หนี้ครัวเรือนของไทยที่สูงสุดทุบสถิติในรอบ 18 ปี เศรษฐกิจวิกฤตหนัก ไม่มีกำลังฟื้นฟู

สถานการณ์โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว โดยหนี้ครัวเรือนพุ่งไปถึง 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็น 90.5% ของ GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 88,138 ล้านบาท

จิ้นยูนิฟอร์มนักกีฬาทีมชาติไทยใน Olympic 2024

ตั้งแต่วันที่นายกฯ ญี่ปุ่นขโมยซีนด้วยการแปลงร่างเป็นมาริโอ้ในพิธีปิดโอลิมปิกปี 2016 จนถึงพิธีเปิดของกีฬาโอลิมปิก 2020 ณ แดนอาทิตย์อุทัย ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนน่าจดจำ ชวนให้เราอยากติดตามและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งแรงใจเชียร์พลพรรคนักกีฬาทีมชาติไทย  แต่สิ่งที่ขัดใจพวกเราไม่น้อย จนกลายเป็นดราม่าที่ทุกคนพูดถึงกัน ก็คือเครื่องแต่งกายของทีมชาติไทย ตั้งแต่ชุดสูทเดินขบวนที่ขาดสีสันความน่าจดจำ ยังคงอนุรักษ์รูปแบบเสมือนดีไซน์ประจำชาติไว้ตั้งแต่ปี 1988 อย่างไม่คิดจะเปลี่ยนแปลง  หรือดราม่าเรื่องชุดการแข่งขัน จนเราต้องตั้งคำถามทุกครั้ง เมื่อเห็นเหล่านักกีฬาต้องคอยถกแขนเสื้ออยู่ตลอดเวลาที่ลงสนาม และสงสัยว่าเป็นความเคยชินของนักกีฬา หรือเป็นเพราะการออกแบบที่ไม่คำนึงถึงการใช้งานจริงกันแน่ เพราะชุดเดินขบวนในพิธีเปิดเปรียบเหมือนเป็นหน้าตาของประเทศ และส่งผลถึงประสิทธิภาพในการแข่งขันของนักกีฬาทีมชาติ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบชุดกีฬาของทัพนักกีฬาไทย เพื่อโอลิมปิกครั้งหน้าที่ปารีส 2024 แบบฉบับ Concept Design ดึงภาพลักษณ์ความเป็นไทยแบบแคชชวลแต่ชาวต่างชาติต้องร้องอ๋อ เช่น ผ้าสามสี กางเกงลายช้าง เสื้อลายเสื่อกกลายขิด ออกมาใช้ให้สร้างสรรค์และน่าจดจำกันสักหน่อย …ชุดนักกีฬาไทยในใจของคุณๆ เป็นยังไงบ้าง ไหนลองแชร์ให้ฟังหน่อย นอกจากชุดกีฬาจะเป็นหน้าตาของประเทศแล้ว ยังส่งผลต่อการแข่งขันทั้งทางตรงและทางอ้อม เราจึงเห็นพัฒนาการของอุปกรณ์หรือชุดกีฬาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการออกแบบอุปกรณ์ทางกีฬา อยู่ภายใต้แนวคิดว่า ทำอย่างไรให้นักกีฬา Perform ได้ดีขึ้น เป็นสารตั้งต้นง่ายๆ ที่ทำให้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะทุกท่วงท่าในการเคลื่อนไหวของนักกีฬาล้วนสัมพันธ์กับอุปกรณ์และเครื่องสวมใส่ทั้งสิ้น เรื่องเล็กๆ อย่างการถกแขนเสื้อแค่หนึ่งครั้ง อาจหมายถึงการเสียแต้มสำคัญ […]

บ้านทดลอง Home Isolation เมื่อโควิดอาจจะอยู่กับเราไปอีกนาน

ตัวเลขที่ฉุดไม่อยู่ส่งผลให้เตียงผู้ป่วยในระบบสาธารณสุขไม่เพียงพอ จนเกิดมาตรการเสริมแก้วิกฤติที่เรียกว่า Home Isolation หรือการพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านทางเลือก และทางรอดใหม่ แทนการรักษาตัวที่โรงพยาบาล  ตัวเลขน่าสนใจอยู่ที่ผู้ป่วยสีเขียว หรือผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ อาการน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก ตาแดง ซึ่งนับเป็น 80% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมด และเป็นกลุ่มที่สามารถทำการพักรักษาตัวอยู่บ้านด้วยการทำ Home Isolation ได้ หากทุกคนที่ติดเชื้อสามารถกักตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยให้ปัญหาเตียงไม่พอทุเลาลงอย่างมาก จนเกิดคำถามที่ว่า หากโควิดไม่ใช่โรคเดียวที่เราต้องทำ Home Isolation ถ้าในอนาคตมีโรคระบาดเกิดขึ้นอีก บ้านที่เราอาศัยอยู่ควรมีหน้าตาแบบไหน คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากชวนทุกคนไปจินตนาการบ้านทดลองภายใต้กฎเหล็กของ Home Isolation อย่างสวมใส่หน้ากากตลอดเวลา อยู่ห่างจากผู้อื่น 1 – 2 เมตร หรือห้ามใช้ห้องน้ำร่วมกัน แต่ถ้าเรายังอยากอยู่ด้วยกันเหมือนปกติ รูปแบบการอยู่อาศัยของเราจะเป็นอย่างไรหากเราต้องอยู่กันแบบนี้ตลอดไป หากพูดว่าเราอาจจะต้องทำการ Home Isolation ตลอดไป ภาพในหัวคงจะเหมือนหนัง Sci-Fi Dystopia ที่ชวนเศร้าใจไม่น้อย เราคงจะได้เห็นการใช้ชีวิตคู่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ถูกเนื้อต้องตัวกัน ใช้ชีวิตในโลกภายนอกด้วยการสวมใส่หน้ากากอนามัย […]

ติด Covid-19 รัฐจ่ายอะไรให้บ้าง?

แม้จะมีข่าวโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินเพิ่มอยู่เป็นระยะ แต่ถ้าว่ากันตามกฎหมายแล้วผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการรักษา ‘ฟรี’ เนื่องจากเป็นโรคติดต่ออันตราย และถือว่าผู้ติดเชื้อเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินต้องได้รับการรักษาทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนที่จะส่งบิลไปเรียกเก็บกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แล้วรัฐออกอะไรให้เราบ้าง แต่ละกระบวนการมีราคาเท่าไหร่ สิทธิ์ของเรามีแค่ไหน ดูกันได้ที่นี่ ค่าตรวจ 2,300 บาท  ราคาแรกที่รัฐต้องจ่ายเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อมีหลายวิธีด้วยกัน แต่ถ้าเป็นการคัดกรองเฉพาะบุคคลไม่ได้ตรวจหาเป็นกลุ่มจะนิยมด้วยกัน 2 วิธีคือ RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเพราะมีความแม่นยำสูงตรวจได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายและทราบผลได้ใน 24 ชั่วโมง และอีกวิธีคือ Rapid Antigen Test ที่ใช้งานง่ายกว่าและทราบผลได้ในเวลาไม่เกิน 30 นาที ข้อเสียคือไม่สามารถตรวจหาเชื้อโรคที่ปริมาณน้อยได้ ทำให้ไม่แม่นยำเท่า RT-PCR ซึ่งแต่เดิมตรวจฟรีเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสัมผัสสูง แต่ปัจจุบันมีการเปิดจุดตรวจฟรีเพิ่มขึ้นในพื้นที่เสี่ยงโดยใช้วิธี Walk-in หรือรับบัตรคิวล่วงหน้า  RT-PCR 2,300 บาท  Rapid Antigen Test 1,200 บาท เฉพาะในกรณีฉุกเฉิน (*หากตรวจร่วมกับ RT-PCR ไม่เกิน 500 บาท)  รายละเอียดเพิ่มเติม : shorturl.at/envIJ ค่ารักษา […]

จาก รพ.ราชพฤกษ์ ขอนแก่น เป็น ‘โรงพยาบ้าน’ เยียวยาผู้ป่วย ด้วยสถาปัตย์บำบัดเหมือนอยู่บ้าน

โรงพยาบาลคงไม่ใช่สถานที่ที่คนอยากแวะเวียนเข้าไปถ้าไม่มีเหตุจำเป็น เพราะเป็นสถานที่ที่ไม่ชุบชูใจ เป็นสถานที่สำหรับคนป่วย บ้างก็วุ่นวายแออัด จะเดินไปไหนหลงทางเกะกะเจ้าหน้าที่ ยิ่งถ้าไม่ใช่ผู้ป่วยแล้วก็ไม่รู้ว่าจะเอาตัวเองไปอยู่ตรงไหน สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ที่โรงพยาบาลราชพฤกษ์ ขอนแก่น นำมาคิดหาคำตอบ เปลี่ยนโรงพยาบาลเป็น ‘โรงพยาบ้าน’ จนได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น Silver Award ประจำปี 2563 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ รพ.ราชพฤกษ์ มีส่วนประกอบต่างๆ ที่ทำให้เรานึกถึงบ้าน ทั้งยังเอื้อต่อการเยียวยาผู้ป่วยในมิติต่างๆ เช่น สวน ที่เป็นธรรมชาติบำบัด โดยเน้นเพิ่มพื้นที่สีเขียวรอบๆ อาคารและสร้างพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ไว้ใจกลางอาคาร เพื่อสร้างความร่มเย็นกายใจให้ผู้ใช้ ต่อมาคือ ห้องพระ สำหรับจิตวิญญาณบำบัด ที่มีพื้นที่สำหรับปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาไว้หลากหลาย เช่น ห้องละหมาด ห้องคริสต์ ห้องพระ และยังมีรูปเคารพและข้อคิดไว้สร้างพลังใจให้ผู้ป่วยและบุคลากรอีกด้วย อีกที่คือห้องนั่งเล่น สำหรับกิจกรรมบำบัด พื้นที่จัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อคลายเครียด เช่น กิจกรรมดนตรี กิจกรรมในวาระสำคัญเช่นวันแม่ กิจกรรมรดน้ำดำหัวในวันสงกรานต์ และพื้นที่ ห้องรับแขก สำหรับ มิตรภาพบำบัด ที่ที่ครอบครัวของผู้ป่วยได้มาพูดคุยปรับทุกข์ มีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อให้เข้ากับวัฒนธรรมการอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ของชาวไทยอีสาน โดยรวมแล้วตัวอาคารเองก็ยังเป็นเหมือน บ้าน หรือ […]

COVID-19 ทำคนตกงานมากที่สุดในรอบ 10 ปี

ความล้มเหลวในการจัดการปัญหาวิกฤติการณ์โควิด-19 ของประเทศไทย ที่นับวันตัวเลขการติดเชื้อพุ่งกระจายขึ้นเหมือนดอกเห็ดจนอาจจะมากถึงหลักหมื่นต่อวัน ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขอาจจะล่มสลายได้  ทว่าความรุนแรงของพิษจากไวรัสร้ายโควิดกลับมากไปกว่าการเกาะกินสุขภาพของประชาชน แต่หมายรวมถึงการเกาะกิน ‘ระบบเศรษฐกิจไทย’ อย่างไม่มีชิ้นดี  รายงานของกระทรวงแรงงานเผยว่า ในเดือนพฤษภาคม ปี 2564 มีผู้ว่างงานในระบบประกันสังคมจำนวน 303,984 คน และผู้ว่างงานจากสาเหตุการถูกเลิกจ้างจำนวน 91,794 ซึ่งหากดูเพียงตัวเลขและกราฟจะเห็นว่าสถานการณ์ในภาคเศรษฐกิจของประเทศไทยกำลังมีแนวโน้มที่จะดีขึ้น เพราะตัวเลขผู้ว่างงานลดลง  เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดือนกันยายนปี 2563 ที่ผ่านมา จะเห็นข้อแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะช่วงเวลาดังกล่าวมีอัตราการว่างงานจากสาเหตุการเลิกจ้างสูงถึง 242,114 คน นับเป็นตัวเลขที่สูงเป็นประวัติการณ์ของประเทศในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา รุนแรงเสียยิ่งกว่า วิกฤติการณ์แฮมเบอร์เกอร์ปี 52 ที่มีสถิติคนตกงานสูงสุดอยู่ที่ 83,109 คน และวิกฤติการณ์น้ำท่วมปี 54 ที่มีสถิติสูงสุดที่ราว 42,689 คนเสียอีก  แต่ความน่ากังวลใจคือ แม้อัตราว่างงานกำลังลดลง ก็นับว่าสูงกว่าวิกฤติเศรษฐกิจที่ผ่านมาไม่น้อยเลยทีเดียว มากไปกว่านั้น สถิติตัวเลขคนว่างงานจากสาเหตุคนเลิกจ้างของกรมแรงงาน เป็นการอ้างอิงสถิติจากผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วยสาเหตุเลิกจ้างในระบบประกันสังคม ยังไม่นับรวมถึงพ่อค้าแม่ค้า คนประกอบอาชีพอิสระ ลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบเฉกเช่นเดียวกัน ซึ่งไม่สามารถระบุเข้าระบบว่ามีอีกเท่าไหร่ที่บาดเจ็บล้มตายจากพิษเศรษฐกิจและพิษของเชื้อไวรัส เป็นที่น่าเศร้าใจว่าท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ที่ตัวเลขการติดเชื้อพุ่งเป็น New […]

สรุปแนวทางล้อมคอกก่อนซ้ำรอยโรงงานระเบิดใกล้ชุมชน

เสียงระเบิดดังสนั่นตอนตี 3 ของเช้าวันที่ 5 กรกฎาคม เป็นต้นเหตุของแฮชแท็ก #โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้ กลายเป็นประเด็นร้อนประจำสัปดาห์ที่ประชาชนทั่วทุกสารทิศต่างให้ความสนใจ ทั้งภาพความเสียหายจากแรงระเบิดของบ้านเรือน ภาพไฟกำลังลุกไหม้และควันดำพวยพุ่งขึ้นฟ้า หรือภาพมุมสูงทำให้เห็นความใกล้ของระยะโรงงานและชุมชน ส่งผลให้ประชาชนตั้งข้อสงสัยที่ตั้งโรงงานอยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยได้หรือ ก่อนพาทุกคนไปหาคำตอบที่สงสัย ‘โรงงานกิ่งแก้ว’ หรือ ‘บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด’ เป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกสัญชาติไต้หวัน ก่อตั้งขึ้น พ.ศ. 2532 บริเวณซอยกิ่งแก้ว 21 จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพจากดาวเทียม LANDSAT-5, Sentinel-2 และ Thaichote (ไทยโชต) เผยให้เห็นที่ตั้งโรงงานในอดีตอยู่กลางทุ่งนา ภายหลังเกิดการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นหมู่บ้านจัดสรร สนามบินสุวรรณภูมิ หรือห้างสรรพสินค้า กลายเป็นชุมชนเมืองขนาดใหญ่รอบโรงงาน โรงงานผิดที่ตั้งอยู่ในชุมชน? อย่างที่เรารู้กันว่า ‘กฎหมายผังเมือง’ มีแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือผังสี เพื่อบอกประเภทการใช้งาน ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย สถาบันการศึกษา ไปจนถึงเกษตรกรรม ซึ่งจากการสืบค้นข้อมูลบนเว็บไซต์กรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่า ‘บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด’ จัดตั้งขึ้นก่อน ‘ผังเมืองรวมสมุทรปราการ พ.ศ. 2537’ (ฉบับแรก) […]

FYI

ชวนดูระบบ SMS ข้อความเตือนภัยฉุกเฉินจาก 4 ทวีปทั่วโลก

ข้อความฉุกเฉินเตือนภัยในแต่ละประเทศจะถูกแจ้งผ่านทางทีมรัฐบาล หรือส่งตรงจากนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่ง ณ ขณะนั้น ซึ่งแท้จริงแล้วข้อความเหล่านี้ ถูกส่งผ่านระบบ ‘Cell Broadcast (CB)’ ที่เป็นวิธีการส่งข้อความผ่านทางระบบเครือข่ายมือถือไปยังผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลายคนในพื้นที่ในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์ ทั้งยังส่งได้ผ่านระบบไร้สายและตามสาย ด้วยความยาวสูงสุดได้ถึง 1,395 ตัวอักษร โดยการส่งต่อข้อความฉุกเฉินถึงผู้คนหลายล้านคน หลากหลายภาษา ตามมาตรฐานจะใช้เวลาเพียง 10 วินาทีเท่านั้น ซึ่งกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของโทรศัพท์มือถือที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สามารถรองรับ Cell Broadcast ได้แล้ว แอบกระซิบว่าสามารถตั้งค่าในโทรศัพท์มือถือได้ทั้งระบบ iPhone และ Android ซึ่งในแต่ละทวีปจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นตามไปดูกัน 01 | ทวีปยุโรป : EU-Alert / Everbridge Public Warning เราเริ่มต้นพาไปส่องการแจ้งเตือนภัยทางฝั่งยุโรป ที่มีเครือข่ายและพื้นที่ค่อนข้างใหญ่พอสมควร ซึ่งมีชื่อว่า ‘EU-Alert’ โดยแต่ละประเทศให้ความสำคัญแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้นๆ ด้วยการแทนอักษรย่อประเทศ เช่น NL-Alert : ประเทศเนเธอร์แลนด์GR-Alert : ประเทศกรีซ LT-Alert […]

ทำไมต่างประเทศถึงรื้อทางด่วน

แท็กซี่ : สวัสดีครับ ไปไหนครับสมศรี : ไปสนามบินดอนเมืองค่ะ ขึ้นทางด่วนเลยนะพี่ หนูรีบ! ในวันที่เร่งรีบ การเดินทางด้วย ‘ทางด่วน’ คงเป็นตัวเลือกอันดับแรกที่คนเมืองใช้เพื่อหลีกหนีการจราจรที่หนาแน่นในกรุงเทพฯ และย่นระยะเวลาให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้เร็วขึ้น ซึ่งพอมองดูแล้วการมีทางด่วนก็ทำให้ชีวิตการเดินทางของเราง่ายขึ้นนี่นา แล้วทำไมอยู่ๆ ต่างประเทศถึงลุกขึ้นมารื้อทางด่วนกันนะ ‘ทางหลวงที่ควบคุมการเข้าถึง’ หรือที่เรียกกันว่า ‘ทางด่วน’ (Expressway) เป็นทางหลวงประเภทหนึ่งที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้เราเดินทางได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ซึ่งตามหลักแล้วตลอดเส้นทางจะมีเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวก มีแสงสว่าง จุดพักรถ รวมไปถึงระบบตรวจจับความเร็ว อาจเปิดให้ใช้ในลักษณะถนนที่เก็บค่าผ่านทางหรือไม่ก็ได้ ‘ลองไอส์แลนด์มอเตอร์พาร์กเวย์’ (Long Island Motor Parkway) ในเกาะลองไอส์แลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา คือทางด่วนเส้นแรกของโลก สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 เพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของรถยนต์ รวมถึงความต้องการที่จะเดินทางให้รวดเร็วมากขึ้น โดยทางด่วนเส้นนี้เปิดใช้งานครั้งแรกเมื่อปี 1908 เป็นถนนที่ประกอบด้วยฟังก์ชันทันสมัยหลายอย่าง เช่น พื้นเอียงบริเวณทางโค้ง ราวกันอันตราย คอนกรีต และยางมะตอยเสริมแรง มีประโยชน์ขนาดนี้ แล้วทำไมถึงยังรื้อทิ้ง ‘เกาหลีใต้’ เป็นเรื่องที่เราประหลาดใจพอสมควร เมื่อได้ยินข่าวว่าเกาหลีใต้ได้ตัดสินใจรื้อทางด่วนสายสำคัญในกรุงโซลทิ้ง และแทนที่ด้วยเลนสำหรับรถบัสที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทางด่วนดังกล่าวหรือที่คนเกาหลีเรียกว่า […]

Urban Wildlife : กรุงเทพฯ เมืองสัตว์ๆ ออกแบบให้คนและสัตว์อยู่ร่วมกันดียิ่งขึ้น

ชวนเข้าป่าในเมือง พร้อมออกแบบที่ทางให้เหล่าสัตว์ในเมือง เพื่อให้พวกมันได้อยู่ร่วมกันกับพวกเราชาวมนุษย์ได้อย่างสมดุลและดียิ่งขึ้น

สำรวจคลัสเตอร์แคมป์คนงาน ส่องมาตรการควบคุมโควิดดีพอหรือยัง?

ขณะที่คลัสเตอร์แคมป์คนงานยังคงออกข่าวอยู่เรื่อยๆ ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ก็เพิ่มขึ้นทวีคูณ ด้วยจำนวนแรงงานที่ง่ายต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวงกว้าง และส่งผลกระทบตั้งแต่แรงงานระดับรากหญ้าไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศ เราจึงชวนมาสำรวจความเป็นอยู่ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่างๆ พร้อมส่องมาตรการในแคมป์คนงานว่ารัดกุมมากน้อยแค่ไหน

1 21 22 23 24 25 47

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.