‘หนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมฉายในไทยยากจัง’ ส่องปรากฏการณ์หนังไทยไม่มีที่อยู่

เมื่อไม่นานมานี้มีประเด็นหนังไทยถึงสองเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ถึงแม้จะเป็นคนละประเด็นก็ตาม เรื่องหนึ่งประสบปัญหาการถูกลดรอบฉายหนัง ส่วนอีกเรื่องต้องเลื่อนฉายเพราะเนื้อหาไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ทำให้เราสงสัยว่า ทั้งๆ ที่เป็นหนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมการฉายหนังในประเทศบ้านเกิดถึงยากเหลือเกิน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนมาร่วมกันหาคำตอบของปัญหาหนังไทย ว่าทำไมการฉายหนังไทยสู่สาธารณะในไทยถึงเป็นเรื่องยาก และความยากนี้ส่งผลถึงวงการหนังอย่างไรบ้าง พร้อมกับฟังความคิดเห็นจากมุมของคนทำหนังอย่าง ‘บี๋-คัทลียา เผ่าศรีเจริญ’ โปรดิวเซอร์หนังอิสระ ที่ต้องประสบปัญหาเหล่านี้โดยตรง หนังไทยเข้าโรงทั้งทีต้องมีประเด็น อุตสาหกรรมหนังไทยถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมจากภาครัฐ ค่าตอบแทนแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับชั่วโมงการทำงาน คนไทยไม่สนับสนุนหนังไทยด้วยกันเอง หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของหนังไทยที่มักโดนนำไปเปรียบเทียบกับหนังต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาข้างต้นที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาหนังไทยที่มักพูดถึงกันอยู่เรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงทุกครั้งที่มีหนังเตรียมฉาย มีแผนจะฉาย กำลังจะฉาย และฉายแล้วในโรงภาพยนตร์คือ เรื่องความไม่ยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อวงการหนังไทย อย่างประเด็นของการลดจำนวนรอบฉายหนังเรื่อง ‘ขุนพันธ์ 3’ ที่เป็นการตัดโอกาสจนอาจทำให้ผู้สร้างไม่กล้าลงทุนกับหนังไทย หรือเรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ที่เกือบไม่ได้ฉายเพียงเพราะใช้แค่การตัดสินใจของคณะกรรมการเป็นหลักมากกว่าการทำความเข้าใจการสื่อสารของตัวหนัง การถกเถียงถึงประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลเสียกับวงการหนังไทยแต่อย่างใด แต่เป็นการจุดประกายเพื่อให้คนสนใจและหันมาให้ความสำคัญของการมีอยู่ของหนังไทยมากขึ้น เพราะเราเชื่อว่ายังมีคนจำนวนมากที่มองเห็นศักยภาพของหนังไทย และยังรอวันที่จะเห็นหนังไทยมีพื้นที่ในประเทศไทยมากกว่าเดิม เข้าพร้อมหนังดังก็ต้องทำใจ หลายคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์เช็กรอบหนังว่าตอนนี้มีหนังเรื่องใดฉายบ้าง แต่กลับพบว่าเกินกว่าครึ่งของรอบหนังที่เข้าฉายทั้งหมดในวันนั้นคือหนังเรื่องเดียวกัน ทำให้หนังเรื่องอื่นต้องแบ่งสันปันส่วนเวลาและโรงฉายเพื่อให้มีพื้นที่ในการเข้าถึงผู้ชม  ถึงแม้จะไม่ใช่แค่หนังไทยอย่างเดียวที่ต้องเจอกับการเบียดโรงจากหนังฟอร์มยักษ์แบบนี้ แต่หลายๆ ครั้งก็มักเป็นหนังไทยทุกทีที่ถูกตัดโอกาส จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่มีทางแก้เสียที การลดจำนวนรอบฉายอาจไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าหลายคนเชื่อว่า ถ้าหนังดียังไงก็มีคนดู แต่ในทางกลับกัน คนดูจะรู้ได้อย่างไรว่าหนังเรื่องนั้นดีหรือไม่ หากรอบฉายและระยะเวลาที่ฉายมีน้อยจนไม่มีทางเลือกอื่น สุดท้ายแล้วหนังเรื่องนั้นๆ […]

ไขข้อข้องใจ จอดรถบริเวณไหนผิดกฎหมายและเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

ปัญหาหนึ่งที่ผู้ขับขี่ยานพาหนะบนท้องถนน โดยเฉพาะในตัวเมืองกรุงเทพฯ ต้องเจอบ่อยๆ คือการ ‘ไม่มีที่จอดรถ’ ไม่ว่าจะเป็นตอนไปกินข้าวตามร้านอาหาร ทำธุระ หรือแม้กระทั่งในซอยบริเวณบ้านของตนเองก็ตาม ถ้าเป็นเส้นทางหลักที่มีแถบสีของฟุตพาท แดง เหลือง หรือดำ กำกับไว้ ก็คงไม่ใช่เรื่องเข้าใจยากเท่าไหร่ แต่สำหรับพื้นที่ในตรอกซอกซอย เราจะรู้ได้อย่างไรว่าที่ไหนจอดได้หรือไม่ได้บ้าง คอลัมน์ Curiocity พาไปไขข้อข้องใจเรื่องนี้ ด้วยการเปิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจอดรถ ตั้งแต่จอดตรงไหนผิดกฎหมายบ้าง ถ้าบังเอิญจอดในพื้นที่ผิดกฎหมายจะต้องเจอกับอะไร และถ้าเราเป็นผู้เดือดร้อนจากกรณีดังกล่าวจะทำอะไรได้มากน้อยแค่ไหน จอดตรงไหนผิดกฎหมายบ้าง นอกจากการจอดยานพาหนะทางบกไว้ในพื้นที่ของตนเองที่มีรั้วรอบขอบชิด เพื่อความถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ตามกฎหมายผู้ขับขี่รถยนต์ไม่มีสิทธิ์จอดรถในทางสาธารณะหรือพื้นที่เอกชนโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากจะมีความผิดตาม ‘พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 55’ ในหมวด 4 เรื่องการหยุดและจอดรถที่ว่าด้วยการมิให้ผู้ขับขี่หยุดรถใน 7 กรณี ดังนี้ 1) ในช่องเดินรถ เว้นแต่หยุดชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถในกรณีที่ไม่มีช่องเดินรถประจำทาง2) บนทางเท้า3) บนสะพานหรือในอุโมงค์4) ในทางร่วมทางแยก5) ในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามหยุดรถ6) ตรงปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ7) ในเขตปลอดภัย พูดง่ายๆ ว่า ถึงแม้เราจะจอดรถในซอยหรือบริเวณหน้าบ้านตัวเองก็อาจผิดกฎหมายได้ หากมีลักษณะตรงตาม 7 กรณีที่กล่าวมาข้างต้น หากผิดกฎหมาย […]

แผนการพัฒนาชีวิตชาวเมืองใน Attack on Titan ให้อยู่บนเกาะสวรรค์ได้อย่างมีความสุข

“ฉันเชื่อมาตลอดว่าอีกฟากของทะเลนั้นมีอิสระ แต่ว่ามันไม่ใช่ สิ่งที่อยู่อีกฟากคือศัตรู ถ้าเราฆ่าคนอีกฟากได้หมดเราจะเป็นอิสระกันได้งั้นเหรอ” – เอเรน เยเกอร์ ติดตาม Attack on Titan มาจนถึง The Final Season Part 3 แล้ว หลายครั้งก็แอบจินตนาการว่า หากเราเป็นชาวเอลเดียในบทบาทของชาวบ้านธรรมดาทั่วไป จะใช้ชีวิตบนเกาะสวรรค์อย่างมีความสุขได้อย่างไร ถ้าต้องคอยเอาชีวิตรอดจากการรุกรานของไททัน แถมดูเหมือนว่าความเป็นอยู่ของเมืองก็ยังไม่ค่อยจะเอื้อให้อยู่รอดจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตเสียด้วย คอลัมน์ Urban Isekai ชวนมาวางแผนและหาทางพัฒนาเมืองหลังกำแพงสูงกัน จะทำอย่างไรให้ชาวเมือง Mitras บนเกาะสวรรค์แห่งนี้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่ดีขึ้น แม้ว่ายังต้องหาหนทางเอาชีวิตรอดจากการบุกรุกของไททันก็ตาม ซาซาเงโย! ซาซาเงโย จงอุทิศด้วยหัวใจ! สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างชาวเอลเดียและชาวโลก หลังจากที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมานาน ก็ถึงเวลาที่ชาวเอลเดียจะได้มีเพื่อนบ้านสักที ด้วยการเปิดเกาะและส่งตัวแทนไปผูกสัมพันธ์กับเมืองรอบนอก เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบคนทั่วไป และนำเอาเทคโนโลยีก้าวหน้าจากพื้นที่อื่นๆ เข้ามาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมืองให้เท่าทันโลก หรือนำมาใช้พัฒนากองทัพเพื่อสร้างความแข็งแรง รองรับการบุกรุกของไททันได้อย่างเต็มที่ รวมถึงสร้างความเข้าใจกันผ่านประวัติศาสตร์ของทั้งสองฝ่าย ให้การศึกษาชาวเมือง ชาวเมืองหลายคนยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง แถมเรื่องราวนอกกำแพงยังกลายเป็นเรื่องต้องห้าม ทำให้เอเรนและอาร์มินในวัยเด็กต้องแอบอ่านหนังสือของคุณปู่ ถึงจะรู้เรื่องราวของมหาสมุทรกว้างใหญ่ภายนอกกำแพง ดังนั้นเราจะปรับเปลี่ยนและพัฒนาการศึกษาให้กระจายไปในทุกพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าอยู่เขตไหนก็จะได้เรียนหนังสือ เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆ ให้ชาวเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความก้าวหน้าของโลกภายนอกกำแพง ข้อมูลความถูกต้องของประวัติศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน […]

Beat the Heat in Bangkok ทำกรุงเทพฯ ให้กลับมาเย็นอีกครั้ง

ในปัจจุบันที่กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยไอความร้อนจากการเผชิญหน้ากับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอก ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง เคยลองคิดกันเล่นๆ ไหมว่า ถ้าเราสามารถทำให้หน้าร้อนของเมืองไทยที่มีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีมีอุณหภูมิลดลงได้ หน้าตาของเมืองกรุงเทพฯ จะแตกต่างไปจากปัจจุบันและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้นได้มากน้อยขนาดไหน วันนี้คอลัมน์ Urban Sketch จึงขอหยิบเอาแผนพัฒนาเมืองบางส่วนของประเทศสิงคโปร์อย่าง ‘Cooling Singapore’ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อลดภาวะ UHI ภายในเมือง มาออกแบบกรุงเทพฯ กันใหม่ว่า ถ้าต้องการให้อุณหภูมิเมืองลดลงจะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง 01 | VEGETATION : เพิ่มสีเขียวให้พื้นที่เมือง หากต้องการลดอุณหภูมิเมืองลง สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ ‘พื้นที่สีเขียว’ เนื่องจากพืชโดยทั่วไปมีคุณสมบัติในการแผ่รังสีความร้อนที่ต่ำและสร้างร่มเงา ช่วยลดการสะสมของพลังงานแสงอาทิตย์ภายในเขตเมืองได้ แต่การจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอุณหภูมิภายในเมืองลงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจำเป็นต้องปลูกต้นไม้จำนวนมากพอสมควรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในแนวระนาบหรือแนวดิ่งตามอาคารต่างๆ ก็ตาม การมีสวนสาธารณะขนาดไม่ใหญ่มากแต่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ รอบเมืองอย่างทั่วถึง จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ความเย็นจากพื้นที่ในบริเวณนั้นๆ ส่งผลดีต่อพื้นที่อาคารโดยรอบได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับการมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่งทั่วเมืองอย่างปัจจุบัน แต่สำหรับอากาศของประเทศไทย แค่สวนสาธารณะในแนวราบคงไม่เพียงพอ การปลูกพืชเพิ่มในแนวดิ่งไม่ว่าจะเป็นพืชไม้เลื้อยบริเวณผนังอาคาร ฟาร์มผักบนหลังคา พื้นที่สีเขียวบริเวณอาคารร้าง รวมถึงพื้นที่ว่าง ล้วนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชาวเมืองเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ง่ายขึ้น […]

เปิดสถิติงานสัปดาห์หนังสือย้อนหลัง 5 ปี จริงๆ แล้วคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่

ข่าวการปิดตัวลงของร้านหนังสือจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้หลายคนมองว่าสาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยลง แต่เมื่องานหนังสือวนกลับมาอีกครั้ง เหล่านักอ่านก็ยังให้ความสนใจและเตรียมไปขนหนังสือกลับบ้านกันอยู่ตลอด รวมถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 ที่ใกล้ถึงนี้ ในสถานที่เดิมอันคุ้นเคยอย่างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คอลัมน์ City by Numbers จึงขอพาไปดูสถิติย้อนหลังของงานสัปดาห์หนังสือฯ 5 ปีที่ผ่านมากันว่า จำนวนบูท ยอดผู้เข้างาน และยอดขายในแต่ละปีเป็นอย่างไร สอดคล้องกับความคิดที่ว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่ สถานที่เปลี่ยนไป ทำให้ตัวเลขในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติลดลง โดยปกติแล้ว งานหนังสือครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ จัดขึ้นสองช่วง ได้แก่ ‘งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ’ ในช่วงปลายเดือนมีนาคมคาบเกี่ยวต้นเดือนเมษายนของทุกปี และ ‘งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ’ ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมีสถานที่จัดงานประจำคือ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แต่ในปี 2562 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงนานกว่า 3 ปี ทำให้งานหนังสือทั้งสองช่วงต้องเปลี่ยนสถานที่จัดงาน รวมไปถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบงานเป็นออนไลน์ และเพิ่งได้กลับมาจัดงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อีกครั้งในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 ในเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา  ด้วยสถานที่จัดงานที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการเดินทางที่ไม่สะดวกเท่าเดิม จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้งานหนังสือในช่วง 2 – 3 […]

สำรวจ ‘เมืองทองธานี’ เมืองเล็กในเมืองใหญ่ที่ไม่เคยหยุดเติบโต

“ครั้งล่าสุดที่ไปเมืองทองคือเมื่อไรกันนะ” คนรักบ้านและสวนอาจตอบว่าเมื่อปลายปีที่แล้วที่งานแฟร์ คนรักรถน่าจะไปเดินเล่นงานมอเตอร์เอ็กซ์โปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน หรือหลายคนอาจไปคอนเสิร์ตของศิลปินที่ชื่นชอบเมื่อไม่นานมานี้ ‘เมืองทองธานี’ ไม่ได้ขึ้นชื่อแค่เรื่องอีเวนต์ที่จัดอยู่ตลอดทั้งปี แต่ยังมีที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม ออฟฟิศ ร้านรวงยันห้างสรรพสินค้า ศูนย์ราชการ และสนามกีฬาประเภทต่างๆ โดยเฉพาะฟุตบอล กับการมีสโมสรประจำย่านที่มีแฟนคลับเข้าเส้นไม่ต่างจากสโมสรในต่างประเทศ ปกติแล้วคอลัมน์ Neighboroot มักจะชวนผู้อ่านลงพื้นที่ ย่ำตรอก ออกซอย สำรวจย่านต่างๆ ในเมืองหลวงเป็นหลัก แต่สำหรับครั้งนี้เราขอชวนออกไปปริมณฑลเพื่อนบ้านเมืองหลวง อัปเดตวิถีชีวิตชาวเมืองทอง กินอย่างคนเมืองทอง และเชียร์ฟุตบอลอย่างทีมเมืองทองฯ กันดูบ้าง ‘เมืองทองธานี’ เรียกว่าเป็นเมืองขนาดย่อมๆ ก็ไม่ผิดนัก หากเล่าอย่างคร่าวๆ เพื่อให้รู้จักที่มาที่ไปเร็วที่สุด โครงการอภิมหาโปรเจกต์มิกซ์ยูสนี้เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2533 จากความตั้งใจของบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ที่อยากสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ขยับออกมาในเขตชานเมือง ตามอย่างในฮ่องกง พื้นที่รวมๆ ในเมืองทองธานีสามารถแบ่งได้เป็น 2 โซนหลักคือ โซนที่อยู่อาศัย มีทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยว แบ่งซอยย่อยๆ แยกจากถนนใหญ่ไม่ต่างจากในเมือง วางแลนด์สเคปและผังเมืองในโครงการมาอย่างดี หากโซนแรกมีวิถีชีวิตที่เงียบๆ และไม่ค่อยพลุกพล่าน อีกฟากหนึ่งคงให้ความรู้สึกต่างออกไป เพราะโซนพื้นที่เชิงพาณิชย์-ศูนย์แสดงสินค้า จะคึกคักตลอดทั้งปี สถานที่ที่หลายคนคุ้นชินน่าจะเป็นชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพค […]

‘ซีรีส์วาย’ ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยหรือสื่อที่กำลังทำลายอุตสาหกรรมบันเทิง?

แม้ ‘ซีรีส์วาย’ จะดูเป็นเรื่องแปลกใหม่ในสังคมเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่ปัจจุบันซีรีส์วายได้กลายมาเป็นซีรีส์อีกประเภทหนึ่งที่สามารถครองใจผู้ชมทั้งจอแก้วและโลกออนไลน์ได้อย่างอยู่หมัด โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียอย่างทวิตเตอร์ ที่ไม่ว่าจะคนไทยหรือต่างประเทศต่างก็พูดถึงตัวซีรีส์และนักแสดงจนติดเทรนด์กันอยู่บ่อยๆ ส่งผลให้ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงคนทั่วไปมองว่านี่คือหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในปัจจุบัน อีกทั้งอุตสาหกรรมนี้ยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากสร้างรายได้อย่างมหาศาลทั้งในและนอกประเทศ จนก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่เรียกว่า ‘Y Economy’ แต่ซีรีส์วายจะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ฟังดูดีมีเพียงแง่บวกของประเทศเราได้จริงๆ ใช่ไหม เพราะในอีกมุมหนึ่ง สื่อประเภทนี้ก็เข้ามาสร้างผลกระทบไม่น้อยให้อุตสาหกรรมบันเทิงบ้านเรา จนบางครั้งก็อดสงสัยไม่ได้ว่า หรือจริงๆ แล้วซีรีส์วายกำลังเป็นสื่อที่ทำลายอุตสาหกรรมบันเทิงของไทยอยู่กันแน่ หนังเรียก ‘เกย์’ แต่ซีรีส์เรียก ‘วาย’ เคยสังเกตกันไหมว่า ทำไมเราถึงเรียกภาพยนตร์ที่มีตัวเอกเป็นชายรักชายว่า ‘หนังเกย์’ แต่พอเป็นซีรีส์ที่มีนักแสดงนำรูปแบบเดียวกันกลับเรียกว่า ‘ซีรีส์วาย’ ที่เป็นเช่นนี้เพราะภาพยนตร์ของกลุ่ม LGBTQIA+ ที่เกิดขึ้นในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็น ‘รักแห่งสยาม’ ‘พี่ชาย My Hero’ หรือ ‘My Bromance’ ต่างฉายในช่วงเวลาที่คำว่า ‘วาย’ ยังไม่เป็นที่พูดถึงและใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงบริบทของสังคมไทยก็ยังไม่เปิดรับความหลากหลายทางเพศมากนัก แตกต่างจากการเข้ามาของสื่อบันเทิงในรูปแบบซีรีส์ที่ใช้นักแสดงหลักเป็นเพศชายในประเทศไทยครั้งแรกอย่าง ‘Love Sick The Series’ ที่มีการดัดแปลงบทละครจากนิยายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ถูกเรียกระหว่างกลุ่มนักอ่านและนักเขียนด้วยกันเองว่า ‘นิยายวาย (Y)’ ซึ่งย่อมาจากศัพท์ภาษาญี่ปุ่นคำว่า Yaoi […]

‘คลองแม่ข่า’ สายน้ำเน่าที่กำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นอนาคตของเมืองเชียงใหม่ หรือจะถอยหลังลงคลอง

หากเอ่ยถึง ‘คลองแม่ข่า’ ในปัจจุบัน หลายคนน่าจะนึกถึงทางเดินเลียบคลองสวยๆ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในตัวเมืองเชียงใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้ และเพิ่งได้รับสมญาใหม่ว่าเป็น ‘คลองโอตารุ’ ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่หากย้อนกลับไปถามคนเชียงใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว ทุกคนจะนึกถึงคลองแม่ข่าว่าเป็นแหล่งน้ำเน่าเสีย นั่นคือภาพลักษณ์ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมาสำหรับคนเชียงใหม่  เพราะตลอดหลายปีนั้น ชาวเชียงใหม่ต่างคุ้นเคยกับการได้เห็นและได้ยินการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่ทุกครั้งจะต้องมีนโยบายทำคลองแม่ข่าให้กลับมาใสอยู่ด้วยเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม หลายคนจึงอดไม่ได้ที่จะหมดหวังได้เห็นคลองแม่ข่ากลับมาใส จนกระทั่งปีที่แล้วที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่าใหม่ให้สวยงาม ด้วยภาพสะอาดสะอ้านแปลกใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมา ทำให้คลองแห่งนี้กลับมาได้รับความสนใจจากคนเชียงใหม่จำนวนมาก ก่อนจะขยายไปถึงคนจังหวัดอื่นๆ ที่เดินทางมาเที่ยวเดินถ่ายรูปเล่นที่คลองแห่งนี้ ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่เองก็พยายามจัดให้มีกิจกรรมภายในพื้นที่แห่งนี้อยู่สม่ำเสมอ ชาวเชียงใหม่หลายคนที่ได้มาเดินเล่นที่นี่ ต่างแสดงความยินดีที่คลองแม่ข่ากลับมาเป็นคลองน้ำใส ไม่เน่าเสียอีกแล้ว…แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพื้นที่ที่มีการปรับภูมิทัศน์ให้เดินเล่นกันนั้นเป็นเพียงแค่ระยะ 756 เมตร จากระยะทั้งหมด 11 กิโลเมตรของคลองแม่ข่าในเขตเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงเน่าเสีย มีปัญหา และรอคอยการแก้ไขพัฒนาต่อไป จึงทำให้มีเสียงค่อนขอดขึ้นมา ตั้งแต่ความพยายามเป็นญี่ปุ่นทั้งที่เชียงใหม่ก็มีวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของตนเอง จังหวัดพยายามนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ดีๆ ของพื้นที่คลองบริเวณนี้เพื่อซุกปัญหาคลองแม่ข่าในส่วนอื่นๆ อีกจำนวนมากไว้ใต้ภาพสวยงาม หรือแม้แต่ตำหนิว่านี่เป็นการถอยหลังลงคลอง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะ 756 เมตรของคลองแม่ข่าครั้งนี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป และเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าแม่ข่าเกี่ยวโยงกับผู้คน และมีคนจำนวนไม่น้อยกำลังให้ความสนใจกับลำน้ำสายนี้ คลองแห่งนี้มีความสำคัญต่อเชียงใหม่อย่างไร ทำไมถึงมีหลายองค์กรหลายผู้คนพยายามปรับปรุงให้มันกลับมาดีอีกครั้งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของแม่น้ำสายนี้ คอลัมน์ Report ขอนำเสนอเรื่องราวหลากหลายมิติที่สายน้ำนี้ได้ไปเกี่ยวโยง โดยลองถอยออกจากความเป็นคลองโอตารุ ไม่ต้องถึงกับถอยลงคลอง แค่ถอยมามองและทำความรู้จักกับน้ำแม่ข่า […]

Sexy Red Light District จะเป็นอย่างไรถ้าประเทศไทยทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมาย

‘ประเทศไทย’ ถือเป็นดินแดนแห่ง ‘ศูนย์กลางการค้าประเวณี’ ที่ติดอันดับต้นๆ ของโลก จนทำให้นักท่องเที่ยวมากมายต่างมีหมุดหมายข้ามทวีปมาเพื่อสัมผัสบริการทางเพศหลากหลายรูปแบบ เว็บไซต์ Havocscope ที่เก็บข้อมูลผู้ค้าบริการทางเพศทั่วโลกพบว่า ในปี 2557 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของประเทศไทยสามารถทำรายได้มากกว่าสองแสนล้านบาทต่อปี และอีกห้าปีต่อมาก็ขยับเป็นสองล้านล้านบาท ซึ่งอาจกลายเป็นรายได้หลักของประเทศเลยทีเดียว แม้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยจะเฟื่องฟูและทำรายได้มหาศาล แต่ไฉนการค้าประเวณีในประเทศนี้ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แถมสังคมยังมองว่าธุรกิจเหล่านี้ทำให้เกิดอาชญากรรม การค้ามนุษย์ และยังเป็นเรื่องผิดบาปเพราะขัดต่อศีลธรรมทางศาสนา รวมไปถึงการมีเอี่ยวเก็บส่วยแบ่งกันรวยของเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบและผู้ทรงอิทธิพลต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่อยู่เหนือกฎหมาย และอาจเป็นเหตุผลที่แก้ไม่ได้หากธุรกิจนี้ยังเป็นสีเทา คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองให้ประเทศไทยสามารถปัดเป่าความสกปรกของธุรกิจสีเทานี้ให้กลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความน่าจะเป็นอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น ยกระดับอาชีพ Sex Worker เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบอาชีพ ‘Sex Worker’ หรือผู้ให้บริการทางเพศ มักได้รับการตีตราจากมุมมองทางศีลธรรมของสังคมว่าเป็นอาชีพที่ไร้ซึ่งเกียรติใดๆ และเป็นต้นตอของปัญหาการเกิดอาชญากรรมต่างๆ นั่นเพราะว่าอาชีพ Sex Worker เป็นอาชีพลับเฉพาะ การเปลี่ยนให้มีกฎหมายคุ้มครองการค้าประเวณี ทำให้ธุรกิจค้าบริการทางเพศโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จะช่วยคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆ ของผู้ค้าบริการ รวมถึงการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ได้ เป็นต้น ทั้งกำหนดให้ผู้ค้าบริการมีบัตรประจำตัวสองใบ ได้แก่ ใบประกอบวิชาชีพและใบรับรองสุขภาพ รวมถึงกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบธุรกิจสถานค้าบริการต้องเสียภาษี เพื่อจะได้มีสวัสดิการต่างๆ เฉกเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ปรับพื้นที่และกำหนดเขต Sex […]

Sexploration ล้วงลับ จับปัญหาเรื่องเพศ ที่ทำอย่างไรไทยก็ไม่เปิดกว้างเสียที

ในขณะที่ประเทศไทยเรียกตัวเองว่าเป็น ‘เมืองพุทธ’ และกีดกัน ‘อบายมุข’ ทุกวิถีทาง แต่ต่างชาติกลับรู้จักไทยเพราะ ‘สถานเริงรมย์’ ชื่อดังที่มาจาก ‘การท่องเที่ยวทางเพศ (Sex Tourism)’  เพราะไม่ว่าจะเป็นย่านพัฒน์พงศ์ ซอยคาวบอย ซอยธนิยะ หรือพัทยา เหล่านี้ล้วนเป็นสถานที่สำหรับแสวงหาความสำราญในยามค่ำคืน มีเม็ดเงินสะพัด จนสร้างรายได้มหาศาลให้ประเทศ แต่ไม่ว่าการท่องเที่ยวรูปแบบนี้จะทำรายได้มากแค่ไหน ตัวเลขเหล่านี้กลับไม่เคยถูกนับรวมเข้าไปในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เลยสักครั้ง เพราะการท่องเที่ยวทางเพศไปจนถึงการซื้อขายและเผยแพร่สื่อลามกอนาจาร ยังถือเป็นเรื่องผิดกฎหมายในประเทศไทย และถูกมองในเชิงลบจากประชาชนบางกลุ่ม เนื่องจากได้รับการปลูกฝังและเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนผ่านมุมมองทางศีลธรรม ทำให้เรื่องเพศในไทยเป็นเสมือนเรื่องต้องห้ามที่ไม่สามารถพูดคุยได้อย่างเปิดเผย คอลัมน์ Overview ประจำเดือนกุมภาพันธ์ขอหยิบเอาอีกแง่มุมหนึ่งในสังคมอย่างปัญหาเรื่องเพศออกมาสำรวจกันอีกครั้ง พร้อมชวนหาคำตอบว่าทำไมไทยถึงไม่สามารถเปิดกว้างเรื่องเพศอย่างประเทศอื่นเขาได้เสียที  สถิติการท่องเที่ยวทางเพศในประเทศไทย ถือเป็นเรื่องตลกร้ายอยู่ไม่น้อยที่สถานบริการทางเพศกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศไทย ซึ่งคนไทยและต่างชาติรู้ดี แต่ตำรวจไทยกลับ (แกล้ง) ไม่รู้ จนถึงขนาดว่าในปี 2562 ตำรวจได้ลงพื้นที่สำรวจวอล์กกิ้งสตรีทที่พัทยา แต่กลับไม่พบว่ามีการขายบริการทางเพศในบริเวณนั้น ทั้งๆ ที่หากย้อนกลับไปเมื่อในปี 2557 เว็บไซต์ Havocscope ได้เก็บข้อมูลผู้ขายบริการทางเพศทั่วโลกพบว่า ประเทศไทยมีผู้ให้บริการทางเพศมากกว่า 250,000 คน จากทั้งหมดประมาณ 13.8 ล้านคน คิดเป็นอันดับที่ […]

Meet Cute City เป็นไปได้ไหมหาก ‘กรุงเทพฯ’ จะ ‘โรแมนติก’ มากกว่านี้

อันดับหนึ่งของเมืองที่โรแมนติกที่สุดในโลกคือ ‘ปารีส’ ประเทศฝรั่งเศส เพราะบ้านเมืองที่นั่นมีศิลปะ มีความงามทางประวัติศาสตร์ รวมถึงร้านอาหาร โรงแรม ให้ผู้คนได้อยู่กับความโรแมนติกไปกับทุกช่วงเวลาสุนทรีย์ของชีวิต ‘ซานฟรานซิสโก’ ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเป็นอันดับสอง ที่นั่นมีภูเขาให้มอง มีทัศนียภาพของอ่าวให้ดู มีจุดชมวิว ชมความยิ่งใหญ่ของสะพานชื่อดัง ที่สำคัญมีสวนสาธารณะให้ผู้คนพักผ่อนทำกิจกรรมโรแมนติกได้อีกเพียบ  ส่วนเมืองที่สามได้แก่ ‘อัมสเตอร์ดัม’ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เรียกได้ว่าเป็นเมืองธรรมชาติ ผู้คนใช้จักรยานเดินทางกันเป็นส่วนมาก มีสภาพแวดล้อมที่มีดอกไม้เบ่งบานเป็นสีสันสดใสกันตลอดทั้งปี และยังสามารถนั่งเรือล่องไปในลำคลองมองดูเมืองได้ ทั้งสามเมืองสุดโรแมนติกนี้อ้างอิงมาจากผลสำรวจในปีที่ผ่านมาของ Bounce เว็บไซต์ฝากกระเป๋าชื่อดัง แน่นอนว่าเราไม่สามารถเอาประเทศทั้งหลายเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับเมืองที่เราอาศัยอยู่ได้ แต่พอลองย้อนกลับมามองที่ ‘กรุงเทพมหานคร’ ต้องบอกว่าเมืองหลวงของไทยหาความโรแมนติกได้ยาก เพราะว่าเมืองนี้ได้กลายเป็นเพียงฉากหลังและมีภาพของการทำงานเป็นสิ่งเคลื่อนไหวทุกเมื่อเชื่อวัน  โดยสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แจงจำนวนประชากรของประเทศไทยในปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้คนที่อยู่ใน กทม.นั้นมีจำนวนถึง 5,494,932 คน ผู้คนมากมายขนาดนี้อยู่กับเมืองที่มีความเร่งรีบขึ้นเรื่อยๆ ติดกับงานที่ต้องทำเพื่อดำรงตนในยุคสมัยที่เศรษฐกิจย่ำแย่ขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ในวันที่ผู้คนยังคงต้องทำงาน และการเปลี่ยนแปลงสังคมก็ยังมีเรื่องมหาศาลที่ต้องตามแก้ไขกันต่อไป คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นไปได้ให้เมืองเกิดความโรแมนติกมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ชีวิตที่ผูกติดกับความเร่งรีบได้ผ่อนคลายลง เมื่อผู้คนได้มองเมืองที่มีสิ่งโรแมนติกมากกว่าเดิม หวังว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยเป็นความสุนทรีย์ของชีวิต และคอยหล่อเลี้ยงให้ใจดวงน้อยๆ […]

อาคารถล่มในตุรกี เพราะแผ่นดินไหวหนักหรือโครงสร้างไม่ได้มาตรฐาน?

อาคารพังถล่มกว่า 7,000 หลังผู้เสียชีวิตกว่า 41,000 รายผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 100,000 ราย เหล่านี้คือตัวเลขความเสียหายซึ่งเป็นผลพวงจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 แมกนิจูด ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ติดกับพรมแดนประเทศซีเรีย เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ยังไม่รวมถึงประชาชนหลายหมื่นรายที่ยังสูญหาย และผู้รอดชีวิตอีกหลายแสนรายที่ต้องกลายเป็นคนไร้บ้าน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566) ตุรกีถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบเหตุการณ์แผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ทำให้ทางรัฐบาลกำหนดข้อบังคับในการก่อสร้างอาคารให้ปลอดภัยและต้านทานต่อแผ่นดินไหวได้มาตั้งแต่อดีต แต่สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับภัยพิบัติครั้งล่าสุดคือ อาคารที่พังถล่มลงมาจำนวนไม่น้อยเป็นอาคารสร้างใหม่ ซึ่งอาจสอดคล้องกับคำเตือนของผู้เชี่ยวชาญในช่วงหลายปีก่อนว่าอาคารใหม่หลายหลังในตุรกีไม่ปลอดภัย เนื่องจากการทุจริตในพื้นที่และนโยบายของรัฐบาล คอลัมน์ Curiocity พาไปหาคำตอบว่า ความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในรอบร้อยปีของตุรกีเกิดจากอะไร เป็นเพราะแผ่นดินไหวที่รุนแรงเทียบเท่าระเบิดนิวเคลียร์ หรือปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ที่ทำให้ผลกระทบหลังแผ่นดินไหวรุนแรงกว่าควรจะเป็น ประเทศที่อยู่บนแนวรอยเลื่อนเปลือกโลก แผ่นดินไหวคือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยจนเป็นเรื่องปกติในตุรกี เนื่องจากประเทศนี้ตั้งอยู่บนภูมิภาคที่คร่อมอยู่บนแผ่นเปลือกโลกมากถึงสามแผ่น ซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวที่รุนแรง โดยบันทึกทางประวัติศาสตร์ระบุว่า ภูมิภาคนี้เริ่มเกิดแผ่นดินไหวมาอย่างน้อย 2,000 ปีแล้ว ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ ค.ศ. 17 ที่ตอนนั้นได้ทำลายเมืองหลายสิบแห่งพังราบเป็นหน้ากลอง แผ่นดินไหวขนาด 7.5 และ 7.8 แมกนิจูดครั้งล่าสุดในตุรกีและซีเรียเกิดขึ้นบริเวณ ‘แนวรอยเลื่อนอานาโตเลียตะวันออก’ […]

1 8 9 10 11 12 47

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.