FYI

ชวนดูระบบ SMS ข้อความเตือนภัยฉุกเฉินจาก 4 ทวีปทั่วโลก

ข้อความฉุกเฉินเตือนภัยในแต่ละประเทศจะถูกแจ้งผ่านทางทีมรัฐบาล หรือส่งตรงจากนายกรัฐมนตรี หรือประธานาธิบดีที่ดำรงตำแหน่ง ณ ขณะนั้น ซึ่งแท้จริงแล้วข้อความเหล่านี้ ถูกส่งผ่านระบบ ‘Cell Broadcast (CB)’ ที่เป็นวิธีการส่งข้อความผ่านทางระบบเครือข่ายมือถือไปยังผู้ใช้โทรศัพท์มือถือหลายคนในพื้นที่ในเวลาเดียวกัน โดยไม่จำเป็นต้องใช้หมายเลขโทรศัพท์ ทั้งยังส่งได้ผ่านระบบไร้สายและตามสาย ด้วยความยาวสูงสุดได้ถึง 1,395 ตัวอักษร โดยการส่งต่อข้อความฉุกเฉินถึงผู้คนหลายล้านคน หลากหลายภาษา ตามมาตรฐานจะใช้เวลาเพียง 10 วินาทีเท่านั้น ซึ่งกว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของโทรศัพท์มือถือที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน สามารถรองรับ Cell Broadcast ได้แล้ว แอบกระซิบว่าสามารถตั้งค่าในโทรศัพท์มือถือได้ทั้งระบบ iPhone และ Android ซึ่งในแต่ละทวีปจะเป็นอย่างไรบ้างนั้นตามไปดูกัน 01 | ทวีปยุโรป : EU-Alert / Everbridge Public Warning เราเริ่มต้นพาไปส่องการแจ้งเตือนภัยทางฝั่งยุโรป ที่มีเครือข่ายและพื้นที่ค่อนข้างใหญ่พอสมควร ซึ่งมีชื่อว่า ‘EU-Alert’ โดยแต่ละประเทศให้ความสำคัญแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้นๆ ด้วยการแทนอักษรย่อประเทศ เช่น NL-Alert : ประเทศเนเธอร์แลนด์GR-Alert : ประเทศกรีซ LT-Alert […]

Made in Charoenkrung ปลุกร้านเก่าแก่ย่านเจริญกรุงให้กลับมาคูลอีกครั้ง

Made in Charoenkrung คือโปรเจกต์ที่ดึงความสามารถของเหล่าช่างฝีมือ และทักษะความเจ๋งของร้านเก่าแก่ในย่านเจริญกรุง ให้กลับมาผงาดอีกครั้งด้วยการผนึกกำลังเสริมของเหล่าดีไซเนอร์รุ่นใหม่ที่จะมาช่วยกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ให้ปังขึ้น

เรื่องเล่าหลังความตายกับเพื่อนคนสุดท้ายที่ชื่อว่า ‘สัปเหร่อ’

ความตั้งใจของเฟิร์นนิสิตจุฬาฯ ชั้นปีสุดท้ายที่เลือกทำโปรเจกต์นี้คือ การสร้างความเข้าใจให้กับคนรุ่นใหม่ว่าสัปเหร่อในปัจจุบันเป็นอย่างไร เพื่อเพิ่มคุณค่าและความสำคัญของอาชีพนี้ เพราะการทำงานของสัปเหร่อนั้นมีรายละเอียดมากมายกว่าที่พวกเราเคยเห็น

flowerhub.space ช้อปดอกไม้ออนไลน์จากปากคลองตลาด

แคมเปญชวนมาซื้อดอกไม้จากปากคลองตลาดแบบออนไลน์จากเว็บไซต์ flowerhub.space โปรเจกต์จาก ผศ.ดร.สุพิชชา โตวิวิชญ์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หรืออาจารย์หน่องซึ่งคลุกคลีใกล้ชิดทำโปรเจกต์กับชาวปากคลองตลาดมานาน

เพิ่มสกิลทำเมนูเด็ดจากทั่วโลก ผ่านคอร์สออนไลน์จาก Airbnb

การทำอาหารจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะเชฟและผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารจากทั่วทุกมุมโลกจะมาสอนทำเมนูเด็ด ผ่านคอร์สออนไลน์จาก Airbnb

รัฐสภาแบบไหนที่ใช่ ส่องการออกแบบที่ฟังเสียงประชาชน

รัฐสภาในแต่ละประเทศที่ถูกสร้างขึ้นมาสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดการปกครองของพื้นที่นั้นด้วย เมื่อสิทธิ์และเสียงของประชาชนต้องการถูกยอมรับ การออกแบบรัฐสภาก็ควรคำนึงถึงประชาชนมาเป็นอันดับแรก

Vacilando Bookshop ร้านหนังสือภาพถ่าย ที่ตั้งใจสร้างบทสนทนาใหม่ให้ผู้มาเยือน

‘Vacilando Bookshop’ ร้านหนังสือภาพถ่ายที่เพิ่งย้ายมาเปิดใหม่ในซอยไมตรีจิตต์ บทสนทนาใหม่ของคนรักร้านหนังสืออิสระ

Pica Pen ลอกคราบความเชยของเครื่องเขียนให้อยากพกติดตัว

เปิดประสบการณ์ใหม่ผ่านเครื่องเขียนกับเจ้าของและนักออกแบบแบรนด์ Pica Pen ‘ก้อง-พิชชากร มีเดช’ ที่ตกหลุมรักเครื่องเขียนตั้งแต่วันแรกที่ได้เจอ จนสานต่อมาเป็นผลงานออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ติดคุกมีสิทธิ์สุขภาพดีไหม คำถามถึงคุณภาพชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขังที่กำลังหายไป

อาบน้ำ 8 ขันต่อวัน ต้องเลือกจุดทำความสะอาดที่สำคัญ ขับถ่ายในห้องน้ำขนาดเล็กไม่มีประตู มองเห็นตั้งแต่หัวจรดเท้า นอนรวมกันในห้องขัง 30 – 40 คน หนึ่งในตัวอย่างชีวิตผู้ต้องขังที่เผชิญหลังกำแพงเรือนจำในประเทศไทย ความลำบากตั้งแต่ลืมตาตื่นยันหลับตานอนอาจไม่เกินจริงไปนัก เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ตัวเลขการติดโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทั้งยังมีประกาศตรวจพบผู้ติดเชื้อกลุ่มใหม่กว่า 10,000 ราย กระจายอยู่ในเรือนจำกว่า 10 แห่งในหลายจังหวัดทั่วประเทศ  โดยสถานการณ์หนักสุดอยู่ที่เรือนจำและทัณฑสถานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล และเรือนจำขนาดใหญ่ที่ จ.เชียงใหม่ ซึ่งหลังจากข่าวนี้แพร่ออกไป พาเอาหลายคนตกอกตกใจไปตามๆ กัน ในสื่อโซเชียลเริ่มมีการแชร์ภาพการเป็นอยู่ของผู้ต้องขังที่ต้องนอนเรียงราย บ้างก่ายกอดกันจนแทบไม่มีช่องว่างให้นึกถึง Social Distancing เลยด้วยซ้ำ จากเหตุการณ์ครั้งนี้ อาจต้องย้อนกลับไปมองและคิดให้ถ้วนถี่ว่าแท้จริงแล้วการใช้ชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำนั้นเหมาะสม และถูกสุขลักษณะหรือไม่ แต่ช้าก่อนอย่าเพิ่งคิดว่า ทำไมล่ะ นั่นเรือนจำนะ จะให้สะดวกสบายเหมือนอยู่บ้านได้ยังไง คนทำความผิดจะต้องได้รับการดูแลอย่างดีงั้นเหรอ หยุดก่อน…เรากำลังพูดถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์คนหนึ่งควรได้รับต่างหาก และยิ่งในสถานการณ์ที่ประเทศเรามีโรคระบาดหนักแบบนี้ พวกเขาควรได้รับการดูแลไม่ต่างกันกับคนที่อยู่ข้างนอก สอดคล้องกับข้อมูลของสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (FIDH) ที่ว่า เรือนจำในประเทศไทยมีนักโทษมากเป็นอันดับ 6 ของโลก แต่กลับไม่ได้มาตรฐานสากลเลยสักที่ เพราะไม่ผ่านการประเมินตามหลักที่กำหนดไว้ เช่น […]

ออนไลน์มิวเซียม ไม่ต้องไปไหนไกลก็ทัวร์รอบโลกได้

การเสพงานศิลปะและเรียนรู้วัฒนธรรมคือรากฐานของแรงบันดาลใจ จะให้ไปดูตามสถานที่จริงก็ดูจะเป็นเรื่องยากอยู่เหมือนกัน แต่จะดีแค่ไหนเมื่อเทคโนโลยีสามารถย่อโลกทั้งใบให้เล็กลงเพียงแค่คลิกเดียวเท่านั้นคุณก็สามารถเติมเต็มแรงบันดาลใจได้อย่างง่ายดาย เราจึงขอนำเสนอออนไลน์มิวเซียมที่จะพาคุณไปไหนก็ได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัสโดยไม่ต้องไปไหนไกลๆ ก็ทัวร์รอบโลกได้เหมือนกัน | NASA (National Aeronautics and Space Administration) จะออกไปแตะขอบฟ้าแต่เหมือนว่าโชคชะตาไม่เข้าใจ…แต่คราวนี้คุณจะได้ออกไปแตะขอบฟ้าโดยไม่ต้องพึ่งโชคชะตาแล้วแหละ เพราะ ‘NASA’ ย่อโลกทั้งใบให้อยู่ในมือคุณแล้วด้วยการสร้าง ‘พิพิธภัณฑ์ทางเทคโนโลยีและอวกาศ’ ในรูปแบบออนไลน์เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนทั่วโลกได้ล่องลอยไปในอวกาศพร้อมๆ กัน โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ของพิพิธภัณฑ์นี้จะเกี่ยวกับโลก ดวงอาทิตย์ อวกาศ และเรื่องราวต่างๆ ในระบบสุริยจักรวาลในรูปแบบของภาพถ่ายและวิดีโอ รวมไปถึง ‘NASA TV’ ซึ่งมีทั้งการถ่ายทอดสดมุมมองจากนอกโลกและบทสัมภาษณ์จากนักบินอวกาศส่งตรงจากนอกโลกกันเลยทีเดียว และยังมีในส่วนของด้านการศึกษาสำหรับเด็ก อาทิ เกม หนังสือออนไลน์ (E-book) ไฟล์ข้อมูลแบบเสียง (Podcasts) ที่สามารถเลือกดาวน์โหลดกันได้ฟรีๆ จากทางเว็บเลย และยังทันสมัยสุดๆ ด้วยแอปพลิเคชันบนมือถือที่สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android โหลดเก็บเอาไว้ในเครื่องแล้วออกไปท่องอวกาศกันเถอะ! คลิกเข้าชมได้ที่ : https://www.nasa.gov | National Women’s History Museum ปัญหาสิทธิเสรีภาพของสตรีเกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน ‘ผู้หญิงคือสิ่งต้องห้าม’ ในหลากหลายโอกาสจนกลายเป็นปัญหาสะสมที่หลายคนมองข้ามไป แต่กาลเวลาไม่ได้ทำให้เรื่องราวเหล่านั้นสูญหายไป ‘พิพิธภัณฑ์สตรีแห่งชาติ […]

สมคิด คชาพงษ์ ช่างแทงหยวกสายวัดอัปสรฯ คนเกือบสุดท้ายผู้ต่อลมหายใจให้ศิลปะแทงหยวก

หากพูดถึงคำว่า แทงหยวก บางคนอาจแอบขมวดคิ้วเพราะนึกไม่ออกว่ามันคืออะไร หรือไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อนเลยด้วยซ้ำ แท้จริงแล้ว แทงหยวกคือศิลปะไทยโบราณชนิดหนึ่ง ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจากการแทงหยวกกล้วยให้เป็นลวดลายสวยงามที่ปัจจุบันหาดูได้ยาก  ครั้งนี้ เราจึงพาย้อนเวลาไปท่องโลกศิลปะการแทงหยวกกับ คุณสมคิด คชาพงษ์ ครูช่างแทงหยวก สายวัดอัปสรสวรรค์วรวิหาร ที่จะถ่ายทอดศิลปะแขนงนี้ให้ชมแบบไม่มีกั๊ก ก่อนวันสัมภาษณ์ คุณครูสมคิดยกหูโทรศัพท์บอกเราว่าเตรียมต้นกล้วยพร้อมแล้วนะ แถมยังเปรยถึงการตำน้ำพริกด้วยตัวเองเพื่อทำเมนูพิเศษอย่างขนมจีนและแกงเขียวหวานฟัก รอเลี้ยงพวกเราด้วย แค่นี้ก็ทำให้เราใจฟูมากๆ นับวันรอล้อหมุนออกเดินทางเพื่อตามรอยต้นกล้วยไปยังจังหวัดนนทบุรีบ้านคุณครูอย่างใจจดใจจ่อ จากหยวกกล้วยธรรมดา ถูกรังสรรค์ลวดลายได้อย่างงดงามเพียงปลายมีด นั่นคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวของศิลปะที่เรียกว่า ‘การแทงหยวก’ นอกจากความประณีตละเอียดลออ สิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความมุ่งมั่นฝึกฝนจนชำนาญของช่างแทงหยวกที่ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียงไม่กี่คนแล้ว และคุณครูสมคิด คชาพงษ์ คือหนึ่งในช่างที่ลงมือแทงหยวกมาร่วม 50 ปี ทั้งยังเป็นที่รู้จักและคุ้นเคยอย่างดีในแวดวงช่างแทงหยวก จากผลงานอันโดดเด่นจนได้รับการยกย่องให้เป็นครูช่างศิลปหัตถกรรม ช่างแทงหยวก ประจำปี 2563 จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เด็กชายสมคิดแทงหยวกครั้งแรก วัยเด็กของหลายคนอาจสนุกสนานกับการวิ่งเล่น แต่สำหรับเด็กชายสมคิดการนั่งเรือเอี้ยมจุ๊นติดตามปู่กับพ่อ ออกไปแทงหยวกตามวัดต่างๆ กลายเป็นความสนุกอย่างหนึ่งในชีวิต จากเด็กน้อยที่ไม่ได้สนใจศิลปะแขนงนี้กลับซึมซับจนหันมาจับมีดแทงหยวกครั้งแรกตั้งแต่ชั้น ป.2 (โห ถ้าเทียบกับเราในวัยเดียวกันตอนนั้นคงยังวิ่งเล่นอยู่แน่ๆ) “การเดินทางในสมัยก่อนยังไม่เจริญ บางวัดหรือสถานที่ต่างๆ ถนนยังเข้าไม่ถึงเลยด้วยซ้ำ การเดินทางเลยใช้เรือเป็นหลัก ทำให้ช่างแทงหยวกในสมัยก่อนกระจายตัวอยู่ตามวัดในหัวเมืองต่างๆ ซะเป็นส่วนใหญ่ ครูเองก็เริ่มต้นซึมซับวิถีช่างแทงหยวกตั้งแต่ตอนนั้น สมัยก่อนตอนเป็นเด็ก […]

ตามรอยย่านธุรกิจริมแม่น้ำเจ้าพระยา ‘ตรอกดิลกจันทร์’

เสียงคลื่นจากเรือกระทบฝั่ง ณ ‘ตรอกดิลกจันทร์’ หรือ ‘ชุมชนสมเด็จย่า’ ที่หลายคนคุ้นหู พื้นที่ชุมชนริมน้ำเจ้าพระยาที่ในอดีตย่านธุรกิจการค้าและการส่งออกที่เคยรุ่งเรืองมาเป็นเวลานาน ครั้งที่ประเทศไทยยังมีเส้นเลือดใหญ่เป็นการสัญจรและขนส่งทางน้ำเป็นหลัก ซึ่งส่งผลให้ความเจริญของธุรกิจการค้าขายกระจายตัวอยู่ในย่านนี้เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโรงน้ำปลา โรงเกลือ โรงสีข้าว โรงทำชันยาเรือ หรือโรงงานทอผ้า ที่ในปัจจุบันแทบไม่หลงเหลือให้เห็นธุรกิจเหล่านั้นแล้ว  Urban Creature จึงออกเดินทางไปตามรอยชุมชนเล็กๆ ที่หากมีโอกาสนั่งเรือล่องแม่น้ำเจ้าพระยาจะสังเกตเห็นศาลเจ้าและบ้านเก่าริมน้ำโดดเด่นมาแต่ไกล นั่นแหละคือที่ตั้งของชุมชนตรอกดิลกจันทร์ ที่แม้เรื่องราวความเจริญรุ่งเรืองของการขนส่งสินค้าทางน้ำจะเป็นภาพที่เลือนรางในปัจจุบัน แต่ความทรงจำของผู้คนในชุมชนยังคงชัดเจนอยู่เสมอ ทุกย่านล้วนมีเรื่องราวที่แอบซ่อนอยู่ การออกเดินทางครั้งนี้ของคอลัมน์ Neighborhood จะพาไปลัดเลาะริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านธุรกิจที่เคยคับคั่งทั้งการส่งออกสินค้าทั้งในและต่างประเทศในสมัยที่การเดินทางและการขนส่งสินค้าด้วยเรือยังเป็นเส้นเลือดหลักของประเทศไทย ‘ชุมชนตรอกดิลกจันทร์’ หรืออาจคุ้นหูกันในชื่อ ‘ชุมชนสวนสมเด็จย่า’ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเขตคลองสาน กรุงเทพฯ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากสะพานพระปกเกล้าเท่าไหร่นัก หากใครเคยมีโอกาสมางาน Art in Soi เทศกาลประจำปีย่านประวัติศาสตร์ริมน้ำ กะดีจีน-คลองสานแล้วล่ะก็คงคุ้นเคยกับย่านนี้พอสมควร ขณะเดียวกันหลายคนอาจยังไม่เคยได้สัมผัสย่านนี้เท่าไหร่ อาจคุ้นๆ ว่าเคยผ่านไปผ่านมาแต่ไม่เคยได้เข้าไปสักที ครั้งนี้ ‘ชุมชนตรอกดิลกจันทร์’ จะไม่ใช่ทางผ่านที่ถูกลืมอีกต่อไป ชุมชนตรอกดิลกจันทร์ ชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำ ประเทศไทยผูกพันกับสายน้ำมาโดยตลอดจนกลายเป็น ‘สังคมลุ่มแม่น้ำ’ ที่ทำเกษตรกรรม ทำสวน ทำนา เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญทั้งกับภายนอกและภายใน เพื่อทำการค้าขายและส่งออก  ขึ้นชื่อว่าสายน้ำย่อมมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา […]

1 2 3 11

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.