
Featured
Urban Eyes 42/50 เขตราษฎร์บูรณะ
ราษฎร์บูรณะเป็นเขตหนึ่งในฝั่งธนฯ ที่ค่อนข้างเงียบสงบ เชื่อมระหว่างตัวเมืองกับพระประแดง (สมุทรปราการ) และยังเป็นหัวถนนของถนนพระราม 2 เขตนี้มีชุมชนกระจายตัวกันแต่ไม่ถึงกับแออัดหนาแน่นทุกหัวมุมถนน เรียกว่าเป็นเขตที่อยู่อาศัยที่คนผ่านไปผ่านมากันเป็นส่วนใหญ่ เมื่อก่อนเขตนี้มีสวนสาธารณะขนาดใหญ่อยู่ติดกับสำนักงานใหญ่ของธนาคารกสิกร แต่ตอนนี้พื้นที่บริเวณนั้นกลายเป็นไซต์ก่อสร้างไปแล้ว เนื่องจากจะมีทางด่วนสายใหม่เข้ามา หลังจากสอบถามพี่พนักงานกวาดถนนของ กทม. ทำให้ทราบว่ายังมีสวนสาธารณะริมคลองอยู่อีกแห่งหนึ่ง ส่วนในเขตนี้ยังมีสถานที่อะไรที่น่าสนใจอีก ตามไปดูกัน วัดบางปะกอก ━ วัดนี้สะอาดสะอ้าน ที่นี่นับถือหลวงปู่พริ้ง ถึงกับมีอาคารและรูปปั้นหลวงปู่ให้คนเข้าไปเคารพสักการะ ซอยสุขสวัสดิ์ 26 ━ ในซอยนี้ช่วงเย็นมีคนเข้า-ออกอยู่เยอะ แถมยังมีตลาดนัดเล็กๆ อยู่ข้างในให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอย จังหวะแสงเงาลงมากำลังสวย ช่วงเย็นน่ามาเดินเล่นมากๆ หรือจะเดินออกมาที่ถนนสุขสวัสดิ์ฝั่งตรงข้ามช่วงป้ายรถเมล์ก็ได้ ช่วงเย็นที่คนรอรถเยอะๆ แสงลงกำลังสวยเช่นกัน วัดราษฎร์บูรณะ ━ เป็นวัดที่ค่อนข้างเงียบสงบ ตั้งอยู่บริเวณสามแยก ถนนราษฎร์บูรณะตัดกับถนนราษฎร์พัฒนา วัดนี้ยังดูใหม่เอี่ยม มีสีสัน น่ามาเที่ยวเล่นและกราบไหว้ สวน 15 นาที ━ ที่นี่เป็นสวนใหม่ อาจจะเพราะสวนข้างๆ สำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรปิดตัวลง ส่วนที่มาของชื่อสวน 15 นาทีคือ เป็นสวนที่เดินครบรอบภายใน 15 นาทีนั่นเอง ซึ่งข้อมูลนี้เราได้มาจากพนักงาน กทม.ที่อยู่แถวนั้น […]
ส่องปัญหาสังคมและโครงสร้างผ่านมอ’ไซค์ไทย
“บ้านเช่าได้ แต่มอเตอร์ไซค์ต้องซื้อ” นี่คือประโยคเปรียบเปรยที่ดูไม่ไกลเกินจริง เพราะเราเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่มีมอเตอร์ไซค์เป็นของตัวเอง ด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป ทั้งความสะดวกและความคล่องตัวในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ารถยนต์หรือขนส่งสาธารณะ และการใช้ประกอบอาชีพต่างๆ หลายครอบครัวจำเป็นต้องมียานพาหนะประเภทนี้ เพราะบริเวณที่พวกเขาอาศัยอยู่ไม่มีขนส่งมวลชนที่เข้าถึงได้เลย ความต้องการที่เยอะขึ้นและประโยชน์ของมอเตอร์ไซค์ที่ตอบโจทย์ชีวิตคนในประเทศนี้ ทำให้ในปัจจุบันไทยมีการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์มากกว่า 22 ล้านคัน เพิ่มขึ้นจากปี 2565 กว่า 4.5 แสนคัน คนไทยใช้มอ’ไซค์มากที่สุดในโลก ใครที่ต้องเดินทางออกจากบ้านเป็นประจำโดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ คงเคยสังเกตว่าท้องถนนมีมอเตอร์ไซค์ขวักไขว่เต็มไปหมด ส่วนในซอยต่างๆ ก็มียานพาหนะสองล้อเข้าออกให้เห็นตลอดทั้งวัน หรือแม้แต่ตอนเดินอยู่บนทางเท้า จู่ๆ ก็มีคนขี่มอเตอร์ไซค์สวนมาเสียอย่างนั้น ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมบ้านเราถึงมีมอเตอร์ไซค์เยอะขนาดนี้ หลายคนไม่ได้คิดไปเองแน่นอน เพราะข้อมูลจาก Pew Research Center ปี 2023 เปิดเผยว่า ประเทศไทยมี ‘การใช้งานจักรยานยนต์มากที่สุดในโลก’ โดยสัดส่วนของครัวเรือนในประเทศไทยที่เป็นเจ้าของจักรยานยนต์อย่างน้อยหนึ่งคันมีมากถึง 87 เปอร์เซ็นต์ พูดให้เห็นภาพคือ จากจำนวนครัวเรือนทั้งหมดราว 18 ล้านครัวเรือน จะมีจักรยานยนต์รวมกันอย่างน้อย 15 ล้านคัน สถิตินี้ยังพบว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของมอเตอร์ไซค์ทั่วโลกอยู่ในภูมิภาค ‘เอเชียแปซิฟิก’ โดยประเทศอื่นๆ ที่มีสัดส่วนการถือครอบครองมอเตอร์ไซค์รองจากไทย […]
คนไทยกินอะไรก็ได้ แต่ทำไมดื่มนมแล้วท้องเสีย
เรามักเห็นข่าวบนโซเชียลมีเดียอยู่บ่อยครั้งว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวประเทศไทยมีอาการท้องเสียหรืออาหารเป็นพิษหลังจากชิมเมนูเด็ดของบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นส้มตำ ยำ ของดอง ที่ล้วนมีของดิบ ของสด และของหมักดองเป็นส่วนประกอบหลัก หรือแม้แต่ผักบางชนิดที่มีพิษอ่อนเมื่อกินแบบดิบๆ อย่างถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี ถั่วงอก หรือมะเขือเทศ ยังถูกนำมาประกอบอาหารอยู่บ่อยๆ โดยไม่ส่งผลอะไรกับกระเพาะอาหารของคนไทยเลยแม้แต่น้อย ดูเหมือนว่าคนไทยจะกินได้แทบทุกอย่าง แต่สิ่งที่คนไทยจำนวนไม่น้อยแพ้คือ ‘นมจากสัตว์ทุกชนิด’ ที่มักทำให้เกิดอาการปวดท้องและท้องเสีย ซึ่งมีสาเหตุจาก ‘ภาวะแพ้แล็กโทส’ ทำให้เราอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมอาการแพ้น้ำตาลชนิดนี้ถึงเกิดขึ้นกับคนจำนวนมาก และถ้ายังอยากดื่มนมแต่ไม่อยากปวดท้องจะมีทางไหนที่ช่วยได้บ้าง คนไทยกินอะไรก็ได้ แต่ตกม้าตายเมื่อดื่มนม ไม่ว่าจะเป็นของดิบ ของสด ของดอง คนไทยสามารถนำวัตถุดิบเหล่านี้มาประยุกต์จนกลายเป็นอาหารยอดฮิตที่กินเมื่อไรก็ได้ ตราบใดที่ขั้นตอนการประกอบอาหารสะอาดและถูกสุขลักษณะ ก็ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะท้องเสีย แต่ถ้าเป็น ‘นมสด’ ที่หน้าตาดูไม่เป็นพิษเป็นภัย กลับเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนดื่มแล้วต้องรีบมองหาห้องน้ำรอทุกครั้ง เพราะมักมีอาการตามมาอย่างปวดท้อง ท้องอืด มีลมในท้อง หรืออาจจะถึงขั้นท้องเสียเลยก็ได้ ซึ่งอาการเหล่านี้เกิดจาก ‘การแพ้แล็กโทส’ ซึ่งเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนมจากสัตว์ทุกชนิด ทำให้หลายคนเลี่ยงการดื่มนมแทนที่จะเสี่ยงขับถ่ายผิดปกติ เหตุผลนี้จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยมีอัตราการดื่มนมต่ำมากเมื่อเทียบกับชาติอื่น โดยข้อมูลล่าสุดจากกรมอนามัยเผยว่า ในปัจจุบันนี้คนไทยดื่มนมเพียง 21.5 ลิตร/คน/ปี ในขณะที่ประเทศอื่นๆ มีอัตราการบริโภคนม ดังนี้ – เกาหลีใต้ 29.5 […]
‘สิงคโปร์’ กลยุทธ์ดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศด้วยการเป็นฮับความบันเทิงของเอเชีย
ไหนใครวางแพลนไปคอนเสิร์ตวง Coldplay หรือ Taylor Swift ที่จัดกันแบบจุใจถึง 6 รอบที่สิงคโปร์บ้าง ในช่วงที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นคนรอบตัวเดินทางไปประเทศสิงคโปร์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไปดูคอนเสิร์ตหรือเที่ยวพักผ่อนด้วยตัวเองก็ตาม เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เป็นผลลัพธ์จากความพยายามของรัฐบาลสิงคโปร์มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2000 เพื่อผลักดันให้สิงคโปร์ขึ้นเป็น ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ เบื้องหลังความสำเร็จของแผนพัฒนานี้คืออะไร สิงคโปร์ดำเนินงานอย่างไรถึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ขึ้นชื่อเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว คอลัมน์ City in Focus จะพาไปหาคำตอบ ประเทศเกิดใหม่ มองหาจุดขายเรื่องการท่องเที่ยว หากย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของประเทศ สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่ได้ไม่นาน จากการแยกตัวออกจากมาเลเซียมาเป็นประเทศอิสระที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 1965 ในช่วงแรกที่ตั้งประเทศ สิงคโปร์ต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศเปิดใหม่ที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่จะดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้มากนัก และครั้นจะไปตามหามรดกทางวัฒนธรรมเดิมหรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาก็คงไม่เหมาะเท่าไหร่ เพราะคนในประเทศมีความหลากหลายทางเชื้อชาติจนยากจะหาวัฒนธรรมร่วม จุดยืนของรัฐบาลสิงคโปร์ในตอนนั้นจึงเป็นการสร้างแผนนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประเทศให้เติบโตด้วยเทคโนโลยีและการจัดกิจกรรมภายในเมือง เพื่อดึงดูดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้ามาแทน ทั้งหมดนี้นำมาสู่การพยายามผลักดันให้สิงคโปร์กลายเป็น ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ (The Events and Entertainment Capital of Asia) ครั้งแรกในปี 2007 ที่ผลิดอกออกผลอย่างเด่นชัดในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลผลักดันประเทศผ่านการวางนโยบาย แต่การจะทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชียได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยการวางนโยบายที่ดีและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน […]
ไขปริศนาต้นตอปัญหารถติดในกรุงเทพฯ | Unlock the City EP.30
ในยุคสมัยที่เมืองใหญ่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของผู้อยู่อาศัย คนกรุงเทพฯ กลับยังต้องปวดหัวและแอบเสียน้ำตาให้การจราจรบนท้องถนนทุกวัน ปัญหาของกรุงเทพฯ ที่หลายคนยกให้เป็นอันดับหนึ่งตลอดกาลคือ ‘รถติด’ ไม่ว่าใครจะพยายามแก้ไขยังไง แต่ปัจจัยอื่นๆ ที่เกาะเกี่ยวอยู่มากมายทำให้ยากที่จะทำสำเร็จ เพราะปัญหารถติดของประเทศไทย โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีมากกว่าแค่ปัญหาเรื่องปริมาณรถยนต์หรือระบบขนส่งสาธารณะที่ไม่ครอบคลุม โดยต้องย้อนกลับไปตั้งแต่เรื่องโครงสร้างเมือง ลำดับของถนน ความยาวของซอย รูปแบบที่อยู่อาศัยของเมือง รวมไปถึงระบบไฟจราจร ‘พนิต ภู่จินดา’ โฮสต์ของรายการ Unlock the City จะใช้เลนส์นักผังเมืองมาอธิบายถึงต้นตอปัญหารถติดให้ฟังในเอพิโสดนี้
‘คนร่างไม่ได้เล่น คนเล่นไม่ได้ร่าง’ คุยปัญหา พ.ร.บ.เกมกับสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย
‘คนไทยมีความสามารถ แต่ขาดโอกาสและการผลักดันจากภาครัฐ’ น่าจะเป็นคำพูดคลาสสิกที่เรามักได้ยินอยู่บ่อยครั้ง และไม่เคยเลือนหายไปจากสังคมไทยแม้กาลเวลาจะผ่านมานานแค่ไหน ยิ่งในวันที่บนโลกออนไลน์มีการพูดถึง พ.ร.บ.ภาพยนตร์และเกมฉบับใหม่ ที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมได้มีการเปิดรับฟังความคิดเห็น (Hearing) จากคนในวงการภาพยนตร์และเกมไปได้ไม่นาน จนเกิดคำถามว่า การมี พ.ร.บ.ฉบับนี้ออกมาคือการส่งเสริมหรือจำกัดเสรีภาพคนทำเกมอยู่กันแน่ เพราะกว่าจะวางขายเกม ทำโฆษณา หรือจัดเรตติงได้ ต้องรอทางกระทรวงวัฒนธรรมอนุมัติ ซ้ำร้ายหากมีการทำผิดกฎหมายโดยไม่ได้ตั้งใจก็ถือเป็นโทษอาญาที่จำคุกสูงสุดถึง 5 ปี เพื่อให้เห็นภาพปัญหาชัดขึ้น เราขอฝ่าดันเจี้ยนบุกไปสนทนากับ ‘ป๊อป-เนนิน อนันต์บัญชาชัย’ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย (Thai Game Software Industry Association : TGA) กันถึงออฟฟิศบริษัท EXZY Company Limited ที่ป๊อปเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง 4 ปีกับการดำรงตำแหน่งเป็นนายกสมาคมเกมไทยเป็นอย่างไรบ้าง สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย’ หรือ ‘TGA’ เป็นสมาคมการค้าไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งมานานกว่า 17 ปีแล้ว มีสมาชิกอยู่ประมาณ 50 บริษัท เป็นการรวมตัวกันของ ‘นักพัฒนาเกม’ (Game Developer) กับ ‘ผู้เผยแพร่เกม’ (Publisher) หรือที่เรียกรวมๆ […]
Resilient City ออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วม
ในปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ สาเหตุนั้นมาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งการขยายตัวของเมือง การสร้างถนน ตึกและสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผลที่ตามมาคือ เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง ส่วนคลองที่เคยเป็นช่องทางเดินน้ำก็มีขนาดเล็กลงและระบายน้ำยากขึ้นทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ที่เป็นแอ่งกระทะ และมีพื้นที่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ มีขยะจำนวนมากอุดตันขวางทางเดินน้ำ ผังเมืองเจ้าปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งล้วนส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าปกติ น้ำจากภูมิภาคทางเหนือที่ไหลบ่าลงมา และการหนุนสูงของน้ำทะเลก็มากขึ้น กรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและมีสภาพเป็นเสมือนประตูระบายน้ำที่ต้องรอการระบายหนักกว่าเดิมในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากหยิบนวัตกรรมและการรับมือปัญหาน้ำท่วมจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ เพราะไอเดียเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาระดับโครงสร้างเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ ‘สวนสาธารณะ’ นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับเมืองได้ด้วย เช่น Climate Park ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถรองรับน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษณะขั้นบันไดที่ด้านล่างเป็นแอ่งกระทะและใช้เป็นสนามกีฬาได้ เมื่อน้ำมาก็กลายเป็นสระน้ำให้ผู้คนมานั่งเล่นพักผ่อนได้ อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีสวน 100 ปี จุฬาฯ ที่ตั้งใจออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งตอบโจทย์หลากหลายฟังก์ชันทั้งการทำกิจกรรม เป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นแหล่งรับน้ำของเมือง ถือเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำไปปรับใช้กับพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง เพิ่มท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ การทำให้เส้นเลือดใหญ่อย่าง […]
Urban Eyes 41/50 เขตหลักสี่
ภาพจำเขตหลักสี่ของใครหลายคนน่าจะเป็นเขตที่มีศูนย์ราชการเต็มไปหมด ตอนแรกแอบท้อหน่อยว่าจะไปถ่ายภาพตรงไหนดี แต่พอหาข้อมูลก็ยิ่งท้อหนักเข้าไปใหญ่ เพราะไม่ค่อยมีข้อมูลเกี่ยวกับเขตนี้เท่าไหร่ โชคดีหน่อยที่ใน Google Maps มีฟังก์ชันบอกจำนวนความหนาแน่นประชากร ทำให้เราพอคาดเดาได้ว่าตรงไหนเป็นแหล่งชุมชน เพราะส่วนใหญ่คนมักจะออกมาทำกิจกรรมกัน และทำให้เราได้ภาพถ่ายดีๆ ไปด้วย ซึ่งหลังจากลงพื้นที่แล้ว เราก็รู้สึกเซอร์ไพรส์เหมือนกันว่าหลักสี่มีอะไรมากกว่าการเป็นแหล่งศูนย์ราชการ วัดหลักสี่ ━ วัดใหญ่ที่อยู่ติดกับถนนใหญ่ เจดีย์ที่อยู่ข้างหลังยังไม่เปิดให้ใช้งาน แต่เราเข้าไปกราบไหว้ที่ตัววิหารด้านหน้าได้ บรรยากาศรอบนอกมีต้นไม้เป็นแนวยาว ใกล้ๆ กันนั้นเป็นห้างฯ ใหญ่ IT Square ชุมชนหลักสี่พัฒนา99 ━ ชุมชนข้างหลังห้างฯ IT Square ตัวพื้นที่ติดกับคลองเปรม ประชากรบริเวณนี้มีบ้านที่ร่วมอยู่ในโครงการบ้านมั่นคง ถ้าชาวบ้านต้องการสร้างบ้านใหม่ก็ยื่นข้อเสนอขอให้รัฐสร้างได้ โดยต้องจ่ายรายเดือนไปเรื่อยๆ จนกว่าค่าสร้างบ้านจะครบ แต่ถึงแม้จะจ่ายครบแล้วก็ไม่ได้โฉนดที่ดินนะ เพราะตรงนี้เป็นพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ให้ประชาชนมาอยู่เฉยๆ บางบ้านไม่ต้องการจ่ายรายเดือนก็ปฏิเสธโครงการบ้านมั่นคงได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นบ้านไม้แบบเก่าและบ้านที่เป็นตึกสไตล์ร่วมสมัยสลับกันไปมาตลอดเส้นทางชุมชน ตลาดท่าทราย ━ แหล่งนัดพบของชุมชน มีทั้งตลาดเช้าและช่วงเย็นเป็นตลาดนัดกางร่ม สนามฟุตบอลพื้นหญ้าขนาดใหญ่ สนามฟุตซอล สนามแบดมินตันใต้หลังคา รวมถึงสนามเด็กเล่นให้เด็กในชุมชนมารวมตัวเล่นกันอย่างสนุกสนาน ตลาดเมืองทอง 1 ━ ตลาดที่มีหลังคาปิดมิดชิด แสงช่วงเย็นมักส่องลงมาทางข้างหน้าตัวตลาด เกิดเป็นซีนที่สวยงาม สวนสาธารณะบึงสีกัน ━ […]
Day/DM Cafe คาเฟ่ย่านเยาวราช โดยคู่รักนักเพศวิทยาที่อยากให้คนกล้าคุยเรื่องเพศตอนกลางวัน
ตอนที่เดินไปยังสถานที่นัดหมาย ทุกตึกบนถนนเส้นนั้นหน้าตาดูเหมือนกันไปหมด แต่สิ่งที่ทำให้เรามั่นใจว่าประตูบานนี้เป็นของร้าน Day/DM Cafe แน่นอนคือ ธงสีรุ้งและสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความหลากหลายทางเพศที่ประดับประดาอยู่ รวมถึงโลเคชันที่อยู่ตรงข้ามศาลเจ้าหลีตีเมี้ยวตามคำบอกเล่าของเจ้าของร้าน พอเดินเข้าไปในร้าน ความรู้สึกที่ค่อยๆ เข้ามาเกาะในใจเราคือ บรรยากาศอบอุ่นที่เหมือนกับเรามาเที่ยวบ้านเพื่อน อาจจะเป็นเพราะการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ กลิ่นหอมจากเมล็ดกาแฟ รวมถึงเจ้าของร้านทั้งสองที่ชวนคุยอย่างสนิทสนม ‘เอช-ประติมา รักษาชนม์’ และ ‘แต๋ม-วิสุทธิ์รัตน์ รุ่งนพคุณศรี’ คือคู่รักนักเพศวิทยาเจ้าของที่นี่ ผู้ร่วมกันสร้างคาเฟ่เล็กๆ แห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน พื้นที่ปลอดภัยที่ว่าคือ พื้นที่ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามาปรึกษาพูดคุยถึงหัวข้อยากๆ ที่ไม่รู้จะไปคุยกับใครอย่างเรื่องเพศและเรื่องเซ็กซ์ ต่อให้เป็นเรื่องรสนิยมทางเพศ ประจำเดือนไม่มา เคยมีอะไรกับแฟนแล้วไม่อยากมี อยากลองเล่น Sex Toy ฯลฯ ทั้งสองคนก็พร้อมให้คำปรึกษาจากองค์ความรู้ด้านนี้ที่ร่ำเรียนมา คาเฟ่ที่เกิดจากความสนใจเรื่องเพศ ย้อนกลับไปหลายปีก่อนตอนที่ทั้งคู่ยังเรียนอยู่ เอชและแต๋มเรียนจบในคณะที่ตัวเองวาดหวังไว้ แต่ถึงจะเป็นแบบนั้นเส้นทางของทั้งคู่ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เอชที่เรียนคณะครุศาสตร์ เอกศิลปะ ต้องประสบกับปัญหาเงินๆ ทองๆ จนต้องทำงานส่งตัวเองเรียน บวกกับเคยถูกบุลลี่เพียงเพราะรูปร่างหน้าตาไม่ตรงตามมาตรฐานที่สังคมตั้งไว้ แถมพอจบออกมาทำงานในสำนักพิมพ์ก็ถูกกดเงินเดือน ส่วนแต๋มที่เรียนจบวิศวกรรมอุตสาหการ ก็ต้องไปเผชิญสังคมการทำงานที่ปิดกั้นโอกาสผู้หญิง ทั้งที่เธอมีความสามารถ อยากลองทำอะไรหลายๆ อย่าง แต่แค่เพราะ ‘เพศ’ ที่เป็นเหมือนเพดานแก้วบางๆ ทำให้หญิงสาวไม่สามารถก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้ ชีวิตของทั้งสองคนพบเจออะไรหลายๆ […]
ไต้หวันขยายสิทธิให้คู่รัก LGBTQ+ รับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกันได้
เมื่อพูดถึงการเปิดกว้างเรื่อง ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ‘ไต้หวัน’ น่าจะเป็นประเทศที่โอบรับความหลากหลายทางเพศมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ เพราะเป็นประเทศแรกที่ให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่สิทธิที่ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันได้หลังจากแต่งงานยังไม่เท่าเทียมกับคู่แต่งงานชายหญิง เพราะกฎหมายยังห้ามไม่ให้คู่แต่งงานเพศเดียวกันรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกัน เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไต้หวันพูดเรื่องความเสมอภาคได้อย่างไม่เต็มปาก แต่ล่าสุดไต้หวันได้ผลักดันการแก้กฎหมายที่ยังละเมิดความเท่าเทียมทางเพศ โดยอนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ รับสิทธิเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศในทุกๆ ด้าน ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่มีความเสมอภาคมากที่สุดในเอเชีย ‘ไต้หวัน’ ประเทศแรกในเอเชียที่ให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย แต่เดิมการแต่งงานของเพศเดียวกันยังเป็นข้อห้ามทางด้านกฎหมายในไต้หวัน จนกระทั่งปี 2560 ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาและตัดสินว่ากฎหมายข้อนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิและความเสมอภาคของพลเมืองตามหลักรัฐธรรมนูญ รัฐสภาไต้หวันจึงต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาล ทำให้ในปี 2562 รัฐสภาไต้หวันได้ผ่านร่างกฎหมายให้คู่ชีวิตเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากฝ่ายอนุรักษนิยม แต่ไต้หวันก็สามารถเป็นประเทศแรกในเอเชียที่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่งงานกับชาวต่างชาติได้ถ้าประเทศคู่รักรองรับสมรสเท่าเทียม การสมรสเท่าเทียมทำให้คู่รัก LGBTQ+ ได้รับสิทธิเกือบเท่าเทียมคู่รักชายหญิง แต่พวกเขายังถูกจำกัดสิทธิเรื่อง ‘การแต่งงานกับชาวต่างชาติ’ และ ‘การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม’ ที่ยังคงจำกัดสิทธิบางอย่างอยู่ เพราะตามกฎหมายเดิม ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันจะแต่งงานกับชาวต่างชาติได้ก็ต่อเมื่อ คู่รักมาจากประเทศที่มีกฎหมายรองรับสมรสเท่าเทียมเท่านั้น เช่น ถ้าคู่รักเป็นชาวไทยก็จะไม่สามารถแต่งงานกันได้ เพราะประเทศไทยยังไม่บังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่เมื่อเดือนมกราคม 2566 การสมรสเท่าเทียมของไต้หวันก็มีความเท่าเทียมมากขึ้น หลังจากกฎหมายเพิ่มสิทธิรองรับการแต่งงานคู่รัก […]
ร่วมออกแบบนโยบายเพื่อยกระดับ ‘การท่องเที่ยวชุมชนของสระบุรี’ ให้เป็นเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์และยั่งยืน
‘สระบุรี’ คือจังหวัดเมืองรองในภาคกลางที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก มีพื้นที่ราบสลับกับพื้นที่ภูเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมผสมผสานกับพื้นที่การเกษตร ทว่านอกจากเป็นเมืองทางผ่านที่สำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศแล้ว สระบุรียังเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์กระจายตัวอยู่มากมาย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะชุมชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำป่าสักของสระบุรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นมาไม่น้อยกว่า 150 ปี ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายของชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ไทยวน ลาวเวียง พวน มอญ และจีน ทำให้สระบุรีมีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ที่กำลังรอให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสด้วยตัวเอง ทั้งนี้ สระบุรีและอีก 3 จังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ได้แก่ เพชรบูรณ์ ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา กลับต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการท่องเที่ยวชุมชนในมิติต่างๆ เช่น ชุมชนไม่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือภาคธุรกิจขนาดใหญ่ รวมไปถึงการสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การเปลี่ยนกรอบความคิดของคนในชุมชน การสร้างผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนามาตรฐานของสินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น เพื่อยกระดับและพัฒนา ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ ของสระบุรีให้กลายเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทาง Thailand Policy Lab และ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation […]
สำรวจนิยามครอบครัวหลากหลายผ่าน 5 รสชาติไอศกรีมที่ Diversity Cafe
ช่วงสัปดาห์ส่งท้ายเดือน Pride Month เราขอชวนทุกคนไปค้นหานิยามครอบครัวในแบบฉบับของตัวเองที่ ‘Diversity Cafe’ นิทรรศการว่าด้วยเรื่อง ‘ครอบครัวหลากหลาย’ ภายใต้รูปแบบคาเฟ่ไอศกรีม เพื่อส่งเสริมสิทธิของทุกคนและทุกเพศอัตลักษณ์กับการสร้างครอบครัวในรูปแบบของตัวเอง นอกจากผู้เข้าร่วมงานจะได้ชิมไอศกรีม 5 รสชาติใหม่ๆ ที่สะท้อนรูปแบบครอบครัวในฝันของแต่ละคนแล้ว ภายในงานยังเล่าเรื่องของ 6 ครอบครัวที่มีนิยามแตกต่างกันเพื่อสะท้อนความหลากหลายในสังคมไทย รวมไปถึงปัญหาเชิงนโยบายและค่านิยมของสังคมที่มองคำว่าครอบครัวในนิยามของพ่อ-แม่-ลูกเท่านั้น นิทรรศการ Diversity Cafe จัดโดย Thailand Policy Lab ห้องปฏิบัติการนโยบาย ก่อตั้งโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand) สยามพิวรรธน์ วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย และแสนสิริ จุดแรกที่นิทรรศการธีมคาเฟ่ไอศกรีมเตรียมไว้ต้อนรับเราคือ พื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ‘ครอบครัวยุคใหม่ในนิยามของฉัน’ ที่พาไปสำรวจนิยามของครอบครัวยุคปัจจุบันที่ไม่ได้จำกัดแค่พ่อ-แม่-ลูกเหมือนแต่ก่อน แต่มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น บางครอบครัวผูกพันกันทางสายเลือด ขณะที่บางครอบครัวอาจเป็นคู่รักเพศหลากหลายที่กฎหมายยังไม่รองรับ ครอบครัวที่อยู่กับเพื่อน ครอบครัวที่อยู่กับสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ตัวเราคนเดียวก็เป็นครอบครัวให้ตัวเองได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย เช่น จำนวนคนอยู่คนเดียวที่เพิ่มสูงขึ้น คนไทยอายุยืนขึ้น คนไทยแต่งงานช้าลง คนไทยมีลูกน้อยลง ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า ครอบครัวของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก […]