Save Our Planet: เมื่อโลกเต็มไปด้วยขยะ แล้วเราจะใช้ชีวิตอยู่อย่างไร - Urban Creature

“ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง” สิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าเมื่อใช้ ‘พลาสติก’ ที่ถูกเปลี่ยนรูปร่างเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งพลาสติกชิ้นเล็กอย่าง ถุงพลาสติก ที่เราใช้เพียงครั้งเดียวก็โยนทิ้งลงถังขยะนั้น กลับต้องใช้เวลาในการย่อยสลายนานถึง 450 ปี ทั้งปริมาณการใช้พลาสติกของมนุษย์ยังขยายตัวตามสังคมเมืองที่เป็นไป ส่งผลให้การเติบโตของขยะพลาสติกในทุกวันนี้พุ่งไปถึง 8.3 พันล้านตัน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี

ในวันที่ความสามารถในการจัดการขยะพลาสติก สวนทางกับปริมาณของกองภูเขาขยะ การหาทางออกด้วย “การสร้างสิ่งทดแทน” เพื่อให้เราทุกคนได้ใช้ชีวิตใน “เมืองไร้พลาสติก” (Zero Waste) จึงเกิดขึ้น

A Dream of No Plastic | เมืองไร้พลาสติก เป็นไปได้จริงหรือเพียงฝันไป

“เมืองไร้พลาสติก” หากพูดคำนี้ออกไปเมื่อหลายสิบปีก่อน คงเหมือนเรากำลังวาดภาพฝันยุคยูโทเปียกันอยู่ แต่ตอนนี้ จากฝันกำลังกลายเป็นมากกว่านั้น เพราะมีหลายคนร่วมกันสานฝันให้มนุษย์อย่างเราได้อาศัยอยู่ท่ามกลางเมืองไร้พลาสติก รวมถึงเพื่อปกป้องสัตว์โลกจากขยะพลาสติก ผ่านวิธีการหลากหลายที่พยายามทำให้เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเป็นหลักการสำคัญขั้นพื้นฐานอย่าง “1A3Rs” (Avoid Reduce Reuse Recycle) คือ การหลีกเลี่ยง การใช้น้อย ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ การรณรงค์จากภาคประชาชน องค์กร ไปจนถึงการออกกฎหมายเพื่อใช้ควบคุม

Plastic is a substance the earth cannot digest. REFUSE SINGLE-USE PLASTIC

พลาสติก คือสิ่งที่โลกของเราไม่สามารถย่อยสลายได้ ปฏิเสธการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
– Plastic Pollution Coalition –

ซึ่งหนึ่งในองค์กรที่ยืนหยัดและทุ่มเทในเรื่องนี้คือ ‘Plastic Pollution Coalition (PPC)’ กลุ่มพันธมิตรระดับสากลในเมืองเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอเนียร์ สหรัฐอเมริกา ที่ตั้งใจรณรงค์ให้คนตระหนักถึงปัญหาพลาสติกที่ลอยเกลื่อนมหาสมุทร และกำลังจะล้นโลกของเรา อันเกิดจากการใช้โปรดักท์ที่เป็นพลาสติกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นขวดน้ำ หลอด ถุงพลาสติก ภาชนะใส่อาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย ผ่านการให้ความรู้ คำแนะนำในการใช้ชีวิตแบบโนพลาสติก การรณรงค์ การจัดกิจกรรม และเปิดให้ผู้ที่สนใจจากทั่วโลกเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ได้อีกด้วย

Biodegradable Plastic | ฮีโร่กอบกู้โลก

มีสัตว์จำนวนไม่น้อยที่ต้องจบชีวิตด้วยน้ำมือของขยะพลาสติก ทั้งเต่ามะเฟืองที่หลงเข้าใจผิดว่าขยะพลาสติกคืออาหาร ไปจนถึงหมีขั้วโลก ที่ขยะพลาสติกในทะเล เป็นภัยคุกคามทำให้พวกมันตกอยู่ในสถานะที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้น คือผลกระทบลูกโซ่ของ “ไมโครพลาสติก” ที่เกิดจากขยะพลาสติกแตกตัวเป็นโมเลกุลเล็กๆ ตกค้างอยู่ในสัตว์ทะเล และเมื่อสัตว์ทะเลเหล่านั้นกลายเป็นอาหารของมนุษย์ เรากินเข้าไปมันก็จะไปสะสมในร่างกายเราได้

อ่านมาถึงตรงนี้ เราคงกล้าพูดได้เต็มปากว่า ขยะพลาสติก คือจอมวายร้ายที่บุกทำลายโลก มนุษย์จึงสร้างฮีโร่ไว้ปกป้องพวกเราให้พ้นจากอันตรายเหล่านั้น ด้วย ‘การสร้างสรรค์สิ่งทดแทนพลาสติก’ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน หนึ่งในนั้นคือการเลือกใช้ พลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามชีวภาพ (Biodegradable Plastic)

อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ เจ้าพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable Plastic) คือพลาสติกทดแทนที่เกิดจากการนำวัสดุทางธรรมชาติ เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย โปรตีนจากถั่ว แป้งจากพืชจำพวกข้าวสาลี มันฝรั่ง มันเทศ เป็นต้น มาผ่านกระบวนการทางจุลินทรีย์ ทำให้สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องพึ่งพาโรงย่อยสลายอุตสาหกรรม และไม่ทิ้งสารพิษตกค้างไว้ในสิ่งแวดล้อม

2030 , The Rise of Biodegradable | พลาสติกเจเนอเรชันใหม่แห่งอนาคต

ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมชั้นแนวหน้าทั่วโลกหันมาใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพมากขึ้น รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ และนักวิจัยก็เริ่มให้ความสนใจกับวัสดุทดแทนนี้ โดยข้อมูลจากรายงานเรื่อง Biodegradable Plastics Market by Type, End Use Industry, and Region – Global Forecast to 2023 บอกไว้ว่า ในปีค.ศ. 2018 ที่ผ่านมา มีการลงทุนเลือกใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพถึง 6.95 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และมีการคาดการณ์ว่าจะมีการลงทุนเพิ่มถึง 14.92 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐในปีค.ศ 2030 นั่นหมายถึงว่า ตลาดพลาสติกทั่วโลกจะมีการใช้พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพเพิ่มขึ้นถึง 60% เพื่อทดแทนการใช้พลาสติกแบบเดิมที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และโลกของเรา

Mitrphol | มิตรผลถุงกระดาษ น้ำตาลอ้อยธรรมชาติที่ทำเพื่อธรรมชาติ

น้ำตาลมิตรผล ก็เป็นอีกหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมที่ตระหนักถึงปัญหาของขยะพลาสติก ร่วมเป็นฮีโร่ในการช่วยลดการเกิดขยะ ด้วยการส่งต่อ “น้ำตาลอ้อยธรรมชาติ มิตรผล ถุงกระดาษ” ออกมาช่วยรักษาโลกของเรา ความดีงาม อยู่ตรงที่ Packaging ที่เป็นพลาสติกชีวภาพ (Biodergradable) ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติทั้งด้านในและด้านนอกถุง เพราะด้านนอกทำจากกระดาษคราฟ ส่วนด้านในป้องกันความชื้นด้วยพลาสติกชีวภาพ ย่อยสลายได้ภายใน 180 วัน และสามารถนำถุงกระดาษที่ใช้หมดแล้วไปปลูกต้นไม้ต่อได้อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็น “ของขวัญจากธรรมชาติที่คงความเป็นธรรมชาติจนถึงมือคุณ”อย่างแท้จริง แต่เจ้ามิตรผลถุงกระดาษไม่ได้มีดีแค่ Packaging เรื่องรสชาติก็ดีไม่แพ้กัน เพราะเป็นน้ำตาลอ้อยธรรมชาติ (Natural Cane Sugar) ที่ผลิตจากอ้อยธรรมชาติ ให้รสชาติที่หอม หวาน กลมกล่อม

มนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเราก็สามารถเป็นฮีโร่ปกป้องโลกได้ เริ่มต้นง่ายๆได้ที่ตัวเอง แค่นี้ก็ทำให้รู้สึกดีต่อใจ ดีต่อโลกได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการลดการใช้พลาสติก ลดการเกิดพลาสติก ใช้แก้วน้ำแทนแก้วพลาสติก ไปช้อปปิ้ง ถ้าสามารถงดรับถุงได้ ก็ขอให้งด หรือจะเลือกใช้พวกผลิตภัณฑ์ eco ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติก็ยังได้ มาช่วยกันสร้างให้โลกของเราเป็น เมืองไร้พลาสติก ตามที่เฝ้าฝันไว้กันเถอะ


Graphic Designer : Vachara Promprasert

Sources : https://www.explainthatstuff.com/bioplastics.html

http://www.pepctplastics.com/resources/connecticut-plastics-learning-center/biodegradable-plastics/

https://www.reportlinker.com/p03948154/Bioplastics-Biopolymers-Market-by-Type-Application-and-by-Region-Trends-Forecast-to.html

https://www.apnews.com/01b1764431ac48e7b61b7d93fac3f2f3

Writer

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.