FYI

5 Things I Love-Hate about Bangkok รักความสบาย แต่เกลียดจะตายกับชีวิตในเมือง

‘รักนะ แต่ก็เกลียดเหมือนกัน’ อาจเป็นหนึ่งในความรู้สึกของการเผชิญหน้ากับ Toxic Relationship ที่คอยบั่นทอนชีวิตทุกวัน ซึ่งความสัมพันธ์สุด Toxic นี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่ระหว่างคนด้วยกันเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความสัมพันธ์ของเมืองและคนที่อยู่อาศัยในเมืองด้วย วาเลนไทน์ปีนี้ Urban Creature ขอขยับออกจากความสัมพันธ์แบบโรแมนติกมาพูดถึงความสัมพันธ์ในรูปแบบ ‘Love-Hate Relationship’ ของคนและเมืองกันบ้าง ว่ามีอะไรที่ทำให้เราทั้งรักทั้งเกลียด จนหนีออกจากความสัมพันธ์พังๆ นี้ไม่ได้ วินมอเตอร์ไซค์ อยู่ในเมืองรถติดจะตาย แต่ไม่เป็นไร เพราะไม่ต้องขับรถก็เดินทางในเมืองได้ง่ายๆ ด้วยขนส่งสาธารณะที่มีให้เลือกหลากหลาย (แต่ไม่ดีสักอย่าง) ซึ่งบริการที่ดูจะได้ใช้บ่อยที่สุดก็คงหนีไม่พ้นพี่วินมอเตอร์ไซค์ ที่สามารถพาเราซอกแซกฝ่าการจราจรที่ติดขัดไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ถึงจะเร็วรี่แค่ไหนก็มีปัญหามากมายให้ต้องระแวดระวัง ทั้งความอันตรายที่เกิดจากการขับขี่เร็วเกินไป บางคนก็รอติดไฟแดงไม่เป็น เห็นช่องว่างก็รีบพุ่งตัวออกไปทันที หรือบางทีก็มีการคิดราคาที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งความรักตัวกลัวตายก็ทำให้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อความปลอดภัยในชีวิต  ถึงจะเกลียดที่ต้องเสี่ยงชีวิตทุกครั้งที่ซ้อนมอเตอร์ไซค์ แต่ก็รักชีวิตเมืองที่มีวินมอเตอร์ไซค์ เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องทรมานเดินฝ่าความร้อน ห้างสรรพสินค้า นัดเจอเพื่อนทีไร สุดท้ายก็หนีไม่พ้นห้างสรรพสินค้าทุกที ถึงจะเปลี่ยนย่านไปเรื่อยๆ แต่ด้วยอากาศที่ร้อนและฝุ่นควันที่ลอยคว้างตลอดปีตลอดชาติ ก็ไม่มีที่ไหนจะเหมาะกับการเป็นจุดหมายนัดเจอกันในเมืองมากไปกว่านี้อีกแล้ว แม้การเดินเล่นหรือกินข้าวในห้างฯ จะเย็นสบายดี แต่พอไปบ่อยๆ ก็เริ่มจะเบื่อ บางครั้งก็อยากเปลี่ยนบรรยากาศไปสนุกที่อื่นบ้าง เช่น ออกไปนั่งปิกนิกกับเพื่อนสาวท่ามกลางสวนดอกไม้ หรือออกไปนอนอ่านหนังสือรับลมเย็นๆ ในสวนแบบเซ็นทรัลพาร์ก ทีนี้พอนึกถึงค่าฝุ่นที่แดงแจ๋แล้วก็คงต้องขอกลับไปอยู่ในห้างฯ เหมือนเดิมแล้วกัน […]

‘เราโดน Gaslight หรือเผลอไป Gaslight ใครหรือเปล่า’ บอกทีว่าความสัมพันธ์ที่ดีต่อใจยังมีอยู่จริง

คำว่า ‘Gaslight’ เป็นคำที่คนค้นหาความหมายมากที่สุดในปี 2022 จากเว็บไซต์พจนานุกรมชื่อดัง Merriam-Webster เราจึงคิดว่าควรจะพูดถึงคำนี้ในหลากหลายแง่มุมให้มากที่สุดเกี่ยวกับการ Gaslight (แก๊สไลต์)  ทางเว็บไซต์ได้ให้ความหมายคำนี้ที่เข้าใจอย่างเห็นภาพไว้ว่า ‘The act or practice of grossly misleading someone, especially for one’s own advantage.’ หรือแปลเป็นไทยคือ การกระทำบางอย่างที่ตั้งใจทำให้อีกฝ่ายเข้าใจผิด บิดเบือนความจริง เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง ต้นกำเนิดของคำนี้มาจากหนังเรื่องหนึ่งในปี 1944 เป็นหนังที่เก่ามากขนาดว่าภาพยังเป็นสีขาว-ดำอยู่เลย หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า Gaslight ตรงตัว ว่าด้วยเรื่องราวของ Paula สาวน้อยผู้อ่อนโยน ไร้เดียงสา ที่เผชิญเหตุการณ์เลวร้าย เห็นป้าแท้ๆ ถูกฆาตกรรมต่อหน้าต่อตาในบ้านของตัวเองที่เมืองลอนดอน หลายปีต่อมา เธอเดินทางไปยังประเทศอิตาลี และพบรักกับชายหนุ่มถึงขั้นตัดสินใจแต่งงาน ก่อนเดินทางกลับมาอยู่ที่บ้านหลังใหญ่ของเธอในลอนดอน ซึ่งเป็นมรดกของคุณป้านั่นเอง จุดพลิกผันของเรื่องคือการที่ผู้ชายคนนี้เห็น Paula รวยอู้ฟู่ ก็หวังจะฮุบทรัพย์สินมรดกทุกอย่างของหญิงสาวเอาไว้เอง โดยใช้วิธีการกลั่นแกล้ง ตั้งใจทำให้เธอรู้สึก ‘เป็นบ้า’ ซึ่งคำว่า Gaslight ก็มาจากตะเกียงไฟสมัยก่อน […]

Mental-Verse จักรวาลใจ X People of Ari Documentary สะท้อนปัญหาสุขภาพจิต จาก Eyedropper Fill กลับมาฉายที่อารีย์

Mental-Verse จักรวาลใจ กำลังจะกลับมาฉายอีกครั้งที่อารีย์ 14 – 29 พ.ค. 65 นี้ ใครที่พลาดไปเมื่อครั้งจัดฉายครั้งแรกในงาน Bangkok Design Week 2022 ที่ River City Bangkok ไม่ต้องเสียใจไป ตอนนี้ Eyedropper Fill ร่วมกับ People of Ari นำ Immersive Documentary เรื่อง Mental-Verse จักรวาลใจ กลับมาฉายให้เราดูกันฟรีๆ อีกครั้งที่ Yellow Lane Cafe Mental-Verse จักรวาลใจ คือสารคดีเล่าเรื่องจากภาพถ่าย ที่ให้ผู้ป่วย 3 คน 3 ช่วงวัย ได้มีส่วนร่วมออกแบบการเล่าเรื่องตัวเอง สำรวจความทรงจำ และการเติบโตของ ‘โลกซึมเศร้า’ ในตัวพวกเขา ซึ่งต่างก็ได้รับผลกระทบมาจากมิติทางสังคมต่างๆ พร้อมพาผู้ชมย้อนกลับมาสำรวจ ‘โลกในจิตใจของตัวเอง’ ระหว่างทางไปพร้อมกัน และทำให้เราเข้าใจโรคมากขึ้น […]

Sex Worker ก็อยากสมหวังในรัก ‘ถาม’ ซิงเกิลใหม่จาก Patcha ที่อยากให้สังคมยอมรับอาชีพนี้มากขึ้น

เพราะความรักคือสิ่งที่สวยงาม และทุกคนสามารถพบเจอกับความรักที่ดีได้ในสักวัน ไม่ว่าคนคนนั้นจะเป็นใครหรือทำอาชีพไหนก็ตาม นี่คือความเชื่อและแรงบันดาลใจเบื้องหลังมิวสิกวิดีโอเพลง ‘ถาม’ ซิงเกิลใหม่จาก ‘พัดชา (Patcha)’ ที่นำเสนอเรื่องราวและพูดถึงความรักในมุมมองของ ‘ผู้ค้าบริการทางเพศ (Sex Worker)’ หลังได้พบกับลูกค้าหนุ่มขาประจำหลายครั้ง จนทั้งคู่เริ่มมีความรู้สึกดีๆ ให้กันมากเป็นพิเศษ แต่ทั้งสองก็ยังไม่กล้าพัฒนาความสัมพันธ์ไปมากกว่านี้ เพราะไม่แน่ใจว่า แท้จริงแล้วความรู้สึกเหล่านั้นเกิดจาก ‘ความรัก’ หรือ ‘ความปรารถนาทางเพศ’ กันแน่ พัดชาอยากใช้ซิงเกิลนี้พูดถึงความรักของ Sex Worker ที่อยากจะสมหวังในความรักเหมือนคนอื่นๆ เพราะเขาเชื่อว่าความรักคือสิ่งสวยงาม ไม่ว่าจะเป็นใครหรือทำอาชีพไหน ทุกคนสามารถเจอความรักที่ดีได้ในสักวัน และอยากให้สังคมไทยเปิดใจและยอมรับคนที่ทำอาชีพ Sex Worker มากขึ้น พัดชา (อดีตสมาชิกวง Chanudom) คือศิลปินคนแรกในสังกัด Red Clay ค่ายเพลงน้องใหม่ที่ก่อตั้งโดย กวิน อินทวงษ์ โปรดิวเซอร์ชื่อดังที่อยู่เบื้องหลังเพลงฮิตยอดวิว 100 ล้านมากมาย เช่น เพลง ‘อ้าว’ ‘Please’ และ ‘ทางของฝุ่น’ ของศิลปิน อะตอม ชนกันต์ และยังเคยทำงานร่วมกับศิลปินคนอื่นๆ […]

รายการหาคู่จีน ชวนผู้สูงอายุมีรักครั้งใหม่ มีการเผยข้อเสีย หากรับได้ ไปเดตกัน

ต่อหน้าผู้ชมในสตูดิโอ Wang Qingming ชายสูงวัยรูปร่างผอมเพรียวในเสื้อโปโลสีน้ำเงินติดกระดุมคอ ออกอาการประหม่าเล็กน้อยเมื่อเผชิญหน้ากับคู่เดตของเขา ซึ่งเป็นผู้หญิงที่มีรูปลักษณ์น่าเกรงขาม มาพร้อมผมสีดำยาวสลวยซึ่งเกล้าเป็นมวยแบบหลวมๆ Wang เริ่มต้นด้วยการถามว่า “คุณมีนิสัยอะไรบ้างที่ไม่น่ารัก” “ฉันหิวตลอดเวลา” เธอตอบด้วยเสียงหัวเราะพร้อมบอกว่า “แต่ฉันไม่เล่นไพ่นกกระจอก ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่ม” เมื่อถามถึงด้านสุขภาพ เธอตอบว่าร่างกายของตนแข็งแรงดี พร้อมเรียกเสียงหัวเราะอีกครั้งด้วยการบอกว่าตอนนี้มีลูกไม่ได้แล้ว Wang อวดคู่เดตของเขาว่าตนไม่ได้กินยามาเป็นเวลาหนึ่งปีแล้ว ส่วนเธอสำทับอย่างภาคภูมิใจว่าสำหรับเธอคือสองปี ก่อนจะถามกลับไปเรื่องบ้านและการเงิน และรับข้อเสนอเรื่องค่าเลี้ยงดูก่อนที่ทั้งสองจะจับมือเดินลงจากเวทีไปพร้อมกัน  ฉากดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งใน Yinmi Shijia รายการหาคู่ทางทีวีของประเทศจีน ที่ได้รับการแชร์หลายแสนครั้งบนโซเชียลมีเดีย และรายงานจากสื่อท้องถิ่นจากความแปลกใหม่ของรูปแบบรายการหาคู่ ที่ไม่ได้เอาหนุ่มสาวหน้าตาดีมาหยอดคำหวานใส่กัน แต่หยิบเอาข้อเสียของคนสูงวัยมาเปิดเผยให้คู่เดตทราบกันโต้งๆ  ในประเทศจีนมีผู้คนมากกว่า 260 ล้านคนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี หรือประมาณ 18 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด ซึ่ง 25 เปอร์เซ็นต์กำลังครองสถานะโสด เป็นหม้าย หรือหย่าร้าง กลุ่มผู้สูงอายุในแผ่นดินใหญ่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายเรื่องลูกคนเดียวซึ่งคุมกำเนิดประชากรมาหลายทศวรรษ  ทัศนคติเชิงลบต่อผู้สูงอายุมีอยู่ทุกที่ Dr. Pan Wang อาจารย์อาวุโสด้านเอเชียและจีนศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า ผู้สูงอายุถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่มักจะถูกกีดกันออกจากสื่อโดยสิ้นเชิง ซึ่งเขามองว่านอกจากรายการนี้ช่วยให้ผู้สูงอายุมีสิทธิ์ในการบอกเล่าเรื่องราวของตนเอง ยังให้โอกาสในการมองหาความรักและการแต่งงานครั้งใหม่เช่นกัน 

‘ตัวห่างไกลแต่ใจไม่ห่างกัน’ เมื่อการสื่อสารช่วยรักษาความสัมพันธ์ในวันที่มีระยะห่าง

‘LINE’ สื่อกลางเชื่อมทุกความห่างไกล จากความคุ้นชินในชีวิตคนเราเพราะใช้ทุกวัน กับบทบาทของการเป็นแชทแอปฯกลับมาเด่นชัดในชีวิตคนไทยอีกครั้ง เกิดเป็น ‘โมเมนต์’ น่ารักชวนอบอุ่นใจและคุณค่าของการสื่อสารที่ทุกคนสัมผัสได้

“เป็นพี่ต้องเสียสละ” คำสอนที่ ‘ลูกคนโต’ แบกไว้บนบ่า

“ยอมน้องหน่อยลูก”“ขอให้น้องเล่นก่อนนะ”“หนูเป็นพี่ต้องเสียสละให้น้อง” เป็นพี่ต้องเสียสละจริงหรือ-คำถามที่คนเป็น ‘พี่’ ได้แต่เก็บเงียบไว้ในใจ เพราะไม่ว่าพี่บ้านไหนก็ล้วนถูกพ่อแม่ปลูกฝังให้ต้องเสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับคนเป็นน้อง แต่หากค้นลงไปให้ลึกถึงก้นบึ้งใจ ก้อนเนื้อในอกข้างซ้ายของลูกคนโตอาจมีบาดแผลจากคำสอนที่ว่าซึ่งยังไม่หายซุกซ่อนอยู่ เปิดประเด็นเรื่องพี่น้องกับ หมอโอ๋ หรือ ผศ. พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร-กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกผ่านเพจ เลี้ยงลูกนอกบ้าน ถึงสิ่งที่ทำให้เชื่อว่าพี่ต้องเสียสละ ไปจนถึงผลที่กระทบต่อความสัมพันธ์ และคำแนะนำสำหรับสอนพี่น้องให้รู้จักเสียสละและแบ่งปันซึ่งกันและกันอย่างเต็มใจ มายาคติที่บีบให้พี่ต้องเสียสละ ความเป็นพี่และเป็นน้องถูกมายาคติตีกรอบไว้มากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งเหล่านั้นล้วนเป็นตัวกำหนดลักษณะนิสัยของพี่น้องจนกลายเป็นภาพจำที่ถูกส่งต่อ บริบทศาสตร์แห่งจิตวิทยา สมัยก่อนมีหลักทางจิตวิทยาที่ใช้บ่งบอกถึงลักษณะของคนอายุมากกว่า และน้อยกว่า ซึ่งกำหนดให้ พี่ ต้องมีความเป็นผู้นำ มีความรับผิด และต้องคิดถึงคนรอบข้าง ส่วน น้อง จะกล้าคิด กล้าทำ รั้น และเป็นตัวของตัวเองอย่างสุดขีด และท้ายที่สุดถูกผลิตสู่ความเชื่อซึ่งยอมรับได้ บริบททางสังคมและวัฒนธรรม ความคิดที่ว่า คนอายุมากกว่าต้องมีความรับผิดชอบ และเสียสละมากกว่า คืออีกหนึ่งสิ่งที่บีบพี่ให้เป็นไปตามกรอบซึ่งวางไว้ อย่างคำเล่าลือที่ว่า มีครอบครัวหนึ่ง พ่อแม่แขวนปลาทูไว้ดู แต่เสียสละให้ลูกได้กิน สิ่งนี้กลายเป็นความคาดหวังในความรู้สึกพ่อแม่ว่า คนที่โตกว่าต้องเสียสละ เหมือนที่พ่อแม่เสียสละให้ลูก ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นค่านิยมของความรักที่ดีงามไปโดยปริยาย คนดี = เสียสละ อีกวาทกรรมความดีงามที่ว่า […]

‘พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น’ ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง

ถ้าคุณเคยดูหนังรอมคอมผ่านตามาบ้าง คิดว่าฉากไหนโรแมนติกมากกว่ากัน ระหว่างดาราสาวสวยระดับโลกมาพบรักกับคนขายหนังสือเดินทางในร้านสถานะใกล้เจ๊งที่ย่านนอตติงฮิลล์ หรือวิศวกรหนุ่มหล่อที่เข้างานกะดึกบังเอิญมาเจอกับสาวออฟฟิศบนรถไฟฟ้าที่แน่นขนัด แม้จะเป็นเรื่องราวความรักที่สวยงามที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะด้วยกันทั้งคู่ แต่ฉากหลังของภาพยนตร์สองเรื่องนี้ถ้าเปรียบกันแบบน่ารักๆ ก็เรียกว่าพลิกจากหน้ามือกับหลังมือ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ  ถึงดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนในลอนดอนหรือเมืองชั้นนำในหลายประเทศ เราจึงชวน ‘รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา’ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ มาหาคำตอบร่วมกันว่าปัจจัยอะไรที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของเรา และจะมีวันไหนที่กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยความโรแมนติกกับเขาบ้าง  จำเลยรัก คนเราจะรักกันได้อย่างไรถ้าไม่เคยเจอหน้ากัน และจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหนหากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะท่องไปในโลกของความสัมพันธ์อันแสนล้ำลึกอาจารย์พนิตชวนเราก้าวถอยหลังออกมามองบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น  “เมืองเรามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือเป็น Gated Community หรือสังคมล้อมรั้ว มีหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่ดึงเอาสวนสาธารณะ ลานออกกำลังกาย หรือพื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นชุมชนปิดเพราะมีแต่คนประเภทเดียวกันที่มีราคาบ้านเป็นตัวกำหนด “จะเห็นว่าคนไทยมีคนรักที่อยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนที่เรียนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน เพราะโอกาสที่จะรู้จักกับคนอื่นมีน้อยมาก หากจะเริ่มความสัมพันธ์กับใครคุณจะไปเจอเขาที่ไหน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น” นอกจากสังคมแบบปิดจะทำให้คนรักไม่มีวันได้พบกันแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย อาจารย์พนิตบอกว่า สังคมปิดจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นชัดเจน และความหลากหลายทางเศรษฐกิจก็จะลดลง เพราะเราเคยชินกับการมีพื้นที่ของตัวเองจนลดการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นลงไป สินค้าทุกอย่างก็จะกลายเป็นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น Economy of Scale หรือสินค้าที่ผลิตปริมาณมากเพื่อขายราคาถูกก็จะน้อยลง เศรษฐกิจจะกระจุกตัวอยู่กับคนแต่ละชนชั้นเท่านั้น  เศรษฐกิจสีชมพู ค่าครองชีพที่สูงชะลูดเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของใครหลายคนต้องเป็นหมัน […]

‘382 Space’ คาเฟ่โคราชที่สร้างขึ้นจากความรัก และอยากเป็น ‘สวนพฤกษศาสตร์’ ห้อมล้อมร้านกาเเฟ

‘พี่เน็ท วาทิต ตั้งใจ’ ผู้หลงใหลต้นไม้ ศิลปะ และร้านกาแฟ และปลูกปั้นความรักของตัวเองให้เติบโต ด้วยความตั้งใจที่จะสร้างคาเฟ่ให้เป็นสวนพฤกษศาสตร์ในโคราชให้ทุกคนได้มาสัมผัส

‘AI’ จะกลายเป็นเพื่อนคนใหม่ของมนุษย์หลังเกิด ‘COVID-19’ ได้ไหม ?

ลองจินตนาการดูว่าในอนาคต AI อาจจะเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของเราขนาดไหน แต่ที่แน่ๆ AI อาจจะกลายเป็นเพื่อนสนิทคนใหม่ที่เข้ามาเติมเต็มความโดดเดี่ยวก็ได้นะ

ในวันที่ต้องกักตัวจากโลกภายนอก จะเก็บความรักไว้ได้อย่างไร?

ช่วงนี้ใครๆ ก็แสนเหงา ท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 เช่นนี้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือคนรักก็ต้องห่างกันสักพัก อะไรที่นัดไว้ก็เป็นอันต้องยกเลิก รวมไปถึงการปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆ ก็น้อยลง ความเหงา เบื่อหน่าย ผิดหวัง หรือวิตกกังวล จึงส่งผลไปถึงสภาพจิตใจ การให้กำลังใจกันและกันน่าจะเป็นสิ่งที่ช่วยคลายความรู้สึกเหล่านี้ได้

“เมื่อโลกภายนอกหมุนเร็ว โลกภายในต้องมั่นคง” เช็กเสาหลัก 4 อย่างของใจ เพื่อสัมผัสความสุขในตัวเราเอง

ผ่านปีใหม่มาได้ไม่นาน หลายคนคงมีปณิธานที่ตั้งใจจะทำให้สำเร็จ ไม่เพียงได้ย้อนมองตัวเองในปีที่ผ่านมา ยังหมายมั่นว่าปีหน้าต้องดีกว่าเดิม แต่สิ่งหนึ่งที่เราสังเกตก็คือ เราได้เห็นความสำเร็จของคนอื่นผ่านสเตตัสเฟซบุ๊ก ที่บางครั้งก็อดเปรียบเทียบกับตัวเองไม่ได้ ในชีวิตที่มีปัจจัยภายนอกมาบีบคั้นให้เราต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ เราเคยถามตัวเองไหมว่า “สิ่งที่เราต้องการจริงๆ คืออะไร ?”

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.