7 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ไอเดียแก้ปัญหาเล็กๆ ที่ยุ่งยาก แต่พาเมืองไปต่อได้อย่างยิ่งใหญ่

พูดได้ว่า สตาร์ทอัพ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแล้ว แต่ก็พูดได้อีกเช่นกันว่า ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าสตาร์ทอัพคืออะไร ทำอะไร แล้วใครได้ประโยชน์บ้าง จากเอกสาร ‘Set Your Startup Business Guide รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ’ ที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้สรุปนิยามของธุรกิจสตาร์ทอัพว่า  “เป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็กๆ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าว กระโดด ออกแบบให้ธุรกิจมีการทำซ้ำได้โดยง่าย (Repeatable) และขยายกิจการได้ง่าย (Scalable) มีการนำเทคโนโลยี และ/หรือ นวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไอเดียเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำมาก่อน” พอหันกลับมามองสถานการณ์สตาร์ทอัพในไทย แม้ว่าเราอาจจะยังไม่สามารถพาตัวเองไปถึงระดับเอเชียหรือสากลได้ แต่แนวโน้มที่ผ่านมาก็พอพูดได้เต็มปากว่าสตาร์ทอัพไทยมีทิศทางที่ดี นั่นคือ นอกจากตัวธุรกิจจะได้รับการสนับสนุนจากทั้งเอกชนและรัฐบาลแล้ว ไอเดียต่างๆ ที่เหล่าชาวสตาร์ทอัพคิดค้นก็ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้ผู้คนได้ตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึงระดับเมืองเลย เราจึงขอรวบรวม 7 สตาร์ทอัพไทยที่น่าจับตามอง และมีไอเดียเป็นประโยชน์กับคนเมือง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากโครงการ Hack BKK จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาด้วย iTAX เทคโนโลยีด้านภาษี iTAX คือเทคโนโลยีจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยปริญญาเอกด้านกฎหมายภาษีของ ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ (ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย) ด้วยความที่เชื่อว่าผู้เสียภาษีคือฮีโร่ตัวจริงของประเทศ เขาจึงหยิบเอาเทคโนโลยีชั้นสูงและดีไซน์ที่เรียบง่ายมาทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน […]

Urban Eyes 04/50 เขตคลองสามวา

คลองสามวาเป็นหนึ่งในเขตที่เราไม่ค่อยรู้จักหรือได้ไปเยี่ยมเยียนเท่าไหร่ แต่พอเริ่มหาข้อมูล ก็ทำให้รู้ว่าเราเคยมาเหยียบเขตนี้หลายรอบแล้วเพราะ Safari World ตั้งอยู่ที่นี่นั่นเอง  เขตคลองสามวาแบ่งออกเป็นฝั่งตะวันออกและตะวันตก ฝั่งตะวันออกดูแล้วส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สีเขียว ส่วนฝั่งตะวันตกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยซะมากกว่า พอถึงวันลงพื้นที่ เราก็ขับรถไปสำรวจพื้นที่โดยรอบ ช่วงเช้าตรงบริเวณตลาดหทัยมิตร ที่เป็นตลาดใหญ่ คนค่อนข้างเยอะและรถติดมาก ตัวตลาดมีหลังคาใหญ่ปิดมิดชิด อากาศถ่ายเทดี แต่เราหาซีนดีๆ ถ่ายรูปได้ค่อนข้างยาก โชคดีที่เราได้ข้อมูลพื้นที่โดยรวมของคลองสามวาจากแม่ค้าพ่อค้าในตลาด เขาอธิบายอย่างดีเลยว่าตรงนั้นตรงนี้เป็นอย่างไร  พอลองไปสำรวจดูแล้ว เราพบผู้คนในเขตนี้อยู่กันแบบกระจายตัว ไปไหนมาไหนต้องมียานพาหนะ อย่างน้อยๆ ก็รถมอเตอร์ไซค์สักคัน ถึงจะทำอะไรได้สะดวก ไม่เหมือนบางเขตที่พอใช้ขนส่งสาธารณะเดินทางได้  หลังจากนั้นเรามุ่งหน้าไปสถานที่ที่ปักหมุดไว้คือ วัดฝอกวนซัน ไท่ฮวาซื่อ ที่นี่เป็นวัดจีนที่ใหญ่โตมาก วันเสาร์-อาทิตย์ และวันพิเศษของจีน จะมีคนแวะเวียนมากันเต็มไปหมด ส่วนอีกที่คือวัดไทยชื่อ วัดพระยาสุเรนทร์ วัดนี้มีองค์พระใหญ่โตเช่นเดียวกัน คิดว่าช่วงวันหยุดคนก็น่าจะแน่นๆ ไม่ต่างกันแน่นอน ส่วนภายในตัวเมือง ช่วงเย็นจะมีตลาดนัดสี่แยกพระพรหมคลองสอง พ่อค้าแม่ค้ามากางเต็นท์กางร่มขายของกันเพียบ ส่วนใครต้องการบรรยากาศสบายๆ ชิลๆ อยู่กับธรรมชาติหน่อย ต้องขับรถไปทางฝั่งตะวันออก เพราะมีสวนวารีภิรมย์ ที่มีของเล่นสำหรับเด็กๆ และลานวิ่งยาวหลายกิโลเมตร ใครอยากนำจักรยานมาปั่นเล่นหรือเช่าที่นี่เอาก็ได้ ใครปั่นแล้วเจอควายเผือก 3 ตัวบอกด้วย อย่างวันที่เราไป น้องยืนกันนิ่งมากตอนแรกนึกว่าเป็นรูปปั้นซะแล้ว […]

ค่า Ft คืออะไร ทำไมใช้ไฟฟ้าเท่าเดิมแต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม

ถัดจากปัญหาฝนตกหนักน้ำท่วมขังที่หลายคนกังวลอยู่ในช่วงนี้ ก็คงเป็นเรื่อง ‘ค่าไฟ’ นี่แหละที่จะเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ถาโถมใส่ชาวไทยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันดับต่อไป อัตราค่าไฟฟ้าส่อแววเป็นปัญหาน่าปวดหัว หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศปรับ ‘ค่า Ft’ ของงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม ปี 2565 ขึ้นเป็น 93.43 สตางค์/หน่วย จากเดิม 24.77 สตางค์/หน่วย เพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 4 เท่า นี่ยังไม่รวมถึงไตรมาสเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ปี 2566 ที่จะถึงนี้ที่จะมีการปรับขึ้นเป็น 98.27 สตางค์/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพราะฉะนั้น ไม่ว่าแต่ละครัวเรือนจะใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าเดิมหรือน้อยลง พวกเขาก็อาจต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอยู่ดี หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ทำไมถึงเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการคิดค่าไฟ วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักส่วนประกอบสำคัญของบิลค่าไฟฟ้าอย่างค่า Ft ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร และทำไมการขึ้นค่า Ft ของ กกพ. ถึงทำให้ค่าไฟแพงขึ้นขนาดนี้ เผื่อจะช่วยไขข้อข้องใจของใครหลายคน และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อวางแผนการใช้ไฟในอนาคตได้ บิลหนึ่งใบ ค่าไฟหนึ่งเดือน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของ […]

สำรวจปริมาณน้ำฝนของกรุงเทพฯ ปี 2565 ฝนอาจตกหนักสุดในรอบ 30 ปี 

วันนี้ฝนจะตกไหม? แล้วน้ำจะท่วมอีกหรือเปล่า? บทสนทนาเรื่องฟ้าฝนและน้ำท่วมดูเหมือนจะเป็นท็อปปิกใหญ่ของชาวกรุงเทพฯ ช่วงนี้ เพราะไม่ว่าจะอาศัยอยู่แถวไหนก็ดูจะเสี่ยงน้ำท่วมไปเสียทุกที่ อุปกรณ์กันฝนที่พกติดตัวทุกวันก็แทบจะไม่สามารถต้านทานฝนที่ตกหนักได้เลยสักวัน เมื่อฝนตกหนัก ก็ส่งผลให้น้ำระบายไม่ทันจนเกิดน้ำท่วมตามมา แน่นอนว่าการระบายน้ำช้าเป็นหนึ่งปัจจัยของปัญหาน้ำท่วมขัง แต่ก็อาจไม่ใช่ทั้งหมด เพราะเราและคนรอบตัวเองก็เห็นตรงกันว่า ปีนี้ฝนตกหนักมากกว่าปีก่อนๆ จนสังเกตได้ วันนี้ คอลัมน์ City by Numbers จึงอยากพาทุกคนย้อนดูปริมาณน้ำฝนช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2563 – 2565) เพื่อเปรียบเทียบว่าแต่ละปีมีปริมาณน้ำฝนต่างกันมากน้อยขนาดไหน และปี 2565 มีฝนตกหนักกว่าเดิมอย่างที่คิดจริงหรือไม่ บทความนี้อ้างอิงข้อมูลมาจาก สำนักการระบายน้ำ ที่อัปเดตข้อมูลปริมาณน้ำฝนให้เราได้ติดตามกันทุกวัน และสามารถเทียบความแตกต่างของปริมาณฝนผ่านชุดข้อมูลอย่าง ‘กราฟเปรียบเทียบปริมาณฝนรายเดือนสะสม’ ซึ่งเป็นปริมาณฝนรายเดือนสะสมเฉลี่ย 30 ปี (2534 – 2563) และปริมาณฝนรายเดือนตั้งแต่ปี 2563 – 2565  ที่แจ้งว่าในแต่ละปีนั้นมีปริมาณน้ำฝนสะสมเท่าไรบ้าง ปริมาณฝนรายเดือนสะสม เฉลี่ยคาบ 30 ปี (2534 – 2563) อยู่ที่ 1,689.7 มม. ปริมาณฝนรายเดือนสะสม […]

การจัดการขยะในเมือง กับ ก้อง Konggreengreen | Unlock the City EP.10

ขยะคือหนึ่งสาเหตุของน้ำท่วมเมือง  หลายคนน่าจะเห็นภาพฟูกที่นอน โซฟา และขยะชิ้นใหญ่เบิ้มที่ทางเจ้าหน้าที่เก็บกู้มาจากแหล่งน้ำ นอกจากความสกปรก ส่งกลิ่นเหม็นแล้ว ขยะพวกนี้ยังสร้างปัญหาอุดตัน ทำให้เก็บกักน้ำได้น้อยลง แม้จะมีความพยายามในการผลักดันการจัดการขยะมาหลายยุคสมัย แต่ในเมืองที่มีปัญหาขยะเรื้อรังมาอย่างเนิ่นนาน ถึงขนาดมีรายงานว่าคนกรุงเทพฯ ทิ้งขยะเฉลี่ยแล้ว คนละ 2.2 กิโลกรัม/วัน ภาพรวมเรื่องนี้ก็ยังไม่ดีขึ้นนัก นั่นเพราะเรายังมีนโยบายการจัดเก็บและจัดการขยะที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ประชาชนที่อยากลดการสร้างขยะก็ทำได้ไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะสภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์รายการ Unlock the City ชวน ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ก้องแห่ง Konggreengreen อินฟลูเอนเซอร์สายเขียว มาสนทนาถึงสถานการณ์การจัดการขยะในกรุงเทพฯ อะไรคืออุปสรรคที่ทำให้บ้านเราไม่สามารถจัดการขยะได้ดีแบบญี่ปุ่นหรือเยอรมนี วิธีการจัดการขยะแบบปัจเจกและสเกลเมืองควรเป็นแบบไหน ไปจนถึงการตั้งคำถามว่าแท้จริงแล้วประเทศไทยเหมาะกับการจัดการขยะแบบไหนกันแน่ ติดตามฟัง Urban Podcast ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/3U2dBYQLeAU Spotify : https://spoti.fi/3qUXgXz Apple Podcasts : https://apple.co/3ShtnfO Podbean : https://bit.ly/3BXGhu4 #UrbanCreature#UrbanPodcast#UnlocktheCity

เยอรมนีทำอย่างไรถึงเป็นประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก

คนส่วนใหญ่คงรู้อยู่แล้วว่า ‘การแยกขยะ’ หรือ ‘การรีไซเคิลขยะ’ นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศทั่วโลกผลักดันนโยบายเรื่องนี้มานานแล้ว และจำนวนไม่น้อยสามารถเปลี่ยนการแยกขยะให้เป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนทุกคนได้สำเร็จ ‘เยอรมนี’ ถือเป็นหนึ่งในต้นแบบของการจัดการและการรีไซเคิลขยะ เพราะข้อมูลปี 2021 ระบุว่า เยอรมนีคือประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก นั่นคือมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนขยะทั้งหมดที่ประเทศผลิตออกมา Urban Creature อยากพาทุกคนไปหาคำตอบว่า เยอรมนีทำอย่างไรถึงกลายเป็นดินแดนที่ยืนหนึ่งเรื่องการนำของเสียและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ผ่านการสำรวจนโยบายและโครงการที่เข้มแข็งของภาครัฐ ไปจนถึงการให้ความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชน 01 | นโยบายจัดการขยะที่เข้มแข็ง รัฐบาลเยอรมนีมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการจัดการขยะ รวมไปถึงการรีไซเคิลขยะภายในประเทศ เหตุผลหนึ่งมาจากการออกกฎหมายและนโยบายที่เข้มแข็ง ทำให้ภาคส่วนต่างๆ และประชาชนมีส่วนร่วมในการแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามนโยบายหลักที่เยอรมนีใช้ควบคุมและจัดการขยะภายในประเทศ ได้แก่ 1) ‘Packaging Ordinance (1991)’ หรือ ‘กฤษฎีกาว่าด้วยบรรจุภัณฑ์’ คือกฎหมายฉบับแรกของเยอรมนีที่กำหนดให้บรรดาผู้ผลิตสินค้าต้องจัดการขยะของแพ็กเกจจิ้งต่างๆ ซึ่งรวมทั้ง ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มตัวสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าเสียหาย, ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่งมาอีกทีเพื่อป้องกันความเสียหายและเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า สุดท้ายคือ ‘บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping Packaging)’ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เก็บรักษาและขนส่งตัวสินค้านั่นเอง รัฐบาลเยอรมนีมองว่า แพ็กเกจจิ้งหลายรูปแบบนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม […]

หนังสือราคาแพงขึ้น เราคิดไปเองหรือไม่

คุณคิดว่าเงิน 1,000 บาท ซื้อหนังสือได้กี่เล่ม มีความสุขตอนหยิบหนังสือลงตะกร้า มีน้ำตาตอนเห็นราคารวมที่ต้องจ่าย ชาวหนังสือใครเคยมีโมเมนต์นี้บ้าง ขอให้ยกมือขึ้น! เพราะทุกวันนี้หากกำเงินหนึ่งพันบาทเดินซื้อหนังสือที่ชื่นชอบสักสองสามเล่ม พอเห็นป้ายราคาอาจจะรู้สึกอยากปาดเหงื่อสักสี่ห้ารอบ ด้วยราคาหนังสือที่แพงมากขึ้นจากสมัยก่อนที่เคยมีราคาเฉลี่ยเล่มละ 100 – 200 บาท หนังสือการ์ตูนประมาณ 30 – 50 บาท แต่ปัจจุบันจากการสำรวจราคาหนังสือตามท้องตลาดส่วนใหญ่อยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย 200 – 400 บาท ยิ่งหนังสือการ์ตูนอยู่ในช่วงค่าเฉลี่ย 80 – 100 บาท ส่วนหนังสือรูปแบบ E-Book ก็มีราคาไม่ได้ห่างจากหนังสือเล่มมากเท่าไหร่นัก ซึ่งสมัยนี้เงินหนึ่งพันบาทอาจจะได้หนังสือประมาณ 2 – 3 เล่ม หากถามว่าเราคิดไปเองหรือไม่ที่หนังสือแพงขึ้น ขอบอกว่าคุณไม่ได้คิดไปคนเดียวหรอก เพราะมันสูงกว่าเดิมจริงๆ ต้นทุนหนังสือสูงขึ้น รายได้คนอ่านก็สูงขึ้น (นิดหนึ่ง) สำหรับหนังสือนับว่าเป็นสินค้ารูปแบบหนึ่งที่มีการปรับราคาขึ้นลงตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ยิ่งในยุคที่เกิดโรคระบาดและวิกฤตการเมืองในต่างประเทศ จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม หลายอุตสาหกรรมจึงต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นตามปัจจัยต่างๆ ซึ่งวงการสื่อสิ่งพิมพ์เองก็ได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมกระดาษจนต้องขึ้นราคาไปตามๆ กัน ในมุมของผู้ประกอบการสื่อสิ่งพิมพ์ อย่างสำนักพิมพ์ ‘พ.ศ.พัฒนา’ ที่ให้สัมภาษณ์ในสื่อไทยรัฐ เผยว่า […]

The Booksmith ร้านหนังสือต่างประเทศที่ทำธุรกิจบนความจริง และพร้อมปรับรับการเปลี่ยนแปลง

ในบรรดาธุรกิจที่พูดแล้วโรแมนติกที่สุด สุนทรีย์ที่สุด ช่างดูมีความหมายต่อชีวิตและสังคม จะไม่มี ‘ธุรกิจร้านหนังสือ’ คงไม่ได้ ทว่าเบื้องหลังภาพโรแมนติกเหล่านั้น หากมองด้วยเลนส์การทำธุรกิจที่ต้องค้าขาย เกิดการซื้อมา-ขายไป คงปฏิเสธไม่ได้ว่าร้านหนังสือก็คืออาชีพหนึ่งที่ดำรงภายใต้กฎที่ดิน แรงงาน และทุน เหมือนธุรกิจอื่นๆ The Booksmith คือร้านหนังสือต่างประเทศที่ก่อตั้งโดย ‘สิโรตม์ จิระประยูร’ ซึ่งกำลังย่างก้าวสู่ขวบปีสิบปีที่สองของธุรกิจในปีนี้ นั่นแปลว่าเขาทำร้านหนังสือมาแล้วกว่าสิบปี และเชื่อหรือไม่ว่าบริษัทเพิ่งมาขาดทุนก็เมื่อปี 2020 ที่เจอโควิด-19 นี่เอง อาจเพราะเคยมีประสบการณ์การทำงานที่บริษัทเอเซียบุ๊คส์มาอย่างยาวนาน บวกกับการมองหาโอกาสใหม่ๆ ในแวดวงธุรกิจหนังสือและการอ่านอยู่เสมอ ทำให้สิโรตม์บริหาร The Booksmith มาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถขยายอาณาจักรการอ่านจาก The Booksmith ที่เชียงใหม่ไปสู่สาขาที่สอง สาม สี่ ได้แก่ ร้านจำหน่ายนิตยสารต่างประเทศ The Papersmith ที่กรุงเทพฯ ร้าน The Booksmith ที่สนามบินดอนเมือง และสนามบินเชียงใหม่ ไปจนถึงการคอลแลบกับร้านหนังสือเชนสโตร์และซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าใหญ่ ก่อนจะตัดสินใจหยุดทำ เหลือแค่ 4 สาขาแรกที่กล่าวไปเท่านั้น โดยขอปิดทำการร้าน The Papersmith […]

Urban Eyes 03/50 เขตบางนา

ถ้าพูดถึงเขตบางนา สถานที่เด่นๆ ที่เรารู้จักคงหนีไม่พ้น ไบเทค บางนา และ เมกา บางนา รวมถึงคอกม้าแข่งที่เคยไปถ่ายตอนทำโปรเจกต์ครั้งก่อน แต่ครั้งนี้เมื่อเรากำหนดโจทย์ว่าต้องเป็นเซตภาพเขตบางนา ก็ทำให้รู้ว่า เมกา บางนา ดันไม่ได้อยู่ในเขตบางนา แถมไม่ได้อยู่ในกรุงเทพฯ ด้วยซ้ำ เราเลยพยายามหาดูว่ามีที่ไหนน่าสนใจอีกไหม  ที่น่าแปลกใจคือ ตอนหาข้อมูลเกี่ยวกับเขตบางนา กลับเจอแต่คนแนะนำให้ไปที่อื่นที่ไม่ได้อยู่ในเขตบางนาเลยสักนิด จนสุดท้ายมาสะดุดกับชื่อซอยลาซาล (Lasalle) ที่ฟังดูแปลกหูดี อีกอย่างเขตนี้แทบไม่มีสวนสาธารณะให้คนมาออกกำลังกายกันเลย ถือว่าเป็นงานยากสำหรับการถ่ายสตรีทอยู่เหมือนกัน ทำให้คิดว่าลองไปดูหน้างานก็น่าจะได้แหละ ในวันที่ไปถ่ายภาพ เพื่อนที่ดีที่สุดในการถามทางของเราคือคนในพื้นที่ พี่วินมอเตอร์ไซค์ช่วยเราได้ตลอด ไม่ว่าจะทางเล็ก ทางน้อย ตรงไหนควรไป ตรงไหนมีอะไร ฯลฯ สรุปความว่าช่วงเช้าจุดที่จะมีคนเยอะๆ คือแถวตลาดอุดมสุข นอกจากเดินทางง่ายเพราะอยู่ใกล้ๆ สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุขแล้ว ของกินก็เยอะ มีคนคึกคักเข้า-ออกตลาดทั้งวัน พอสายๆ แดดเริ่มลงหัว พี่วินฯ ก็แนะนำให้ลองไปที่ท่าน้ำวัดบางนานอก เพราะเป็นจุดที่เรือข้ามฟากขนทั้งคนและมอเตอร์ไซค์ข้ามระหว่างพระประแดง-บางนา แต่เราคิดว่าถ้ามาช่วงเที่ยงๆ น่าจะดี เพราะจะได้แนวแสงที่ทแยงลงมาระหว่างเรือกับโป๊ะ แสงจะส่องลงตัวคนที่ขึ้นเรือข้ามฟากพอดี หลังจากนั้นก็มาถึงซอยลาซาลที่เราสงสัยถึงที่มาที่ไปของชื่อ ซึ่งถ้าดูจากแผนที่แล้ว ซอยนี้เป็นซอยค่อนข้างยาวและลึก ลักษณะบ้านแถวนี้ส่วนใหญ่เป็นบ้านทาวน์เฮาส์ ไม่ค่อยมีบ้านเดี่ยวเท่าไหร่ พอเดินเข้ามาเรื่อยๆ […]

เบื้องลึกเบื้องหลังการทำงานของ BTS Depot เป็นยังไงมาดูกัน! l Urban เจอนี่ เจอ BTS

‘สถานีต่อไป สถานีปลายทาง หมอชิต’ เราเชื่อว่าคนที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเป็นประจำ น่าจะคุ้นชินกับประโยคนี้ดี แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าหลังจากสถานีนี้แล้วยังมีอีกหนึ่งสถานี ที่ทำหน้าที่เป็นเบื้องหลังดูแลรักษารถไฟฟ้า BTS ในทุกๆ วันให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ Urban เจอนี่ เอพิโสดนี้ขออาสาพาทุกคนไปทัวร์ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า BTS หรืออีกชื่อหนึ่งคือ BTS Depot ว่าภายหลังจากรถไฟฟ้า BTS หยุดพักให้บริการในแต่ละวันนั้นได้รับการดูแลอย่างไรบ้าง พร้อมทั้งพูดคุยถึงวิสัยทัศน์และเรื่องราวการทำงานจากผู้บริหารและหัวหน้าช่าง

KULTX พื้นที่ศิลปะแห่งใหม่โดยคนทำงานหน้าเก่า ที่อยากให้ชุมชนมีส่วนร่วมในเมืองขอนแก่น

แม้จะไม่ได้ใหญ่และมีมากเหมือนในกรุงเทพฯ แต่การกระจายตัวของพื้นที่แสดงศิลปะในต่างจังหวัดนั้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีและน่าจับตามอง ดังจะเห็นได้จากทางภาคใต้ที่มี ปัตตานี อาร์ตสเปซ และ หอศิลป์เดอลาแปร์ นราธิวาส ส่วนภาคเหนือมีพื้นที่ศิลปะกระจายตัวทั่วสารทิศทั้งเชียงใหม่และเชียงราย หรือจังหวัดเล็กๆ อย่างพะเยาก็มี ARTCADE  ฝั่งอีสานก็เป็นที่เลื่องชื่อในด้านการผลักดันศิลปะไม่แพ้กัน อย่างที่โคราชมีเทศกาลศิลปะนานาชาติ Thailand Biennale ขณะเดียวกัน ขอนแก่นก็มีนิทรรศการศิลปะโด่งดังชื่อ มานิเฟสโต้ (KhonKaen Manifesto) ยังไม่นับรวมพื้นที่แสดงศิลปะ ทั้งหอศิลป์มหาวิทยาลัย แกลเลอรีอย่าง ใหม่อีหลี และ YMD Art Space อันเกิดจากการผลักดันของกลุ่มเพื่อนศิลปินที่ช่วยกันสร้างพื้นที่ศิลปะ จนแตกกิ่งก้านเป็นเทศกาลศิลปะ S.O.E Our City Old Town แก่น เก่า เก๋า ที่เลือกใช้พื้นที่ในเมืองและชุมชนเก่าแก่ฝั่งทิศตะวันตกของบึงแก่นนคร ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานในการจัดงาน ในวันเวลาที่เมืองขอนแก่นกำลังเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลง เราขอชวนไปฟังเสียงของสองศิลปินตัวแทนกลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ที่ร่วมด้วยช่วยกันผลักดัน และขับเคลื่อนให้ขอนแก่นได้มีพื้นที่ทางศิลปะ นั่นคือ ‘ต้อง-อุกฤษฏ์ จอมยิ้ม’ อาจารย์ประจำสาขาศิลปะภาพถ่าย จากวิทยาลัยการออกแบบ ม.รังสิต และ ‘ตั้ม-มนพร รอบรู้’ ศิลปินสตรีทอาร์ตชาวขอนแก่น ที่ยังคงนำทัพทำงานสร้างสรรค์ […]

เดินเล่น-ชิม-ชม ที่ ‘ยมจินดา’ ย่านเมืองเก่าใจกลางจังหวัดระยอง 

เมื่อพูดถึง ‘ระยอง’ หลายคนอาจนึกถึงอีเวนต์สนุกๆ อย่างฟูลมูนปาร์ตี้ที่เกาะเสม็ด ราชินีผลไม้อย่างมังคุด น้ำปลาแท้รสเด็ดที่ต้องซื้อทุกครั้งที่ไปเยือน หรือแม้กระทั่งอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของจังหวัดนี้ แต่นอกจากจุดเด่นต่างๆ ที่เรายกตัวอย่างมา ระยองยังมีอีกหนึ่งมนตร์เสน่ห์อย่าง ‘ยมจินดา’ ย่านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังวางตัวขนานไปกับแม่น้ำระยอง แม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนมากว่า 100 ปี  หากพูดง่ายๆ ‘ยมจินดา’ เปรียบได้กับย่าน ‘เจริญกรุง’ ของกรุงเทพฯ เนื่องจากยมจินดาเป็นถนนสายแรกของระยอง ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แหล่งที่ดินทำกินของชาวจีนโพ้นทะเล รวมไปถึงที่ตั้งของบ้านขุนนางและคหบดีในอดีต ทำให้ตลอดระยะทางกว่า 600 เมตรของถนนสายนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรม อาหาร และศิลปะพื้นถิ่นที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ แต่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างกลมกลืน วันนี้ คอลัมน์ Neighboroot จึงขอพาทุกคนออกนอกกรุงเทพฯ ไปอีกนิด เลยชลบุรีไปอีกหน่อย มุ่งหน้าสู่ตัวเมืองระยองเพื่อร่วมกันสำรวจย่านยมจินดา ผ่านกิจกรรม ‘Co-Create YOMJINDA’ ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ซึ่งเป็นกิจกรรมทดลองพัฒนาพื้นที่ ต่อยอดให้ย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ก้าวเข้าสู่การเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่จะทำให้การเดินทางมาระยองของใครหลายๆ คน เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้นกว่าแค่การมาทะเล ศาลเจ้าแม่ทับทิมระยอง | พื้นที่แห่งศรัทธาของคนไทยเชื้อสายจีน […]

1 60 61 62 63 64 96

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.