Creative Art District : TOYS  ธีสิสที่ใช้ ‘ของเล่น’ มาพัฒนาเมือง ให้สร้างสรรค์ผ่าน ‘ย่านสะพานเหล็ก’

การพัฒนาเมืองยังคงต้องเกิดขึ้นทุกวันไม่มีหยุด เพื่อปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย หลายสถานที่เป็นไปตามแบบแผน และอีกหลายพื้นที่ก็ยังคงเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาจากการเข้ามาของสิ่งใหม่ที่ผลักให้คุณค่าของความดั้งเดิมทั้งชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมต่างๆ สูญหายไป ‘แนน-นภัสสร จันทรเสนา’ บัณฑิตจบหมาดๆ จากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจการพัฒนาเมืองในเรื่องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม ได้จัดทำผลงานวิทยานิพนธ์ชื่อว่า ‘โครงการฟื้นฟูบูรณะเมืองและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ย่านสะพานเหล็ก สู่ย่านของเล่นร่วมสมัย’ ขึ้นมาเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองนั้นมีหลายวิธี และ ‘การพัฒนาย่านสร้างสรรค์’ เป็นหนึ่งวิธีที่ธีสิสนี้เลือกใช้ คอลัมน์ Debut วันนี้พาไปรู้จักวิทยานิพนธ์ดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์จากเวที TOY ARCH Thailand ประจำปี 2566 กับไอเดียการพัฒนาเมืองที่มีแนวคิดจาก ‘ของเล่น ของสะสม’ จะนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ในรูปแบบไหนได้บ้าง ไปดูกัน ‘ของเล่น ของสะสม’สู่แนวคิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ แนนมีบ้านเกิดอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด เธอเลือกเข้ามาเรียนคณะสถาปัตยกรรมฯ ที่จุฬาฯ เพราะมีความชอบด้านงานศิลปะและการออกแบบเป็นทุนเดิม บวกกับที่เธอชอบการท่องเที่ยวและเป็นนักสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ จากการได้มาใช้ชีวิตเรียนหนังสือในเมืองอย่างกรุงเทพฯ ทำให้ทุกๆ วันจะได้พบกับมุมมองที่ต่างออกไป ตลอดระยะเวลา 4 – 5 ปีของการศึกษา แนนพบว่าตัวเองนั้นอยากพัฒนาเมืองในเรื่องวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม […]

จาก ‘เด็กหญิงดอกไม้’ ถึง ‘มาลัยพวงสุดท้าย’ การเดินทางของศิลปิน Behind The Smile

สวัสดีมิตรรักแฟนเพลงทุกท่าน กลับมาอีกครั้งกับคอลัมน์แกะเพลง วันนี้เป็นคิวของศิลปินจากหาดทรายรี จังหวัดชุมพร หากเอ่ยชื่อออกไปหลายคนคงคุ้นหูในบทเพลงของเขา และมีอีกมากที่อาจยังไม่เคยได้ยินได้ฟัง ก่อนจะเอ่ยนาม เราขอหมุนเวลาย้อนไปเล่าเรื่องของเขาให้ฟังสักนิดพอให้ได้ทำความรู้จักกันสักหน่อย ตั้งแต่ช่วงประถมฯ จุดเริ่มต้นเส้นทางดนตรีของเขามาจากพี่ชายสองคน คนหนึ่งเป็นแนวเพื่อชีวิต ส่วนอีกคนเป็นสายเฮฟวี น้องคนสุดท้องอย่างเขาจึงมีกีตาร์เป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ได้ลองหัดและมีบทเพลงมากมายที่หลั่งไหลเข้ามาให้ได้ฟัง ต่อมาอาจารย์ที่สอนอยู่โรงเรียนแถวบ้านได้มองเห็นแววดนตรีของเขา จึงเปิดประตูสู่เส้นทางดนตรีให้ชายหนุ่ม หาเพลงแปลกใหม่ให้ฟัง พาไปดูเวทีประกวด แลกเปลี่ยนวิถีชีวิตศิลปิน และชวนไปเรียนต่อในระดับมัธยมฯ ทำให้เขาได้กลายเป็นนักดนตรีประจำวงดุริยางค์และวงสตริงของโรงเรียนในตำแหน่ง ‘มือกลอง’ “บ้านอยู่หัวกรู๊ดด ชอบฟังยูสสเอฟเอ็ม ชอบฟังดีเจจุ๊บบแจง เก้าสิบสองจู๊ดดเจ็ดห้า ที่ยูสสเอฟเอ็ม” สิ้นสุดช่วงวัยเรียน ดนตรีทำให้เขาได้ทำสิ่งที่ชอบ ได้รับรางวัล และยังทำให้ได้งานที่คลื่นวิทยุแห่งหนึ่งในตัวเมืองหัวหิน ซึ่งจิงเกิลคือหนึ่งในผลงานที่ทำให้รายการวิทยุ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการแต่งเพลงของเขา เขาทำงานที่คลื่นวิทยุเป็นเวลา 10 ปี บางครั้งที่ดีเจไม่ว่างก็ต้องรับหน้าที่แทน ทำให้มีโอกาสสัมภาษณ์ศิลปินชื่อดังในยุคนั้น เขาเริ่มได้ยินเสียงตัวเองมากขึ้น ได้ใช้ไมค์ ได้ทำสปอตโฆษณา คุ้นเคยกับการอ่านข้อมูลหลายๆ หน้าและย่อความให้เหลือเป็นสคริปต์พูด 30 วินาที ฯลฯ ในเวลาเดียวกันนั้นเขาเริ่มเล่นดนตรีกลางคืน จากมือกลองวงโรงเรียนก้าวไปเล่นดนตรีหลายแนวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเพลงร็อก เร็กเก้ สการ์ โซล ฟังกี้ แจ๊ส ฯลฯ และการเดินทางของเวลาก็นำพามาให้พบกับเหล่ามิตรสหายนักเรียนดนตรีจากกรุงเทพฯ […]

‘ช่างหวาน-สวาร สุขประเสริฐ’ กับอาชีพช่างแกะสลักไม้ที่เริ่มจางหายไปตามกาลเวลา

ในช่วงเวลาที่โลกพัฒนาและหมุนไปอย่างรวดเร็ว อุตสาหกรรมเครื่องจักรเข้ามาทดแทนงานฝีมือของมนุษย์ งานแกะสลักไม้เริ่มค่อยๆ จางหายไปตามกาลเวลา ‘ช่างหวาน-สวาร สุขประเสริฐ’ ช่างแกะสลักไม้จากร้าน ‘บ้านอินคำ’ คือหนึ่งในผู้หลงเหลืออยู่ในแวดวงอาชีพนี้ “สมัยก่อนงานแกะสลักรุ่งเรืองมาก งานเยอะ ทำแทบไม่ทัน ต้องทำโอทีทุกคืน ช่างแกะรุ่นใหม่ก็เข้ามาฝึก แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว ผมแทบจะเป็นช่างแกะสลักรุ่นเด็กที่เหลืออยู่” รายการ The Professional พาไปรู้จักกับอาชีพช่างแกะสลักไม้ และความหวังที่จะมีคนรุ่นใหม่เข้ามาอนุรักษ์ศาสตร์นี้ให้ยังคงอยู่ต่อไป

‘นภัสรพี อภัยวงศ์’ ศิลปินผู้ใช้ AI สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายที่เต็มไปด้วยความเหนือจริง

เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาตามยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งอำนวยความสะดวกสบายของพวกเราล้วนเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยเข้ามาช่วยงานเราเล็กๆ น้อยๆ ตอนนี้เทคโนโลยีเดินหน้ามาถึงวันที่มันมีมันสมองในตัว สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาจากชุดข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป ส่งผลให้การค้นหา ‘ความจริง’ ของเราถูกขยายขอบเขตไปไกลเกินกว่าจะกำหนดได้ เรื่องที่ไม่เคยรู้ก็ได้รู้ เรื่องที่น่ารู้น่าสนใจก็ประดากันเข้ามาเป็นประตูสู่โลกใบใหม่ที่มีหลากร้อยพันมิติให้เลือกค้นหาหรือใช้ประโยชน์ จากยุคปัญญาคนมาถึงยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นเครื่องมือแห่งยุคสมัยหรืออาจเรียกว่าเป็นคู่หูใหม่ที่หลากหลายวงการต่างนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาให้ได้เห็นกันทุกวัน เช่นเดียวกับนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทยของ ‘ตรัส-นภัสรพี อภัยวงศ์’ ผู้นำ AI มาร่วมด้วยช่วย Generate ผลงานภาพชุด Resonances of the Concealed ของเขา เพื่อบันทึกช่วงเวลาหนึ่งเอาไว้ และวันนี้ภาพของเขาก็กำลังแขวนอยู่บนผนังสีนวลตาชั้นสองของแกลเลอรีสุดสงบ รอให้ทุกคนแวะเวียนมาชมที่ ‘Kathmandu Photo Gallery’ (คัดมันดูโฟโต้แกลเลอรี) ในซอยสีลม 20 ตรงข้ามวัดแขก Pale_Flare ระดับแสงที่ตรงกับความรู้สึก ตรัสเริ่มต้นเล่าว่า จากช่วงน้ำท่วมในปี 54 ระหว่างย้ายออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว ความเปื่อยๆ เบื่อๆ ก็เข้าครอบงำ พอดีกันกับที่น้องของเขาได้หิ้วหนังสือสอนถ่ายภาพเบื้องต้นและกล้อง Canon 7D เข้ามาให้ทำความรู้จัก การเรียนรู้ครั้งใหม่ของตรัสจึงเกิดขึ้น “ช่วงแรกๆ ก็ถ่ายรูปไปเรื่อย ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร […]

ครบรอบ 30 ปี ‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ สถานที่รวมประวัติศาสตร์ของคนทำงาน ที่รัฐไม่เคยเหลียวแล

‘พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย’ เป็นแหล่งท่องเที่ยวหนึ่งในเขตราชเทวี ตั้งอยู่บนถนนนิคมมักกะสัน ด้านหน้าของอาคารชั้นเดียวแห่งนี้จะมองเห็น ‘อนุสาวรีย์ศักดิ์ศรีแรงงาน’ เป็นรูปปั้นคนงานหญิงชายกำลังผลักกงล้อประวัติศาสตร์ให้เคลื่อนไปข้างหน้า ใต้กงล้อมีรถถังถูกบดขยี้ อันบ่งบอกความหมายถึงการคัดค้านเผด็จการ สร้างขึ้นเพื่อยืนยันความมีศักดิ์ศรีของ ‘ชนผู้ใช้แรงงานไทย’ และถือเป็นอนุสาวรีย์แห่งแรกของผู้ใช้แรงงานอีกด้วย พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เกิดจากกระบวนการรวมตัวกันของเหล่าคนทำงาน นักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ด้านแรงงาน ฯลฯ และได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท เยอรมัน ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำการศึกษาเรื่องสิทธิแรงงานและประเด็นทางสังคมต่างๆ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนลงมติร่วมกันเพื่อสร้างสถานที่รวบรวมและจัดแสดงเรื่องราวของผู้ใช้แรงงานไม่ให้หายสาบสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทย เปิดทำการเมื่อวันอาทิตย์ที่ 17 ตุลาคม 2536 ผ่านร้อนฝนมาจนเวลาที่พิพิธภัณฑ์แรงงานไทยกำลังจะมีอายุครบรอบ 30 ปี คอลัมน์ Urban Guide ขอพาทุกคนไปเดินเล่นท่องเที่ยวรู้จักพิพิธภัณฑ์แห่งแรกในประเทศไทยที่บอกเล่าเรื่องราวของชนชั้นกรรมาชีพให้มากขึ้น เด็กช่าง คนดนตรี นักเคลื่อนไหว ผู้อุทิศตนเป็นปากเสียงของแรงงาน เราได้พบกับผู้จัดการพิพิธภัณฑ์และเขาจะมาเป็นไกด์นำทัวร์วันนี้ ‘วิชัย นราไพบูลย์’ ผู้อุทิศตนให้กับการขับเคลื่อนเรื่องสิทธิแรงงานมาตั้งแต่เรียนจบจนถึงปัจจุบันในวัย 67 ปี พี่วิชัยเล่าว่า เขาเรียนจบช่างยนต์ที่เทคนิคกรุงเทพ จากนั้นเข้าทำงานโรงงานแถวรังสิต ผ่านหนึ่งปีไปนิดหน่อยก็ถูกเลิกจ้าง และออกไปเล่นดนตรีหาเลี้ยงชีพ ผลิตผลงานเพลงออกขาย เขาเติบโตมากับเรื่องสิทธิแรงงาน เมื่อมีงานประท้วงหรือการจัดกิจกรรมชุมนุมเกี่ยวกับเรื่องแรงงานเมื่อไหร่ จะได้พบกับวิชัยและผองเพื่อนนักดนตรีไปเล่นให้กำลังใจอยู่เสมอ (หาฟังเพลงของพี่วิชัยได้ที่ วงภราดร หรือวงอินโดจีน เป็นต้น) ส่วนงานด้านวิชาการเขาก็เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสำรวจ […]

‘เบียร์เป็นมากกว่าความมึนเมา’ อ่าน Writer’s Taste ดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ สำราญรสเบียร์

ย้อนกลับไปในวัยของนักดื่มผู้ไร้เดียงสา วันนั้นเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่เพื่อนพ้องน้องพี่ทุกคนจะจับกลุ่มรวมกันเพื่อสังสรรค์และกระทำการรื่นเริง อาหารและกับแกล้มคือสิ่งที่ต้องมี ส่วนที่ขาดไปไม่ได้เลยในปาร์ตี้ก็คือ ‘เบียร์’ (จำนวนหลายลัง) และวันนั้นไม่ว่าจะดื่มไปเท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมดสิ้น ยิ่งกินยิ่งสนุก บางคนเสียงดังขึ้น บ้างเริ่มหยอกล้อเพื่อนด้วยการตบหัว กระแทกไหล่ หรือบางคนก็เริ่มพูดความจริงในใจออกมา ส่วนใครบางคนเช่นเรา เมื่อดื่มด้วย กินด้วย เวลาผ่านไปทุกอย่างก็พวยพุ่งออกมาเป็นเศษซากเนื้อย่างจำนวนมหาศาล ทุกครั้งที่ร่างกระตุกเกร็งเพื่อขย้อนของที่กินออก การนอนเล่นอ้วกแบบนั้นเป็นความรู้สึกที่แสนทรมาน และเมื่อตื่นเช้าขึ้นมาความแฮงก็ตามมาราวีจวบจนครึ่งค่อนวันก็ยังไม่หายดี  เมื่อเติบโตมีการงานและทำเงินได้มากขึ้น เราจึงได้รู้ว่าเบียร์ที่มีขายตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายของชำในหมู่บ้านที่เคยดื่มด่ำเมื่อวันวานเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ ของประเภทเบียร์บนดาวดวงนี้ และคำกล่าวที่บอกว่า ‘กินอะไรก็เมาเหมือนกัน’ เป็นความจริงแบบหนึ่ง ทว่าเราสามารถออกแบบความเมาและรับรู้ความเมาได้ เมื่อเราพบประเภทและรสชาติเบียร์ที่ต่างออกไปจากสองสามยี่ห้อที่พบเจอเป็นปกติของระบบทุนผูกขาด ปัจจุบันเสรีภาพในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยขยายขอบเขตกว้างขวางมากขึ้น มีผู้ผลิตรายย่อยเพิ่ม มีการต่อสู้เรียกร้อง มีเทศกาลงานเบียร์และสุราให้เลือกดื่มด่ำกับรสชาติแปลกใหม่ รวมถึงการส่งต่อองค์ความรู้ให้กับผู้ชื่นชอบการดื่มได้สัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป  คอลัมน์ อ่านอะไร ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหนังสือ ‘Writer’s Taste ดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ สำราญรสเบียร์’ ฉบับพิมพ์ครั้งที่สองในรอบสิบปีของ ‘อุทิศ เหมะมูล’ นักเขียนผู้ลุ่มหลงในรสชาติเบียร์ที่ตระเวนชิมไปทุกสารทิศทั่วโลก ซึ่งเราคิดว่านี่คือคัมภีร์หรือคู่มือที่เหมาะยิ่งแก่การเปิดอ่านประกอบการดื่มด่ำนานารสชาติ  “ทุกครั้งที่ดมกลิ่น จิบรส และดื่ม เราเอาวิวัฒนาการและประวัติศาสตร์ของเบียร์เข้าไปในกระแสเลือดด้วย” คือสิ่งที่ผู้เขียนคิดและเราเองก็คิดเห็นเช่นนั้นไม่ต่างกัน ขอชวนพลิกหน้ากระดาษพร้อมจิบเบาๆ ท่องไปในความสุนทรีย์แห่งเบียร์กับหนังสือเล่มนี้กัน Writer’s Tasteดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ […]

FYI

‘ชีวิตคือความลำบาก’ วัยเกษียณที่ไม่มีจริงของ ‘ผู้สูงวัย’ ในเมืองแรงงาน

ในวันหยุดแสนสบาย อากาศแจ่มใส เมฆหนาลอยเกลื่อนอยู่บนฟ้า เราพาตัวเองออกเดินไปในเมืองตามย่านต่างๆ เพื่อสำรวจความเป็นอยู่ของผู้คน และได้พบว่า ‘กรุงเทพฯ’ นั้นมีผู้คนมากหน้าหลายตาพลัดถิ่นเข้ามาใช้ชีวิตและทำงาน ไม่ใช่แค่วัยหนุ่มสาวที่เป็นกำลังแรงหลัก ทว่าผู้สูงวัยในเมืองนี้ก็ยังคงต้องทำงานเช่นกัน เราแวะทักทายคุณลุงคุณป้าที่เดินสวนกัน บางคนกำลังเข็นรถขายของ บางคนกำลังขะมักเขม้นอยู่กับการงานตรงหน้า เรามองเห็นผิวหนังกรำแดด ร่องรอยเหี่ยวย่นของกาลเวลา และพบเจอบางสิ่งบางอย่างจากแววตาของลุงๆ ป้าๆ ที่สะท้อนให้รู้ว่า ‘ชีวิตคือความลำบาก’ เพราะในสังคมที่ความเหลื่อมล้ำมีระยะห่างมากเกินไป แม้สังขารจะไม่เที่ยง ร่างกายจะชำรุด หรือเรี่ยวแรงเหลือน้อยเต็มที แต่ผู้สูงวัยหลายคนเหล่านั้นล้วนห่างไกลจากคำว่า ‘ชีวิตหลังวัยเกษียณ’ และอาจต้องทำงานไปตลอดชีวิตที่เหลืออยู่เพื่อดูแลตัวเองให้ไม่เดือดร้อนใคร พาไปสำรวจความเป็นอยู่ของผู้คนสูงวัยในมหานครแห่งนี้ ผ่านบทสนทนาอันหวานขมของชีวิต พร้อมกับคำอวยพรจากคนวัยเก๋าที่ฝากให้คนรุ่นใหม่ เพื่อเป็นกำลังใจให้ทุกคนสู้ สู้ สู้กันต่อไป ชื่อ : ลุงเกียรติ พรมรุกชาติอาชีพ : ปั่นรถถีบสามล้ออายุ : 64 ปีภูมิลำเนา : บุรีรัมย์ ดวงตะวันเกือบตรงหัว บนถนนที่รถราแล่นสวนกันไปมามุ่งหน้าสู่จุดหมาย ‘ลุงเกียรติ พรมรุกชาติ’ เองก็กำลังปั่นสามล้อคู่ใจมองหาผู้โดยสาร เราโบกมือให้ลุงจอดและเอ่ยทักทายพูดคุยกับเขา “ชีวิตคนเราต้องดิ้นรน จากบุรีรัมย์ผมก้าวเข้ามาอยู่ที่นี่ (ตัวเมืองพระประแดง) ราวปี 2539 เมื่อก่อนเศรษฐกิจดี […]

‘Multifunctional Station’ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่สาธารณะ ที่ใช้งานบนพื้น เก็บลงใต้ดิน

‘ข้อจำกัดทางพื้นที่สาธารณะ’ คือหนึ่งในปัญหาที่เมืองใหญ่ทั่วโลกต่างประสบและพยายามหาหนทางแก้ไขกันอยู่ อย่าง ‘กรุงเทพฯ’ เมืองหลวงของเราก็มีพื้นที่สาธารณะที่ค่อนข้างน้อยและไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้คนในเมือง ด้วยเหตุนี้ เราจึงมองว่าการใช้พื้นที่ได้อย่างหลากหลายน่าจะเป็นอีกหนึ่งทางออกที่ทำให้พื้นที่สาธารณะอันน้อยนิดในเมืองเกิดการใช้งานได้อย่างคุ้มค่า คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำเสนอ ‘Multifunctional Station (MS)’ นวัตกรรมการจัดการพื้นที่สาธารณะที่จะมาช่วยทำให้พื้นที่สาธารณะในเมืองเกิดประโยชน์มากขึ้น ด้วยการไม่จำกัดให้พื้นที่นั้นๆ ทำเพียงหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง แต่จะมีฟังก์ชันและรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งนอกจากทำให้เมืองได้ใช้พื้นที่สาธารณะอย่างคุ้มค่าแล้ว วิธีการใช้งานนวัตกรรมนี้ก็ไม่ยุ่งยาก แถมยังต่อยอดพัฒนาเป็นโมเดลต่างๆ เพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะใหม่ๆ ได้อีก MS Cabinet & Materialอยู่ใต้ดินเมื่อไม่ใช้งาน เรียกใช้งานบนพื้นดินผ่านแอปพลิเคชัน นวัตกรรม MS มีโครงสร้างหลักอยู่สองส่วนคือ ส่วนที่หนึ่ง เมื่อไม่ได้ใช้งานจะซ่อนอยู่ใต้ดิน โดยมี Cabinet หรือตู้ที่ทำหน้าที่เก็บอุปกรณ์ต่างๆ และส่วนที่สองคืออุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในตู้ ซึ่งเป็นโครงสร้างที่จะถูกนำไปใช้งานเป็นสเตชันบนพื้นดิน ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นสเตชันสำหรับการขายอาหาร ภายในตู้จะมีช่องเก็บโต๊ะปรุงอาหาร ช่องเก็บเก้าอี้ ช่องเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาด ฯลฯ หรือถ้าเป็นสเตชันสำหรับขายสินค้า ภายในตู้จะมีช่องใส่บาร์แขวนผ้า ตะแกรงแขวนสินค้า โต๊ะพับ อุปกรณ์ไฟตกแต่งร้านและเต้าเสียบ รวมถึงเสาและผ้าใบสำหรับประกอบเป็นโครงสร้างกางกันแดดและฝน เป็นต้น ตัว Cabinet นั้นสร้างขึ้นจากวัสดุที่แข็งแรง […]

‘Sound of Sisaket’ สร้างสรรค์เมือง ‘ศรีสะเกษ’ ให้คึกคักผ่านย่านที่มีแต่เสียงดนตรี

‘ศรีสะเกษ’ เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ไม่เคยอยู่ในแผนท่องเที่ยวของเรา และเชื่อว่าใครอีกหลายคนคงคิดเห็นเช่นกัน เพราะแดนอีสานใต้แห่งนี้ถูกนิยามว่าเป็นเพียง ‘ทางผ่าน’ หรือ ‘เมืองรอง’ แต่หากเอ่ยถึงความโดดเด่นของจังหวัดใกล้ลุ่มแม่น้ำมูลแห่งนี้ ก็ต้องบอกว่าเป็น ‘กีฬา’ เพราะที่นี่มีสวนสาธารณะและพื้นที่ทางธรรมชาติให้ผู้คนได้ใช้ออกกำลังกาย มีนักกีฬาที่มีชื่อเสียงทั้งด้านฟุตบอล มวย ยกน้ำหนัก วอลเลย์บอล ฯลฯ และยังเป็นเจ้าภาพจัดงานกีฬามานับครั้งไม่ถ้วน ทว่าอีกสิ่งหนึ่งที่อาจมีทั้งคนที่รู้และไม่รู้คือ ความสร้างสรรค์ของเมืองศรีสะเกษนั้นไม่ใช่มีเพียงแค่กีฬา แต่ยังมีเรื่องของ ‘ดนตรี’ ที่โดดเด่นไม่แพ้กัน และในช่วงวันที่ 25 – 27 สิงหาคม 2566 ที่นี่จะมีงาน ‘Sound of Sisaket (ซาวสีเกด) 2023’ ที่จะพาทุกคนไปสำรวจว่าเมืองศรีสะเกษนั้นใช้ดนตรีสร้างสรรค์เมืองได้อย่างไร ก่อนวันงานจะมาถึง คอลัมน์ Neighboroot ขอรับบทเป็นนักท่องเที่ยวพาไปรู้จักเมืองศรีสะเกษให้มากขึ้น ผ่านภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในเมือง บทสนทนาถึงความทรงจำที่ผ่านมา วิถีชีวิตปัจจุบันของจังหวัดแห่งหนึ่งในดินแดนฝั่งอีสาน และวิธีคิดในการพัฒนาเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า ถ้าพร้อมแล้วออกเดินทางไปด้วยกัน เมืองศรีสะเกษเมื่อวันก่อนและวันนี้ ฝนโปรยยามบ่ายพรมน้ำให้ต้นไม้และผืนนาสองข้างทางเข้าตัวเมืองศรีสะเกษเขียวชอุ่มสบายใจ เมื่อเข้าสู่เมืองสิ่งแรกที่พบเห็นคือ ‘วงเวียนแม่ศรี’ ที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญของเมือง บริเวณนี้มีรูปปั้นของพระนางศรีสระเกศ รูปหล่อโลหะทองเหลืองรมดำที่เป็นดั่งสัญลักษณ์บอกให้รู้ว่ามาถึงเมืองศรีสะเกษแล้ว ตำนานใต้ฐานรูปปั้นเล่าว่า ‘พระนางศรี’ เป็นคนสัญชาติกล่อม (ขอมแท้) […]

ชวนดู 6 มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ดีไซน์เด่น ฟังก์ชันครบครัน แถมประหยัดพลังงาน

ด้วยเหตุผลเรื่องประหยัดพลังงาน ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิง ค่าดูแลรักษาต่ำ ไร้มลภาวะทางเสียงและกลิ่นควัน ทำให้ ‘มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า’ เป็นยานพาหนะที่ป็อปปูลาร์ในยุคนี้ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย หรือ EVAT ระบุว่า ยอดจดทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าสะสมถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 อยู่ที่ 1.8 หมื่นคัน ซึ่งก้าวกระโดดไกลกว่าปี 2564 ที่มียอดจดทะเบียนราว 7,302 คัน ถือได้ว่านี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เข้าสู่อีกยุคของยานพาหนะยอดฮิตในไทย ในช่วงที่ตลาดมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าถูกพูดถึงมากขึ้น คอลัมน์ City by Numbers พาไปดู 6 มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้ารุ่นยอดฮิต ที่เราคัดเลือกมาให้ตามความหลากหลายของดีไซน์ ราคา ขนาด และสมรรถนะการทำงาน เพื่อเป็นตัวเลือกให้คนที่กำลังมองหารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าอยู่ AJ – C-LION จากแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่หลายคนรู้จักกันดีอย่าง ‘AJ’ สู่การเป็นผู้ผลิตมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ราคาจับต้องได้และเน้นฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ AJ รุ่น C-LION มีมอเตอร์ 2,000 วัตต์ วิ่งได้ด้วยความเร็ว 50 – 60 กม./ชม. ชาร์จไฟราว […]

The Barbie Dreamhouse จะเป็นอย่างไรถ้าเราหลุดเข้าไปอยู่ในบาร์บี้แลนด์

ทุกคนน่าจะรู้จัก ‘Barbie’ ในฐานะของตุ๊กตาที่โด่งดังทั่วโลก แต่หากใครที่เป็นแฟนบาร์บี้หรือนักสะสมของเล่นย่อมรู้ดีว่า ตุ๊กตาของเล่นที่อยู่ในความทรงจำของเด็กๆ นั้นมีเรื่องราวที่น่าสนใจอยู่มาก บาร์บี้นั้นได้แรงบันดาลใจมาจาก Bild Lilli หรือตัวการ์ตูนในนิตยสารที่กลายมาเป็นตุ๊กตาหญิงสาวสัญชาติเยอรมนีผู้มีลุคเจ้าเล่ห์ เซ็กซี่ มีเสน่ห์น่าหลงใหล โดย ‘Ruth Handler’ ได้ซื้อมาให้ ‘Barbara’ ลูกสาวของเธอที่ชื่นชอบการเล่นตุ๊กตาเป็นชีวิตจิตใจ ทำให้ใน ค.ศ. 1959 แฮนด์เลอร์เปิดบริษัท Mattel และผลิตตุ๊กตาบาร์บี้ออกมาวางขาย เพื่อเพิ่มของเล่นสำหรับเด็กผู้หญิงให้มีความหลากหลายมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน บาร์บี้ก็กลายมาเป็นภาพแทนของหญิงสาวที่มีรูปลักษณ์สวยงามตามอุดมคติในยุคก่อน จนมีหลายเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า บาร์บี้ทำให้หลายคนเป็นโรคคลั่งผอมหรือหมกมุ่นกับ Beauty Standard เกินไป แบรนด์ตุ๊กตาชื่อดังจึงพยายามลบภาพจำเหล่านั้นออกและปรับตัวตามยุคสมัย เพื่อทำให้เห็นว่า แท้จริงแล้วบาร์บี้คือโลกที่ทุกคนเป็นได้ทุกสิ่ง ตามคอนเซปต์ที่ว่า ‘Barbie You Can Be Anything’ จนถึงปัจจุบันบาร์บี้มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 63 ปี จากตุ๊กตาหญิงสาวผมบลอนด์ ตาสีฟ้า เอวคอด เลิศหรู รูปลักษณ์สมบูรณ์แบบ ถูกพัฒนาให้มีความหลากหลายทั้งเรื่องของเชื้อชาติ รูปร่าง หน้าตา สีผิว อาชีพ ฯลฯ […]

‘มุขปาฐะ’ ครั้งแรก ‘รื้อฟื้นความสัมพันธ์ของคนกับคน’ ล้อมวงฟังคนเขียนเพลงกลางป่าสนบนดอยมูเส่คี

06/07/2566 กรุงเทพมหานคร ‘ก็บางครั้งเราคงยังสับสนอยู่ ไม่รู้ว่าจะไปไหน ไม่เคยรู้ว่าตัวเองเป็นเช่นใด ต้องการอะไรหนา ได้แต่คิดแล้วก็ลองผิดลองถูก จะผิดไปอีกนานไหม’ ‘โอ้ชีวิต ไม่ง่ายดายเลยสักนิด แต่ชีวิตไม่ยากเย็นอย่างที่คิด ก็ชีวิตคือชีวิต คงต้องคิดกันให้ดี…’ บทเพลงชื่อ ‘ชีวิต’ ของวงดนตรี ‘Moderndog’ ดังขึ้นในความทรงจำของเรา เมื่อนั่งอยู่บนรถเมล์จากบางกะปิเพื่อมุ่งไปขึ้นรถทัวร์ที่สถานีฯ หมอชิต แสงแดดยามเย็นรำไรลอดไปตามซอกตึกสะท้อนลงบนถนน ผู้คนกำลังเลิกงาน แม้บีทีเอสสายสีเหลืองจะเปิดให้บริการแล้ว แต่ด้านล่างรถยังติดเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ใช้เวลาร่วมสองชั่วโมงกว่าจะถึงที่หมาย พระอาทิตย์ลาลับ แสงสีจากร้านค้า ร้านอาหาร และบรรยากาศที่หมอชิตคล้ายฉากในภาพยนตร์ยุคเก่า แม้ปีนี้เป็นปีที่จะมีนายกฯ คนที่สามสิบแล้วก็ตาม ระยะเดินทาง 714 กิโลเมตร ใช้เวลา 9 ชั่วโมง 40 นาที จำกัดความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. เพื่อความปลอดภัยและลดการใช้พลังงาน เสียงเจ้าหน้าที่ประจำรถบอกเล่า ราวสามทุ่มรถออก สถานีต่อไป ‘เชียงใหม่’ 07/07/2566 เชียงใหม่ เช้าตรู่วันศุกร์ที่สถานีฯ อาเขต รถแดงแล่นไปมา บางคันบรรทุกผู้โดยสารชาวต่างชาติเต็มคัน บางคันโล่งว่าง เราเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์วินสีเขียว […]

1 2 3 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.