‘ฟาร์มลุงรีย์’ คอมมูนิตี้ชาวสวนรุ่นใหม่ ฉีกกฏเกษตรแบบเดิมด้วยเทคโนโลยีใกล้ตัว

วันนี้เรามีโอกาสได้คุยกับ ‘ลุงรีย์-ชารีย์ บุญญวินิจ’ ผู้บุกเบิกฟาร์มลุงรีย์ และ ‘พี่นัท-กิตติพงศ์ กีรติเตชะนันท์’ นักเพาะเห็ดที่มาเรียนรู้จากฟาร์มลุงรีย์ ทั้งสองคนจะมาแชร์ประสบการณ์เกษตรกรรุ่นใหม่อยู่อย่างไรในเมือง รวมทั้งเป้าหมายในอนาคตของฟาร์มในเมืองที่พึ่งพาตัวเองได้ หน้าตาจะเป็นอย่างไรตามไปดูกัน

5 Street Furnitures ทั่วโลกที่เราคิดว่าเจ๋ง ! ดีไซน์ ‘ข้างถนน’ ที่มาพร้อมฟังก์ชันเพื่อคนเมือง

จำม้านั่งรอรถเมล์ใน Forrest Gump กันได้ไหม ? ม้านั่งไม้ตัวยาวเรียบง่าย ที่แม้จะออกแบบมาเพียงเพื่อใช้รอรถเมล์ อย่างมากก็ห้านาที สิบนาที (ต่อคัน) แต่ม้านั่งตัวนั้นก็ถูกออกแบบมาให้สบายพอที่ Tom Hanks จะสามารถเล่าประสบการณ์ทั้งชีวิตที่ผ่านมาของตนให้คนแปลกหน้าทั้งสามคนและเหล่าผู้ชมภาพยนตร์ฟังได้แบบไหลลื่นคล้อยตามน่าประทับใจ ทำไม Public Design จึงสำคัญ ?  คราวนี้อยากให้ลองจินตนาการว่า หากคุณ Forrest Gump เป็นคนไทย และป้ายรถเมล์นั้นไม่ได้ตั้งอยู่ที่ซานฟรานซิสโก แต่ตั้งอยู่สี่แยกคลองตันเรานี่เอง จำม้านั่งยาวรอรถเมล์บ้านเราได้ใช่ไหม ? ในทางทฤษฏีมันคือม้านั่งชนิดหนึ่งนั่นล่ะ แม้มันจะเป็นแค่แท่งโลหะยาวมนที่ไม่โค้งเว้ารองรับสรีระตูดมนุษย์เสียด้วยซ้ำไป แต่มันก็คือม้านั่งที่เราต้องเผชิญหน้าต่อกรด้วยทุกครั้งที่ต้องรอรถเมล์  หาก Forrest Gump บังเอิญเป็นคนไทย และนั่งรอรถเมล์ที่ม้านั่งตัวนั้น เขาคงไม่มีทางอยู่ในสภาวะสบายพอที่จะเล่าทั้งชีวิตที่ผ่านมาของตัวเองให้ใครฟังได้แน่นอน ภาพยนตร์อาจจบลงตั้งแต่ยังไม่ได้กล่าวถึงกล่องช็อคโกแลตเลยด้วยซ้ำ สิ่งนั้นคือความสำคัญของการออกแบบเชิงสาธารณะ สภาวะน่าอยู่ น่าสบาย มันไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นเพียงแต่ในที่พักอาศัยของประชากรบางกลุ่ม แต่ควรจะกระจายอย่างทั่วถึงไปทุกๆ พื้นที่ในเมือง ทุกๆ คนควรจะมีสิทธิ์เข้าถึงงานออกแบบที่ดี ประสบการณ์ที่ดี ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่สาธารณะ หรือสาธารณสมบัติ จริงๆ แล้ว หากเราลองออกแรงวิจัย รณรงค์ และพัฒนาเหล่า ‘พื้นที่สาธารณะ’ […]

มองมุมเมืองผ่าน Bangkok Through Poster

‘Bangkok Through Poster’
โปรเจกต์โปสเตอร์ที่ถ่ายทอดมุมมองเกี่ยวกับ สถานการณ์
เหตุการณ์ความเป็นไปของสังคม บุคคล
และพื้นที่ผ่านผลงานออกแบบโปสเตอร์

“คลองต้องดี เมืองถึงจะดี” ฟังวิธีฟื้นคลองให้กลับมาสำคัญอีกครั้งจาก ‘ธนบุรี มี คลอง’

สทนากับทีม ‘ธนบุรี มี คลอง’ ถึงความสำคัญของคลองกับเมือง และหนทางที่จะทำให้คลองอยู่คู่กับเมืองได้อย่างยั่งยืน

ย่านเก่าเยาวราช

ประเดิมนั่ง MRT สถานีใหม่ ‘วัดมังกร’ ไปสัมผัสเสน่ห์ย่านเก่าเยาวราชที่โด่งดังเรื่องสตรีทฟู้ด จนได้ชื่อว่า ‘ไชน่าทาวน์’ ไม่ว่าชาวไทยหรือชาวต่างชาติก็ต้องมาเช็คอินกินของอร่อย แต่วันนี้เราจะพาไปเปิดมุมมองชมสถาปัตยกรรม ซึ่งโดดเด่นและมีเรื่องราวน่าหลงใหลไม่แพ้กันเลย พร้อมสำรวจวิถีชีวิตของผู้คนในเยาวราชและกลิ่นอายวัฒนธรรมจีน ผูกโยงไลฟ์สไตล์ใหม่เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน

‘สิงคโปร์’ ต้นแบบเมืองปลอดภัย

สิงคโปร์ ยังถูกกล่าวขานว่าเป็นต้นแบบการพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน ทั้งความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และคุณภาพชีวิตที่ดีอื่นๆ สำหรับทุกคนในเมือง โดยเฉพาะด้าน ‘ความปลอดภัย’ สิงคโปร์มีอัตราเกิดอาชญากรรมที่ต่ำมากเพียง 27.86% และมีความปลอดภัยถ้าเดินคนเดียวในเวลากลางวันสูงถึง 78.09% ส่วนความปลอดภัยถ้าเดินคนเดียวในเวลากลางคืนก็มีถึง 70.87%

ล่องเรือตามหา ‘ส้มบางมด’ ที่หายไป

คุยสบายๆ กับชาวบ้านย่านบางมด  ล่องเรือมาหารักสักคน…… ล่องเรือเยือน ‘คลองบางมด’ เพื่อมาตามหาของดีริมคลองที่หายไป ขึ้นชื่อว่าบางมด จะไม่พูดถึง ‘ส้มบางมด’ ได้อย่างไร เมื่อมาถึงก็รู้สึกถูกชะตากับชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก เลยขอเล่าย้อนไปในสมัยก่อนให้ฟังสักหน่อย บางมดเป็นชุมชนเล็กๆ ชาวบ้านจึงมีความสนิทสนมกันเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ส่วนอาชีพหลักของพวกเขาคือการทำนา สมัยก่อนยากลำบากพอตัว เพราะกว่าจะพลิกพื้นดินที่แห้งแล้งให้กลายเป็นทุ่งนาเขียวขจีได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องใช้แรงงานจากคนจำนวนมาก ชาวบ้านจึงมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ ซึ่งการเข้าใจ ช่วยเหลือและเห็นอกเห็นใจกันนั้น กลายเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของชาวบางมด ความโชคดีของชาวบางมดที่น่าอิจฉาเป็นอย่างมาก คือบ้านจะอยู่ติดริมคลอง เอาเป็นว่าแทบไม่มีถนนคอนกรีตเลย จะไปไหนมาไหนก็เน้นแจวเรือกัน หากมองเรื่องสภาพพื้นที่ และอากาศ ย่านบางมดถือว่าเป็นปอดที่สมบูรณ์แห่งหนึ่ง ส้มที่ไหนไม่หวานเท่า ‘ส้มบางมด’ เวลาผ่านไปการทำนาก็เริ่มยากลำบากมากขึ้น ชาวบ้านบางคนแทบกุมขมับ เนื่องจากใช้แรงงานค่อนข้างเยอะ เลยพยายามมองหาอาชีพอื่นมาทดแทนการทำนา คนแรกที่ริเริ่มปลูกส้มบางมด คือ “นายแสม” ชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง ที่สนใจการปลูกส้มอยู่แล้ว จึงไปซื้อกิ่งตอนมาจากคลองบางกอกน้อยเมื่อ พ.ศ. 2468 ลุงแสมเลยกลายเป็นคนแรกที่เอาส้มมาลงในพื้นที่บางมด โดยการปลูกครั้งแรกประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำเอาบ้านใกล้เรือนเคียงสนใจปลูกตามๆ กัน แต่การปลูกสมัยนั้นมีความลำบากไม่น้อย เพราะต้องยกร่องดินสลับกับร่องน้ำ อีกทั้งกว่าจะพลิกผืนนาให้เป็นสวนส้มต้องใช้เวลาอย่างมาก แต่ยิ่งปลูกกันมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้ส้มบางมดนั้นกระหึ่มไปทั่ว จนกลายเป็นชื่อคุ้นหูมาจนถึงทุกวันนี้  การปลูกส้มบางมดสมัยก่อนต้องใช้เวลาพักดินพร้อมกับพักกิ่ง 1 […]

แจกสูตร ‘โมเดลเมือง Zero Waste’ ฉบับ Akira Sakano ฮีโร่สาวผู้พลิกโฉมเมืองปลอดขยะ

ปัญหาใหญ่ที่ทั่วโลกแก้ไม่ตกคือ ‘ขยะ’ ที่พอกพูนจนกลายเป็นภูเขากองโต ปีที่แล้วประเทศไทยมีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น 27.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ราว 1.64% โดยถูกคัดแยกและนำกลับไปใช้ประโยชน์ 34% กำจัดอย่างถูกต้อง 39% และกำจัดไม่ถูกต้อง 27% นอกจากตัวเลขที่เราเห็น ยังมีขยะตกค้างสะสมที่เพิ่มขึ้นทุกปีไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านตัน

Resonance of Lives at 1527 : เสียงสะท้อนความเป็นไปของเมืองบนร่องรอยของตึกแถวสามย่าน

ถ้าพูดถึงการทุบตึกรื้อถอน ชื่อแรกที่ผุดขึ้นมาคงเป็น “ศักดาทุบตึก” กับป้ายโฆษณาที่มีวลีเด็ด “เลือก สส.เข้าสภา แล้วอย่าลืมเลือกศักดาไปทุบตึก” ความหมายของคำว่า “รื้อถอน” คงใกล้เคียงกับการทำลาย ลบล้าง ขจัด ฟังดูเป็นการเปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่ แต่อันที่จริงแล้ว เมืองมีการเปลี่ยนแปลงแทบทุกนาทีเพื่อเดินต่อไปข้างหน้า

‘Soft Power’ เกมรุกที่บุกความคิดคนแบบซอฟท์ ๆ

‘Soft Power’ แนวคิดที่ทุกประเทศใช้ดึงดูดความสนใจให้ผู้คนคล้อยตาม จนสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดและพฤติกรรม ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งที่ทุกประเทศใช้ผลักดันบ้านเมืองของตัวเองให้ดีขึ้น

‘roundAround’ เรืออัจฉริยะไร้คนขับ บริการรอบเมือง

นวัตกรรมระบบขนส่งในศตวรรษที่ 21 เขยิบอีกขั้น เมื่อ ‘เรือ’ อัจฉริยะใช้ระบบ ‘AI’ เคลื่อนที่ สามารถควบคุมด้วยตัวเองแบบไร้คนขับ ซึ่งเป็นได้ทั้งเรือ รับ-ส่งผู้โดยสาร เรือขนส่งสินค้า และพื้นที่สาธารณะที่คอยบริการคนเมือง เมื่อย้อนกลับมามองกรุงเทพฯ ที่มีบริบทเมืองเคียงคู่กับน้ำมายาวนาน ก็หวังว่า Roboat จะเป็นกรณีศึกษาที่ดี ต่อยอดในบ้านเราได้สักวันหนึ่ง ไปตามดูกันดีกว่า ว่าพวกเขาจะพัฒนา Roboat เป็นฟังก์ชันอะไรกันบ้าง และชาวกรุงเทพฯ ชอบแบบไหนกัน ?

1 9 10 11 12 13 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.