จอมเทียน จันสมรัก ผู้เขียน ‘ลูกสาวจากดาววิปลาส’ นิยายที่เล่าความช้ำจากสายตาผู้ถูกกดขี่

“เป็นนักเขียน เฟมินิสต์ และนักกิจกรรม ถ้าภาษาอังกฤษคือ Mental Health Advocate (ผู้ส่งเสริมประเด็นสุขภาพจิต) and Gender-based Violence Activist (นักกิจกรรมที่ทำงานในเคสความรุนแรงอันเกิดจากเหตุแห่งเพศ) นิยามตัวเองว่าเป็นนอนไบนารี เป็นคนไร้ศาสนา ตอนนี้อายุยี่สิบแปดปีค่ะ” ช่วงหนึ่งในบทสนทนา จอมเทียน จันสมรัก นิยามตัวเองว่าอย่างนั้น ถ้อยคำจากปากของเธอไม่มีคำว่า ผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เคยพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง—แบบที่หลายคนจำได้จากสื่อ บังเอิญไหมเราไม่อาจรู้ แต่ในหนังสือ ลูกสาวจากดาววิปลาส นิยายเรื่องแรกของจอมเทียนที่ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ P.S. หน้าแรกๆ เขียนไว้ว่า  ‘ฉันไม่ต้องการสื่อสารเรื่องราวในรูปแบบหญิงสาวอับโชคชอกช้ำ ฉันอยากจะภูมิใจกับตัวเองในปัจจุบันที่ผ่านมาได้ ไม่ต้องรอให้ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่หรือกลายเป็นเพชรที่ถูกขัดล้างเจียระไนจากปลักตมจนสวยงามสูงค่า’ ปลักตมที่เธอว่า อาจหมายถึงชีวิตที่เติบโตในย่านทวีวัฒนากับแม่ที่เป็นโรคประสาท การไม่ได้เรียนหนังสือจนอายุเก้าขวบ มีเพียงนิยายของนักเขียนหญิงอนุรักษนิยมที่เป็นทั้งเพื่อนและครู การถูกล่วงละเมิดจากคนในบ้านตั้งแต่ยังเยาว์ ส่งผลต่อการเป็นโรคซึมเศร้าจนหลายครั้งหาเหตุผลที่ทำให้อยากมีชีวิตอยู่ไม่เจอ แต่บางครั้ง แม้ในยามที่คิดเหตุผลไม่ออกสักข้อ ชีวิตก็อนุญาตให้อยู่ต่อทั้งๆ ที่ไม่มีเหตุผลนั่นแหละ หลังจากมุ่งมั่นจะโบกมือลาโลกหลายครั้ง จอมเทียนก็ล้มเลิกความพยายาม เปลี่ยนความทรมานให้เป็นแรงฮึดไปทำกิจกรรมหลายๆ อย่างที่ช่วยเหลือผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ กลายเป็นเฟมินิสต์นักกิจกรรม และล่าสุด-นักเขียนนวนิยาย ลูกสาวจากดาววิปลาส คือชื่อหนังสือเล่มแรกของเธอ บอกเล่าเรื่องราวที่อ้างอิงมาจากชีวิตจริงของจอมเทียน ท่ามกลางฉากหลังเป็นประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทยที่ถ่ายทอดผ่านสายตาของคนชนชั้นแรงงาน  บทสนทนานี้ เราจึงชวนจอมเทียนย้อนนึกถึงความวิปลาสที่เจอมาทั้งชีวิต […]

ASICS 15:09 UPLIFT CHALLENGE ออกกำลัง 15:09 นาที ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และร่วมบริจาคให้ Wall of Sharing

ASICS (เอซิคส์) เปิดตัวกิจกรรม ASICS 15:09 Uplift Challenge ชวนทุกคนมาออกกำลังกายและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกจิตใจคนและสังคมตลอดทั้งเดือนมิถุนายนนี้ เนื่องในโอกาสวันวิ่งโลก พร้อมทั้งเผยผลลัพธ์จากการทดลอง Mind Race ซึ่งเป็นการทดลองผลกระทบที่เกิดกับสภาวะทางจิตใจเมื่อคนเราไม่ออกกำลังกาย  โดยการทดลอง Mind Race ได้แสดงให้เห็นว่าการที่เราหยุดออกกำลังกาย 1 สัปดาห์ ทำให้เกิดผลกระทบกับจิตใจใกล้เคียงกับคนที่นอนหลับไม่สนิทมาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมในการทดลองได้รายงานถึงการเกิดสภาวะคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน (Racing Thoughts) ที่เพิ่มขึ้นกว่า 23 เปอร์เซ็นต์ ​​ศาสตราจารย์เบรนดอน สตับส์ (Brendon Stubbs) นักวิจัยด้านการออกกำลังกายและสุขภาพจิต ได้เฝ้าสังเกตดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต (State of Mind Scores) ของผู้เข้าร่วมในงานวิจัย ซึ่งเป็นคนที่มีสุขภาพดีและออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยผู้เข้าร่วมจะหยุดออกกำลังกายเป็นเวลา 1 สัปดาห์เพื่อเข้าร่วมการทดลอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นพบว่าการไม่ออกกำลังกายส่งผลต่อการรับรู้และอารมณ์ของพวกเขา เพราะเมื่อคนที่มีไลฟ์สไตล์ที่แอ็กทีฟหยุดออกกำลังกาย ความมั่นใจของพวกเขาจะลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ ความคิดเชิงบวกลดลง 16 เปอร์เซ็นต์ ระดับพลังงานลดลง 23 เปอร์เซ็นต์ และความสามารถในการจัดการความเครียดลดลง […]

Mental-Verse จักรวาลใจ X People of Ari Documentary สะท้อนปัญหาสุขภาพจิต จาก Eyedropper Fill กลับมาฉายที่อารีย์

Mental-Verse จักรวาลใจ กำลังจะกลับมาฉายอีกครั้งที่อารีย์ 14 – 29 พ.ค. 65 นี้ ใครที่พลาดไปเมื่อครั้งจัดฉายครั้งแรกในงาน Bangkok Design Week 2022 ที่ River City Bangkok ไม่ต้องเสียใจไป ตอนนี้ Eyedropper Fill ร่วมกับ People of Ari นำ Immersive Documentary เรื่อง Mental-Verse จักรวาลใจ กลับมาฉายให้เราดูกันฟรีๆ อีกครั้งที่ Yellow Lane Cafe Mental-Verse จักรวาลใจ คือสารคดีเล่าเรื่องจากภาพถ่าย ที่ให้ผู้ป่วย 3 คน 3 ช่วงวัย ได้มีส่วนร่วมออกแบบการเล่าเรื่องตัวเอง สำรวจความทรงจำ และการเติบโตของ ‘โลกซึมเศร้า’ ในตัวพวกเขา ซึ่งต่างก็ได้รับผลกระทบมาจากมิติทางสังคมต่างๆ พร้อมพาผู้ชมย้อนกลับมาสำรวจ ‘โลกในจิตใจของตัวเอง’ ระหว่างทางไปพร้อมกัน และทำให้เราเข้าใจโรคมากขึ้น […]

พนักงานสิงคโปร์เกินครึ่ง ยอมรับว่ากำลังเบิร์นเอาต์ และงานไม่ใช่เป้าหมายสำคัญที่สุดอีกต่อไป

รายงานฉบับใหม่จาก Employment Hero ผู้ให้บริการด้านทรัพยากรบุคคล ได้สอบถามพนักงานชาวสิงคโปร์ 1,005 คน เกี่ยวกับการทำงานและคุณภาพชีวิตในการทำงาน ซึ่งคำตอบก็แสดงให้เห็นเลยว่า 62 เปอร์เซ็นต์ ของพนักงานแดนลอดช่องกำลังประสบกับภาวะหมดไฟ งานวิจัยชิ้นเดียวกันนี้ยังระบุว่า พนักงาน 57 เปอร์เซ็นต์ระบุว่ามี Work Life Balance แต่ก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่ดีนัก เรียกว่าสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานอยู่ในขั้นปริ่มๆ เท่านั้น ซึ่งหลักที่ทำให้เกิดอาการเบิร์นเอาต์ของผู้ทำการวิจัย มาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อการทำงานและกระทบกับสุขภาพจิตด้วย พนักงาน 43 เปอร์เซ็นต์ ยอมรับว่าการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ส่งผลกระทบในทางลบต่ออาชีพการงาน ขณะที่ 68 เปอร์เซ็นต์บอกว่าพวกเขาค่อนข้างเครียดเรื่องการเงิน และมีพนักงาน 65 เปอร์เซ็นต์ ยืนยันว่าระดับความเครียดของพวกเขาในที่ทำงานสูงขึ้นมากจากผลกระทบของโควิด-19 อาการหมดไฟในการทำงานไม่ใช่เรื่องล้อเล่น และส่งผลกระทบกับงานที่ทำโดยตรง ผลวิจัยบอกว่าพนักงาน 42 เปอร์เซ็นต์รู้สึกว่าสภาวะหมดไฟทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง และคนทำงานที่ปราศจาก Work Life Balance มีแนวโน้มที่จะรู้สึกหมดไฟถึง 52 เปอร์เซ็นต์ และพนักงานที่ผลงานส่วนตัวไม่ดีและไม่มีเวลาสำหรับชีวิตมิติอื่น ก็จะสร้างวงจรของความเหนื่อยหน่ายและความเครียดที่หนักกว่าเดิมด้วย สถิติที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับนายจ้างคือ 49 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานยอมรับว่า อาชีพของพวกเขาไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกอีกต่อไป แต่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต […]

Elmhurst Ballet School โรงเรียนที่สนับสนุนให้นักบัลเลต์รุ่นใหม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง

จะดีไหมถ้าฉันผอมกว่านี้ แขนเล็กกว่านี้ หรือขาเล็กกว่านี้? ถ้ามีรูปร่างที่เพอร์เฟกต์จะทำให้ฉันเป็นนักเต้นที่เก่งที่สุดได้หรือเปล่า?  คำถามเหล่านี้คือสิ่งที่อยู่ในใจของนักบัลเลต์หลายคนที่ต้องแบกรับความรู้สึกกดดันกับค่านิยมการมีรูปร่างที่สมบูรณ์แบบ ต้องผอมเท่านั้นถึงจะดูเหมาะสมกับการเป็นนักบัลเลต์ การจะเป็นนักบัลเลต์มืออาชีพได้ต้องทุ่มสุดตัวทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อให้การแสดงออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด แค่คิดว่าต้องซ้อมให้หนัก แต่กินให้น้อยเพื่อรักษาความผอมเอาไว้ให้ได้ ก็คงไม่ใช่เรื่องดีต่อสุขภาพของนักบัลเลต์เลย ค่านิยมความสมบูรณ์แบบนี้เองที่ทำให้นักบัลเลต์หลายคนต้องเจ็บปวดกับเส้นทางการตามฝันเพื่อที่จะเป็นมืออาชีพ เพราะระหว่างทางทำให้หลายคนมีปัญหาสุขภาพจิต ต้องไดเอตอยู่ตลอด จนทำให้มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติ (Eating Disorder) หรือเป็นโรคกลัวอ้วน (Anorexia) ส่งผลเสียกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระยะยาว ที่สำคัญกระทบกับการยืนระยะเป็นนักบัลเลต์อาชีพด้วยเช่นกัน  Elmhurst Ballet School โรงเรียนสอนบัลเลต์คลาสสิกเก่าแก่ในอังกฤษที่ตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1923 เปิดสอนสำหรับเด็กอายุ 11 – 19 ปี ที่อยากเป็นนักบัลเลต์มืออาชีพ เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญของคนรุ่นใหม่ และความกดดันเรื่องรูปร่างคือปัญหาที่เด็กในวัยนี้ไม่ควรต้องเผชิญโดยลำพัง จึงได้ก่อตั้งทีมพิเศษขึ้นมาเพื่อดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของนักเรียนอย่างใกล้ชิด และช่วยให้พวกเขาเป็นนักบัลเลต์ที่เก่งกาจได้โดยที่ยังมั่นใจในรูปร่างของตัวเองด้วย Annelli Paevot หนึ่งในทีมผู้ดูแลด้านสุขภาพของนักเรียนเล่าว่า โรงเรียนจะมีขั้นตอนการให้การช่วยเหลือที่เป็นระบบ มีแนวทางในการปฏิบัติตัวให้กับนักเรียนที่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติอย่างละเอียด สามารถให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองและรักษา และพร้อมให้ข้อมูลกับนักเรียนและผู้ปกครองที่กำลังต้องการความช่วยเหลือในเรื่องนี้โดยเฉพาะ    เพื่อให้นโยบายนี้เกิดขึ้นจริง Elmhurst จึงใช้วิธีการประเมินสุขภาพนักเรียนทั้งหมด 6 ครั้งตลอด 1 ปี เพื่อติดตามดูพัฒนาการและปัญหาสุขภาพของนักเรียน หากทีมผู้ดูแลเริ่มสังเกตเห็นว่านักเรียนคนใดมีพฤติกรรมการกินที่เริ่มผิดปกติ จะมีการพูดคุยและให้คำแนะนำเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงแจ้งครอบครัวให้รับทราบเพื่อที่จะได้ช่วยดูแลอีกทาง เพราะเธอคิดว่ายิ่งรู้เร็วเท่าไรว่านักเรียนมีปัญหาจะทำให้โรงเรียนสามารถให้ความช่วยเหลือพวกเขาได้ทันท่วงที ก่อนที่สุขภาพของนักเรียนจะทรุดโทรมไปมากกว่านี้  […]

‘สู้ๆ นะ เธอทำได้’ ปลอบใจอย่างไรให้คนฟังไม่ท้อและคนพูดดูไม่เฟก

หากเราอยากปลอบใจใครสักคน เมื่อคนพูดอยากจะแสดงความห่วงใยแต่จะทำอย่างไรให้คนฟังรู้สึกไม่ท้อ เราจึงขอคำปรึกษาจาก ‘แพทย์หญิงชัชชญา เพียรจงกล’ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้คำปรึกษาปัญหาด้านจิตใจจาก ooca แพลตฟอร์มปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาออนไลน์ที่จะช่วยแนะนำวิธีปลอบใจที่คนฟังและคนพูดรู้สึกดี

จัดการใจให้สตรอง พร้อมรับมือ COVID-19 ฟังจิตเเพทย์กับ ‘หมอเอิ้น พิยะดา หาชัยภูมิ’

ชวนทุกคนมาฟังจิตแพทย์ ‘หมอเอิ้น พิยะดา หาชัยภูมิ’ คุยเรื่องวิธีการรับมือกับจิตใจให้ผ่านพ้นช่วง COVID-19 ไปได้ และข้อคิดที่ช่วยให้เรามองโลกนี้อย่างมีความสุขมากกว่าเคย

‘ศรีธัญญา’ โรงพยาบาลที่ไม่ใช่คนจิตป่วยก็มารักษาได้

‘ศรีธัญญา = ที่ของคนจิตป่วย’ สมการซึ่งสังคมเป็นคนสร้างภาพจำ ว่าใครก็ตามที่มาใช้บริการโรงพยาบาลศรีธัญญานั้น ต้องมีอาการผิดปกติทางจิต ทั้งที่ความจริงแล้ว ศรีธัญญามีอะไรมากกว่าที่เรารับรู้ เพราะที่นี่คือโรงพยาบาลสำหรับดูแลด้านสุขภาพจิต และจิตเวช

The School of Life : เพราะชีวิตจริงไม่มีติด ร. เปิดห้องเรียน ‘วิชาชีวิต 101’ ที่โรงเรียนไหนก็ให้ไม่ได้

ดราม่าเอยจงซับซ้อนยิ่งขึ้น… แปลกไหมยุคสมัยที่เรามีปัญหาร้อยแปด แต่ผู้คนยังชอบเสพดราม่าในโลกโซเชียล หากย้อนไปดูคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ก็เคยกุมขมับกับเรื่องของความรู้สึกและจิตใจไม่ต่างจากเรา พูดให้เห็นภาพอย่างเพลงฮิตที่ต่อให้ผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย ก็หนีไม่พ้นความเจ็บปวดไม่ว่าจะเป็นเรื่องรักๆ ใคร่ๆ การไม่เป็นที่ยอมรับ ไปจนถึงปัญหาชีวิตที่รุมเร้า

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.