Resilient City ออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วม

ในปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ สาเหตุนั้นมาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งการขยายตัวของเมือง การสร้างถนน ตึกและสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผลที่ตามมาคือ เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง ส่วนคลองที่เคยเป็นช่องทางเดินน้ำก็มีขนาดเล็กลงและระบายน้ำยากขึ้นทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ที่เป็นแอ่งกระทะ และมีพื้นที่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ มีขยะจำนวนมากอุดตันขวางทางเดินน้ำ ผังเมืองเจ้าปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งล้วนส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าปกติ น้ำจากภูมิภาคทางเหนือที่ไหลบ่าลงมา และการหนุนสูงของน้ำทะเลก็มากขึ้น กรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและมีสภาพเป็นเสมือนประตูระบายน้ำที่ต้องรอการระบายหนักกว่าเดิมในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากหยิบนวัตกรรมและการรับมือปัญหาน้ำท่วมจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ เพราะไอเดียเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาระดับโครงสร้างเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ ‘สวนสาธารณะ’ นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับเมืองได้ด้วย เช่น Climate Park ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถรองรับน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษณะขั้นบันไดที่ด้านล่างเป็นแอ่งกระทะและใช้เป็นสนามกีฬาได้ เมื่อน้ำมาก็กลายเป็นสระน้ำให้ผู้คนมานั่งเล่นพักผ่อนได้ อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีสวน 100 ปี จุฬาฯ ที่ตั้งใจออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งตอบโจทย์หลากหลายฟังก์ชันทั้งการทำกิจกรรม เป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นแหล่งรับน้ำของเมือง ถือเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำไปปรับใช้กับพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง เพิ่มท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ การทำให้เส้นเลือดใหญ่อย่าง […]

Urban Eyes 41/50 เขตหลักสี่

ภาพจำเขตหลักสี่ของใครหลายคนน่าจะเป็นเขตที่มีศูนย์ราชการเต็มไปหมด ตอนแรกแอบท้อหน่อยว่าจะไปถ่ายภาพตรงไหนดี แต่พอหาข้อมูลก็ยิ่งท้อหนักเข้าไปใหญ่ เพราะไม่ค่อยมีข้อมูลเกี่ยวกับเขตนี้เท่าไหร่ โชคดีหน่อยที่ใน Google Maps มีฟังก์ชันบอกจำนวนความหนาแน่นประชากร ทำให้เราพอคาดเดาได้ว่าตรงไหนเป็นแหล่งชุมชน เพราะส่วนใหญ่คนมักจะออกมาทำกิจกรรมกัน และทำให้เราได้ภาพถ่ายดีๆ ไปด้วย ซึ่งหลังจากลงพื้นที่แล้ว เราก็รู้สึกเซอร์ไพรส์เหมือนกันว่าหลักสี่มีอะไรมากกว่าการเป็นแหล่งศูนย์ราชการ วัดหลักสี่ ━ วัดใหญ่ที่อยู่ติดกับถนนใหญ่ เจดีย์ที่อยู่ข้างหลังยังไม่เปิดให้ใช้งาน แต่เราเข้าไปกราบไหว้ที่ตัววิหารด้านหน้าได้ บรรยากาศรอบนอกมีต้นไม้เป็นแนวยาว ใกล้ๆ กันนั้นเป็นห้างฯ ใหญ่ IT Square ชุมชนหลักสี่พัฒนา99 ━ ชุมชนข้างหลังห้างฯ IT Square ตัวพื้นที่ติดกับคลองเปรม ประชากรบริเวณนี้มีบ้านที่ร่วมอยู่ในโครงการบ้านมั่นคง ถ้าชาวบ้านต้องการสร้างบ้านใหม่ก็ยื่นข้อเสนอขอให้รัฐสร้างได้ โดยต้องจ่ายรายเดือนไปเรื่อยๆ จนกว่าค่าสร้างบ้านจะครบ แต่ถึงแม้จะจ่ายครบแล้วก็ไม่ได้โฉนดที่ดินนะ เพราะตรงนี้เป็นพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ให้ประชาชนมาอยู่เฉยๆ บางบ้านไม่ต้องการจ่ายรายเดือนก็ปฏิเสธโครงการบ้านมั่นคงได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นเราจึงเห็นบ้านไม้แบบเก่าและบ้านที่เป็นตึกสไตล์ร่วมสมัยสลับกันไปมาตลอดเส้นทางชุมชน ตลาดท่าทราย ━ แหล่งนัดพบของชุมชน มีทั้งตลาดเช้าและช่วงเย็นเป็นตลาดนัดกางร่ม สนามฟุตบอลพื้นหญ้าขนาดใหญ่ สนามฟุตซอล สนามแบดมินตันใต้หลังคา รวมถึงสนามเด็กเล่นให้เด็กในชุมชนมารวมตัวเล่นกันอย่างสนุกสนาน ตลาดเมืองทอง 1 ━ ตลาดที่มีหลังคาปิดมิดชิด แสงช่วงเย็นมักส่องลงมาทางข้างหน้าตัวตลาด เกิดเป็นซีนที่สวยงาม สวนสาธารณะบึงสีกัน ━ […]

Day/DM Cafe คาเฟ่ย่านเยาวราช โดยคู่รักนักเพศวิทยาที่อยากให้คนกล้าคุยเรื่องเพศตอนกลางวัน

ตอนที่เดินไปยังสถานที่นัดหมาย ทุกตึกบนถนนเส้นนั้นหน้าตาดูเหมือนกันไปหมด แต่สิ่งที่ทำให้เรามั่นใจว่าประตูบานนี้เป็นของร้าน Day/DM Cafe แน่นอนคือ ธงสีรุ้งและสัญลักษณ์ที่สื่อถึงความหลากหลายทางเพศที่ประดับประดาอยู่ รวมถึงโลเคชันที่อยู่ตรงข้ามศาลเจ้าหลีตีเมี้ยวตามคำบอกเล่าของเจ้าของร้าน พอเดินเข้าไปในร้าน ความรู้สึกที่ค่อยๆ เข้ามาเกาะในใจเราคือ บรรยากาศอบอุ่นที่เหมือนกับเรามาเที่ยวบ้านเพื่อน อาจจะเป็นเพราะการตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้ กลิ่นหอมจากเมล็ดกาแฟ รวมถึงเจ้าของร้านทั้งสองที่ชวนคุยอย่างสนิทสนม ‘เอช-ประติมา รักษาชนม์’ และ ‘แต๋ม-วิสุทธิ์รัตน์ รุ่งนพคุณศรี’ คือคู่รักนักเพศวิทยาเจ้าของที่นี่ ผู้ร่วมกันสร้างคาเฟ่เล็กๆ แห่งนี้ให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน พื้นที่ปลอดภัยที่ว่าคือ พื้นที่ที่ไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามาปรึกษาพูดคุยถึงหัวข้อยากๆ ที่ไม่รู้จะไปคุยกับใครอย่างเรื่องเพศและเรื่องเซ็กซ์ ต่อให้เป็นเรื่องรสนิยมทางเพศ ประจำเดือนไม่มา เคยมีอะไรกับแฟนแล้วไม่อยากมี อยากลองเล่น Sex Toy ฯลฯ ทั้งสองคนก็พร้อมให้คำปรึกษาจากองค์ความรู้ด้านนี้ที่ร่ำเรียนมา คาเฟ่ที่เกิดจากความสนใจเรื่องเพศ ย้อนกลับไปหลายปีก่อนตอนที่ทั้งคู่ยังเรียนอยู่ เอชและแต๋มเรียนจบในคณะที่ตัวเองวาดหวังไว้ แต่ถึงจะเป็นแบบนั้นเส้นทางของทั้งคู่ก็ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เอชที่เรียนคณะครุศาสตร์ เอกศิลปะ ต้องประสบกับปัญหาเงินๆ ทองๆ จนต้องทำงานส่งตัวเองเรียน บวกกับเคยถูกบุลลี่เพียงเพราะรูปร่างหน้าตาไม่ตรงตามมาตรฐานที่สังคมตั้งไว้ แถมพอจบออกมาทำงานในสำนักพิมพ์ก็ถูกกดเงินเดือน ส่วนแต๋มที่เรียนจบวิศวกรรมอุตสาหการ ก็ต้องไปเผชิญสังคมการทำงานที่ปิดกั้นโอกาสผู้หญิง ทั้งที่เธอมีความสามารถ อยากลองทำอะไรหลายๆ อย่าง แต่แค่เพราะ ‘เพศ’ ที่เป็นเหมือนเพดานแก้วบางๆ ทำให้หญิงสาวไม่สามารถก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้ ชีวิตของทั้งสองคนพบเจออะไรหลายๆ […]

ไต้หวันขยายสิทธิให้คู่รัก LGBTQ+ รับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกันได้

เมื่อพูดถึงการเปิดกว้างเรื่อง ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ ของประเทศในภูมิภาคเอเชีย ‘ไต้หวัน’ น่าจะเป็นประเทศที่โอบรับความหลากหลายทางเพศมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ เพราะเป็นประเทศแรกที่ให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่สิทธิที่ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันได้หลังจากแต่งงานยังไม่เท่าเทียมกับคู่แต่งงานชายหญิง เพราะกฎหมายยังห้ามไม่ให้คู่แต่งงานเพศเดียวกันรับเลี้ยงบุตรบุญธรรมร่วมกัน เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไต้หวันพูดเรื่องความเสมอภาคได้อย่างไม่เต็มปาก แต่ล่าสุดไต้หวันได้ผลักดันการแก้กฎหมายที่ยังละเมิดความเท่าเทียมทางเพศ โดยอนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ รับสิทธิเช่นเดียวกับคู่รักต่างเพศในทุกๆ ด้าน ถือเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้ไต้หวันกลายเป็นประเทศที่มีความเสมอภาคมากที่สุดในเอเชีย ‘ไต้หวัน’ ประเทศแรกในเอเชียที่ให้คู่รักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย แต่เดิมการแต่งงานของเพศเดียวกันยังเป็นข้อห้ามทางด้านกฎหมายในไต้หวัน จนกระทั่งปี 2560 ศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณาและตัดสินว่ากฎหมายข้อนี้ถือเป็นการละเมิดสิทธิและความเสมอภาคของพลเมืองตามหลักรัฐธรรมนูญ รัฐสภาไต้หวันจึงต้องดำเนินการแก้ไขกฎหมายให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาล ทำให้ในปี 2562 รัฐสภาไต้หวันได้ผ่านร่างกฎหมายให้คู่ชีวิตเพศเดียวกันสามารถแต่งงานกันได้ แม้จะมีเสียงคัดค้านจากฝ่ายอนุรักษนิยม แต่ไต้หวันก็สามารถเป็นประเทศแรกในเอเชียที่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  แต่งงานกับชาวต่างชาติได้ถ้าประเทศคู่รักรองรับสมรสเท่าเทียม การสมรสเท่าเทียมทำให้คู่รัก LGBTQ+ ได้รับสิทธิเกือบเท่าเทียมคู่รักชายหญิง แต่พวกเขายังถูกจำกัดสิทธิเรื่อง ‘การแต่งงานกับชาวต่างชาติ’ และ ‘การรับเลี้ยงบุตรบุญธรรม’ ที่ยังคงจำกัดสิทธิบางอย่างอยู่ เพราะตามกฎหมายเดิม ชาว LGBTQ+ ในไต้หวันจะแต่งงานกับชาวต่างชาติได้ก็ต่อเมื่อ คู่รักมาจากประเทศที่มีกฎหมายรองรับสมรสเท่าเทียมเท่านั้น เช่น ถ้าคู่รักเป็นชาวไทยก็จะไม่สามารถแต่งงานกันได้ เพราะประเทศไทยยังไม่บังคับใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม แต่เมื่อเดือนมกราคม 2566 การสมรสเท่าเทียมของไต้หวันก็มีความเท่าเทียมมากขึ้น หลังจากกฎหมายเพิ่มสิทธิรองรับการแต่งงานคู่รัก […]

ร่วมออกแบบนโยบายเพื่อยกระดับ ‘การท่องเที่ยวชุมชนของสระบุรี’ ให้เป็นเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

‘สระบุรี’ คือจังหวัดเมืองรองในภาคกลางที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก มีพื้นที่ราบสลับกับพื้นที่ภูเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมผสมผสานกับพื้นที่การเกษตร ทว่านอกจากเป็นเมืองทางผ่านที่สำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศแล้ว สระบุรียังเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์กระจายตัวอยู่มากมาย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะชุมชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำป่าสักของสระบุรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นมาไม่น้อยกว่า 150 ปี ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายของชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ไทยวน ลาวเวียง พวน มอญ และจีน ทำให้สระบุรีมีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ที่กำลังรอให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสด้วยตัวเอง ทั้งนี้ สระบุรีและอีก 3 จังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ได้แก่ เพชรบูรณ์ ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา กลับต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการท่องเที่ยวชุมชนในมิติต่างๆ เช่น ชุมชนไม่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือภาคธุรกิจขนาดใหญ่ รวมไปถึงการสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การเปลี่ยนกรอบความคิดของคนในชุมชน การสร้างผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนามาตรฐานของสินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น เพื่อยกระดับและพัฒนา ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ ของสระบุรีให้กลายเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทาง Thailand Policy Lab และ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation […]

สำรวจนิยามครอบครัวหลากหลายผ่าน 5 รสชาติไอศกรีมที่ Diversity Cafe

ช่วงสัปดาห์ส่งท้ายเดือน Pride Month เราขอชวนทุกคนไปค้นหานิยามครอบครัวในแบบฉบับของตัวเองที่ ‘Diversity Cafe’ นิทรรศการว่าด้วยเรื่อง ‘ครอบครัวหลากหลาย’ ภายใต้รูปแบบคาเฟ่ไอศกรีม เพื่อส่งเสริมสิทธิของทุกคนและทุกเพศอัตลักษณ์กับการสร้างครอบครัวในรูปแบบของตัวเอง นอกจากผู้เข้าร่วมงานจะได้ชิมไอศกรีม 5 รสชาติใหม่ๆ ที่สะท้อนรูปแบบครอบครัวในฝันของแต่ละคนแล้ว ภายในงานยังเล่าเรื่องของ 6 ครอบครัวที่มีนิยามแตกต่างกันเพื่อสะท้อนความหลากหลายในสังคมไทย รวมไปถึงปัญหาเชิงนโยบายและค่านิยมของสังคมที่มองคำว่าครอบครัวในนิยามของพ่อ-แม่-ลูกเท่านั้น นิทรรศการ Diversity Cafe จัดโดย Thailand Policy Lab ห้องปฏิบัติการนโยบาย ก่อตั้งโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ร่วมกับภาคีเครือข่ายอย่างกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand) สยามพิวรรธน์ วอร์นเนอร์ มิวสิค ประเทศไทย และแสนสิริ จุดแรกที่นิทรรศการธีมคาเฟ่ไอศกรีมเตรียมไว้ต้อนรับเราคือ พื้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ ‘ครอบครัวยุคใหม่ในนิยามของฉัน’ ที่พาไปสำรวจนิยามของครอบครัวยุคปัจจุบันที่ไม่ได้จำกัดแค่พ่อ-แม่-ลูกเหมือนแต่ก่อน แต่มีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น บางครอบครัวผูกพันกันทางสายเลือด ขณะที่บางครอบครัวอาจเป็นคู่รักเพศหลากหลายที่กฎหมายยังไม่รองรับ ครอบครัวที่อยู่กับเพื่อน ครอบครัวที่อยู่กับสัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ตัวเราคนเดียวก็เป็นครอบครัวให้ตัวเองได้ นอกจากนี้ยังมีข้อมูลและสถิติเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศไทย เช่น จำนวนคนอยู่คนเดียวที่เพิ่มสูงขึ้น คนไทยอายุยืนขึ้น คนไทยแต่งงานช้าลง คนไทยมีลูกน้อยลง ทั้งหมดสะท้อนให้เห็นว่า ครอบครัวของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก […]

‘นินจา 4MIX’ การเป็นตัวเองในวงการบันเทิง ที่อยากให้มองคนที่ความสามารถ

“ทุกคนพิสูจน์ตัวเองได้ แต่ต้องไม่ใช่เรื่องเพศ เพราะไม่ว่าจะเป็นเพศไหน ทุกคนก็เป็นคนเหมือนกัน ไม่อยากให้น้อยใจว่าฉันเกิดมาเป็นแบบนี้มันติดลบ” ในวันที่ T-POP กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง ในฐานะ T-POP Stan คนหนึ่ง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวง ‘4MIX’ ถือเป็นไอดอลวงแรกๆ ของยุคนี้ที่เป็นคนจุดประกายความหวังของเราขึ้นอีกครั้ง ทั้งยังดังไกลติดตลาดจนมีแฟนคลับจำนวนมากจากฝั่งลาตินอเมริกา ความน่าสนใจของ 4MIX ไม่ใช่แค่วงไอดอลมากความสามารถที่มีเพลงติดหูคนไทยตั้งแต่เพลงแรกที่เดบิวต์สเตจและครองใจใครต่อใครด้วยความเป็นตัวเอง แต่หนึ่งในสมาชิกอย่าง ‘นินจา-จารุกิตต์ คําหงษา’ ก็ยังเป็นคนในคอมมูนิตี้ LGBTQ+ ที่พยายามผลักดันเรื่องความหลากหลายและความเท่าเทียมมาโดยตลอด ก่อนส่งท้าย Pride Month เราได้นัดหมายพูดคุยกับ ‘นินจา 4MIX’ ถึงตัวตนของศิลปินคนนี้ ผ่านเรื่องเล่าชีวิตวัยเด็ก เส้นทางศิลปินในปัจจุบัน รวมไปถึงการค้นหาความหวังในอนาคตผ่านบทสัมภาษณ์คอลัมน์ Think Thought Thought ก่อนจะมาเป็นนินจาในวันนี้ ชีวิตวัยเด็กของคุณเป็นอย่างไร นินเป็นเด็กบ้านนอกมาก แบบที่ไม่ใช่แค่อยู่ต่างจังหวัดแต่มันคือต่างอำเภอและอยู่นอกตัวอำเภอออกไปอีก แต่ดีหน่อยที่มีคุณแม่เป็นคุณครู เลยค่อนข้างมีโอกาสมากกว่าหลายๆ คนในหมู่บ้าน เพราะเวลามีงานต่างๆ ในโรงเรียน แม่ที่เป็นครูจะเอาลูกตัวเองไปเต้นไปรำ จากสิ่งนี้ทำให้เราซึมซับมาเรื่อยๆ จนกลายเป็นเด็กที่ขับเคลื่อนด้วยกิจกรรมล้วนๆ อย่างตอนที่เราสอบติดโรงเรียนประจำอำเภอ 2 โรงเรียนพร้อมกัน โรงเรียนหนึ่งเป็นเลิศด้านวิชาการกับอีกโรงเรียนที่เน้นกิจกรรม […]

ลัดเลาะ ‘ท่องธน’ ผจญภัยล่าขุมทรัพย์ ที่ซ่อนอยู่ใน ‘บางกอกใหญ่’

เชื่อว่านิยามคำว่า ‘ฝั่งธนฯ’ ของแต่ละคนมีความแตกต่าง แต่ไม่ว่าอาณาเขต ‘ธนบุรี’ ในความรู้สึกนึกคิดของคุณจะกว้างใหญ่เพียงใด เพียงแค่ฟากซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ไกลจรดทะเลบางขุนเทียน หรือยาวไปถึงชายแดนกรุงเทพฯ ติดปริมณฑลอย่างบางแค-หนองแขม ก็ตามที รู้หรือไม่ว่าทั้งหมดทั้งมวลนี้เริ่มที่ย่านบางกอกใหญ่ ศูนย์กลางการปกครองของกรุงธนบุรี ราชธานีเก่าของเมืองไทย คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้เลยขออาศัยไกด์บุ๊กนำทางติดกระเป๋า พร้อมแอปพลิเคชันเกม ‘ท่องธน’ (Game of Thon) สวมบทนักผจญภัย โดยมีสมาชิกกลุ่มยังธนและผู้พัฒนาเกมเป็นคนนำทีม เปิดแมปฝั่งธนฯ ตะลุยบางกอกใหญ่ ในชุมชนวัดนาคกลาง หาขุมทรัพย์ที่ซ่อนอยู่ทั้งโบราณสถาน ซึ่งไม่ได้มีเพียงแค่สัญลักษณ์เมืองไทยอย่างพระปรางค์วัดอรุณฯ แต่ยังรวมไปถึงผู้คนริมคลองมอญและร้านรวงของคนในย่านที่เป็นเสมือน Hidden Gem หากอยากลองชิมลางร่วมตี้ แค่โหลดเกมและจัดทีมก็ออกมาร่วมสนุกได้ หรือหากอยากรู้จักฝั่งธนฯ แบบทะลุปรุโปร่ง หยิบไกด์บุ๊กท่องธนใส่กระเป๋าแล้วออกย่ำเท้าไปพร้อมกัน เมื่อจบภารกิจท่องธนครั้งนี้แล้ว ไม่แน่ว่าคำนิยามและความรู้จักของคุณที่มีต่อฝั่งธนฯ อาจเปลี่ยนไป เรานั่งย้อนเขียนถึงเรื่องราวการผจญภัยนี้ที่ฝั่งพระนคร มองย้อนออกไปริมแม่น้ำเจ้าพระยา เยื้องไปไม่ไกลคือ ‘วังเดิม’ ศูนย์กลางการปกครองของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กษัตริย์เพียงพระองค์เดียวของกรุงธนบุรี ที่ปัจจุบันเป็นพื้นที่ของกองทัพเรือ ติดกับวัดอรุณราชวรารามฯ หากอ้างอิงตามประวัติศาสตร์กระแสหลัก ภายหลังจากกรุงศรีอยุธยาสิ้นสภาพไป เกิดการสถาปนาเมืองแห่งใหม่ขึ้นมาไม่ไกลจากปากแม่น้ำเจ้าพระยา ราชธานีแห่งนี้ตั้งอยู่ได้ประมาณ 15 ปี ก่อนเกิดเหตุการณ์ทางการเมืองครั้งสำคัญที่ทำให้มีการย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำ […]

‘ศิลปะบนฝาท่อ’ คืนพื้นที่ทางเดินเท้าด้วยฝีมือคนในชุมชนและนักออกแบบกลุ่มเมืองยิ้ม

การนำศิลปะเข้าไปรวมอยู่กับสิ่งเล็กๆ ที่หลายคนมองข้าม อาจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของเมืองให้มากขึ้น ยกตัวอย่าง ‘ศิลปะบนฝาท่อ’ ของประเทศญี่ปุ่น ที่หยิบเอาสถานที่หรือสัญลักษณ์ในประเทศมาออกแบบและสื่อถึงเอกลักษณ์สำคัญๆ บนฝาท่อ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของย่านหรือเมือง จนเป็นเหมือนแบรนด์ดิงของพื้นที่นั้นๆ ที่ชวนให้นักท่องเที่ยวได้สนุกกับการเดินเท้า มองหาศิลปะตามเส้นทาง และใช้เวลาเอนจอยกับระหว่างทางมากขึ้น ในขณะเดียวกัน กรุงเทพฯ เองก็เคยมีศิลปะบนฝาท่อในย่านคลองโอ่งอ่างมาก่อนหน้านี้ และในตอนนี้มีอีกหนึ่งพื้นที่อย่างบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ที่เราอาจนึกไม่ถึงว่านอกจากตลาดโบ๊เบ๊ที่เป็นสถานที่ใกล้เคียงแถวนั้นแล้ว จะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างฝาท่อสีสันสดใสวางเรียงรายตามทางเท้าด้วย คอลัมน์ Art Attack ขออาสาพาทุกคนไปเดินชมฝาท่อที่ถูกแต่งแต้มด้วยศิลปะจากจินตนาการและการใช้ชีวิตของเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านความร่วมมือระหว่าง ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ และกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ดีขึ้น และคืนพื้นที่ทางเท้าให้กับผู้คนในย่านได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกันมากกว่าเดิม กลุ่มนักออกแบบที่อยากมอบรอยยิ้มให้ผู้คน ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ เกิดจากการรวมตัวกันของสามสมาชิกที่ทำงานด้านการออกแบบหลากหลายแขนง ได้แก่ ‘ดิว-วรรธนะ ทรงเพ็ชร์มงคล’ นักวิจัยผังเมืองและนักออกแบบ, ‘ธาม ศรีเพริศ’ นักออกแบบภายใน และ ‘ลอนทราย กังขาว’ สถาปนิก ทั้งสามสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมาด้วยกัน แต่ด้วยความที่เรียนคนละสาขา ทำให้ตลอดระยะเวลาการเรียนพวกเขายังไม่เคยมีโอกาสร่วมงานกันมาก่อน หรือกระทั่งเข้าสู่ช่วงทำงานแล้วทั้งหมดก็ยังไม่เคยลงมือทำโปรเจกต์ใดๆ ด้วยกันเลย ถึงจะเรียนคนละสาขา และต่างคนต่างมีหน้าที่การงานที่ถนัดของตัวเอง ทั้งสามคนก็มีความสนใจร่วมกันอยู่ นั่นคือ การสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถมอบรอยยิ้มให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งนำมาสู่การรวมตัวกันและเป็นที่มาของชื่อกลุ่มเมืองยิ้มที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนกันยายน ปี […]

Pollution แม่น้ำมลพิษ

ผลงานภาพถ่ายที่นำเสนอเรื่องราวของมลพิษทางน้ำจากการที่คนทิ้งขยะลงในคลอง ด้วยเทคนิค ‘Film Soup’ ที่นำฟิล์มไปแช่น้ำเพื่อให้เกิดปฏิกิริยาบนแผ่นฟิล์ม โดยเราได้นำน้ำจากคลองลาดพร้าว ซึ่งเป็นคลองที่มีปัญหามลพิษทางน้ำร้ายแรงที่สุดแห่งหนึ่งมาใช้ เพื่อเป็นตัวช่วยในการเล่าเรื่องราวถึงสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างมลพิษให้เห็นภาพมากที่สุด ขยะมูลฝอย ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ การทิ้งขยะลงในคลองไม่เพียงแต่จะสร้างมลพิษทางน้ำ แต่ยังสร้างมลพิษทางอากาศอีกด้วย อย่างคลองลาดพร้าวที่มีขยะให้เห็นตลอดสาย ซึ่งขยะส่วนใหญ่ เช่น เฟอร์นิเจอร์ โซฟา ฟูก ที่นอน ฯลฯ มักมาจากประชาชนที่อาศัยอยู่ริมคลอง ขณะเดียวกัน หลายคนอาจมองว่าปัญหาขยะในคลองเป็นเรื่องไกลตัว เพราะไม่ได้พักอาศัยหรือต้องใช้เส้นทางสัญจรบริเวณริมคลอง แต่แท้จริงแล้วปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำในกรุงเทพฯ จนทำให้น้ำท่วมเมืองอยู่บ่อยๆ เราจึงต้องอาศัยความร่วมมือโดยเฉพาะจากชาวบ้านริมคลองให้ช่วยกันงดทิ้งขยะลงในคลอง เพื่อช่วยให้ปัญหาน้ำท่วมลดลงได้

จะผิดไหม ถ้าพึ่งความเชื่อสายมูฯ ในเมื่อทำเต็มที่แล้วแต่ยังไม่สำเร็จเสียที

‘พี่เปิดประตูมา นึกว่าอยู่ในตำหนักไหนสักแห่ง’ นี่คือคำที่คุณแฟนใช้บรรยายมุมหนึ่งในห้องเล็กๆ ของฉันในย่านเอกมัย ที่มีทั้งหินมงคล (เอาออกไปอาบแสงจันทร์ทุกคืนที่พระจันทร์เต็มดวง), เครื่องหอมกำยาน, เครื่องรางเสริมดวงจากครูบาที่มีชื่อเสียงมากมาย, เทวรูปเล็กๆ ของศาสนาฮินดู รวมไปถึงศาสนาพุทธ พร้อมน้ำและดอกไม้ที่คอยเปลี่ยนถวายอยู่เรื่อยๆ คอนโดฯ High-rise ที่มองออกไปเห็นวิวทิวทัศน์รายล้อมด้วยตึกสูงสไตล์โมเดิร์น รอบๆ เป็นบาร์ฮิปๆ ที่มักมีเสียงวัยรุ่นโหวกเหวกทุกคืน โดยเฉพาะช่วงตี 2 – 3 ข้างนอกคอนโดฯ กับข้างในห้องของฉันช่างเป็นภาพที่ดูไม่เข้ากันเหลือเกิน ‘The growth rate of cities urgently requires that we give attention not merely to design and planningbut also to deeper questions of meaning and purpose.We not only live in the world; […]

Wastic Thailand แบรนด์แว่นตากันแดดอัปไซเคิลที่เชื่อว่าเรามีไลฟ์สไตล์ชิกๆ ได้พร้อมกับการช่วยโลก

Wastic Thailand คือแบรนด์สินค้าอัปไซเคิลจากขยะพลาสติกที่อยากหลุดออกจากกรอบเดิมๆ ของสินค้ารักษ์โลก ตั้งแต่ชื่อ Wastic ที่มาจากคำว่า Waste กับ Plastic ตั้งใจให้อ่านออกเสียงว่า วาส-ติก ไม่ใช่ เวส-ติก เพราะไม่อยากให้ลูกค้านึกถึงภาพขยะเมื่อได้ยิน นอกจากชื่อ ผู้ก่อตั้งทั้ง 4 อย่าง กมลชนก คล้ายนก, รสลิน อรุณวัฒนามงคล, สินีนาฏ จารุวาระกูล และ อริสรา พิทยายน ยังเชื่อว่า สินค้ารักษ์โลกไม่จำเป็นต้องมีดีไซน์เรียบง่ายหรือดูออกว่าทำจากวัสดุอะไรเสมอไป แต่สามารถชิกได้ เปรี้ยวได้ เป็นสินค้าที่ให้สายแฟฯ สวมใส่ในชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ แว่นกันแดดของ Wastic คือตัวอย่างที่ยืนยันความเชื่อนั้นได้ดี ซึ่งก็ไม่ได้สักแต่ว่าจะดีไซน์ให้เก๋ไก๋ แต่สินค้าตัวแรกของพวกเธอยังสื่อสารเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมได้ในตัวมันเอง อย่างสีทั้ง 3 ของตัวแว่นกันแดดเองก็ได้แรงบันดาลใจมาจากบรรยากาศของทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับผลกระทบจากขยะพลาสติกมากที่สุด คอลัมน์ Sgreen คราวนี้ ชวนคุณไปคุยกับกมลชนก หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์ ฟังเธอเล่าเบื้องหลังการคิดค้นสินค้าที่เลอค่าทั้งรูปลักษณ์และเป้าหมาย ขั้นตอนกว่าจะเป็นแว่นกันแดดอันแรก ไปจนถึงความเชื่อที่ว่าสินค้าอัปไซเคิลก็ชิกได้ ใส่แล้วไม่อายใคร From Plastic to […]

1 17 18 19 20 21 81

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.