คอมมูนิตี้ใหม่ในเกาหลีที่ไม่เชื่อเรื่องแต่งงาน - Urban Creature

TikTok กลายเป็นแพลตฟอร์มที่วัยรุ่นนิยมใช้งานมากที่สุดในโลก โดยมียอดดาวน์โหลดมากกว่า 3 พันล้าน ทว่าในช่วงปีที่ผ่านมา TikTok ถูกปรับหลายล้านดอลลาร์ จากข้อหาการละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัวของเยาวชนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 

ล่าสุด TikTok จึงได้ปรับเปลี่ยนนโยบายเตรียมออกฟีเจอร์ใหม่ สำหรับผู้ใช้งานเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 13 – 17 ปี เพื่อให้พวกเขามีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น ปลอดภัยในการใช้งาน และลดการใช้งานที่อาจมากเกินไป

นโยบายนี้จะเริ่มจากปิดกั้นการส่งข้อความโดยตรงหาผู้ใช้งานที่เป็นเยาวชน เพื่อป้องกันการคุกคามทางเพศ จำกัดการแจ้งเตือน (Notification) เพื่อลดการใช้งาน โดยผู้ใช้งานที่มีอายุระหว่าง 13 – 15 ปี จะถูกจำกัดตั้งแต่เวลา 21.00 น. และผู้ใช้งานที่มีอายุระหว่าง 16 – 17 ปี จะจำกัดตั้งแต่เวลา 22.00 น. เป็นต้นไป และจะไม่ได้รับข้อความแจ้งเตือนเลยจนกว่าจะถึงเวลา 8.00 น. 

พร้อมทั้งแสดงหน้าจอแจ้งเตือนเมื่อเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปี โพสต์วิดีโอเป็นครั้งแรก เพื่อจำกัดว่าใครสามารถรับชมวิดีโอนี้ได้บ้าง เช่น ผู้ติดตาม (Followers) เพื่อน หรือแค่ตัวเอง โดยผู้ใช้งานทั่วไปจะไม่สามารถมองเห็นได้ รวมถึงไม่อนุญาตให้ดาวน์โหลดวิดีโอของเยาวชนด้วยเช่นกัน

นโยบายการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง ปัญหาการล่วงละเมิดออนไลน์สำหรับเด็ก ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ และกำลังหาทางแก้ไขร่วมกัน โดยเราหวังว่าพื้นที่ออนไลน์จะกลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่ความรู้ มากไปกว่าการเป็นพื้นที่เสี่ยงสำหรับเด็กและเยาวชนในยุคนี้


Source : Techcrunch | https://tcrn.ch/3iPbBll

‘ชีวิตในเกาหลี ไม่ได้สวยงามเหมือนในซีรีส์แสนหวาน’

ช่วง 10 – 20 ปีที่ผ่านมา รูปแบบสังคมวัฒนธรรมเกาหลีใต้เปลี่ยนไปรวดเร็วจนหยุดไม่อยู่ ทุกความเจริญของประเทศที่ได้มา ต้องแลกด้วยราคาที่ประชาชนต้องจ่ายสูงลิ่ว โดยเฉพาะความตึงเครียดจากสภาพสังคม และค่านิยมกดดันชีวิตให้ประสบความสำเร็จตลอดเวลา ในขณะที่ตลาดแรงงานมีการแข่งขันสูง ผู้คนกำลังติดกับดักเพดานรายได้ เมื่อมีลูกก็ต้องเจอกับค่าครองชีพการเลี้ยงดูแสนแพง 

ทุกวันนี้บริบททางสังคมที่ร้อนแรงทำให้คนรุ่นใหม่ทั่วโลกไม่แยแสต่อการแต่งงาน และพึงพอใจกับการอยู่เป็นโสดมากขึ้น ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเริ่มแพร่หลายเมื่อ 10 กว่าปีมาแล้ว แต่ทุกวันนี้ยิ่งหนักข้อขึ้นกว่าเดิม เมื่อเจอกับปัญหาวิกฤตการณ์โควิด-19 ซึ่งเป็นปัจจัยเร่งให้แนวคิดนี้เบ่งบาน เพราะลำพังดูแลตัวเองก็น่าจะลำบากมากพอแล้ว

เมื่อปีที่แล้วมีการสำรวจสถิติโดย Statistics Korea พบว่าประชากรชาวเกาหลีใต้ที่อายุมากกว่า 13 ปีขึ้นไป 51.2 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมดคิดว่า ‘การแต่งงานยังเป็นเรื่องจำเป็น’ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจเดียวกันเมื่อ 10 ปีก่อน กลับมีตัวเลขลดลงไปถึง 13.5 เปอร์เซ็นต์ จากที่เคยสูงถึง 64.7 เปอร์เซ็นต์

ตัวเลขชุดนี้สะท้อนความคิดคนว่าพวกเขาต้องการเลือกดีไซน์ชีวิตเอง ซึ่งทางเลือกหนึ่งคือการไม่แต่งงาน ยิ่งไปกว่านั้นคนคอเดียวกันยังรวมตัวกันเป็นคอมมูนิตี้ ซึ่งประเด็นนี้กลายเป็นหัวข้อถกเถียงระดับ Talk of The Town เกี่ยวกับนิยามของความโสด และรูปแบบความสัมพันธ์ที่ไม่ต้องมีการแต่งงานมาข้องเกี่ยวอีกต่อไป

Gongdeok-dong House ใน Mapo-gu เป็นตัวอย่างหนึ่งในชุมชนภาคเอกชนที่ปฏิเสธการสมรส ก่อตั้งขึ้นโดยสมาชิกที่พบกันผ่านกลุ่มที่ Hong Hye-eun อายุ 31 ปี ตั้งขึ้นบน Facebook ฮงเป็นผู้อำนวยการโปรเจกต์ของ กงดอก-ดง เฮาส์ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการเชื่อมคอมมูนิตี้สมาชิกผ่านบทสนทนาออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องเฟมินิสต์และปัญหาการใช้ชีวิตในสังคมสมัยใหม่ หลังการพูดคุยของคนในกลุ่ม พบว่าผู้หญิงแทบทุกคนกำลังเผชิญปัญหาความกังวลด้านที่อยู่อาศัย จึงตัดสินใจจัดตั้งชุมชนเพื่ออยู่ร่วมกัน ซึ่งปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้รู้จักกันในชื่อบ้านกงดอก-ดง

จากข้อมูลของกลุ่ม มีปัจจัยหลายอย่างในเกาหลีที่ส่งผลต่อมูฟเมนต์ทางสังคมรูปแบบนี้ให้ขยายตัวมากขึ้น เมื่อผู้หญิงไม่แคร์ประเพณีการแต่งงานดั้งเดิม เพราะถึงจะก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 แล้ว แต่งานสมรสในปัจจุบัน อาจไม่ได้มาจากการตัดสินใจส่วนตัวเท่านั้น เพราะมักเกิดจากแรงกดดันของสังคมและคนรอบข้าง กลุ่มกงดอกเห็นร่วมกันว่าการแต่งงานในเกาหลีใต้นั้นทำให้ผู้หญิงเสียเปรียบ ซึ่งตรงกับสิ่งที่คนรุ่นใหม่หลายคนเริ่มมีแนวคิดว่าภาระ หน้าที่ และข้อกำหนดที่เพศหญิงต้องแบกรับในครอบครัว ไม่สมเหตุสมผลต่อการใช้ชีวิต แสดงให้เห็นว่าระบบครอบครัวแบบดั้งเดิมกำลังถูกท้าทายด้วยหนทางการออกแบบชีวิตรูปแบบใหม่ๆ

เป็นเรื่องปกติที่คู่รักวัยหนุ่มสาวทั่วโลกจะเลือกซื้อที่อยู่อาศัยหลังแต่งงาน แต่เมื่อเลือกจะอยู่คนเดียวหรือไม่แต่งงานแล้ว กลับไม่ค่อยมีพื้นที่รองรับรูปแบบการใช้ชีวิตเดี่ยวๆ คนเกาหลีจึงต้องตรากตรำทำงานหนักทั้งชีวิตเพื่อหาเงินมาซื้อหรือเช่าที่พัก ยิ่งถ้าอยู่คนเดียวและมีทุนจำกัด ก็ยิ่งจำเป็นต้องอยู่ในห้องอันคับแคบและไม่ค่อยมีอากาศถ่ายเท

แม้ว่ารัฐบาลเกาหลีจะมีโครงการบ้านเช่าหรือเงินอุดหนุนที่พักเพื่อยกระดับชีวิตของประชาชน แต่ก็พบว่าหลายๆ แห่งมีราคาที่แพงเกินไปสำหรับการอยู่เพียงลำพัง เนื่องจากนโยบายยังคงเน้นออกแบบมาเพื่อเอื้อให้คู่แต่งงานเริ่มต้นชีวิตครอบครัวมากกว่าวิถีชีวิตแบบอื่น 

เมื่อรูปแบบวิถีชีวิตใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่รัฐบาลยังไม่มีนโยบายมารองรับคนกลุ่มนี้ พวกเขาจึงหวังว่าในอนาคต รัฐจะดำเนินการให้มีบ้านเช่าที่ซัปพอร์ตคนโสดหรือคนที่อยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงานมากขึ้น เพราะคนเหล่านี้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าแม้จะอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวที่ไม่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือด พวกเขาก็อยู่ร่วมกันได้เป็นอย่างดี

Writer

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.