Featured
งานออกแบบพื้นที่สาธารณะไทยๆ ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของนักออกแบบ แต่เป็นเรื่องของทุกคน
คุณเคยคิดไหมว่า พื้นที่สาธารณะในกรุงเทพฯ และในประเทศไทย มีเพียงพอต่อการใช้งานแล้วหรือยัง? ในบ้านเรามีจำนวน Public Space น้อยมากๆ ถ้าพูดถึงสถานที่ที่คนเมืองใช้นัดพบปะ และพักผ่อนหย่อนใจ ส่วนใหญ่ตัวเลือกแรกๆ ที่พอจะนึกออกก็คือ ห้างสรรพสินค้า ถ้าไม่ใช่ห้างฯ เราจะไปเจอกันที่ไหน?‘พื้นที่สาธารณะ’ กลายเป็นโจทย์ของพื้นที่อันท้าทาย ทำยังไงให้ประชาชนได้มีพื้นที่ทำกิจกรรมอันหลากหลาย เพราะสถานที่ที่มีอยู่ในบ้านเราก็ยากที่จะเรียกว่า ‘พื้นที่สาธารณะ’ ได้อย่างเต็มปาก ด้วยเงื่อนไข กฎ เกณฑ์ และเวลาที่ไม่ได้เอื้อต่อประชาชนคนทั่วไปใช้งานได้อย่างเต็มที่จริงๆ จึงเป็นที่มาของโจทย์และจุดประสงค์หลักให้กับงานประกวดที่ บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (MQDC) ร่วมกับ สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (CDAST) จัดโครงการประกวดการออกแบบ ‘Uniquely Thai การประกวดแบบ Civic Center ในศตวรรษที่ 21 ของกรุงเทพมหานคร’ เพื่อค้นหาความเป็นไปได้ทางความคิดสร้างสรรค์ และไอเดียที่จะสะท้อนมุมมอง ‘พื้นที่สาธารณะแบบไทยๆ’ ว่า สถานที่นั้นจะออกมาเป็นอย่างไรด้วยจินตนาการอันโลดแล่นของนักออกแบบรุ่นใหม่ ทั้งในระดับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป เราได้มีโอกาสคุยกับทางคณะกรรมการ และผู้ชนะการประกวดครั้งนี้ จึงอยากชวนทุกคนมาเจาะลึกถึงที่มาที่ไปความสำคัญของพื้นที่สาธารณะ และเปิดมุมมองจากไอเดียที่ตอบโจทย์ความเป็นไทยจนคว้าใจกรรมการ ไม่แน่เหมือนกันว่าบางผลงานอาจจะเป็นพื้นที่จริงในอนาคตให้ประชาชนอย่างเราได้มีส่วนในการใช้งานสาธารณะที่แท้จริงก็เป็นได้ […]
มนุษย์ออฟฟิศอ่าน 5 หนังสือพักจากงานที่เหมาะอ่านในวันหยุด
สำหรับวันหยุดยาวในเดือนที่นับว่าร้อนที่สุดแห่งปีแบบนี้ จะมีอะไรดีไปกว่าการนั่งตากลม พักผ่อนสบายๆ จิบชายามบ่าย พลิกหนังสือสนุกๆ อ่านทีละหน้าอย่างไม่รีบร้อน หลังจากเปิดปี 2022 มา บ้านเมืองก็มีความเปลี่ยนแปลงไม่น้อย ทั้งฝั่งการเมืองที่เริ่มมีการเคลื่อนไหวจากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ไหนจะข่าวสารใหญ่ๆ ที่ทำให้สังคมหันมาตระหนักถึงความปลอดภัยในการใช้ชีวิตในเมืองมากขึ้น ยังไม่นับอากาศที่แปรปรวนจนหลายคนงงไปตามๆ กันอย่างเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา แน่นอนว่าหลังจากนี้คงมีอีกหลายเรื่องราวเกิดขึ้นแน่ แต่เราอยากชวนทุกคนมาพักเบรก ชาร์จพลังใจ กับ 5 หนังสืออ่านสบายๆ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตให้ราบรื่นในช่วงวัยที่ต้องเผชิญกับความกดดันในชีวิตและการทำงาน เพื่อที่จะได้ผ่านพ้นแต่ละวันไปได้อย่างไม่หนักหนา และตระหนักว่ายังมีคนอีกมากมายที่รู้สึกไม่ต่างจากเรา ‘พักให้ไหว ค่อยไปต่อ’ หนังสือที่บอกว่าใจจะแข็งแรงขึ้นถ้าพักเสียบ้างเขียนโดย Nina Kim ในยุคสมัยที่มีแต่คนบอกให้แอ็กทีฟ ลงทุน ออมเงิน หาเงินเพิ่ม พัฒนาตัวเอง ทำธุรกิจที่สองสามสี่ ฯลฯ จะเป็นอะไรไหมถ้าเราจะขอไม่ทำอะไร อยู่เฉยๆ และให้พื้นที่ตัวเองได้หายใจ หนังสือเล่มกะทัดรัดเล่มนี้มีเนื้อหาให้กำลังใจผู้คนที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะเมื่อต้องทำงาน มีภาระ มีความรับผิดชอบ ชีวิตแสนวุ่นวาย จะหาพื้นที่หายใจอย่างปลอดโปร่งคงยากไปหมด การอดทนอาจเป็นหนทางสำคัญที่จะทำให้มีแรงย่างก้าวไปแต่ละวัน แต่ขณะเดียวกันการพักผ่อนก็สำคัญไม่แพ้กัน ถ้าเหนื่อยแล้วรู้จักพัก ร้องไห้บ้างเมื่อรู้สึกเศร้า ระบายความโกรธออกมาบ้าง คงทำให้ใจแข็งแกร่งกว่าที่เป็นอยู่ ลองให้เวลาและพื้นที่ตัวเองบ้าง ลองไม่ต้องอดทนแล้วปลดปล่อยความในใจออกมา อาจทำให้ชีวิตสุขขึ้น […]
ไปเที่ยว ‘ราชเทวี’ สำรวจศิลปวัฒนธรรมโบราณและร่วมสมัยใจกลางกรุงเทพฯ
เราเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ที่เคยมาเยือนกรุงเทพฯ หรืออาศัยอยู่ในเมืองนี้ คงรู้จักและเคยได้ยินชื่อเขต ‘ราชเทวี’ ย่านธุรกิจใจกลางเมืองที่คั่นกลางระหว่างสองจุดหมายปลายทางสำคัญอย่าง ‘พญาไท’ และ ‘สยาม’ ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์กลางความเจริญทางเศรษฐกิจและไลฟ์สไตล์ของคนเมือง เพราะเป็นทั้งจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และที่ตั้งของศูนย์การค้าทันสมัยมากมาย ราชเทวีจึงกลายเป็นโลเคชันโดดเด่นและน่าอยู่อาศัยแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ไปโดยปริยาย ทว่า ราชเทวีไม่ได้เป็นแค่ ‘ทำเลทอง’ กลางเมืองเท่านั้น แต่งานสร้างสรรค์โลกสมัยใหม่หลายรูปแบบก็มีจุดเริ่มต้นอยู่ในย่านริมคลองแสนแสบแห่งนี้เช่นกัน วันนี้ Urban Creature ขออาสาเป็นไกด์พาทุกคนไปทัวร์ย่านนี้ในมุมมองที่ต่างไปจากเดิม ผ่านการสำรวจ Art & Culture ที่แฝงตัวอยู่ในอณูของย่าน อย่างกราฟฟิตี้และสตรีทอาร์ตลายเส้นการ์ตูนญี่ปุ่นที่โอบล้อมสวนสาธารณะสีเขียวใจกลางเมือง และอาร์ตสตูดิโอที่ใช้ศิลปะเป็นเครื่องมือเยียวยาจิตใจและเชื่อมโยงคนในสังคมเข้าหากัน เป็นศิลปะยุคใหม่ที่เหมาะสำหรับคนที่อยากเปลี่ยนบรรยากาศ ออกจากแกลเลอรี และมาเสพงานสร้างสรรค์กลางแจ้ง รวมไปถึงคนที่อยากเปิดประสบการณ์ใหม่จากการลงมือทำศิลปะด้วยตัวเอง และถ้าศึกษาประวัติศาสตร์ลึกลงไป ราชเทวีถือเป็นย่านเก่าแก่ที่อยู่คู่กรุงเทพมหานครมายาวนาน ใต้ภาพความเป็นเมือง แหล่งสังสรรค์ของคนรุ่นใหม่ ที่นี่คือที่ตั้งของชุมชนมุสลิมแขกจามอายุกว่า 230 ปี ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องภูมิปัญญาการทอผ้าคุณภาพดีมายาวนาน และยังมีมัสยิดแห่งแรกของฝั่งพระนคร ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของชุมชนแห่งนี้ เป็นสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ ที่ควรค่าแก่การไปเยือน และอนุรักษ์ไว้ ราชเทวีในสายตาของเราจึงอาจเรียกได้ว่าเป็นย่านหนึ่ง ที่ศิลปวัฒนธรรมของโลกเก่าเดินทางข้ามกาลเวลามาบรรจบกับงานสร้างสรรค์ร่วมสมัย ข้อดีของราชเทวีก็คือโลเคชันที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง คนทุกเพศทุกวัยเดินทางมาได้โดยระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ แถมยังเดินได้ยาวๆ หมดห่วงเรื่องการปล่อยมลพิษจากการใช้รถยนต์ส่วนตัว เป็นจุดท่องเที่ยวที่มีเรื่องราวน่าสนใจ […]
สำรวจป้ายหาเสียงในฤดูกาลเลือกตั้งกรุงเทพฯ ติดแบบไหนพัง ตั้งตรงไหนปัง ลองมาดูกัน
ในฤดูเลือกตั้ง นอกจากจะได้เห็นภาพการปรากฏตัวของแคนดิเดตนักการเมืองหลายคนบ่อยๆ ทั้งในหน้าสื่อ และการลงพื้นที่ชุมชนต่างๆ สิ่งที่เห็นได้ถี่ไม่แพ้กันก็คือ ‘ป้ายหาเสียง’ และ ‘ประกาศหาเสียง’ ของแคนดิเดตแต่ละคนหรือแต่ละพรรค ที่จัดเต็มด้วยสโลแกน และนโยบายการแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งในช่วงเดือนเมษายน 2565 นี้ ภาพบรรยากาศป้ายมากมายที่เราเคยเห็นในศึกการเลือกตั้งครั้งก่อนๆ ต่างทยอยกลับมาคึกคักอีกครั้ง ใช่ เราหมายถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และสภากรุงเทพฯ (ส.ก.) นั่นแหละ อีกไม่นาน คนกรุงเทพฯ จะได้ใช้สิทธิ์ของตัวเองในคูหาอีกครั้ง หลังจากรัฐริบเอาเสียงของประชาชนไปนานหลายปี ซึ่งคนกรุงจะได้เข้าคูหาเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 หลังยืดเยื้อมาตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว เมื่อมีการคอนเฟิร์มแน่ชัด ผู้สมัครหลายคนก็เริ่มติดป้ายหาเสียงแบบไม่มีใครยอมใคร แถมยังมีการเริ่มปิดประกาศและติดตั้งป้ายก่อนมีการประกาศหมายเลขประจำตัวผู้สมัครในวันที่ 31 มีนาคม – 4 เมษายน 2565 เสียด้วยซ้ำ ถ้าสังเกตดีๆ ในโลกออนไลน์ตอนนี้เริ่มมีคอนเทนต์เกี่ยวกับการเลือกตั้งในกรุงเทพฯ เยอะขึ้นเรื่อยๆ มีคนถ่ายภาพป้ายเลือกตั้งที่พบเจอมาแชร์ต่อมากมาย ทั้งในมุมตลกขบขัน มุมซีเรียส มุม Complain ไปจนถึงข้อเสนอ และเสียงวิจารณ์เกี่ยวกับการออกแบบคอนเทนต์ ดีไซน์ป้ายหาเสียง ไปจนถึงความเหมาะสมของการติดตั้งป้ายในแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ เราจึงพาทุกคนออกไปสำรวจเมืองในย่านต่างๆ […]
Juvenile Justice : ซีรีส์อาชญากรเด็กที่ตั้งคำถามว่า เราพยายามเพื่ออนาคตของชาติมากพอหรือยัง?
เด็ก คือ ผ้าขาวบริสุทธิ์ เด็ก คือ ความหวังของชาติ เด็ก คือ อนาคต เด็ก คือ สมบัติอันล้ำค่าของโลก คือคำกล่าวที่เราเห็นกันจนเกร่อ แต่ถ้าเด็กเหล่านั้น คือผู้ลงมือสังหารเด็กอายุ 9 ขวบที่ไม่เคยรู้จักหรืออาฆาตแค้นกันมาก่อน จากนั้นจึงลงมือชำแหละและอำพรางศพอย่างโหดเหี้ยม คือผู้ทุจริตในการสอบครั้งใหญ่ เป็นสาเหตุให้เด็กๆ ในชั้นเรียนที่เหลือต้องเผชิญผลกระทบมหาศาลจนอาจถึงขั้นอนาคตดับ คือผู้ที่หลอกลวง รุมกระทำชำเราเด็กหญิงผู้ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ พร้อมถ่ายคลิปไว้ข่มขู่ แถมมองเรื่องนี้เป็นเรื่องตลก และพูดถึงมันด้วยสีหน้าขบขันไม่รู้ร้อนรู้หนาว คือผู้ที่กระทำผิดซ้ำซากโดยไม่มีทีท่าสำนึกผิดและไร้วี่แววที่จะปรับปรุงตัวเป็นคนที่ดีของสังคมแม้จะโดนลงโทษและได้รับโอกาสหลายต่อหลายครั้ง เราจะยังเห็นด้วยกับข้อความสี่บรรทัดแรกของบทความนี้อยู่ไหม? ไม่ว่าคำตอบของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร เราอยากจะชวนคุยต่ออีกสักนิดหนึ่งว่า เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? และ สังคมของเรากำลังจะพาเด็กๆ เหล่านี้ไปไหนต่อ? นี่เป็นคำถามที่ Juvenile Justice ซีรีส์ Courtroom Drama เนื้อหาเข้มข้นจากเกาหลีใต้จะพาคนดูขบคิดและหาคำตอบไปพร้อมๆ กัน Juvenile Justice เล่าเรื่องของ ชิมอึนซอก (รับบทโดย คิมฮเยซู) ผู้พิพากษาศาลเยาวชนที่มากับความมุ่งมั่นแรงกล้าที่จะตัดสินและลงโทษเยาวชนผู้กระทำผิดอย่างเหมาะสม ยุติธรรม และพร้อมจะทำทุกทางให้ผู้กระทำผิดได้สำนึกถึงความผิดบาปที่ตนได้กระทำ แม้ผู้กระทำผิดที่เรากำลังพูดถึงจะเป็นเยาวชนก็ตามเพราะว่า “ฉันเกลียดเยาวชนที่กระทำผิด” ชิมอึนซอกกล่าวเอาไว้ในตอนแรกของซีรีส์ *หลังจากนี้เป็นการเปิดเผยเนื้อหาส่วนหนึ่ง […]
‘เซ็นทรัล ทำ’ ชวนทุกคนมาทำด้วยกัน ทำด้วยใจ กับภาพยนตร์โฆษณา ‘วงจรชีวิตของการทำ’
ความเหลื่อมล้ำคือหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่เรื้อรังของประเทศไทยมาตลอด แน่นอนว่าการจะลดความรุนแรงของปัญหานี้หรือกระทั่งจัดการปัญหาให้หมดไป ต้องมาจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ลดช่องว่างที่ห่างกันระหว่างคนรวย-คนจน ให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน แต่อย่างที่รู้กันโดยทั่วไปว่าความเหลื่อมล้ำเป็นโจทย์ใหญ่ ที่ไม่ใช่แค่ใครหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของสังคมจะทำให้สำเร็จได้ ดังนั้น การแก้ปัญหาจึงต้องอาศัยความร่วมมือของภาคเอกชนและสังคม ภายใต้การมีจุดร่วมบางอย่างที่เชื่อมโยงและเห็นตรงกัน เพื่อเดินหน้าไปด้วยกันอย่างเข้าใจ ‘เซ็นทรัล ทำ’ (CENTRAL Tham) โดยกลุ่มเซ็นทรัล คือหนึ่งในตัวอย่างของภาคเอกชนที่ดำเนินธุรกิจและขับเคลื่อนเรื่องชุมชน คน และสิ่งแวดล้อม กับความเชื่อมั่นในแนวคิด ‘การสร้างคุณค่าร่วม (Creating Shared Values)’ ระหว่างธุรกิจและสังคมให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน จากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า สังคมจะดีขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงจากการร่วมลงมือทำของทุกคน ทำให้ปี 2022 นี้ ‘เซ็นทรัล ทำ’ เลือกใช้แท็กไลน์ ‘ทำด้วยกัน ทำด้วยใจ’ มาตอกย้ำความมุ่งมั่นตั้งใจ รวมถึงใช้เป็นสารตั้งต้นในการคิดและทำโครงการเพื่อชุมชน โดยมุ่งเน้นส่งเสริมความยั่งยืนจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ ครอบคลุมทั้งการพัฒนาด้านการศึกษา คุณภาพชีวิตที่ดี การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม การสร้างอาชีพให้คนพิการ การลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการพัฒนาสินค้าชุมชนในหลากหลายแนวทาง นอกจากนี้ ‘เซ็นทรัล ทำ’ ยังมีความตั้งใจอยากชวนทุกคนมาร่วมกันทำให้มากขึ้นและแข็งแรงขึ้น เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จึงเลือกสื่อสารออกมาผ่านภาพยนตร์โฆษณาชื่อ ‘วงจรชีวิตของการทำ’ รวมถึงสื่อต่างๆ ด้วยเหตุนี้ เราเลยชวน พิชัย […]
MILKBREW COFFEE ร้านกาแฟนมสุดชิกในอาคารมรดกทางวัฒนธรรมญี่ปุ่น
ความผูกพันที่มีกับจังหวัดซะกะพาเรากลับไปเยี่ยมที่นี่ทุกครั้งที่มีโอกาส เมืองลูกรักที่แอบแวะไปบ่อยๆ คือ Ureshino ซึ่งมีทั้งเครื่องปั้นดินเผาเก๋ไก๋ อนเซ็น ชาเขียวและคาเฟ่กรุบกริบ สร้างความเพลิดเพลินแบบไม่เคยทำให้ผิดหวัง และแล้วทริปล่าสุด ซะกะก็กัมบัตเตะ (พยายาม) นำความกรุบกริบใหม่ๆ มาทำให้ประหลาดใจอีกครั้ง คราวนี้ไม่ใช่ชาเขียวของดังประจำเมือง แต่เป็นร้านกาแฟในย่านอนุรักษ์อันเงียบสงบที่ได้รับความสนใจจากสื่อมากมายเพราะความกรุบกริบหลายสิ่ง คุณ MILKBREW COFFEE เป็นร้านกาแฟนมสุดชิกภายในอาคารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรม การตกแต่งภายในดูล้ำอย่างไม่รุกรานความเก่าแก่ นอกจากนี้ยังนำเสนอกาแฟรูปแบบใหม่ที่นมได้รับบทเด่นไม่แพ้กันเพราะ Hirotaka Nakashima คุณพี่เจ้าของร้านคือทายาทของ Nakashima Farm ฟาร์มนมชื่อดังซึ่งเชี่ยวชาญด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนมจนได้รับรางวัลระดับนานาชาติมาแล้ว ยามบ่ายวันอาทิตย์ที่มีแดดออกหลังหิมะเพิ่งหยุดโปรยปราย ฮิโระทะกะพร้อมแจกแจงความกรุบกริบที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วให้เราฟังอย่างละเอียดยิบ เขาบอกว่าคาเฟ่แห่งนี้ไม่ใช่ร้านขายอาหารและเครื่องดื่ม แต่เป็นร้าน Monozukuri ที่แปลว่าการผลิต เพราะพวกเขามีแบ็กกราวนด์ที่แข็งแกร่งในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ยังไงล่ะ ชงนมกับกาแฟ ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันดีกว่าว่า MILKBREW COFFEE คืออะไร ทุกคนน่าจะรู้จักกาแฟ Cold Brew (กาแฟสกัดเย็น) อยู่แล้ว MILKBREW COFFEE เป็นกาแฟนมที่เกิดขึ้นจากหลักการเดียวกันนั้น แต่แทนที่จะนำกาแฟไปแช่น้ำก็แช่นมสดจากเต้าของพี่วัวในฟาร์มจนได้กาแฟนมที่มีความละมุน รสเบาๆ แต่สัมผัสได้ถึงกลิ่นหอมและเอกลักษณ์ของกาแฟได้อย่างชัดเจน ฮิโระทะกะค้นพบความอร่อยนี้โดยบังเอิญเมื่อเขาซื้อ Cold Brew Pack […]
ชาวคอนโดฯ ทำอะไรได้บ้าง ถ้ามีตึกสูงมาสร้างข้างๆ บดบังวิวที่เคยมองเห็น
เมื่อไม่นานนี้ มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของตึก One City Centre ตึกสำนักงานสร้างใหม่ที่อยู่ติดกับตึก 98 Wireless คอนโดมิเนียมสุดหรูที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ข้อถกเถียงที่ว่าคือ ทำไมตึกที่ดูใหญ่โตขนาดนี้ถึงสร้างติดกับคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยได้อย่างใกล้ชิดสุดๆ จนสร้างความรู้สึกกังวลใจให้ผู้คนในแถบนั้น นอกจากประเด็นความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยที่น่าขบคิดต่อแล้ว การที่มีสิ่งก่อสร้างมาตั้งตระหง่านบดบังทิวทัศน์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวเพิ่มมูลค่าการซื้อ-ขายของห้องที่อยู่บนชั้นสูงๆ ก็ดูเป็นปัญหาใหญ่ และในอนาคต เราคาดเดาว่ากรุงเทพฯ น่าจะมีกรณีแบบนี้ให้เห็นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคที่คนรุ่นใหม่เลือกอยู่คอนโดมิเนียมมากกว่าบ้านเดี่ยวในสมัยก่อน คำถามสำคัญคือ ถ้าหากวันหนึ่ง คอนโดฯ ที่เราทำงานเก็บเงินเช่าหรือซื้อ เพื่อให้ได้มองวิวสวยๆ เกิดมีตึกสูงใหญ่มาสร้าง บดบังสิ่งที่เคยเห็นทั้งหมด เราในฐานะเจ้าของห้องจะทำอะไรได้ไหม สิทธิของผู้อยู่อาศัย และตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อมูลชุดใดที่ควรรู้และตั้งคำถามต่อบ้าง เราจึงชวน แทนศร พรปัญญาภัทร กรรมการผู้จัดการ และสถาปนิกผังเมือง บริษัท เออเบิ้น รูม จำกัด ที่คลุกคลีกับการทำงานพัฒนากรุงเทพฯ มาเกือบสิบปี มาพูดคุยถึงประเด็นนี้ รวมถึงบริบทรอบข้างที่อาจเป็นประโยชน์กับคนเมืองในอนาคต อาคารสูงกวนตาเป็นปัญหากวนใจ เริ่มด้วยข้อควรรู้เกี่ยวกับอาคารสูงให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน ที่จริงแล้วประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับอาคารมาตั้งแต่ปี 2533 แต่เมื่อเริ่มมีการพัฒนาอาคารสูงกันมากขึ้น รัฐจึงบัญญัติคำว่าอาคารสูงขึ้นในปี 2543 โดยนิยามของอาคารสูงตามกฎหมายคือ อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรหรือ 8 […]
ภาพถ่ายสื่อเรื่องราว “เป็นมากกว่าโรงพยาบาล” กับ โรงพยาบาลกรุงเทพ ผ่านมุมมอง 3 ช่างภาพ
เวลาพูดคำว่า ‘โรงพยาบาล’ เราอาจจะนึกถึงเสียงไอ จาม หรือโรคภัยไข้เจ็บ ที่เราต้องเจอในชีวิตประจำวัน นั่นอาจจะชวนให้เราสัมผัสความรู้สึกด้านลบในการใช้บริการแต่ละครั้งได้ แต่สำหรับ ‘โรงพยาบาลกรุงเทพ’ ในภาพจำของใครหลายคนกลับเป็นภาพเชิงบวกที่มีการบริการต้อนรับที่เป็นมิตร มีเทคโนโลยีการรักษาที่ทันสมัย มีเสียงดนตรีที่ช่วยผ่อนคลาย สร้างความสบายใจให้กับผู้ที่เข้ามารับบริการ นี่คือมาตรฐานการทำงานตลอด 50 ปีของโรงพยาบาลกรุงเทพ ที่ ‘เป็นมากกว่าโรงพยาบาล’ และไม่ได้มีแค่เรื่องการรักษาพยาบาล แต่ยังเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวดี ๆ ที่เราอยากชวนมาสัมผัสผ่านผลงานภาพถ่ายฝีมือช่างภาพชาวไทย 3 คน ชวนมองโรงพยาบาลผ่านมุมมองศิลปะที่ทำให้เห็นทั้งสถานที่ ผู้คนเบื้องหลัง และการทำงานเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีให้กับคนในสังคม พญ.เมธินี ไหมแพง รองประธานคณะผู้บริหาร กลุ่ม 1 และผู้อำนวยการโรงพยาบาลกรุงเทพ บอกเราว่า ตลอด 50 ปีนั้น ทางโรงพยาบาลยึดมั่นในแนวคิดการให้บริการที่มีคนไข้เป็นศูนย์กลาง มุ่งมั่นรักษาผู้ป่วยทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติให้มีสุขภาพแข็งแรงและมีคุณภาพที่ดี นอกเหนือจากบริการทางสุขภาพที่ครอบคลุมทุกโรค หลักๆ แล้ว โรงพยาบาลกรุงเทพยังนำเทคโนโลยีมายกระดับการบริการมากขึ้นเป็น ‘Healthcare Intelligence’ หรือ ‘เพื่อนอัจฉริยะที่รู้ใจทุกเรื่องสุขภาพ’ มีการเชื่อมต่อข้อมูลในระบบโรงพยาบาลถึงกันตลอด 24 ชั่วโมง และยังมีแอปพลิเคชันมายบีพลัส (My B+) […]
กรุงเทพฯ ยังมี ‘หวัง’ ในสายตา ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ l Bangkok Hope EP.1
“ถ้าเกิดเรายังทำกรุงเทพฯ ให้ดีไม่ได้ ก็ยากที่ทำประเทศให้ดีได้” Bangkok Hope Ep.1 ขอพามานั่งคุยกับ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้สมัครลงชิงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ อย่างเป็นทางการในฐานะผู้สมัครอิสระ ตลอดการพูดคุย ได้เห็นประเด็นกรุงเทพฯ เต็มไปด้วยปัญหา ตั้งแต่รถติด น้ำท่วม ฟุตพาทเดินไม่ได้ ไฟติดๆ ดับๆ พื้นที่สีเขียวไม่เพียงพอ ฯลฯ แต่ในสายตาของ ‘ชัชชาติ’ ยังมีความหวังต่อการเปลี่ยนแปลงกรุงเทพฯ ให้ดีได้เสมอ ทำไมชัชชาติถึงมอง กรุงเทพฯ ยังมีหวังที่จะเปลี่ยนแปลง ร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันได้ในวีดีโอนี้เลย! #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive #ชัชชาติสิทธิพันธุ์ #ผู้ว่ากทม. #เลือกตั้งผู้ว่าฯ
SpokeDark TV เส้นทางแสบสันของสื่อประชาธิปไตย ที่อยู่ได้เพราะ “สปอนเซอร์เราคือคุณผู้ชม”
“เราอาจไม่ได้ไปต่อ” พิธีกรในชุดพ่อหมอสีขาวใส่สร้อยประคำบอกกับผู้ชมผ่านรายการ ‘เจาะข่าวตื้น’ (ชื่อเต็มเดิมคือ ‘เจาะข่าวตื้น ดูถูกสติปัญญา’) ทางช่อง SpokeDark TV ที่เดินทางมาถึงตอนที่ 287 ความพังพินาศของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 เป็นต้นมา และสึนามิเศรษฐกิจถล่มซัดอีกครั้งในปี 2563 นับตั้งแต่การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เราเห็นธุรกิจน้อยใหญ่ทยอยปิดตัว สำหรับ SpokeDark TV ทางรอดเดียวที่เหลืออยู่คือแรงสนับสนุนจากผู้ชมของช่อง ที่พอการันตีได้ด้วยยอดรับชมแต่ละคลิปไม่ต่ำกว่าหลักแสน ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2021 เป็นต้นมาคือภารกิจที่ช่องต้องหาผู้ชมมาสนับสนุนรายเดือนภายใน 45 วันเป็นจำนวน 15,000 คน เพื่อให้เพียงพอกับต้นทุนการดำเนินงานของบริษัท จากเดิมยอดคนสนับสนุนอยู่ที่หลักพัน ขึ้นมาจนถึงหลักหมื่น แต่สถานการณ์ก็ยังไม่น่าวางใจ นี่เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญในเส้นทางสื่อออนไลน์กว่า 15 ปีที่เปิดรับรายได้จากการสนับสนุนของผู้ชมรายการครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ภูมิทัศน์ของสื่อออนไลน์มีจำนวนนับได้ พวกเขาเริ่มทำรายการทีวีออนไลน์ในชื่อ ‘iHereTV’ จนมาเป็น ‘SpokeDark TV’ ในวันที่ทุกคนต่างลุกขึ้นมาเป็นสื่อ ผ่านการผลิตคอนเทนต์รวดเร็วเพียงปลายนิ้ว ประกอบกับสำนักข่าวออนไลน์ที่เกิดใหม่มากมาย ท่ามกลางมรสุมรุมเร้าทางการเมืองและเศรษฐกิจ แม้กระทั่งคดีความหมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรีที่ผู้จัดรายการต้องแบกรับ แต่สื่อออนไลน์อย่าง SpokeDark TV ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเจ้าแรกๆ […]
‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ จากดาวสภาฯ สู่การท้าชิงผู้ว่าฯ กทม. ที่พร้อมฟาดระบบนายทุน
ช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ใครติดตามการประชุมสภาฯ เป็นประจำคงคุ้นเคยกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อคนหนึ่ง ที่วิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามถึงการทำงานของประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อย่างมีอรรถรส ฟาดแบบดุเด็ดเผ็ดมัน ตรงไปตรงมา และอัดแน่นไปด้วยชุดข้อมูลและเหตุผลที่ถี่ถ้วน จนหลายคนต้องยอมรับเลยว่า เขาได้พูดแทนใจคนไทยจำนวนมากที่สิ้นหวังกับรัฐบาลชุดปัจจุบันได้อย่างหลากมิติ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘วิโรจน์ ลักขณาอดิศร’ อดีต ส.ส. บัญชีรายชื่อ จากพรรคก้าวไกล ที่ผ่านมา เขามีผลงานโดดเด่นจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจอยู่หลายๆ ประเด็น เช่น การเปิดหลักฐานแฉปฏิบัติการ Information Operation (IO) แผนจัดหาวัคซีนโควิด-19 จอมลวงโลก รวมไปถึงการที่รัฐคุกคามนักเรียนที่ออกมาแสดงจุดยืนทางการเมือง แต่เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เขาประกาศตัดสินใจลาออกจากการเป็น ส.ส. และขอพิสูจน์ตัวเองในบทบาทใหม่ ด้วยการเป็น ‘แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ พร้อมชูนโยบายล้มระบบส่วย ยกเลิกราชการรวมศูนย์ ท้าชนนายทุนที่เอาเปรียบประชาชน และมุ่งแก้ปัญหาคุณภาพชีวิตของชาวกรุงภายใต้สโลแกน ‘หมดเวลาซุกปัญหาไว้ใต้พรม พร้อมชนเพื่อคนกรุงเทพฯ’ วันนี้ เราจึงนัดพูดคุยกับวิโรจน์กับตำนานบทใหม่ของเขา เพื่อตอบข้อสงสัยว่า ทำไมเขาถึงยอมสละตำแหน่งดาวรุ่งในสภาฯ มาลงสมัครตำแหน่งผู้ว่าฯ เขามีความหวังอย่างไรกับการแก้ปัญหาของเมืองที่ ‘นายทุนต้องมาก่อนใคร’ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน และทำให้ ‘ทุกคน’ […]