มองเมืองผ่านเลนส์ Street Photographer ‘จ็อบ-เจตวิชาญ เชาวน์ดี’

จากครูสอนเด็กอนุบาลที่ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ทำให้ ‘จ็อบ-เจตวิชาญ เชาวน์ดี’ เลือกวิธีการออกกำลังกายด้วยการเดินไปตามเมือง พร้อมพกกล้องคู่ใจ ค้นหามุม มองสิ่งน่าสนใจ แล้วลั่นชัตเตอร์บันทึกภาพ จากงานอดิเรก ‘Street Photographer’ กลายเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ลงแรงจริงจัง จนทำให้จ็อบมองสิ่งต่างๆ ผ่านเลนส์กล้องมากขึ้น และในสายตาของผู้อยู่อาศัยก็ทำให้เขาได้มองมุมเมืองที่ต่างออกไปจากเดิม “พอได้ไปถ่ายภาพแนวสตรีทเยอะขึ้น เรารู้สึกว่ามันมีเสน่ห์ ทำให้วิธีการมองเมืองของเราเปลี่ยนไป สิ่งที่เรารู้สึกดีที่สุดคือการถ่ายภาพแล้วได้บันทึกประวัติศาสตร์ของโมเมนต์ ของเมือง ได้เห็นคุณค่าของสิ่งที่อยู่ข้างหน้า” รายการ The Professional พาไปรู้จักอาชีพช่างภาพสาย Street Photo กับคอลัมนิสต์เจ้าของโปรเจกต์ Bangkok Eyes ที่ชวนมองเมืองผ่านเลนส์ด้วยการเดินเล่นถ่ายภาพย่านต่างๆ 50 เขตในกรุงเทพฯ

ชีวิตแบบ Spider-Neighbor ฮีโร่ของไทย เพื่อนบ้านคนใหม่ใน Bangklyn (Earth-112)

ติดตาม ‘Spider-Man’ มาตั้งแต่เวอร์ชันแรก ไม่เคยคิดเลยว่าจะมีฮีโร่คนนี้อยู่ในจักรวาลอื่นๆ ด้วย แต่ ‘Spider-Man : Across the Spider-Verse’ ก็ทำให้เราได้เห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนบนจักรวาลนี้ ก็สามารถเป็นฮีโร่แมงมุมได้ด้วยเหมือนกัน พอได้เห็น Spider-Man ในภาพที่แตกต่างกันออกไปมากมายแล้วก็แอบนึกสงสัยว่า ถ้าหากมีไอ้แมงมุมในประเทศไทยของเราบ้างจะเป็นอย่างไร จะสามารถเดินทางข้ามตึกโดยเท้าไม่แตะพื้นเหมือนที่นิวยอร์กได้หรือเปล่า หรือจะต้องเผชิญกับรถจำนวนมากบนท้องถนนเหมือนกับที่มุมแบตตันกันนะ คอลัมน์ Urban Isekai ขอพาทุกคนไปติดตาม ‘Spider-Neighbor’ ฮีโร่เพื่อนบ้านที่แสนดีในเวอร์ชันที่ต้องใช้ชีวิตที่เมือง ‘Bangklyn’ กันว่า ในโลกหมายเลข 112 นี้ชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไรบ้าง Daily Life : ถึงจะมีตัวช่วยทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป แต่การเดินทางก็ยังยากลำบากเหมือนเดิม ครั้งหนึ่ง Spider-Neighbor เคยมีชีวิตธรรมดาเหมือนกับ Spider-Man ในโลกอื่นๆ ก่อนหน้านี้เขาเป็นนักศึกษาที่ใช้เวลาเดินทางในแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เคยเดินสะดุดฟุตพาทเพราะกระเบื้องไม่เสมอกันจนทำให้เลือดท่วมมาแล้ว แต่หลังจากโดนแมงมุมกัดจนกลายเป็น Spider-Neighbor เขาก็มีตัวช่วยอย่างใยแมงมุมที่ควรจะช่วยร่นเวลาเดินทางในเมืองได้ แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างของ Bangklyn ไม่ว่าจะเป็นจำนวนตึกสูงที่มีน้อยและตั้งอยู่ห่างกันจนไม่สามารถโหนตัวข้ามตึกได้ รวมถึงเสาไฟฟ้าและสายไฟระโยงระยางที่กีดขวางการห้อยโหน ทำให้ต้องโหนตัวระดับที่ต่ำและใกล้กับพื้นดิน ซึ่งวิธีนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ชนอีกด้วย […]

Beat the Heat in Bangkok ทำกรุงเทพฯ ให้กลับมาเย็นอีกครั้ง

ในปัจจุบันที่กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยไอความร้อนจากการเผชิญหน้ากับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอก ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง เคยลองคิดกันเล่นๆ ไหมว่า ถ้าเราสามารถทำให้หน้าร้อนของเมืองไทยที่มีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีมีอุณหภูมิลดลงได้ หน้าตาของเมืองกรุงเทพฯ จะแตกต่างไปจากปัจจุบันและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้นได้มากน้อยขนาดไหน วันนี้คอลัมน์ Urban Sketch จึงขอหยิบเอาแผนพัฒนาเมืองบางส่วนของประเทศสิงคโปร์อย่าง ‘Cooling Singapore’ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อลดภาวะ UHI ภายในเมือง มาออกแบบกรุงเทพฯ กันใหม่ว่า ถ้าต้องการให้อุณหภูมิเมืองลดลงจะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง 01 | VEGETATION : เพิ่มสีเขียวให้พื้นที่เมือง หากต้องการลดอุณหภูมิเมืองลง สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ ‘พื้นที่สีเขียว’ เนื่องจากพืชโดยทั่วไปมีคุณสมบัติในการแผ่รังสีความร้อนที่ต่ำและสร้างร่มเงา ช่วยลดการสะสมของพลังงานแสงอาทิตย์ภายในเขตเมืองได้ แต่การจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอุณหภูมิภายในเมืองลงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจำเป็นต้องปลูกต้นไม้จำนวนมากพอสมควรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในแนวระนาบหรือแนวดิ่งตามอาคารต่างๆ ก็ตาม การมีสวนสาธารณะขนาดไม่ใหญ่มากแต่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ รอบเมืองอย่างทั่วถึง จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ความเย็นจากพื้นที่ในบริเวณนั้นๆ ส่งผลดีต่อพื้นที่อาคารโดยรอบได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับการมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่งทั่วเมืองอย่างปัจจุบัน แต่สำหรับอากาศของประเทศไทย แค่สวนสาธารณะในแนวราบคงไม่เพียงพอ การปลูกพืชเพิ่มในแนวดิ่งไม่ว่าจะเป็นพืชไม้เลื้อยบริเวณผนังอาคาร ฟาร์มผักบนหลังคา พื้นที่สีเขียวบริเวณอาคารร้าง รวมถึงพื้นที่ว่าง ล้วนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชาวเมืองเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ง่ายขึ้น […]

ตึกสูงที่ถูกทิ้งร้างในเมือง ส่งผลอะไรกับการใช้ชีวิตของคนเมืองบ้าง

‘ตึกร้าง’ มักเป็นสถานที่อันดับต้นๆ ที่ใช้เป็นโลเคชันประจำในรายการแนวลึกลับ กับการเข้าไปทำภารกิจพิสูจน์ความลี้ลับของอาคารเก่าทรุดโทรม ไม่ว่าจะเป็นตึกร้างชื่อดังหรือตึกร้างโนเนม เพราะทุกที่มีเรื่องเล่าทั้งสิ้น แต่นอกเหนือจากเรื่องผีๆ ที่เชื่อมโยงกับตึกร้างแล้ว ทุกคนเคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมกรุงเทพฯ ถึงมีตึกร้างเยอะแยะนัก เพราะไม่ว่าเราจะเดินทางไปย่านไหนก็มักพบเห็นตึกสูงที่ปล่อยทิ้งร้างเอาไว้แทบทุกที่ ทั้งๆ ที่มีข่าวอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในตึกร้างมาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบถึงเรื่องนี้ พร้อมกับสำรวจว่าการมีอยู่ของตึกร้างพวกนี้ส่งผลเสียอะไรกับเมืองและผู้คนบ้าง เบื้องหลังตึกสูงที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง ย้อนกลับไปในช่วง พ.ศ. 2533 ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยกำลังเฟื่องฟูและพัฒนา ส่งผลให้เกิดโครงการก่อสร้างอาคารจำนวนมากในเมือง โดยส่วนใหญ่เป็นอาคารที่พักอาศัยในทำเลทองต่างๆ เพื่อรองรับการย้ายถิ่นฐานเข้ามาในเมือง  แต่ขณะที่การก่อสร้างกำลังดำเนินไป ก็เกิดวิกฤตการเงินปี 2540 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ ‘วิกฤตต้มยำกุ้ง’ เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เศรษฐกิจพังพินาศ สถาบันการเงินหลายแห่งถูกสั่งปิดจนทำให้ต้องยุติการกู้เงิน โครงการก่อสร้างต่างๆ ต้องหยุดชะงักลง ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่เสร็จสมบูรณ์แล้วหรือยังไม่เสร็จดีก็ตาม ทำให้มีอาคารที่ถูกปล่อยทิ้งร้างมากกว่า 200 แห่ง เวลาผ่านไปกว่า 20 ปี หลายตึกได้รับการปรับปรุงจนกลายเป็นตึกใหม่ใช้งานได้แล้ว แต่บางตึกก็ยังถูกปล่อยทิ้งไว้ด้วยหลายเหตุผล ตั้งแต่ปัญหาเงินทุนที่นายทุนยังไม่สามารถหามาเดินหน้าโครงการต่อได้ การรอเจ้าของคนใหม่มารับช่วงต่อในการก่อสร้าง การฟ้องร้องค่าเสียหายจากการหยุดปล่อยเงินกู้จนผู้รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินการจนแล้วเสร็จได้ ติดคดีความเกี่ยวกับการสร้างอาคารผิดแบบหรือโครงสร้างที่ไม่แข็งแรง และอีกเหตุผลสำคัญคือค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาคารที่อาจสูงกว่าการเดินหน้าสร้างต่อ นายทุนหลายเจ้าจึงเลือกวิธีการปล่อยอาคารทิ้งไว้เฉยๆ ให้เก่าไปตามกาลเวลา ดีกว่าต้องมาเสียเงินก้อนโต นอกจากนี้ อาคารบางแห่งที่ถูกหน่วยงานรัฐฟ้องร้องเนื่องจากก่อสร้างโดยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร […]

ฟังเสียงคนไทย สบายดีไหมปีนี้

ปีที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้าง สบายดีไหมทุกคน ในปี 2022 มีการเปลี่ยนแปลงในสังคมมากมาย ที่เห็นชัดๆ ก็คงเป็นข่าวดีที่ชาวกรุงเทพฯ ได้ผู้ว่าฯ คนใหม่มาช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ส่วนผู้คนก็เริ่มออกมาใช้ชีวิตและทำงานได้ตามปกติ หลังจากต้องกักตัวอยู่บ้านนานกว่าสองปีเพราะโรคระบาด ในช่วงสัปดาห์ส่งท้ายปีแบบนี้ Soundcheck อยากพาทุกคนไปฟังเสียงของชาวเมืองจากหลากหลายสายอาชีพว่า ชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างไรบ้างในปีที่ผ่านมา มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงบ้าง พร้อมทิ้งท้ายด้วยคำอวยพรเพื่อเป็นกำลังใจให้กับตัวเองและคนอื่นๆ _____________________________________

ขับเคลื่อนเมืองผ่านศิลปะ แสงสี และดนตรี กับงานใหญ่ ‘Colorful Bangkok 2022’ ปลายปีนี้ ตั้งแต่ พ.ย. 65 – ม.ค. 66

สำหรับงานเทศกาลปลายปี คงหนีไม่พ้นเรื่องของแสงสี ดนตรี และศิลปะ ที่จัดอยู่ตามสถานที่ต่างๆ รอให้คนเข้าไปสัมผัสและถ่ายรูปเก็บความทรงจำ เป็นของขวัญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศนั้น กทม. จึงจัดงาน ‘Colorful Bangkok 2022’ หรือ ‘ฤดูกาลศิลปะกรุงเทพฯ’ ขึ้นตามนโยบาย 12 เทศกาลตลอดปีของผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ครอบคลุมตลอด 3 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ไปจนถึงมกราคม 2566  ภายใต้ชื่องาน ‘Colorful Bangkok 2022’ จะมีการแบ่งเทศกาลย่อยลงไปอีกในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ‘เทศกาลศิลปะสร้างสรรค์’ ในเดือนพฤศจิกายน ‘เทศกาลแสงสี’ ในเดือนธันวาคม และ ‘เทศกาลดนตรี’ ในเดือนมกราคม เพื่อจุดมุ่งหมายในการเปิดพื้นที่สาธารณะให้คนกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ รวมไปถึงนักท่องเที่ยวได้มีกิจกรรมให้เข้าร่วมได้ตลอดทั้งปี ทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนธุรกิจโดยรอบ กระตุ้นยอดขายจากการจัดงานเทศกาล และเกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ ความน่าสนใจคือ งานนี้เกิดขึ้นจากการร่วมมือของภาคีเครือข่ายกว่า 250 องค์กร ในการจัดงานกว่า 120 งาน เพื่อทำให้กรุงเทพฯ […]

Expectation VS Reality ชีวิตวุ่นๆ ในเมืองกรุงของหนุ่มขี้เหงากับภารกิจตามหารักแท้แบบฉบับหนังรัก

สวัสดีครับ เหล่าคนเหงาในเมืองใหญ่ทุกคน  ผม ‘แทน แทนทะเล’ นะครับ หลายคนอาจจะเห็นหน้าค่าตาผมจากรายการ ‘Urban เจอนี่’ มาบ้าง แต่วันนี้ผมไม่ได้จะมาชวนไปดูรายการหรือทำอะไรประหลาดๆ หรอกนะ แค่เห็นว่าวีกนี้ Urban Creature เขาทำคอนเทนต์ธีม ‘Bangkok Zombie Town’ ที่ตีแผ่ชีวิตสุดห่วยในเมืองกัน ผมเลยอยากนำเสนอชีวิตหนึ่งวันในฐานะของผู้ชายขี้เหงาคนหนึ่งที่ก็อาศัยอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้ ‘คนเดียว’ มานานกับเขาบ้าง หลังจากปัด Tinder จนนิ้วด้าน โหลดแอปฯ เดตติงจนความจำในโทรศัพท์เต็ม ผมก็ฝันถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำให้หัวใจเจ้ากรรมที่เริ่มด้านชากลับมามีสีสันมากขึ้น ผมจึงตัดสินใจว่า “วันนี้แหละที่เราจะไปปฏิบัติการตามหารักแท้ในเมืองด้วยตัวเอง เอง เอง” (ใส่เอกโค่เพิ่มความดราม่า) แต่แหม จะให้ไปตามหาคนในฝันแบบธรรมดาๆ ก็ดูไม่ค่อยเหมาะกับพิธีกรรายการดังแบบผมเท่าไหร่ ด้วยความที่เป็นอดีตนักเรียนฟิล์มและชอบดูหนังมากๆ ผมเลยขอหยิบเอาหนังรักโรแมนติกมาใช้เป็น Reference สร้างซีนประทับใจในหนึ่งวันที่ผมออกไปเจอเธอสักหน่อย จะได้รู้ดำรู้แดงกันไปเลยว่า ‘เมืองกรุงเทพฯ’ จะ ‘โรแมนติก’ แบบเมืองในหนังรักกับเขาได้ไหม รับบทเป็นธีโอดอร์ ใน Herมองเมืองแบบเหงาๆ คิดถึงเขาทำไงดี ก่อนออกไปตามหารักแท้ในเมืองใหญ่ ผมก็ขอทำตัวเลียนแบบ ‘ธีโอดอร์’ ในหนังคนเหงาเรื่อง ‘Her’ […]

Bangkok Zombie Town ใช้ชีวิตแบบไร้ชีวิตในเมืองกรุง

ปฏิเสธไม่ได้ว่ากรุงเทพฯ คือพื้นที่ในการไขว่คว้าหาโอกาสและใช้ชีวิตของใครหลายคน เพราะที่นี่เต็มไปด้วยความหลากหลาย ความบันเทิง และสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เป็นศูนย์กลางความเจริญในทุกๆ ด้าน จึงไม่แปลกใจที่คนจำนวนไม่น้อยจะมองว่า กรุงเทพฯ กลายเป็นภาพแทนประเทศไทยไปเสียแล้ว แต่สุดท้ายการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองหลวงอันศิวิไลซ์แห่งนี้อาจไม่ได้สนุกหรือน่าตื่นเต้นอย่างที่หลายคนวาดฝันไว้ และจบอยู่ที่การไม่ได้ใช้ชีวิตจริงๆ เพราะมัวแต่กังวลเรื่องเวลาเดินทางที่เผื่อเท่าไรก็ไม่เคยพอ ค่าครองชีพที่สูงจนแซงรายรับที่ได้ในแต่ละเดือน เป็นความกดดันที่ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่ต้องก้มหน้าก้มตาใช้ชีวิตแบบไร้ชีวิตชีวา ทำให้ตอนนี้กรุงเทพฯ แทบไม่ต่างอะไรกับเมืองที่เต็มไปด้วยซอมบี้ ที่ต้องหาทางมีชีวิตให้รอดไปวันๆ ท่ามกลางความเครียดที่อยู่รอบตัว การฆ่าตัวตายสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤต หากพูดถึงความเครียด สิ่งที่ตามมามักจะเป็นข่าวการฆ่าตัวตายที่เราเห็นกันอยู่บ่อยครั้ง แม้จะไม่ถี่ทุกวัน แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกนั้นพบว่า ทุกปีมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายเฉลี่ย 1 คน ทุกๆ 40 วินาที ซึ่งรายงานของ World Population Review เผยว่า อัตราฆ่าตัวตายของไทยในปี 2565 นั้นสูงเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน โดยตัวเลขอยู่ที่ 8.8 รายต่อประชากรหนึ่งแสนคน ที่น่าสังเกตก็คือ จำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายในแต่ละปีสูงขึ้นเมื่อเกิดวิกฤตต่างๆ อย่างการทำรัฐประหารในปี 2557 ส่งผลให้ช่วง 1 – 2 ปีให้หลังมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายสูงถึง 6.47 คน/ประชากรหนึ่งแสนคน/ปี และ […]

Urban Eyes 08/50 เขตประเวศ

เขตประเวศเป็นเขตที่ห่างไกลจากชาวธนบุเรี่ยนอย่างเราพอสมควร ภาพแรกๆ ของเขตนี้ที่เรานึกถึงคือ รถติดหน้าซีคอนฯ และสวนหลวง ร.9 ทีนี้พอมาศึกษาอย่างจริงจังว่าเขตนี้มีอะไรบ้าง ก็แอบตกใจที่เพิ่งรู้ว่าเขตนี้กินพื้นที่ขนาดใหญ่มากๆ เราเดินทางด้วยเท้าไม่ได้ ต้องใช้วิธีการขับรถตระเวนเอา ถึงจะได้ไปทั่วทั้งเขต โชคดีที่มีเพื่อนเจ้าถิ่นชื่อ ‘หมอปิง’ มาคอยแนะนำเพิ่มเติมด้วย หลังจากเก็บเกี่ยวข้อมูลและได้ไปสำรวจเขตประเวศมา เราพบว่าเขตนี้มีถนนกาญจนาภิเษกที่ตัดผ่านทางด้านตะวันออกของพื้นที่ ทำให้การเดินทางไปฝั่งนั้นไม่สะดวกสบายนัก ต้องขับรถอ้อมกันสักหน่อย แต่ขณะเดียวกันก็มีจุดเด่นตรงสวนเรียนรู้ป่าในกรุง ที่มีการสร้างสิ่งแวดล้อมเสมือนว่าเราอยู่ในป่าจริงๆ โดยที่ผู้เยี่ยมชมสามารถเดินบนทาง Sky Walk ไปได้รอบสถานที่ และมีหอคอยไว้ชมวิวป่าจากมุมสูงได้อีก ถ้าทางสวนจัดอีเว้นต์บ่อยๆ น่าจะทำให้สถานที่มีชีวิตชีวามากขึ้น ส่วนทางด้านตะวันตกของเขตประเวศก็เขียวขจีไปด้วยสวนสาธารณะที่ใหญ่มากๆ ของกรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นสวนหลวง ร.9 หรือบึงหนองบอน ราวกับเป็นตัวแทนพื้นที่ด้านธรรมชาติของเมืองเลยทีเดียว เล่นเอาเราอยากมาพักผ่อนดื่มด่ำกับสายลมแสงแดดที่นี่บ่อยๆ เลย  พอตกเย็นพลบค่ำก็มีตลาดนัดรถไฟข้างหลังซีคอนสแควร์ให้นั่งชิลล์ๆ นอกจากมีร้านอาหารเพียบแล้ว ก็มีข้าวของให้เลือกช้อปปิ้งมากมายก่ายกอง และอีกความน่าสนใจคือ ข้างในซีคอนสแควร์มีแกลเลอรี่ชื่อ Hub of Photography (HOP) ที่จัดแสดงนิทรรศการและผลงานของศิลปินมากหน้าหลายตาหมุนเวียนกันไป เหมาะกับคนที่อยากหาแรงบันดาลใจสุดๆ ถึงแม้ว่าเราจะยังไปฝั่งเหนือและใต้ของเขตนี้ไม่ทั่วเท่าไหร่ แต่ระหว่างทางที่เดินทางก็สัมผัสได้ถึงบรรยากาศความเป็นชานเมืองกึ่งๆ เมือง บางจุดให้ความรู้สึกเหมือนขับรถอยู่ต่างจังหวัดด้วยซ้ำ เป็นความหลากหลายในแบบเฉพาะตัวของเขตประเวศดี

เปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ใช้งานได้จริง

จะดีแค่ไหนถ้ากรุงเทพฯ มี ‘พื้นที่สาธารณะ’ ให้ผู้คนเข้าถึงและใช้งานได้มากกว่านี้ แม้ว่ากรุงเทพฯ จะได้รับฉายาว่ามหานครที่ไม่เคยหลับใหล เพราะเต็มไปด้วยแสงสี ความสว่างไสว และความคึกคักจากกิจกรรมของคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว แต่ถ้าสังเกตดีๆ เมืองหลวงแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยพื้นที่ที่ถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้าง ว่างเปล่า หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ แถมหลายแห่งยังขึ้นชื่อเรื่องความเฮี้ยน ความหลอน จนน้อยคนนักจะกล้าไปเยือน สิ้นเดือนนี้ก็จะถึงเทศกาลฮาโลวีนแล้ว คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากลองเปลี่ยน ‘5 สถานที่สุดหลอน’ ที่ซุกซ่อนอยู่ตามย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ให้เป็น ‘พื้นที่สาธารณะ’ ที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตและไลฟ์สไตล์คนเมืองยุคใหม่มากขึ้น มีหลากหลายไอเดียตั้งแต่การปรับปรุงตึกร้างให้เป็นสวนแนวตั้ง ไปจนถึงเปลี่ยนสุสานเครื่องบินให้เป็นพื้นที่ศิลปะเท่ๆ ก็มี ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนไปล่าท้าผี เอ้ย! ไปสำรวจการออกแบบสนุกๆ พร้อมกันตอนนี้เลย เปลี่ยน ‘ตึกสาธรยูนีค’ ให้เป็น ‘สวนแนวตั้ง’ ที่ชมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไม่อั้น หากใครเดินทางไปบริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา จะเห็นตึกร้างสูง 49 ชั้น สิ่งก่อสร้างที่เป็นมรดกตกทอดจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ที่ถึงแม้ว่าจะสร้างเสร็จไปถึง 80 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็ต้องหยุดชะงัก ไม่เสร็จสมบูรณ์พร้อมเปิดใช้งานได้อย่างที่หวัง ตึกหลังนี้มีชื่อว่า ‘ตึกสาธรยูนีค ทาวเวอร์’ หรือที่ต่างชาติต่างขนานนามให้เป็น […]

เปลี่ยนศาลาว่าการ กทม. เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ

สืบเนื่องจากนโยบายของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีแผนย้ายศาลาว่าการ กทม. จากเสาชิงช้าไปย่านดินแดง และเปลี่ยนอาคารหลังเก่านี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของเมืองในอนาคต ด้วยพื้นที่อาคารขนาดใหญ่ประมาณ 7 ไร่ และลานคนเมืองประมาณ 6.5 ไร่ ตีเลขกลมๆ ทั้งหมดเกือบ 14 ไร่ หรือเทียบเท่าพื้นที่ 3 สนามฟุตบอลเลยทีเดียว คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาเปิดพื้นที่รวบรวมไอเดียว่า ศาลาว่าการ กทม. ควรเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์แบบใดจึงจะตอบโจทย์คนเมืองอย่างแท้จริง ผ่านการสัมภาษณ์ตัวแทนในแวดวงต่างๆ เช่น คนรักพิพิธภัณฑ์จากกลุ่ม ‘ไปพิพิธภัณฑ์แล้วหัวใจเบิกบาน’, คนชื่นชอบศิลปะดิจิทัลจากเพจ ‘NFT Thailand’, ตัวแทนกระบอกเสียงคนพิการจากเพจ ‘ThisAble.me’ และเยาวชนที่สนใจเรื่องเมืองจาก ‘เยาวชนริทัศน์บางกอก (ReThink Urban Spaces – RTUS)’ ที่มาช่วยกันดีไซน์พิพิธภัณฑ์ในแต่ละมุมมองที่น่าสนใจ ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาทุกคนไปทัวร์พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ในฝันพร้อมกันตอนนี้เลย! Bangkok Time Machine Museumพิพิธภัณฑ์ท่องประวัติศาสตร์ ย้อนเหตุการณ์กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ ควรเล่าเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งเมืองและเข้าถึงคนทุกกลุ่ม […]

Dropout Crisis เทอม 1/2565 มีนักเรียน กทม. หลุดจากระบบการศึกษากี่คน

ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ ที่ปัญหาเด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษากลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่พบได้ตามข่าวสารทั่วไป ย้อนกลับไปในวัยเด็ก สมัยที่เราศึกษาอยู่ในรั้วโรงเรียน ก็เคยได้ยินว่ามีเพื่อนบางคนต้องหยุดเรียนหรือหลุดออกจากการศึกษากลางคัน เนื่องจากปัญหาทางการเงิน ปัญหาในโรงเรียน หรือปัญหาส่วนตัว แต่ในอดีตปัญหาเด็กไม่ได้เรียนต่อก็ไม่ได้มีให้เห็นบ่อยเท่ายุคปัจจุบัน ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าสังคมยุคนี้ถูกซ้ำเติมด้วยวิกฤตรอบด้าน ทั้งความเหลื่อมล้ำในสังคม ปัญหาเศรษฐกิจ รวมไปถึงวิกฤตโรคระบาด ที่ทำให้หลายครอบครัวมีรายได้ลดลงหรือต้องหยุดงานชั่วคราว ขณะเดียวกัน พวกเขายังคงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในครัวเรือน ซึ่งดูเหมือนจะมากขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ โดยค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ช่วงที่นักเรียนต้องเปลี่ยนไปเรียนออกไลน์ ครอบครัวที่ไม่ได้มีความพร้อมตั้งแต่แรกต้องเสียเงินเพิ่มกับค่าอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ ค่าอินเทอร์เน็ต และค่าอุปโภคบริโภคอื่นๆ ส่วนช่วงที่โรงเรียนกลับมาเปิดตามปกติ ก็ยังจะต้องเจอกับภาวะเงินเฟ้อ ที่ทำให้เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์การเรียน และของอื่นๆ ที่จำเป็นต้องซื้อใหม่มีราคาแพงขึ้นตามไปด้วย  เมื่อครอบครัวไม่มีความพร้อมทางการเงิน นักเรียนหลายคนจึงไม่ได้เรียนต่อ และต้องออกจากระบบการศึกษากลางคันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งผลสำรวจข้อมูลนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครทั้งหมด 258,124 คน ของภาคเรียนที่ 2/2564 พบว่า มีผู้ที่ไม่ได้รับศึกษาต่อในภาคเรียนถัดมาหรือภาคเรียนที่ 1/2565 มากถึง 2,582 คน จากเดิมที่มีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาเพียง 434 คนในภาคเรียนที่แล้ว  หมายความว่า ในช่วงระยะเวลาเพียงหนึ่งภาคเรียน มีเด็กกรุงเทพฯ ที่ไม่ได้เรียนต่อเพิ่มขึ้นถึง 5.8 […]

1 2 3 4 14

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.