The Wall at Songkhla 2022 กิจกรรมเติมแสงไฟให้สงขลาส่องสว่าง ปลุกย่านเมืองเก่าให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

แสงไฟไม่ได้ทำหน้าที่ให้ความสว่างอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจนำไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาเมือง ไปจนถึงกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ให้กลับมาคึกคักได้ด้วย แนวคิดนี้จึงเป็นที่มาของกิจกรรม ‘The Wall at Songkhla 2022’ ที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA และทีมนักออกแบบแสงจากกลุ่ม Lighting Designers Thailand (LDT) ร่วมมือกับเทศบาลนครสงขลาและภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม ชวนทุกคนมาค้นหาเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ของย่านเมืองเก่าสงขลาในยามค่ำคืน ผ่านการออกแบบแสงไฟเพื่อเปลี่ยนกลางคืนในเมืองเก่าสงขลาให้ส่องสว่างและกลับมามีชีวิตอีกครั้ง การจัดแสดงไฟบริเวณ 3 จุดที่เชื่อมโยงกันครั้งนี้ ช่วยให้ทั้งคนในและคนนอกพื้นที่ได้เข้าถึง Hidden Gems และอาจต่อยอดไปเป็นการติดตั้งแสงไฟอย่างถาวรในการช่วยให้ร้านรวงต่างๆ ในท้องถิ่นได้ขยายเวลาค้าขายและต้อนรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นในอนาคต คอนเซปต์การจัดไฟของแต่ละจุดเป็นอย่างไร แสงสว่างเหล่านี้ช่วยให้พื้นที่มีชีวิตชีวามากขึ้นขนาดไหน เราขอชวนทุกคนออกสำรวจเส้นทางเมืองเก่าสงขลาไปพร้อมๆ กัน ภาพงานไฟครั้งนี้แตกต่างจากที่เราจินตนาการกันไว้เล็กน้อย เพราะงานไฟส่วนใหญ่ที่เราเคยได้เห็นมักจะเป็น Installation Art เชิงศิลปะที่เน้นความน่าตื่นตาตื่นใจให้คนได้ถ่ายรูปกัน แต่งานนี้ผู้จัดตั้งใจออกแบบแสงสว่างที่สวยงามและเน้นเรื่องการพัฒนาเมืองเป็นหลักมากกว่า เริ่มกันที่จุดแรกกับ ‘The Wall 1: The Prime Light’ ที่ชุมชนมัสยิดบ้านบน มัสยิดที่เป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางศาสนาของคนในชุมชนเป็นเวลานานกว่า 170 ปี แม้จะเป็นพื้นที่ที่คึกคักมีคนเข้าออกตลอดเวลา แต่เมื่อไม่มีแสงเข้าถึงกลับทำให้บริเวณนั้นมืดมิดจนหลายครั้งคนนอกพื้นที่ไม่รู้หรือดูไม่ออกเลยว่ามีมัสยิดอยู่ตรงนี้ด้วย ทาง LDT จึงเข้ามาออกแบบแสงเพื่อสะท้อนให้เห็นความงามของมัสยิดในยามค่ำคืน […]

Stray Cat in the Sick City รับบทเป็นแมวส้มในเกม Stray ผจญภัยและเอาตัวรอดในกรุงเทพฯ ที่ใกล้ล่มสลาย

ชีวิตในเมืองที่แสนเหนื่อยยากและโลกที่วุ่นวาย ทำให้เราเคยมีความคิดที่แวบขึ้นมาว่า อยากลองเกิดเป็นหมาแมวดูบ้างสักวัน  แล้วจะเป็นอย่างไรถ้าวันหนึ่งเราได้อิเซไกมาเป็นเจ้าแมวส้มจาก Stray เกมที่ให้เราสวมบทบาทเป็นแมวหลง ที่มีคู่หูอย่างเจ้าโดรนจิ๋ว B-12 คอยช่วยเหลือและนำทาง พร้อมกับผจญภัยไปด้วยกันในโลกแห่งอนาคตที่ล่มสลายด้วยฝีมือของมนุษย์ เหลือเพียงหุ่นยนต์ที่วิวัฒนาการขึ้นมาให้มีความนึกคิดและจิตใจ ในเมืองที่ถูกทิ้งร้างไร้ผู้คน Stray เป็นเกมจากค่าย BlueTwelve Studio ที่เปิดตัวไปเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เปิดให้เล่นทั้งในแพลตฟอร์ม Steam, PlayStation 4 และ PlayStation 5 พร้อมกับคะแนนวิจารณ์ที่ดีที่สุดในปีนี้จากผู้เล่นใน Steam หลังจากเปิดตัวไปได้เพียงไม่กี่วัน  สำหรับคนที่เคยเล่นเกมนี้มาแล้ว หรือคนที่ยังไม่เคยเล่นก็ตาม สิ่งที่จะทำให้ทุกคนตกหลุมรักเกมนี้ได้ง่ายๆ ก็คือความน่ารักของเจ้าแมวส้ม นอกจากนั้นก็คงจะเป็นความน่าสนใจของการเมืองผ่าน Perspective ของแมว และเรื่องราวของหุ่นยนต์ที่เราจะได้พบเจอตลอดการเดินทาง พร้อมกับดีเทลเล็กๆ เฉพาะคนรักแมวเท่านั้นที่จะรู้ ถ้าแมวส้มจากเกม Stray ตัวนี้ได้มาร่อนเร่ในมหานครอย่างกรุงเทพฯ ที่สุดแสนจะวุ่นวายและใกล้ล่มสลาย น้องจะได้พบเจอกับอะไรบ้าง และทางออกของปัญหาเหล่านั้นควรจะเป็นอะไร เรามาร่วมลุ้นและผจญภัยไปด้วยกัน Walk Through the Cityเมื่อเจ้าแมวออกเดินทาง การจะเป็นเมืองที่เดินได้ จะต้องมีความปลอดภัยสำหรับผู้คนที่สัญจรไปมา ทั้งบนทางเท้าและท้องถนน และควรมีความปลอดภัยสำหรับสัตว์เลี้ยงด้วย การมีทางเท้าที่ดี สะพานลอยหรือทางม้าลายที่ปลอดภัย ไฟข้างทางที่ส่องสว่าง […]

A Katanyu Comedy Club คลับของคนรักเสียงหัวเราะ ที่ต้องการให้ Comedian รุ่นใหม่ได้มีที่ซ้อมมือ

‘อยากดู Stand-up Comedy ต้องไปที่ไหน’ สำหรับคำถามนี้ ถ้าเป็นเมื่อก่อนเราคงหยุดคิดไปหลายนาที เพราะ ‘Stand-up Comedy Club’ ในไทยที่พอจะรู้จักหรือหาข้อมูลได้ส่วนใหญ่เป็นคลับที่แสดงโดยชาวต่างชาติอย่าง ‘The Comedy Club Bangkok’ หรือ ‘Khaosan Comedy Club’ นั่นแปลว่าถ้าคุณจะชมการแสดงประเภทนี้ ต้องฟังภาษาอังกฤษออก และเข้าใจมุกตลกของพวกเขา แต่หลังจากวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา คงเป็นวันที่เราพูดได้เต็มปากว่าหากต้องการดูโชว์ตลกในรูปแบบ ‘Stand-up Comedy’ โดยนักแสดง Stand-up Comedian ชาวไทย ให้คุณเดินทางไปที่โครงการ Space & Co หลังห้างสรรพสินค้าสามย่านมิตรทาวน์ แล้วคุณจะพบกับ ‘A Katanyu Comedy Club’ คลับเล็กๆ ของคนรักเสียงหัวเราะที่ซ่อนตัวอยู่บนชั้น 2 โดยมี ‘ยู-กตัญญู สว่างศรี’ เป็นหัวหอกสำคัญในการเนรมิตขึ้นมา จากความตั้งใจเดิมที่แค่ต้องการย้ายทำเลร้านกาแฟ Katanyu Coffee กลับกลายเป็นการปรับคอนเซปต์ครั้งใหญ่สู่ A Katanyu […]

“เกษตรอินทรีย์ช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติ” ทางฟื้นเชียงดาวด้วยธุรกิจของ จิราวรรณ คำซาว

เราเชื่อว่า ‘ดอยเชียงดาว’ คือสถานที่ท่องเที่ยวในเชียงใหม่ที่หลายคนหลงรักหรือปักหมุดอยากไปเยือนสักครั้ง เพราะที่นี่มีกิจกรรมไฮไลต์ที่จะพาผู้คนหนีความวุ่นวายในเมือง กลับสู่พื้นที่ท่ามกลางธรรมชาติที่สงบและสวยงาม ตั้งแต่การเดินป่าสำรวจสิ่งแวดล้อม แวะเข้าถ้ำ ลุยลำธารน้ำตก ไปจนถึงการตื่นเช้าขึ้นดอยไปดูทะเลหมอกสุดลูกหูลูกตาแบบฟินๆ ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าดอยเชียงดาวไม่ได้เป็นแค่จุดหมายปลายทางยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่เมื่อปี 2564 ที่นี่ยังได้รับการยกย่องจากองค์การระดับโลกอย่าง ‘ยูเนสโก (UNESCO)’ ให้เป็น ‘พื้นที่สงวนชีวมณฑล’ แห่งที่ 5 ของไทย และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลของโลก พิจารณาจากการรักษาระบบนิเวศดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน การฟื้นฟูพื้นที่เพื่อคืนความสมบูรณ์ให้แก่ธรรมชาติ รวมไปถึงศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของพื้นที่ที่มีระบบการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ ความโดดเด่นทางธรรมชาติและระบบนิเวศของดอยแห่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะการพัฒนาและความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และคนในท้องถิ่นที่มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อส่งต่อระบบนิเวศและทรัพยากรให้คนรุ่นต่อไป วันนี้ เรามีนัดพูดคุยกับ ‘มล-จิราวรรณ คำซาว’ อดีตนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ หนึ่งในหัวหอกสำคัญที่เปลี่ยนวิถีเกษตรชุมชนของเชียงดาวผ่านการเผยแพร่ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรมานานกว่า 10 ปี  มลวัย 35 ปี เคยทำงานเป็นนักวิจัยที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 2 ปี แต่หลังจากเจอปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอาหารปนเปื้อนเคมี เธอจึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อกลับบ้านเกิดที่เชียวดาวไปทำเกษตรอินทรีย์ที่ส่งเสริมทั้งสุขภาพของตนเองและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน  จากนั้นก็ขยับขยายก่อตั้งบริษัทพัฒนา วิจัย และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่าง ‘CNX Healthy Products’ ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ครบวงจร ‘ทุ่งกับดอย’ […]

เปลี่ยนศาลาว่าการ กทม. เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ

สืบเนื่องจากนโยบายของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีแผนย้ายศาลาว่าการ กทม. จากเสาชิงช้าไปย่านดินแดง และเปลี่ยนอาคารหลังเก่านี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของเมืองในอนาคต ด้วยพื้นที่อาคารขนาดใหญ่ประมาณ 7 ไร่ และลานคนเมืองประมาณ 6.5 ไร่ ตีเลขกลมๆ ทั้งหมดเกือบ 14 ไร่ หรือเทียบเท่าพื้นที่ 3 สนามฟุตบอลเลยทีเดียว คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาเปิดพื้นที่รวบรวมไอเดียว่า ศาลาว่าการ กทม. ควรเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์แบบใดจึงจะตอบโจทย์คนเมืองอย่างแท้จริง ผ่านการสัมภาษณ์ตัวแทนในแวดวงต่างๆ เช่น คนรักพิพิธภัณฑ์จากกลุ่ม ‘ไปพิพิธภัณฑ์แล้วหัวใจเบิกบาน’, คนชื่นชอบศิลปะดิจิทัลจากเพจ ‘NFT Thailand’, ตัวแทนกระบอกเสียงคนพิการจากเพจ ‘ThisAble.me’ และเยาวชนที่สนใจเรื่องเมืองจาก ‘เยาวชนริทัศน์บางกอก (ReThink Urban Spaces – RTUS)’ ที่มาช่วยกันดีไซน์พิพิธภัณฑ์ในแต่ละมุมมองที่น่าสนใจ ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาทุกคนไปทัวร์พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ในฝันพร้อมกันตอนนี้เลย! Bangkok Time Machine Museumพิพิธภัณฑ์ท่องประวัติศาสตร์ ย้อนเหตุการณ์กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ ควรเล่าเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งเมืองและเข้าถึงคนทุกกลุ่ม […]

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก

เหมือนเพิ่งจะรู้สึกเศร้าเสียดายกับการปิดปรับปรุงไปไม่นาน แต่รู้ตัวอีกทีก็ผ่านไปเกือบ 3 ปี จนได้เวลาที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้แล้ว แถมยังมีคิวงานยาวเหยียดรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นงานหนังสือซึ่งจะกลับมาสู่บ้านหลังเดิมอีกครั้ง หรือการประชุมใหญ่อย่าง APEC Thailand 2022 ที่เราน่าจะได้เห็นการใช้งานศูนย์ประชุมใหม่แห่งนี้อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ‘ความเป็นไทย’ เราเฝ้าครุ่นคิดถึงนิยามของคำคำนี้ตลอดบทสนทนากับ ‘ออ–อริศรา จักรธรานนท์’ ในห้องประชุมของ ONION บริษัทสถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบและตกแต่งภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ โดยมี Frasers Property Thailand เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง ในโลกที่เปรียบเสมือนหม้อใบใหญ่ เคี่ยวกรำวัฒนธรรมอันหลากหลายเข้าจนบางอย่างแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน อะไรคือสิ่งที่เราพอจะบอกได้ว่านี่แหละคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ภาษา สถาปัตยกรรม ดนตรี หรือว่าอาหาร “สืบสาน รักษา ต่อยอด” คือสามคำที่เธอเล่าว่าเป็นแก่นของการออกแบบในครั้งนี้ สิ่งที่อริศราและทีมต่อยอดออกมานั้น ไม่ใช่ความเป็นไทยในแบบที่จับต้องไม่ได้หรือถูกยกไว้บนหิ้ง แต่เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไม่ประดักประเดิด ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับคนไทยได้ในฐานะศูนย์ประชุมแห่งชาติ แม้จะยังไม่สามารถเข้าไปดูศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ให้เห็นกับตา แต่เราก็ขอให้อริศราช่วยพาเราไปสำรวจเบื้องหลังการรีโนเวตในครั้งนี้ ซึ่งท้าทายตั้งแต่ขนาดพื้นที่ที่รับผิดชอบ อย่างการออกแบบอย่างไรไม่ให้คนเดินแล้วหลง ที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกต่างหาก น้อยแต่มาก ไทยแต่เท่ จากโครงสร้างเดิมของศูนย์ฯ สิริกิติ์ที่สร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 การรีโนเวตครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอ พื้นที่อาคารแห่งใหม่จึงถูกขยายให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่จอดรถเดิม จนได้พื้นที่ใช้สอยรวมกว่า […]

Rayavadee อาณาจักรสีเขียวในกระบี่ที่ให้แขกดื่มด่ำความรุ่มรวยของธรรมชาติและอนุรักษ์ชายหาด

ในบรรดาแหล่งท่องเที่ยวที่เคยไป กระบี่ ประเทศไทย น่าจะติดอันดับต้นๆ บนลิสต์แหล่งท่องเที่ยวในดวงใจของฉัน ธรรมชาติอันรุ่มรวยของทะเลอันดามัน ชีวิตกลางคืนซึ่งไม่เคยหลับใหล และกิจกรรมผจญภัยที่หลากหลาย น่าจะเป็นเหตุผลที่ฉันหาโอกาสไปเยือนกระบี่แทบทุกปี บางครั้งก็ไม่ได้ไปเที่ยวเกาะ แค่ไปเช่าที่พักแถวอ่าวนาง นั่งเปื่อยๆ อยู่ริมหาด แล้วปล่อยให้ลมทะเลตีหน้าก็รู้สึกเหมือนได้ชาร์จแบตฯ แล้ว กระบี่ยังเป็นพื้นที่ที่เซอร์ไพรส์ฉันได้อยู่เสมอ อย่างปีก่อนฉันกับเพื่อนเคยนั่งเรือไปเที่ยวหาดไร่เลย์ กะจะตามรอยหนังเรื่องเฟรนด์โซนฉากที่ตัวละครนั่งริมหาดโดยมีวิวภูเขากลางน้ำอยู่ข้างหน้า ก็เพิ่งมารู้ตอนนั้นว่าต้องเดินลุยน้ำทะเล (ที่ขึ้นมาถึงเอว!) ไปจุดนั้น อีกสิ่งที่เพิ่งรู้เช่นกันคือมันเป็นชายหาดที่อยู่ติดรีสอร์ตแห่งหนึ่ง “ถ้ามารอบหน้า ไม่อยากเดินลุยน้ำมาแล้วอะแก” ฉันบอกเพื่อน กึ่งบ่นกึ่งสัญญา  ตัดภาพมาอีกที ปีนี้ฉันกับเพื่อนได้กลับมาไร่เลย์อีกรอบ ในฐานะแขกของ ‘รีสอร์ตแห่งหนึ่ง’ ที่เล่าให้ฟัง รีสอร์ตนั้นชื่อ รายาวดี ประสบการณ์ระหว่างเข้าพักที่นี่ตอกย้ำว่าฉันคิดถูกเกี่ยวกับกระบี่ คือมันเป็นพื้นที่ที่เซอร์ไพรส์ฉันได้เสมอ เพราะรายาวดีไม่ใช่แค่รีสอร์ตติดหาดที่เปิดโอกาสให้ฉันเชยชมไร่เลย์ได้เต็มตา (แถมไม่ต้องเปียกไปครึ่งตัว) ทว่าที่นี่คืออาณาจักรสีเขียวที่ชวนให้แขกได้รู้จัก รัก และทะนุถนอมกระบี่อย่างแท้จริง ผ่านธรรมชาติ ดีไซน์ที่พัก การบริการ และการทำงานกับชุมชนของพวกเขา อาณาจักรสีเขียวกลางทะเล (ย์) ฉันเพิ่งรู้จากปากของคุณชุมพล จันทะลุน General Manager ของรายาวดีว่าชื่อของหาดไร่เลย์ มาจาก ‘ไร่ที่อยู่กลางทะเล’ ทำไมถึงมี ย์ […]

ความชอบ บุคคลในใจ สถานที่โปรด เมืองในฝัน ของ วาดฟ้า (Wadfah)

บทสนทนานี้เริ่มมาจากการที่ฉันกดฟังเพลงในเพลย์ลิสต์สุ่มของ Spotify ไปเรื่อยๆ จนเจอเพลงที่ร้องว่า “I hate this city.It’s such a pity.I don’t really wanna wake up.” ฟังจนจบจึงได้ไปหาดู MV และรู้ว่าศิลปินเป็นคนไทยชื่อ ‘วาดฟ้า (Wadfah)’ ซึ่งนอกจากเนื้อเพลงที่บอกเล่าถึงความโดดเดี่ยวท่ามกลางเมืองหลวงแล้ว ใน MV เองเธอก็เลือกใช้ฉากหลังเป็นสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ และแต่งแต้มสีสันให้ดูสนุกสนานขึ้น รู้สึกได้ถึงการทับซ้อนกันระหว่างเมืองในฝันและเมืองที่เป็นความจริงของเธอ หากจะบอกว่าเพลง ‘I hate this city’ เป็นหนึ่งในตัวแทนเสียงของคนรุ่นใหม่ที่อยากบอกต่อเมืองนี้ ก็คงไม่ผิดนัก ‘วาดฟ้า’ เป็นหญิงสาววัย 21 ปีที่เติบโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทำงาน NGO และชื่นชอบงานศิลปะกับดนตรี ส่งผลให้ลูกสาวของทั้งสองสนใจประเด็นสังคม พร้อมๆ กับโปรดปรานการทำงานศิลปะและฟังเพลงเล่นดนตรี ก่อนหน้านี้ เธอเคยทำงานออกแบบปก EP Album : Over the Sun – LANDOKMAI และร่วมกำกับ […]

‘พาใจกลับบ้าน’ กิจกรรมที่ชวนหยุดพักเพื่อเยียวยาผ่านหนัง เวิร์กช็อป และ Interactive Art

ทุกวันนี้โลกหมุนเร็วขึ้นทุกวันจนตามไม่ทัน ตั้งแต่ลืมตาตื่นก็ต้องแข่งขัน บางครั้งต้องแกล้งหัวเราะทั้งที่เครียด กดดัน บางครั้งทุกความรู้สึกประดังประเดเข้ามาพร้อมกันจนไม่รู้จะรู้สึกยังไงดี ถ้าคุณเคยผ่านอะไรแบบนี้ ‘พาใจกลับบ้าน’ อาจเป็นกิจกรรมที่คุณต้องการมากที่สุด หลังจากประสบความสำเร็จอย่างดีกับการจัดฉายสารคดีเรื่อง Mental-Verse จักรวาลใจ ในงาน Bangkok Design Week ตอนต้นปี Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบประสบการณ์กลับมาอีกครั้งกับงาน ‘CONNE(X)T HOMECOMING : พาใจกลับบ้าน’ ที่อยากพาทุกคนเดินทางกลับไปสำรวจใจตัวเองซึ่งเป็นดั่งบ้านอีกครั้ง พวกเขาจำลองงานให้เป็นเหมือน Spiritual Village หรือหมู่บ้านทางจิตวิญญาณที่เป็นพื้นที่ปลอดภัย ให้ทุกคนมาตรวจเช็กสุขภาพใจ ปลดปล่อยตัวเองให้เป็นอิสระ และกระโจนเข้าหาความสนุกในกิจกรรมต่างๆ ที่มีทั้ง Interactive Art, การดูหนัง และเวิร์กช็อปเยียวยาใจ  งานจัดที่ชั้น 2 ของ RIVER CITY BANGKOK ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม – 7 สิงหาคมนี้ เวลา 11.00 – 20.00 น. เช็กรายละเอียดของทุกกิจกรรมได้ทางเพจ Eyedropper […]

“คุณภาพชีวิตต้องดี งานสร้างสรรค์จึงเบ่งบาน” สนทนากับสหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ

หากคุณคลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ ข้อความที่คุณกำลังบรรจงอ่านอยู่ คือบทสัมภาษณ์ที่ฉันใช้เวลาขัดเกลาและร้อยเรียงมันออกมาอย่างตั้งใจ ภาพถ่ายประกอบบทความที่คุณมองเห็นล้วนเป็นฝีมือช่างภาพของเรา ที่ใช้ประสบการณ์ของเขาจัดวางองค์ประกอบ และถ่ายทอดออกมาในเวอร์ชันที่ดีที่สุด นี่คงตอบได้ว่างานสร้างสรรค์อยู่ใกล้ตัวคุณ และแฝงอยู่ทั่วทุกมุมของสังคม อะไรที่คุณอ่าน อะไรที่คุณเห็น อะไรที่คุณฟัง อะไรที่คุณชื่นชม ล้วนมาจากการ ‘สร้างสรรค์’ ทว่าความสร้างสรรค์ของเหล่านักสร้างสรรค์หลายคน ต้องชะงักลงเพราะความไม่ยุติธรรมที่พวกเขาเจอในสายอาชีพ ทำไมนักเขียนบางคนถูกกดเงินค่างานเขียนไว้ที่ราคาเดียวมาเป็นสิบปี ทำไมนักวาดบางคนได้รับค่าจ้างไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำไมคนทำหนังชอบทำให้การทำงานหนักๆ โดยไม่สนคุณภาพชีวิตคนกองเป็นเรื่องปกติ ทำไมบางหน้าที่ในกองถ่ายไม่ได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกันทุกคน ทำไม ทำไม และทำไม “พวกเรามีตัวตน เหนื่อยเป็น และงานสร้างสรรค์นั้นสำคัญ” นี่คือสารที่เราอยากส่งออกไปให้ถึงทุกคนในบทความนี้ เช่นเดียวกับ ‘ไนล์-เกศนคร พจนวรพงษ์’ และ ‘อิง-ไชยวัฒน์ วรรณโคตร’ สองสมาชิกผู้ก่อตั้ง ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย’ (Creative Workers Union Thailand) หรือ CUT ที่มุ่งขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม ความปลอดภัยในการทำงานที่เป็นศูนย์ สวัสดิการติดลบ การไม่ถูกให้คุณค่าในงาน หรือแม้แต่สิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่ได้รับ พร้อมเปิดวงวิพากษ์ความเผด็จการทั้งระดับเจ้านายในองค์กรและรัฐบาล  อ่านจบแล้ว ถ้อยคำของพวกเขาอาจจะตรงกับชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ที่บางคนเผชิญอยู่ไม่ทางใดทางหนึ่งก็ได้ และไม่แน่ อาจมีใครบางคนคิดว่า ฉันก็อยากออกมาพูดถึงเรื่องราวการถูกกดทับของตัวเองเหมือนกัน ทำไมถึงเลือกเป็นปากเป็นเสียงให้คนทำงานสร้างสรรค์ […]

กรุงเทพฯ ไฟไหม้บ่อยแค่ไหน? เปิดสถิติปี 2560 – 2565 สาธารณภัยอันดับหนึ่งของกรุงเทพฯ

กรุงเทพฯ ไฟไหม้บ่อยแค่ไหน? เปิดสถิติไฟไหม้ปี 2560 – 2565 สาธารณภัยอันดับหนึ่งของกรุงเทพฯ ในเดือนมิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา มีข่าวไฟไหม้ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ถึง 3 ครั้ง ตั้งแต่เหตุการณ์ที่สีลมซอย 2 บ่อนไก่ ไปจนถึงสำเพ็ง ซึ่งแต่ละครั้งห่างกันเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้น ‘ไฟไหม้’ จึงเป็นภัยอันดับต้นๆ ที่คนกรุงต้องระวังและควรมีแผนป้องกันในอนาคต เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งคือความสูญเสียของประชาชนที่ประเมินค่าไม่ได้  หลายคนอาจตั้งคำถามว่าทำไมช่วงนี้ถึงเกิดไฟไหม้บ่อยครั้ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีไฟไหม้บ่อยมาก ไม่ใช่แค่ช่วงนี้ที่เป็นข่าวเท่านั้น Urban Creature จึงอยากพาไปดูตัวเลขจากสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยว่าแต่ละปีกรุงเทพฯ ไฟไหม้ไปกี่ครั้ง และเกิดขึ้นที่เขตไหนบ้าง  ในระยะเวลา 6 ปี กรุงเทพฯ มีไฟไหม้กี่ครั้ง? ปี 2560 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 2,170 ครั้ง และไฟฟ้าลัดวงจร 785 ครั้งปี 2561 ไฟไหม้หญ้า/ขยะ 1,413 ครั้ง ไฟฟ้าลัดวงจร 654 ครั้งปี […]

ตัวตนและการทำงานของ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์คู่หูผู้ว่าฯ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“สวัสดีคร้าบบบ คุณผู้ชม ขณะนี้เราอยู่ที่สวนลุมพินีครับ” หลายคนคงคุ้นเคยการทักทายเป็นกันเองแบบนี้จาก ‘การถ่ายทอดสด’ หรือ ‘ไลฟ์’ ของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ซึ่งตั้งแต่รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ชัชชาติได้ถ่ายทอดสดภารกิจในแต่ละวัน ตั้งแต่การวิ่งในเมืองแบบ City Run ช่วงเช้าตรู่ การลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน ไปจนถึงการประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ให้ประชาชนได้สำรวจกรุงเทพฯ ไปพร้อมกับผู้ว่าฯ แบบเรียลไทม์แทบจะตลอดทั้งวัน การถ่ายทอดสดของชัชชาติได้รับความนิยมอย่างมาก ไลฟ์แต่ละครั้งมียอดผู้ชมแบบ Real Time ทะลุหลักหมื่นอย่างรวดเร็ว ส่วนคอมเมนต์ก็เพิ่มขึ้นรัวๆ จนอ่านแทบไม่ทัน และมียอดวิวถึงหลักล้าน เราเชื่อว่าความสำเร็จเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความมุ่งมั่นในการทำงาน การเปิดเผยข้อมูลแบบตรงไปตรงมา รวมไปถึงการให้ข้อมูลของชัชชาติที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาเมืองอย่างหลากมิติ ส่วนอีกคนที่ต้องยกเครดิตให้ก็คือ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์เสียงนุ่ม มาดกวนนิดๆ ที่ตั้งคำถามแทนผู้ชมทางบ้านแบบตรงๆ แถมยังคอยแซวและหยอกล้อชัชชาติอย่างเป็นกันเอง ทำให้การไลฟ์สนุก ไม่น่าเบื่อ ดูได้เรื่อยๆ จนหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาเสพติดการดูไลฟ์ชัชชาติงอมแงมชนิดที่ว่าดูแทนซีรีส์ยังได้  วันนี้เราขอพาทุกคนมาพูดคุยกับ ‘หมู-วิทยา ดอกกลาง’ หรือ ‘แอดมินหมู’ จากเพจ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ […]

1 12 13 14 15 16

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.