ชวนดู 5 ภาพยนตร์สั้นเทศกาล Five Films for Freedom สร้างมุมมองใหม่เข้าใจในความหลากหลายทางเพศ

แม้ว่าในประเทศไทยจะมีการตระหนักถึงเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลักดันกฎหมายสมรสเท่าเทียม ให้สิทธิต่อคู่ชีวิตเพศวิถีอื่นๆ และรับรองสิทธิในการก่อตั้งครอบครัวอย่างเท่าเทียมในทุกเพศสภาวะ แต่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าใจเรื่องเพศเป็นอย่างดี การบอกเล่าเรื่องราวความหลากหลายทางเพศผ่านสื่อบันเทิงอย่างภาพยนตร์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการสร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักรู้ รวมถึงง่ายต่อการเข้าถึงของคนหลายๆ กลุ่ม คอลัมน์ Urban’s Pick ขอแนะนำ 5 ภาพยนตร์จากเทศกาลภาพยนตร์สั้นเพื่อความหลากหลายทางเพศ ‘Five Films for Freedom’ ที่จัดขึ้นโดย British Council ร่วมกับ BFI Flare เทศกาลภาพยนตร์ LGBTQIA+ จากสหราชอาณาจักร ที่ใช้ภาพยนตร์สั้นเรียกร้องต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเปิดให้ชมฟรีทางออนไลน์ทุกปี รับชม Five Films for Freedom เทศกาลภาพยนตร์สั้น LGBTQIA+ ได้ตั้งแต่วันนี้ – 24 มีนาคม 2567 ผ่านทาง youtube.com/@britishartschannel/featured Little One (เจ้าตัวเล็ก)ความรักของครอบครัวที่ไม่ว่าใครเป็นเพศใดก็ตาม แอนิเมชันจากฟิลิปปินส์ ความยาว 9 นาที หนังสั้นเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ แต่ไม่แน่ใจว่าเธอจะเลี้ยงลูกให้เติบโตอย่างไร หญิงสาวตัดสินใจไปสัมภาษณ์พ่อบุญธรรมของเธอที่เป็นเกย์ทั้งคู่ […]

เมื่อความเชื่ออยู่เหนือทุกสิ่ง สำรวจจักรวาล Dune ผ่านมุมมองศาสนาและความเชื่อ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘Dune : Part Two’ กลายเป็นภาพยนตร์ไซไฟขึ้นหิ้งเรื่องใหม่ในทศวรรษนี้ไม่ต่างจาก ‘Star Wars’ หรือ ‘The Matrix’ ในอดีต จากเรื่องราวอันยอดเยี่ยมผ่านปลายปากกาของ Frank Herbert สู่จอเงินด้วยทัศนะของ Denis Villeneuve ผู้กำกับมากวิสัยทัศน์ ที่พาเราท่องไปในจักรวาล Dune ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เรื่องราวของ Dune ไม่ใช่จักรวาลไซไฟในอนาคตอันหรูหราไฮเทค แต่กลับเป็นอนาคตที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความป่าเถื่อนและอิทธิพลของศาสนาราวกับวิวัฒนาการย้อนกลับไปในยุคกลาง (Medieval) ทั่วทั้งจักรวาลถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการโดยองค์จักรพรรดิเพียงหนึ่งเดียว และแบ่งสันการดูแลดวงดาวให้กับกลุ่มตระกูลขุนนางต่างๆ โดยที่ประชาชนบนดาวผู้เป็นเจ้าของเดิมทำได้เพียงก้มหัวยอมรับผู้ปกครองคนใหม่เท่านั้น จนกระทั่งการมาถึงของ ‘พอล อะเทรดีส’ (Paul Atreides) ผู้ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของจักรวาลใหม่ทั้งหมด ทำไมผู้มีอำนาจถึงปกครองจักรวาลได้อย่างยาวนานโดยไร้ผู้ต่อต้าน และอะไรที่ทำให้การมาถึงของพอล อะเทรดีส สามารถปลุกระดมผู้คนให้ลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจจักรวรรดิอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาทุกคนไปสำรวจจักรวาล Dune ผ่านแนวคิดของ ‘ศาสนา’ และ ‘ความเชื่อ’ ที่ปรากฏในเรื่อง อิทธิพลของศาสนาและจุดกำเนิดความศรัทธาของมนุษย์ โฮโมเซเปียนส์ (Homo Sapiens) คือสิ่งมีชีวิตเดียวที่สามารถสร้างแนวความคิดบางอย่างเพื่อชักจูงและรวบรวมกลุ่มก้อนของตนให้กระทำบางสิ่งที่ต้องการ […]

มองปัญหาความเหลื่อมล้ำของชนชั้นทางสังคม ผ่านตัวละครจากซีรีส์เกาหลี The Impossible Heir

คุณคิดว่าบุคคลเหล่านี้มี ‘สถานะทางสังคม’ แบบไหน และจะยกระดับมันอย่างไร เด็กหนุ่มที่มีพ่อเลี้ยงเป็นฆาตกรลูกชายนอกสมรสของตระกูลเศรษฐี (หรือแชบอล)หญิงสาวที่ต้องดิ้นรนหลังชนฝาเพราะหนี้สินที่แม่ก่อ เพราะบรรทัดฐานของสังคมที่มองมา กดทับให้พวกเขาต้องไขว่คว้าหา ‘สายป่าน’ ที่จะพาตัวเองปีนป่ายให้ได้มาซึ่งเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อยกระดับชนชั้นทางสังคมโดยไม่สนวิธีการ The Impossible Heir (2024) คือซีรีส์เกาหลีดราม่าแนวเสียดสีสังคม บน Disney+ Hotstar ที่ทำให้เราเห็นได้ชัดว่า สังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำมันกัดกินตัวตนและพาเราไปสู่อะไรบ้าง โดยเมสเซจของซีรีส์จะนำเสนอผ่านเรื่องราวการร่วมมือกันของตัวละครหลักที่มาจากชนชั้นล่างสุดของห่วงโซ่ เพื่อยกระดับตัวเองในเกมการชิงอำนาจ หวังเข้าครอบครองตำแหน่งผู้นำทางสังคมบนจุดยอดของพีระมิด ใครที่อยากสัมผัสเกมการชิงอำนาจสุดเข้มข้น สตรีมได้เลยบน Disney+ Hotstar “ถ้าอยากได้คำตอบที่ถูกต้อง ให้ดูที่กระบวนการ หากกระบวนการไม่ถูกต้อง มันจะไม่พาไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง” – ฮันแทโอ แม้มองจากภายนอก ตัวเอกอย่าง ‘ฮันแทโอ’ (รับบทโดย อีแจอุค) เด็กหนุ่มนิสัยเย็นชาที่มีความฉลาดระดับหัวกะทิจนได้รับคะแนนสูงสุด 0.1 เปอร์เซ็นต์จากทั้งประเทศในการสอบจำลอง ดูเหมือนเป็นตัวละครที่มีสถานะทางสังคมที่ไม่แย่นัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว แทโอเติบโตขึ้นมาพร้อมกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นจากพ่อเลี้ยง และถูกคำว่า ‘ลูกฆาตกร’ คอยหลอกหลอนและเป็นตัวกดไม่ให้สามารถเลื่อนสถานะทางสังคมได้ตามต้องการ ความแค้นจากการโดนพ่อทารุณกรรมในช่วงวัยเด็ก และการขู่ฆ่าแม่ผู้ซึ่งเป็นคนในครอบครัวเพียงหนึ่งเดียวของแทโอที่เหลืออยู่ ทำให้เขาตัดสินใจใช้ความฉลาดและเจ้าวางแผนของตัวเองหากระบวนการที่จะนำไปสู่คำตอบที่ตัวเองต้องการ ตั้งแต่การร่วมมือช่วยเหลือ ‘คังอินฮา’ (รับบทโดย อีจุนยอง) […]

สำรวจ ‘บางอ้อ’ ถึง ‘บางพลัด’ ชิมลางย่านสร้างสรรค์ ชุมชนแขกแพและสวนผลไม้

บางพลัด-บางอ้อ กำลังจะเป็นย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ คนเก่าคนแก่รู้จักย่านนี้ในฐานะสวนขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนความเจริญต่างๆ เริ่มเข้ามาทีละน้อย ทั้งถนน สะพาน อาคารพาณิชย์ โรงไฟฟ้า และรถไฟฟ้า นานวันเข้าพื้นที่สีเขียวค่อยๆ หายไป และเปลี่ยนโฉมเป็นโซนที่อยู่อาศัยและการค้า บางพลัดเป็นเส้นทางผ่านที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น และเป็นเหมือนม้านอกสายตาจากบรรดาย่านน่าสนใจอื่นๆ ของเมืองกรุง ทั้งที่ความจริงแล้วที่นี่ยังซ่อนสิ่งต่างๆ ไว้อีกมาก ไม่เพียงแต่พหุวัฒนธรรมพุทธและอิสลามที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว ความรุ่มรวยทั้งสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตก็น่าสนใจ อีกทั้งยังมีภูมิปัญญาที่สืบทอดมาในชุมชนต่างๆ รวมถึงเรือกสวนแบบโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ แม้ไม่มากแต่ก็เป็นมรดกที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้น ในเขตบางพลัดเริ่มมีสเปซของคนรุ่นใหม่ๆ ทยอยมาเติมแต่งให้อดีตย่านสวนฝั่งธนฯ นี้กลายเป็นพื้นที่ที่โอบรับสำหรับคนทุกวัย น่ามาเยือนและใช้ชีวิตด้วย คอลัมน์ Neighboroot ขอชวนไปเยี่ยมอีกย่านสร้างสรรค์ที่กำลังจะจัดกิจกรรมตลอดปีนี้ ย้อนดูอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นย่านบางพลัด-บางอ้อ ไม่ว่าจะเป็นสวนดั้งเดิมอายุกว่า 100 ปี สวนใหม่เจียนเก่าจากความทรงจำของครอบครัว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของคนในย่าน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของชาวแขกแพ เหมือนกับหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ อดีตของบางพลัด-บางอ้อ คือพื้นที่สวนผลไม้ไกลสุดตา หากเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง’ สวนในย่านนี้ก็คือสวนหนึ่งของสวนในบางกอกที่มีอายุย้อนไปได้เป็นร้อยปี สวนผลไม้สัมพันธ์กับอีกอัตลักษณ์ของย่านคือ ความเป็น ‘บาง’ ที่มีลำคลองสายเล็กๆ จากแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมเข้ามายังพื้นที่สวนกว่าสิบสาย และกระจายเป็นโครงข่ายท้องร่องขนาดมหึมา หล่อเลี้ยงสวนป่าในพื้นที่ตอนในที่อยู่ถัดเข้าไป หากมองในระดับสายตาบนถนน ไม่มีทางรู้เลยว่าย่านนี้ยังมีสวนหลงเหลืออยู่ เพราะเต็มไปด้วยตึกรามห้องแถว […]

สวมวิญญาณนักเดินทาง สำรวจดาวอาร์ราคิสใน Dune ตามหา ‘สไปซ์’ เพื่อกลับไปช่วยโลก

ในอนาคตอันแสนไกลนับหมื่นปี เทคโนโลยีเดินทางในอวกาศได้ก้าวล้ำจนมนุษย์อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งกาแล็กซี ด้วยการใช้ ‘สไปซ์ เมลานจ์’ (Spice Melange) สารเสพติดที่มีค่ามากที่สุดในจักรวาล เพราะใช้ในการเดินทางในอวกาศได้อย่างปลอดภัย ยืดอายุขัย และช่วยเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ทว่าสิ่งนี้กลับมีอยู่แค่ในดาว ‘อาร์ราคิส’ (Arrakis) เพียงดวงเดียวในจักรวาลเท่านั้น ในขณะที่ดาวโลกสีน้ำเงินของเรากำลังตกอยู่ในวิกฤตโลกเดือด และทุกพื้นที่กำลังกลายเป็นทะเลทรายจนมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ทำให้เราต้องรีบค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่สำหรับมนุษยชาติด้วยการตามหา ‘สไปซ์’ ชาว Urban Creature ขออาสาเป็นนักเดินทางจากดาวโลก พาทุกคนมาสำรวจดวงดาวอาร์ราคิสอันโด่งดังในจักรวาล ‘Dune’ กัน นอกจากการตามหาสไปซ์แล้ว เรายังควรดูดาวอาร์ราคิสเป็นกรณีศึกษาในกรณีที่โลกทั้งใบได้กลายเป็นทะเลทรายไปแล้วจริงๆ เทียบท่าจอด ณ ‘อาร์ราคิส’ ดวงดาวที่ร้อนกว่าประเทศไทย แค่ก้าวเท้าลงมาจากยาน อากาศที่ร้อนระอุกว่า 60 องศาเซลเซียสก็พัดกระแทกหน้าอย่างจัง ที่นี่ร้อนกว่าเมืองไทยของเราเสียอีก มองไปทางไหนก็เห็นแต่เนินทรายสีทองกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ก่อนเราจะก้าวลงเดินบนพื้นทราย ไกด์นำทางของเราได้ยื่นชุด ‘สติลสูท’ (Stillsuit) ให้ เพราะชุดนี้จะรีไซเคิลของเหลวในร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นของเสีย เหงื่อ ปัสสาวะ หรือแม้แต่ลมหายใจของเรา ให้กลับมาเป็นน้ำใช้ใหม่อีกครั้ง เพื่อป้องกันผู้สวมใส่ไม่ให้ขาดน้ำตายบนความแห้งแล้งของอาร์ราคิส คืนนี้เราจะนอนกันที่ ‘อาร์ราคีน’ (Arrakeen) เมืองหลวงของดาวอาร์ราคิส ก่อนที่จะออกไปตามล่าสไปซ์ในวันรุ่งขึ้น […]

เปิดไทม์ไลน์ ‘สร้าง เสริม ซ่อม’ ถนนพระราม 2 ถนนสายประวัติศาสตร์ที่กำลังสร้างมากว่าครึ่งศตวรรษ

แม้จะเป็นเหมือนมุกตลกร้าย แต่เมื่อมองให้ลึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่าและยุคใหม่อย่าง ‘มหาพีระมิด เมืองกีซา ประเทศอียิปต์’ และ ‘ทัชมาฮาล เมืองอาครา ประเทศอินเดีย’ ทั้งสองแห่งใช้เวลาในการสร้างรวมกันแล้วยังน้อยกว่า ‘ถนนพระราม 2’ เสียอีก ถนนพระราม 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ถือเป็นหนึ่งเส้นทางหลักในการเดินทางของพี่น้องชาวฝั่งธนฯ และเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมไปยังภาคใต้ ซึ่งแท้จริงถนนเส้นนี้สร้างเสร็จมานานแล้ว แต่มีโครงการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และยังคงมีการก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 54 ปีหากนับถึงตอนนี้ จนทำให้การจราจรติดขัดและเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เราขออาสาพาไปดูไทม์ไลน์ถนนประวัติศาสตร์เส้นนี้ว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมมันถึงสร้างไม่เสร็จสักที ยุคแรกสร้างถนนพระราม 2 (พ.ศ. 2513 – 2516) ก่อนที่จะมีการสร้างถนนพระราม 2 ประเทศไทยมี ‘ถนนเพชรเกษม’ เป็นถนนสายหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้อยู่แล้ว แต่ในช่วงสมัยรัฐบาลของ ‘จอมพล ถนอม กิตติขจร’ มีนโยบายให้สร้างถนนพระราม 2 ขึ้น ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี โดยเริ่มจากถนนสุขสวัสดิ์ (เขตจอมทอง กรุงเทพฯ) ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (วังมะนาว […]

ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

Urban Regeneration of Hat Yai Inner City ธีสิสฟื้นฟูเมืองหาดใหญ่ สร้างย่านเศรษฐกิจใหม่จากพื้นที่เดิม

‘หาดใหญ่’ เปรียบเสมือนเมืองหลวงของภาคใต้ที่มีพหุวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนที่หลากหลาย เนื่องด้วยเป็นชุมทางรถไฟสายใต้ที่มีพื้นที่ติดต่อค้าขายกับประเทศมาเลเซีย แต่ปัจจุบันเมืองท่าแห่งนี้กลับเงียบเหงากว่าอดีตมาก หลังจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 เมื่อหลายปีที่ผ่านมา เพราะมีการปิดพรมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ ‘เกรท-กมลฉัตร ชื่นจิตต์ศิริ’ อดีตนิสิตภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เกิดและเติบโตในพื้นที่หาดใหญ่ ตัดสินใจทำธีสิส ‘Urban Regeneration of Hat Yai Inner City’ ออกแบบพื้นที่ไฮไลต์ในตัวเมืองหาดใหญ่ใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในบ้านเกิดให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง คอลัมน์ Debut ชวนทุกคนนั่งรถไฟลงใต้ ไปสำรวจความเป็นไปได้ของการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภาคใต้ผ่านธีสิสของลูกหลานหาดใหญ่คนนี้กัน จุดเริ่มต้นการฟื้นฟูของหาดใหญ่ “เราโตมากับหาดใหญ่ พอได้ทำธีสิสเลยเลือกพื้นที่ตรงนี้มาพัฒนา เพราะเห็นว่าปัจจุบันตัวเมืองค่อนข้างเงียบเหงา ซึ่งเรามองว่าหาดใหญ่สามารถไปได้ไกลกว่านี้” เกรทเล่าถึงความตั้งใจในการทำธีสิส โดยยึดจากปัญหาที่พบในบ้านเกิดของเธอเอง เดิมทีหาดใหญ่ได้รับความเจริญจากการเข้ามาของ ‘สถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่’ ที่แบ่งการเดินทางแยกออกเป็น 2 สาย คือ ปลายทางสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก และปลายทางเมืองบัตเตอร์เวิร์ท ประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีท่าอากาศยานหาดใหญ่ ที่ทำให้เมืองนี้มีบทบาทเป็นพื้นที่จุดศูนย์กลางการเดินทาง ควบตำแหน่งเมืองการค้าที่สำคัญเนื่องจากติดกับชายแดน แหล่งรวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชุมชนคนไทย จีน และมุสลิม ที่ตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ มากไปกว่านั้น ทางเทศบาลนครหาดใหญ่ยังมีการวางแผนสร้างระบบ ‘รถไฟฟ้ารางเดี่ยว’ […]

เปิดเวที THE POWER BAND 2024 SEASON 4 เฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีหน้าใหม่ ที่เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี

เผลอแป๊บเดียวเวทีประกวดเฟ้นหาสุดยอดวงดนตรีหน้าใหม่อย่าง ‘THE POWER BAND’ ที่จัดกันเป็นประจำทุกปี ก็เข้าสู่ปีที่ 4 แล้ว โดยปีนี้กลับมาอีกครั้งด้วยคอนเซปต์ ‘Let The Music Power Your World เป็นได้สุด เป็นไปได้ ด้วยพลังแห่งดนตรี’ ครั้งนี้ ‘King Power’ จัดใหญ่ จับมือกับคนในอุตสาหกรรมดนตรีอย่างคับคั่ง ไม่ว่าจะเป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ 6 ค่ายเพลงดัง ได้แก่ Muzik Move, LOVEiS Entertainment, Smallroom, What The Duck, Warner Music Thailand และ XOXO Entertainment ที่พร้อมมาส่งต่อประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประกวดทุกคน ถ้าถามว่า ‘THE POWER BAND 2024 SEASON 4’ ในครั้งนี้จัดใหญ่จัดเต็มแค่ไหน วันนี้คอลัมน์ Art Attack […]

เสรีภาพสื่อที่ถูกจำกัดและผู้เห็นต่างที่ถูกกำจัด ในกราฟิกโนเวล ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’

‘เมื่อตัดไปหนึ่งหัวกลับงอกเพิ่มขึ้นมาอีกสองหัว’ มังกรไฮดรา สัตว์ร้ายในตำนานที่ยิ่งพยายามฆ่ามันเท่าไหร่ มันกลับยิ่งแตกตัวและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์บ้านเมืองของ ‘สยาม’ ในอดีตก็เช่นกัน ยิ่งรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้อำนาจกำจัดผู้กระด้างกระเดื่องมากเท่าไหร่ จำนวนผู้ต่อต้านก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จนนำไปสู่การยึดอำนาจ ย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475 เกิดการ ‘อภิวัฒน์สยาม’ เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ‘ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ สู่ ‘ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ’ มอบอำนาจสูงสุดกลับคืนสู่ราษฎร แต่ผ่านไปเพียงแค่ชั่วอึดใจ ผู้มีอำนาจกลุ่มใหม่ก็เข้ามารับไม้ต่อเป็นเผด็จการเสียเอง เสมือนเปลี่ยนเพียงหัวโขนจากกษัตริย์เป็นทหาร ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นในสยามช่วงเวลาก่อนปี 2475 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองและวิธีการของรัฐที่ใช้อำนาจปิดปากประชาชน แล้วทำไมจาก ‘สยาม’ มาจนถึง ‘ไทย’ ในปัจจุบัน สังคมการเมืองบ้านเรายังคงวนลูปแห่งอำนาจและการต่อสู้อย่างไม่เคยสิ้นสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้อ่านหนังสือ ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’ กราฟิกโนเวลดราม่าอิงประวัติศาสตร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากบุคคลและเหตุการณ์จริง ภาพลายเส้นโดย สะอาด (ภูมิ-ธนิสร์ วีระ) ผู้สร้างสรรค์ครอบครัวเจ๊งเป้ง, ให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต ฯลฯ และเนื้อเรื่องโดย พชรกฤษณ์ โตอิ้ม และ สะอาด เรื่องราวภายในเล่มกล่าวถึงสยามประเทศช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุคสมัยที่พระนครเต็มไปด้วยอาชญากรรมและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ […]

ป้ายบอกทางพื้นเขียวฟอนต์ขาว ดูยังไงว่าถูกกฎหมายหรือไม่

การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย แม้ว่าจะเปิดดูตาม Google Maps แล้วก็ตาม แต่ถ้ามีป้ายบอกทางสักหน่อยก็คงจะทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้ไม่คุ้นชินเส้นทางสบายใจไม่น้อยเลยทีเดียว ในบรรดาป้ายที่เราเห็นกันมักจะเป็น ‘ป้ายบอกทาง’ (Guide Sign) ที่มีลักษณะเป็นป้ายสีเขียวตัวหนังสือสีขาว หรือป้ายสีขาวตัวหนังสือสีดำ เหมือนกับป้ายบอกทางบนถนนหลวงทั่วไป แต่บางป้ายก็ติดตั้งกีดขวางทางเดิน ทำให้ไม่เหลือพื้นที่บนทางเท้าราวกับไม่ได้รับอนุญาต หรือบางครั้งก็ดูแตกต่างจากป้ายอื่นๆ ทั่วไป จนทำให้เกิดคำถามว่า แล้วป้ายทั้งหมดที่เราเห็นตามทางเหล่านี้ถูกกฎหมายหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity อาสาพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับป้ายบอกทางไปยังสถานที่ต่างๆ ว่า ป้ายแบบไหนที่ผิดกฎหมายบ้าง และถ้าต้องติดตั้งป้ายแบบไหนถึงจะถูกต้องตามกฎหมาย ป้ายแบบไหนที่ไม่สามารถติดตั้งบนพื้นที่สาธารณะได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร มีป้ายทั้งหมด 7 ประเภทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้ง คือ ป้ายเกาะกลางถนน ป้ายบนสะพานลอย ป้ายหน้าปากซอย ป้ายที่อยู่ในเขตทาง ป้ายอวยพรในเทศกาลต่างๆ ป้ายติดตามผนังกำแพงบ้านเรือนประชาชน และป้ายลอกเลียนแบบ กทม. อ่านๆ ดูป้ายประเภทอื่นๆ ก็พอเข้าใจได้ แต่ป้ายลอกเลียนแบบ กทม. คืออะไร ทุกคนสงสัยไหม ป้ายประเภทนี้เรามักพบเห็นได้ทั่วไป จนแทบแยกไม่ออกว่าอันไหนคือป้ายที่ถูกกฎหมาย หรืออันไหนคือป้ายเลียนแบบเพื่อเลี่ยงภาษีป้าย โดยปกติแล้วหากมีผู้พบเห็นและแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ ทาง กทม.ก็จะรื้อถอนหากไม่มีเจ้าของป้ายมาแสดงตน แต่ถ้าในกรณีที่ป้ายติดตั้งในพื้นที่เอกชน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหาเจ้าของว่าได้เสียภาษีป้ายอย่างถูกต้องตาม […]

มีอะไรอยู่บน (สถานีรถไฟ) ฟ้า

ระหว่างที่รอรถไฟฟ้าอยู่เพลินๆ ไม่กี่นาที พลันสายตาก็เหลือบสำรวจไปทั่วว่ามีอะไรบ้างนะในวิวระดับตึกชั้น 3 ที่ทอดออกไปยังตึกต่างๆ โดยรอบ มันไม่ได้มีแค่หลังคาบ้าน ไม่ได้มีแค่ตึกที่สูงลดหลั่นกัน หากมองดีๆ มันมีดีเทลมากกว่านั้น และบางดีเทลก็ซ่อนอยู่หลังแผงเหล็กของสถานีรถไฟฟ้า ที่สังเกตได้ง่ายเลยก็คือดาดฟ้าของห้องแถว บางคูหาเป็นลูกกรงเหล็กครอบอีกที มีเสาอากาศอยู่ บ่งบอกถึงยุคหนึ่งที่มีทีวีตู้นูน หากอยากจะดูให้คมชัดกว่านี้ แค่เสาแบบตัววีคงไม่พอ ต้องเป็นเสาอากาศก้างปลา เสียบชั้นบนสุดของตึกเท่านั้น และเพื่อยกระดับให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่สูงสมฐานะ การยกให้ศาลพระภูมิไปอยู่บนดาดฟ้าจึงถือเป็นที่ตั้งที่เหมาะสุดแล้ว แดดยามบ่าย ไม่เพียงแต่เล่นแสงและเงาให้กับทางของรถไฟฟ้าที่ทอดยาวสุดลูกหูลูกตา มันยังสร้างเหลี่ยม สร้างมุม เล่นกับตึกแถวที่หน้าตึกเหลื่อมกันได้ดี ซึ่งในแต่ละคูหา ลูกกรงและสีอาคารก็ต่างสไตล์กันไปอีก หากเดินอยู่ข้างล่าง เราคงไม่ได้สังเกตว่าชั้น 2 ของบางคูหาก็แอบมีลูกเล่นตรงหน้าต่าง ความงามนี้เพิ่งจะถูกเปิดเผยก็ตอนที่มีสถานีรถไฟฟ้ามาตั้งขนาบข้าง บางคูหาใช้วิกฤตเป็นโอกาส ไหนๆ ตึกก็หันมาเกือบประชิดกับทางสถานีรถไฟฟ้าที่มีคนผ่านไปมา ก็ขอโฆษณาสักหน่อย ถ้าไม่ได้อยู่ในความสูงระดับตึกชั้น 4 ของ MRT เตาปูน เราคงไม่ได้สังเกตเลยว่า วิวสุดลูกหูลูกตานี้ มีบ้านหลังไหนบ้างที่เก่าแก่แต่ยังคงสภาพสมบูรณ์ ที่ดินตรงไหนที่ยังคงเขียวขจีอยู่ท่ามกลางเมืองหลวงที่ร้อนระอุ รวมถึงการหดตัวของพื้นที่สีเขียวไปเรื่อยๆ หลังคาของบางบ้าน บางร้าน ก็เป็นที่เก็บของชั้นดี ในเมื่อของที่ไม่ค่อยใช้แล้วมันเกะกะพื้นที่ที่คนใช้สอยบ่อย ก็เอาไปเก็บไว้ในพื้นที่ที่คนไม่ได้ใช้สอยอะไรมากก็แล้วกัน ผนังสูงๆ ของตึกบางแห่ง เป็นที่ทดลองทำกราฟฟิตี้แบบง่าย […]

1 2 3 4 5 80

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.