Sexy Red Light District จะเป็นอย่างไรถ้าประเทศไทยทำให้การค้าประเวณีถูกกฎหมาย

‘ประเทศไทย’ ถือเป็นดินแดนแห่ง ‘ศูนย์กลางการค้าประเวณี’ ที่ติดอันดับต้นๆ ของโลก จนทำให้นักท่องเที่ยวมากมายต่างมีหมุดหมายข้ามทวีปมาเพื่อสัมผัสบริการทางเพศหลากหลายรูปแบบ เว็บไซต์ Havocscope ที่เก็บข้อมูลผู้ค้าบริการทางเพศทั่วโลกพบว่า ในปี 2557 อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของประเทศไทยสามารถทำรายได้มากกว่าสองแสนล้านบาทต่อปี และอีกห้าปีต่อมาก็ขยับเป็นสองล้านล้านบาท ซึ่งอาจกลายเป็นรายได้หลักของประเทศเลยทีเดียว แม้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยจะเฟื่องฟูและทำรายได้มหาศาล แต่ไฉนการค้าประเวณีในประเทศนี้ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แถมสังคมยังมองว่าธุรกิจเหล่านี้ทำให้เกิดอาชญากรรม การค้ามนุษย์ และยังเป็นเรื่องผิดบาปเพราะขัดต่อศีลธรรมทางศาสนา รวมไปถึงการมีเอี่ยวเก็บส่วยแบ่งกันรวยของเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบและผู้ทรงอิทธิพลต่างๆ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่อยู่เหนือกฎหมาย และอาจเป็นเหตุผลที่แก้ไม่ได้หากธุรกิจนี้ยังเป็นสีเทา คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองให้ประเทศไทยสามารถปัดเป่าความสกปรกของธุรกิจสีเทานี้ให้กลายเป็นสิ่งถูกกฎหมาย เพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทางเพศของไทยได้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนสังคมไปสู่ความน่าจะเป็นอื่นๆ ได้มากยิ่งขึ้น ยกระดับอาชีพ Sex Worker เนื่องจากที่ผ่านมาผู้ประกอบอาชีพ ‘Sex Worker’ หรือผู้ให้บริการทางเพศ มักได้รับการตีตราจากมุมมองทางศีลธรรมของสังคมว่าเป็นอาชีพที่ไร้ซึ่งเกียรติใดๆ และเป็นต้นตอของปัญหาการเกิดอาชญากรรมต่างๆ นั่นเพราะว่าอาชีพ Sex Worker เป็นอาชีพลับเฉพาะ การเปลี่ยนให้มีกฎหมายคุ้มครองการค้าประเวณี ทำให้ธุรกิจค้าบริการทางเพศโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ จะช่วยคุ้มครองสิทธิด้านต่างๆ ของผู้ค้าบริการ รวมถึงการป้องกันการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ได้ เป็นต้น ทั้งกำหนดให้ผู้ค้าบริการมีบัตรประจำตัวสองใบ ได้แก่ ใบประกอบวิชาชีพและใบรับรองสุขภาพ รวมถึงกำหนดให้ผู้ประกอบอาชีพและผู้ประกอบธุรกิจสถานค้าบริการต้องเสียภาษี เพื่อจะได้มีสวัสดิการต่างๆ เฉกเช่นเดียวกับอาชีพอื่นๆ ปรับพื้นที่และกำหนดเขต Sex […]

Meet Cute City เป็นไปได้ไหมหาก ‘กรุงเทพฯ’ จะ ‘โรแมนติก’ มากกว่านี้

อันดับหนึ่งของเมืองที่โรแมนติกที่สุดในโลกคือ ‘ปารีส’ ประเทศฝรั่งเศส เพราะบ้านเมืองที่นั่นมีศิลปะ มีความงามทางประวัติศาสตร์ รวมถึงร้านอาหาร โรงแรม ให้ผู้คนได้อยู่กับความโรแมนติกไปกับทุกช่วงเวลาสุนทรีย์ของชีวิต ‘ซานฟรานซิสโก’ ประเทศสหรัฐอเมริกา มาเป็นอันดับสอง ที่นั่นมีภูเขาให้มอง มีทัศนียภาพของอ่าวให้ดู มีจุดชมวิว ชมความยิ่งใหญ่ของสะพานชื่อดัง ที่สำคัญมีสวนสาธารณะให้ผู้คนพักผ่อนทำกิจกรรมโรแมนติกได้อีกเพียบ  ส่วนเมืองที่สามได้แก่ ‘อัมสเตอร์ดัม’ ประเทศเนเธอร์แลนด์ เรียกได้ว่าเป็นเมืองธรรมชาติ ผู้คนใช้จักรยานเดินทางกันเป็นส่วนมาก มีสภาพแวดล้อมที่มีดอกไม้เบ่งบานเป็นสีสันสดใสกันตลอดทั้งปี และยังสามารถนั่งเรือล่องไปในลำคลองมองดูเมืองได้ ทั้งสามเมืองสุดโรแมนติกนี้อ้างอิงมาจากผลสำรวจในปีที่ผ่านมาของ Bounce เว็บไซต์ฝากกระเป๋าชื่อดัง แน่นอนว่าเราไม่สามารถเอาประเทศทั้งหลายเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับเมืองที่เราอาศัยอยู่ได้ แต่พอลองย้อนกลับมามองที่ ‘กรุงเทพมหานคร’ ต้องบอกว่าเมืองหลวงของไทยหาความโรแมนติกได้ยาก เพราะว่าเมืองนี้ได้กลายเป็นเพียงฉากหลังและมีภาพของการทำงานเป็นสิ่งเคลื่อนไหวทุกเมื่อเชื่อวัน  โดยสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย แจงจำนวนประชากรของประเทศไทยในปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้คนที่อยู่ใน กทม.นั้นมีจำนวนถึง 5,494,932 คน ผู้คนมากมายขนาดนี้อยู่กับเมืองที่มีความเร่งรีบขึ้นเรื่อยๆ ติดกับงานที่ต้องทำเพื่อดำรงตนในยุคสมัยที่เศรษฐกิจย่ำแย่ขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ในวันที่ผู้คนยังคงต้องทำงาน และการเปลี่ยนแปลงสังคมก็ยังมีเรื่องมหาศาลที่ต้องตามแก้ไขกันต่อไป คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองออกแบบสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่คาดว่าน่าจะเป็นไปได้ให้เมืองเกิดความโรแมนติกมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ชีวิตที่ผูกติดกับความเร่งรีบได้ผ่อนคลายลง เมื่อผู้คนได้มองเมืองที่มีสิ่งโรแมนติกมากกว่าเดิม หวังว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะช่วยเป็นความสุนทรีย์ของชีวิต และคอยหล่อเลี้ยงให้ใจดวงน้อยๆ […]

‘ทางเลือกใหม่ของการบอกลาครั้งสุดท้าย’ นิทรรศการออกแบบงานศพของตนเอง โดย ‘บริบุญ’

“จะดีแค่ไหน ถ้าในงานสุดท้ายของคุณ มีคุณเป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราว” นี่คือข้อความหลักของนิทรรศการ ‘ออกแบบงานศพของตนเอง’ ในงาน Bangkok Design Week 2023 ซึ่งจัดแสดงที่ชั้น 3 บนอาคารชัยพัฒนสิน ย่านเจริญกรุง นิทรรศการนี้จัดขึ้นโดย ‘บริบุญ’ หนึ่งในแบรนด์ธุรกิจเครือ ‘สุริยาหีบศพ 2499’ ที่มีความตั้งใจจะพัฒนาต่อยอดธุรกิจ รวมถึงต้องการนำเสนอรูปแบบและมุมมองใหม่ต่อการจัดงานศพ โดยให้เจ้าของงานสามารถเลือกออกแบบอย่างที่ต้องการได้ ก่อนวาระสุดท้ายจะมาถึง คอลัมน์ Re-Desire อยากพาทุกคนไปฟังแนวคิดและเบื้องลึกเบื้องหลังของนิทรรศการนี้ จากการบอกเล่าของเหล่าทีมงานผู้สร้างสรรค์ กับการนำเสนออีกหนึ่งทางเลือกของการจัดงานศพด้วยตัวเอง ออกแบบการ ‘ให้’ ฉบับ ‘บริบุญ’  ‘ฟีฟ่า-คณกฤษ สุริยเสนีย์’ คือทายาทรุ่นที่สามของสุริยาหีบศพ 2499 ที่เป็นผู้เริ่มต้นไอเดียสร้างแบรนด์ ‘บริบุญ’ เพื่อเข้ามาปรับเปลี่ยนด้านการตลาดของสุริยาฯ นอกจากนี้ยังพยายามนำเสนอรูปแบบของการจัดงานศพหรือนวัตกรรมเกี่ยวกับความตายอื่นๆ โดยมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆ ให้ลูกค้า และทำให้เรื่องของความตายเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายขึ้น คอนเซปต์หลักของบริบุญคือ ‘การให้’ ยกตัวอย่าง เมื่อลูกค้าซื้อพวงหรีดกระดาษที่ทางแบรนด์ออกแบบหนึ่งพวง จะได้บริจาคหีบศพหนึ่งโลงให้ผู้เสียชีวิตคนอื่นๆ ที่ขาดแคลนไปด้วย หรือถ้ายังไม่มีเหตุให้ซื้อสิ่งของข้างต้น ลูกค้าจะเปลี่ยนไปเลือกซื้อโต๊ะหรือเก้าอี้แทนก็ได้ เพราะทางแบรนด์จะบริจาคโต๊ะหรือเก้าอี้อีกหนึ่งตัวให้เด็กๆ ตามโรงเรียนที่ขาดแคลนอีกเช่นเดียวกัน  “ผมพยายามค่อยๆ […]

ไปปรับสมดุลร่างกาย บำรุงหัวใจ และเสริมสร้างจิตวิญญาณ ที่งาน ‘ข้างใน Festival’

‘ปัจจุบัน’ เป็นเรื่องยาก และเราถอยห่างจากช่วงเวลาตรงหน้าทุกขณะ เพราะมีสิ่งต่างๆ มากมายที่เข้ามากระทบจิตใจให้เรานึกย้อนกลับไปหาอดีต และกังวลในสิ่งที่ยังมาไม่ถึงอยู่เสมอ  นอกจากร่างกายที่ต้องดูแลเป็นอย่างดี หัวจิตหัวใจก็เป็นเรื่องสลับซับซ้อนและต้องคอยเยียวยารักษา การหมั่นสำรวจข้างในอยู่เสมอคือสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ชีวิตเกิดความสมดุล ด้วยเหตุนี้ เราจึงเลือกพาตัวเองลุกจากที่นอนในวันหยุดแสนน้อยนิด ออกไปใช้ชีวิตอยู่กับช่วงเวลาปัจจุบัน ในงาน ‘ข้างใน Festival’ เมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยหวังว่าจะช่วยทำให้จิตใจที่ว้าวุ่นกับโลกข้างนอก ได้กลับมาสงบเงียบและมีชีวิตชีวามากขึ้น  ‘ข้างใน Festival’ จัดขึ้นเป็นครั้งแรกโดย ‘Muchimore’ ชุมชนผู้คอยเป็นตัวกลางเชื่อมโยงพาทุกคนกลับมาดูแลจิตใจ และเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เข้ามาพักใจ พร้อมกับศาสตร์ต่างๆ มากมายที่ช่วยให้สติเกิดความมั่นคง และจิตวิญญาณได้กลับมาสว่างไสว  งานครั้งนี้ มัชฌิมอร์ได้ขยายพื้นที่จากข้างในอาคาร Awareness Space ออกไปสู่พื้นที่กว้างในสวนวนธรรม และรวบรวมเหล่ากิจกรรมฮีลจิตใจไว้อย่างครอบคลุมหลากหลาย คอลัมน์ Experimentrip อยากพาทุกคนออกเดินทางย้อนกลับไปข้างในอีกครั้ง เพื่อสำรวจสิ่งที่เคยเกิดขึ้นและนำมันมาทบทวนเพื่อก้าวต่อไปในชีวิตปัจจุบัน  เราอยู่ที่ไหน เรามาทำอะไร แม้แดดต้นปีจะแรง แต่ปลายฤดูหนาวก็ยังทำให้ลมเย็นๆ พัดมาสัมผัสผิวอยู่บ้าง เมื่อเดินเข้าไปในสวนวนธรรม การถูกห้อมล้อมด้วยเสียงนกร้องกับพื้นที่สีเขียว ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายจากการเดินทางบนท้องถนนที่ผ่านมาไม่น้อย ผู้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างทยอยกันเข้ามาในสวนหนาตา ‘สนัด-ณัฐพงษ์ โสธรวัฒนา’ ผู้ก่อตั้ง Muchimore เริ่มต้นต้อนรับทุกคนด้วยคำถามที่ว่า “วันนี้เราอยู่ที่ไหน และวันนี้เรามาทำอะไร” เพื่อเน้นย้ำให้สติของทุกคนในเช้าวันหยุดสุดสัปดาห์กลับมาอยู่กับลมหายใจของปัจจุบัน และเมื่อการเคลื่อนไหวของทุกสิ่งสงบนิ่ง […]

เมื่อคนเกิดน้อยกว่าคนแก่ ปี 2030 ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด

ลองมองไปรอบตัว เราจะพบกับผู้คนหลากหลายช่วงวัยอยู่ร่วมกันในสังคม หนึ่งในช่วงวัยที่พบเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ‘ผู้สูงอายุ’ องค์การสหประชาชาติ ได้กำหนดสังคมสูงวัยจากสัดส่วนของประชากรอายุ 60 – 65 ปีขึ้นไป แบ่งตามลำดับดังนี้  1) ‘สังคมสูงวัย’ (Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ 2) ‘สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์’ (Complete Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ3) ‘สังคมสูงวัยระดับสุดยอด’ (Super Aged Society) คือ มีประชากรสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศ ประชากรโลกกำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ World Population Prospects 2022 คาดการณ์ว่า จำนวนประชากรบนโลกนี้มีมากถึง 8 พันล้านคน โดยผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีมีอยู่ราว 10 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 16 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050 […]

The Hope of Us สวมบทเป็นผู้รอดชีวิตใน The Last of Us และช่วยให้ผู้คนพ้นวิกฤตเชื้อรากลายพันธุ์

“มนุษย์นั้นทำสงครามกับเชื้อไวรัสมาทุกยุคสมัย แม้จะมีผู้คนที่ต้องสูญเสียชีวิตมากมาย แต่มนุษย์ก็ยังเป็นฝ่ายชนะอยู่เสมอ”  แต่ในปี 2003 คือจุดเริ่มต้นความพ่ายแพ้ของมวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง เพราะเชื้อราคอร์ไดเซป (Cordyceps) ได้ปนเปื้อนไปกับพืชผลทางการเกษตรที่ถูกส่งออกไปทั่วโลก เมื่อผู้คนบริโภคเข้าไปเชื้อราก็จะแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย มนุษย์ที่ติดเชื้อจะเสียการควบคุมและมีพฤติกรรมดุร้าย วิ่งเข้าโจมตีกัดกินคนอื่นๆ เพื่อหวังแพร่เชื้ออย่างไม่เลือกหน้า จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มจากร้อยคนเป็นอีกหลายล้านล้านคนทั่วโลกในเวลาไม่นาน เกิดเป็นโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก บ้านเมืองพังพินาศ มีเหตุการณ์นองเลือด มีเหตุจลาจล มีอุบัติเหตุที่ยากจะควบคุม รวมถึงการแย่งชิงอำนาจ ฯลฯ สงครามระหว่างเชื้อรากับมนุษย์ได้ทำให้ทุกอย่างบนโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไม่มีวันหวนคืน บางอย่างดับสูญ บางคนก็สูญเสียคนรักและครอบครัว ทุกคนต่างดิ้นรนเอาชีวิตรอดท่ามกลางความโกลาหล กว่าจะควบคุมสถานการณ์ได้ก็ผ่านเวลาไป 20 ปี  คอลัมน์ Urban Isekai วันนี้เราจึงขอสวมบทบาทเป็นผู้รอดชีวิตในปี 2023 ที่อาศัยอยู่ใน Boston Quarantine Zone หรือพื้นที่กักกันผู้รอดชีวิตจากการติดเชื้อจากโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ ที่มวลมนุษยชาติในโลกต้องพบเจอในเกมยอดนิยมที่ถูกนำมาสร้างเป็นซีรีส์อย่าง ‘The Last of Us’ ในเวลาที่ทุกฝ่ายกำลังหาทางออกของวิกฤตการณ์สำคัญครั้งนี้ เราในฐานะผู้รอดชีวิต จึงมองเห็นว่าความเป็นอยู่ที่ดีจะช่วยให้ทุกคนผ่านพ้นวิกฤตเลวร้ายไปได้ จึงทำการเสนอข้อเรียกร้องต่างๆ ดังนี้ สร้างระบบคัดกรองที่เป็นมิตรกับทุกคน ‘Boston Quarantine Zone’ หรือ ‘Boston QZ’ […]

เมืองเสียงดัง เราเสียงดัง กรุงเทพฯ ติดอันดับ 9 เมืองเสียงดังที่สุดในโลก

แดดยามสายฉายเข้ามาผ่านหน้าต่างห้องทำงาน กาแฟคั่วอ่อนเพิ่งดริปจบมาหมาดๆ ไออุ่นและกรุ่นคาเฟอีนช่วยออกแรงผลักให้สมองเริ่มประมวลผล แต่แล้วรถบรรทุกขนาดใหญ่ก็ถอยหลังเครื่องกระหึ่มเข้ามาอย่างช้าๆ พร้อมกับเสียงสัญญาณแหลมกวนประสาท ต่อด้วยเสียงเพื่อนพนักงานที่ตะโกนคุยกันระหว่างบุหรี่หลังมื้อเช้า อีกสักพักเสียงเคลื่อนย้ายสิ่งของก็ดังขึ้นต่อเนื่องนานกว่าชั่วโมง ความเงียบสงบเมื่อครู่พาสมาธิเตลิดไปไกลกว่าจะเรียกคืนมาได้ก็เสียเวลาอยู่หลายนาที  เหตุการณ์เช่นนี้เป็นปัญหามลภาวะทางเสียงรูปแบบหนึ่งในอีกหลายพันปัญหามลภาวะทางเสียงที่เราหลายคนต่างพบเจอ เมื่อต้องใช้ชีวิตประจำวันอยู่ร่วมกันกับผู้คนในสังคม ปัจจุบันเมืองหลวงอย่างกรุงเทพฯ มีประชากรมากเกือบถึงหกล้านคน พูดได้ว่านอกจากเสียงที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติแล้ว เราต่างเป็นแหล่งกำเนิดเสียงภายในเมืองเช่นเดียวกัน ด้วยปัญหามลภาวะทางเสียงส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึก และปัญหาของเสียงที่ดังขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นเรื่องปกติเรื่อยไปเช่นนี้ อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองในระยะยาว ในวันที่เมืองยังมีเสียง คอลัมน์ City by Numbers ขอพาทุกคนไปสำรวจดูว่า ย่านไหนในกรุงเทพมหานครที่มีเสียงดังที่สุด ไปฟังกันว่าเสียงที่ได้ยินอยู่นั้นยังคงเป็นเสียงที่ดังปกติหรือเปล่า พื้นที่สาธารณะเสียงดังได้แค่ไหน ข้อมูลระดับเสียงที่อนุญาตจากองค์การอนามัยโลก (WHO) คือ 55 เดซิเบล (dB) สำหรับพื้นที่พักอาศัยกลางแจ้ง และ 70 dB สำหรับพื้นที่เชิงพาณิชย์และที่ที่มีการจราจรติดขัด  หูของมนุษย์นั้นสามารถได้ยินเสียงตั้งแต่ 0 dB ขึ้นไป เพื่อให้นึกระดับความดังของเสียงออกมากยิ่งขึ้น เราขอลองยกตัวอย่างเปรียบเทียบดังนี้  – ระดับเบามาก 0 – 20 dB เช่น เสียงกระซิบ เสียงลมหายใจ หรือเสียงในป่า– ระดับเบา […]

Japan Again ในวันที่แสงแดดอบอุ่น

ขึ้นปีใหม่เลยคิดถึงเรื่องเก่า เปิดลิ้นชักออกมาแล้วไม่เจอเครื่องไทม์แมชชีนย้อนเวลาเหมือนในห้องของโนบิตะ วิธีเดียวที่ใช้นึกถึงวันที่ผ่านมาให้จดจำได้มากที่สุดคงไม่พ้นการดูภาพถ่าย ภาพแทนสายตาที่บันทึกไว้เป็นเครื่องกันลืมว่าครั้งหนึ่งเราเคยรู้สึกอย่างไรต่อช่วงเวลาเหล่านั้น ‘เซโตะอุจิ’ เป็นอาณาจักรทะเลที่ใหญ่สุดในญี่ปุ่น แวดล้อมไปด้วย 7 จังหวัดที่มีสไตล์ต่างกันออกไปตามแต่ละวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ แต่สิ่งที่ไม่ต่างกันคือการจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยอย่างดีเยี่ยม ไม่ว่าจะชนบท ชุมชนริมฝั่ง หรือในเมืองใหญ่ ทุกวิถีชีวิตล้วนดำรงด้วยความเป็นระเบียบ สะอาดตา มองแล้วไม่มีอะไรเกะกะ มีแต่ความสบายใจ ประเทศโลกที่สามกับประเทศโลกที่หนึ่งช่างแตกต่าง ญี่ปุ่นครั้งแรกของเราในฐานะผู้มาเยือนจึงมีแต่ภาพแปลกใหม่ สิ่งรอบตัวไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ สำคัญมากหรือน้อย ล้วนแล้วแต่มีรายละเอียดราวกับชิ้นงานศิลปะให้ชวนมอง เป็นเมืองที่คนเดินได้แบบไม่ต้องกังวล ปั่นจักรยานไปทำงานได้อย่างปลอดภัย ผู้สูงอายุเองก็ยังยืนหลังตรงทำมาหากินได้จำนวนไม่น้อย เกือบทุกคนแข็งแรงจนมีกล้ามขาเป็นมัดๆ  อีกความดึงดูดของญี่ปุ่นคือ ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมตึกสูงต่ำลดหลั่นกันไป ประกอบกับเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยความร่วมสมัยและยังคงผสานความดั้งเดิมไว้อย่างลงตัว แสงแดดอบอุ่นที่ญี่ปุ่นช่วยให้กล้องโลหะตัวเก่าที่เราพกติดตัวไปบันทึกภาพความทรงจำออกมาได้อย่างถูกต้องที่สุดเทียบเท่าที่เคยได้มองเห็น  ญี่ปุ่นเมื่อสี่ปีที่แล้วกลายเป็นภาพจำเลือนๆ ตามขวบปีที่เพิ่มขึ้น ไม่รู้ว่าหลังจากยุคโรคระบาด ที่นั่นจะเป็นอย่างไรบ้าง เริ่มปีใหม่ที่คนบนโลกสามารถเดินทางทั่วถึงกันได้แล้วแบบนี้ ยิ่งทำให้รู้สึกอยากจองตั๋วเครื่องบินขึ้นมา แต่เปิดลิ้นชักอีกทีคราวนี้ก็พบว่า ยังไม่มีตังค์นี่หว่า ดูท่าคงต้องทำงานเก็บเงินก่อน หวังว่าจะได้พบกันอีกนะ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

Mahanakhon Sky เมืองสูงเสียดฟ้าที่เราต่างมีเวลาเพียงชั่วคราว

เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือตึกสูงยังมีตึกสูงกว่าที่กำลังเร่งสร้างให้ทันกำหนดการ  อยู่มหานครแห่งนี้ต้องกอบโกย มีความหวังกับการหาบางอย่างที่ยังทำให้ชีวิตเคลื่อนไปข้างหน้า บางสิ่งเข้ามาบางคนจากไป เพราะที่นี่ไม่ใช่บ้าน เมืองศูนย์กลางแห่งนี้ไม่มีความสดใสใดฉายออกมา แม้แต่ความสวยงามของฟ้าสิ้นปีก็ไม่อาจเป็นใจ เพราะฝุ่นมากมายบดบังแสงตะวัน  เลิกงาน รถติด วิถีชีวิตคนเมืองอันแสนเหนื่อยอ่อน ความสงบหาได้น้อย ที่พักใจแทบไม่มี  จะหมดปีอีกแล้ว สิ่งที่หวังคงไม่ต่างจากเก่า ในเมืองสูงเสียดฟ้าที่เราต่างมีเวลาเพียงชั่วคราว  คือปีหน้าต้องเป็นปีที่ดีกว่าเดิม  ติดตามผลงานของ ณัฐวุฒิ เตจา ต่อได้ที่ Instagram : toey_nthv และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

City of Craft Beer ทัวร์ 5 ร้านกินดื่มในนนทบุรี กับกลุ่ม ‘ประชาชนเบียร์’

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ‘กลุ่มประชาชนเบียร์’ นำโดยผู้ก่อตั้ง ‘เบนซ์-ธนากร ท้วมเสงี่ยม’ ได้จัดกิจกรรม ‘ประชาชนเบียร์พาทัวร์’ รวมพลผู้ร่วมสนใจกว่า 30 คน เดินทางไปยังนนทบุรี ดินแดนที่ได้รับฉายาจากนักดื่มว่าเป็น ‘เมืองหลวงคราฟต์เบียร์’ เราและผู้ร่วมเดินทางได้เรียนรู้เรื่องคราฟต์เบียร์และสัมผัสประสบการณ์การกินดื่มที่แตกต่างไปจากความคุ้นเคยเดิม ผ่าน 5 ร้านคราฟต์เบียร์ที่ทางประชาชนเบียร์คัดสรรมานำเสนอ  เมื่อย้อนนึกถึงรอยยิ้มพิมพ์ใจและบทสนทนาหลังแก้วเบียร์ของการเดินทางในครั้งนั้นแล้ว คอลัมน์ Urban Guide เลยอยากแนะนำร้านเหล่านี้ให้ผู้อ่านเก็บเข้าลิสต์ไว้ เผื่อเป็นตัวเลือกให้คนที่อยากใช้ช่วงเวลาวันหยุดรื่นรมย์ไปกับการกินดื่ม Devanomฟาร์มฮอปส์แห่งแรกของไทย และโรงเบียร์มิตรสัมพันธ์ เริ่มต้นสถานที่แรกด้วยฟาร์มปลูกฮอปส์แห่งแรกของไทย ‘Devanom Farm’ สำนักเดียวกันกับ ‘เทพพนม’ แบรนด์คราฟต์เบียร์ไทยที่หลายคนเป็นแฟนคลับตัวยง  ‘อ๊อบ-ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์’ คือเจ้าของฟาร์มฮอปส์ ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของการต้มเบียร์ เขาสร้างฟาร์มแห่งนี้ขึ้นเมื่อ 7 ปีที่แล้ว พร้อมกับพัฒนาสายพันธุ์ฮอปส์เองกว่า 500 สายพันธุ์ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เต็มตามความต้องการ และทนทานต่อสภาพอากาศในเมืองไทย นอกจากนี้ ที่นี่ยังมียีสต์แล็บที่ใช้พัฒนาสายพันธุ์ของอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญของการต้มเบียร์ และบริเวณใกล้เคียงก็มีการเตรียมสร้างโรงกลั่นสาโท และแปลงนาข้าวที่กำลังดำเนินการปลูกเพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ โดยอ๊อบมุ่งหวังให้พื้นที่ตรงนี้เป็น Local Community ของโซนนนทบุรี และต้องการการันตีว่านี่คือเครื่องดื่มของคนไทย ยังไม่หมดแค่นั้น ที่ฟาร์มแห่งนี้ยังมี ‘โรงเบียร์มิตรสัมพันธ์’ […]

Spoiler Alert 2023 ปีแห่งการเริ่มต้นเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลา อย่างที่โรคระบาดมาเยือนให้ทั้งโลกหยุดนิ่งเป็นเวลากว่าสองปี บัดนี้ดูเหมือนว่าทุกอย่างจะกลับกลายเป็นปกติแล้ว แต่ความปกติที่ว่านั้นเป็นความปกติใหม่ หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม New Normal สถานการณ์ของโลกได้ย้ำให้เห็นว่าทุกสิ่งอย่างไม่มีอะไรเหมือนเดิม 2022 มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้น บางอย่างดับสูญ และอีกหลากหลายปัญหายังคงเป็นสิ่งที่ต้องเดินหน้าแก้ไขกันต่อไป เรียกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะโลกร้อน สงครามของประเทศมหาอำนาจ เศรษฐกิจที่แปรผกผัน เกิดเงินเฟ้อ พลังงานลดน้อยลง ราคาข้าวของแพงขึ้น และสภาวะการขาดแคลนอื่นๆ อีกมหาศาล ซึ่งส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรโลกในทุกระดับ อีกไม่กี่วัน ปี 2022 จะเปลี่ยนหน้าปฏิทินใหม่เป็นปี 2023 จากปีเสือกลายเป็นปีกระต่าย Urban Creature เลยขอทำนายอนาคตบางเศษเสี้ยวด้วยข้อมูลจาก ‘Foresight’ หรือเครื่องมือช่วยฉายภาพฉากแห่งอนาคต ที่จะช่วยให้เรากำหนดอนาคตที่กำลังมาถึง โดยมองเห็นสัญญาณ แนวโน้ม รวมถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าหนึ่งรูปแบบ และนี่คือหนึ่งรูปแบบที่เราชวนมอง ความเป็นอยู่ยุคใหม่เต็มไปด้วยความหลากหลายและค่านิยมที่เปลี่ยนไป  สังคม วัฒนธรรม ความเชื่อ และสภาพแวดล้อมรอบตัว ทุกอย่างที่กล่าวมาล้วนส่งผลต่อความเป็นอยู่ของผู้คน จากสถานการณ์โรคระบาดเมื่อสามปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีล้ำสมัย เพื่อช่วยให้เข้าถึงความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตได้มากขึ้น  ข้อมูลจาก FutureTales LAB by MQDC หรือศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา บอกว่า […]

คนไทยหมดเงินไปเท่าไหร่ เพื่อแลกความมั่นใจกับคำว่า ‘น้ำดื่มสะอาด’

บ้านหลังนั้นมีตุ่มสีดินแดงสี่ใบไว้เก็บน้ำฝนสำหรับดื่ม และในตู้เย็นมีขันเงินใส่น้ำฝนแช่ไว้ดื่มเย็นชื่นใจ มาถึงวันนี้น้ำฝนฟรีจากฟ้ามีสารเคมีปนเปื้อนเพิ่มขึ้น การดื่มเข้าไปมากๆ ย่อมส่งผลร้ายต่อร่างกาย การซื้อน้ำดื่มจากขวดบรรจุภัณฑ์ย่อมให้ความรู้สึกที่สะอาดกว่า ด้วยเหตุนี้ ทำให้บ้านเรามีน้ำดื่มที่วางขายตามห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือตามร้านขายของชำ จำนวนหลายสิบยี่ห้อให้เลือกดื่มตามราคา และเนื่องจากน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกาย มนุษย์ทุกคนไม่ว่ายากดีมีจนต้องดื่มน้ำเป็นประจำทุกวันอยู่แล้ว โดยข้อมูลจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Academy of Sciences : NAS) และ สถาบันแพทยศาสตร์ (The Institute of Medicine : IOM) ให้คำแนะนำสำหรับการดื่มน้ำไว้ว่า – ผู้หญิง ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 2.7 ลิตร หรือประมาณ 11.5 แก้ว– ผู้ชาย ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 3.7 ลิตร หรือประมาณ 15.5 แก้ว ในช่วงเวลาที่มีการถกเถียงกันเรื่องน้ำสะอาดและค่าครองชีพ คอลัมน์ City by Numbers ขอพาไปดูกันว่า ในดินแดนที่ขึ้นชื่อว่าอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติแห่งนี้ คนไทยหมดเงินกันไปเท่าไหร่กับการแลกความมั่นใจในคำว่า ‘น้ำดื่มสะอาด’ ราคาของการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาด สมมติว่าในหนึ่งวันคนเราต้องดื่มน้ำประมาณ […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.