HUA LAMPHONG DESIGN WEEK 2025 สำรวจชีวิตคนในย่าน ตามไปมองความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในหัวลำโพง

แม้จะผ่านมาเกือบครึ่งทาง แต่เชื่อว่าหลายคนยังมีอีกหลายย่านใน Bangkok Design Week 2025 ที่ยังไม่ได้ย่างเท้าเข้าไปเยือนกัน เพราะครั้งนี้เทศกาลฯ จัดขึ้นในหลายย่านของกรุงเทพฯ แถมยังมีระยะเวลาจัดงานที่แตกต่างกัน เพื่อที่เราจะได้ไม่ต้องเร่งรีบเก็บให้ครบทุกย่านเหมือนปีก่อนๆ วันนี้คอลัมน์ Events ขอพามาโฟกัสกันที่ย่านหัวลำโพงกับ ‘HUA LAMPHONG DESIGN WEEK 2025’ ที่ปีนี้จัดขึ้นเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ ระหว่างวันที่ 8 – 9, 15 – 16, 22 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ตั้งแต่ซอยพระยาสิงหเสนี, ชุมชนตรอกสลักหิน, ซอยสุนทรพิมล ไปจนถึงถนนรองเมือง โดยมี Co-Host ย่านเจ้าเดิมคือริทัศน์บางกอก (RTUS-Bangkok) นอกจากไฮไลต์ที่เราเลือกมาให้ทุกคนจับมือจูงแขนพาเพื่อนสนิทหรือคนรู้ใจไปเดินเที่ยววีกเอนด์นี้ ใครที่อยากรู้ว่าในหัวลำโพงมีกิจกรรมอะไรอีก เข้าไปดูได้ที่ t.ly/oiwM_ เพราะครั้งนี้หัวลำโพงจัดเต็มกับ 12 นิทรรศการ 1 เวิร์กช็อป 4 อีเวนต์ 1 เสวนา และ […]

ตามไปดูโปรเจกต์ Street Wise ที่ใช้งานสร้างสรรค์สร้างสีสันและภาพจำใหม่ๆ ให้ย่านปากคลองตลาดและบางลำพู

‘ปากคลองตลาด’ เป็นที่รู้จักในฐานะแหล่งค้าขายดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ ลองนึกภาพพื้นที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนขวักไขว่ ทางเดินเฉอะแฉะจากการพรมน้ำดอกไม้ให้สดใส กลีบดอกไม้ที่เคยสวยงามร่วงโรยลงบนถนน จะว่ามีชีวิตชีวาก็ใช่ แต่จะบอกว่าดูวุ่นวายด้วยก็ได้เช่นกัน ถึงอย่างนั้นหลายคนอาจนึกไม่ถึงว่าวันหนึ่งปากคลองตลาดจะกลายเป็นย่านสร้างสรรค์ได้เหมือนกัน ส่วนหนึ่งของการที่ปากคลองตลาดได้ชื่อว่าเป็นย่านสร้างสรรค์นั้นมาจากการทำงานของ ‘หน่อง-รศ. ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์’ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และนักออกแบบผู้อยู่เบื้องหลังการพัฒนาพื้นที่และชุมชนหลายแห่ง อาจารย์หน่องไม่ได้มองแค่การพัฒนาพื้นที่อย่างเดียว แต่ยังนำความสร้างสรรค์ เปิดรับไอเดียใหม่ๆ และดึงจุดเด่นของบริบทพื้นที่มาทำให้พื้นที่ตรงนั้นเกิดความน่าสนใจมากขึ้นด้วย และในปีนี้อาจารย์หน่องก็ไม่ได้สร้างสีสันให้ย่านปากคลองตลาดแห่งเดียว แต่เธอยังกลับไปยังย่านเก่าที่เคยทำงานด้วยอย่าง ‘บางลำพู’ พร้อมกับการนำสิ่งที่น่าสนใจของย่านมาผนวกรวมเข้ากับความสร้างสรรค์ เพื่อส่งต่อความน่าสนใจของทั้งสองย่านสู่ผู้คนผ่านงาน Bangkok Design Week 2025 ในโมงยามที่เทศกาลงานสร้างสรรค์ประจำปีของกรุงเทพฯ กำลังดำเนินอยู่นี้เอง คอลัมน์ Art Attack ชวนอาจารย์หน่องมาคุยกันถึงโปรเจกต์ ‘Bangkok Flower Market Festival @Pak Khlong Talat’ และ ‘Bang Lamphu Festival @New World Shopping Mall’ ที่ได้รับทุน ‘Connections Through Culture’ ประจำปี 2024 […]

โฆษณาข้างรถเมล์ มีความชอบธรรมขนาดไหนในการบังทิวทัศน์

ในโลกทุนนิยมนั้นคงเป็นปกติที่เราจะเห็นโฆษณาสินค้ารายล้อมอยู่ตามที่ต่างๆ ตามความสร้างสรรค์ ตั้งแต่บนป้ายบิลบอร์ด ในโซเชียลมีเดีย จนไปถึงข้าง ‘รถเมล์’ รถเมล์ไม่ได้เป็นแค่รถสาธารณะที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารไปยังปลายทาง แต่ยังเป็นพื้นที่โฆษณารูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยนับว่าเป็น ‘สื่อเคลื่อนที่’ ที่ไม่ได้ตั้งอยู่กับที่เหมือนป้ายโฆษณาอื่นทั่วไป แต่จะวิ่งไปตามที่ต่างๆ รอบเมืองตลอดทั้งวัน โอกาสที่ผู้คนจะได้เห็นโฆษณาบนรถเมล์จึงมีมากกว่าด้วย อย่างไรก็ตาม แม้จะช่วยให้ผู้คนรับรู้ถึงการมีอยู่ของโฆษณานี้มากขึ้น แต่ดูเหมือนว่าที่ผ่านมาโฆษณาบนรถเมล์จะไม่ใช่สิ่งน่าอภิรมย์สำหรับผู้โดยสารเท่าไร เพราะหลายครั้งก็ติดทับกระจกจนคนข้างนอกรถมองไม่เห็นข้างใน ส่วนคนข้างในรถก็มองเห็นแต่ร่องจุดเล็กๆ ชวนเวียนหัว ยิ่งถ้าฝนตกเมื่อไร ร่องเล็กๆ ที่เจาะไว้ก็มักมีน้ำซึมเข้ามาจนผู้โดยสารในรถแทบจะถูกตัดขาดการมองเห็นโลกภายนอกไปเลย ไม่ใช่แค่บดบังทัศนียภาพ แต่ยังชวนสงสัยไปถึงความปลอดภัยอื่นๆ เพราะรถเมล์บางคันติดโฆษณาทับประตูฉุกเฉินไปทั้งบาน ในขณะที่รถบางคันก็เว้นไว้ จนไม่รู้ว่าสรุปแล้วสามารถติดทับได้ไหม จากคำถามมากมายเหล่านี้ทำให้เกิดความสงสัยว่า แล้วโฆษณาบนรถเมล์ที่ผ่านหน้าเราทุกวันนี้อยู่อย่างถูกต้องแค่ไหน แล้วจะมีทางติดโฆษณาแต่ไม่บังวิวบ้างหรือเปล่า คอลัมน์ Curiocity ครั้งนี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบกัน โฆษณาข้างรถเมล์มีรูปแบบไหนบ้าง ปัจจุบันรถเมล์ในกรุงเทพฯ มีรูปแบบการติดโฆษณาข้างรถอยู่ 2 แบบด้วยกัน แบบแรกคือ ‘Full Wrap’ ซึ่งเป็นการติดโฆษณาทับตัวถังรถทั้งคัน และ ‘Half Wrap’ ซึ่งเป็นการติดทับเพียงแค่ช่วงครึ่งคันหน้าหรือตรงกลางของรถเท่านั้น ความแตกต่างระหว่างการติดโฆษณาแบบ Full Wrap และ Half Wrap อยู่ตรงที่ Full […]

Sunlight Dancing in the Sea ยามแสงอาทิตย์กระทบน้ำทะเล

Sunlight Dancing in the Sea เป็นชุดภาพถ่ายที่เล่าเรื่องของทะเลและแสงรวมเข้าด้วยกัน จากผลงานภาพถ่ายส่วนตัวที่บอกเล่าเรื่องราวของแสงในมุมมองต่างๆ ที่พบเจอในชีวิตประจำวันและสถานการณ์ที่พบเจอด้วยความบังเอิญ ทำให้การบันทึกภาพถ่ายแต่ละครั้งมีมิติที่หลากหลายและน่าหลงใหลซ่อนตัวอยู่ในธรรมชาติ หากมองอีกมุมหนึ่งของความเป็นทะเล ผู้คนส่วนใหญ่จะนึกถึงน้ำที่กว้างใหญ่และมีคำบัญญัติไว้ว่า ‘ห้วงน้ำเค็มที่เวิ้งว้างกว้างใหญ่ แต่เล็กกว่ามหาสมุทร’ แต่ถึงอย่างนั้น หากไร้แสงสะท้อนส่องลงไป ทะเลก็คงไร้ความหมายและคงไว้เพียงเสียงที่สัมผัสได้ แสงที่ส่องกระทบเข้ากับน้ำ แรงลมในอากาศ และคลื่นที่ซัดผสานรวมเข้าด้วยกันก็คงเหมือนการเต้นระบำของแสงแดดที่มีเวทีเป็นท้องทะเลและฉากหลังที่งดงามตามพื้นที่ ทั้งหมดนั้นเป็นความงามที่เป็นไปเองโดยไม่มีการปรุงแต่ง ธรรมชาติและมนุษย์มักถูกเชื่อมโยงเข้าหาด้วยกันอย่างน่าประหลาด ใช้ร่างกายของเราสัมผัสเข้าไปในทุกอณูที่ธรรมชาติส่งผ่าน จากหนึ่งสิ่งผสานรวมเข้ากับอีกหนึ่งสิ่งก็จะเกิดเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมาไหลเวียนไม่รู้จบ ผลงาน Sunlight Dancing in the Sea ไม่ได้เป็นผลงานที่ชวนให้ตั้งคำถาม แต่หากเป็นผลงานที่อยากชวนทุกคนไปหลงใหล ตกหลุมรัก เหมือนนวนิยายโรแมนติกเล่มหนึ่งที่เล่าเรื่องความรักระหว่างแสงแดดและท้องทะเล ในช่วงเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2568 (Bangkok Design Week 2025) ผลงานชุดนี้เป็นส่วนหนึ่งใน Photo Installation ‘1 วัน 1,000 ภาพ ครั้งที่ 3 : Beyond the Sea’ ที่จัดแสดงขึ้นที่ MMAD at […]

ช่วงกึ่งกลางระหว่างความเป็นและความตาย กับหลากหลายความสัมพันธ์ที่บรรจบกัน ณ ร้านโคมไฟใน Light Shop

*บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของซีรีส์* ค่ำคืนนี้ไม่มีที่สิ้นสุด ในซอยเปลี่ยวที่มืดมิด ฝนตกพรำ พื้นเต็มไปด้วยน้ำขังและความสกปรก กลางซอยมีร้านขายโคมไฟขนาดคูหากว่าๆ ที่เปิดไฟสว่างไสวทั้งคืน ทันทีที่ประตูเปิดออก เสียงกระดิ่งประตูดังขึ้นเบาๆ พร้อมด้วยชายหนุ่มสวมแว่นสีชาที่ยืนขึ้นต้อนรับกับคำถามว่า “มีอะไรให้ช่วยครับ” นี่คือเรื่องราวของอีกหนึ่งซีรีส์ในจักรวาลซีรีส์ชื่อดังอย่าง Moving ซึ่งดัดแปลงจากเว็บตูนของนักเขียน ‘คังฟูล’ มาสู่ซีรีส์ความยาว 8 ตอน เรื่อง ‘Light Shop’ ที่เส้นแบ่งระหว่างคนเป็นกับคนตายมาบรรจบกันที่ร้านโคมไฟ ด้วยฉากเปิดเรื่องที่ชายหนุ่มเดินลงมาจากรถเมล์ในเส้นทางกลับบ้าน ที่ป้ายรถเมล์นั้นเขาได้เจอกับหญิงสาวใส่ชุดสีขาว ผมยาวสีดำปิดหน้าปิดตา นั่งรออยู่พร้อมกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ทุกวัน ควบคู่กับช่วงต้นของเรื่องที่เหล่าตัวละครเหมือนจะมีความสามารถในการมองเห็นผีได้ คล้ายจะพาเราเข้าไปอยู่ในโลกหลังความตายเหมือนซีรีส์ขนหัวลุกทั่วๆ ไป ก่อนเรื่องราวจะตัดสลับระหว่างโลกกึ่งความเป็นความตายและห้องพักผู้ป่วยหนักหรือผู้ป่วยโคม่า ที่มีเหล่าพยาบาลสาวคอยดูแล จนผู้ชมหลายคนถึงกับเอ่ยปากว่า ช่วง 4 ตอนแรกกับ 4 ตอนหลังของซีรีส์เหมือนกำลังเล่าคนละเรื่องกันอยู่ แล้วจึงนำมาสู่ครึ่งหลังของ Light Shop ที่เฉลยถึงจุดร่วมของเหล่าตัวละครซึ่งประสบอุบัติเหตุบนรถเมล์คันเดียวกันจนอยู่ในภาวะกึ่งเป็นกึ่งตาย คล้ายกำลังใช้วันเวลาวนลูปในซอยเปลี่ยวที่หนีออกไปไม่ได้ พร้อมประเด็นสำคัญว่ามนุษย์ทุกคนมีหลอดไฟเป็นของตัวเองคนละหนึ่งหลอด เมื่อเราอยู่ในช่วงระหว่างความเป็นและความตาย เรามีหน้าที่พาตัวเองไปยังร้านโคมไฟและหาหลอดไฟของตนเองให้เจอจึงจะกลับไปยังโลกมนุษย์ได้ แต่ถ้าหากเราหาร้านโคมไฟไม่เจอ หรือตัดสินใจทิ้งหลอดไฟอันริบหรี่ของตนเองไปนั้น เราก็จะจากโลกนี้ไปเหมือนคนตายคนอื่นๆ ความยากลำบากขณะมีชีวิตของคนชายขอบ ความพิการ “ทำไมจำฉันไม่ได้สักที” กลายเป็นคำถามที่ทำให้ ‘จียอง’ หรือผีสาวชุดขาวคอยตามติด ‘ฮยอนมิน’ […]

ทำอย่างไรให้ ‘บ้าน’ ไม่ใช่ ‘ฝัน’ ที่ไกลเกินเอื้อม คุยเรื่องนโยบาย Public Housing กับ ‘รศ. ดร.บุษรา โพวาทอง’

ต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะซื้อ ‘บ้าน’ ได้หนึ่งหลัง เมื่อพูดถึงคำว่า ‘บ้าน’ นิยามของแต่ละคนอาจต่างกันออกไป บ้างมองเป็นเพียงพื้นที่หลับนอน โครงสร้างหนึ่งที่มีหลังคาคลุม ขณะที่บางคนยกให้บ้านเป็นมากกว่านั้น เป็นพื้นที่ปลอดภัย เป็นเครื่องหมายของความสำเร็จ หรือเป็นสินทรัพย์ที่สามารถลงทุนต่อยอดได้ในอนาคต คำว่าบ้านจึงไม่ใช่เพียงแค่สิ่งปลูกสร้าง แต่ยังสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตและความมั่นคงทางสังคมและเศรษฐกิจของใครหลายคน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันราคาที่อยู่อาศัยไต่ระดับสูงขึ้นจนเกินกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรส่วนใหญ่ การมีบ้านอาจกลายเป็นความฝันที่ไกลเกินเอื้อมสำหรับคนไทยยุคนี้ เพราะต่อให้ทำงานเก็บเงินทั้งชีวิตก็ยากที่จะคว้าบ้านในฝันมาได้ และมีไม่น้อยที่จำเป็นต้องอาศัยในบ้านที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือบางคนอาจไม่มีบ้านให้กลับในวันที่เหนื่อยล้าด้วยซ้ำไป วันนี้คอลัมน์ Think Thought Thought จะพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบว่า ‘เราจะทำอย่างไรให้ ‘บ้าน’ ไม่ใช่ฝันที่ไกลเกินเอื้อม’ กับ ‘รศ. ดร.บุษรา โพวาทอง’ อาจารย์ประจำภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านการทำความเข้าใจนโยบายที่อยู่อาศัยผ่านแนวคิด ‘ที่อยู่อาศัยที่รัฐอุดหนุน’ (Public Housing) หรือการที่ภาครัฐออกแบบนโยบายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัยได้ในราคาที่เหมาะสม พร้อมช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัย : ปัจจัยพื้นฐานที่สะท้อนคุณภาพชีวิต  “ที่อยู่อาศัยเป็นหนึ่งในพื้นฐานปัจจัยสี่ของการดำรงชีวิตมนุษย์ที่ไม่ค่อยถูกพูดถึง เพราะหลายคนเกิดมามีบ้านอยู่แล้ว ทว่าอย่าลืมว่ายังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีบ้านเป็นของตัวเอง หรือมีแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัย” บุษราอธิบายถึงความสำคัญของที่อยู่อาศัย สิ่งที่บุษราทำคือการชวนให้เราหันกลับมาทบทวนบทบาทของ ‘บ้าน’ ในฐานะหนึ่งในปัจจัย 4 ซึ่งเป็นความจำเป็นพื้นฐานที่ขาดไม่ได้ เพราะบ้านไม่ได้เป็นเพียงที่พักพิงทางกาย […]

จากบ้านเก่าอายุกว่า 150 ปี สู่ ‘บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี’ ที่มีหุ้นส่วนกว่า 500 ชีวิต

โรงแรมในสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เน้นการตกแต่งและการบริการ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ อยากกลับมาใช้บริการอีก แต่ ‘บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี’ ที่จังหวัดจันทบุรี ขอเลือกคิดต่างออกไป เพราะนอกจากทำเลจะโอบล้อมไปด้วยบรรยากาศดีๆ อยู่ติดริมแม่น้ำ มีห้องพักที่สะดวกสบายแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชวนให้ผู้เข้าพักได้ศึกษาและทำความรู้จักจันทบุรี รวมถึงพื้นที่ชุมชนริมน้ำจันทบูรให้มากขึ้นอีกด้วย มากไปกว่านั้น ลูกค้าเองยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาชุมชนผ่านการเข้าพักได้อีก ที่พักในจันทบุรีแห่งนี้แตกต่างจากที่พักอื่นๆ อย่างไร คอลัมน์ Urban Guide จะขอพาไปสำรวจกันถึงเมืองจันท์ บ้านพักประวัติศาสตร์ที่เก็บเรื่องราวของเมืองเอาไว้ที่ล็อบบี้โรงแรม หากมองผ่านๆ โรงแรมแห่งนี้อาจดูเหมือนบ้านเก่าทั่วไปในชุมชน แค่อาจจะดูใหญ่โตกว่าบ้านหลังอื่นเล็กน้อย แต่หากสังเกตให้ดี ล็อบบี้โรงแรมแห่งนี้มีหน้าตาคล้ายคลึงกับพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมๆ ที่เชิญชวนให้เราก้าวเท้าเข้าไปดูว่าสิ่งที่จัดแสดงอยู่นั้นมีอะไรบ้าง เรื่องราวส่วนใหญ่ที่เราได้เห็นผ่านสิ่งของต่างๆ ล้วนแล้วแต่บรรจุความเป็นมาของจังหวัด และการดำเนินชีวิตของผู้คนสมัยก่อนในแถบนี้ ด้วยความที่ชุมชนริมน้ำจันทบูรเป็นย่านเก่าแก่ของจังหวัด รวมถึงเคยเป็นเมืองท่าค้าขายในสมัยก่อน จึงมีเรื่องราวมากมายที่น่าสนใจ และสามารถรวบรวมมาเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ให้กับนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาเยี่ยมชม “หลวงราชไมตรีเป็นคนแรกที่บุกเบิกเรื่องของการทำสวนยางพารา เนื่องจากท่านเคยไปเรียนหนังสืออยู่ที่ปีนัง แล้วพอกลับมาอยู่ที่บ้าน ท่านเห็นว่าสภาพอากาศของที่จันทบุรีไม่ได้ต่างอะไรกับมาเลเซียเลย ท่านก็เลยสั่งพันธุ์ยางเข้ามาทดลองปลูกจนประสบความสำเร็จ และกลายเป็นอาชีพเสริมของคนจันท์ เรียกได้ว่าเป็นบิดาแห่งยางพาราภาคตะวันออก แล้วนอกจากทำสวนยาง ท่านก็เป็นพ่อค้าพลอยด้วย” ‘หมู-ปัทมา ปรางค์พันธ์’ ผู้จัดการบ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี เล่าให้เราฟังถึง ‘หลวงราชไมตรี’ ผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ และสร้างคุณูปการให้กับชาวจันทบุรีเป็นอย่างมาก ด้วยความที่สถานที่แห่งนี้มีเรื่องราววิถีชีวิตของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้คนในชุมชนตั้งใจเก็บรักษาความสวยงามนี้เอาไว้ จนกลายมาเป็น […]

ISAN SOUL อีสานโซล

ภาพถ่ายชุดนี้เกิดจากการตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราอยู่ที่จังหวัดเลยมาตั้งแต่เด็กจนโต ทำไมไม่ลองถ่ายภาพสภาพแวดล้อมที่โตมาดูว่ามันเป็นอย่างไร เพราะปกติเราก็ใช้ชีวิตแบบที่เห็นสิ่งต่างๆ เหล่านั้นอยู่แล้ว แต่ไม่เคยมองมันแบบตั้งใจเลย  อีสานโซล จึงเปรียบเสมือนการกลับไปสำรวจพื้นที่ในใจและพื้นที่โดยรอบอย่างบ้านเกิด ผู้คน สภาพแวดล้อม และวัฒนธรรมต่างๆ ที่หล่อหลอมตัวตนขึ้นมาเป็นเราในวันนี้ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ออกไปท่องอวกาศ สำรวจจักรวาลกับ Space Journey Bangkok นิทรรศการอวกาศระดับโลกที่ลงจอดครั้งแรกในเอเชีย วันนี้ – 16 เม.ย. 68 ที่ไบเทคบุรี

‘นักบินอวกาศ’ น่าจะเคยเป็นความฝันวัยเด็กของพวกเราหลายคน แต่ต้องยอมรับว่า พอโตขึ้นมาเรื่อยๆ เราจะรู้ได้เองว่ามันเป็นความฝันที่อยู่แสนไกลไปหลายปีแสง ด้วยขอบเขตของการเข้าถึงข้อมูล และการสัมผัสเทคโนโลยีอวกาศที่ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้ ‘Space Journey’ คือนิทรรศการด้านอวกาศระดับโลก ที่จะช่วยเติมเชื้อเพลิงความฝันในการทำงานด้านอวกาศให้ดูเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป ด้วยความตั้งใจของบริษัท อินเด็กซ์ ครีเอทีฟ วิลเลจ จำกัด (มหาชน) ที่อยากยกอวกาศมาให้เด็กไทยเข้าถึงได้ง่ายๆ จึงติดต่อนิทรรศการระดับโลกนี้มาจัดแสดงที่ประเทศไทยด้วย นิทรรศการอวกาศระดับโลกนี้ไม่ได้เป็นแค่ครั้งแรกของบ้านเรา แต่ยังหมายรวมถึงครั้งแรกในทวีปเอเชีย ที่ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่อยู่ใกล้เคียงจะได้เดินทางมาสัมผัสการสำรวจอวกาศกันอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2568 ที่ไบเทคบุรี คอลัมน์ Events จะพาไปแหวกว่ายสำรวจอวกาศบางส่วนของนิทรรศการ Space Journey Bangkok กันว่า ทำไมนิทรรศการนี้ถึงเป็นอีกหนึ่งนิทรรศการที่เราไม่อยากให้ทุกคนพลาด หลังจากเดินทางไปจัดแสดงมาหลายประเทศ ก็ถึงเวลาที่นิทรรศการ Space Journey มาลงจอดที่ประเทศไทย ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในฝั่งประเทศเอเชียที่นิทรรศการอวกาศระดับโลกนี้ได้มาจัดแสดง Space Journey บอกเล่าตั้งแต่ต้นกำเนิดของการศึกษา สำรวจ และการเดินทางในอวกาศ จนถึงการพัฒนาด้านอวกาศในปัจจุบัน โดยเป็นการจัดแสดงวัตถุจริงหลายร้อยชิ้นจากสหรัฐอเมริกา, สหภาพโซเวียต และประเทศอื่นๆ ซึ่งบางชิ้นส่วนเป็นชิ้นงานที่เคยใช้จริงในอวกาศ […]

City in Patterns ความซ้ำซ้อนของเมือง

ภาพชุดนี้สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างเมือง มนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ผ่านการจัดวางองค์ประกอบที่เน้นรูปแบบซ้ำๆ เป็นตัวเดินเรื่อง โดยลดทอนความหลากหลายอันยุ่งเหยิง นำกลับไปสู่ความเรียบง่ายและดูเป็นระบบระเบียบ ถ้าหากพิจารณาให้ดีจะพบว่า มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในพื้นที่เหล่านั้น เราจึงมองว่าความซ้ำซ้อนไม่เพียงแค่ทำให้เกิดเป็นภาพ แต่ยังฉายภาพที่ ‘ซับซ้อน’ ภายในใจของเราด้วย ติดตามผลงานของ พุทธิพงศ์ นิพัทธอุทิศ ต่อได้ที่ Facebook : amp.puttipongInstagram : amp_puttipong หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

โลกหลังกำแพง ลูกกรง ลวดหนาม ที่กักขังความฝันให้ต้องทิ้งชีวิตเอาไว้ใน ‘วัยหนุ่ม 2544’

นับตั้งแต่หนังอย่าง 4 Kings ทั้งสองภาคออกฉาย สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนในสไตล์งานของผู้กำกับ ‘พุฒิพงษ์ นาคทอง’ คือการมีท่าทางเป็นบทเรียนสอนใจผู้ชมด้วยบริบทปัญหาเรื่องราวในสังคมไทย หากว่าเป็นหนังเรื่องอื่น ด้วยท่าทีเช่นนี้ผู้ชมหลายคนอาจรู้สึกเหมือนกำลังถูกชี้หน้าสั่งสอน หรือรับชมละครคุณธรรมที่มีคติสอนใจในตอนจบ แต่กับงานที่ผ่านมาตั้งแต่ 4 Kings ทั้งสองภาค จวบจนมาถึง ‘วัยหนุ่ม 2544’ นั้นกลับดูกลายเป็นเสน่ห์ของหนังที่ทำมาด้วยความซื่อตรง จริงใจ และมีความรู้สึกร่วมส่วนตัวแฝงอยู่จนผู้ชมสามารถสัมผัสได้ ด้วยน้ำเสียงที่ไม่มากไปไม่น้อยไปแบบนี้นี่เอง ทำให้ท่าทีของการสั่งสอนผู้ชมกลายเป็นการเชื้อเชิญไปร่วมสัมผัสประสบการณ์ช่วงหนึ่งในช่วงชีวิตของคนที่พลาดพลั้ง และไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้ไปเกิดขึ้นกับใคร หรือกระทั่งเป็นการยับยั้งไม่ให้คนที่กำลังหลงทางไปก่อกรรมทำเข็ญแก่ชีวิตผู้อื่นดั่งบรรดาตัวละครสมมุติในเรื่อง และในขณะเดียวกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งเป็นผลงานลำดับที่สามของผู้กำกับก็ดูเหมือนยังคงย่ำอยู่กับคอนเซปต์เดียวกันกับผลงานหนังสองภาคก่อนหน้า แค่ที่ต่างจากเดิมคือบริบทสถานที่ จากสถาบันช่างกลมาสู่ภายในรั้วของเรือนจำ และตัวละครเด็กช่างกลที่ทำผิดพลาดในชีวิต ซึ่งครั้งนี้ไม่อาจหลีกหนีผลของการกระทำของตัวเองได้เหมือนในผลงานก่อน วัยหนุ่ม 2544 จึงคล้ายวางตัวเป็นเรื่องราวภาคต่อจาก 4 Kings ได้อย่างกลายๆ ราวกับนี่คือหนังปิดไตรภาคของเรื่องราวเด็กช่างของผู้กำกับคนนี้ และนำไปสู่การสานต่อเรื่องราวว่า ความผิดพลาดทั้งหลายที่ช่วงวัยหนุ่มก่อขึ้นอาจนำไปสู่ปลายทางอันดำมืดภายหลังได้เพียงใด นอกจากเรื่องราวที่เข้มข้นจริงจังลึกลงไปยังมุมมืดแล้ว ด้านฝีมือการกำกับของผู้กำกับคนนี้ยังพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด ด้วยการนำเสนอภาพที่ปล่อยให้ผู้ชมเห็นห้วงเหตุการณ์ชั่วขณะโดยไม่ต้องมีบทพูดอธิบาย และการตามติดตัวละครโดยไม่จำเป็นต้องเล่าเรื่อง ทำให้ได้ความรู้สึกเหมือนร่วมสังเกตเหตุการณ์ชีวิตคนคนหนึ่งมากกว่าชมภาพยนตร์ที่มีเซตติ้งซีเควนซ์ชัดเจน มากไปกว่าการถ่ายทอดภาพชีวิตในคุกที่ดูสมจริง เป็นธรรมชาติ และเต็มไปด้วยความหดหู่ที่ดูเป็นความโดดเด่นของหนัง ซึ่งได้มาจากการไปถ่ายทำกันในสถานที่จริง อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือ บรรดาเหล่านักแสดงทั้งหลายที่ปรากฏตัวบนจอ แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่โดดเด่นแตกต่างกันไป แต่ทุกคนล้วนทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะถ้าใครคนใดคนหนึ่งทำพลาดไปแม้สักนิดเดียว อาจส่งผลให้หนังทั้งเรื่องเสียรูปไปเลยก็ได้ […]

ตรอกช้างม่อย-หลืบราชวงศ์ สำรวจพื้นที่สร้างสรรค์ใหม่ที่ซ่อนตัวในแหล่งการค้าเก่าของเมืองเชียงใหม่

ถนนช้างม่อยมีความยาวราวหนึ่งกิโลเมตร วางตัวขนานกับถนนท่าแพ เชื่อมคูเมืองโบราณใจกลางเมืองเก่าของจังหวัดเชียงใหม่เข้ากับพื้นที่เลียบแม่น้ำปิง ส่วนถนนราชวงศ์เป็นถนนสายสั้นที่ตัดผ่านถนนช้างม่อยบริเวณซุ้มประตูทางเข้าตลาดวโรรส ทั้งสองเป็นถนนสายรองที่เรียงรายไปด้วยอาคารเก่าแก่กว่า 50 ปี ซึ่งเป็นทั้งร้านค้าและโกดังเก็บสินค้าของผู้ประกอบการรุ่นต่อรุ่น พร้อมไปกับกระแสการฟื้นฟูย่านเก่าด้วยรูปแบบธุรกิจสมัยใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก จากย่านเก่าแก่ที่หลายคนเคยมองข้าม ช้างม่อยและราชวงศ์ก็ตกอยู่ภายใต้แสงสปอตไลต์ และดูเหมือนจะถูกมองว่าเป็น ‘ย่านนิมมานเหมินท์ใหม่’ ในสายตาของนักท่องเที่ยว แม้จะมีการเปรียบเปรยเช่นนั้น แต่ช้างม่อย-ราชวงศ์ กลับมีเอกลักษณ์ที่ต่างออกไปจากพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินใหม่อย่างนิมมานเหมินท์อย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากต้นทุนดั้งเดิมของย่านคืออาคารเก่า เราจึงพบรูปแบบ Mixed-use ผสานความเก่า-ใหม่ภายในพื้นที่อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคาเฟ่ที่ซ่อนตัวอยู่บนพื้นที่ชั้นบนของร้านค้าเก่าแก่ที่ยังคงเปิดกิจการ ร้านขายเสื้อผ้าในโกดังที่เคยร้าง หรือกระทั่งโชว์รูมสินค้าดีไซเนอร์ที่ตั้งอยู่กลางชุมชน เป็นอาทิ ไม่ว่าจะตั้งใจให้เป็นหรือไม่ รูปแบบของการผสมผสานการใช้งานเหล่านี้ได้มาพร้อมการสร้างนิยามของการเป็นย่านสร้างสรรค์ให้กับเมืองเชียงใหม่ไปโดยปริยาย ทั้งจากการประยุกต์ใช้พื้นที่อย่างชาญฉลาด การดึงดูดให้คนทำงานสร้างสรรค์หรือผู้ที่สนใจธุรกิจเข้ามาใช้พื้นที่ รวมถึงการมีพลวัตของการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา คอลัมน์ Neighboroot ชวนไปเลาะตรอกซอย และเดินขึ้นชั้นสองของอาคารในย่านการค้าเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่ เพื่อสำรวจที่มาและพัฒนาการของย่าน ผ่านมุมมอง ‘คนใน’ ที่มีส่วนในการพลิกโฉมพื้นที่แห่งนี้ Brewginning : จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่าน เริ่มกันที่หัวถนนช้างม่อย บริเวณสี่แยกที่ตัดกันระหว่างถนนช้างม่อยสายเก่ากับสายใหม่ อันเป็นศูนย์รวมร้านขายเครื่องหวายเก่าแก่ในย่านเมืองเก่า ที่นี่คือที่ตั้งของ Brewginning Coffee ร้านกาแฟในอาคารปูนสไตล์โมเดิร์นผสมกลิ่นอายอาร์ตเดโค อายุเกินครึ่งศตวรรษ ร้านที่เรามองว่าเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่เปลี่ยนภาพจำของย่านนี้ไปโดยสิ้นเชิง ‘โชค-พีรณัฐ กาบเปง’ เจ้าของร้าน เคยทำงานในร้านกาแฟที่ซิดนีย์ ออสเตรเลีย […]

1 2 3 4 23

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.