SAVE PAPERS SAVE TREES ยุคไร้กระดาษ เพื่อโลกสีเขียวที่ใกล้เป็นจริง

รู้หรือไม่ ปีหนึ่งเราจะใช้กระดาษกันมากที่สุดกี่แผ่น ? จากผลศึกษาโครงการกระดาษเพื่อต้นไม้ โดยมูลนิธิศูนย์สื่อเพื่อการพัฒนา พบว่าเฉลี่ยหนึ่งคนใช้กระดาษไป 12,000 แผ่น/ปี หมายความว่าเราต้องตัดต้นไม้ประมาณ 18 ต้น/คน และถ้ารวมทั้งประเทศต้องตัดต้นไม้มากถึง 66.3 ล้านต้น/ปี ดูจากตัวเลขแล้วเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ที่ต้องสูญเสียทรัพยากรสีเขียวเพื่อตอบสนองการใช้งานของคน ก่อนที่จะเป็น ‘กระดาษ’ ที่ใช้กันทุกวันนี้ ทุกคนคงทราบกันดีว่ามาจากการตัดต้นไม้ ซึ่งก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อนมากขึ้น แต่ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้เราสามารถลดการใช้กระดาษในชีวิตประจำวันได้มากกว่าที่เคย อย่างการสแกน QR Code ชำระสินค้า, ซื้อของออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน หรือการพรีเซนต์งานบนสไลด์แทนการพิมพ์เอกสาร ทุกประเทศต่างนำสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้มาปรับใช้กับชีวิตในปัจจุบัน ซึ่งช่วยทำให้การใช้กระดาษน้อยลงและรู้จักใช้ทรัพยากรได้คุ้มค่ามากขึ้น เราไปดูกันดีกว่า ว่าพวกเขามีแนวทางการลดใช้กระดาษกันอย่างไร ‘กระดาษ’ เกี่ยวอะไรกับ ‘สภาวะโลกร้อน’ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า สภาวะโลกร้อนคือ ชั้นบรรยากาศที่เต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสารพิษอื่นๆ สะสมอยู่ในอากาศของเรา หรือที่เราคุ้นเคยกันในชื่อ ‘ก๊าซเรือนกระจก’ นั่นเอง จับตัวกันเหมือนชั้นผ้าห่มหนาๆ ยิ่งได้รับความร้อนจากแสงแดดมากเท่าไหร โลกที่อยู่ใต้ชั้นผ้าห่มผืนนี้ก็จะมีอุณหภูมิสูงตามไปด้วย ทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวน ฤดูกาลผิดเพี้ยนไปจากปกติที่ควรจะเป็น ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต โดยสาเหตุหลักของการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้มาจากสิ่งใกล้ตัวและความคุ้นชินในปัจจุบันอย่าง การเผาขยะในครัวเรือน การปล่อยสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ไปจนถึงการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งล้วนเป็นพฤติกรรมจากฝีมือมนุษย์ที่ค่อยๆ ทำลายโลกที่เราอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง […]

สงสัยกันไหม ทำไมตึกส่วนใหญ่มักมีหน้าตาเหมือนขั้นบันได

ทำไมบางตึกชอบดีไซน์ปาดเฉียง ? ทำไมบางตึกต้องหั่นยอดตึกเป็นขั้นบันได ? เวลานั่งรถไฟฟ้าวิ่งผ่านใจกลางเมือง เรามักจะพบกับทัศนียภาพของตึกสูงอยู่รายรอบ แต่เคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าตึกสูงในประเทศไทยอย่างออฟฟิศ หรือคอนโดมิเนียมในเมืองส่วนใหญ่ ทำไมถึงต้องมีรูปร่างหน้าตาเป็นขั้นบันได บางตึกเฉียงไปเฉียงมา เหล่าสถาปนิกเขามีแนวคิดอย่างไร จะด้วยเหตุผลเรื่องความสวยงาม หรือแค่เรื่องบังเอิญ เรามาร่วมไขคำตอบไปด้วยกัน ! | รูปร่างของตึกนั้นมีที่มา ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ จริงๆ แล้วสิ่งที่ทำให้ยอดอาคารสูงมีลักษณะเป็นขั้นบันไดหรือปาดเฉียง สาเหตุมาจากกฎหมายบ้านเราที่ควบคุมความสูงของอาคารเพื่อสุขอนามัยที่ดีและความปลอดภัยของคนในเมือง ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 จากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีใจความว่า “ความสูงของอาคารไม่ว่าจากจุดหนึ่งจุดใด ต้องไม่เกินสองเท่าของระยะราบ วัดจากจุดนั้นไปตั้งฉากกับแนวเขตด้านตรงข้ามของถนนสาธารณะที่อยู่ใกล้อาคารนั้นที่สุด ความสูงของอาคารให้วัดแนวดิ่งจากระดับถนนหรือระดับพื้นดินที่ก่อสร้างขึ้นไปถึงส่วนของอาคารที่สูงที่สุด สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด” หมายความว่า ถ้าเราต้องการรู้ว่า อาคารมีความสูงเกินที่กฎหมายกำหนดหรือเปล่า หรือตึกนั้นสามารถสร้างได้สูงสุดกี่เมตร ต้องเริ่มจากวัดความยาวแนวราบจากจุดที่จะสร้างตึกถึงหน้าเขตที่ดินฝั่งตรงข้ามนำมาคูณสอง จะเท่ากับความสูงของตึกที่สามารถสร้างได้ จากตัวอย่างในรูป เช่น ความสูงของตึก ณ จุด A ที่สามารถสร้างได้ คำนวณจาก ระยะทาง X นำไปคูณสอง เท่ากับ 30 X […]

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่” อนาคตพี่ใหญ่ที่เชื่อมทุกย่านเข้าด้วยกัน

ทำความรู้จัก “รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเส้นใหม่” อนาคตพี่ใหญ่ที่กำลังจะเปิดทดลองขึ้นฟรี 5 สถานี จะมีอะไรบ้างและไปทำความรู้จักกับสายสีน้ำเงินให้สนิทขึ้นกันเลย

7 ธุรกิจต้นแบบที่คืนกำไรให้สังคม

แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise (SE) ถูกนิยามขึ้นครั้งแรกโดยศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) นักเศรษฐศาสตร์ชาวบังกลาเทศเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพในปี 2549 7 ธุรกิจต้นแบบที่คืนกำไรให้สังคม คำว่า ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) คือธุรกิจที่สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อม และการเงินไปพร้อมๆ กัน โดยใช้การบริหารจัดการที่ดีของภาคธุรกิจมาบวกกับความรู้และนวัตกรรมสังคม มีความยั่งยืนทางการเงิน โดยที่มาของรายได้สามารถอยู่ในรูปแบบการขายผลิตภัณฑ์หรือบริการ การระดมทุนโดยให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน ไปจนถึงการขอรับบริจาค 01 | อภัยภูเบศร พลังสมุนไพรไทยเพื่อคนไทย ‘อภัยภูเบศร’ หรือ สมุนไพรอภัยภูเบศร ชื่อนี้คุ้นหูคุ้นตาคนไทยยิ่งนัก เพราะเลื่องชื่อลือชาเรื่องการใช้สมุนไพร อภัยภูเบศรลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจเพื่อสังคมเมื่อ พ.ศ. 2561 ซึ่งนอกจากขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพรไทยแล้ว ยังมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพมาใช้ในการดูแลสุขภาพของคนไทย อีกทั้งในกระบวนการขั้นตอนต่างๆ ล้วนให้ความสำคัญกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และผลกำไรมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ถูกนำกลับไปลงทุนซ้ำ เพื่อวัตถุประสงค์ทางสังคมหรือนำไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนรวม หรือคืนประโยชน์ให้แก่สังคม ปัจจุบัน อภัยภูเบศรยังทำงานร่วมกับเกษตรกรและหมอยาพื้นบ้าน ซึ่งในปีล่าสุดมีการรับซื้อสมุนไพรจากเกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรนับ 500 ราย รวมกว่า 80 ล้านบาทอีกด้วย […]

“Home Office” พื้นที่ของการสร้างแรงบันดาลใจ สถานที่ทำงานของคนยุคใหม่ใช่เลย

เมื่อไลฟ์สไตล์การทำงานของคนยุคใหม่เปลี่ยนไป การนั่งติดจอคอมพิวเตอร์ในพื้นที่แคบๆ อย่างเคยไม่ตอบโจทย์อีกต่อไป หลายธุรกิจจึงเลือกที่จะไม่เช่าออฟฟิศในอาคารสำนักงาน แต่เปลี่ยนมาเป็น Home Office ที่ให้พื้นที่มากกว่า สามารถจัดสรรพื้นที่ได้ตามใจชอบ ไม่ว่าจะเพิ่มมุมนั่งเล่น โซนนั่งพักผ่อน หรือห้อง Meeting ไว้ให้เราเข้าไปละเลงไอเดียและหาแรงบันดาลใจดีๆ ในการทำงาน

Like Father, Like Son : พ่อลูกคู่เหมือนแห่ง “ARTROOM 24” งานศิลปะแอร์บรัชที่ถ่ายทอดผ่านสายเลือด

บทสนทนาแสนอบอุ่น เรียบง่าย และข้อคิดจากผู้ชายธรรมดาๆ เจ้าของร้านทำสีมอเตอร์ไซค์ ที่ตั้งใจฟูมฟักลูกชายให้เติบโตเป็นคนดี ลงมือทำให้เห็นและสัมผัสถึงความรักในงานศิลปะ ที่ค่อยๆ ซึมซับในตัวลูกชาย จนเรียกได้ว่า “ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น”

BANGNA ISN’T JUST A BANGNA : เปิดมุมมองใหม่ในย่านบางนา แหล่งรวมไลฟ์สไตล์คนเมือง

ทุกวันนี้ หลายคนที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเดินทางมาทำงาน หรือมีแอคทิวิตี้ที่แตกต่างกัน คงจะรู้สึกได้ว่าผู้คนในเมืองหนาแน่นขึ้น หรือตึกสูงที่หนาตาขึ้นเรื่อยๆ หลายคนก็เลือกที่จะหลีกเลี่ยงการเข้าไปเบียดเสียดกันในเมือง และต้องการชีวิตที่มีความคล่องตัวมากขึ้น

Bangkok Sewer : ท่อ (รอ) ระบายน้ำ

จากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีน้ำท่วมกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ และการระบายน้ำก็เป็นไปอย่างล่าช้า คนไทยต้องตกอยู่ในความลำบาก ทั้งเรื่องอาหารการกิน, ที่อยู่อาศัย, การเกษตร, อุตสาหกรรม และเศรษฐกิจ ได้รับความเสียหาย หลายครั้งถึงขึ้นเกิดอุทกภัยที่รุนแรง หนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ ก็คือ “ปัญหาการระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ” นั่นเอง

โลกใบกว้างของ ‘ชีวิตสี่ขา’

ถ้าเป็น “คน” สิ่งที่ทำเป็นประจำในแต่ละวัน คือกินข้าว ทำงาน ปาร์ตี้ อาบน้ำ เข้านอน แล้วถ้าเป็น “สุนัขจรจัด” ล่ะ มีใครเคยลองคิดบ้างไหมว่า วันๆ มันทำอะไรบ้าง มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร และทำไมเพื่อนสี่ขาเหล่านี้ถึงกลายมาเป็นสุนัขจรจัด เราเลยชวนทุกคนมาลองมองโลกในมุมของ “ขาว” เจ้าถิ่นสี่ขา ณ ย่านเอกมัยกัน

Green Corner Of Ratchathewi

เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไปธรรมชาติก็ถูกกลืนกินด้วยความทันสมัยพื้นที่สีเขียวกลายเป็นสิ่งที่ใครๆก็ต่างโหยหา แต่จะดีแค่ไหนถ้าเราได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติเพียงแค่คุณก้าวเท้าออกจากห้องก็สามารถสัมผัสกับธรรมชาติภายในที่อยู่อาศัย

Better City Starts With a “Good Walk” : ภารกิจเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้ย่านของเราเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี”

กรุงเทพฯ เมืองที่หลายคนรักแต่อีกใจหนึ่งก็เกลียด ขึ้นชื่อเรื่องไฟแดงนานและไฟเขียว 3 วิ เอาล่ะ วันนี้ไม่ได้จะมาบ่นกรุงเทพฯ แต่เรามีแนวคิดดีๆ ให้ชาวกรุงเทพฯ เปลี่ยนมาใช้การเดินเท้าแทนการขับรถ ซึ่งก่อนที่แต่ละย่านจะสามารถเป็น “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” ก็มีสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนมากกว่าแค่ทางเท้า

De LAPIS Charan 81 : จงเลือกใช้ชีวิตบนเหตุผลของคุณ

ความหมายของการใช้ชีวิตคืออะไร? บางคนอาจหมายถึงความสำเร็จในเป้าหมายที่ตัวเองเคยตั้งไว้ หรือการได้รับค่าตอบแทนสูงๆ แต่สำหรับบางคนอาจเป็นเพียงแค่การได้ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายกับคนที่คุณรักในพื้นที่ส่วนตัว ‘บางพลัด’ จึงเป็นอีกหนึ่งย่านที่ตอบคำถามของการใช้ชีวิตที่ยังคงเสน่ห์ของวัฒนธรรมและวิถีชีวิตในแบบฉบับคนฝั่งธนฯ ที่ผสมผสานกันอย่างลงตัว

1 11 12 13 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.