Smart Pole เสาไฟเป็นได้มากกว่าที่คิด

Smart Pole หรือเสาไฟอัจฉริยะ เป็นแนวคิดในการนำเอาเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานสร้างสิ่งใหม่ ให้มีหน้าที่การทำงานที่หลากหลาย สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่เมืองของเราขาดในตอนนี้ แต่หมายถึงศักยภาพที่มากขึ้นของโครงสร้างพื้นฐานเมือง คุณภาพที่มากขึ้นของประชากรไปในเวลาเดียวกัน  และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเมืองให้เข้าสู่ Smart City ซึ่งคำว่าเมืองอัจฉริยะอาจไม่ได้หมายรวมถึงแค่เมืองทางกายภาพ แต่อาจหมายรวมถึงศักยภาพและความสามารถที่เพิ่มขึ้นของผู้คนภายในเมือง ผ่านการใช้เทคโนโลยีในวิถีชีวิตประจำวัน พื้นที่ริมถนน หากอยากเริ่มติดตั้งเสา Smart Pole สักต้น พื้นที่ริมถนนบริเวณจุดรอรถสาธารณะเป็นจุดที่ควรนำร่องติดตั้ง Smart Pole เป็นอันดับต้นๆ เพราะเป็นบริเวณที่เกิดกิจกรรมของคนหลายช่วงอายุ มีผู้คนสัญจรผ่านไปมา มีคนนั่งรอใช้บริการรถสาธารณะ ฟังก์ชันที่อยากนำเสนอจึงอยากเริ่มจากอะไรที่ง่ายๆ แต่ใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันของคนเมือง เริ่มต้นจากการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติอย่างแสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อกลบจุดอ่อนที่ว่า เสาไฟแบบเดิมมีฟังก์ชันการใช้งานเพียงช่วงเวลากลางคืน แต่ Smart Pole สามารถกักเก็บพลังงานธรรมชาติในตอนกลางวันเพื่อใช้หล่อเลี้ยงภายในระบบ ในยุคที่คนทั้งโลกสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีนโยบายกระตุ้นให้ประชากรโลก หันมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้พลังงานน้ำมัน รถพลังงานไฟฟ้าจึงได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศโลกที่ 1 แต่เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศไทย หนึ่งสิ่งที่ทำให้นโยบายการใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังไม่ประสบความสำเร็จนัก เป็นเพราะปัญหาสถานีชาร์จไฟไม่เพียงพอต่อความต้องการ การเกิดขึ้นของ Smart Pole ที่มีฟังก์ชัน Charging Station จึงกลายเป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งจะร่วมผลักดันให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า […]

สัญญาณไฟเหลือง เตรียมหยุด หรือ เตรียมเหยียบ

ฮันแน่~ ชอบเร่งเครื่องตอนเห็นไฟเหลืองกันหรือเปล่า ถ้าเคยทำหรือยังทำอยู่อยากให้ลองอ่านเรื่องราวเหล่านี้ดูสักนิด แล้วคุณอาจจะเปลี่ยนความคิดใจเย็นลง เมื่อไฟสีเหลืองอำพันแสดงอยู่บนเสาสัญญาณจราจร เราต้องทำตัวอย่างไรดี หลักการทำงานง่ายๆ ของไฟจราจรคือการใช้สีบ่งบอกสัญญาณการขับขี่ ไฟเขียวคือสัญญาณให้รถวิ่ง ในทางกลับกันไฟแดงคือสัญญาณบ่งบอกว่าให้หยุดรถ ทว่าไฟเหลืองกลับมีความพิเศษมากไปกว่านั้น เพราะสำหรับบางคนเห็นไฟแล้วเตรียมตัวหยุด แต่หลายคนเมื่อเห็นไฟเหลืองก็เปลี่ยนตัวเองเป็นวัวกระทิงที่พร้อมพุ่งกระโจนใส่ไฟเหลืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวมีโอกาสก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้สูงกว่าปกติ | ขับรถฝ่าไฟเหลืองผิดมั้ยนะ คำตอบคือผิด แต่มีข้อยกเว้นบางกรณีอ้างอิงตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22 ระบุไว้ว่าผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้ สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้น เพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฏต่อไป เว้นแต่ผู้ขับขี่ที่ได้ขับเลยเส้นรถหยุดไปแล้วขณะเกิดไฟเหลืองให้ขับรถเลยไปได้ เท่ากับว่าถ้าขับรถผ่านเส้นหยุดก่อนที่ไฟเหลืองขึ้นมีโทษปรับ 1,000 บาท นั่นเอง | แต่ในบางครั้งเราก็ไม่ได้ตั้งใจขับรถฝ่าไฟเหลือง หากไม่นับในบางครั้งที่เราอาจไม่ได้ตั้งใจจะทำผิด แต่การออกแบบสัญญาณไฟจราจรดันไม่เอื้อต่อการขับขี่เท่าที่ควร เช่น สัญญาณไฟจราจรบางแยกไม่มีตัวเลขนับถอยหลังระบุให้ชัดเจน หนำซ้ำบางแยกไฟเขียวยังไม่มีฟังก์ชันกะพริบเพื่อส่งสัญญาณเตือนผู้ขับขี่ก่อนจะเปลี่ยนเป็นไฟเหลือง แต่จะเปลี่ยนแบบฉับพลันในขณะที่รถขับด้วยความเร็ว ทำให้ชะลอรถไม่ทันเพราะการเบรกกะทันหันอาจจะเกิดอุบัติเหตุตามมาได้ จึงต้องตัดสินใจขับรถฝ่าไปในที่สุด ความจริงตามกฎจราจรประเทศไทยมีระยะเวลาไฟเหลืองเฉลี่ยราว 3 วินาทีบวกกับระยะเวลาไฟแดงของจุดอื่นอีก 2 วินาทีเพื่อความปลอดภัย โดยระยะเวลาดังกล่าวถูกคำนวณให้คนขับมีเวลาเพียงพอเพื่อจะหยุดรถทันเมื่อขับขี่รถด้วยความเร็วตามกฎหมาย แต่หากขาดสัญญาณบอกก่อนเปลี่ยนสีก็ยากที่จะคำนวณระยะในการเบรกรถได้ ซึ่งพบว่าแยกไหนมีระยะเวลาไฟเหลืองต่ำกว่า 3 วินาที สามารถแจ้งสำนักจราจรฯ กทม. มาแก้ไขให้ตรงมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยเช่นกัน […]

เวียดนามพัฒนาต่อไม่รอแล้วนะ! เตรียมสร้างศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติ หวังพาหลุดกับดักรายได้ปานกลาง

หรือเสือเศรษฐกิจตัวที่ 5 ของเอเชียอาจจะไม่ใช่ไทยอีกต่อไป เมื่อเวียดนามประกาศเตรียมสร้างศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติ (NIC) บริเวณกรุงฮานอย อย่างยิ่งใหญ่โดยใช้พื้นที่รวมกว่า 35,000 ตารางเมตร และใช้งบประมาณทั้งสิ้น 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ภายใต้วิสัยทัศน์ของนายกรัฐมนตรีเวียดนามซึ่งกล่าวไว้ว่า “นวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จและมีบทบาทในยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม” เพราะรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญดังกล่าวจึงได้นำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเติบโตของประเทศ โดยหวังว่าเวียดนามจะพัฒนาไปข้างหน้าบนพื้นฐานขององค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเหมาะสม  ศูนย์นวัตกรรมแห่งชาติแห่งนี้จึงมีหน้าที่หลักในการสนับสนุนและผลักดันธุรกิจ Start-up และผลงานนวัตกรรมภายในประเทศ โดยมีรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนหลัก ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านธุรกิจ เทคโนโลยี นวัตกรรมให้กับประชาชน ที่สามารถใช้ในธุรกิจได้ เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ริเริ่มทำธุรกิจรายย่อย เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้ให้คำปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ พร้อมทั้งเป็นสถานที่จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและดึงดูดความรู้และเงินลงทุนจากต่างแดน  สถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนประเทศเวียดนามไปข้างหน้า เพื่อพาประเทศหลุดออกจากกับดักรายได้ปานกลาง และเตรียมการเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2045

ทำไมมอเตอร์ไซค์ห้ามขึ้นสะพาน ความเหลื่อมล้ำบนถนน ดีต่อรถยนต์แต่ไม่เอื้อพาหนะสองล้อ

ภาพอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำบนสะพานถูกกั้นด้วยกระจกรถยนต์หนาไม่กี่มิลลิเมตรที่ขับผ่านไปคันแล้วคันเล่า ถ้ามองจากวิวบนพาหนะ 4 ล้อ บ้างอาจคิดว่าเจ้าของมอเตอร์ไซค์เหล่านั้นน่าสงสาร บ้างอาจคิดว่าขับมอเตอร์ไซค์อันตรายจนรีบบอกลูกที่นั่งเบาะข้างๆ ว่าอย่าไปขับเชียวนะ บ้างอาจคิดว่าทำผิดกฎหมาย ‘ห้ามขึ้นสะพาน’ เองนี่ หรืออาจคิดว่าคนขับมอเตอร์ไซค์ผิดตั้งแต่เลือกขับแล้ว เพราะกฎหมายเข้มงวดสารพัดสิ่งถูกบังคับใช้กับคนขับมอเตอร์ไซค์เป็นส่วนใหญ่ แม้อุบัติเหตุบางส่วนเกิดขึ้นเพราะคนขับรถยนต์ และลักษณะการออกแบบของสะพานก็ตาม นั่นน่ะสิ ทำไมคนขับมอเตอร์ไซค์ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ (มีจำนวน 21,452,050 คัน มากกว่ารถยนต์กว่า 10 ล้านคันเลยนะ) ถึงห้ามขึ้นสะพานฝ่ายเดียว ตามมาตรา 139 (1) ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 3 กล่าวว่า ห้ามรถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถยนต์สามล้อ และล้อเลื่อนลากเข็นทุกชนิดเดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ รวม 39 สาย  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความเห็นเกี่ยวกับการอนุญาตให้มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานจากกลุ่มประชาชนตัวอย่างในเขต กทม. 1,254 คน พบว่า ร้อยละ 51.12 ไม่เห็นด้วย เพราะสะพานข้ามแยกค่อนข้างลาดชัน ไม่เหมาะกับมอเตอร์ไซค์ เนื่องจาก ‘รถยนต์’ […]

‘ทางเท้าโซลาร์เซลล์’ แห่งแรกของสเปน แผงโซลาร์เซลล์บนพื้นที่เดินเหยียบได้ แถมผลิตไฟฟ้าให้สวนสาธารณะในเมืองได้ด้วย

สภาบาร์เซโลนา ประเทศสเปน นำร่องติดตั้งทางเท้าโซลาร์เซลล์แห่งแรกของสเปน โดยมีเป้าหมายในการลดปริมาณคาร์บอนฯ สุทธิให้เท่ากับศูนย์ให้ได้ภายในปี 2050 เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรภายในเมืองที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น แนวคิดการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บริเวณทางเท้าภายในเขตพื้นที่เมืองจึงเกิดขึ้น ทางเท้าโซลาร์เซลล์นี้ประกอบไปด้วยแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทำจากซิลิคอน มีการเดินสายไฟฟ้าและหุ้มด้วยกระจกกันลื่นที่มีความทนทานสูง เดินเหยียบไปมาได้ปกติ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มพื้นที่ผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้าแล้ว ยังเป็นการใช้พื้นที่ว่างให้เกิดประโยชน์อีกด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นคือทางเท้าแบบเดิมได้กลายเป็น ทางเท้าที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงสวนสาธารณะในเมือง Glòries สูงถึง 7,560 kWh/ปี นี่ถือเป็นจุดเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการใช้พลังงานทดแทนของสเปนอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นการลดใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่มีส่วนในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานไฟฟ้า โครงการดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของนโยบายสิ่งแวดล้อมในเมืองบาร์เซโลนา ซึ่งหากประสบความสำเร็จก็จะต่อยอดไปสู่การติดตั้งบริเวณอื่นๆ โดยมีเป้าหมายว่าภายในระยะเวลา 5 ปี เมืองแห่งนี้จะหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น เพื่อสร้างพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอต่อประชากร 7.5 ล้านคน และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ถึง 4.2 ล้านตัน Source :The Guardian | https://bit.ly/33ka2mK

หากวันหนึ่งคุณหูหนวกจะพบอะไรบ้าง ในเมืองไร้เสียงที่ชื่อว่ากรุงเทพฯ

‘…………..’ หากวันหนึ่งคุณตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าเสียงที่ได้ยินกลายเป็นเสียงเดียวกันทั้งหมด กลายเป็นเสียงแห่งความเงียบงัน ที่ดังก้องกังวานจนคุณไม่ได้ยินเสียงของผู้อื่นหรือแม้กระทั่งเสียงของตัวเอง คุณหันไปหยิบโทรศัพท์ที่เคยตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอน 7 โมงเช้า แต่เช้าวันนี้กลับไม่ได้ยินเสียงปลุกชวนรำคาญหูอีกต่อไป สัมผัสได้เพียงแรงสั่นไหวจากโทรศัพท์เท่านั้น และภาพที่คุณเห็นจากตาดวงเดิมกลายเป็นเหมือนโลกใบใหม่ ที่มือไปถูกปุ่ม Mute ไว้ตลอดกาล คุณจะทำอย่างไรต่อในเช้าวันนี้  แค่เรื่องสมมุติ ‘หากวันหนึ่งกลายเป็นคนหูหนวก’ ยังทำให้เราเป็นกังวลไม่น้อย เพราะการได้ยินเป็นสัมผัสสำคัญของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อสาร Urban Creature จึงอยากจะชวนทุกคนไปรู้จักโลกของคนหูหนวกผ่านการพูดคุยกับ ปรียานุช ศศิธรวัฒนกุล หรือนุ้ย และล่ามภาษามือ เต็มศิริณ ชลธารสีหวัฒน์ หรือไข่มุก ตัวแทนจากสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตภายในเมืองของคนหูหนวก เพื่อให้คนหูดีและคนหูหนวกได้เข้าใจกันและกันมากขึ้น หากวันหนึ่งคุณหูหนวก จะพบกับอะไรบ้าง การสื่อสารที่ใช้ภาษามือและภาษากายแทนภาษาพูด – ปัญหาพื้นฐานในชีวิตประจำวันของคนหูหนวกคือเรื่องการสื่อสาร เนื่องจากคนหูหนวกใช้ภาษามือสื่อสารเป็นภาษาแรก และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ทำให้การใช้ภาษาไทยของคนหูหนวกอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร อาจไม่เข้าใจความหมายของคำทุกคำ เวลาเขียนรูปประโยคภาษาไทยก็มักจะเขียนตามไวยากรณ์ภาษามือของคนหูหนวก อย่างประโยคที่ว่า ‘ฉันกินข้าว’ แต่คนหูหนวกจะเขียนประโยคดังกล่าวเป็น ‘ข้าวฉันกิน’ สลับตำแหน่งคำ เหมือนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้คนอ่านอาจจะเกิดความฉงนสงสัยและไม่เข้าใจสิ่งที่คนหูหนวกจะสื่อสาร และเมื่อคนหูหนวกเจอรูปประโยคยาวๆ เขาจะอ่านและแปลความหมายทีละคำ ทำให้ไม่เข้าใจรูปประโยคยาวนั้นเท่าไหร่ แต่เขาจะเข้าใจรูปประโยคสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้สื่อสารบ่อย รูปประโยคที่ใช้ในการสื่อสารกับคนหูหนวกจึงควรเป็นประโยคคำพูดสั้นๆ […]

ออกแบบสวนในเมืองสไตล์ ‘นักพฤกษศาสตร์’ ให้ต้นไม้นักฟอกอากาศมีบ้านที่ดีหลังเดียวกับคน

ชวนฟังความในใจของ ‘ต้นไม้’ สิ่งมีชีวิตที่พูดไม่ได้ว่ารู้สึกอย่างไรกับการยืนต้นใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมทุกวันนี้ รวมไปถึงมุมมองการออกแบบพื้นที่อย่างไรให้ต้นไม้อยู่ร่วมกับคนและเมืองอย่างยั่งยืน

‘ต้นไม้’ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ไหม?

เมื่อฝุ่นอนุภาคจิ๋วยังคงลอยฟุ้งอยู่ทั่วอากาศไม่มีท่าทีจะจางหาย จนทำให้ต้องกลับมานั่งคิดว่า กรุงเทพฯ ยังพอมีทางเลือกไหนบ้าง ที่ทุกคนสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5

Bangkok Road Signs : สัญลักษณ์กลางถนน เจอแบบนี้ต้องทำไง

เครื่องหมายจราจรคือ “สัญลักษณ์จราจร” ที่ใช้สำหรับควบคุมจราจร มักเป็นสัญญาณแสงไฟ ป้าย ลายต่างๆ เพื่อเป็นตัวกำหนด หรือเป็นข้อบังคับการเคลื่อ นตัวของจราจร ทั้งการจอด การเตือน รวมถึงแนะนำทางจราจรแบ่งเป็ น 3 ประเภทหลักๆ คือ สัญญาณไฟจราจร, ป้ายจราจร และเครื่องหมายจราจรอื่นๆ เช่น เครื่องหมายบนพื้นทาง และขอบทางเท้า

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.