P.Sherman The Enjoyable Ground เปลี่ยนตึกร้างให้เป็นที่แฮงเอาต์สำหรับคนฝั่งธนฯ

ถ้าทุกคนได้เห็นภาพตรงหน้าอย่างที่เราเห็น ต้องไม่เชื่อแน่ๆ ว่ากิจกรรมทั้งหมดนี้เกิดขึ้นอยู่ในอาคารเก่าย่านอรุณอมรินทร์ ที่เคยเป็นตึกร้างมาก่อน เพียงแค่เลี้ยวเข้าซอยอรุณอมรินทร์ 39 ทั้งภาพของคนเล่นเซิร์ฟสเก็ตในลานสเก็ตทรงโค้งซึ่งอยู่กลางพื้นที่ มีร้านอาหารและคาเฟ่รายรอบ พร้อมผู้มาใช้บริการที่นั่งกระจัดกระจายกันเป็นหย่อมๆ บรรยากาศเหมือนอยู่ในโรงอาหารของไฮสกูลต่างประเทศที่มีโต๊ะวางเรียงรายให้เลือกนั่งได้ตามใจ ไหนจะเสียงเพลงที่เปิดขับกล่อมช่วยเพิ่มชีวิตชีวาให้พื้นที่ และโซนจัดแสดงศิลปะที่มีศิลปินคอยชักชวนให้มาร่วมกิจกรรมไปด้วยกัน  อมร สุนทรญาณกิจ ผู้เป็นเจ้าของพื้นที่ ยิ่งเซอร์ไพรส์เราไปอีก เมื่อเขาบอกว่าก่อนหน้าจะเป็นลานเซิร์ฟสเก็ตอินดอร์สุดเก๋อย่าง P.Sherman The Enjoyable Ground ที่นี่เคยเป็นโรงงานเย็บผ้าของครอบครัวสุนทรญาณกิจมาก่อน แต่หลังญาติๆ ย้ายออกไปตั้งโรงงานอยู่นอกเมือง ตึกแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างมามากกว่าสิบปี  พอมรดกถูกส่งต่อมาให้สถาปนิกอย่างอมร เขาจึงเริ่มคิดอยากรีโนเวตตึกแห่งนี้ให้ดีขึ้นกว่าเก่า เปลี่ยนตึกร้างเป็นลานเซิร์ฟสเก็ต “เพราะที่บ้านพี่น้องทุกคนมีธุรกิจกันหมดเลย ตอนแรกผมเลยกะจะรีโนเวตทำเป็นออฟฟิศ เปิดชั้นล่างให้เช่าทำร้านอาหาร ร้านตัดผม หรือคาเฟ่เล็กๆ ให้พนักงานในออฟฟิศมาใช้ แต่ก็ไม่ได้ทำสักที พอดีกับตอนโควิด เซิร์ฟสเก็ตค่อนข้างดัง เราก็ไปเริ่มเล่นด้วย พอเล่นๆ ไปเริ่มสนุก จริงจัง เลยเริ่มชวนเพื่อนมาเล่นกันที่นี่” พื้นที่ชั้นสองของตึกร้างถูกใช้งานอีกครั้งเป็นสนามอินดอร์สำหรับเล่นเซิร์ฟสเก็ตช่วงหน้าฝน ส่วนลานหน้าอาคารก็ถูกใช้เป็นสถานที่แฮงเอาต์ที่เขาและเหล่าเพื่อนๆ จะพกเก้าอี้แคมป์ปิ้งมานั่งกินดื่มให้หายเหนื่อย  ตอนนั้นเองที่อมรเห็นความเป็นไปได้ใหม่ของพื้นที่ คิดรีโนเวตปรับปรุงพื้นให้เหมาะกับการเล่นมากขึ้น และชวนน้องชายมาเปิดคาเฟ่ทำเป็นพื้นที่รองรับเพื่อนๆ ชาวเซิร์ฟสเก็ต  “ตอนที่คิดจะทำ มันเริ่มมีลานสเก็ตเกิดขึ้นเยอะ ยิ่งเราอยู่ในซอยอย่างนี้ก็ยิ่งทำให้อยู่รอดต่อไปยาก เพราะถึงเซิร์ฟสเก็ตจะถูกบรรจุเป็นกีฬาไปแล้วยังไงก็ไม่มีทางหายไปร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราก็ต้องยอมรับว่ากระแสเซิร์ฟสเก็ตก็คงไม่ได้อยู่ไปนานขนาดนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสรอดทางธุรกิจเราเลยลองจับโมเดลมาร์เก็ตแบบที่อเมริกา […]

อวโลกิตะ : พื้นที่ภาวนาใจกลางสีลมที่เปิดให้คนเมืองเข้าใช้ฟรี

ในวันที่เหนื่อยล้า งานไม่เป็นดั่งใจ และอีกสารพันปัญหาของคนสู้ชีวิตในเมืองใหญ่ที่ชีวิตสู้กลับอย่างไม่ไยดี เย็นวันนั้นคุณเลือกที่จะพาตัวเองไปที่ไหนต่อ? บางครั้งเราแค่ต้องการที่นั่งเงียบๆ เพื่อให้ตัวเองได้หยุดคิดและไตร่ตรองสักพัก แต่ในเมืองที่พื้นที่สาธารณะน้อยอย่างกรุงเทพฯ จะมีที่ไหนที่เปิดให้เราเข้าไปนั่งพักและใช้เวลาอยู่กับตัวเองในช่วงเวลาหลังเลิกงานได้ฟรีๆ บ้าง ท่ามกลางบรรยากาศอันเร่งรีบ แข่งขัน และตึกสูงรายล้อมในสีลมย่านเศรษฐกิจใจกลางเมือง บนชั้น 9 ของอาคารตั้งฮั่วปัก ซอยสาทร 10 มีสเปซเล็กๆ ที่ชื่อว่า ‘อวโลกิตะ (Avalokita)’ ตั้งอยู่ ที่นี่คือ Meditation Space หรือพื้นที่ภาวนาที่เปิดให้คนเข้ามานั่งพัก อยู่กับตัวเอง เพื่อบ่มเพาะความรัก ความกรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยไม่มีข้อจำกัดด้านศาสนา ไม่มีกฎเกณฑ์ในการใช้งาน และเปิดกว้างสำหรับทุกคน ไม่ว่าใครก็สามารถเข้ามาใช้พื้นที่ตรงนี้ได้ฟรีๆ เหมาะสำหรับคนที่อยากหลีกหนีความวุ่นวายหลังเลิกงานในเมืองกรุง มานั่งพักใจและเปิดประสบการณ์ใหม่ให้ตัวเอง  ภาพคนนั่งสมาธิในห้องเล็กๆ ท่ามกลางตึกสูงในสีลม ตัดกับท้องฟ้ายามค่ำคืนของกรุงเทพมหานคร คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้รู้จักกับ ‘อวโลกิตะ’ และแค่ได้ยินว่าที่นี่เปิดให้เข้า ‘ฟรี’ ก็ยิ่งชวนแปลกใจ เพราะในเมืองที่ค่าครองชีพสูงแบบนี้ การจะเปิดพื้นที่ให้คนเข้าใช้ได้ฟรีๆ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เราจึงนัดพบกับ แพร์-วิลาวัณย์ บุญเกื้อกุลวงษ์ กรรมการมูลนิธิวัชรปัญญา เพื่อพูดคุยถึงแนวคิดในการทำอวโลกิตะเพื่อเป็นพื้นที่ปลอดภัยและที่พักใจของคนเมือง จุดเริ่มต้นของ ‘อวโลกิตะ’ AVALOKITA : […]

Make Bangkok Liveable Again จำลองกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่ตามนโยบายของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

‘กรุงเทพฯ’ ในฝันตามแบบฉบับของ ‘ชัชชาติ’ จะเป็นแบบไหนกันนะ หนึ่งในบุคคลที่กระแสแรงที่สุดในช่วงนี้ก็คือ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ว่าที่ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ผู้คว้าชัยชนะการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 อย่างถล่มทลาย สูงสุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ หรือกว่า 1,386,769 คะแนน (คะแนนอย่างไม่เป็นทางการ) ช่วงหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติยังเป็นขวัญใจของคนหลายกลุ่ม จากภาพลักษณ์ธรรมดาๆ เข้าถึงง่าย วิธีหาเสียงที่คำนึงถึงผู้คนและสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงสโลแกน ‘กรุงเทพฯ เมืองน่าอยู่สำหรับทุกคน’ มาพร้อมนโยบายกว่า 214 ข้อที่เกิดจากการลงพื้นที่ฟังเสียงของชาว กทม. นานกว่า 2 ปี โดยรวบรวมให้ทุกคนอ่านอย่างละเอียดที่ www.chadchart.com คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากจำลองและออกแบบเมืองกรุงเทพฯ ให้ทุกคนเห็นว่า หากชัชชาติพัฒนาเมืองตามนโยบายเหล่านี้ได้จริง เมืองน่าอยู่ในสายตาของเขาจะมีหน้าตาประมาณไหน โดยเราได้หยิบยกไอเดียมาจากนโยบายที่น่าสนใจ ครอบคลุมบริบทของเมืองกรุงเทพฯ หลากมิติ เช่น พื้นที่สาธารณะ ระบบขนส่งสาธารณะ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย […]

BKK Follow Up แพลตฟอร์มจาก WeVis ชวนสำรวจปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ส่องงบประมาณ และนับจำนวนครั้งที่น้ำท่วม

มาเช็กกันว่าละแวกบ้านเราน้ำท่วมมาแล้วกี่ครั้ง! ฤดูฝนมาเยือนทีไร ชาวกรุงเทพฯ ต่างต้องเตรียมตัวเตรียมใจเจอปัญหา ‘น้ำท่วมถนน’ ที่ทำให้การจราจรในหลายพื้นที่หยุดชะงัก หลายคนต้องยืนรอน้ำระบายอยู่หลายชั่วโมงถึงจะเดินทางกลับบ้านได้ จะพูดว่าชาวกรุงหลายคนชินชากับปัญหา ‘ฝนตก รถติด น้ำท่วม’ แล้วก็คงไม่ผิด เพราะพวกเขาต้องเผชิญปัญหาน้ำท่วมขังมานานนับ 10 ปีแล้ว แต่ทำไมเราต้องเจอปัญหาน้ำรอการระบายซ้ำซาก ทั้งที่กรุงเทพมหานครมีอำนาจในการบริหารงบประมาณและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพราะเหตุนี้ WeVis องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานด้านข้อมูลทางการเมือง ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้า และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงสร้างเว็บไซต์รวบรวม ‘ข้อมูลน้ำท่วมถนน’ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2555 – 2564) เพื่อให้ประชาชนเข้าใจปัญหาน้ำท่วมขังในเขตต่างๆ รวมไปถึงจำนวนงบประมาณที่ กทม. เคยใช้แก้ไขปัญหานี้ ถ้าอยากรู้ว่าละแวกบ้านเราน้ำท่วมมาแล้วกี่ครั้ง สามารถย้อนดูปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้ที่ bkkfollowup.wevis.info/dashboard/น้ำท่วมถนน แพลตฟอร์มนี้จะช่วยให้ผู้คนเห็นภาพรวมของปัญหาน้ำท่วมถนนผ่านข้อมูลของแต่ละปีที่ระบุ ‘จำนวนครั้งที่น้ำท่วมขังถนน’ และ ‘ระดับน้ำท่วมบนถนนโดยเฉลี่ย’ ของแต่ละเขตทั่ว กทม. ตัวอย่างเช่น ในปี 2555 เขตที่เจอน้ำท่วมถนนมากที่สุดถึง 99 ครั้งก็คือ ‘ราชเทวี’ โดยมีระดับน้ำท่วมบนถนนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 80 – […]

noble PLAY ประสบการณ์สร้างสรรค์แห่งใหม่ใจกลางเพลินจิต

‘Next Station เพลินจิต…’ เมื่อได้ยินชื่อสถานีเพลินจิตจากเสียงประกาศอันคุ้นเคยบนรถไฟฟ้า คุณจะคิดถึงอะไรเป็นอย่างแรก?  ในภาพจำของหลายคน ชื่อ ‘เพลินจิต’ อาจจะทำให้นึกถึงย่านออฟฟิศใจกลางเมือง ที่มีหนุ่มสาววัยทำงานเดินกันขวักไขว่ แต่เมื่อถึงช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ทุกคนหยุดทำงาน ย่านเพลินจิตที่รายล้อมด้วยตึกออฟฟิศจึงเงียบเหงาเป็นพิเศษ ตอนนี้เพลินจิตจะไม่เหงาอีกต่อไปแล้ว เพราะ ‘noble PLAY’ พื้นที่สร้างประสบการณ์สร้างสรรค์แห่งใหม่ใจกลางเมือง พัฒนาโดย บริษัท โนเบิล ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เพิ่งเปิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา และพร้อมให้ทุกคนเข้าไปทำอะไรสนุกๆ ด้วยกันแล้ว ท่ามกลางตึกออฟฟิศที่รายล้อมย่านเพลินจิต noble PLAY คือพื้นที่เดียวที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของคนเมือง ไม่ว่าจะเป็น ‘Art Space’ สำหรับจัดนิทรรศการศิลปะ, ‘Eatery’ กินเมนู All day brunch จาก Toby’s สาขาใหม่ล่าสุด, ‘Pop up Cafe’ ที่จะมีร้านกาแฟ Specialty ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมา ตั้งแต่วันนี้ – 30 […]

‘สุขสำราญ’ เรือนำเที่ยวไฟฟ้าที่พาสำรวจวิถีชีวิตตามสายน้ำ ให้สุขสำราญใจเหมือนชื่อเรือ

‘ซัน-ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์’ ยุคสมัยหนึ่งเขาเคยรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อจบการศึกษาก็เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์ของมูลนิธิโลกสีเขียว องค์กร NGO ที่ผลักดันด้านสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการขับเคลื่อนสังคม เขายังใช้ชีวิตแบบ ‘กรีน’ ทั้งการปั่นจักรยานไปไหนมาไหน แยกขยะ ไม่ใช้วัสดุใช้ครั้งเดียวทิ้ง ฯลฯ หลังจากเขามีลูกเล็ก ก็ตกลงกับภรรยาว่าตนเองจะลาออกจากงานประจำเพื่อดูแลลูกเต็มเวลา แต่ ‘ศิระ’ ก็ไม่ได้ละทิ้งสิ่งที่ชอบ ผูกพัน และสังคมที่อยากเห็น  ในวันเสาร์-อาทิตย์ หลังพักภารกิจประจำ ตอนนี้เขาทำธุรกิจเรือไฟฟ้าเช่าเหมาลำ ‘สุขสำราญ’ บริการนำท่องเที่ยวแบบไม่เหลือมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม บริเวณคลองบางหลวง สายน้ำเล็กๆ ที่มีวัดปากน้ำภาษีเจริญ องค์พระใหญ่ที่เป็นจุดแลนด์มาร์ก และมีตลาด ชุมชนที่อยู่อาศัย อู่ต่อเรือ หรือโรงสีข้าว ที่ล้วนพัฒนามาจากรากฐานประวัติศาสตร์ของพื้นที่ เรานัดคุยกับเขาในปลายเดือนมีนาคม ตรงกับวันที่ศิระตกลงอาสาเป็นคนขับเรือ รับส่งผู้คนข้ามฟากในงานประเพณีประจำปีของ ‘ศาลเจ้าซำซัวก๊กอ้วง’ และ ‘ศาลเจ้ากวนอู’ บริเวณตลาดพลูซึ่งมีสายน้ำของคลองบางหลวงคั่นกลาง ในวันที่เทรนด์รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือเรือไฟฟ้ามาแรง ถูกคาดหวังว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนผ่านจากพลังงานถ่านหินเป็นพลังงานสะอาด เพื่อลดระดับความรุนแรงของวิกฤตสภาพแวดล้อมตอนนี้ อาจจะเรียกได้ว่า ‘ศิระ’ เป็นผู้มาก่อนกาลอยู่เหมือนกันที่ลงมือเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลของเรือให้เป็นระบบไฟฟ้าเมื่อ 2 – 3 ปีก่อน  ทั้งแนวทางธุรกิจ […]

SoundCheck – Bangkok Street Noise เมือง-ดนตรี-พื้นที่สาธารณะ

เมือง-ดนตรี-พื้นที่สาธารณะ “ทำไมพื้นที่ที่ให้ความสุขทางเสียงดนตรี ถึงมีแต่ผับบาร์ หรือต้องไปคอนเสิร์ตฮอลล์” เมื่อเกิดคำถามว่าทำไม? Urban Soundcheck EP. นี้ อยากขอพาทุกคนมานั่งฟังดนตรีในสเปซที่ประชาชนทุกคนสามารถมีประสบการณ์ร่วมกัน กับกลุ่ม Bangkok Street Noise. จุดเริ่มต้นจากกลุ่มคนดนตรีกลุ่มเล็กๆ ที่อยากเล่นดนตรีนอกสถานที่ ได้เปลี่ยนพื้นที่เมืองธรรมดาๆ ที่โล่งและไม่มีคนใช้ในการจัดกิจกรรมดนตรี ทั้งใต้สะพานลอย ใต้ทางด่วน ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร หรืออายุเท่าไร ก็สามารถมีสเปซและมีความสุขกับเสียงดนตรีร่วมกันได้ ก้าวเล็กๆ ของกลุ่ม Bangkok Street Noise ทำให้เมืองที่เราอยู่น่าอยู่ขึ้นได้อย่างไร และจะเป็นอย่างไร หากเมืองของเรามีสเปซแบบนี้เพิ่มมากยิ่งขึ้น ติดตามได้จาก Urban Soundcheck นี้กัน! #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #Soundcheck #Bangkok #street #song

noble PLAY พื้นที่หาแรงบันดาลใจ เดินดูงานศิลปะ นั่งคาเฟ่ กินมื้อสาย ติด BTS เพลินจิต เปิดเสาร์ที่ 23 เม.ย. นี้

noble PLAY – Inspiration Playground แห่งใหม่ใจกลางเมือง อยู่ติดกับรถไฟฟ้าสถานีเพลินจิต สเปซที่จะสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ให้คุณทุกครั้งที่ได้มา ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายของคนเมือง เสาร์ที่ 23 เม.ย. 65 นี้ noble PLAY พร้อมเปิดให้เข้าไปใช้บริการและเปิดให้เข้าไปเช็กอินแล้ว พบกับไฮไลต์กิจกรรม ดังนี้ Art Space : นิทรรศการ Evolution จาก Pichet Klunchun Dance Company ผลงานชุดใหม่ล่าสุดโดย พิเชษฐ กลั่นชื่น ร่วมกับ noble PLAY จัดแสดงผลงานศิลปะหลากหลายรูปแบบที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ และการร่วมมือกันของนักออกแบบท่าเต้น, นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์, นักสร้างภาพยนตร์, ประติมากร ไปจนถึงวิศวกรเครื่องกล เพื่อแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของการค้นคว้าหลักปรัชญาของ ‘หมายเลข 60’ เพื่อแสวงหาเสรีภาพของร่างกายและจิตวิญญาณร่วมสมัย (การแสดงเริ่ม 19.00 น. ระยะเวลา 45 นาที มีเฉพาะวันนี้เท่านั้น) Eatery […]

10 Active Activities : สถานที่ทำกิจกรรมแอ็กทีฟทั่วกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

2022 จะเป็นปีที่แอ็กทีฟมากกว่าเดิม! หลังจากปีที่ผ่านมาชีวิตต้องเผชิญกับการล็อกดาวน์กรุงเทพฯ วนไปหลายรอบ ทำให้ชีวิตประจำวันเดินวันละไม่กี่ร้อยก้าว ทำให้ร่างกายเผาผลาญน้อยลง และน้ำหนักเพิ่มขึ้นแบบเงียบๆ ปี 2022 นี้เราจึงอยากชวนทุกคนมาตั้งปณิธานกับตัวเองไว้ว่า ปีนี้จะออกนอกบ้านไปทำอะไรแอ็กทีฟมากขึ้น เพื่อเรียกพลังชีวิตกลับคืนมา และลองออกไปทำกิจกรรมใหม่ๆ ในกรุงเทพฯ ให้บ่อยขึ้น หากคุณเป็นคนที่ทำงานหรือเรียนออนไลน์อยู่บ้านติดหน้าจอมาทั้งสัปดาห์ เราอยากชวนมาใช้เวลาวันหยุดด้วยการออกนอกบ้านไปทำกิจกรรมสนุกๆ ด้วยกัน กิจกรรมทั้ง 10 สถานที่ที่เลือกมามีทั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เราคัดสรรมาทั้งในร่มและกลางแจ้ง เล่นได้ทั้งบนบกและในน้ำ จะเล่นคนเดียว เล่นเป็นคู่ หรือชวนเพื่อนไปแฮงเอาต์เป็นกลุ่มก็ได้ทั้งนั้น ไม่แน่ว่าปีนี้คุณอาจจะได้สกิลใหม่ หรือเจองานอดิเรกใหม่ที่ชอบก็ได้นะ ทั้งหมดที่คัดสรรมามีหลายราคาให้เลือกไป และบางกิจกรรมอยู่ในพื้นที่สาธารณะเข้าได้แบบฟรีๆ ได้ทำกิจกรรม ได้สุขภาพ ลองจิ้มสักกิจกรรมแล้วจองคิวเพื่อนๆ ไว้นะ! ล่องเรือใบ พายคายัก และวินด์เซิร์ฟ ที่ศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน นอกจากจะมาเดิน วิ่ง ปั่นจักรยานในสวนหลวง ร.9 กันได้แล้ว ที่ ‘ศูนย์กีฬาทางน้ำบึงหนองบอน’ ยังเป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางน้ำที่ครบและหลากหลายที่สุด ได้แก่ เรือใบ พายคายัก ซัปบอร์ด และวินด์เซิร์ฟ แถมค่าเรียนและค่าสมาชิกรายปียังถูกมากๆ ใครบ้านใกล้อยู่ในย่านนี้จะยิ่งดีเข้าไปใหญ่เพราะมาใช้ได้จนคุ้ม แถมช่วงแดดร่มลมตกที่นี่ยังบรรยากาศดีมาก […]

ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ

ถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหาหรือควรถอยห่างคนแบบนี้กันนะ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับคนกรุงเทพฯ หรือคนต่างจังหวัดที่มาอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เราคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งชัง (Love-Hate Relationship) รักในแง่ความเจริญ มีชีวิตชีวา มีความสร้างสรรค์ และมีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า ขณะเดียวกันก็ชังที่ความเจริญนี้มีเพียงวัตถุ แต่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ได้งอกงามตามไปด้วย ผู้คนยังต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเครียด ฝุ่นควัน หมดเวลากับการเดินทางเป็นชั่วโมงๆ หมุนวนไปกับการทำงานรายวันที่ยากจะมีโอกาสหลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำ เมื่อวินาทีนี้ เรากำลังเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ อยู่ทุกชั่วขณะ คอลัมน์ Urban Sketch จึงใช้โอกาสนี้นำเสนอเสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ ผ่านภาพวาดในหัวข้อ ‘ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ’ โดยคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่เมืองหลวงแห่งนี้ จำนวนสามคน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างมุมมอง พวกเขามองกรุงเทพฯ เป็นคนแบบไหน เรายื่นโจทย์ให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจินตนาการของตัวเอง หน้าตาจะน่ารักหรือน่าคบไหม เราตามไปดูพร้อมๆ กันได้เลย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ อายุ 30 ปีอาชีพ สถาปนิกภูมิลำเนา กรุงเทพฯ “เราคิดว่า ถ้าต้องวาดกรุงเทพฯ […]

กรุงเทพฯ 9 ดี จากชัชชาติ นโยบายหาเสียงผู้ว่าฯ กทม. พัฒนาเมือง 9 มิติ ให้ตอบโจทย์ทุกคน

คนกรุงเทพฯ จะได้เลือกตั้งเมื่อไรยังไม่รู้แน่ชัด แต่ระหว่างนี้เราอยากชวนอ่านนโยบายจากผู้สมัครเพื่อหาตัวเลขในใจกันก่อน  เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา งาน “ชัชชาติ อาสา ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ” ณ มิวเซียมสยาม ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หนึ่งในผู้สมัครในปีนี้ ลงสมัครเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในนามอิสระ หลังใช้เวลากว่า 2 ปี ลงพื้นที่สำรวจปัญหา รับฟังความต้องการชาวกรุงเทพฯ หารือผู้เชี่ยวชาญและภาคประชาสังคม ภายในงาน “ชัชชาติ อาสา ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ” จึงมีการเปิดตัว 200 นโยบายหาเสียงภายใต้แนวคิด ‘กรุงเทพฯ 9 ดี’ ที่จะพัฒนาเมือง 9 มิติ เพื่อให้ตอบโจทย์คนกรุงทุกกลุ่ม พร้อมเปิดตัวเครือข่าย “เพื่อนชัชชาติ” เบื้องหลังนโยบาย นำทีมโดย ดร.ยุ้ย-เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ และทีมงานคนรุ่นใหม่ ‘กรุงเทพฯ 9 ดี’ หรือนโยบาย 9 มิติ […]

Bangkok vs Krung Thep Maha Nakhon ทั่วโลกรู้จักกรุงเทพฯ ในชื่อไหนมากกว่ากัน?

สัปดาห์ที่แล้ว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ล้นหลาม หลังมีรายงานว่า ราชบัณฑิตยสภาเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวง ‘กรุงเทพมหานคร’ ของไทย จาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon’  ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เปลี่ยนแล้วได้ประโยชน์อะไร? เพราะชื่อเดิมก็ดี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่อยู่แล้ว บ้างมองว่า Krung Thep Maha Nakhon นั้นยาวไป และอาจเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้าต้องเปลี่ยนป้ายใหม่ทั้งหมด หลังจากเกิดการถกเถียงไม่นาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพียงการปรับปรุงการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และปรับเครื่องหมายเพียงเล็กน้อย จากเดิม ‘Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)’ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ และให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok อย่างไรก็ตาม ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนทั่วโลกรู้จักและใช้คำไหนมากกว่ากัน?  […]

1 2 3 4 5 13

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.