เวฬาวาริน โรงแรมจากตึกเก่า 100 ปี ที่คืนชีพให้วารินฯ กลับมาคึกคัก

เราได้ยินมาว่า ตอนนี้อีสานสุดจะครึกครื้นและอุบลราชธานีก็เต็มไปด้วยความคึกคัก เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย มีคอมมูนิตี้ของคนรุ่นใหม่ และมีอะไรที่น่าตื่นเต้นเต็มไปหมด สำหรับใครที่มาเที่ยวอุบลฯ แต่ไม่รู้จะไปพักที่ไหน Urban Guide ชวนขับรถต่ออีกสักประมาณ 10 นาที ไปที่เวฬาวาริน โรงแรมที่สร้างจากตึกเก่าอายุร่วม 100 ปี แห่งอำเภอวารินชำราบ ที่ห่างจากตัวเมืองอุบลฯ ไปนิดเดียว แค่ข้ามสะพานเสรีประชาธิปไตยไปก็ถึงแล้ว เวฬาวารินคือโรงแรมที่มีโครงสร้างเดิมเป็นไม้ และตั้งอยู่บริเวณถนนทหารซึ่งสมัยก่อนเป็นย่านที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวา เพราะถ้าย้อนกลับไปหลายสิบปี คนที่จะเข้ากรุงเทพฯ หรือโคราชผ่านทางรถไฟ ก็ต้องแวะมานอนที่ละแวกนี้ก่อนทั้งนั้น แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ถนนหนทางเริ่มดีขึ้น มีสนามบินมาเปิดให้บริการ ความเจริญก็ย้ายไปอยู่ในตัวเมืองอุบลฯ จนย่านนี้เต็มไปด้วยความเงียบเหงา พระอาทิตย์ตกดินเมื่อไหร่ก็เงียบสนิทและมีสถานะเป็นแค่ทางผ่านเท่านั้น จากอาคารไม้ที่มองจากชั้นล่างมีพื้นชั้นบนผุพังจนมองทะลุไปได้ถึงหลังคากลับมาเป็นโรงแรมได้อย่างไร การคืนชีพของอาคารหลังเดียวทำให้ย่านนี้กลับมามีชีวิตชีวาได้เพราะอะไร เราชวนย้อนดูเรื่องราวที่ไหลผ่านเวฬาวารินไปพร้อมกันเลยครับ  เดิมทีอาคารอายุร่วมร้อยปีหลังนี้มีเจ้าของรุ่นดั้งเดิมคือท่านผู้หญิงตุ่น โกศัลวิตร ใช้ตึกนี้เป็นที่เก็บสินค้า และขนถ่ายสินค้าจากแม่น้ำมูล แล้วทีนี้คุณตาของ บี-อภิวัชร์​ ศุภากร เจ้าของคนปัจจุบัน มีความสนิทชิดเชื้อกันกับวิชิต โกศัลวิตร สามีของท่านผู้หญิง เพราะเป็นคนค้าคนขายและเป็นคนจีนเหมือนกัน จึงซื้อต่อมาได้เป็นเวลากว่า 70 ปีแล้ว ประจวบเหมาะกับเวลาที่ได้คลังเก็บสินค้าเก่ามาก็เป็นเวลาเดียวกับที่ทางรถไฟสร้างมาถึงจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้ละแวกนี้เป็นย่านความเจริญเก่า ที่นักเดินทางต้องมาพักก่อนที่จะขึ้นรถไฟในเช้าวันรุ่งขึ้น ทำให้มีโรงแรมเกิดขึ้นประมาณ […]

บรรทัดทอง ถนนเส้นอาหารของมือเก๋าและหน้าใหม่ที่ผสมผสานกันได้อย่างลงตัว

สำหรับคอลัมน์ Neighboroot ผู้อ่านทุกคนน่าจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า Urban Creature จะออกเดินทางเข้าไปพูดคุยกับผู้คนในแต่ละย่าน เพราะอยากเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้พื้นที่ที่คนอาจจะมองข้ามไปบ้าง ได้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ซึ่งต่างกับการเดินทางครั้งนี้อย่างสิ้นเชิง เพราะถนนบรรทัดทองก็เป็นเส้นทางที่สุดแสนจะคึกคัก อย่างแรกก็อาจจะเป็นเพราะตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางเมือง มีผู้คนแวะเวียนไปมาอยู่ตลอด แถมยังอยู่ใกล้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นจุดเชื่อมต่อกับถนนสายสำคัญของกรุงเทพฯ และเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยหยุดนิ่งอยู่แล้ว เราจึงมานั่งคิดกันครับว่า ถ้าพูดถึงถนนที่เป็นเส้นสำนักงานหรือมหาวิทยาลัยเนี่ยจะมีอะไรให้พูดถึงบ้าง คำตอบที่พุ่งเข้ามาแทบจะเป็นอย่างแรกๆ ก็คือ อาหาร! ลองนึกถึงร้านอาหารหน้ามอ หลังมอ หรือร้านข้าวแถวออฟฟิศ ก็น่าสนุกแล้วใช่ไหมครับ แต่บรรทัดทองกลับพิเศษขึ้นไปอีกเพราะมีทั้งร้านสุดเก๋าที่อยู่มาเนิ่นนาน กินกันตั้งแต่พ่อเรียนมหา’ลัย จนมาส่งลูกรับน้อง แถมโลเคชันที่อนุญาตให้คนเก๋าจริงเท่านั้นถึงจะอยู่ได้ ก็เลยมีร้านหน้าใหม่ที่น่าสนใจเกิดขึ้นมากมาย แค่ได้เอ่ยถึงท้องก็ร้องหิวแล้วล่ะครับ งั้นก็ไม่ขอรอช้า เราเริ่มต้นด้วยการมา Swap แบตฯ ให้พร้อมที่ PTT Station สามย่าน แล้วออกเดินทางสู่บรรทัดทองกันเลยดีกว่าครับ สำหรับใครที่อยากขับมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าของ Swap & Go มาเที่ยวแถวนี้ก็บอกเลยว่าสะดวกมากครับ เพราะถ้าแบตเตอรี่ใกล้หมดเมื่อไหร่ก็มีสถานีชาร์จไว้คอยให้บริการอยู่ที่ PTT Station สามย่าน ซึ่งก็อยู่ในละแวกเดียวกันนี้แหละ เปลี่ยนแบตฯ ทีเดียวก็วิ่งได้อีกตั้ง 50 กิโลเมตร ใช้งานต่อได้ทั้งวันแบบสบายๆ  ยักษ์ […]

Juumpo Family Recipes อาหารพังงาสูตรก๋ง ที่หากินได้เฉพาะครอบครัวตะกั่วป่า

เมืองกำลังจะเปิดเต็มตัว การท่องเที่ยวก็เริ่มกลับมาคึกคัก ช่วงนี้ใครมีโอกาสได้ไปเยือนพังงาแล้วแพลนยังว่างอยู่ เราขอชวนไปลองชิมอาหารแบบฉบับชาวตะกั่วป่าที่ Juumpo Family Recipes กับอาหารที่มีส่วนผสมของหลายวัฒนธรรมจากการเป็นเมืองท่าของจังหวัดพังงา และเป็นสูตรอาหารอายุกว่า 80 ปี ที่ตกทอดมาจากก๋ง ซึ่งเป็นชาวจีนที่อพยพมาเป็นคนงานในเหมืองแต่ฝีมือทำอาหารแสนโดดเด่นจนได้รับฉายาว่า ‘จุมโพ่’ หรือที่แปลว่าพ่อครัว อาหารของที่นี่จะว่าไม่เคยกินมาก่อนก็ใช่ แต่จะบอกว่าไม่คุ้นเคยก็คงไม่ถูก เพราะมีความเป็นลูกผสมและมาจากสูตรประจำตระกูลทำให้มีรสชาติไม่เหมือนใคร มีความกลมกล่อม มีเครื่องเทศ แต่ไม่ได้เผ็ดร้อนและเน้นเครื่องแกงเหมือนอาหารใต้ที่เราคุ้นเคย แต่ความอร่อยการันตีได้ว่าเด็ดจริง เพราะเป็นร้านแนะนำของมิชลิน ไกด์ด้วย  ถ้าอยากรู้ว่าอาหารของชาวตะกั่วป่าจะเด็ดแค่ไหน และมีเรื่องราววัฒนธรรมอะไรแฝงไว้บ้าง มาดูไปพร้อมกันเลย! Juumpo Family Recipes ลูกหลานชาวตะกั่วป่าขนานแท้อย่าง ปีย์-ปิยธวัช อนุศาสนนันท์ เริ่มต้นเล่าที่มาของอาหารในแบบฉบับจุมโพ่ไว้ว่า เกิดขึ้นมาจาก ‘ก๋ง’ ซึ่งเป็นชาวจีนที่เดินทางจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งรกรากที่ประเทศไทย “ก๋งเริ่มจากทำงานในเหมืองแร่ ซึ่งเป็นอาชีพหลักในสมัยก่อนของคนแถบนี้อยู่แล้ว ก๋งเนี่ยถือว่าเป็นคนที่ทำอาหารอร่อย ก็จะได้รับหน้าที่หลักในการทำอาหารให้นายเหมือง เพื่อนร่วมงาน หรือกุลี ทุกคนที่ได้กินอาหารฝีมือก๋งก็จะถูกใจแล้วก็จะเรียกก๋งว่าจุมโพ่ ซึ่งภาษาจีนแปลว่าพ่อครัว แล้วคำนี้ก็กลายเป็นฉายาของก๋งมาโดยตลอด ไปไหนมาไหนก็จะเรียกจุมโพ่” ความตั้งใจของปีย์คือการหยิบเอาวัฒนธรรมบาบ๋าหรือเปอรานากันออกมาแสดงให้ทุกคนเห็น ถ้าใครมีโอกาสได้มาพักที่โรงแรมกาล เขาหลัก ซึ่งมีร้านอาหารจุมโพ่เป็นส่วนหนึ่งของที่พัก จะพบว่ามีวัฒนธรรมแบบบาบ๋าแฝงอยู่ทุกที่ ตั้งแต่การต้อนรับ การตกแต่ง ที่พัก […]

กำปงกู พื้นที่สาธารณะที่ทำโดยประชาชน ไม่มีเวลาเปิดปิด ไม่จำกัดกิจกรรม และเติบโตไปพร้อมผู้ใช้งาน

แดดสี่โมงเย็นของยังคงส่องแสงแรงกล้า ช่วงเวลาที่ตะวันยังไม่คล้อยต่ำ บรรยากาศของเมืองปัตตานีมีลมพัดเป็นระลอก ที่ลานสเก็ตก็มีเพียงหนุ่มน้อยจากชุมชนบือตงกำปงกูสามนาย ที่มาพร้อมกับสเก็ตบอร์ดหนึ่งแผ่นเดินเข้ามาทักทาย บอกว่าเดี๋ยวอาจารย์อาร์ม-ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ที่นัดกันไว้ก็จะมาแล้ว  คุยไปไถเล่นไปโชว์ลีลาไปไม่นานเท่าไหร่ เสียงเครื่องยนต์ที่คุ้นเคยก็ดังขึ้นจากทางเข้ากำปงกู นักกีฬาสามคนหมดความสนใจสเก็ตอันจิ๋ว วิ่งไปเปิดท้ายรถซีดานสีเขียวแก่อย่างคุ้นเคยก่อนจะช่วยขนทั้งสเก็ตบอร์ด เซิร์ฟสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลดออกมาคอยท่าเพื่อนๆ  ตัวเล็กเหล่านี้จะรู้จักกำปงกูกันในฐานะลานสเก็ตประจำชุมชน ที่ข้างในเป็นห้องสมุดเปิดให้เข้าไปอ่านหนังสือ นั่งเล่น นอนเล่นกันได้ แต่เราขอนิยามที่นี่ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่จัดทำโดยประชาชนดีกว่า เป็นที่สาธารณะที่ไม่ได้มีไว้เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะทำอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้ใช้งาน ไม่มีเวลาเปิด-ปิด ไม่มีค่าใช้จ่าย จะมาใช้งานตอนไหนก็ไม่ว่ากัน  01 ชุมชนบือตงกำปงกู เวลาผ่านไปไม่นานนัก ชาวแก๊งมากันเต็มลาน บางคนเหมือนจะเพิ่งเริ่มหัดยืนบนกระดานได้ไม่นาน บางคนดรอปอินลงมาจากแลมป์อย่างคล่องแคล่ว ส่วนบางคนก็ถนัดที่จะดูเพื่อนมากกว่า หลังจากทักทายและเซย์ฮายกันเรียบร้อย เราชวน อ.อาร์ม เข้าร่มไปยังบริเวณห้องสมุดที่ยังอยู่ในสภาพกึ่งทางการ คือบางมุมก็เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่บางจุดก็ยังรอการจัดการอยู่ “ทีแรกเป็นร้านชาบูมาก่อน เสร็จแล้วพอโควิดมันเล่นงานคนเช่าก็เลยเลือกที่จะเปลี่ยนลุคใหม่ไปเลย แล้วตอนนี้เขาก็เลิกทำไปก่อน ทุบทั้งหมดออกแล้วเหลือเศษกระจกไว้ให้เราดูต่างหน้า (ยิ้ม) ทีแรกเราตั้งใจทำแค่ลานสเก็ตข้างหลังนี้แหละ ก็เลยเริ่มจากการเคลียร์พื้นที่ด้านหลังที่เคยเป็นป่ามาก่อน กะว่าจะลาดปูนเฉยๆ เพราะเท่านี้ก็ไถสเก็ตได้แล้ว แล้วถ้าเกิดว่างๆ ก็อาจจะมาทำตลาดทำอะไรก็ว่าไป เราคิดแค่นั้นเอง “แต่ว่าในช่วงที่เราเข้ามาดูพื้นที่กันก็เห็นคนเข้ามาซื้อขายยาเสพติด ทั้งที่เราก็ยืนอยู่ตรงนั้นนะแต่เขาก็ทำธุรกรรมกันได้ (หัวเราะ) เราก็รู้สึกว่ามันทำให้พื้นที่ตรงนี้ฮาร์ดคอร์เกินไปหน่อย ก็เลยคุยกับทางทีมดีไซเนอร์แล้วบอกให้เขาออกแบบลานสเก็ตให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลยดีกว่า บังเอิญว่าคนออกแบบก็เล่นไม่เป็นด้วย […]

เยี่ยมคนเกาหลีย่านอโศก สัมผัสวัฒนธรรมแดนโสมใจกลางกรุงเทพฯ

ไม่รู้ตั้งแต่เมื่อไหร่นะครับที่ความเป็นเกาหลี ทั้งซีรีส์ อาหาร ศิลปิน เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า จะเป็นอะไรก็ตามแต่ก็กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตพวกเราอย่างไม่รู้สึกแปลกแยกไปแล้ว ตอนนี้ทั้งคนใกล้ตัว หรือไม่ว่าจะหันไปทางไหนก็ดูจะผูกพันกับวัฒนธรรมเกาหลีมากขึ้นไปทุกที  ชาวเกาหลีที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยก็มีไม่น้อยโดยเฉพาะช่วงสุขุมวิทตอนต้น และที่ข้ามไปไม่ได้เด็ดขาดก็คือแถวอโศกนี่แหละ โดยมีโคเรียนทาวน์ยืนหนึ่งเรื่องเกาหลีมาร่วมสามสิบปี แถมในช่วงราวสิบปีนี้ก็มีศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีมาเปิดอีกต่างหาก  คอลัมน์ Neighboroot ขอพาทุกคนไปคุยกับเจ้าของร้านอาหารเกาหลีร้านแรกๆ ในโคเรียนทาวน์ พร้อมพาตะลุยย่านสัมผัสวัฒนธรรมแดนโสมใจกลางกรุงเทพฯ กันดีกว่า ว่าจะมีอะไรให้พวกเราค้นหาอีกบ้าง!  ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว ประเทศไทยยังไม่ได้คุ้นเคยกับวัฒนธรรมเกาหลีมากเท่าไหร่ ไม่ต้องพูดถึงโคเรียนทาวน์ ที่ถ้าพูดชื่อไปก็รับรองได้เลยว่าไม่มีใครร้องอ๋อเหมือนสมัยนี้แน่ๆ  ประวัติโดยย่อคือ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2532 โคเรียนทาวน์มีชื่อว่า สุขุมวิทพลาซ่า เพราะตั้งอยู่บริเวณตอนต้นของถนนสุขุมวิท แล้วก็ยังไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับคำว่าเกาหลีเลยแม้แต่น้อย จนกระทั่งชาวเกาหลีที่ย้ายถิ่นฐานมายังประเทศไทยเริ่มเข้ามาเปิดร้านอาหารกันมากหน้าหลายตา และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ จนภาครัฐขนานนามให้ว่า โคเรียนทาวน์ เพราะถือว่าที่นี่เป็นแหล่งรวมร้านอาหารเกาหลีที่มากที่สุดของไทย  ว่าแต่เรื่องราวของโคเรียนทาวน์เป็นมายังไง ชาวเกาหลีเข้ามาทำอะไรที่สุขุมวิทตอนต้น เราชวนขับ Swap & Go จาก PTT Station นานาใต้ ที่อยู่ห่างออกไปไม่กี่ร้อยเมตร มาฟังจากปาก Jang Won BBQ ร้านอาหารเกาหลีสูตรต้นตำรับ ซึ่งเป็นร้านแรกๆ […]

ความงามเป็นของทุกคน Celine เครื่องสำอางฮาลาลที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้หญิงมุสลิม

Urban Creature x UN Women คนจะงาม งามที่ใจใช่ใบหน้า ทำไมสุภาษิตไทยช่างไม่เข้าใจแล้วก็ใจร้ายใจดำกับพวกเราได้ขนาดนี้ ยิ่งในยุคปัจจุบันก็ต้องบอกว่าเราเชื่อเหลือเกินว่า ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงหรือใครคนใดก็ตาม ย่อมมีสิทธิ์ที่จะดูดีในแบบของตัวเองทั้งนั้น และสำหรับญาญ่า-สุไรยา แวอุเซ็ง เจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางฮาลาล Celine และบรรดาสาวงามทั้งสามจังหวัดชายแดนใต้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ถ้าได้ความสวยงามที่มาพร้อมความสบายใจ ก็คงไม่ได้ขออะไรไปมากกว่านี้อีกแล้ว Celine คือเครื่องสำอางที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนสามจังหวัดโดยแท้จริง อย่างแรกคือผลิตมาแบบหลักศาสนาจะได้ใช้งานกันอย่างสบายใจ อย่างที่สองคือตอบโจทย์ด้านสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัดในเวลากลางวัน และหนาวเย็นในเวลากลางคืน ทำให้เหมาะกับพื้นที่มากกว่าเครื่องสำอางยี่ห้ออื่นตามท้องตลาด “เราปิดหน้าแต่ก็ยังปัดแก้ม ทาปาก แต่งหน้าอยู่นะ” ญาญ่าเล่าให้ฟังอย่างอารมณ์ดี และบอกว่าสำหรับเธอสิ่งสำคัญที่สุดของ Celine อาจจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้หญิงมุสลิมลุกขึ้นมาดูแลตัวเองมากกว่าเรื่องของธุรกิจเสียอีก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าธุรกิจของ Celine เป็นเรื่องธรรมดา ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง Celine มีตำราธุรกิจที่เข้ากับพื้นที่อย่างมาก เพราะมีวิธีการขายแบบสามจังหวัดชายแดนใต้ แบบฉบับที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและใกล้ชิด แถมธุรกิจนี้ยังช่วยสร้างอาชีพให้กับเหล่าแม่บ้านมุสลิม และส่งออกไปยังประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามอีกมากมาย  มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่า เครื่องสำอางก็มีมาตรฐานฮาลาลเหมือนอาหารด้วยหรือ หรือว่าทำไมผู้หญิงที่ใส่ฮิญาบต้องแต่งหน้าด้วย เราชวนมาทำความเข้าใจบริบทนี้ไปพร้อมกัน ด้วยเนื้อหาข้างล่างนี้เลย  สาวงามสามจังหวัด หญิงสาวในผ้าคลุมฮิญาบเล่าให้พวกเราฟังว่า ย้อนกลับไปราว 10 ปีที่แล้ว เครื่องสำอางที่มีตราฮาลาลยังไม่มีวางขายตามท้องตลาด มีแต่สินค้าประเภทเคาน์เตอร์แบรนด์ ซึ่งไม่ทราบว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง และไม่มั่นใจว่าจะถูกต้องตามหลักศาสนาหรือเปล่า […]

‘ศรีลำดวน’ แบรนด์ผ้าทอศรีสะเกษจากฝีมืออดีตเด็กแว้น ที่ทำให้สาวโรงงานได้กลับบ้าน

Urban Creature x UN Women บ่อยครั้งที่การทำงานคอลัมน์ประจำจังหวัดจะเต็มไปด้วยความสนุกสนาน แม้จะคุยกันเรื่องธุรกิจแต่บรรยากาศจะคล้ายการไปเยี่ยมญาติที่ให้ความเอ็นดูพวกเรา มานั่งปรึกษาหารือกันฉันมิตร ยิ่งเป็น พี-พีรพงษ์ เกษกุล เจ้าของแบรนด์ศรีลำดวน ผ้าทอจากศรีสะเกษที่อยู่ในวัย 23 ปี ไม่ถึงกับเรียกว่าเป็นรุ่นราวคราวเดียวกันได้เต็มปาก แต่ก็อยู่ในวัยใกล้เคียงกัน ทำให้บรรยากาศก็ยิ่งครื้นเครงเข้าไปอีก เรื่องราวปูมหลังของพีต้องบอกว่าน่าสนใจอย่างมากครับ อย่างแรกคือเขาเป็นวัยรุ่นที่เรียกตัวเองว่าเด็กแว้นได้อย่างเต็มปาก ที่จับผลัดจับผลูมาจับกี่ทอผ้าเพราะอยากหาเงินไปแต่งรถมอเตอร์ไซค์ แต่เผอิญว่าทำออกมาแล้วดันติดตลาด ขายหมดเกลี้ยงตั้งแต่ครั้งแรก และมีออเดอร์ยาวต่อเนื่องเป็นหางว่าว จึงชวนเพื่อนสิงห์มอเตอร์ไซค์นี่แหละมาช่วยกันทอผ้าเพื่อหาเงินไปแต่งรถ แถมพอปักผ้าไปทอผ้ามาสไตล์ของศรีลำดวนก็เริ่มโดดเด่น เพราะใช้สีหวานโทนพาสเทล ใส่แล้วดูเป็นวัยรุ่น มีการผสมผสานลายผ้าโบราณหลายประเภทมาไว้ในผืนเดียวกันจนฮิตติดลมบน ช่างฝีมือที่มาร่วมงานก็เยอะขึ้นเรื่อยๆ นับร้อยชีวิต  ที่สำคัญคือตัวเลขนี้ไม่ได้หมายถึงคนทำงานอย่างเดียวนะครับ แต่หมายถึงชาวนาที่ข้าวออกไม่ตรงตามฤดูได้มีรายได้อีกทาง หมายถึงช่างฝีมือที่ส่วนมากคือผู้หญิงได้มีอาชีพเป็นหลักเป็นแหล่ง และหมายถึงการพาคนอีสานที่จากบ้านเกิดไปทำงานที่กรุงเทพฯ อย่างไม่เต็มใจ ให้กลับมาทอผ้าด้วยกันที่นี่ ไม่ต้องอึดอัดลำบากใจทำงานที่ตัวเองไม่ได้ชอบเพื่อเลี้ยงชีพตัวเองและส่งเสียครอบครัวอีกต่อไป แต่กลับมาอยู่ที่บ้าน ทำงานพร้อมหน้าพร้อมตากันไปเลย   เราจึงขอเดินทางจากมหานครมาหาคำตอบให้ถึงที่ นั่งลงหน้าบ้านเจ้าตัวฟังเรื่องเล่าของพีว่า เขาไปทอผ้าท่าไหน บิดมอเตอร์ไซค์ยังไง ศรีลำดวนถึงมาได้ไกลขนาดนี้  ผ้าทอสามัญประจำบ้าน  พีและคุณยายที่มานั่งฟังเป็นเพื่อนหลายเล่าย้อนความให้ฟังว่า ผ้าทอของศรีสะเกษฝังรากลึกในวัฒนธรรมของคนที่นี่มาช้านาน ถ้านับถอยหลังไปตามความทรงจำก็มีอายุร่วมร้อยปี เจ้าของแบรนด์ศรีลำดวนเห็นผ้าทอมาตั้งแต่เด็ก ส่วนคุณยายเองก็ผูกพันมาตั้งแต่เริ่มจำความได้เช่นกัน  “สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใส่เอง แต่ประมาณยี่สิบกว่าปีที่แล้ว พระพันปีหลวง (สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ […]

แมวเท่านั้นที่ครองโลก Nikon เปิดตัวกล้องใหม่ เปลี่ยนเสียงชัตเตอร์เป็นเสียงแมว

ไม่ใช่มนุษย์แต่แมวนี่แหละที่จะครองโลก และดูเหมือนว่าเหล่าทาสจะมีอยู่ทั่วทุกวงการโดยแท้จริง เพราะในงาน CP+ 2022 ในประเทศญี่ปุ่นที่มีการเปิดตัวกล้องถ่ายภาพ Nikon Z9 นอกจากคุณสมบัติระดับมืออาชีพ ผู้สาธิตยังมีการโชว์ฟังก์ชันเปลี่ยนเสียงชัตเตอร์ให้กลายเป็นเสียงร้อง ‘เหมียว’ ของแมวด้วย  เนื่องจากเป็นกล้องที่ใช้ระบบชัตเตอร์แบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด Nikon Z9 จึงไม่ได้มีเสียงลั่นชัตเตอร์เหมือนกล้องสมัยก่อนอีกแล้ว เสียงที่ปล่อยมาจึงเป็นเสียงสังเคราะห์ทั้งหมดเช่นเดียวกับเสียง ‘เหมียว’ ที่นำมาสาธิตในครั้งนี้  “ถ้าได้ยินเสียงนี้ตอนกลางคืน ขอให้รู้ว่าไม่ได้มีแมวสู้กันอยู่ข้างนอก” หนึ่งในผู้สาธิตพูดติดตลก เพราะเวลาที่ลั่นชัตเตอร์ติดต่อกันด้วยความรวดเร็วเสียงแมวจะร้องแบบถี่มาก จนดูเหมือนมีการทะเลาะเบาะแว้งเกิดขึ้น  เสียงชัตเตอร์ของ Nikon Z9 ที่สามารถปรับแต่งได้เองตามที่ผู้ใช้งานชอบผ่านไมโครโฟนที่ติดอยู่กับตัวกล้อง ดังนั้นถ้าคุณไม่ใช่ทาสแมว จะใช้เป็นเสียงสุนัขตัวโปรดก็ไม่ได้มีใครว่าอะไร แต่อาจจะได้รับสีหน้าประหลาดใจเล็กน้อยกลับมายามลั่นชัตเตอร์ แปลว่าหากคุณเป็นคอกระจกและรักในความคลาสสิกของกล้อง DSLR ก็สามารถปรับให้เป็นเสียงชัตเตอร์แบบดั้งเดิมได้เช่นกัน  อย่างไรก็ตามฟังก์ชันที่นำออกมาโชว์ในครั้งนี้ยังไม่ได้รับการยืนยันว่าจะมาปรากฏตัวใน Nikon Z9 ยามวางออกจำหน่ายหรือไม่ “ตอนนี้เรากำลังอยู่ในขั้นตอนการผลิต ในอนาคตเราอาจจะไม่ได้เห็นฟังก์ชันนี้ถูกติดตั้งใน Z9 แต่ผมคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้มานานมากแล้ว และอยากเห็นว่าทุกคนจะมีปฏิกิริยาอะไรกับเรื่องนี้” หนึ่งในผู้สาธิตกล่าว และไม่แน่ว่าเสียงแมวร้องอาจจะเป็นการปลุกค่ายนิคอนให้ตื่นขึ้นอีกครั้ง หลังจากเดินตามหลังคู่แข่งมาหลายปีเมื่อผู้บริโภคหันไปให้ความนิยมกับกล้องมิลเลอร์เลส

VERSO รร.นานาชาติที่รื้อการศึกษาเดิมทิ้ง สอนเด็กแบบดีไซเนอร์ ให้ลองคิดทุกอย่างจากศูนย์

“ระบบการศึกษาแบบดั้งเดิมคือถนนแคบๆ เส้นเดียว ที่เด็กถูกบังคับให้ต้องเดิน ในขณะที่โลกใบนี้ยังมีทางอีกมากมาย” หนึ่งในประโยคที่ผมชอบและเห็นด้วยมากที่สุดจาก Cameron Fox ผู้ก่อตั้งโรงเรียนและคุณครูใหญ่ของ VERSO International School โรงเรียนนานาชาติเปิดใหม่แห่งย่านบางนา ที่สอนโดย Learning Designer หรือนักออกแบบการเรียนรู้ ที่พร้อมจะปรับแต่งทั้งวิชาการและทักษะชีวิตให้กับเด็กๆ  ไม่ใช่วิทย์-คณิต ศิลป์-คำนวณ หลักสูตรที่ VERSO สอนให้นักเรียนเรียกว่า Future Ready Skill หรือทักษะแห่งอนาคตที่มีด้วยกันถึง 141 ทักษะ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเด็กคนหนึ่งต้องอัดทุกอย่างลงไปในสมอง พวกเขามีอิสระที่จะเลือกทำในสิ่งที่ชอบในวันนี้ ที่หากว่าวันข้างหน้าเกิดไม่ถูกใจ และอยากปรับเปลี่ยนใหม่ก็คุยกันได้เสมอ  DNA อย่างหนึ่งของโรงเรียนนี้ที่ผมสัมผัสได้คือทำให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการกล้าแสดงออก แต่กล้าที่จะชอบในสิ่งที่ตัวเองรักโดยไม่ถูกกฎเกณฑ์มาบีบบังคับ ด้วยการสอนวิธีคิดแบบ Designer กล่าวคือคนที่เป็นนักออกแบบนอกจากจะมีหัวด้านความสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญคือต้องรับฟังและมีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น “Put yourself in someone else’s shoes” คาเมรอนย้ำเรื่องนี้มาก วันนี้เราเดินเข้ามาสนทนากับผู้ก่อตั้งโรงเรียน ออฟฟิศของเขาที่เป็นห้องขนาดกลางไม่ได้ใหญ่โตเวอร์วังเมื่อเทียบพื้นที่ทั้งหมดของสถานศึกษา แต่มีหน้าต่างขนาดใหญ่ไว้รับแสง มองเห็นธงชาติ และจุดรับ-ส่งอยู่ไม่ไกล นอกเหนือจากโต๊ะและอุปกรณ์สำนักงาน ห้องนี้ตกแต่งห้องด้วยรูปจอห์น เลนนอน […]

ที่ทำงานต้องเท่าเทียม Netflix มีสัดส่วนผู้บริหารผิวดำ และพนักงานหญิงเพิ่มขึ้น

Netflix ได้เพิ่มความหลากหลายของพนักงานในสหรัฐอเมริกา รวมถึงผู้บริหารระดับสูงที่เป็นคนผิวดำ เพราะอยากให้องค์กรเป็นภาพสะท้อนถึงประชากรหมู่มาก  Bloomberg รายงานว่าจำนวนพนักงานผิวดำที่ Netflix เพิ่มขึ้นมากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ในช่วงสองปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วน 10.7 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานประจำ และในรายงานประจำปีที่เผยแพร่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาของสตรีมมิงยักษ์ใหญ่ยังบอกว่า ขณะนี้มีพนักงานผิวดำประจำอยู่ในตำแหน่งบริหารในแดนลุงแซมถึง 13 เปอร์เซ็นต์ ทว่าพนักงานกลุ่ม Hispanic หรือผู้ที่มาจากประเทศที่ใช้ภาษาหรือวัฒนธรรมแบบสเปนเช่น Mexico, Puerto Rico หรือ Cuba มีสัดส่วนเพียง 8.6 เปอร์เซ็นต์และยังมีบทบาทไม่เพียงพอ  ตามที่มีการบันทึกมา พนักงานของ Netflix จำนวนมากเกือบถึง 1 ใน 4 ขององค์กรเป็นชาวเอเชีย และพนักงานผู้ชายก็มีอัตราส่วนมากขึ้น ซึ่งความหลากหลายทางเพศและเชื้อชาติได้ถูกหยิบยกมาพูดถึงมากขึ้นในแต่ละองค์กรในช่วงหลายปีมานี้ Starbuck และ Target เริ่มเปิดเผยข้อมูลด้านความเท่าเทียมของพนักงาน รวมถึง Intel ก็รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายเงินตามเพศและเชื้อชาติด้วย  ที่ผ่านมาสตรีมมิงชื่อดังจากสหรัฐฯ ได้ว่าจ้างหัวหน้าฝ่าย Diversity & Inclusion หรือความหลากหลายและการผนวกรวมให้เกิดความเท่าเทียมกันในปี 2018 และส่งเสริมการเป็นตัวแทนชนกลุ่มน้อยและชาติพันธุ์ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เมื่อปีที่ผ่านมา Netflix […]

เนเธอร์แลนด์รีโนเวตบ้านเก่า ให้ประหยัดพลังงานได้ภายใน 1 วัน ตั้งเป้าอาคารทุกหลังปล่อย CO2 เป็นศูนย์

บริษัทจากเนเธอร์แลนด์กำลังนำเสนอวิธีการใหม่ที่จะทำให้อาคารเก่าประหยัดพลังงานได้มากขึ้น โดยไม่ต้องพึ่งพาการก่อสร้างขนาดใหญ่  ในเวลาอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้าอาคารทุกหลังบนโลกจะต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศของโลก และเนื่องจากอาคารส่วนใหญ่บนโลกถูกก่อสร้างมานานแล้วและใช้พลังงานแบบเก่าที่กินทรัพยากรและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก นั่นหมายความว่าจะต้องมีการปรับปรุงจำนวนมาก เพื่อลดการใช้พลังงานในอาคารนั่นเอง Martha Campbell อาจารย์ใหญ่จากโปรแกรมปลอดคาร์บอนของ RMI องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ศึกษาเกี่ยวกับพลังงานบอกว่าในสหรัฐอเมริกามีอาคารประมาณ 3 – 6 ล้านหลังต่อปีที่ต้องปรับให้การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ รวมถึงบ้านราว 15,000 หลังต่อวัน หากจะบรรลุเป้าหมายด้านการปล่อยคาร์บอนให้ทันภายในปี 2050  Energiesprong องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ให้การสนับสนุนซึ่งเปิดตัวเมื่อ 10 ปีที่แล้ว กำลังทำงานเกี่ยวกับระบบการปรับปรุงบ้านเพื่อเร่งให้กระบวนการลดการปล่อยคาร์บอนเกิดได้ไวขึ้น ผ่านโครงการที่ชื่อว่า RC Panels ที่ทำการผลิตแผงโซลาร์เซลล์น้ำหนักเบาซึ่งสามารถนำไปติดตั้งบนอาคารเก่าได้ทันที โดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์วัดขนาดบ้านจริง ทำการตัดแผงที่ทับซ้อนกับตำแหน่งของหน้าต่างและประตูออกจากโรงงานเพื่อให้เข้ากันได้พอดีกับขนาดและตำแหน่งของอาคารทุกหลัง บวกกับบริการปรับเปลี่ยนปั๊มหรือท่อสำหรับทำความร้อนและน้ำเย็น ซึ่งดำเนินการได้รวดเร็วกว่าบริการแบบดั้งเดิมมาก ใช้เวลาเพียงวันเดียวสิ่งปลูกสร้างเก่าก็สามารถประหยัดพลังงานได้ทันที Christian Richter ทีมพัฒนาตลาดของ Energieprong บอกว่ากระบวนการดังกล่าวควรเป็นลักษณะของ Plug and Play กล่าวคือสามารถติดตั้งและพร้อมใช้งานได้ทันที สาเหตุเพราะว่าหลายประเทศในโลกนี้เช่นยุโรปกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน การรีโนเวตหรือปรับปรุงโครงสร้างแบบดั้งเดิมจึงกินเวลาและทรัพยากรมากเกินไป แต่พวกเขามีภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีความสามารถในการผลิตมากเพียงพอสำหรับเทคโนโลยีแบบนี้ เป้าหมายของการดำเนินงานในครั้งนี้คือการทำให้บ้านแต่ละหลังมีการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หมายความว่าแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาต้องผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอตลอดทั้งปี เท่ากับพลังงานที่ใช้ในการทำความร้อน น้ำร้อน และเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งตอนนี้เมืองยูเทรกต์ ในประเทศเนเธอร์แลนด์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ในปี […]

ลำกระโดงสโมสร คลับคนแม่กลองที่จะพาไปรู้จักและใกล้ชิดเมืองแม่กลองผ่านลำน้ำและการพาย

ย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว วันเดียวกับที่กรมอุตุฯ ประกาศว่าฤดูหนาวมาถึงแล้ว อากาศยามเย็นของแม่กลองพอจะกล่าวได้ว่าเย็นสบาย มีสายลมอ่อนโบกโบยเป็นระยะ และฝนเจ้ากรรมทำท่าว่าจะยังไม่หนีหายไปไหน ส่อเค้าลางเป็นเมฆสีดำที่ลอยอยู่ไกลๆ และเรดาร์น้ำฝนจากแอปพลิเคชันก็การันตีเลยว่าราตรีนี้ไม่รอดแน่  “โห กำลังมาเลย” ก๊อก-กึกก้อง เสือดี ชายหนุ่มเจ้าของคลับลำกระโดงสโมสรกล่าวก่อนเดินไปที่ท่าน้ำของ อบต.แหลมใหญ่ เพื่อยกเรือคายัคสีสดลงจากหลังคารถเอสยูวี ก่อนจะอธิบายทีมงานผู้ไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับการคมนาคมทางน้ำที่คราวนี้ต้องรับบทเป็นฝีพายถึงเทคนิคในการพายเรือให้ได้แรงดี กฎความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน พร้อมอธิบายเส้นทางคร่าวๆ ให้ฟัง เริ่มต้นด้วยเลาะไปตามท่าเรือที่สองฟากฝั่งเต็มไปด้วยเรือหาปลาลำใหญ่ ต้านทางน้ำขึ้นดูประวัติศาสตร์ชุมชนแม่กลอง หยุดอยู่ริมฝั่งนั่งบนเรือเพื่อขอผูกมิตรกับหิ่งห้อยที่วิบวับราวกับแสงไฟจากงานเทศกาล ก่อนจะไหลตามสายน้ำกลับสู่จุดเริ่มต้น ทั้งหมดนี้คือน้ำจิ้มจากลำกระโดงสโมสรที่เราจะได้เจอกันในวันนี้  “เราอธิบายความเป็นแม่กลองจากการพายเรือร่วมกัน วันนี้เรามาที่แหลมใหญ่ก็เลยชวนเป้ (ชาวแม่กลองอดีตนักกีฬาคายัคที่วันนี้เป็นไกด์กิตติมศักดิ์) มาด้วย อยากให้เป้ได้เห็นศักยภาพของบ้านตัวเองว่าเราตื่นเต้นกับสิ่งที่เขามีนะ (ยิ้ม) มันเป็นโอกาส เป็นอนาคต แล้วเราจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไรจากสิ่งที่เรามีอยู่ เราจะพามันไปด้วยได้อย่างไร” ตะวันทำท่าจะคล้อยต่ำ เรากระชับเสื้อชูชีพสีส้มก้าวลงบันไดอย่างมั่นคง แล้วขึ้นเรืออย่างโคลงเคลงตามประสาคนไม่คุ้นเคย เมื่อจำนวนสมาชิกครบถ้วนไม้พายก็เริ่มออกแรงต้านสู้กับสายน้ำ เรือคายัคทั้งแบบสมัครเล่น มืออาชีพ และกระดานซัปบอร์ดไหลไปข้างหน้าทีละนิด เมื่ออยู่ติดผิวน้ำเรือแต่ละลำใหญ่ขึ้นถนัดตา และหนึ่งวันกับลำกระโดงสโมสรก็เริ่มต้นขึ้น… 01 ปฐมบทลำกระโดง เราเดินทางกันอย่างไม่เร่งรีบ เสียงพายกระทบน้ำ ควบคู่ไปกับเสียงสนทนาที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นของผู้มาเยือน หากฟังจากที่พี่ก๊อกเล่า เรารู้สึกได้ว่าแม่กลองเป็นเมืองที่เต็มไปด้วย Active Citizen ที่พยายามทำสิ่งที่ตัวเองถนัดในการพัฒนาให้เมืองดีขึ้น แน่นอนว่าลำกระโดงสโมสรก็เป็นหนึ่งในนั้น  “แม่กลองเรามีฐานเป็นคนขับเคลื่อนเมืองอยู่แล้ว […]

1 2 3 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.