Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

สำรวจ ‘บางอ้อ’ ถึง ‘บางพลัด’ ชิมลางย่านสร้างสรรค์ ชุมชนแขกแพและสวนผลไม้

บางพลัด-บางอ้อ กำลังจะเป็นย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ คนเก่าคนแก่รู้จักย่านนี้ในฐานะสวนขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนความเจริญต่างๆ เริ่มเข้ามาทีละน้อย ทั้งถนน สะพาน อาคารพาณิชย์ โรงไฟฟ้า และรถไฟฟ้า นานวันเข้าพื้นที่สีเขียวค่อยๆ หายไป และเปลี่ยนโฉมเป็นโซนที่อยู่อาศัยและการค้า บางพลัดเป็นเส้นทางผ่านที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น และเป็นเหมือนม้านอกสายตาจากบรรดาย่านน่าสนใจอื่นๆ ของเมืองกรุง ทั้งที่ความจริงแล้วที่นี่ยังซ่อนสิ่งต่างๆ ไว้อีกมาก ไม่เพียงแต่พหุวัฒนธรรมพุทธและอิสลามที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว ความรุ่มรวยทั้งสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตก็น่าสนใจ อีกทั้งยังมีภูมิปัญญาที่สืบทอดมาในชุมชนต่างๆ รวมถึงเรือกสวนแบบโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ แม้ไม่มากแต่ก็เป็นมรดกที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้น ในเขตบางพลัดเริ่มมีสเปซของคนรุ่นใหม่ๆ ทยอยมาเติมแต่งให้อดีตย่านสวนฝั่งธนฯ นี้กลายเป็นพื้นที่ที่โอบรับสำหรับคนทุกวัย น่ามาเยือนและใช้ชีวิตด้วย คอลัมน์ Neighboroot ขอชวนไปเยี่ยมอีกย่านสร้างสรรค์ที่กำลังจะจัดกิจกรรมตลอดปีนี้ ย้อนดูอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นย่านบางพลัด-บางอ้อ ไม่ว่าจะเป็นสวนดั้งเดิมอายุกว่า 100 ปี สวนใหม่เจียนเก่าจากความทรงจำของครอบครัว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของคนในย่าน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของชาวแขกแพ เหมือนกับหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ อดีตของบางพลัด-บางอ้อ คือพื้นที่สวนผลไม้ไกลสุดตา หากเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง’ สวนในย่านนี้ก็คือสวนหนึ่งของสวนในบางกอกที่มีอายุย้อนไปได้เป็นร้อยปี สวนผลไม้สัมพันธ์กับอีกอัตลักษณ์ของย่านคือ ความเป็น ‘บาง’ ที่มีลำคลองสายเล็กๆ จากแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมเข้ามายังพื้นที่สวนกว่าสิบสาย และกระจายเป็นโครงข่ายท้องร่องขนาดมหึมา หล่อเลี้ยงสวนป่าในพื้นที่ตอนในที่อยู่ถัดเข้าไป หากมองในระดับสายตาบนถนน ไม่มีทางรู้เลยว่าย่านนี้ยังมีสวนหลงเหลืออยู่ เพราะเต็มไปด้วยตึกรามห้องแถว […]

สวมวิญญาณนักเดินทาง สำรวจดาวอาร์ราคิสใน Dune ตามหา ‘สไปซ์’ เพื่อกลับไปช่วยโลก

ในอนาคตอันแสนไกลนับหมื่นปี เทคโนโลยีเดินทางในอวกาศได้ก้าวล้ำจนมนุษย์อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งกาแล็กซี ด้วยการใช้ ‘สไปซ์ เมลานจ์’ (Spice Melange) สารเสพติดที่มีค่ามากที่สุดในจักรวาล เพราะใช้ในการเดินทางในอวกาศได้อย่างปลอดภัย ยืดอายุขัย และช่วยเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ทว่าสิ่งนี้กลับมีอยู่แค่ในดาว ‘อาร์ราคิส’ (Arrakis) เพียงดวงเดียวในจักรวาลเท่านั้น ในขณะที่ดาวโลกสีน้ำเงินของเรากำลังตกอยู่ในวิกฤตโลกเดือด และทุกพื้นที่กำลังกลายเป็นทะเลทรายจนมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ทำให้เราต้องรีบค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่สำหรับมนุษยชาติด้วยการตามหา ‘สไปซ์’ ชาว Urban Creature ขออาสาเป็นนักเดินทางจากดาวโลก พาทุกคนมาสำรวจดวงดาวอาร์ราคิสอันโด่งดังในจักรวาล ‘Dune’ กัน นอกจากการตามหาสไปซ์แล้ว เรายังควรดูดาวอาร์ราคิสเป็นกรณีศึกษาในกรณีที่โลกทั้งใบได้กลายเป็นทะเลทรายไปแล้วจริงๆ เทียบท่าจอด ณ ‘อาร์ราคิส’ ดวงดาวที่ร้อนกว่าประเทศไทย แค่ก้าวเท้าลงมาจากยาน อากาศที่ร้อนระอุกว่า 60 องศาเซลเซียสก็พัดกระแทกหน้าอย่างจัง ที่นี่ร้อนกว่าเมืองไทยของเราเสียอีก มองไปทางไหนก็เห็นแต่เนินทรายสีทองกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ก่อนเราจะก้าวลงเดินบนพื้นทราย ไกด์นำทางของเราได้ยื่นชุด ‘สติลสูท’ (Stillsuit) ให้ เพราะชุดนี้จะรีไซเคิลของเหลวในร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นของเสีย เหงื่อ ปัสสาวะ หรือแม้แต่ลมหายใจของเรา ให้กลับมาเป็นน้ำใช้ใหม่อีกครั้ง เพื่อป้องกันผู้สวมใส่ไม่ให้ขาดน้ำตายบนความแห้งแล้งของอาร์ราคิส คืนนี้เราจะนอนกันที่ ‘อาร์ราคีน’ (Arrakeen) เมืองหลวงของดาวอาร์ราคิส ก่อนที่จะออกไปตามล่าสไปซ์ในวันรุ่งขึ้น […]

เปิดไทม์ไลน์ ‘สร้าง เสริม ซ่อม’ ถนนพระราม 2 ถนนสายประวัติศาสตร์ที่กำลังสร้างมากว่าครึ่งศตวรรษ

แม้จะเป็นเหมือนมุกตลกร้าย แต่เมื่อมองให้ลึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่าและยุคใหม่อย่าง ‘มหาพีระมิด เมืองกีซา ประเทศอียิปต์’ และ ‘ทัชมาฮาล เมืองอาครา ประเทศอินเดีย’ ทั้งสองแห่งใช้เวลาในการสร้างรวมกันแล้วยังน้อยกว่า ‘ถนนพระราม 2’ เสียอีก ถนนพระราม 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ถือเป็นหนึ่งเส้นทางหลักในการเดินทางของพี่น้องชาวฝั่งธนฯ และเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมไปยังภาคใต้ ซึ่งแท้จริงถนนเส้นนี้สร้างเสร็จมานานแล้ว แต่มีโครงการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และยังคงมีการก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 54 ปีหากนับถึงตอนนี้ จนทำให้การจราจรติดขัดและเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เราขออาสาพาไปดูไทม์ไลน์ถนนประวัติศาสตร์เส้นนี้ว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมมันถึงสร้างไม่เสร็จสักที ยุคแรกสร้างถนนพระราม 2 (พ.ศ. 2513 – 2516) ก่อนที่จะมีการสร้างถนนพระราม 2 ประเทศไทยมี ‘ถนนเพชรเกษม’ เป็นถนนสายหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้อยู่แล้ว แต่ในช่วงสมัยรัฐบาลของ ‘จอมพล ถนอม กิตติขจร’ มีนโยบายให้สร้างถนนพระราม 2 ขึ้น ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี โดยเริ่มจากถนนสุขสวัสดิ์ (เขตจอมทอง กรุงเทพฯ) ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (วังมะนาว […]

ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

ป้ายบอกทางพื้นเขียวฟอนต์ขาว ดูยังไงว่าถูกกฎหมายหรือไม่

การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย แม้ว่าจะเปิดดูตาม Google Maps แล้วก็ตาม แต่ถ้ามีป้ายบอกทางสักหน่อยก็คงจะทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้ไม่คุ้นชินเส้นทางสบายใจไม่น้อยเลยทีเดียว ในบรรดาป้ายที่เราเห็นกันมักจะเป็น ‘ป้ายบอกทาง’ (Guide Sign) ที่มีลักษณะเป็นป้ายสีเขียวตัวหนังสือสีขาว หรือป้ายสีขาวตัวหนังสือสีดำ เหมือนกับป้ายบอกทางบนถนนหลวงทั่วไป แต่บางป้ายก็ติดตั้งกีดขวางทางเดิน ทำให้ไม่เหลือพื้นที่บนทางเท้าราวกับไม่ได้รับอนุญาต หรือบางครั้งก็ดูแตกต่างจากป้ายอื่นๆ ทั่วไป จนทำให้เกิดคำถามว่า แล้วป้ายทั้งหมดที่เราเห็นตามทางเหล่านี้ถูกกฎหมายหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity อาสาพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับป้ายบอกทางไปยังสถานที่ต่างๆ ว่า ป้ายแบบไหนที่ผิดกฎหมายบ้าง และถ้าต้องติดตั้งป้ายแบบไหนถึงจะถูกต้องตามกฎหมาย ป้ายแบบไหนที่ไม่สามารถติดตั้งบนพื้นที่สาธารณะได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร มีป้ายทั้งหมด 7 ประเภทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้ง คือ ป้ายเกาะกลางถนน ป้ายบนสะพานลอย ป้ายหน้าปากซอย ป้ายที่อยู่ในเขตทาง ป้ายอวยพรในเทศกาลต่างๆ ป้ายติดตามผนังกำแพงบ้านเรือนประชาชน และป้ายลอกเลียนแบบ กทม. อ่านๆ ดูป้ายประเภทอื่นๆ ก็พอเข้าใจได้ แต่ป้ายลอกเลียนแบบ กทม. คืออะไร ทุกคนสงสัยไหม ป้ายประเภทนี้เรามักพบเห็นได้ทั่วไป จนแทบแยกไม่ออกว่าอันไหนคือป้ายที่ถูกกฎหมาย หรืออันไหนคือป้ายเลียนแบบเพื่อเลี่ยงภาษีป้าย โดยปกติแล้วหากมีผู้พบเห็นและแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ ทาง กทม.ก็จะรื้อถอนหากไม่มีเจ้าของป้ายมาแสดงตน แต่ถ้าในกรณีที่ป้ายติดตั้งในพื้นที่เอกชน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหาเจ้าของว่าได้เสียภาษีป้ายอย่างถูกต้องตาม […]

จำลองสถานการณ์แบบไทยๆ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘Gate’ จากเรื่อง Solo Leveling เปิดขึ้นใจกลางกรุงเทพฯ

เอาล่ะ เหล่า ‘ฮันเตอร์’ ผู้ถูกปลุกพลังทั้งหลาย ในช่วงที่ฮันเตอร์จินอูและสมุนเงาในเรื่อง Solo Leveling กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง หลังจากมันฮวาสุดฮิตของ KAKAO WEBTOON กลายเป็นแอนิเมชันฉายทาง Netflix และ TrueID งานนี้ Urban Creature เลยขออิเซไกไปในโลกสุดแฟนตาซี ลองคิด Scenario ขึ้นเล่นๆ ว่า ถ้าอยู่ดีๆ เกิดเหตุประตู ‘เกต’ (Gate) เปิดขึ้นใจกลางเมืองกรุงเทพฯ เชื่อมระหว่างโลกของเรากับ ‘ดันเจี้ยน’ อีกฝั่งที่เต็มไปด้วยเหล่า ‘มอนสเตอร์’ เหมือนในเรื่อง ‘Solo Leveling’ ขึ้นมาจริงๆ จะเป็นยังไงกันนะ Step 1 ปรากฏการณ์ไทยมุง แม้ไม่มีเกาหลีมุงเหมือนในมันฮวา แต่ประเทศไทยเรามี ‘ไทยมุง’ กับเขาแน่นอน อันนี้รับประกัน แถมยิ่งเป็นเกตระดับสูงเท่าไหร่ เชื่อว่าคนจะมามุงเยอะเท่านั้น เพราะสิ่งที่ตามมาคือฮันเตอร์แรงก์สูงสุดเท่น่ะสิ! งานนี้จะได้มีเรื่องไปเมาท์กับเพื่อนต่อยาวๆ Step 2 ทวิตเตอร์ (X) คือแหล่งข่าวชั้นดี ว่าแต่จะไปเมาท์ที่ไหนดี […]

FYI

5 Things I Love-Hate about Bangkok รักความสบาย แต่เกลียดจะตายกับชีวิตในเมือง

‘รักนะ แต่ก็เกลียดเหมือนกัน’ อาจเป็นหนึ่งในความรู้สึกของการเผชิญหน้ากับ Toxic Relationship ที่คอยบั่นทอนชีวิตทุกวัน ซึ่งความสัมพันธ์สุด Toxic นี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่ระหว่างคนด้วยกันเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความสัมพันธ์ของเมืองและคนที่อยู่อาศัยในเมืองด้วย วาเลนไทน์ปีนี้ Urban Creature ขอขยับออกจากความสัมพันธ์แบบโรแมนติกมาพูดถึงความสัมพันธ์ในรูปแบบ ‘Love-Hate Relationship’ ของคนและเมืองกันบ้าง ว่ามีอะไรที่ทำให้เราทั้งรักทั้งเกลียด จนหนีออกจากความสัมพันธ์พังๆ นี้ไม่ได้ วินมอเตอร์ไซค์ อยู่ในเมืองรถติดจะตาย แต่ไม่เป็นไร เพราะไม่ต้องขับรถก็เดินทางในเมืองได้ง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะที่มีให้เลือกหลากหลาย (แต่ไม่ดีสักอย่าง) ซึ่งบริการที่ดูจะได้ใช้บ่อยที่สุดก็คงหนีไม่พ้นพี่วินมอเตอร์ไซค์ ที่สามารถพาเราซอกแซกฝ่าการจราจรที่ติดขัดไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถึงจะเร็วรี่แค่ไหนก็มีปัญหามากมายให้ต้องระแวดระวัง ทั้งความอันตรายที่เกิดจากการขับขี่เร็วเกินไป บางคนก็รอติดไฟแดงไม่เป็น เห็นช่องว่างก็รีบพุ่งตัวออกไปทันที หรือบางทีก็มีการคิดราคาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งความรักตัวกลัวตายก็ทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อความปลอดภัยในชีวิต  ถึงจะเกลียดที่ต้องเสี่ยงชีวิตทุกครั้งที่ซ้อนมอเตอร์ไซค์ แต่ก็รักชีวิตเมืองที่มีวินมอเตอร์ไซค์ เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องทรมานเดินฝ่าความร้อน ห้างสรรพสินค้า นัดเจอเพื่อนทีไร สุดท้ายก็หนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้าทุกที ถึงจะเปลี่ยนย่านไปเรื่อยๆ แต่ด้วยอากาศที่ร้อนและฝุ่นควันที่ลอยคว้างตลอดปีตลอดชาติ ก็ไม่มีที่ไหนจะเหมาะกับการเป็นจุดหมายนัดเจอกันในเมืองมากไปกว่านี้อีกแล้ว แม้การเดินเล่นหรือกินข้าวในห้างฯ จะเย็นสบายดี แต่พอไปบ่อยๆ ก็เริ่มจะเบื่อ บางครั้งก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศไปสนุกที่อื่นบ้าง เช่น ออกไปนั่งปิกนิกกับเพื่อนสาวท่ามกลางสวนดอกไม้ หรือออกไปนอนอ่านหนังสือรับลมเย็นๆ ในสวนแบบเซ็นทรัลพาร์ก ทีนี้พอนึกถึงค่าฝุ่นที่แดงแจ๋แล้วก็คงต้องขอกลับไปอยู่ในห้างฯ เหมือนเดิมแล้วกัน […]

จากโรมันถึงวันนี้ ‘เวโรนา’ เมืองที่เก็บรักษาโครงสร้างความโรแมนติกได้อย่างไม่เคยหมดรัก

‘เวโรนา’ คือหนึ่งในเมืองแห่งความโรแมนติกที่เราอาจเคยได้ยินชื่อจากวรรณกรรมชื่อก้องโลก Romeo and Juliet ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’ เลือกเมืองนี้เป็นท้องเรื่อง เพราะด้วยสถาปัตยกรรมทรงเสน่ห์ที่เมืองยังคงอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่สมัยโรมันไปจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้หลายคู่รักเลือกเดินทางไปย้อนเวลากลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงเหมือนในนิยาย ท่ามกลางบรรยากาศสุดแสนโรแมนติก เวโรนา อารีนา (Verona Arena), สะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra), มหาวิหารซานเซโน (Basilica of San Zeno) หรือแม้แต่บ้านจูเลียต (Juliet’s House) คือตัวอย่างสถาปัตยกรรมโบราณขึ้นชื่ออันโดดเด่นที่เหล่านักท่องเที่ยวต่างหลงใหลในเสน่ห์แห่งเวโรนา แต่ในความจริงทุกอย่างไม่ได้สวยงามดั่งความรักของโรเมโอและจูเลียต เมืองเวโรนาเคยผ่านการล้มลุกคลุกคลานจากสงครามที่ทำลายเมืองไปกว่าครึ่ง แต่ว่าสิ่งไหนกันที่ทำให้ ‘เวโรนา’ ยังคงเสน่ห์และความสวยงามได้อย่างไม่เคยหมดรัก ตามไปอ่านได้ในบทความนี้ ชุบชีวิตเมืองที่ถูกทำลายจากสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเวโรนาคือหนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี บ้านกว่า 7,000 หลังคาเรือนถูกทำลายราบคาบ จึงไม่แปลกที่สถาปัตยกรรมโบราณจะได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือสะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra) ที่ถูกทำลายและไม่ได้รับการฟื้นฟู แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้มีอำนาจในเมืองเวโรนาได้เริ่มวางแผนชุบชีวิตเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปี 1946 ‘Piero Gazzola’ ประธานสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในแผนการฟื้นฟูโครงสร้างของเมืองเวโรนา […]

ชื่อบ้านนามตรอกรอบ ‘ซอยวานิช 1’ เส้นเลือดใหญ่ของชาวจีนโพ้นทะเล ในโมงยามที่ชื่อย่านรางเลือน

หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ แทนที่ด้วยภาษาไทยสำเนียงแปร่งปร่าจากปากชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเข้ามา พร้อมกับป้ายร้านอักษรไทยฟอนต์ Tahoma และอักขรวิธีการสะกดคำที่อ่านแสนยาก ซึ่งนั่นหมายความว่ารากเหง้าของจีนเก่าที่มาก่อนก็กำลังถูกลบเลือนหายไปด้วยเช่นกัน เทศกาลตรุษจีนนี้ คอลัมน์ Neighboroot นัดพบกับพ่อค้าเชือกและนักประวัติศาสตร์ประจำย่านอีกครั้ง ชวนคุยเรื่องเก่าในละแวกบ้าน โดยมีแผนที่การค้าเก่าที่ปีนี้อายุครบร้อยปีพอดีเป็นตัวช่วยชี้ทาง เพื่อตามหาชื่อบ้านนามเมืองในสำเพ็งที่ทยอยหล่นหายไปตามเวลา ถนนคนเดินเบียดเสียด ละลานตาไปด้วยแสงไฟ อาหารสตรีทฟู้ดหลากหลาย กลายเป็นภาพจำของ ‘ไชนาทาวน์’ เมืองไทย ผู้คนจากทั่วสารทิศมาเยือนถนนสายมังกรด้วยเป้าหมายต่างกันออกไป ไม่น้อยเป็นคนไทยที่มาหาของกินยามค่ำ ไม่น้อยเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนแลนด์มาร์กต่างบ้านต่างเมือง และก็มีไม่น้อยที่เป็นกลุ่มทุนจีนใหม่ที่เข้ามาทำธุรกิจ เพื่อกอบโกยเม็ดเงินกลับไปยังต้นทาง หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ […]

ตรุษจีนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฉลองอย่างไรให้รักทั้งโลกและบรรพบุรุษ

‘ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้’ วันตรุษจีนวนกลับมาอีกครั้ง โดยปกติแล้วในทุกๆ ปี ครอบครัวชาวจีนจะมีกิจกรรมที่เรียกว่าเป็นประเพณีประจำของเทศกาลนี้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดโต๊ะอาหารไหว้เทพเจ้าและบรรพบุรุษ เผาสิ่งของที่ทำจากกระดาษอย่างเงิน ทอง โทรศัพท์รุ่นใหม่ หรือเสื้อผ้าสวยๆ เพื่อส่งไปให้คนในครอบครัวผู้ล่วงลับบนสวรรค์ รวมไปถึงการมอบซองเงินที่เด็กๆ หลายคนตั้งตารอคอย แต่เชื่อหรือไม่ว่า ประเพณีที่ทำกันอยู่เป็นประจำนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายโลกอย่างไม่รู้ตัว เพราะสาเหตุของการทำลายสิ่งแวดล้อมนั้นแฝงอยู่ในกิจกรรมที่หลายคนทำตั้งแต่เด็กจนโตโดยอาจนึกไม่ถึงกัน คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอวิธีการฉลองตรุษจีน ในฐานะของลูกหลานชาวจีนที่มองว่าเราสามารถรักษาประเพณีและวัฒนธรรมการเคารพบรรพบุรุษแบบเดิมเอาไว้ได้ พร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมไปด้วย ไม่ซื้อเสื้อแดงตัวใหม่ แต่ใส่ตัวเก่าในลุคใหม่ๆ เข้าปีใหม่ก็ต้องสวมใส่เสื้อผ้าใหม่ๆ อย่างเสื้อสีแดงตัวใหม่ แต่ถ้าจะให้ซื้อเสื้อใหม่ทุกปีก็คงสิ้นเปลืองไปหน่อย แถมยังเปลืองพื้นที่ตู้เสื้อผ้าอีกต่างหาก เพราะฉะนั้นเราขอแนะนำให้เปลี่ยนจากการซื้อเสื้อใหม่เป็นการใส่เสื้อตัวเก่า แต่มิกซ์แอนด์แมตช์ให้กลายเป็นลุคใหม่ที่ไม่ซ้ำกับปีที่แล้วแทน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายแถมยังได้สนุกกับการจับคู่เสื้อผ้าตัวเก่าที่มีอยู่แล้วอีกด้วย เปลี่ยนไปใช้ธูป/เทียนไฟฟ้า อุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในวันไหว้คือธูปและเทียน ซึ่งควันที่เกิดจากธูปและเทียนนั้นถึงแม้ว่าดูมีปริมาณน้อยนิด แต่เมื่อนับรวมครอบครัวชาวจีนที่มีสมาชิกมากมายหลายบ้าน ปริมาณควันที่เกิดขึ้นก็ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาศได้เช่นกัน เพื่อเป็นการลดปริมาณควัน ลองเปลี่ยนไปใช้ธูปและเทียนไฟฟ้าแทนดีไหม เพราะนอกจากจะนำกลับมาใช้ใหม่ในปีต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยซื้อใหม่ทุกๆ ปีแล้ว ยังไม่ก่อฝุ่นควันให้คนในบ้านและพื้นที่รอบข้างต้องแสบตาแสบจมูกด้วย ใช้กระดาษสีเงินและสีทองธรรมดา ตามปกติแล้ว กระดาษเงินกระดาษทองที่นำมาใช้เผาในวันตรุษจีนนั้นมักเป็นกระดาษที่มีส่วนผสมจากโลหะหนัก ซึ่งเป็นสาเหตุของการก่อมลพิษและเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นเดียวกับควันธูป ดังนั้นถ้าลองเปลี่ยนกระดาษเงินกระดาษทองที่จะส่งต่อไปให้บรรพบุรุษในอีกโลกไปเป็นการใช้กระดาษแบบธรรมดาที่สกรีนด้วยสีต่างๆ ที่ต้องการแทน ก็น่าจะช่วยหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารเคมีบนกระดาษเงินกระดาษทองที่ใช้กันทั่วไปได้ รวบรวมกระดาษจากหลายๆ บ้านไปเผาในเตาไร้ควัน การเผาเงิน ทอง เสื้อผ้า […]

Books Vending Machines ใครก็เข้าถึงการอ่านได้ง่ายๆ ด้วยไอเดียตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ

ดูเหมือนว่าปัญหาราคาของต่างๆ ที่สูงขึ้นสวนทางกับรายได้ จะทำให้ ‘หนังสือ’ กลายเป็นของฟุ่มเฟือยที่หลายคนเข้าถึงยากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน แถมนอกจากปัญหาราคาหนังสือที่แพงขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว ร้านเช่าหนังสือที่เคยเป็นแหล่งเข้าถึงหนังสือในราคาที่ไม่สูงนักก็แทบล้มหายตายจากไปหมดแล้ว เพราะการอ่านคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาเมือง คอลัมน์ Urban Sketch ครั้งนี้จึงอยากลองออกแบบ ‘Books Vending Machines’ หรือตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติที่จะตั้งไว้กระจายตามจุดต่างๆ ในเมือง เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการยืมหนังสือได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย 1) ยืมและคืนหนังสือด้วยการลงทะเบียนผ่านบัตรประชาชน หากใครเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือแต่ไม่ชอบซื้อมาดอง ก็อาจจะมีปัญหากับการเสียเงินสมัครสมาชิกห้องสมุดรายปี เพราะอาจไม่ได้มีเวลาเดินทางหรือใช้บริการจนคุ้มค่าสมัครขนาดนั้น แต่ตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติเปิดโอกาสให้ทุกคนยืมหนังสือได้ง่ายๆ เพียงแค่มีบัตรประชาชนสำหรับบันทึกข้อมูลผู้ยืมหนังสือ และสแกนบัตรประชาชนเพื่อยืนยันการคืนหนังสือเล่มที่ยืมไป ก่อนจะยืมเล่มใหม่หรือยืมเล่มเก่าต่อในครั้งถัดไป 2) ใช้งานง่ายด้วยระบบจอ Touchscreen ด้วยความที่เป็นตู้ยืมหนังสืออัตโนมัติ แค่พิมพ์ชื่อหนังสือที่ต้องการยืมจากเมนูรายชื่อหนังสือทั้งหมด หรือจะเลื่อนดูหนังสือที่น่าสนใจผ่านหน้าจอ Touchscreen ก็ทำได้ทันที เพราะระบบจะแจ้งว่ายังมีเล่มไหนเหลือให้ยืมบ้าง หรือเล่มไหนที่คนยืมหมดไปแล้วก็ขอจองยืมอ่านต่อเป็นคิวถัดไปได้ แถมการชำระค่าบริการก็สะดวก เนื่องจากจ่ายผ่าน QR Code บนหน้าจอหรือเงินสดก็ได้ ส่วนใครที่ใช้บริการบ่อยๆ จะเติมเงินไว้เป็นเครดิตให้ระบบหักเงิน ตัวเครื่องก็รองรับเช่นเดียวกัน 3) สะสมแต้มยืมหนังสือครบ 10 ครั้ง ยืมฟรี 1 ครั้ง ทุกๆ […]

1 2 3 4 5 6 48

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.