Idol Ambassador ไม่ได้สร้างมูลค่าให้แค่แบรนด์ แต่ยังส่งเสริมสังคมวัตถุนิยมในเกาหลีใต้

ที่ผ่านมา ‘วงการเคป็อป’ และ ‘สินค้าแบรนด์เนม’ แทบจะกลายเป็นของคู่กันมาตลอด เหล่าแฟนคลับล้วนต้องติดตามแฟชั่นของศิลปินที่ตัวเองชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็นแฟชั่นสนามบิน แฟชั่นในงานอีเวนต์ หรือกระทั่งแฟชั่นที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในงานเพลง เพราะอยากรู้ว่าแบรนด์ไหนน่าทำความรู้จัก หรือมีสินค้าอะไรให้ซื้อใช้ตามศิลปินคนโปรดได้บ้าง ยิ่งในช่วงหลังๆ มานี้ เรามักเห็นแบรนด์ระดับโลกหลายแบรนด์ทำการตลาดโดยเลือกใช้ศิลปินเกาหลีในฐานะ ‘แบรนด์แอมบาสเดอร์’ (Brand Ambassador) เพื่อเป็นตัวแทนโปรโมตสินค้าและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้กับแบรนด์ เพื่อขยายฐานผู้บริโภคที่มากกว่าแค่กลุ่มคนที่ชื่นชอบแฟชั่น นั่นคือเหล่าแฟนคลับและผู้ติดตามวงการเคป็อปที่ส่วนใหญ่เป็นคนชนชั้นกลางขึ้นไป ส่งผลให้มูลค่าการจับจ่ายสินค้าแบรนด์เนมในเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนแตะอันดับสูงที่สุดของโลก แน่นอนว่าเม็ดเงินปริมาณมหาศาลที่เพิ่มขึ้นนี้คือผลประโยชน์ที่แบรนด์ต่างๆ ได้รับโดยตรง แต่ในขณะเดียวกัน การจับจ่ายใช้สอยสินค้าราคาแพงอาจเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมวัฒนธรรมวัตถุนิยมในประเทศเกาหลีให้เพิ่มมากขึ้น เพราะแฟนคลับย่อมอยากใช้สินค้าแบบเดียวกับศิลปินที่ชอบ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันถึงความเป็นแฟนคลับและแสดงออกถึงฐานะทางสังคม จนบางครั้งอาจกลายเป็นเครื่องมือช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ มากกว่าจะเป็นสินค้าที่ซื้อมาเพราะชื่นชอบหรือใช้งานจริงๆ ‘เกาหลีใต้’ ประเทศแห่งวัตถุนิยม ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ‘เกาหลีใต้’ คือประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์ภายนอกเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของ ‘บิวตี้สแตนดาร์ด’ (Beauty Standard) ที่ผู้คนต้องสวยหล่อตรงตามมาตรฐานที่สังคมกำหนดไว้ ไปจนถึงเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า เครื่องประดับต่างๆ ที่อย่างน้อยต้องมีสักชิ้นที่เป็นสินค้าจากแบรนด์หรูแบรนด์ดัง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ตัวเอง เพราะคนเกาหลีจำนวนไม่น้อยเชื่อว่าสินค้าเหล่านี้เป็นเสมือนใบเบิกทางที่จะช่วยให้พวกเขามีตัวตนในสังคมมากขึ้น จากค่านิยมนี้ ส่งผลให้สังคมเกาหลีใต้โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ค่อนข้างยกย่องเชิดชูคนที่มีภาพลักษณ์ดี มีฐานะ ดูร่ำรวย และใช้สินค้าราคาแพงเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่าง อินฟลูเอนเซอร์และยูทูบเบอร์ ‘ซงจีอา’ […]

วัยรุ่นเกาหลีใต้ใช้ชีวิตโดดเดี่ยวมากขึ้น จนภาครัฐต้องหาวิธีดึงพวกเขากลับสู่สังคม

ปัจจุบัน ‘การใช้ชีวิตสันโดษ’ หรือ ‘การแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว’ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเกาหลีใต้ ถึงแม้ว่าเบื้องหน้าที่เราเห็นผ่านซีรีส์หลายเรื่องจะสะท้อนให้เห็นว่า แดนกิมจินั้นเต็มไปด้วยความเจริญในมิติต่างๆ ผู้คนดูมีชีวิตชีวา รวมถึงมีกิจกรรมมากมายที่เอื้อให้เหล่าวัยรุ่นชาวเกาหลีได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในกรุงโซลยังมีคนรุ่นใหม่อีกจำนวนไม่น้อยที่เลือกจะเก็บตัวอยู่แต่ภายในบ้าน ตัดขาดจากโลกภายนอก และออกจากบ้านเป็นครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้เองก็เล็งเห็นว่า การแยกตัวออกจากสังคมนั้นส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจของเหล่าวัยรุ่น มากไปกว่านั้น ปรากฏการณ์นี้ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากตัวเลขของประชากรวัยทำงานจะลดลง หนึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากเยาวชนไม่สามารถเข้ากับสังคมได้ เพราะใช้ชีวิตอยู่กับความโดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน คอลัมน์ City in Focus จึงอยากจะชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการเก็บตัวของคนรุ่นใหม่ในเกาหลีใต้ ไปจนถึงการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ตั้งใจพาเหล่าวัยรุ่นผู้เก็บตัวอย่างโดดเดี่ยวให้กลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกาหลีกลายเป็นคนเก็บตัว จากการสำรวจของรัฐบาลเกาหลีใต้พบว่า มีชาวเกาหลีอายุ 19 – 39 ปีที่ใช้ชีวิตแบบ ‘โดดเดี่ยวและสันโดษ’ โดยมีคำนิยามของคนกลุ่มนี้ว่า เป็นคนที่อาศัยอยู่แต่ในพื้นที่จำกัด อยู่ในสภาพที่ขาดการเชื่อมต่อจากสังคมภายนอก ไม่ค่อยออกไปไหนเป็นเวลานานกว่าหกเดือน และมีปัญหาในการใช้ชีวิตอย่างเห็นได้ชัด ตามรายงานของกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัวเผยว่า ประมาณ 3.1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 350,000 คนของกลุ่มนี้มาจากครอบครัวยากจน เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาปิดกั้นตัวเองตั้งแต่ยังเด็กจากการโดนบุลลี่ในสังคมโรงเรียน หรือเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวจนทำให้ออกจากบ้านได้ยาก ส่งผลให้เกิดปัญหาการสื่อสารและการพูดคุยกับคนนอกตามมา ทว่าสาเหตุไม่ได้เกิดจากปัญหาในครอบครัวอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความวิตกกังวลทางสังคม ความเครียด การตกงาน ปัญหาการหางานยาก ปัญหาด้านจิตใจ […]

ชิลเกินปุยมุ้ย! โซลเปิดห้องสมุดกลางแจ้ง พร้อมหนังสือกว่า 3,000 เล่ม ให้คนนั่งอ่านหนังสือฟรีจนถึงปลายปี

เพราะเมืองที่ดีคือเมืองที่พัฒนาและส่งเสริมกิจกรรมของประชาชนอย่างรอบด้าน ล่าสุดกรุงโซล เกาหลีใต้ ได้เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองให้กลายเป็นห้องสมุดกลางแจ้งสุดชิล พร้อมต้อนรับนักอ่านและนักกิจกรรมทุกเพศทุกวัย https://rusbank.net วันที่ 23 เมษายน 2565 รัฐบาลกรุงโซลได้เปลี่ยน ‘โซลพลาซา (Seoul Plaza)’ ลานกว้างที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการกรุงโซล ให้เป็นห้องสมุดกลางแจ้งขนาดใหญ่เพื่อเฉลิมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day) โดยใช้ชื่องานว่า ‘Read at Seoul Plaza’ กรุงโซลไม่ได้จัดอีเวนต์นี้ขึ้นมาเล่นๆ เพราะภายในมีการจัดวางอุปกรณ์ที่พร้อมให้บริการคนเมืองอย่างครบครัน ได้แก่  – พื้นที่อ่านหนังสือเปิดโล่ง ที่รองรับผู้ใช้งานได้มากถึง 500 คน  – 8 ชั้นหนังสือเคลื่อนที่ มีหนังสือรวมกันกว่า 3,000 เล่ม – บีนแบ็กสีสดใสกว่า 70 ใบ – เสื่อปูพื้นกว่า 330 ผืน  – ร่มสนามกว่า 20 ชุด อุปกรณ์ทั้งหมดใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพ เห็นได้จากภาพชาวโซลจำนวนมากที่แวะเวียนมานั่งพักผ่อนและอ่านหนังสือรับแสงแดดอุ่นๆ กันตลอดวัน […]

กระแสเกาหลีมาแรง จนยอดส่งออกกิมจิเพิ่มจาก 61 เป็น 89 ประเทศ

Soft Power ของประเทศเกาหลีปังแค่ไหน ให้ดูจากยอดการส่งออกกิมจิไปทั่วโลก ใช่แล้ว กิมจิจากเกาหลีกำลังบูมอย่างมาก ในปี 2021 ข้อมูลจากกระทรวงเกษตร อาหาร และกิจการชนบทของเกาหลีใต้ ระบุว่ามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์กิมจิของประเทศพุ่งสูง จนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่จำนวนเงินกว่า 159.9 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 5,000 ล้านบาท) ทำให้การค้าเกินดุลไปถึง 19.2 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 640 ล้านบาท) นั่นหมายความว่าประเทศต้องมีการส่งออกมากกว่าการนำเข้าในจำนวนที่สูงขึ้นหลายเท่า ถ้าย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน ประเทศเกาหลีใต้มีการค้าขายกิมจิเกินดุลเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2009 ทำให้ภายในประเทศต้องนำเข้ากิมจิจากประเทศจีนมาบริโภคเป็นหลัก ในปี 2012 มีการส่งออกกิมจิไปยังประเทศญี่ปุ่นประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ยิ่งไปกว่านั้นเครื่องปรุงรสเผ็ดของประเทศยังเพิ่มจำนวนตลาดในต่างประเทศเป็น 82 ประเทศ ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียด้วย กระทรวงเกษตรยังระบุอีกว่าในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การส่งออกกิมจิของประเทศเติบโตขึ้นถึง 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจำนวนประเทศผู้นำเข้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 61 ประเทศในปี 2016 จนเป็น 89 ประเทศในปีที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญมาจากความนิยมของกระแสเพลงป็อปเกาหลี (K-POP) และซีรีส์ (K-DRAMA) […]

‘ปลอดภัย’ หรือ ‘ละเมิดความเป็นส่วนตัว’? เกาหลีใต้เตรียมใช้ AI จดจำใบหน้า ติดตามผู้ป่วยโควิด-19 ในเมืองบูชอน

การระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของมนุษย์อย่างรอบด้าน เทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทและกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยมนุษย์ลดความเสี่ยงและควบคุมการระบาดในวงกว้าง ล่าสุดเมืองบูชอน ประเทศเกาหลีใต้ เตรียมเริ่มโครงการนำร่องใช้ระบบจดจำใบหน้าที่พัฒนามาจาก เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI-powered Facial Recognition) ผ่านเครือข่ายกล้อง CCTV กว่า 10,820 ตัวทั่วเมือง เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโควิด-19 และผู้มีสัมผัสใกล้ชิด รวมถึงระบุได้ว่าคนเหล่านี้สวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ รัฐบาลกลางเกาหลีใต้ทุ่มงบประมาณให้แก่โครงการกว่า 1,600 ล้านวอน (ราว 45 ล้านบาท) และทางการบูชอนยังใช้งบประมาณของเมืองเพิ่มอีก 500 ล้านวอน (ราว 14 ล้านบาท) เกาหลีใต้จะเริ่มการใช้เทคโนโลยี AI ในเมืองบูชอน เพราะเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศ หรือมากกว่า 800,000 คน จาง ด็อกชอน (Jang Deog-cheon) นายกเทศมนตรีเมืองบูชอน อธิบายว่า มีหลายกรณีที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงเพื่อวิเคราะห์ภาพจากกล้องวงจรปิดเพียงตัวเดียว การใช้เทคโนโลยี AI จดจำใบหน้าจะช่วยลดภาระของเจ้าหน้าที่และช่วยให้การติดตามผู้ป่วยโควิด-19 รวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากระบบสามารถติดตามคนได้มากถึง 10 คนพร้อมกันภายใน 5 – 10 นาที […]

‘หยุดเลือกปฏิบัติทางเพศ’ ความหวัง LGBTQ+ เกาหลีที่ถูกกดทับหลายสิบปี

I 01 ชีวิต LGBTQ+ ในเกาหลีไม่ง่าย สิทธิการรับบริการขั้นพื้นฐานที่สะดวกสบายของประชาชนเกาหลีใต้ อาจเป็นเรื่องยากมากเพียงเพราะคุณเป็น LGBTQ+ Park Edhi หญิงข้ามเพศชาวเกาหลี ที่อาศัยในโซล เป็นผู้ประสานงานประจำ DDing Dong ศูนย์ช่วยเหลือเยาวชน LGBTQ แห่งเดียวในเกาหลี ยังต้องเจอกับปัญหามากมาย เพียงเพราะเอกสารราชการระบุว่าเธอเป็นผู้หญิงข้ามเพศ ตัวตนของเธอจึงถูกตั้งคำถามตลอดเวลา ดังนั้นเรื่องง่ายๆ อย่างการสมัครบัตรเครดิต ก็ต้องใช้เวลานานมาก เพราะต้องมีการเช็กเวชระเบียนเพื่อรับรองว่าเธอเทคฮอร์โมนเพศหญิงอยู่ ดังนั้นเลยพูดอย่างเต็มปากได้ว่าชุมชน LGBTQ ในเกาหลีใต้ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก สำหรับกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วด้วยกัน อัตราการยอมรับความหลากหลายทางเพศของเกาหลี ถือว่าอยู่ในอันดับต่ำมาก ซ้ำยังไม่มีการคุ้มครองด้านกฎหมายสำหรับ LGBTQ+ ด้วย ต้นปี 2564 นี้มีเคสคนข้ามเพศเลือกจบชีวิตในบ้านบนหน้าสื่อถึงสองคน คนแรกคือ Kim Ki-hong นักเคลื่อนไหวและนักการเมืองข้ามเพศ และคนถัดมาคือ Byun Hee-soo ที่ต้องออกจากกองทัพ เพื่อเข้ารับการผ่าตัดยืนยันเพศสภาพ I 02 โควิด-19 กำลังทำร้าย LGBTQ+ เกาหลี ไม่น่าเชื่อว่า COVID-19 จะสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน […]

อวสานชิแม็ก เมื่อโซลห้ามกินไก่กับเบียร์ที่ริมน้ำฮัน

ใครที่เคยดูซีรีส์ หนัง หรือไปเยี่ยมเยียนประเทศเกาหลีใต้บ่อยๆ น่าจะคุ้นเคยกับ วัฒนธรรมการกิน Chimaek (치맥) กันดี ชิแม็กคือการตัดคำสองคำมาชนกัน คำแรกหมายถึงไก่ ส่วนคำหลังหมายถึงเบียร์ เข้าใจง่ายๆ ก็คือการกินไก่ทอดเกาหลีที่มีให้เลือกหลากหลายรสชาติแกล้มกับเบียร์เย็นๆ ถ้าเคยได้ลิ้มลองกัน ก็จะรู้ว่าเป็นส่วนผสมที่อร่อยเด็ด ตัดเลี่ยนกันได้อย่างลงตัว นอกจากจะนิยมกินกันในร้าน บาร์ หรือบ้าน สถานที่ฮอตฮิตอีกหนึ่งแห่งในโซลก็คือสวนสาธารณะริมแม่น้ำฮัน ลองจินตนาการดูสิว่าถ้าได้จิบเบียร์แกล้มไก่ทอดรสโปรด นั่งคุยชิลๆ กับเพื่อนๆ และชมวิวในพื้นที่สาธารณะที่มีทั้งต้นไม้ แม่น้ำ และคนหนุ่มสาวมากมายมันฟินซะขนาดไหน ดังนั้น เลยไม่น่าแปลกใจหรอกว่าทำไมคนเกาหลีถึงเลือกเมนูชิแม็กเวลาไปปิกนิกนอกบ้าน แต่เดี๋ยวก่อน! ถ้าคิดว่าจะไปเที่ยวโซลคราวหน้า แล้วมีแพลนจะทำอะไรแบบนี้ ก็คงต้องพับแผนไปทำอย่างอื่นแทน เพราะล่าสุดรัฐบาลกรุงโซลเริ่มสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์เกี่ยวกับการห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะเมื่อช่วงกลางๆ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ก่อนจะบังคับใช้กฎหมายด้านสาธารณสุขช่วงปลายเดือน สำหรับการแก้ไขกฎเหล่านี้ รัฐบาลท้องถิ่นมีอำนาจกำหนดและห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนพื้นที่สาธารณะของเมือง ไม่ว่าจะเป็น สวนสาธารณะ รถไฟใต้ดิน ป้ายรถบัส หรือสถานศึกษา และสถานพยาบาล เพื่อป้องกันพฤติกรรมที่ไร้ระเบียบและทำลายสุขภาพของประชาชน ซึ่งผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษด้วยการปรับเงินสูงถึง 100,000 วอน (เกือบ 2,800 บาทไทยในตอนนี้) ภาครัฐเกิดความกังวลอย่างสูง เพราะประชาชนในเมืองนิยมชักชวนกันไปดื่มในพื้นที่สวนจำนวนมาก นั่นอาจเพราะสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทำให้ทั้งบาร์และร้านอาหารปิดเร็วขึ้นกว่าเดิม […]

คอมมูนิตี้ใหม่ในเกาหลีที่ไม่เชื่อเรื่องแต่งงาน

TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มที่วัยรุ่นนิยมใช้งานมากที่สุดในโลก โดยมียอดดาวน์โหลดมากกว่า 3 พันล้าน ทว่าในช่วงปีที่ผ่านมา TikTok ถูกปรับหลายล้านดอลลาร์ จากข้อหาการละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัวของเยาวชนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ  ล่าสุด TikTok จึงได้ปรับเปลี่ยนนโยบายเตรียมออกฟีเจอร์ใหม่ สำหรับผู้ใช้งานเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 13 – 17 ปี เพื่อให้พวกเขามีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ปลอดภัยในการใช้งาน และลดการใช้งานที่อาจมากเกินไป นโยบายนี้จะเริ่มจากปิดกั้นการส่งข้อความโดยตรงหาผู้ใช้งานที่เป็นเยาวชน เพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศ จำกัดการแจ้งเตือน (Notification) เพื่อลดการใช้งาน โดยผู้ใช้งานที่มีอายุระหว่าง 13 – 15 ปี จะถูกจำกัดตั้งแต่เวลา 21.00 น. และผู้ใช้งานที่มีอายุระหว่าง 16 – 17 ปี จะจำกัดตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป และจะไม่ได้รับข้อความแจ้งเตือนเลยจนกว่าจะถึงเวลา 8.00 น.  พร้อมทั้งแสดงหน้าจอแจ้งเตือนเมื่อเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี โพสต์วิดีโอเป็นครั้งแรก เพื่อจำกัดว่าใครสามารถรับชมวิดีโอนี้ได้บ้าง เช่น ผู้ติดตาม (Followers) เพื่อน หรือแค่ตัวเอง […]

Home Party Hoaster เครื่องปิ้งขนมปังที่คุณสามารถเขียนโควตพลังบวกลงไปได้

ส่องงานไอเดียออกแบบสุดน่ารักของดีไซเนอร์เกาหลีใต้ Home Party Hoaster เครื่องปิ้งขนมปังที่คุณอยากเขียนอะไรลงไปก็ได้

Summer in Busan : ความทรงจำในฤดูร้อนที่ ‘ปูซาน’ เมืองชายฝั่งทะเล เกาหลีใต้

เปลี่ยนบรรยากาศจากกรุงโซล มาเที่ยวเมืองชายฝั่งทะเลและเป็นเมืองที่ใหญ่รองลงมาของเกาหลีใต้อย่าง ‘ปูซาน’ เมืองตากอากาศที่เย็นสบายทั้งปี แม้จะเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูร้อน เดือนมิถุนายน-ต้นเดือนกันยายนแล้ว แต่ช่วงที่เรามาแดดกำลังสวย อุณหภูมิประมาณ 20 ต้นๆ เดินถ่ายรูปเล่นได้สบาย

ฟังประสบการณ์ทัวร์เกาหลีใต้ครั้งแรกของวงอินดี้ไทย ‘Death of Heather’

ดนตรีลอยฟุ้งชวนฝัน เมโลดี้สวยๆ และท่อนเพลงติดหู “I can tell you I need you” จากเพลง I Can Tell ทำให้เราสนใจลองฟังเพลงอื่นๆ ของวงอินดี้ไทย Death Of Heather จนต้องสะดุดกับเสียงกีตาร์อันอัดอั้นในเพลง Drown

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.