เครื่องหมายจราจรคือ “สัญลักษณ์จราจร” ที่ใช้สำหรับควบคุมจราจร มักเป็นสัญญาณแสงไฟ ป้าย ลายต่างๆ เพื่อเป็นตัวกำหนด หรือเป็นข้อบังคับการเคลื่อ นตัวของจราจร ทั้งการจอด การเตือน รวมถึงแนะนำทางจราจรแบ่งเป็ น 3 ประเภทหลักๆ คือ สัญญาณไฟจราจร, ป้ายจราจร และเครื่องหมายจราจรอื่นๆ เช่น เครื่องหมายบนพื้นทาง และขอบทางเท้า ซึ่ง “เครื่องหมายจราจร” จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. “เครื่องหมายจราจรประเภทเตือน”
เพื่อแสดงความหมายให้ผู้ที่ ใช้รถใช้ถนนได้รู้ว่า ทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร หรือบอกให้รู้ว่าควรระมัดระวังในการใช้เส้นทางข้างหน้าให้มากขึ้น เช่น เส้นแบ่งทิศทางจราจรเตือน, ป้ายโค้งซ้าย-ขาว, ป้ายวงเวียนข้างหน้า
2.“เครื่องหมายจราจรประเภทบังคับ”
การบังคับอย่างชัดเจนว่า ห้ามทำสิ่งต่างๆ ตามที่เครื่องหมายได้ระบุเอาไว้โดยเด็ดขาด เช่น ป้ายหยุด ป้ายให้ทาง และอื่นๆ เมื่อทำผิดกฎหมายแล้วนั้นอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้รถ ใช้ถนนคนอื่นอีกด้วย
| เส้นซิกแซกสีขาว
“เส้นซิกแซก คือ เส้นเตือนก่อนถึงทางม้าลาย”
จากปัญหาอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากการขับรถด้วยความเร็ว และผู้ขับขี่ให้ความเห็นว่า มองสัญญาณเตือนทางม้าลาย หรือสัญญาณคนข้ามไม่เห็น บ้างก็บอกว่าสัญญาณไฟจราจรอยู่สูงเกิดไป สำนักการจราจรและขนส่ง (กทม.) จึงนำ “เส้นหยักซิกแซก” มาเป็นเครื่องหมายเสริมเตือนให้ผู้ขับขี่ ชะลอ ลดความเร็ว พร้อมที่จะหยุด หรือปฏิบัติตามสัญญาณไฟ และให้ลดความเร็วในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเขตข้ามทางม้าลาย เพื่อให้คนข้ามถนนได้ข้ามถนนอย่างปลอดภัย
ซึ่งมีการเริ่มใช้บนถนนดินสอ ถนนรอบศาลาว่าการกรุงเทพมหา นคร (เสาชิงช้า) และถนนอโศกมนตรี รวมทั้งจะขยายไปยังถนนสายอื่นๆ ต่อไปอีก โดยสัญลักษณ์เส้นซิกแซกนี้ ได้นำต้นแบบมาจากประเทศอังกฤษ ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์การจราจรสากลที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป ทั้ อังกฤษ, ศรีลังกา, สิงคโปร์ และอื่นๆ มีลักษณะเป็นเส้นมีสีขาวซิก แซก คล้ายฟันปลา
| สัญลักษณ์ “เขตปลอดภัย”
“เขตปลอดภัย คือพื้นที่ให้คนเดินเท้าสาม ารถข้ามทาง หรือหยุดรอก่อนที่จะข้ามทาง ต่อไป”
เพื่อการใช้ท้องถนนที่สมบูรณ์แบบแล้วนั้น ไม่ใช่แค่รถที่เราต้องใส่ใจ แต่ทั้งนี้ รวมไปถึงการเอาใจใส่คนที่ใช้ถนนเพื่อการสัญจรด้วย อย่าง การสร้างพื้นที่ให้ประชาชนคนทั่วไป ได้สามารถเดินข้ามถนนได้อย่างปลอดภัยในบริเวณพื้นที่ทางแยกต่างๆ โดยการสร้างสัญลักษณ์ “เขตปลอดภัย” เพื่อบอกถึงบริเวณหยุดรอ พื้นที่ให้คนหยุดรถ-ลงรถ หรือ หยุดรอก่อนจะข้ามทางต่อไป เช่น บริเวณที่ทาสีขาวกลางถนน หรือที่เรียกว่าเกาะสมมุติ โดยการตีเส้นสีขาวในแนวขวาง บนพื้นถนน เพื่อแสดงให้ผู้ขับขี่ได้เห็นสัญลักษณ์อย่างชัดเจนทุกเวลา จะได้ระมัดระวังในการขับขี่
| จุดจอดสายบิด “จยย. MC”
“จยย. MC คือ ช่องหยุดรถจักรยานยนต์ เพื่อรอสัญญาณไฟจราจรบริเวณทางแยก”
จากปัญหารถจักรยานยนต์จอดล้ำเส้น และกีดขวางเส้นทางม้าลาย หรือทางคนเดินข้ามส่วนหนึ่ง เกิดจากไม่มีที่จอดระหว่างรอสัญญาณไฟ จึงทำให้เกิดเส้นช่องจราจรสำหรับรถจักรยานยนต์ พื้นที่ที่เอื้ออำนวยความเป็นระเบียบเรียบร้อยสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ และเป็นสัญลักษณ์สำหรับหยุด รอสัญญาณจราจรบริเวณทางแยกต่างๆ อีกทั้ง ช่วยเตือนให้เหล่านักบิดทั้งหลายจอดในพื้นที่ที่กำหนด และไม่ควรล้ำเส้นออกมานั้นเอง
ซึ่งในปัจจุบัน ช่องจราจรมอเตอร์ไซค์เกิดขึ้นแล้วประมาณ 5-6 ทางแยกทั้ง แยกคอกวัว แยกศรีอยุธยา แยกศาลาแดง และแยกพระราม 9 โดย สจส. “สำนักการจราจรและขนส่ง” ได้ตั้งเป้าทำช่องจอดให้ครบ 40 แยกไฟแดงที่สำคัญๆ โดยลักษณะของเครื่องหมาย จยย. MC เป็นช่องสี่เหลี่ยมพื้นผ้า และมีข้อความภายในช่องว่า “จยย. MC”
| เส้นแนวช่องจราจรผ่านทางแยก
“เส้นแนวช่องจราจรผ่านทางแยก คือ การขับรถไปตามแนวช่องเดินรถ”
เมื่อถึงบริเวณทางแยก รถจากหลากหลายเส้นทางจะวิ่งตัดผ่านซึ่งกันและกัน นอกจากตัวช่วยสำคัญอย่างสัญญาณไฟแดงที่จะช่วยให้รถสวนกันได้อย่างราบรื่นแล้วนั้น ก็มี “เส้นแนวช่องจราจรผ่านทางแยก” ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกสบายต่อผู้ขับขี่เมื่อปฏิบัติตามกฎระเบียบ และทำให้คนขับรถไม่สับสนระหว่างเลนขณะที่กำลังขับรถอยู่ ซึ่งลักษณะเส้นจะประกอบด้วย เส้นประสีขาว และขีดที่คล้ายๆ กับกากบาท ซึ่งบางที่อาจจะมีลักษณะที่ต่างกัน แต่เมื่อพบเจอกับสัญลักษณ์แบบนี้ก็จะเป็นการบ่งบอกให้เรานั้นสามารถขับตามแนวช่องเดินรถของเรา โดยจะได้ไม่ต้องไปเบียดกับรถคันอื่นๆ จนเกิดอุบัติเหตุได้นั่นเอง
| เส้นประ “แยกบางพลัด”
“เส้นประ คือ เส้นแบ่งทิศทางจราจร”
บ่อยครั้งที่ท้องถนนยังคงเกิดปัญหาอุบัติเหตุรถชน รถคว่ำ อยู่เสมอๆ ด้วยสาเหตุที่หลากหลาย ทั้งปาดหน้า ตัดหน้า เปลี่ยนเลนแบบกะทันหัน แซงในที่ที่ไม่ควรแซง อย่างบริเวณคอสะพานต่างๆ ซึ่งในช่องทางการจราจรบนท้องถนนมักมีการแบ่งเลนสำหรับผู้ขับขี่ไว้อย่างชัดเจนคือ “เส้นประแบ่งทิศทางจราจรปกติ” นี้มีไว้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ บอกถึงการเปลี่ยนเลนของผู้ขับขี่เมื่อเห็นสัญลักษณ์นี้เราจึงจะสามารถออกจากทางร่วม เพื่อย้ายเปลี่ยนเลนได้ ทั้งนี้ควรมองรถที่อยู่รอบๆ คัน อย่างรอบครอบด้วย
“เส้นประแบ่งทิศทางจราจรเตือน” เป็นเครื่องหมายที่ให้ทราบว่า จะถึงเขตทางข้าม แยก เขตห้ามแซง เว้นแต่จะเปลี่ยนเส้นทางเดินรถ หรือกลับรถ ขับข้ามเส้นได้แต่ต้องระวัง เป็นพิเศษ เพื่อความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุให้น้อยลง การตีเส้นประเดินรถที่เคยเป็นที่ฮือฮาในบริเวณ “แยกบางพลัด” ด้วยเส้นที่ทับซ้อนกันเสมือนเป็น “แพทเทิร์นผ้า” หรืองาน “ศิลปะกราฟิกบนถนน” เลยก็ว่าได้ ซึ่งถ้ามองในมุมสูงแล้วนั้น อาจทำให้ดูสับสนได้ แต่ถ้าในมุมมองของผู้ขับรถพื้นราบ ก็จะสามารถขับตามแนวเส้นประได้ตามปกติ แถมเส้นเหล่านั้นยังอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่ขับรถสัญจร ผ่านบริเวณแยกบางพลัด และแยกไฟฉาย ให้สามารถสัญจรได้เป็นระเบียบและคล่องตัวเป็นอย่างดีอีกด้วย
Sources :
https://www.thairath.co.th/content/474160
https://www.thairath.co.th/content/1005175
https://www.voicetv.co.th/read/487209
https://www.grandprix.co.th/เส้นจราจรควรรู้-รู้แล้ว
โรงเรียนสอนขับรถ “Nonthaburi Driving School”