจากห้องแต่เช้า กว่าจะกลับห้องก็ค่ำ จะปลูกต้นไม้ที่ดูแลยากๆ ในห้องก็ใช่ที ในแง่หนึ่ง Plant Workshop Cafe แห่งนี้จึงเป็นพื้นที่ลองผิดลองถูกในการดูแลพืชพรรณของพวกเขา และในอีกมุม มันก็เป็นทั้งคาเฟ่ โคเวิร์กกิ้งสเปซ ที่นั่งแล้วสบายใจ พร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มกับอาหารราคาสบายกระเป๋า บทสนทนาของเราเกิดขึ้นที่ชั้นสองของร้าน ท่ามกลางสีเขียวของหมู่มวลต้นไม้หลากชนิด ที่นั่น เราได้ฟังเรื่องราวความสนใจที่ฝังรากลึก ไปจนถึงเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ที่อยู่แล้วสบายใจ มากกว่านั้นคือ เป็นพื้นที่มอบแรงบันดาลใจให้คนเมืองคนอื่นๆ รู้สึกอยากปลูกต้นไม้เช่นกัน สวนหลังบ้าน “เราไม่ได้คิดทำร้านกาแฟ จริงๆ มันคือสวนหลังบ้าน” แค่ความตั้งใจแรกที่ต้อมเล่าให้ฟังก็ทำให้เราเลิกคิ้วอย่างประหลาดใจ ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ต้อมกับออมได้ตึกแถวเปล่าใจกลางราชเทวีขนาดหนึ่งคูหามาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด พวกเขาเปิดบริษัทที่ทำงานด้านสถาปัตย์ของตัวเอง จึงเปลี่ยนชั้นสองและชั้นสามเป็นบ้านและออฟฟิศไว้ ส่วนชั้นหนึ่งที่ว่าง […]

แวะคาเฟ่ เดินดูฝาท่อ ตะลุยตลาด นั่งเรือไฟฟ้าคลองผดุงฯ ชมวิถีชีวิตย่านเก่า แวะท่องเที่ยวเลียบคลองแบบ Low Carbon

การเดินทางท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ นับว่าสะดวกสบายเลยก็ว่าได้เมื่อเทียบกับต่างจังหวัด เพราะนอกจากขนส่งสาธารณะอย่างรถเมล์และรถไฟฟ้าที่พาเราไปยังสถานที่ต่างๆ แล้ว ก็ยังมีขนส่งสาธารณะอีกประเภทที่พาเราเดินทางบนผิวน้ำลำคลองอย่าง ‘เรือ’ ด้วย เรือขนส่งในกรุงเทพฯ มีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรือหางยาว เรือเจ้าพระยา หรือแม้กระทั่ง ‘เรือไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์’ ที่ ‘คลองผดุงกรุงเกษม’ ก็มีให้บริการฟรีตลอดเส้นทาง ชวนให้ชาวเมืองได้ออกไปสนุกกับการสัมผัสวิถีชีวิต ‘เลียบคลองผดุงกรุงเกษม’ ผ่านการท่องเที่ยวแบบลดการปล่อยมลพิษทางน้ำและอากาศ สุดสัปดาห์นี้ ใครกำลังมองหาที่เที่ยวอยู่แต่ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน คอลัมน์ Urban Guide ขอชวนไปล่องเรือไฟฟ้าแบบ Low Carbon ที่คลองผดุงกรุงเกษม เปิดรูต One Day Trip พร้อมแวะพักผ่อนท่องเที่ยวชิลๆ กับ 3 ตลาด 3 คาเฟ่ตลอดทั้งเส้นทางล่องเรือกัน จุดเริ่มต้นของเส้นทางเดินเรือไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เลียบคลองผดุงกรุงเกษม มีต้นสายที่ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพงไปจนถึงจุดสิ้นสุดที่ท่าเรือตลาดเทวราช รวมทั้งสิ้น 11 ท่าเรือ ประกอบด้วยท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง, ท่าเรือหัวลำโพง, ท่าเรือนพวงศ์, ท่าเรือยศเส, ท่าเรือกระทรวงพลังงาน, ท่าเรือแยกหลานหลวง, ท่าเรือนครสวรรค์, ท่าเรือราชดำเนินนอก, ท่าเรือประชาธิปไตย, ท่าเรือเทเวศร์ และท่าเรือตลาดเทวราช ในระยะทาง […]

Finding Dating Places in Bangkok รวมสถานที่เดตในเมืองใหญ่จากชาว Urban Creature

เนื่องในเดือนแห่งความรัก ที่เหล่าคนมีคู่ฮาๆ คนโสดฮือๆ สิ่งหนึ่งที่ชาวโซเชียลเสิร์ชหาในอินเทอร์เน็ต คงหนีไม่พ้นสถานที่เดตสุดโรแมนติก แต่ไม่ว่าจะหาเท่าไหร่สุดท้ายก็ไปจบที่เดินห้างฯ กินอาหารที่ร้านอาหารสักแห่ง หรือนั่งจับมือดูหนังกันสักเรื่อง เชื่อเถอะว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากหาสถานที่ดีๆ สำหรับทำกิจกรรมร่วมกับหวานใจ แบบที่ถ้าหวนกลับไปนึกถึงเมื่อไหร่ก็ต้องรู้สึกประทับใจทุกครั้ง แต่ถ้าไม่ใช่สถานที่อย่างห้างฯ ใจกลางกรุง แล้วกรุงเทพฯ จะมีที่ไหนให้ไปกับเขาบ้าง เราเลยขอรวบรวมสถานที่เดตในฝันของชาว Urban Creature ที่จะมาทำให้เห็นว่า จริงๆ แล้วในเมืองของเราก็มีสถานที่ดีๆ เหมาะกับการออกเดตอยู่เหมือนกัน สถานที่เดต : สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ)โลเคชัน : จตุจักร (maps.app.goo.gl/Tth6TLpnTZSe9hMy7)ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : ​Managing Editor นอกจากร้านหนังสืออิสระที่มักชวนคนไปเดต สวนสาธารณะก็เป็นหนึ่งในสถานที่เดตที่เราชวนคนไปด้วยบ่อยๆ เพราะด้วยความที่เป็นคนชอบเดินอยู่แล้ว และคิดว่าการได้มีบทสนทนากันเยอะๆ จะช่วยให้เรารู้จักกันและกันมากขึ้น แต่ถ้าเป็นสวนสาธารณะที่มีขนาดพื้นที่ไม่กว้างขวาง ก็อาจเดินครบจบไวไปหน่อย เราเลยขอเลือก ‘สวนรถไฟ’ สวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่กินพื้นที่เป็นร้อยๆ ไร่ มีหลากหลายส่วนให้ไปสำรวจ รวมถึงมีกิจกรรมให้ทำเยอะแยะ ตั้งแต่เดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือนั่งพักผ่อนอ่านหนังสือ แถมบางทีก็มีดนตรีในสวนให้ฟังด้วย มากไปกว่านั้น การเดินเล่นพูดคุยในสวนที่มีสีเขียวล้อมรอบก็ทำให้เรารู้สึกสดชื่น หายใจได้เต็มปอด […]

ค้นหาความพิเศษของวันธรรมดาในหนังเรื่อง Perfect Days

ไม่เกินจริงแต่อย่างใดที่จะกล่าวว่า Perfect Days คือหนังที่มอบการมองหาความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละวันในการใช้ชีวิต และเป็นความสุขให้การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวันที่ดีดั่งฝัน วันที่ผิดหวังเกินทน วันหลังจากนี้ หรือวันนี้ในชั่วขณะที่กำลังเกิดขึ้นก็ตาม ทุกๆ วันคือวันวันหนึ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แน่นอนว่าฟังดูคลิเชและไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย แต่หนังญี่ปุ่นที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยมเรื่องนี้กลับมอบประสบการณ์ที่ต่างออกไปให้ผู้ชมอย่างเราได้ หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวผ่านตัวละครชายผู้ประกอบอาชีพเป็นคนทำความสะอาดห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งเป็นงานหนักหนาที่หลายคนในสังคมแสนรังเกียจ ดูไม่น่ามีความสุขได้เลย แต่เรากลับมองเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจในการออกไปทำงานในแต่ละวันอย่างเปี่ยมล้นจนน่าประหลาดใจ รู้ตัวอีกที การได้เฝ้ามองเขาทำสิ่งต่างๆ ก็กลายเป็นความเพลิดเพลินใจอย่างที่หาไม่ได้ในหนังเรื่องไหนมาก่อน ไม่ว่าแต่ละวันจะเป็นวันที่ดี วันที่ผิดหวัง วันที่ผ่านไปแล้ว หรือวันที่ยังมาไม่ถึง ตัวละครนั้นยังคงมีจิตใจที่อยู่กับปัจจุบันชั่วขณะนั้น แม้ฟังดูเรียบง่ายและไร้ซึ่งแก่นสาร แต่การใช้ชีวิตในแต่ละวันอันธรรมดาที่ไม่ได้มีอะไรพิเศษแต่อย่างใดนั้นกลับสอนใจเราให้ลองหยุดชื่นชมกับสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้นและละทิ้งทุกสิ่งไว้ก่อน  อะไรที่ทำให้ผู้กำกับชาวเยอรมันถ่ายทอดหนังที่สะท้อนชีวิตของชายชาวญี่ปุ่นออกมาแบบนั้น คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาไปสำรวจแนวคิดและวิถีการทำงานของคนญี่ปุ่นใน Perfect Days กัน วันธรรมดาที่เปลี่ยนไปเพราะวิธีคิดในการใช้ชีวิต เมื่อมองดูชั้นหนังสือตามร้านหนังสือบ้านเรา บรรดาหนังสือพัฒนาตนเองในชั้นเหล่านั้นมักเป็นหนังสือที่หยิบยกคำญี่ปุ่นมาใช้เป็นชื่อหนังสือปรัชญาชีวิต ไม่ว่าจะ ‘อิคิไก’, ‘อิจิโกะ-อิจิเอะ’ หรือ ‘มตไตไน’ เป็นต้น แต่สำหรับคนญี่ปุ่นคงจะมองเป็นคำทั่วๆ ไป เป็นวิถีชีวิตที่พวกเขาใช้เป็นธรรมดาอยู่แล้ว เพราะมันฝังรากลึกในทุกสิ่งที่คนญี่ปุ่นเป็น ซึ่งคงยากที่จะสอนสิ่งเหล่านี้หรืออธิบายให้เข้าใจได้อย่างที่พวกเขาเข้าใจ แม้แต่จะอธิบายความหมายของคำเหล่านี้ออกมาให้คนญี่ปุ่นฟังเองยังเป็นเรื่องยาก เพราะมันคือเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันของพวกเขา น่าสนใจที่คนญี่ปุ่นให้ความหมายกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน […]

1 2 3 48

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.