กางสถิติจำนวนรถยนต์ในกรุงเทพฯ​ เมืองที่มีรถมากกว่าคนแบบเท่าตัว

นอกจากวัด วัง แม่น้ำเจ้าพระยาที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวา และสตรีทฟู้ดอันยั่วน้ำลาย อีกสิ่งอย่างที่คนนึกถึงเมื่อพูดถึงกรุงเทพฯ ก็คือ ท้องถนนที่หนาแน่นแออัดไปด้วยรถยนต์แบบสุดลูกหูลูกตา เนื่องจากกรุงเทพฯ ขาดการพัฒนาเมืองอย่างเป็นแบบแผน เมืองเต็มไปด้วยซอยตันลึกแคบ ซึ่งกว่าจะเดินด้วยเท้าไปถึงขนส่งมวลชนสาธารณะได้ก็แสนจะยากเย็น แถมเมืองไม่ได้ออกแบบให้เป็นมิตรกับคนเดินเท้าอีก ผู้คนเลยกรูไปใช้รถยนต์ในการเดินทางกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใน พ.ศ. 2565 เว็บไซต์ INRIX วิเคราะห์ว่า คนกรุงเทพฯ หนึ่งคนเสียเวลาเดินทางบนท้องถนนเฉลี่ยมากถึง 67 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย น่าสนใจเหมือนกันว่า จริงๆ แล้วกรุงเทพฯ มีรถเยอะจริงไหม แล้วบรรดารถยนต์ที่เบียดเสียดในกรุงเทพฯ เป็นรถยนต์แบบไหนบ้าง คอลัมน์ City by Numbers ครั้งนี้เลยขอเอาข้อมูลรถยนต์จดทะเบียนสะสมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 จากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก มากางให้หายสงสัย กรุงเทพฯ รถเยอะกว่าคน จากสถิติจำนวนรถจดทะเบียนสะสมในกรุงเทพมหานคร วันที่ 31 ธันวาคม ปี 2566 พบว่า กรุงเทพฯ มีจำนวนรถจดทะเบียนทั้งหมด 11,791,220 […]

Cooling Station สถานีรับความเย็นคลายความร้อน ให้คนเมืองได้แวะพักระหว่างทาง

อากาศร้อนจนแทบจะละลาย เดินไปไหนก็ร้อนทุกช่วงถนน แม้ว่าบางที่จะมีร่มไม้หรือหลังคาให้พอหลบแดดได้บ้าง แต่ไอความร้อนที่พัดมากับลมนั้นก็ยังทำให้ไม่สบายตัว จนอาจเดินต่อไปไม่ไหวและอาจเสี่ยงต่อการเกิดฮีตสโตรกได้ คอลัมน์ Urban Sketch ลองออกแบบ Cooling Station ที่คอยเปิดรับให้ชาวเมืองได้หลบร้อนระหว่างเดินทาง นอกจากจะเป็นที่พักเหนื่อยจากแดดและอุณหภูมิที่สูงทะลุ 40 องศาเซลเซียสแล้ว ยังมีตัวช่วยดับร้อนแบบพื้นฐานให้บริการอีกด้วย ที่พักแบบถอดประกอบได้ Cooling Station แห่งนี้ออกแบบมาในลักษณะของที่พักที่มีหลังคาช่วยบังแดด และที่นั่งพักให้คนที่เดินกลางแดดมาแวะหลบร่ม โดยตัวสเตชันสามารถถอดชิ้นส่วนประกอบได้ เพื่อขยายพื้นที่ในการรองรับคนที่เข้าใช้พื้นที่นี้พร้อมกันหลายคน โดยไม่ต้องกลัวว่าจะแออัดจนทำให้ร้อนกว่าเดิม อีกทั้งยังเคลื่อนย้ายนำไปตั้งประจำการที่ไหนก็ได้ เหมาะกับเส้นทางเดินยาวๆ หรือพื้นที่โล่งกว้างที่ไม่มีพื้นที่หลบร่ม อากาศถ่ายเทด้วยผนังโปร่ง แม้ว่าตัวขนาดพื้นที่จะขยายให้กว้างได้ตามต้องการ แต่ถ้าภายในสเตชันปิดมิดชิดจนเกินไปก็อาจทำให้อากาศยิ่งร้อนกว่าเดิม ดังนั้นสถานีพักร้อนของเราจึงออกแบบให้ผนังมีลักษณะโปร่งโล่ง เพื่อให้อากาศถ่ายเทจากด้านนอกไหลเวียนเข้าสู่ด้านใน ทำให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการไม่ต้องแย่งอากาศกันภายในพื้นที่นี้ มีอุปกรณ์คลายร้อนให้พร้อม และด้วยความที่เป็นสถานีหลบร้อน ภายในจึงต้องมีเครื่องปรับอากาศที่จะช่วยคลายความร้อน เพิ่มความเย็นสบายจากการเผชิญกับแดดจ้าด้านนอก รวมไปถึงมีการติดตั้งตู้น้ำฟรีที่ผู้ใช้งานจะกดน้ำเย็นๆ ดื่มให้ชื่นใจ หรือกรอกใส่กระบอกน้ำหรือขวดน้ำเพื่อพกพาไปดื่มดับร้อนหลังจากออกจากสถานีก็ได้เหมือนกัน ใช้พลังงานโซลาร์เซลล์ ส่วนพลังงานที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกในสถานีพักร้อนแห่งนี้ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพลังงานสะอาดที่ได้จากแดดแรงๆ ของประเทศไทย ผ่านการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาของที่พัก เพียงเท่านี้ ทั้งเครื่องปรับอากาศและตู้กดน้ำก็ทำงานได้อย่างเต็มที่ตลอดทั้งวัน ตู้กดสินค้าดับร้อน หลังจากนั่งพักจนหายร้อนพร้อมออกเดินทางต่อ ก็ไม่ต้องกลัวว่าระหว่างทางจะเจอความร้อนจนทนไม่ไหว เพราะสถานีพักร้อนของเรามีตู้กดสินค้าอัตโนมัติจำหน่ายสินค้าดับร้อนสำหรับพกพาระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็นพัด พัดลมจิ๋ว ยาดม ผ้าเย็น […]

สำรวจเหตุผล ทำไมหลายประเทศถึงใช้ธุรกิจทางศาสนาพัฒนาเมืองได้

ศาสนาและความเชื่อเหนือธรรมชาติกำเนิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ตั้งแต่ยุคหิน จากความเกรงกลัวในธรรมชาติ สู่การกำเนิดเทพเจ้า ไปจนถึงหนทางของการดับทุกข์ เราจึงไม่สามารถปฏิเสธถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของมนุษย์และศาสนาที่ฝังรากลึกในตัวเรา นั่นทำให้คุณค่าของศาสนาไม่อาจประเมินเป็นตัวเลขได้ เพราะผู้คนที่ศรัทธายอมจ่ายทุกสิ่งอย่างแม้กระทั่งชีวิตตนเองเพื่อเป้าประสงค์ที่ต้องการ แน่นอนว่าเรื่องเงินทองเป็นเพียงเรื่องขี้ปะติ๋ว หากเทียบกับการได้พบกับพระเจ้าหรือขึ้นสวรรค์ ความศักดิ์สิทธิ์จึงกลายเป็นสินค้าที่มีมูลค่ามหาศาลแต่ต้นทุนน้อยนิด สร้างโมเดลธุรกิจอันเก่าแก่ที่มีมานานกว่าพันปี ตั้งแต่มนุษย์กำหนดให้ทองและเงินเป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสินค้า เมืองต่างๆ ทั่วโลกก็เริ่มอ้างถึงความศักดิ์สิทธิ์และนำมาเป็นจุดขายของเมือง ทั้งการเป็นจุดหมายปลายทางของเหล่านักแสวงบุญจากทั่วโลก ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากสถาปัตยกรรมทางศาสนาที่สวยงาม การขายของฝากที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือเป็นพื้นที่สำหรับความหวังในการขอพร ทำให้ไม่แปลกที่เหล่าองค์กรทางศาสนาทั่วโลกจะมีฐานะร่ำรวยเป็นพิเศษ จวบจนปัจจุบัน ศาสนายังคงมีอิทธิพลในระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะในระบอบทุนนิยม หลายเมืองมีการพัฒนาจัดการธุรกิจศาสนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีการป้องกันการทุจริตที่จริงจัง คอลัมน์ Curiocity ขอพาไปสำรวจถึงความเป็นมาของการเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ การสร้างแบรนดิ้งด้านความเชื่อในเมืองเล็ก และการบริหารจัดการกับธุรกิจแห่งความศรัทธาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากตัวอย่างของเมืองแห่งศาสนาจากทั่วทุกมุมโลก นครศักดิ์สิทธิ์ จุดเริ่มต้นของธุรกิจศาสนา สถานที่ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางศาสนามักมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นพิเศษ เหมาะแก่การตามรอยแสวงบุญหรือเข้าร่วมพิธีในศาสนานั้นๆ ผู้คนมากมายจึงต่างหลั่งไหลเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมืองเหล่านั้นโดยไม่รู้ตัว ตัวอย่างที่เห็นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้นกลุ่มศาสนาที่มีความนิยมและทรงอิทธิพลมากที่สุดในโลกอย่างกลุ่มศาสนาตระกูลอับราฮัม (Abrahamic Religions) นั่นก็คือ ศาสนาคริสต์ อิสลาม และยูดาห์ ที่ทั้งสามศาสนามีความเชื่อถึงต้นกำเนิดของศาสนาตนว่า มาจากชายนามอับราฮัมที่ได้รับสารจากพระผู้เป็นเจ้าและออกเดินทางอพยพไปยังดินแดนคานาอัน (Canaan) ซึ่งต่อมากลายเป็นดินแดนแห่งพันธสัญญานาม ‘อิสราเอล’ (Israel) และศูนย์กลางของอาณาจักรคือนครศักดิ์สิทธิ์ ‘เยรูซาเลม’ (Jerusalem) ภายใต้ดินแดนแห่งพันธสัญญา ได้เกิดเรื่องราวสำคัญทางศาสนามากมาย ส่งผลให้สถานที่ต่างๆ ในเมืองเยรูซาเลมกลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของทั้งสามศาสนา โดยเฉพาะชาวยิวจากทั่วโลกที่เดินทางมาเข้าร่วม […]

ชิมช้อปความอร่อยที่ ‘ตลาดตรอกหม้อ’ ฟังเรื่องราวของตลาดสดยามเช้าใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์

เกาะรัตนโกสินทร์ใช่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วมุมโลกมาเยี่ยมเยือน แต่เมืองเก่าแห่งนี้เป็นเมืองที่ยังมีชีวิต ประกอบด้วยบ้านเรือนและผู้คนในย่านต่างๆ รวมอยู่ด้วย และส่วนหนึ่งที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านคือตลาดสด ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนทุกวันเสมอมา ‘ตลาดตรอกหม้อ’ เป็นตลาดที่ซ่อนตัวอยู่เงียบๆ ท่ามกลางย่านฮิตในเขตโอลด์ทาวน์ที่โอบล้อมอยู่ทั่วทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นสามแพร่ง เสาชิงช้า วังบูรพา หรือสามยอด ซึ่งวันนี้มีคาเฟ่รุ่นใหม่เกิดขึ้นในอาคารเก่าจำนวนมาก ตามกระแสเที่ยวเมืองเก่าที่ทำให้ย่านเหล่านี้คลาคล่ำไปด้วยคน นอกจากความอันซีน ความพิเศษของตลาดแห่งนี้คือ เป็นตลาดสดที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิด (หรือแห่งสุดท้าย) บนเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งยังคงทำหน้าที่เป็นที่ฝากท้องยามหิวให้กับคนท้องถิ่นและคนทำงานในหน่วยงานข้างเคียงอยู่ รวมถึงพ่อค้าร้านอาหารที่มีร้านอยู่รอบๆ ที่มาจับจ่ายซื้อหาของสดไปเป็นวัตถุดิบ คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้พาไปทำความรู้จักกับตลาดตรอกหม้อ ดูวิถีชีวิตของชาวบ้านร้านตลาดในย่านเมืองเก่า แวะพูดคุยกับคนในชุมชนราชบพิธพัฒนา ถึงความอบอุ่นของเด็กตลาดในวันวานและวันนี้ที่ไม่เคยจางหายไปจากซอยเทศา ‘ตรอกหม้อ’ ตลาดสดเก่าแก่ใจกลางพระนคร นาฬิกาในโทรศัพท์ขึ้นเวลาว่าเกือบ 10 โมงแล้ว นี่อาจไม่ใช่เวลาที่ควรจะเดินตลาดนัก โดยเฉพาะตลาดสดที่เริ่มเปิดแผงกันตั้งแต่แสงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นมาสะท้อนผิวถนน สายป่านนี้จึงเป็นชั่วโมงท้ายๆ แล้วของกิจกรรมทุกเช้าของชาวบ้านย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ขณะที่บางร้านเริ่มขนของกลับบ้าน เราเดินสวนเข้าตลาดเพราะนัดหมายกับเจ้าถิ่นที่ยินดีพาเดินและพูดคุยกับเหล่าผู้คนในตรอกหม้อ ‘พี่ริน-สุรินทร์ อมรชัชวาลกุล’ เป็นชาวตรอกหม้อแต่กำเนิด ถึงแม้ย้ายออกไปอยู่ที่อื่นนานหลายปีแล้ว แต่ยังมีคุณแม่และบ้านเก่าอยู่ ทำให้เขาแวะเวียนมาที่ตลาดแห่งนี้แทบทุกสัปดาห์ “แต่ก่อนตลาดไม่ถึงตรงนี้ ตลาดจริงๆ อยู่ทางนั้น” บทสนทนาเริ่มต้นบริเวณปากตรอกหม้อหรือซอยเทศาฝั่งถนนราชบพิธ พี่รินชี้นิ้วไปสุดซอยแล้วเล่าว่า แรกเริ่มเดิมทีพ่อค้าแม่ค้ากระจุกตัวอยู่บริเวณปากซอยฝั่งถนนบำรุงเมือง ใกล้กับตลาดเทศา ซึ่งเป็นตลาดเอกชนที่ทุบไปแล้ว ทว่าเมื่อนานวันเข้าจำนวนผู้ค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ […]

เปิดแปลนห้อง 3 สไตล์จาก ‘RHYTHM Charoenkrung Pavillion’ ที่ออกแบบเองได้ตามความต้องการ

คงเป็นเรื่องยากถ้าคอนโดฯ สักแห่งจะตอบโจทย์ความต้องการของเราทั้งหมด แต่สำหรับ ‘RHYTHM Charoenkrung Pavillion’ คอนโดฯ ใหม่ เพียง 5 นาทีถึงสาทรและพระราม 3 จากบริษัทผู้นำด้านโครงการบ้าน AP Thailand ทำได้ เพราะหากพูดถึงความต้องการของเหล่าคนที่กำลังหาที่อยู่อาศัยใจกลางเมือง นอกจากจะต้องดูย่านที่ใช่ โลเคชันที่เดินทางสะดวก และมีความเป็นส่วนตัว ในขณะเดียวกันก็ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อีกทั้งภายในห้องเองก็ยังต้องตอบโจทย์การใช้งานและไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยด้วย ด้วยความเป็น The Luxury Gated Community ของ RHYTHM Charoenkrung Pavillion นี่เอง ที่จะทำให้ผู้อยู่อาศัยได้ดื่มด่ำกับความเป็นส่วนตัว ด้วยวิวโค้งแม่น้ำเจ้าพระยาที่สวยที่สุด ท่ามกลางสภาพแวดล้อมความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยสูงสุด แถมยังอยู่ตรงข้ามโรงเรียนนานาชาติ Shrewsbury สถานศึกษาคุณภาพสูงระดับสากล แถมในส่วนของที่พักเองยังสามารถปรับเปลี่ยนการออกแบบให้แมตช์กับไลฟ์สไตล์ผู้อยู่อาศัยได้ง่ายๆ เพราะห้องรูปแบบ 1 Bedroom Plus เริ่มต้น 158,000 บาท/ตารางเมตร จากทาง AP Thailand ให้ขนาดพื้นที่มาถึง 43.5 ตารางเมตร ทำให้มีความกว้างขวาง สามารถเปลี่ยนห้อง Plus […]

Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

สำรวจ ‘บางอ้อ’ ถึง ‘บางพลัด’ ชิมลางย่านสร้างสรรค์ ชุมชนแขกแพและสวนผลไม้

บางพลัด-บางอ้อ กำลังจะเป็นย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ คนเก่าคนแก่รู้จักย่านนี้ในฐานะสวนขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนความเจริญต่างๆ เริ่มเข้ามาทีละน้อย ทั้งถนน สะพาน อาคารพาณิชย์ โรงไฟฟ้า และรถไฟฟ้า นานวันเข้าพื้นที่สีเขียวค่อยๆ หายไป และเปลี่ยนโฉมเป็นโซนที่อยู่อาศัยและการค้า บางพลัดเป็นเส้นทางผ่านที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น และเป็นเหมือนม้านอกสายตาจากบรรดาย่านน่าสนใจอื่นๆ ของเมืองกรุง ทั้งที่ความจริงแล้วที่นี่ยังซ่อนสิ่งต่างๆ ไว้อีกมาก ไม่เพียงแต่พหุวัฒนธรรมพุทธและอิสลามที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว ความรุ่มรวยทั้งสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตก็น่าสนใจ อีกทั้งยังมีภูมิปัญญาที่สืบทอดมาในชุมชนต่างๆ รวมถึงเรือกสวนแบบโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ แม้ไม่มากแต่ก็เป็นมรดกที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้น ในเขตบางพลัดเริ่มมีสเปซของคนรุ่นใหม่ๆ ทยอยมาเติมแต่งให้อดีตย่านสวนฝั่งธนฯ นี้กลายเป็นพื้นที่ที่โอบรับสำหรับคนทุกวัย น่ามาเยือนและใช้ชีวิตด้วย คอลัมน์ Neighboroot ขอชวนไปเยี่ยมอีกย่านสร้างสรรค์ที่กำลังจะจัดกิจกรรมตลอดปีนี้ ย้อนดูอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นย่านบางพลัด-บางอ้อ ไม่ว่าจะเป็นสวนดั้งเดิมอายุกว่า 100 ปี สวนใหม่เจียนเก่าจากความทรงจำของครอบครัว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของคนในย่าน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของชาวแขกแพ เหมือนกับหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ อดีตของบางพลัด-บางอ้อ คือพื้นที่สวนผลไม้ไกลสุดตา หากเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง’ สวนในย่านนี้ก็คือสวนหนึ่งของสวนในบางกอกที่มีอายุย้อนไปได้เป็นร้อยปี สวนผลไม้สัมพันธ์กับอีกอัตลักษณ์ของย่านคือ ความเป็น ‘บาง’ ที่มีลำคลองสายเล็กๆ จากแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมเข้ามายังพื้นที่สวนกว่าสิบสาย และกระจายเป็นโครงข่ายท้องร่องขนาดมหึมา หล่อเลี้ยงสวนป่าในพื้นที่ตอนในที่อยู่ถัดเข้าไป หากมองในระดับสายตาบนถนน ไม่มีทางรู้เลยว่าย่านนี้ยังมีสวนหลงเหลืออยู่ เพราะเต็มไปด้วยตึกรามห้องแถว […]

สวมวิญญาณนักเดินทาง สำรวจดาวอาร์ราคิสใน Dune ตามหา ‘สไปซ์’ เพื่อกลับไปช่วยโลก

ในอนาคตอันแสนไกลนับหมื่นปี เทคโนโลยีเดินทางในอวกาศได้ก้าวล้ำจนมนุษย์อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งกาแล็กซี ด้วยการใช้ ‘สไปซ์ เมลานจ์’ (Spice Melange) สารเสพติดที่มีค่ามากที่สุดในจักรวาล เพราะใช้ในการเดินทางในอวกาศได้อย่างปลอดภัย ยืดอายุขัย และช่วยเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ทว่าสิ่งนี้กลับมีอยู่แค่ในดาว ‘อาร์ราคิส’ (Arrakis) เพียงดวงเดียวในจักรวาลเท่านั้น ในขณะที่ดาวโลกสีน้ำเงินของเรากำลังตกอยู่ในวิกฤตโลกเดือด และทุกพื้นที่กำลังกลายเป็นทะเลทรายจนมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ทำให้เราต้องรีบค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่สำหรับมนุษยชาติด้วยการตามหา ‘สไปซ์’ ชาว Urban Creature ขออาสาเป็นนักเดินทางจากดาวโลก พาทุกคนมาสำรวจดวงดาวอาร์ราคิสอันโด่งดังในจักรวาล ‘Dune’ กัน นอกจากการตามหาสไปซ์แล้ว เรายังควรดูดาวอาร์ราคิสเป็นกรณีศึกษาในกรณีที่โลกทั้งใบได้กลายเป็นทะเลทรายไปแล้วจริงๆ เทียบท่าจอด ณ ‘อาร์ราคิส’ ดวงดาวที่ร้อนกว่าประเทศไทย แค่ก้าวเท้าลงมาจากยาน อากาศที่ร้อนระอุกว่า 60 องศาเซลเซียสก็พัดกระแทกหน้าอย่างจัง ที่นี่ร้อนกว่าเมืองไทยของเราเสียอีก มองไปทางไหนก็เห็นแต่เนินทรายสีทองกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ก่อนเราจะก้าวลงเดินบนพื้นทราย ไกด์นำทางของเราได้ยื่นชุด ‘สติลสูท’ (Stillsuit) ให้ เพราะชุดนี้จะรีไซเคิลของเหลวในร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นของเสีย เหงื่อ ปัสสาวะ หรือแม้แต่ลมหายใจของเรา ให้กลับมาเป็นน้ำใช้ใหม่อีกครั้ง เพื่อป้องกันผู้สวมใส่ไม่ให้ขาดน้ำตายบนความแห้งแล้งของอาร์ราคิส คืนนี้เราจะนอนกันที่ ‘อาร์ราคีน’ (Arrakeen) เมืองหลวงของดาวอาร์ราคิส ก่อนที่จะออกไปตามล่าสไปซ์ในวันรุ่งขึ้น […]

เปิดไทม์ไลน์ ‘สร้าง เสริม ซ่อม’ ถนนพระราม 2 ถนนสายประวัติศาสตร์ที่กำลังสร้างมากว่าครึ่งศตวรรษ

แม้จะเป็นเหมือนมุกตลกร้าย แต่เมื่อมองให้ลึกถึงสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคเก่าและยุคใหม่อย่าง ‘มหาพีระมิด เมืองกีซา ประเทศอียิปต์’ และ ‘ทัชมาฮาล เมืองอาครา ประเทศอินเดีย’ ทั้งสองแห่งใช้เวลาในการสร้างรวมกันแล้วยังน้อยกว่า ‘ถนนพระราม 2’ เสียอีก ถนนพระราม 2 หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 35 ถือเป็นหนึ่งเส้นทางหลักในการเดินทางของพี่น้องชาวฝั่งธนฯ และเป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมไปยังภาคใต้ ซึ่งแท้จริงถนนเส้นนี้สร้างเสร็จมานานแล้ว แต่มีโครงการเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร และยังคงมีการก่อสร้างอยู่เป็นเวลา 54 ปีหากนับถึงตอนนี้ จนทำให้การจราจรติดขัดและเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เราขออาสาพาไปดูไทม์ไลน์ถนนประวัติศาสตร์เส้นนี้ว่ามีจุดเริ่มต้นอย่างไร เพื่อคลายข้อสงสัยว่าทำไมมันถึงสร้างไม่เสร็จสักที ยุคแรกสร้างถนนพระราม 2 (พ.ศ. 2513 – 2516) ก่อนที่จะมีการสร้างถนนพระราม 2 ประเทศไทยมี ‘ถนนเพชรเกษม’ เป็นถนนสายหลักที่มุ่งสู่ภาคใต้อยู่แล้ว แต่ในช่วงสมัยรัฐบาลของ ‘จอมพล ถนอม กิตติขจร’ มีนโยบายให้สร้างถนนพระราม 2 ขึ้น ตัดผ่านกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดราชบุรี โดยเริ่มจากถนนสุขสวัสดิ์ (เขตจอมทอง กรุงเทพฯ) ไปบรรจบกับถนนเพชรเกษม (วังมะนาว […]

ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

ป้ายบอกทางพื้นเขียวฟอนต์ขาว ดูยังไงว่าถูกกฎหมายหรือไม่

การเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย แม้ว่าจะเปิดดูตาม Google Maps แล้วก็ตาม แต่ถ้ามีป้ายบอกทางสักหน่อยก็คงจะทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้ไม่คุ้นชินเส้นทางสบายใจไม่น้อยเลยทีเดียว ในบรรดาป้ายที่เราเห็นกันมักจะเป็น ‘ป้ายบอกทาง’ (Guide Sign) ที่มีลักษณะเป็นป้ายสีเขียวตัวหนังสือสีขาว หรือป้ายสีขาวตัวหนังสือสีดำ เหมือนกับป้ายบอกทางบนถนนหลวงทั่วไป แต่บางป้ายก็ติดตั้งกีดขวางทางเดิน ทำให้ไม่เหลือพื้นที่บนทางเท้าราวกับไม่ได้รับอนุญาต หรือบางครั้งก็ดูแตกต่างจากป้ายอื่นๆ ทั่วไป จนทำให้เกิดคำถามว่า แล้วป้ายทั้งหมดที่เราเห็นตามทางเหล่านี้ถูกกฎหมายหรือไม่ คอลัมน์ Curiocity อาสาพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับป้ายบอกทางไปยังสถานที่ต่างๆ ว่า ป้ายแบบไหนที่ผิดกฎหมายบ้าง และถ้าต้องติดตั้งป้ายแบบไหนถึงจะถูกต้องตามกฎหมาย ป้ายแบบไหนที่ไม่สามารถติดตั้งบนพื้นที่สาธารณะได้ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการติดตั้งป้ายโฆษณาในที่สาธารณะของกรุงเทพมหานคร มีป้ายทั้งหมด 7 ประเภทที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ติดตั้ง คือ ป้ายเกาะกลางถนน ป้ายบนสะพานลอย ป้ายหน้าปากซอย ป้ายที่อยู่ในเขตทาง ป้ายอวยพรในเทศกาลต่างๆ ป้ายติดตามผนังกำแพงบ้านเรือนประชาชน และป้ายลอกเลียนแบบ กทม. อ่านๆ ดูป้ายประเภทอื่นๆ ก็พอเข้าใจได้ แต่ป้ายลอกเลียนแบบ กทม. คืออะไร ทุกคนสงสัยไหม ป้ายประเภทนี้เรามักพบเห็นได้ทั่วไป จนแทบแยกไม่ออกว่าอันไหนคือป้ายที่ถูกกฎหมาย หรืออันไหนคือป้ายเลียนแบบเพื่อเลี่ยงภาษีป้าย โดยปกติแล้วหากมีผู้พบเห็นและแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ ทาง กทม.ก็จะรื้อถอนหากไม่มีเจ้าของป้ายมาแสดงตน แต่ถ้าในกรณีที่ป้ายติดตั้งในพื้นที่เอกชน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบหาเจ้าของว่าได้เสียภาษีป้ายอย่างถูกต้องตาม […]

จำลองสถานการณ์แบบไทยๆ จะเป็นอย่างไรถ้า ‘Gate’ จากเรื่อง Solo Leveling เปิดขึ้นใจกลางกรุงเทพฯ

เอาล่ะ เหล่า ‘ฮันเตอร์’ ผู้ถูกปลุกพลังทั้งหลาย ในช่วงที่ฮันเตอร์จินอูและสมุนเงาในเรื่อง Solo Leveling กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง หลังจากมันฮวาสุดฮิตของ KAKAO WEBTOON กลายเป็นแอนิเมชันฉายทาง Netflix และ TrueID งานนี้ Urban Creature เลยขออิเซไกไปในโลกสุดแฟนตาซี ลองคิด Scenario ขึ้นเล่นๆ ว่า ถ้าอยู่ดีๆ เกิดเหตุประตู ‘เกต’ (Gate) เปิดขึ้นใจกลางเมืองกรุงเทพฯ เชื่อมระหว่างโลกของเรากับ ‘ดันเจี้ยน’ อีกฝั่งที่เต็มไปด้วยเหล่า ‘มอนสเตอร์’ เหมือนในเรื่อง ‘Solo Leveling’ ขึ้นมาจริงๆ จะเป็นยังไงกันนะ Step 1 ปรากฏการณ์ไทยมุง แม้ไม่มีเกาหลีมุงเหมือนในมันฮวา แต่ประเทศไทยเรามี ‘ไทยมุง’ กับเขาแน่นอน อันนี้รับประกัน แถมยิ่งเป็นเกตระดับสูงเท่าไหร่ เชื่อว่าคนจะมามุงเยอะเท่านั้น เพราะสิ่งที่ตามมาคือฮันเตอร์แรงก์สูงสุดเท่น่ะสิ! งานนี้จะได้มีเรื่องไปเมาท์กับเพื่อนต่อยาวๆ Step 2 ทวิตเตอร์ (X) คือแหล่งข่าวชั้นดี ว่าแต่จะไปเมาท์ที่ไหนดี […]

1 2 3 4 46

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.