‘Monsoon Blues’ รู้จักความเศร้าที่มากับฝน ทำให้คนหมดไฟ ไม่อยากทำงาน

‘วันนี้ฝนตกไม่อยากทำงานเลย ถ้าได้นอนบนเตียงทั้งวันก็คงดี’ เชื่อว่าหลายคนต้องเคยรู้สึกหมดพลัง ไร้เรี่ยวแรง ไม่อยากทำอะไร ในเวลาที่มองออกไปนอกหน้าต่างแล้วเจอฝนตก โดยเฉพาะคนทำงานที่ต้องเผชิญปัญหาการจราจรระหว่างเดินทาง กว่าจะถึงที่หมายต้องเจอทั้งการยืนเบียดกันบนขนส่งสาธารณะ ความหนาแน่นของรถบนท้องถนน และฝนที่โปรยลงมาพาให้ป่วยกายง่ายๆ อุปสรรคที่มากับฝนทำให้แต่ละวันของมนุษย์เงินเดือนที่เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้วต้องลำบากกว่าเดิมหลายเท่า ความรู้สึกเหนื่อยล้าสะสมเหล่านี้อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือทำให้บางคนมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง เขาว่าฝนนั้นทำให้คน ‘เฉื่อย’ เมื่อตื่นเช้าขึ้นมาพร้อมเมฆฝนและฟ้าครึ้ม ทำให้เช้าที่สดใสของเรากลายเป็นวันที่หม่นหมอง การขุดตัวเองขึ้นจากเตียงกลายเป็นเรื่องยาก เกิดเป็นอารมณ์ความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำอะไรตลอดวัน ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในช่วงฤดูฝนนี้เรียกว่า ‘Monsoon Blues’ คล้ายกับ ‘Winter Blues’ ในเมืองหนาวที่ถูกปกคลุมด้วยหิมะ ท้องฟ้ามืดเร็ว ไม่สามารถทำกิจกรรมอะไรได้มากนัก ส่งผลให้คนรู้สึกหมดเรี่ยวแรงในการใช้ชีวิต ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของ ‘ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล’ หรือ ‘Seasonal Affective Disorder (SAD)’ เช่นเดียวกับความรู้สึกเศร้าซึมในฤดูฝน ที่เกิดขึ้นจากความอึมครึมของก้อนเมฆช่วงที่ฝนตกไปบดบังแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ส่งผลกระทบต่อระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของร่างกาย หรือ ‘นาฬิกาชีวภาพ’ (Biological Clock) ซึ่งสัมพันธ์กับเวลากลางวันและกลางคืนตามธรรมชาติ ทำให้การหลั่ง ‘เซโรโทนิน’ (Serotonin) สารสื่อประสาทที่ทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุให้รู้สึกขุ่นมัว และฮอร์โมน ‘เมลาโทนิน’ (Melatonin) ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนอนหลับเพิ่มขึ้น จึงทำให้รู้สึกง่วงเหงาหาวนอน […]

ทำไมเวลาสูญเสียดาราคนโปรด เราถึงเศร้าไม่ต่างจากการที่คนรักจากไป

วันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา ควรจะเป็นวันธรรมดาวันหนึ่ง แต่โลกก็หม่นลงไปอีกเฉด ด้วยข่าวการเสียชีวิตของดาราดัง ‘แมทธิว เพอร์รี’ (Matthew Perry) วัย 54 ปี ที่ถูกพบว่าสิ้นลมในอ่างอาบน้ำที่บ้านของเขาในเมืองลอสแอนเจลิส แมทธิวโด่งดังจากบทแชนด์เลอร์ บิง (Chandler Bing) ในซีรีส์เรื่อง Friends กับบทบาทชายหนุ่มที่มักสร้างเสียงหัวเราะให้คนดูรู้สึกอบอุ่นใจเสมอ  ‘ตั้งแต่แมทธิวตาย ฉันดิ่งเลยว่ะ ไม่รู้จะทำยังไงดี ดู Friends ต่อไปไม่ไหวแล้ว ร้องไห้ทุกครั้งเลย เขาคือตัวละครที่ฉันชอบมาก ปกติดูทุกคืนเลย มันเคยทำให้ฉันมีความสุขมาก ไม่รู้จะจัดการชีวิตยังไงต่อ ฉันไม่รู้จะคุยกับใครจริงๆ’ นี่คือถ้อยคำที่เราได้รับในช่วงที่ข่าวเศร้านี้ออกมา แม้ว่าตัวเราเองจะไม่ได้สนิทกับรุ่นพี่คนนี้มากนัก แต่การที่เธอพิมพ์มาหารุ่นน้องที่ทำงานด้านสภาพจิตใจอย่างเรา คงเป็นส่วนหนึ่งที่บอกได้ว่า สิ่งนี้เป็นความเจ็บปวดที่ละเอียดอ่อนและมีความเฉพาะ เสียจนไม่กล้าระบายออกมาให้คนทั่วไปรับรู้ เพราะคงยากจะเชื่อว่ามีคนเข้าใจหรือรับรู้ว่าการสูญเสียครั้งนี้เป็นแผลช้ำใหญ่ในใจของใครบางคนจริงๆ ความสัมพันธ์ของเขาและเรา มันเป็นมากกว่าตัวละครและผู้ชม ‘สายสัมพันธ์ของเรากับคนดังคนหนึ่ง มันมาจากความสำคัญในการมีอยู่ของเขา ต่อช่วงเวลายิ่งใหญ่ในชีวิตของเรา’ คำอธิบายจากบทสัมภาษณ์ของนักจิตบำบัด ‘อาเนียซา แฮนสัน’ (Aniesa Hanson) ในเว็บไซต์สุขภาพจิต Psychology Today พอจะทำให้เราเข้าใจความรู้สึกของรุ่นพี่คนนั้น เพราะรุ่นพี่ของเรามีซีรีส์เรื่อง […]

ฉีดโบท็อกซ์ไม่ได้ลดแค่ริ้วรอย แต่ยังช่วยลดความเครียด ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น

การตัดสินใจเสริมความงามของหลายๆ คนมักเริ่มต้นจากความต้องการที่จะลดริ้วรอยแห่งวัย ซึ่งมาพร้อมอายุที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยหัตถการอันดับต้นๆ ที่หลายคนรู้จักคือการฉีด ‘โบท็อกซ์’ หรือ ‘Botulinum toxin (BTX)’ สารช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว และทำให้ริ้วรอยบนใบหน้าหายไป แต่โบท็อกซ์ไม่ได้มีประโยชน์ด้านความงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังถูกใช้เพื่อรักษาอาการไมเกรนเรื้อรัง ภาวะเหงื่อออกมาก ลดอาการเจ็บปวดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ภาวะปัสสาวะบีบตัวไวเกิน และอาการอื่นๆ ทางการแพทย์ มากไปกว่านั้น ยังมีงานวิจัยที่พบว่า การฉีดโบท็อกซ์เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้ผู้คนสุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย ฉีดโบท็อกซ์เพิ่มสวย ลดเครียด นักวิจัยจาก ‘Skaggs School of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences’ แห่ง ‘University of California San Diego’ พบข้อมูลจาก ‘สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)’ ว่าคนที่ฉีดโบท็อกซ์ในตำแหน่งต่างๆ ที่ไม่ใช่แค่หน้าผากมีภาวะซึมเศร้าลดน้อยลงมากกว่า 22 – 72 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยอาการเดียวกันที่ใช้การรักษาคนละรูปแบบ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า เมื่อคนเราเกิดความเครียด ร่างกายจะแสดงอาการผ่านสีหน้าอย่างเช่นการขมวดคิ้ว ซึ่งส่งผลให้เกิดริ้วรอยบนใบหน้า แน่นอนว่าเมื่อเกิดรอยตำหนิขึ้นมาก็จะยิ่งทำให้เกิดความกังวล ไม่มั่นใจ […]

วัยรุ่นเกาหลีใต้ใช้ชีวิตโดดเดี่ยวมากขึ้น จนภาครัฐต้องหาวิธีดึงพวกเขากลับสู่สังคม

ปัจจุบัน ‘การใช้ชีวิตสันโดษ’ หรือ ‘การแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว’ กำลังเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมเกาหลีใต้ ถึงแม้ว่าเบื้องหน้าที่เราเห็นผ่านซีรีส์หลายเรื่องจะสะท้อนให้เห็นว่า แดนกิมจินั้นเต็มไปด้วยความเจริญในมิติต่างๆ ผู้คนดูมีชีวิตชีวา รวมถึงมีกิจกรรมมากมายที่เอื้อให้เหล่าวัยรุ่นชาวเกาหลีได้ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในกรุงโซลยังมีคนรุ่นใหม่อีกจำนวนไม่น้อยที่เลือกจะเก็บตัวอยู่แต่ภายในบ้าน ตัดขาดจากโลกภายนอก และออกจากบ้านเป็นครั้งคราวเท่านั้น ซึ่งรัฐบาลเกาหลีใต้เองก็เล็งเห็นว่า การแยกตัวออกจากสังคมนั้นส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและใจของเหล่าวัยรุ่น มากไปกว่านั้น ปรากฏการณ์นี้ยังมีผลกระทบทางอ้อมต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากตัวเลขของประชากรวัยทำงานจะลดลง หนึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากเยาวชนไม่สามารถเข้ากับสังคมได้ เพราะใช้ชีวิตอยู่กับความโดดเดี่ยวมาเป็นเวลานาน คอลัมน์ City in Focus จึงอยากจะชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการเก็บตัวของคนรุ่นใหม่ในเกาหลีใต้ ไปจนถึงการแก้ปัญหาของภาครัฐที่ตั้งใจพาเหล่าวัยรุ่นผู้เก็บตัวอย่างโดดเดี่ยวให้กลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างที่ควรจะเป็น สาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเกาหลีกลายเป็นคนเก็บตัว จากการสำรวจของรัฐบาลเกาหลีใต้พบว่า มีชาวเกาหลีอายุ 19 – 39 ปีที่ใช้ชีวิตแบบ ‘โดดเดี่ยวและสันโดษ’ โดยมีคำนิยามของคนกลุ่มนี้ว่า เป็นคนที่อาศัยอยู่แต่ในพื้นที่จำกัด อยู่ในสภาพที่ขาดการเชื่อมต่อจากสังคมภายนอก ไม่ค่อยออกไปไหนเป็นเวลานานกว่าหกเดือน และมีปัญหาในการใช้ชีวิตอย่างเห็นได้ชัด ตามรายงานของกระทรวงความเท่าเทียมทางเพศและครอบครัวเผยว่า ประมาณ 3.1 เปอร์เซ็นต์ หรือ 350,000 คนของกลุ่มนี้มาจากครอบครัวยากจน เป็นสาเหตุที่ทำให้พวกเขาปิดกั้นตัวเองตั้งแต่ยังเด็กจากการโดนบุลลี่ในสังคมโรงเรียน หรือเผชิญกับความรุนแรงในครอบครัวจนทำให้ออกจากบ้านได้ยาก ส่งผลให้เกิดปัญหาการสื่อสารและการพูดคุยกับคนนอกตามมา ทว่าสาเหตุไม่ได้เกิดจากปัญหาในครอบครัวอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความวิตกกังวลทางสังคม ความเครียด การตกงาน ปัญหาการหางานยาก ปัญหาด้านจิตใจ […]

‘หัวร้อน เครียดง่าย ไม่อยากทำอะไรเลย’ อาจไม่ใช่นิสัย แต่เกิดขึ้นได้เพราะอากาศร้อน

เมื่อพูดถึงฤดูร้อน ภาพจำจากสื่อต่างๆ อาจเป็นภาพของช่วงเวลาแห่งการพักผ่อน ความสนุกสนาน ความสดใส หรือการใช้เวลาไปกับการนั่งรับลมริมทะเล แต่ในความเป็นจริงแล้ว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน (จัด) อย่างเต็มตัว นอกจากสุขภาพกายที่เราต้องคอยระวังโรคลมแดดหรือฮีตสโตรกแล้ว สุขภาพจิตเองก็เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กัน หากรู้สึกว่าช่วงนี้หงุดหงิดง่าย ไม่มีอะไรได้ดั่งใจสักอย่าง ขี้โมโหจนเหมือนเป็นคนละคน หรือรู้สึกขี้เกียจจนไม่อยากทำอะไรทั้งสิ้น ก็อย่าเพิ่งตกใจกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป บางทีมันอาจไม่ได้เป็นที่นิสัยลึกๆ ของตัวเองโดยตรง เพราะพฤติกรรมเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้จากอุณหภูมิของอากาศที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน อ่านแล้วดูเหมือนเป็นการโทษอากาศและธรรมชาติ แต่ Dr.Nick Obradovich นักวิทยาศาสตร์สังคมเชิงคำนวณจาก Max Planck Institute for Human Development อธิบายว่า ความร้อนนั้นเป็นอันตรายต่อทุกคนอยู่แล้ว และอุณหภูมิที่สูงขึ้นก็มีความเชื่อมโยงกับความผิดปกติทางสุขภาพจิต เช่น ความเหนื่อยล้า ความก้าวร้าว และการฆ่าตัวตาย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะช่วงที่อุณหภูมิสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังพบได้บ่อยในผู้คนที่อาศัยในบริเวณที่มีอากาศร้อนตลอดเวลา และถึงแม้ว่าจะยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่ชัดได้ว่าเป็นเพราะอะไร แต่นักวิทยาศาสตร์ต่างลงมติว่า ความร้อนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุขภาพจิตแย่ลงแน่นอน อากาศยิ่งร้อน ผู้ป่วยสุขภาพจิตยิ่งเพิ่มขึ้น งานวิจัยของ Amruta Nori-Sarma นักวิทยาศาสตร์ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมจาก Boston University School of Public Health […]

จอมเทียน จันสมรัก ผู้เขียน ‘ลูกสาวจากดาววิปลาส’ นิยายที่เล่าความช้ำจากสายตาผู้ถูกกดขี่

“เป็นนักเขียน เฟมินิสต์ และนักกิจกรรม ถ้าภาษาอังกฤษคือ Mental Health Advocate (ผู้ส่งเสริมประเด็นสุขภาพจิต) and Gender-based Violence Activist (นักกิจกรรมที่ทำงานในเคสความรุนแรงอันเกิดจากเหตุแห่งเพศ) นิยามตัวเองว่าเป็นนอนไบนารี เป็นคนไร้ศาสนา ตอนนี้อายุยี่สิบแปดปีค่ะ” ช่วงหนึ่งในบทสนทนา จอมเทียน จันสมรัก นิยามตัวเองว่าอย่างนั้น ถ้อยคำจากปากของเธอไม่มีคำว่า ผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เคยพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง—แบบที่หลายคนจำได้จากสื่อ บังเอิญไหมเราไม่อาจรู้ แต่ในหนังสือ ลูกสาวจากดาววิปลาส นิยายเรื่องแรกของจอมเทียนที่ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ P.S. หน้าแรกๆ เขียนไว้ว่า  ‘ฉันไม่ต้องการสื่อสารเรื่องราวในรูปแบบหญิงสาวอับโชคชอกช้ำ ฉันอยากจะภูมิใจกับตัวเองในปัจจุบันที่ผ่านมาได้ ไม่ต้องรอให้ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่หรือกลายเป็นเพชรที่ถูกขัดล้างเจียระไนจากปลักตมจนสวยงามสูงค่า’ ปลักตมที่เธอว่า อาจหมายถึงชีวิตที่เติบโตในย่านทวีวัฒนากับแม่ที่เป็นโรคประสาท การไม่ได้เรียนหนังสือจนอายุเก้าขวบ มีเพียงนิยายของนักเขียนหญิงอนุรักษนิยมที่เป็นทั้งเพื่อนและครู การถูกล่วงละเมิดจากคนในบ้านตั้งแต่ยังเยาว์ ส่งผลต่อการเป็นโรคซึมเศร้าจนหลายครั้งหาเหตุผลที่ทำให้อยากมีชีวิตอยู่ไม่เจอ แต่บางครั้ง แม้ในยามที่คิดเหตุผลไม่ออกสักข้อ ชีวิตก็อนุญาตให้อยู่ต่อทั้งๆ ที่ไม่มีเหตุผลนั่นแหละ หลังจากมุ่งมั่นจะโบกมือลาโลกหลายครั้ง จอมเทียนก็ล้มเลิกความพยายาม เปลี่ยนความทรมานให้เป็นแรงฮึดไปทำกิจกรรมหลายๆ อย่างที่ช่วยเหลือผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ กลายเป็นเฟมินิสต์นักกิจกรรม และล่าสุด-นักเขียนนวนิยาย ลูกสาวจากดาววิปลาส คือชื่อหนังสือเล่มแรกของเธอ บอกเล่าเรื่องราวที่อ้างอิงมาจากชีวิตจริงของจอมเทียน ท่ามกลางฉากหลังเป็นประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทยที่ถ่ายทอดผ่านสายตาของคนชนชั้นแรงงาน  บทสนทนานี้ เราจึงชวนจอมเทียนย้อนนึกถึงความวิปลาสที่เจอมาทั้งชีวิต […]

ASICS 15:09 UPLIFT CHALLENGE ออกกำลัง 15:09 นาที ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น และร่วมบริจาคให้ Wall of Sharing

ASICS (เอซิคส์) เปิดตัวกิจกรรม ASICS 15:09 Uplift Challenge ชวนทุกคนมาออกกำลังกายและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยยกจิตใจคนและสังคมตลอดทั้งเดือนมิถุนายนนี้ เนื่องในโอกาสวันวิ่งโลก พร้อมทั้งเผยผลลัพธ์จากการทดลอง Mind Race ซึ่งเป็นการทดลองผลกระทบที่เกิดกับสภาวะทางจิตใจเมื่อคนเราไม่ออกกำลังกาย  โดยการทดลอง Mind Race ได้แสดงให้เห็นว่าการที่เราหยุดออกกำลังกาย 1 สัปดาห์ ทำให้เกิดผลกระทบกับจิตใจใกล้เคียงกับคนที่นอนหลับไม่สนิทมาเป็นเวลา 1 สัปดาห์ ผู้เข้าร่วมในการทดลองได้รายงานถึงการเกิดสภาวะคิดหลายเรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน (Racing Thoughts) ที่เพิ่มขึ้นกว่า 23 เปอร์เซ็นต์ ​​ศาสตราจารย์เบรนดอน สตับส์ (Brendon Stubbs) นักวิจัยด้านการออกกำลังกายและสุขภาพจิต ได้เฝ้าสังเกตดัชนีชี้วัดสุขภาพจิต (State of Mind Scores) ของผู้เข้าร่วมในงานวิจัย ซึ่งเป็นคนที่มีสุขภาพดีและออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยผู้เข้าร่วมจะหยุดออกกำลังกายเป็นเวลา 1 สัปดาห์เพื่อเข้าร่วมการทดลอง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นพบว่าการไม่ออกกำลังกายส่งผลต่อการรับรู้และอารมณ์ของพวกเขา เพราะเมื่อคนที่มีไลฟ์สไตล์ที่แอ็กทีฟหยุดออกกำลังกาย ความมั่นใจของพวกเขาจะลดลง 20 เปอร์เซ็นต์ ความคิดเชิงบวกลดลง 16 เปอร์เซ็นต์ ระดับพลังงานลดลง 23 เปอร์เซ็นต์ และความสามารถในการจัดการความเครียดลดลง […]

Mental-Verse จักรวาลใจ X People of Ari Documentary สะท้อนปัญหาสุขภาพจิต จาก Eyedropper Fill กลับมาฉายที่อารีย์

Mental-Verse จักรวาลใจ กำลังจะกลับมาฉายอีกครั้งที่อารีย์ 14 – 29 พ.ค. 65 นี้ ใครที่พลาดไปเมื่อครั้งจัดฉายครั้งแรกในงาน Bangkok Design Week 2022 ที่ River City Bangkok ไม่ต้องเสียใจไป ตอนนี้ Eyedropper Fill ร่วมกับ People of Ari นำ Immersive Documentary เรื่อง Mental-Verse จักรวาลใจ กลับมาฉายให้เราดูกันฟรีๆ อีกครั้งที่ Yellow Lane Cafe Mental-Verse จักรวาลใจ คือสารคดีเล่าเรื่องจากภาพถ่าย ที่ให้ผู้ป่วย 3 คน 3 ช่วงวัย ได้มีส่วนร่วมออกแบบการเล่าเรื่องตัวเอง สำรวจความทรงจำ และการเติบโตของ ‘โลกซึมเศร้า’ ในตัวพวกเขา ซึ่งต่างก็ได้รับผลกระทบมาจากมิติทางสังคมต่างๆ พร้อมพาผู้ชมย้อนกลับมาสำรวจ ‘โลกในจิตใจของตัวเอง’ ระหว่างทางไปพร้อมกัน และทำให้เราเข้าใจโรคมากขึ้น […]

พนักงานสิงคโปร์เกินครึ่ง ยอมรับว่ากำลังเบิร์นเอาต์ และงานไม่ใช่เป้าหมายสำคัญที่สุดอีกต่อไป

รายงานฉบับใหม่จาก Employment Hero ผู้ให้บริการด้านทรัพยากรบุคคล ได้สอบถามพนักงานชาวสิงคโปร์ 1,005 คน เกี่ยวกับการทำงานและคุณภาพชีวิตในการทำงาน ซึ่งคำตอบก็แสดงให้เห็นเลยว่า 62 เปอร์เซ็นต์ ของพนักงานแดนลอดช่องกำลังประสบกับภาวะหมดไฟ งานวิจัยชิ้นเดียวกันนี้ยังระบุว่า พนักงาน 57 เปอร์เซ็นต์ระบุว่ามี Work Life Balance แต่ก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่ดีนัก เรียกว่าสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงานอยู่ในขั้นปริ่มๆ เท่านั้น ซึ่งหลักที่ทำให้เกิดอาการเบิร์นเอาต์ของผู้ทำการวิจัย มาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อการทำงานและกระทบกับสุขภาพจิตด้วย พนักงาน 43 เปอร์เซ็นต์ ยอมรับว่าการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ส่งผลกระทบในทางลบต่ออาชีพการงาน ขณะที่ 68 เปอร์เซ็นต์บอกว่าพวกเขาค่อนข้างเครียดเรื่องการเงิน และมีพนักงาน 65 เปอร์เซ็นต์ ยืนยันว่าระดับความเครียดของพวกเขาในที่ทำงานสูงขึ้นมากจากผลกระทบของโควิด-19 อาการหมดไฟในการทำงานไม่ใช่เรื่องล้อเล่น และส่งผลกระทบกับงานที่ทำโดยตรง ผลวิจัยบอกว่าพนักงาน 42 เปอร์เซ็นต์รู้สึกว่าสภาวะหมดไฟทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำลง และคนทำงานที่ปราศจาก Work Life Balance มีแนวโน้มที่จะรู้สึกหมดไฟถึง 52 เปอร์เซ็นต์ และพนักงานที่ผลงานส่วนตัวไม่ดีและไม่มีเวลาสำหรับชีวิตมิติอื่น ก็จะสร้างวงจรของความเหนื่อยหน่ายและความเครียดที่หนักกว่าเดิมด้วย สถิติที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับนายจ้างคือ 49 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานยอมรับว่า อาชีพของพวกเขาไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองจะให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกอีกต่อไป แต่ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิต […]

Elmhurst Ballet School โรงเรียนที่สนับสนุนให้นักบัลเลต์รุ่นใหม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเอง

จะดีไหมถ้าฉันผอมกว่านี้ แขนเล็กกว่านี้ หรือขาเล็กกว่านี้? ถ้ามีรูปร่างที่เพอร์เฟกต์จะทำให้ฉันเป็นนักเต้นที่เก่งที่สุดได้หรือเปล่า?  คำถามเหล่านี้คือสิ่งที่อยู่ในใจของนักบัลเลต์หลายคนที่ต้องแบกรับความรู้สึกกดดันกับค่านิยมการมีรูปร่างที่สมบูรณ์แบบ ต้องผอมเท่านั้นถึงจะดูเหมาะสมกับการเป็นนักบัลเลต์ การจะเป็นนักบัลเลต์มืออาชีพได้ต้องทุ่มสุดตัวทั้งร่างกายและจิตใจเพื่อให้การแสดงออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด แค่คิดว่าต้องซ้อมให้หนัก แต่กินให้น้อยเพื่อรักษาความผอมเอาไว้ให้ได้ ก็คงไม่ใช่เรื่องดีต่อสุขภาพของนักบัลเลต์เลย ค่านิยมความสมบูรณ์แบบนี้เองที่ทำให้นักบัลเลต์หลายคนต้องเจ็บปวดกับเส้นทางการตามฝันเพื่อที่จะเป็นมืออาชีพ เพราะระหว่างทางทำให้หลายคนมีปัญหาสุขภาพจิต ต้องไดเอตอยู่ตลอด จนทำให้มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติ (Eating Disorder) หรือเป็นโรคกลัวอ้วน (Anorexia) ส่งผลเสียกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตในระยะยาว ที่สำคัญกระทบกับการยืนระยะเป็นนักบัลเลต์อาชีพด้วยเช่นกัน  Elmhurst Ballet School โรงเรียนสอนบัลเลต์คลาสสิกเก่าแก่ในอังกฤษที่ตั้งมาตั้งแต่ ค.ศ. 1923 เปิดสอนสำหรับเด็กอายุ 11 – 19 ปี ที่อยากเป็นนักบัลเลต์มืออาชีพ เห็นว่าปัญหาสุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญของคนรุ่นใหม่ และความกดดันเรื่องรูปร่างคือปัญหาที่เด็กในวัยนี้ไม่ควรต้องเผชิญโดยลำพัง จึงได้ก่อตั้งทีมพิเศษขึ้นมาเพื่อดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของนักเรียนอย่างใกล้ชิด และช่วยให้พวกเขาเป็นนักบัลเลต์ที่เก่งกาจได้โดยที่ยังมั่นใจในรูปร่างของตัวเองด้วย Annelli Paevot หนึ่งในทีมผู้ดูแลด้านสุขภาพของนักเรียนเล่าว่า โรงเรียนจะมีขั้นตอนการให้การช่วยเหลือที่เป็นระบบ มีแนวทางในการปฏิบัติตัวให้กับนักเรียนที่มีพฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติอย่างละเอียด สามารถให้คำแนะนำในการดูแลตัวเองและรักษา และพร้อมให้ข้อมูลกับนักเรียนและผู้ปกครองที่กำลังต้องการความช่วยเหลือในเรื่องนี้โดยเฉพาะ    เพื่อให้นโยบายนี้เกิดขึ้นจริง Elmhurst จึงใช้วิธีการประเมินสุขภาพนักเรียนทั้งหมด 6 ครั้งตลอด 1 ปี เพื่อติดตามดูพัฒนาการและปัญหาสุขภาพของนักเรียน หากทีมผู้ดูแลเริ่มสังเกตเห็นว่านักเรียนคนใดมีพฤติกรรมการกินที่เริ่มผิดปกติ จะมีการพูดคุยและให้คำแนะนำเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึงแจ้งครอบครัวให้รับทราบเพื่อที่จะได้ช่วยดูแลอีกทาง เพราะเธอคิดว่ายิ่งรู้เร็วเท่าไรว่านักเรียนมีปัญหาจะทำให้โรงเรียนสามารถให้ความช่วยเหลือพวกเขาได้ทันท่วงที ก่อนที่สุขภาพของนักเรียนจะทรุดโทรมไปมากกว่านี้  […]

‘สู้ๆ นะ เธอทำได้’ ปลอบใจอย่างไรให้คนฟังไม่ท้อและคนพูดดูไม่เฟก

หากเราอยากปลอบใจใครสักคน เมื่อคนพูดอยากจะแสดงความห่วงใยแต่จะทำอย่างไรให้คนฟังรู้สึกไม่ท้อ เราจึงขอคำปรึกษาจาก ‘แพทย์หญิงชัชชญา เพียรจงกล’ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้คำปรึกษาปัญหาด้านจิตใจจาก ooca แพลตฟอร์มปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาออนไลน์ที่จะช่วยแนะนำวิธีปลอบใจที่คนฟังและคนพูดรู้สึกดี

จัดการใจให้สตรอง พร้อมรับมือ COVID-19 ฟังจิตเเพทย์กับ ‘หมอเอิ้น พิยะดา หาชัยภูมิ’

ชวนทุกคนมาฟังจิตแพทย์ ‘หมอเอิ้น พิยะดา หาชัยภูมิ’ คุยเรื่องวิธีการรับมือกับจิตใจให้ผ่านพ้นช่วง COVID-19 ไปได้ และข้อคิดที่ช่วยให้เรามองโลกนี้อย่างมีความสุขมากกว่าเคย

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.