
CITY
อัปเดตทุกเทรนด์ชีวิตคนกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่น่าสนใจรอบโลกได้ที่ Urban Creature เพื่อเปิดโลกไอเดียเกี่ยวกับชีวิตวิถีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เทรนด์การใช้ชีวิต ไปจนถึงเรื่องราวมากมายในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดความเข้าใจต่อภาพรวมของสังคม ที่จะส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สังคมและประเทศของเราจะได้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น
ความนุ่ม Sandbox ของเราไม่เท่ากัน : เสียงสะท้อนที่เจ็บปวดของแรงงานนอกระบบบนเกาะสมุย
0 “ปลายปีนี้ 50% อยู่เหนือ ที่เหลือ 50% อยู่ทะเล” ข้อความทวีตหนึ่งที่บังเอิญเลื่อนเจอขณะที่ตัวผู้เขียนเองกำลังอยู่บนเฟอร์รีข้ามไปสมุย เกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า ได้ถูกกำหนดเป็น “สมุยพลัส แซนด์บ็อกซ์” (Samui Plus Sandbox) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนครบโดสแล้วสามารถเข้าประเทศไทยได้โดยไม่ต้องกักตัว เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง “แซนด์บ็อกซ์ โมเดล” ถือกำเนิดเพื่อเป็นพื้นที่ทดลอง ตรวจสอบการทำงานของระบบ เช่น ก่อนจะมีการปล่อยซอฟต์แวร์สักตัวมาใช้ จะต้องมีการทดลองในแซนด์บ็อกซ์จนมั่นใจก่อนปล่อยใช้งานจริง แซนด์บ็อกซ์จึงเป็นพื้นที่แห่งการทดลอง และต่อให้ล้มเหลวก็เจ็บตัวไม่มาก เหมือนเวลาที่เด็กๆ เล่นชิงช้าและตกลงในพื้นทรายด้านล่าง ทว่าพื้นที่ทรายนุ่มๆ เม็ดละเอียดที่ทอดยาวกลายเป็นหาดชื่อดังของสมุย ไม่ว่าจะเป็น เฉวง ละไม บ่อผุด และอื่นๆ กลับไม่นุ่มอย่างนั้น อย่างน้อยในมุมของแรงงานนอกระบบที่อยากชวนทุกคนไปสำรวจพร้อมๆ กัน 1 แขก อายุ 40 ปี เป็นคนหนองคายตั้งแต่กำเนิด ด้วยฐานะที่ค่อนไปทางลำบาก เขาจึงเดินทางข้ามน้ำ ข้ามทะเล มาที่สมุย นับตั้งแต่เด็กหนุ่มอีสานเหยียบหาดทรายขาวนุ่มแห่งนี้ เวลาก็ล่วงไปแล้วราว 20 ปี เขายึดอาชีพเดินเร่ขายของในบริเวณหาดเฉวงที่ก่อนหน้าจะมีโควิด […]
‘สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ สัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในสยามยุคอาณานิคม สู่อนาคตว่าจะไปทางไหนดี
ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กระแสการย้ายศูนย์กลางการเดินรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่ออย่างฉับพลันทันด่วน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งจากประชาชน นักเรียน-นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานของรถไฟเช่นกัน เสียงสะท้อนต่อการตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่ การไม่คิดคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำเพราะการย้ายจะทำให้ค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคำถามเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อการใช้งานพื้นที่หัวลำโพง รวมไปถึงคำถามภาพใหญ่ที่ตั้งคำถามถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด ว่าสรุปแล้วควรจะไปทิศทางไหน ถึงจะไม่สะเปะสะปะ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนคนเดินถนน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจริงๆ เมื่อมองกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ‘สถานีกรุงเทพ’ สถานที่แห่งนี้บน ‘ถนนพระราม 4’ ในปัจจุบัน เคยเป็นทั้งศูนย์กลางขนส่งทางรางและตัวแทนอันน่าภาคภูมิของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของชนชั้นนำสยาม แต่ทำไมอนาคตของสถานีรถไฟในปัจจุบันกลับดูไม่แน่นอนว่าจะไปทางไหนต่อ หลังจากเสียงวิจารณ์เกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้หยุดการ ‘ย้ายหัวลำโพง’ นี้ไปก่อน และให้มีรถไฟวิ่งเข้าออกสถานีตามปกติ นั่นทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หยุดลงไปชั่วคราว แต่ปัญหาที่รอการหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ดังคำกล่าวอันโด่งดังของนักปรัชญา ฟริดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ที่ว่า ‘เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าพวกเราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย’ อาจจะเป็นประโยคเจ็บแสบล้อเลียนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ประเด็นสำคัญคือมันกระตุ้นเตือนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังจะทำตลอดเวลา ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และเราเรียนรู้จาก ‘ประวัติศาสตร์’ […]
รวม 5 ข่าวดี๊ดีประจำปี 2021 ที่ไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ปะ
รวม 5 ข่าวดี (ไม่ต้องมีก็ได้) ประจำปี 2021
Glamping in the City แพ็กกระเป๋า สตาร์ทรถ ออกไปแคมป์สุดหรูใจกลางเมือง
ลมหนาวพัดผ่านมาและผ่านไปอย่างรวดเร็วสายแคมป์ปิ้งบางคนก็อาจยังไม่ทันได้เตรียมตัวออก ต่างจังหวัดสัมผัสอากาศดีๆ กันเลย แถมโอกาสเที่ยวในวันหยุดยาวช่วงต้นเดือนหายวับ! เป็นที่ เรียบร้อย เพราะงานที่กรูเข้ามาพอดี แต่ไม่เป็นไร ใช่ว่าการไปแคมป์จะต้องออกต่างจังหวัดค้างหลายคืนเสมอไป ในกรุงเทพฯ ก็มีพื้นที่ให้ เราอินการแคมป์เพียงแค่ 1 วันได้เช่นเดียวกัน…อย่ามัวรอช้า แพ็กกระเป๋า สตาร์ทรถคู่ใจ Mitsubishi Outlander PHEV ขับสบายฟังเพลงชิลๆ มุ่งหน้าสู่ Kamaboko Coffee Camp กัน! ถ้าแต่งตัว แพ็กกระเป๋ากันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราจะพาชาว Urban Creature สตาร์ทวันไปกับรถคู่ใจ Mitsubishi Outlander PHEV ออกไปแคมป์สุดหรูใจกลางเมืองที่ Kamaboko Coffee Camp ซึ่งความพิเศษในทริปนี้ เราจะเดินทางแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะ Mitsubishi Outlander PHEV เป็นรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด ที่สามารถผสานการใช้พลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน จะใช้ไฟฟ้า เพียงอย่างเดียว100%ก็วิ่งได้ไกลถึง55กม.ขับในเมืองหรือออกต่างจังหวดัได้สบายมีอัตราการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระดับต่้าที่ 43 กรัม /กม. (รถยนต์ทั่วไปปล่อยอยู่ที่ประมาณ 100 กรัม/กม.ขึ้นไป) […]
Bangkok Suit ชุดล้ำๆ ที่จะทำให้ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ อย่างไม่หวั่นแม้วันหนักมาก
จะดีแค่ไหนถ้าเราจะเริ่มที่ตัวเองด้วยการทำชุดที่สวมแล้วเอาตัวรอดได้ทุกสถานการณ์ในกรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้ เราได้ชม Dune ภาพยนตร์ Sci-Fi ฟอร์มยักษ์ ที่กำกับโดยเดนิส วิลล์เนิฟ นอกจากเนื้อเรื่องอันเข้มข้นที่ว่าด้วยการแก่งแย่งชิงดีของเหล่าผู้มีอำนาจ ผสมผสานกับเกมการเมืองที่ทำเอานึกถึงสถานการณ์บ้านเราแล้ว สิ่งที่ทำให้เราจดจำภาพยนตร์เรื่องนี้ได้มากขึ้นคือ องค์ประกอบต่างๆ อย่างดาวแห่งทะเลทราย หนอน การต่อสู้สุดเจ๋ง ไปจนถึงชุดสูทสุดเท่ Stillsuit ชุดสูทนี้มีที่มาจากสภาพแวดล้อมบนดวงดาวที่ไม่มีแหล่งน้ำบนผืนดินเลย จึงกลั่นน้ำเสียจากร่างกายมนุษย์ให้เป็นน้ำดื่มได้ ทั้งยังมีเกราะหุ้มรักษาน้ำไม่ให้ระเหยออกจากร่างกายง่ายๆ พอเห็นแบบนั้น เราก็หวนนึกถึงสภาพแวดล้อมในกรุงเทพฯ ที่ชวนให้ต้องปรับตัวตาม ไม่ว่าจะเป็นการที่ฝนตกไม่นานน้ำก็ท่วมถึงเข่า อากาศที่ร้อนจนเกินทน ฝุ่นควันมลพิษจากรถติด ทางเท้าที่ไม่เอื้อให้คนเดิน ไปจนถึงการวิพากษ์วิจารณ์อะไรนิดหน่อยก็โดนตั้งข้อหา คอลัมน์ Urban Sketch เลยขอลองออกแบบ ‘Bangkok Suit’ บอดี้สูทสำหรับเอาตัวรอดในกรุงเทพฯ ยุคนี้ดูซะหน่อย 1) กันน้ำได้ แห้งไว – จากปัญหาฝนตกน้ำท่วมขังที่เป็นปัญหาเรื้อรังมานานนม เราเลยออกแบบให้ชุดมีคุณสมบัติกันน้ำได้ แถมแห้งไวซะเลย คราวนี้ต่อให้ฝนจะตกเบา-หนักแค่ไหนประชาชนตัวเล็กๆ อย่างเราก็รับมือได้ ต่อให้ต้องตากฝนไปเรียนหรือทำงานก็บ่ยั่น 2) นวัตกรรมที่ทำให้ใส่แล้วเย็นสบาย – จะมีอะไรตอบโจทย์เมืองไทยไปกว่าเสื้อผ้าที่ใส่แล้วเย็นเหมือนติดแอร์ บอดี้สูทของเราจึงพร้อมรับมือกับอากาศร้อนทุกเลเวลกับนวัตกรรมพลังงานแอร์ปรับความเย็นได้ที่ติดตั้งในชุด ยังไม่พอในเมื่อแดดเมืองไทยแรงสุดๆ เราเลยออกแบบให้แขนเสื้อยืด-หดได้ด้วย รับรองว่าเย็นฉ่ำแม้จะต้องเดินในเมืองที่ต้นไม้น้อยกว่าตึกแบบกรุงเทพฯ […]
Himeji Castle มรดกโลกสุดทันสมัยที่เข้าสู่จักรวาล Metaverse ก่อนใคร
ช่วงนี้หัวข้อ Metaverse กำลังอยู่ในความสนใจ เลยอยากนำเรื่องมินิเมตาเวิร์สที่ปราสาทฮิเมจิ มรดกโลกสุดป็อปที่จังหวัดเฮียวโกะมาแชร์ เพราะพี่เขาชิงนำ VR, AR มาใช้ก่อนใครตั้งแต่บูรณะปราสาทเสร็จใหม่ๆ ในปี 2015 ปราสาทฮิเมจิฉายแววป็อปมาตั้งแต่ตอนบูรณะปราสาทครั้งใหญ่ ซึ่งเริ่มต้นช่วง ค.ศ. 2009 เขาแสดงความคิดสร้างสรรค์และความใจกว้าง เปิดรับสิ่งใหม่ด้วยการเนรมิตนั่งร้านให้กลายเป็นจุดชมการซ่อมบูรณะมรดกทางวัฒนธรรมแบบเท่ๆ ที่ผู้คนยอมจ่ายเงินเพิ่มเพื่อเข้าไปดูช่างฝีมือทำงาน หลังกลับมาเปิดให้ชมเต็มรูปแบบก็พัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อยๆ เช่นในเว็บไซต์มี AI Chat พร้อมโต้ตอบภาษาอังกฤษ อะไรที่เกินสติปัญญา AI ระบบจะเชื่อมต่อโอเปอเรเตอร์มารับช่วงต่อแทนทันที ว้าวซ่ามากสำหรับการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และตอนนี้มี Virtual Tour ภาษาอังกฤษให้พาคนเที่ยวปราสาทผ่าน Zoom แบบสดๆ อีกต่างหาก ปังอะไรเบอร์นี้ เราเลยโค้งสวยๆ ขอเวลาจาก Masayuki Tsunemine และ Toshikatsu Okada เจ้าหน้าที่จากปราสาทฮิเมจิมาเล่าความกรุบกริบไฮเทคทันสมัยของมรดกโลกอายุหลายร้อยปีกัน! สำหรับคนที่ไม่คุ้นชื่อปราสาทนี้ ขอบรีฟคร่าวๆ ถึงความดีงามของพี่เขาสักเล็กน้อย ปราสาทฮิเมจิตั้งอยู่ในเมืองฮิเมจิ จังหวัดเฮียวโกะ มีความเป็นดาวได้มงหลายตำแหน่ง เช่น ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมของญี่ปุ่น ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยว Travellers’ Choice […]
COP26 the Other Side: 5 ประเด็นชวนเอ๊ะ! สรุปรักษ์โลกกันจริงไหมในการประชุม COP26
ชวนดู 5 ประเด็นในการประชุม COP26 ที่ผ่านมาที่ชวนคิดชวนสงสัยว่าการแก้ไขวิกฤตสภาพภูมิอากาศควรจะเดินต่อไปอย่างไร
วัดที่มีหลักคิดทำ Space ให้เป็น Public ได้ส่งต่อปัญญา I วัดชลประทานรังสฤษดิ์ฯ The Series EP5
ปัญหาใหญ่อีกหนึ่งปัญหาของบ้านเราที่ต่างรู้กันดี คือการขาดพื้นที่สาธารณะ ขาดพื้นที่ที่คนสามารถเข้าถึงความรู้ได้ง่ายๆ แต่หากเรามองอีกมุมว่าพื้นที่สาธารณะเหล่านั้นคือ ‘วัด’ ล่ะ วัดคือสถานที่ที่อยู่คู่กับชุมชนไทยแทบทุกอำเภอ ทุกตำบล หากเราสามารถเปลี่ยนวัดให้เป็นมากกว่าพื้นที่ของศาสนพิธี แต่เป็นพื้นที่ที่ทุกคนจะได้เข้ามาเพื่อสร้างกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ ส่งต่อความรู้สู่สังคม พื้นที่ของวัดจะช่วยเข้าไปเพิ่มพื้นที่สาธารณะที่ยังขาดได้ทั่วทั้งประเทศ วัดชลประทานฯ ด้วยแนวคิดที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัยจึงสร้างพื้นที่เหล่านั้นขึ้นภายในวัด ตัวอย่างที่สำคัญคือสถาบันปัญญาวิชชาลัย สถาบันที่เป็นเหมือนพื้นที่ความรู้ที่คนสามารถนำปัญญามาส่งต่อกันได้ ที่นี่มีตั้งแต่คอร์สสุขภาพจนไปถึงคอร์สกราฟิกพาวเวอร์พอยต์ เพราะเรื่องของธรรมะไม่ได้เป็นแค่เรื่องในตำราธรรม แต่คือชีวิตประจำวันของทุกคน การสร้างพื้นที่ที่ความรู้ได้สอดแทรกไปกับธรรมะจึงเป็นอีกหนึ่งทางออกของยุคสมัย #UrbanCreature #CitySurvive #วัดชลประทานรังสฤษดิ์ #สถาบันปัญญาวิชชาลัย
‘โคเปนเฮเกน’ จากเมืองอุตสาหกรรมที่เต็มไปด้วยมลพิษ สู่เมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลก
จะดีแค่ไหนถ้าได้อยู่ในเมืองที่น่าอยู่ คุณภาพชีวิตดี แถมยังรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย ท่ามกลางวิกฤต ‘การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ’ หรือ ‘Climate Change’ หลายเมืองทั่วโลกเดินหน้าผลักดันนโยบายต่างๆ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในเมืองที่ยืนหนึ่งด้าน ‘สิ่งแวดล้อม’ และ ‘ความยั่งยืน’ ก็คือ ‘โคเปนเฮเกน’ เมืองหลวงของประเทศเดนมาร์ก นิตยสาร Time Out ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนกว่า 27,000 คนจากหลายร้อยเมืองทั่วโลก เพื่อหาคำตอบว่าเมืองใดคือเมืองที่ ‘ยั่งยืนที่สุดในโลก’ ประจำปี 2021 โดยผลการสำรวจชี้ว่า 57% ของผู้ตอบแบบสำรวจยกให้ ‘โคเปนเฮเกน’ เป็นเมืองที่ครบเครื่องเรื่องความยั่งยืนอันดับหนึ่งของโลก แต่รู้หรือไม่ว่ากว่าโคเปนเฮเกนจะกลายเป็นเมืองสีเขียวอันดับต้นๆ ของโลกได้ อากาศในเมืองหลวงแห่งนี้เคยเต็มไปด้วยมลพิษ ส่วนแหล่งน้ำก็ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี ขยะ และสิ่งปฏิกูล Urban Creature จะพาทุกคนไปหาคำตอบว่า โคเปนเฮเกนทำอย่างไรจึงสามารถสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและสังคมที่เข้มแข็ง จนกลายเป็นเมืองที่ตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนได้ 01 | Public and Private Sectors : เมืองที่ภาครัฐร่วมมือกับเอกชน ก่อนอื่นต้องอธิบายคร่าวๆ ก่อนว่า รัฐบาลเดนมาร์กบริหารงานแบบ ‘กระจายอำนาจการปกครอง’ […]
Smart Card : บัตรร่วมขนส่ง ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว ที่ไทยไม่มี (สักที)
หลายประเทศทั่วโลกเริ่มใช้ ‘สมาร์ตการ์ด’ หรือ ‘บัตรร่วม’ สำหรับระบบขนส่งสาธารณะมานานแล้ว ผู้คนสามารถเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถไฟ รถไฟใต้ดิน รถบัส และเรือ ได้เพียงแค่มีบัตรใบเดียว ทำให้คุณภาพชีวิตของคนง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่การใช้งานสมาร์ตการ์ดไม่ได้หยุดอยู่แค่ขนส่งมวลชนเท่านั้น เพราะในหลายประเทศได้ขยายขอบเขตบริการเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนมากยิ่งขึ้น นอกจากจะใช้จ่ายค่าเดินทางแล้ว บัตรใบเดียวกันยังสามารถใช้ซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ไปจนถึงจ่ายค่าจอดรถ ค่ายา และค่าบิลต่างๆ ได้ด้วย และประเทศต่างๆ ยังมีแนวโน้มที่จะครอบคลุมวิถีชีวิตของคนเมืองมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้น สมาร์ตการ์ดในต่างแดนยังล้ำหน้าไปอีกขั้น เพราะในหลายประเทศอย่างฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ ได้พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ตการ์ดเพื่อตอบโจทย์ชีวิตของคนยุคดิจิทัล ผู้คนสามารถชำระค่าบริการโดยใช้สมาร์ตโฟนแทนบัตรจริงๆ ได้เลย ไม่ต้องพกบัตรให้ยุ่งยากและล้นกระเป๋าอีกต่อไป แต่สำหรับประเทศไทย เคยนับไหมว่าแต่ละวันคุณใช้บัตรกี่ใบและใช้ไปกับอะไรบ้าง? กระทรวงคมนาคม และการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดตัวบัตรร่วมอย่าง ‘บัตรแมงมุม’ มาตั้งแต่ปี 2008 แต่จนถึงปัจจุบันปี 2021 บัตรใบนี้ก็ยังไม่สามารถเชื่อมโยงการเดินทางทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ชาวไทยต้องรอบัตรร่วมในฝันกันต่อไป Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปดูว่าสมาร์ตการ์ดในแต่ละประเทศเขาขยายขอบเขตการบริการไปถึงไหน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างไรบ้าง 01 | Suica ญี่ปุ่น สำหรับญี่ปุ่น แต่ละภูมิภาคใช้สมาร์ตการ์ดแตกต่างกัน […]
ขออนุญาต Educate นะคะอีเก่งกิจ : ฉอดเรื่อง Political Correctness กับ เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
“เขียนชื่อผมลงไปเลยนะว่าอีเก่งกิจ เออ อีเก่งกิจนั่นแหละ เขียนแบบนั้นเลย” รศ. ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เน้นเสียงบอกเราอย่างยียวน หลังจากการพูดคุยกันเรื่องความถูกต้องทางการเมือง PC หรือ Political Correctness จบลงสดๆ ร้อนๆ สารภาพว่าหลังจากได้ติดตามการตั้งประเด็นทางสังคมและการโต้ตอบความคิดอันดุเดือดของเขาบนโลก Twitter มาตั้งแต่ต้นปี 2564 เมื่อได้เข้าไปเยือนพื้นที่ของ @Kengkij2 วลีหนึ่งที่ผุดขึ้นมาบนหัวคือ ‘ปังสัส’ ไม่อยากจะสปอยล์ แต่อยากให้ไปหาอ่านเอาเอง เพราะตั้งแต่ไล่สายตาอ่าน Bio ของเขาที่ระบุว่า ‘ทวิตเตอร์มีไว้ด่า ไม่ได้มีไว้คุยวิชาการ #คอมทวิต non-pc’ เราก็สนใจตัวตนบนโลกออนไลน์ของเขาเข้าอย่างจัง ด้วยไบโอมันๆ และความสับในโลกนกฟ้า ซึ่งค่อนข้างตรงกันข้ามกับบทบาทอาจารย์และนักวิชาการ ยิ่งทำให้เราสนใจในวิธีคิด เพราะเก่งกิจเขวี้ยงหมวกนักวิชาการทิ้งถังขยะ แล้วใช้คีย์บอร์ดฉอดยับสับแหลก ดีเบตเผ็ดแซ่บจนนักฉอดทวิตต้องรีพลายกันร่างแหลกกันไปข้าง อีหน้าไหนจะมา War เป็นต้องเจอสรรพอาวุธสุดจะปังของเขา ด้วยฝีปากกล้าท้ารบ จบทุกสกิลในคนเดียวชนิดที่ว่า Non Stop ความ Non PC เราเลยตัดสินใจคุยเรื่องความ PC […]
ปิดตำนานรถเมล์สาย ‘ก.ไก่’ พ่วงท้าย จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรถเมล์สาย ‘73ก’ ไม่มี ‘ก’ อีกต่อไป
‘กว่าคุณจะได้อ่านบทความนี้ ประเทศไทยคงไม่มีรถเมล์สาย 73ก อีกต่อไปแล้ว’ ‘73ก’ รถเมล์ที่มีเส้นทางผ่านไปทักทายผู้คนมากมายหลายย่าน ตั้งแต่แหล่งออฟฟิศย่านรัชดาฯ รับ-ส่งอากง-อาม่าที่เยาวราช ดรอปนักช้อปตัวยงที่ปากคลองตลาด-พาหุรัด-สำเพ็ง-ประตูน้ำ ผ่านแหล่งศูนย์รวมเยาวรุ่นอย่างสยาม-เซ็นทรัลเวิลด์ แม้แต่จะเดินทางไปจับมือเกิร์ลกรุ๊ปไกลถึงเดอะมอลล์ บางกะปิ หรืองาน Cat Festival แถวห้างแฟชั่นไอส์แลนด์ รามอินทรา สายนี้ก็ไปทั่วถึง! (ด้วยเส้นทางที่ทั้งแมสและทรหด) จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครหลายคนจะเคยใช้บริการรถเมล์สายนี้มาแล้ว บางคนก็เป็นขาประจำ ไปเรียน ไปทำงาน หรือไปต่อสถานีรถไฟฟ้า โดยเฉพาะชาวลาดพร้าว บางกะปิ และนวมินเนี่ยนอย่างผม จนแม้แต่ในรายการแฟนพันธุ์แท้ EP.01 พิธีกรอย่าง กันต์ กันตถาวร ก็เคยพูดถึงรถเมล์สายนี้ด้วยเหมือนกัน ในวาระเดียวกับบรรทัดที่ 1 ‘เจอนี่เจอนั่น’ เดือนนี้ เลยขอบอกลาเพื่อนเก่าที่คุ้นหน้ามานานอย่างรถเมล์สาย ‘73ก’ รถประจำทางที่หลายคนคุ้นหน้าหรือเคยได้ขึ้นไปไหนมาไหน จนอาจเรียกได้ว่าเป็นรถเมล์สายแมสที่สุดของตระกูล ก ซึ่งตอนนี้รถเมล์สาย 73ก นี้ได้เลิกใช้ ‘ก’ ห้อยท้ายไปตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 หลังใช้ชื่อนี้มายาวนานกว่า 22 ปี ว่าแต่ทำไมชื่อ 73 […]